เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 48563 สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
tubtimthai
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 09 ต.ค. 12, 19:52

เรื่องสีก่อนนะครับ

ผมเบนเป้าจากการตามหาสีแท้ๆ ของเลือดไปตามหาสิ่งที่ทำให้เกิดสีในทับทิมแทน สิ่งที่ทำให้เกิดสีแดงในทับทิมคือโครเมี่ยม ผมจึงไปตามหาว่าโครเมี่ยมให้สีแดงอย่างไร

ปรากฏว่าโครเมี่ยมเป็นโลหะทึบแสงที่มีสีเงินเทา หากขัดมันจะวาววับสะท้อนแสงและให้สีแบบที่เรารับรู้กันทั่วไปว่าสีโครเมี่ยม แต่เมื่อโครเมี่ยมอยู่ในรูปสาระประกอบอื่นจะให้สีต่างไป

ผมมุ่งไปที่สีแดงก่อน ได้ตัวอย่างสีแดงที่ปรากฏในแร่บางชนิด และสีที่มนุษย์ผสมขึ้นเพื่อใช้เป็นสีสำหรับประโยชน์ใช้สอยต่างๆ ดังตัวอย่างภาพที่ผมยกประกอบมานี้






บันทึกการเข้า
tubtimthai
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 09 ต.ค. 12, 20:54

ทุกคนทราบดีว่า หากต้องการรู้ว่าสีแดงเลือดนกพิราบเป็นอย่างไรนั้นสามารถพิสูจน์ได้ง่ายดาย คือนำเลือดแดงของนกพิราบมาให้ดูก็ได้ข้อยุติ

แต่ในกรณีสีแดงของทับทิมนั้นเค้าไม่ได้หมายถึงสีแดงเหมือนเลือดนกพิราบ แต่เป็นการให้การเปรียบเทียบโดยใช้คำว่า สีแดงดั่งเลือดนกพิราบ ดังนั้นจึงไม่ได้ข้อสรุปง่ายๆ ด้วยการเอาสีแดงของเลือดมาเป็นข้อยุติ

ผมขอยกข้อสันนิฐานของผมไว้ดังนี้ว่า
    ในอดีตเมื่อเกิดการค้นพบทับทิมเป็นครั้งแรกๆ นั้น สีแดงที่มนุษย์ใช้เพื่องานต่างๆมักเอามาจากสีที่ได้จากวัสดุธรรมชาติ ยังไม่มีการสังเคราะห์สีแดงแบบบริสุทธิโดยใช้การตรวจค่าเสป็คตรัมสีของหมึกหรือผงหมึกกัน ดังนั้นหากจะอธิบายสีแดงของหมึกหรือวัตถุใดก็มักเปรียบเทียบกับสิ่งที่ผู้คนรู้จักกันทั่วไป เช่นสีแดงครั่ง สีแดงเลือกหมู เป็นต้น

แต่ในบรรดาสีแดงทั้งหมดที่คนสมัยนั้นผมสันนิฐานว่าสีแดงที่แดงจัดนั้นคือสีแดงเลือดนกพิราบ คือแดงแบบที่ไม่รู้ว่าจะแดงกว่านี้ไปได้อย่างไร ทำนองนี้ (อาจมีสีแดงแบบอื่นที่แดงจัดกว่าแต่คนไม่ค่อยรู้จักหรือยากที่จะอธิบายให้คนทั่วไปเข้าใจ) ดังนั้นสีแดงอย่างที่สุดของทับทิมก็คือสีแดงแบบทับทิม จะจัดหรืออ่อนหรือเข้มกว่าสีเลือดจริงๆ ก็เป็นแดงแบบทับทิมและแดงได้แค่นั้นเท่านั้นครับ

ผมยกข้อสนับสนุนสันนิฐานของผมมา 1 เรื่องคือ
    ไม่นานมานี้ มีความนิยมในพลอยสีแบบใหม่ เป็นพลอยสีส้มสวยมาก ความสวยของสีทำให้มันโดดเด่นและส่งให้มูลค่าของพลอยชนิดนี้สูงขึ้นเหนือพลอยสีอื่นหลายๆ สี มีการตั้งชื่อเรียกพลอยชนิดนี้ว่า พัดพารัดชา (Padparadscha) หรือพัดพระราชา


อ้างอิง: http://en.wikipedia.org/wiki/Sapphire

ส่วนการอธิบายสีของมันว่าเป็นสีส้มลักษณะใดก็ได้อธิบายว่ามันสีเหมือน "ดอกบัวหลวงที่บาน !?"

อ้างอิง: http://en.wikipedia.org/wiki/Nelumbo_nucifera
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Padparadscha: http://www.modernjeweler.com/online/article.jsp?siteSection=1&id=529&pageNum=2

    จะเห็นว่ามีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก และนี่คือข้อสนับสนุนสันนิษฐานของผมว่า สีแดงเลือดนกนั้นอาจ (น่าจะ) ไม่ได้หมายถึงสีแดงเหมือนเลือดจริงๆ แต่เป็นสีแดงแบบทับทิมของมันเองต่างหาก

ดังนั้น
    การตามหาลักษณะสีแดงของมันจึงเปล่าประโยชน์ที่จะไปตามยิงนกพิราบของทุกประเทศทุกชาติมาเพื่อเอาเลือดมาเป็นตัวอย่าง เพื่อหาข้อสรุปเรื่องสีแดงดั่งเลือดนกพิราบของทับทิมว่าเป็นแดงในโทนใดครับ

*** แต่สีแดงแบบตัวอย่างที่ผมยกมานั้น ยังไม่ใช่ข้อสรุปและยังไม่ไใช่คำตอบของสีแดงของทับทิมนะครับ เพียงแต่เป็นการเริ่มต้นของการสืบเสาะหาเพียงเท่านั้น

ติดเรื่องพลอยสตาร์ไว้ก่อนนะครับ แต่ในนี้ก็ได้เขียนถึงเรื่องนี้ไว้บ้างแล้ว สามารถอ่านเป็นข้อมูลคร่าวๆ ได้ครับ
อ้างถึง
Star sapphire
A star sapphire is a type of sapphire that exhibits a star-like phenomenon known as asterism; red stones are known as "star rubies". Star sapphires contain intersecting needle-like inclusions following the underlying crystal structure that cause the appearance of a six-rayed "star"-shaped pattern when viewed with a single overhead light source. The inclusion is often the mineral rutile, a mineral composed primarily of titanium dioxide. The stones are cut en cabochon, typically with the center of the star near the top of the dome. Twelve-rayed stars are occasionally found, or parallel whisker inclusions can produce a "cat's eye" effect.
อ้างอิง: http://en.wikipedia.org/wiki/Sapphire

ผิดถูกอย่างไรช่วยชี้แนะด้วยครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 09 ต.ค. 12, 21:06

โบราณท่านอุปมาสีทับทิมไว้ว่า

"ควรห่มสีทับทิม ดังแสงฉาน จะเรืองรับเรืองเดช"

ตำรานพรัตน์ได้กล่าวเอาไว้อย่างน่าประหลาดว่า

ลักษณะปัทมราช (ทับทิม) ชื่อ
ชาติรังคเป็นปฐมชาติ ๑ 
ชื่อกระวินทรเป็นทุตยชาติ ๑
ชื่อเสวรณฑี เป็นตติยชาติ ๑
ชื่อกรวางค เป็นจัตตุชาติ ๑

ปัทมราช (ทับทิม) มีสีต่างกัน ๙ ประการ
๑ สีแดงดังดอกสัตบุษย์เมื่อบาน
๒ ดังดอกจงกลนี
๓ ดอกทับทิม
๔ แมลงเต่าทอง
๕ เปลวประทีปเมื่อใกล้จะดับ
๖ ดั่งพระอาทิตย์แรกขึ้นเมื่อเพลาเช้า
๗ ผลทับทิมอันสุกเข้ม
๘ แดงดั่งดวงตานกจากพราก (Brahmimy duck, Ruddy Goose)
๙ แดงดั่งถ่านเพลิงแดง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 09 ต.ค. 12, 21:11

ชื่อกระวินทรเป็นทุตยชาติ ๑ มีสีแดงต่างกัน ๙ ประการ

๑ แดงดั่งดอกเสอ้งนา
๒ สีดังดอกไม้แดง
๓ ดอกกระหมุกแดง
๔ สีเลือดกระต่าย
๕ ศีรษะลิงโลด
๖ ชาดหรคุณ
๗ ผลมะกล่ำไฟ
๘ ดอกทองกวาว
๙ ดอกทองหลาง

ชื่อเสวรณฑี เป็นตติยชาติ ๑ มีสีแดงต่างกัน ๕ ประการ
๑ ดังดวงตานกกาเหว่า
๒ น้ำฝาง
๓ ผลสะบ้าสุก
๔ ดอกงิ้ว
๕ ดอกรักแดง

ชื่อกรวางค เป็นจัตตุชาติ ๑ มีสีแดงต่างกัน ๔ ประการ
๑ แดงดั่งสีเหลืองเจือแดงดังผลกระดอมสุก
๒ อิฐแดง
๓ น้ำขมิ้น
๔ สีแดงอ่อนกว่าดอกทองกวาว

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 09 ต.ค. 12, 21:14

ตำรานพรัตน์ยังบอกถึงการหุงพลอยด้วย ว่า ถ้าในทับทิมมีมลทิน พวกนิลติดปนมาจะเป็นอัปมงคล ต้องเอาด้วยเพลิง

ให้ "น้ำแดงแสงงามบริสุทธิ์ดุจดั่งฟ้าแดงเมื่อตะวันตกและพระอาทิตย์แรกอุทัย" จัดเป็นผลดี
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 10 ต.ค. 12, 14:20

อ่านที่คุณทับทิมสยามเขียน ซึ่งได้กล่าวถึงการวัดค่าสเป็กตรัมของสีแล้ว ก็แสดงว่าน่าจะมีพื้นทางวิทยาศาสตร์ที่ดีมากทีเดียว

คำตอบเรื่องของสีตามที่ต้องการนี้ อาจจะต้องไปค้นหาอ่านในเรื่องเกี่ยวพันกับพลังงานที่อยู่ในสเป็กตรัมของแสงสีขาว (white light_แสงอาทิตย์) ซึ่งเป็นคลื่นอีเล็กโตรแม็กเนติก (electromagnetic wave_คลื่น EM)  และในเรื่องอีเล็กตรอน (ที่วิ่งวนอยู่รอบอะตอมของธาตุต่างๆ) ที่เกิดการกระโดดข้ามไปมาภายในของวงรอบหนึ่งใด (ระหว่าง subshell หรือ sublevel ของ orbit วงหนึ่ง)  เนื่องจากได้รับพลังงานจากคลื่น EM (แสงอาทิตย์) แล้วปล่อยพลังงานออกมาในช่วงของคลื่นแสงที่เราเห็นได้

อนึ่ง เนื่องจากที่ละติจูดต่างๆกัน สเป็กตรัมของแสงอาทิตย์ไม่เหมือนกัน ดังนั้น สีของทับทิมเม็ดเดียวกันที่เห็นในไทยกับเห็นในยุโรปก็จะแตกต่างกันไปบ้าง

ลองพิจารณาดูครับ อาจจะเป็นคำอธิบายที่ต้องการก็ได้

อ้อ ลืมไปว่า ฝรั่งเขาชอบใช้ระบบสีมาตรฐานสำหรับการอ้างถึงต่างๆ บางทีคำอธิบายว่าสีเลือดนกพิลาบนั้น อาจจะมีการเทียบกับสีมาตรฐานของระบบหนึ่งใดเก็บไว้ก็ได้ คือมีอยู่แล้ว 

 
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 10 ต.ค. 12, 16:17

หาแดงเลือดนกพิราบไม่เจอ ก็เลยนึกถึง "แดงเลือดนก" แต่มาเจอ "แดงเลือดเป็ด"  ขยิบตา

อันนี้เป็นเลือดเป็นสด ๆ เป็นวัฒนธรรมดื่มเลือดเป็ดของเวียดนามครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 10 ต.ค. 12, 16:23

ตารางเทียบสีทับทิม

ที่มา http://www.gemnation.com/base?processor=getPage&pageName=ruby_color


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 10 ต.ค. 12, 16:27

หยิบตัวอย่างสีแดงเลือดเป็ดชามหนึ่ง มาเทียบตารางสี ... ใกล้เคียงแฮะ  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
tubtimthai
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 10 ต.ค. 12, 21:38

และแล้วกระทู้นี้ก็เลือดสาดจนไห้ หุหุ..

ตอบคุณ naitang ครับ
    ผมลองตามหาแล้วครับ แต่ที่พบจากเว็บของผู้เขียนตำราเรื่อง ruby&sapphire บันทึกไว้ว่า ไม่มีการระบุอย่างชัดเจนไว้ว่าแดงเลือดนกที่ว่าเป็นอย่างไร
อ้างถึง
Pigeon's blood: Chasing the elusive Burmese bird

The Burmese term for ruby is padamya ('plenty of mercury'). Other terms for ruby are derived from the word for the seeds of the pomegranate fruit. [2]

Traditionally, the Burmese have referred to the finest hue of ruby as "pigeon's blood" (ko-twe), a term which may be of Chinese or Arab origin. Witness the following from the Arab, al-Akfani, who described thus the top variety of ruby: Rummani has the colour of the fresh seed of pomegranate or of a drop of blood (drawn from an artery) on a highly polished silver plate. al-Akfani, ca. 1348 AD. Some have compared this color to the center of a live pigeon's eye. Halford-Watkins described it as a rich crimson without trace of blue overtones. Others have defined this still further as the color of the first two drops of blood from the nose of a freshly slain Burmese pigeon. But the pie`ce de re'sistance of pigeon's-blood research has to be that of James Nelson, who finally put the question to rest:

In an attempt to seek a more quantitative description for this mysterious red colour known only to hunters and the few fortunate owners of the best Burmese rubies, the author sought the help of the London Zoo. Their Research Department were quick to oblige and sent a specimen of fresh, lysed, aerated, pigeon's blood. A sample was promptly spectrophotometered.... The Burmese bird can at last be safely removed from the realms of gemmology and consigned back to ornithology.

James B. Nelson, 1985, Journal of Gemmology

After that, the only question remaining is whether or not "spectrophotometered" is a genuine English verb.

Color preferences do change with time. The preferred color today is not necessarily that of a hundred, or even fifty, years ago.
In my experience, the color most coveted today is that akin to a red traffic signal or stoplight. It is a glowing red color, due to the strong red fluorescence of Burmese rubies, and is unequalled elsewhere in the world of gemstones. Thai/Cambodian rubies may possess a purer red body color, but the lack of red fluorescence and silk leaves them dull by comparison. It must be stressed that the true pigeon's-blood red is extremely rare, more a color of the mind than the material world. One Burmese trader expressed it best when he said: "...asking to see the pigeon's blood is like asking to see the face of God."

The second-best color in Burma is termed "rabbit's blood," or yeong-twe. It is a slightly darker, more bluish red. Third best is a deep hot pink termed bho-kyaik. This was the favorite color of the famous Mogok gem dealer, A.C.D. Pain. The literal meaning of bho-kyaik is "preference of the British."

Fourth-best is a light pink color termed leh-kow-seet (literally 'bracelet-quality' ruby). At the bottom of the ruby scale is the dark red color termed ka-la-ngoh. This has an interesting derivation for it means literally either "crying-Indian quality" or "even an Indian would cry," so termed because it was even darker than an Indian's skin. Most dark rubies were sold in Bombay or Madras, India. Ka-la-ngoh stones were said to be so dark that even Indians would cry out in despair when confronted with this quality.
อ้างอิง: http://www.ruby-sapphire.com/pigeons-blood-mogok.htm

ส่วนที่นี่ก็ระบุเหมือนๆ กัน คาดว่าคงถ่ายทอดตามๆ กันมา http://www.starruby.in/store/info/pigeon-blood-red-rubies ครับ

    วันนี้ส่วนใหญ่จึงพูดเกือบจะเป็นเสียงเดียวกันว่า สีแดงของทับทิมแดงที่ดีที่สุดคือสีที่ผู้คนชอบ (ขายดี) มากที่สุด และยกให้แดงเลือดนกพิราบเป็นสีในตำนานที่ยากจะหาเจอ แต่ที่จริงผมตะหงิดๆ สงสัยอยู่นิดหนึ่งครับว่า
    ในอดีตนั้นอัญมณีหลายชนิดถูกจัดเป็นทับทิมด้วยหากมีสีแดง ก่อนที่จะแยกออกเหลือเฉพาะแร่ colrundum เพียงอย่างเดียว พิจารณาโดยไม่แยกออกเหมือนแต่ก่อน ผมว่าสีแดงของ spinel สีแดงนั่นหล่ะใช่เลยครับ

http://j-m-lennox.quazen.com/reference/biography/famous-gemstones-black-princes-ruby/

ถามคุณ siamese พอทราบไหมว่าครับ ตำรานพรัตน์ เขียนขึ้นเมื่อไหร่

    เรื่องหนึ่งคือเรื่องการเผาพลอย คนไทยว่าเป็นเรื่องปกติเพราะเป็นการเผาเพื่อไล่เสนียดไล่มลทินออก แต่คนโบราณอาจนึกไม่ถึงว่าคนไทยในปัจจุบันจะเก่งและก้าวไปไกลมาก เผาสีเหลืออ่อนให้เป็นสีเหลืองทอง เผาเม็ดที่ดูแทบจะเป็นขี้พลอยอยู่แล้วให้ใสจนมีราคาสูง เผาพลอยอื่นใหนเป็น padparadchar ซึ่งราคาสูงกว่ามากก็ได้ แถมยังสามารถกัดเอามลทินออกด้วยกรดแล้วเติมแก้วเข้าไปแทน ทำให้ขี้พลอยกลายเป็นทับทิมเม็ดสวยก็ได้ ซึ่งมันน่ากลัวมากกว่าน่าดีใจสำหรับคนซื้อทับทิม
    ปกติการเผา (Heat) พลอยนั้นเป็นที่ยอมรับกันในระดับหนึ่ง แต่ต้องเป็นเผาแบบไม่เติมอะไรลงไปเลย (เรียกว่าเผาเก่า) ราคาทับทิมจะถูกว่าที่ไม่เผาในความสวยเดียวกันประมาณ 3 เท่าครับ

    ผมนึกได้ว่าสีที่เราเห็นจากทับทิมนั้นมาจาก 2 ทาง คือ
    1. เป็นสีของที่สะท้อนจากแสงภายนอก ซึ่งเป็นปกติของวัตถุทั่วไป
    2.สีที่เปล่งออกมาจากตัวทับทิมเอง คือเมื่อทับทิมได้รับแสงจากภายนอกซึ่งเป็นพลังงาน พลังงานนี้จะไปกระตุ้นการสั่นของโมเลกุลทับทิม และการสั่นนี้จะเปล่งแสง (Fluorescence) สีเฉพาะของมันออกมา หลักการนี้คือหลักการที่นำทับทิมไปทำแสงเลเซอร์สีแดงนั่นเอง http://en.wikipedia.org/wiki/Ruby_laser
       แสงที่เปล่งออกมานี้มีความถี่ 694 nM ตรงกับสีแดงสีหนึ่งในแถบช่วงสีแดงในแถบเสป็คตรัมแสง


ดังนั้นผมจึงได้ปมอีกอย่างหนึ่งคือ แสงที่ทับทิมเปล่งออกมาเป็นความถี่ 694 nM ถัดมาผมตามไปดูที่ทับทิมที่ใช้ทำแสงเลเซอร์ซึ่งเรียกว่า ruby laser rod ซึ่งจะเป็นทับทิมสังเคราะห์ความบริสุทธิ์สูง (เป็นทับทิมระดับ gem grade AAAA) นั่นคือน่าจะมีปริมาณโครเมี่ยมพอดีไม่ขาดไม่เกิน ไร้มลทินใดๆ สีที่เห็นคือสีชมพูดังภาพ

Ruby Rod Unheated... by Sea Moon, on Flickr

ผมจึงคิดว่าผมอาจตั้งต้นจากตรงนี้ได้ แต่ทับทิมธรรมชาติทุกเม็ดไม่บริสุทธิ์สีจึงต่างกันออกไป และทับทิมทุกเม็ดจะมี 2 โทนสีเป็นอย่างน้อยเสมอ แล้วสีแดงแบบใหนที่ผู้คนจะตรึงตาตรึงใจ ไม่ใช่สีแดงแบบทับทิมบริสุทธิ์แต่เป็นสีแดงแบบที่ผู้คนคนชื่นชอบ

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 11 ต.ค. 12, 17:30

ย้อนกลับไปคิดถึงเรื่องที่พอจะรู้ที่พอจะจำได้บ้างในครั้งยังทำงานอยู่ เลยประมวลภาพเรื่องชื่อของสีทับทิมที่เรียกว่า สีเลือดนกพิราบ ในความเห็นส่วนตัวได้ดังนี้

ในศรีลังกามีการทำเหมืองพลอยในตระกูลคอรันดัมมานานนับพันปี แน่นอนว่าต้องมีทับทิมรวมอยู่ด้วย เช่นเดียวกัน ก็มีการพบพลอยในตระกูลคอรันดัมหลายๆแหล่งตลอดแนวเทือกเขา Alpine-Himalayan มานานมากแล้ว เช่นในอัฟกานิสถาน แต่สีของทับทิมคงไม่สวยสะดุดตา    การคมนาคมตามชายฝั่งทะเลที่เชื่อมต่อเข้าไปในเส้นทางสายใหม ทำให้ทับทิมและพลอยสีอื่นคงเริ่มกระจายไปตามเส้นทางเข้าไปถึงยุโรป     สำหรับพม่านั้น ก็มีการทำเหมืองพลอยในตระกูลคอรันมานานนับพันปีแล้วเช่นกัน แต่พลอยของพม่ารวมทั้งทับทิมคงจะกระจายอย่างจำกัดพื้นที่ด้วยความหวงแหนของกษัตริย์พม่า จนกระทั่งเมื่อชาวยุโรปสามามารถเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายกับประเทศในย่านแหลมทองได้ในช่วงประมาณ 500 ปีที่ผ่านมา จึงคงจะได้เห็นทับทิมที่มีสีสวยมากกว่้าที่เคยเห็นมาจากแหล่งอื่น  แต่เมื่อทับทิมก็มีสีแดงทั้งนั้น แล้วจะอธิบายว่าแดงอย่างไรที่แสดงถึงความแตกต่าง ผมก็เลยเดาต่อไปว่าสมัยก่อนนั้นใช้นกพิราบในการสื่อสารมาก ก็เลยบรรยายสีของทับทิมพม่าโดยการเทียบกับสีของเลือดนกพิราบ เช่้นเดียวกันกับที่เราพยายามบรรยายสีแดงโดยเทียบกับสีของเลือดสัตว์หรือผลไม้ เช่น แดงเลือดหมู แดงเป็นลูกตำลึง แดงเหมือนน้ำทับทิม แดงเหมือนพริกแห้ง แดงเหมือนดอกกุหลาบ เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดเป็นเรื่องของการแสดงถึงความฉ่ำของสี ซึ่งเป็นยุคก่อนที่จะมีอุตสาหกรรมการผลิตสีแดงทางเคมีออกมา 

ความสนใจของคุณทับทิมไทยและข้อมูลที่กำลังถกกันอยู่ในกระทู้นี้ เหมือนกับกำลังทำวิทยานิพนธ์เรื่องสีของทับทิมเลยทีเดียว           

 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 11 ต.ค. 12, 20:46

เคยเห็นแหวนทับทิมสีนี้ เป็นสีแดงออกม่วง    ไม่แน่ใจว่าเป็นมลทินของพลอยที่มีแร่ธาตุอื่นปนหรือเปล่านะคะ เลยเอารูปที่เจอในเน็ตมาให้ดู


บันทึกการเข้า
hobo
พาลี
****
ตอบ: 324


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 12 ต.ค. 12, 05:30

เข้ามาเสริมคุณ tubtimthai ครับว่าทับทิมสีเลือดนกนั้นเรียกว่า spinel red
เอามาจากหนังสือ The Crown Jewels ของ Anna Keay, 2011 page 109

"...the first of the famous stone to adorn the English state crown: a magnificent red spinel known since the early 19th century as 'the Black Prince's Ruby'..."

The Black Prince's Ruby หนัก 170 กะรัต อาจได้มาจากเหมือง Badakhshan ใน Afghanistan

ใส่ file ไม่ได้ครับ ต้องลดขนาดรูปลงน่าเสียดาย


บันทึกการเข้า
hobo
พาลี
****
ตอบ: 324


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 12 ต.ค. 12, 05:38

ผมไม่ได้ปรับสีของภาพ เพียงแต่ปรับระดับแสงให้ตรงกับหนังสือ มีที่น่าสนใจที่ผมไม่เคยสังเกตมาก่อนคือ ตัวหินมีรอยร้าวและได้มีการซ่อมแซมโดยใช้สารเคมีป้ายทับไว้สารเคมีนี้คล้ายกับสารเคมีที่ใช้เชื่อมตู้ปลาเข้าด้วยกัน มองเห็นเป็นเส้นสีชมพูทางมุมขวาล่าง
บันทึกการเข้า
tubtimthai
อสุรผัด
*
ตอบ: 20


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 12 ต.ค. 12, 17:18

   ตอนนี้มีข้อมูลต้นทางเยอะเหลือเกินครับ หากต้องไปตามหาข้อสรุปจากทุกข้อมูลคงใช้เวลาอีกนานแน่ๆ ผมคงต้องพยายามตีวงให้แคบลงเข้าไว้ครับ เพราะนอกจากสีแล้วมีอีกสองสามปัจจัยที่กระทบต่อมูลค่าของทับทิมที่ค่อนข้างมากอยู่เหมือนกัน

มีหลายสิ่งที่สำคัญต่อการแสดงสีด้วยคอมพิวเตอร์
  - หนึ่งคือจอภาพ ตอนนี้ผมใช้จอแบนยี่ห้อ DELL รุ่นให้สีเหมือนจริงได้ค่อนข้างดี แต่รุ่นค่อนข้างเก่าจึงด้อยประสิทธิภาพไปนิด แต่ก็ถือว่าพอใช้สำหรับงานเรื่องนี้ตอนนี้ครับ
  - หนึ่งคือกล้องและอุปกรณ์บันทึกภาพ ภาพถ่ายทับทิมที่บันทึกไว้ในอดีตอาจให้สีไม่ตรงของจริงก็เป็นได้ เนื่องจากคุณภาพกล้องและฟิล์มในอดีต รวมทั้งการจัดแสง การล้างฟิล์ม รวมไปถึงคุณภาพของเครื่องแสกนที่ใช้เก็บภาพให้เป็นข้อมูลดิจิตอล
  - หนึ่งคือการใช้โปรแกรมแต่งภาพ ภาพแต่ละภาพต่องม่จุดประสงค์การใช้งาน การตกแต่งเหมาะแก่การใช้งานนี้ก็มักจะใช้โปรแกรมแต่งภาพ ทั้งแต่งเพื่อให้ตรงตามจริงและแต่งให้สวยสะดุดตาก็แล้วแต่จุดประสงค์ สำหรับงานนำเสนอและงานขายของผู้ค้าอัญมณีทั้งหลายนั้นก็ย่อมอยากให้ภาพสวยๆ ทั้งนั้น จึงเป็นจุดด้อยจุดหนึ่งที่ผมหาภาพอ้างอิงจากอินเตอร์เน็ตได้ค่อนข้างยาก

    การตามหาที่มาของสีที่มนุษย์มองเห็นนี่ถ้าจะอธิบายให้เป็นวิทยาศาสตร์นี่เรื่องยาวครับ เจอข้อมูลดีๆ จากที่นี่ http://gemologyproject.com/wiki/index.php?title=Causes_of_color ที่อธิบายไว้แบบลึกซึ้งก็อ่านไม่ไหวครับ แถมความรู้เฟิสิกซ์คมีนี้ก็คืนครูไปหมดแล้ว ตั้งใจว่าจะตามหาโทนสีขององค์ประกอบของแร่ต่างๆ ในทับทิม แล้วเอามาเข้าสูตรสัดส่วนของการเกิดของสีในแบบต่างๆ จำนวนหนึ่ง ก็จะได้กลุ่มสีแดงที่ดีที่สุดจำนวนหนึ่ง (คงเยอะพอดู) และในนั้นก็จะมีสีที่น่าจะสวยที่สุดอยู่จะนวนหนึ่ง ซึ่งอันสุดท้ายนี้ต้องใช้ความรู้สึกของมนุษย์ตัดสินเพราะเป็นผู้พิพากษาสุดท้ายของมูลค่าอัญมณี

    แต่นอกจากสีสวยแล้วตัวคูณของมูลค่าที่ตามมาคือความหายาก หรือความเกิดยากในธรรมชาติ และไปคูณด้วยความโปร่ง และตัดสินอีกทีที่ขนาด ฟังดูแล้ววิชาประเมิลมูลค่าหรือให้เกรดอัญมณีนี่ยากและซับซ้อนไม่เบาเลยทีเดียว หากต้องประเมิลอัญมณีหลายๆ ชนิดยิ่งยากเป็นเงาตามตัว (แต่ที่เค้าสอนเค้าทำกันนั้นง่ายกว่าเยอะครับ แค่เอาตัวอย่างมาเปรียบเทียบว่าอยู่กึ่งกลางระหว่าง 2 ตัวอย่างใหนก็จบ จะให้เกรดแม่นๆม่แม่นก็อยู่ที่สายตาและความชำนาญชองผู้ปฏิบัติแล้วครับ ดูตัวอย่างจากนี่ได้ครับ http://www.gemewizard.com/about.php)

    ผมหยุดตามหาสีจากคุณสมบัติไว้ก่อน กลับมาคิดทบทวนและคิดถึงเหตุผลหลักในการค้นหานี้ เหตุผลนั้นคือ สีแบบใหนที่รงคุณค่าและมูลค่าและทับทิมไทยมีคุณสมบัติแบบนั้นใหม ผมจึงกลับไปมองที่สีของทับทิมที่ครองสถิติราคาต่อกะรัตแพงอันดับต้นๆ อยู่ในตอนนี้ เห็นแล้วแปลกใจนิดๆ ครับว่า บางคนว่านั่นยังไม่ใช่แดงเลือดนกแท้ๆ (ดูจากเว็บบอร์ดบางแห่ง เช่น pricescope.com) บางคนในบางเว็บก็บอกว่า แดงเลือดนกจะเป็นแดงอมส้ม-อมชมพูระเรื่อเล็กน้อย และส่วนที่แปลกคือ ทับทิมเม็ดพวกนั้นมันมีบุคคลิกสีแดงแบบทับทิมสยามครับ คือแดงเข้มไม่นุ่มนวลอย่างของพม่า เลยงงๆ ว่า ที่ว่าหายากนั่นเพราะหาทับทิมพม่าที่มีสีเหมือนทับทิมไทยหรือเปล่า (น่าเสียดายที่ทับทิมไทยค่อนข้างขุ่น จะหาใสมองทะลุเม็ดค่อนข้างยาก)

    แต่เอาเถอะ

    เพราะว่าการจะผสมสีจากแม่สีตามแนวความคิดแรก เพื่อไปหากลุ่มสีที่น่าจะเป็นนั้นน่าจะยากและอาจด้อยประโยชน์ การตามหาจากสีของทับทิมเม็ดดังๆ รวมทั้งตามดูจากเว็บที่ขายทับทิม (ดูความสวย+ราคา) แล้วเอามาเทียบกับตัวอย่างสีน่าจะประหยัดสมองด้านที่ใช้คำนวนมากกว่า แต่อุปสรรคก็พอมีคือ สีบนเว็บขายของเหล่านั้นอาจเชื่อถือได้น้อย แต่ถ้าหากค้นพบแหล่งข้อมูลดีๆ ที่เชื่อถือได้ก็อาจได้คำตอบเลยเป็นได้

   ตอนนี้ที่ผมสนใจต่อมาคือ กระบวนการประเมินราคาโดยผ่านการให้ระบุเกรด (grading) ทับทิม และการเจียรนัย ซึ่ง 2 อย่างนี้เป็นปัจจัยของราคาของมันครับ นั่นคือผมต้องไปหัดอ่านเกรดของทับทิมแต่ละเม็ดให้เป็น แล้วจึงกลับมานั่งดูทับทิมสยามว่าสู้เขาได้ใหม

   มาถึงตอนนี้ท่านๆ อาจขัดใจนิดๆ แล้วว่าผมทำไมถึงสนใจและเกาติดเรื่องทับทิมสยามนัก แล้วผมจะเล่าให้ฟังทีหลังแล้วกันครับ

   ช่วยตอบคุณ เทาชมพู ตามประสาคนศึกษาใหม่นะครับ

   ทับทิมแบ่งเป็น 3 เนื้อครับ คือ
   - เนื้อแก้ว (ดีสุด),
   - เนื้อแพร,
   - เนื้อเทียน
   เนื้อเทียนทึบแสงมองไม่ทะสุ เอาไปเจียรนัยแหลี่ยมไม่ได้ ต้องเจียรหลังเบี้ยไป หลังๆสามารถเผาให้โปร่งได้จึงนิยามเผากัน ส่วนที่เห็นอมม่วงนั้นเขาชอบเรียกว่าทับทิมติดม่วง เป็นสีที่พ่อค้าพลอยไม่ชื่นชอบและมักถูกเผาออกด้วยเช่นกัน ตามที่เห็นนี้ทับทิมเม็ดนี้อาจเป็นทับทิมธรรมชาติแบบเดิมๆ ไม่ผ่านการเผา มันมีคุณค่าที่เป็นของธรรมชาติ แม้ดูสวยน้อยด้อยราคาไปนิด แต่ถ้ามองที่ความหายากแล้วทับทิมเม็ดนี้มูลค่าไม่เบา

    ที่จริงตอนนี้ผู้คนพูดกันทั่วไปว่า  "ถ้าทับทิมสยามแล้วหล่ะก็ อย่ามัวไปเกี่ยงสีหรือเอามลทินมาติเลย แค่ให้มีไว้ในครอบครองสักเม็ดก็บุญโขแล้ว"
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 19 คำสั่ง