เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
อ่าน: 39216 กัปตันบุช ทหารเรือเชื้ออังกฤษที่คนไทยรู้จักเพียงชื่อตรอก
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 04 มี.ค. 13, 18:21

อ้างถึง
ทิ้งเป็นปริศนาต่อไปว่า บ้านเลขที่ ๑ ตรอกกัปตันบุช เป็นบ้านของพ่อค้าวาณิชฝรั่ง หรือคหบดีไทยท่านใด

ในบทความที่อ้างถึง กล่าวว่าวัดแก้วแจ่มฟ้าเดิมตั้งอยู่บริเวณนั้นจนกระทั่งพระยาวิสูตรสาครดิษฐ์ และพวกชาวต่างประเทศรวม๑๓คน ได้ทำหนังสือร้องทุกข์ถึงเสนาบดีว่าการต่างประเทศเมื่อวันที่๒๕มีนาคม๒๔๔๐ ว่าพวกตนได้รับความเดือดร้อนรำคาญจากกลิ่นและสิ่งโสโครกในวัด เสี่ยงต่ออหิวาห์ตกโรคดังเช่นที่มีฝรั่งในละแวกนายหนึ่งตายเพราะโรคดังกล่าวไปแล้วก่อนหน้า ทางการจึงส่งคนไปสำรวจได้ความว่า ความโสโครกดังกล่าวมาจากในพื้นที่เดิมที่เป็นป่าช้าเก่าของวัด ซึ่งมีส้วมสาธารณะตั้งอยู่ให้ชาวบ้านข้างเคียงไปใช้ บ้านเหล่านี้บางหลังก็ทำคอกเลี้ยงหมูกลิ่นตลบ ทั้งยังมีการนำขยะปฏิกูลไปทิ้งในป่าช้าจนสกปรกส่งไปทั่ว
 
ในรายงานยังได้กล่าวถึงการตรวจสอบอาณาเขตดั้งเดิมของวัดว่าแต่เดิมนั้น ที่ดินธรณีสงฆ์ติดกับแม่น้ำและคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งได้มีการผาติกรรมไปเป็นธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ และยูไนเต็ดคลับ กับทั้งมีการตัดถนนเข้าไปชิดกำแพงแก้ว ทำให้วัดถูกล้อมรอบด้วยบ้านของชาวตะวันตก ยกเว้นด้านที่ราษฎรไทยครอบครองอยู่ดังกล่าวข้างต้น จึงเสนอให้ทางราชการผาติกรรมพื้นที่วัดทั้งหมดแล้วย้ายวัดไปสร้างใหม่ พื้นที่เดิมควรนำมาปลูกตึกให้ฝรั่งเช่า

แม้ฝรั่งจะเร่งรัดให้รีบดำเนินการ โดยสถานกงสุลอังกฤษและฮอลันดามีหนังสือขอให้จัดการกับปัญหาก่อนฤดูฝนจะมาถึง แต่กว่าหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการแบบไทยๆ และพระคลังข้างสามารถหางบประมาณมาย้ายวัดไปสร้างใหม่ในที่อยู่ปัจจุบันได้ ก็ใช้เวลาร่วม๑๐ปี

บ้านเลขที่๑ ซึ่งอยู่ในอาณาบริเวณของวัดเดิม หากดูตามแผนที่ฉบับตีพิมพ์พ.ศ.๒๔๕๐ ตรงนั้นปรากฏเป็นพื้นที่โล่ง(ป่าช้าเก่าหรือเปล่าละนั่น) แต่ถ้าดูแผนที่ซึ่งสำรวจปีพ.ศ.๒๔๖๘ ตีพิมพ์พ.ศ.๒๔๗๕ บ้านหลังนี้ได้ปรากฏขึ้นแล้วบนที่โล่งดังกล่าว เจ้าของบ้านคือพระคลังข้างที่ ไม่ทราบผู้เช่า ต่อมาในปี๒๕๐๑ ได้โอนมาเป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ผู้เช่าล่าสุดคือกรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งได้ให้บริษัทสุรามหาราษฎรจำกัด เช่าช่วงต่อจนหมดสัญญาเช่าในปี๒๕๓๗ หลังจากนี้มา ไม่ปรากฏผู้เช่า แม้ว่าอาคารจะมิได้ถูกทิ้งร้างโดยสิ้นเชิงก็ตาม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 04 มี.ค. 13, 19:19

อ้างถึง
ในรายงานยังได้กล่าวถึงการตรวจสอบอาณาเขตดั้งเดิมของวัดว่าแต่เดิมนั้น ที่ดินธรณีสงฆ์ติดกับแม่น้ำและคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งได้มีการผาติกรรมไปเป็นธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ และยูไนเต็ดคลับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 04 มี.ค. 13, 19:20

^จากหนังสือ Twentieth Century Impression of Siam


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 04 มี.ค. 13, 19:24

แต่อันนี้ซิครับ ต้องร้อง "อ้าว" ดังๆ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 04 มี.ค. 13, 19:27

บทความดังกล่าวมิยักติดตามไปที่กรมท่า เพื่อหาบ้านพักของกัปตันบุช ?!
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 04 มี.ค. 13, 19:57

ตอนที่โพสต์รูปในค.ห 33  ก็นึกสงสัยตะหงิดๆเหมือนกันว่า ที่ดินตรงนี้มีมูลค่ามหาศาลในปัจจุบัน  เหตุไฉนเจ้าของบ้านหมายเลข ๑ จึงทิ้งบ้านเอาไว้ในสภาพรกร้าง    ถ้าไม่คิดจะซ่อมแซม  ก็ขายที่ดิน เอาเงินเลขเก้าหลักไปซื้อคฤหาสน์จัดสรรอยู่ก็ยังเหลือเงินอีกแยะ        ทำให้นึกขึ้นมาได้ว่า ฤๅจะเป็นที่ของทรัพย์สินฯ  ไม่ใช่ที่ของเอกชน 


บ้านเลขที่๑ ซึ่งอยู่ในอาณาบริเวณของวัดเดิม หากดูตามแผนที่ฉบับตีพิมพ์พ.ศ.๒๔๕๐ ตรงนั้นปรากฏเป็นพื้นที่โล่ง(ป่าช้าเก่าหรือเปล่าละนั่น) แต่ถ้าดูแผนที่ซึ่งสำรวจปีพ.ศ.๒๔๖๘ ตีพิมพ์พ.ศ.๒๔๗๕ บ้านหลังนี้ได้ปรากฏขึ้นแล้วบนที่โล่งดังกล่าว เจ้าของบ้านคือพระคลังข้างที่ ไม่ทราบผู้เช่า ต่อมาในปี๒๕๐๑ ได้โอนมาเป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ผู้เช่าล่าสุดคือกรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งได้ให้บริษัทสุรามหาราษฎรจำกัด เช่าช่วงต่อจนหมดสัญญาเช่าในปี๒๕๓๗ หลังจากนี้มา ไม่ปรากฏผู้เช่า แม้ว่าอาคารจะมิได้ถูกทิ้งร้างโดยสิ้นเชิงก็ตาม

ลางสังหรณ์ทำท่าว่าจะแม่นค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 04 มี.ค. 13, 20:28

เชิญอ่านต่อครับ เผื่อจะใช้ลางสังหรณ์ได้

ตรอกกัปตันบุช
โดย อิสริยา เลาหตีรานนท์

ท่านที่ผ่านไปแถวถนนเจริญกรุง อาจจะเคยสังเกตเห็นตรอกชื่อ ตรอกกัปตันบุช และอาจสงสัยว่าเหตุใดชื่อตรอกจึงเป็นชื่อฝรั่ง วันนี้ดิฉันมีที่มาที่ไปของชื่อตรอกนี้มาเล่าให้ฟัง

พจนานุกรมวิสามานยนามไทย วัด วัง ถนน สะพาน ป้อม ของนางสาวกนกวลี ชูชัยยะ ซึ่งราชบัณฑิตยสถานจัดพิมพ์เผยแพร่ เล่าถึงตรอกกับตันบุช ว่า ตรอกนี้ตั้งอยู่ระหว่างตรอกฮ่องกงกับที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขกลาง ถนนเจริญกรุง มีระยะทางจากถนนเจริญกรุงไปจดแม่น้ำเจ้าพระยา เหตุที่ตรอกนี้มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า กัปตันบุช ก็มาจากชื่อของพระยาวิสูตรสาครดิฐ หรือกัปตันจอห์น บุช ชาวอังกฤษ ที่เข้ามารับราชการในตำแหน่งเจ้าท่า สังกัดกรมท่าหลวง ซึ่งมีหน้าที่ดูแลกิจการทั่วไปและติดต่อกับชาวยุโรป กัปตันบุชเป็นชาวอังกฤษเดินทางเข้ามารับราชการในไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จากนั้น ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงวิสูตรสาครดิฐ เจ้าท่า ซึ่งเป็นตำแหน่งสำคัญเพราะหลังการลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษและนานาประเทศนั้น ประเทศไทยก็มีเรือจากต่างประเทศเข้ามาค้าขายจำนวนมาก ตำแหน่งเจ้าท่านั้น นอกจากจะอำนวยการด้านการท่า และการนำร่องแล้ว ยังต้องทำหน้าที่ไต่สวนคดีความที่เกิดขึ้นในท้องน้ำด้วย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กัปตันบุชได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระวิสูตรสาครดิฐ และพระยาวิสูตรสาครดิฐตามลำดับ และได้มีโอกาสปฏิบัติราชการใกล้ชิดพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในการตามเสด็จประพาสต่างประเทศ

กัปตันบุชและครอบครัวพำนักอยู่ที่บ้านใกล้กับโรงภาษีซึ่งเป็นที่ทำการกรมเจ้าท่า ต่อมาโรงภาษีได้ย้ายไปตั้งในตรอกโรงภาษี ส่วนตรอกบ้านของกัปตันบุชเรียกว่าตรอกกัปตันบุชจนถึงปัจจุบัน แต่เดิมนั้นตรอกกัปตันบุชเป็นที่ตั้งของร้านค้าชาวต่างประเทศจำนวนมาก ปัจจุบันมีสถานเอกอัครราชทูตโปรตุเกสตั้งอยู่ กัปตันบุชถึงแก่กรรมใน พ.ศ. ๒๔๔๘ ที่กรุงเทพมหานคร ศพของกัปตันบุชอยู่ที่สุสานโปรเตสแตนต์ ถนนเจริญกรุง.
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 04 มี.ค. 13, 20:34

เขียนโดย Ploypapat  วันศุกร์, มิถุนายน 25, 2553


ตัวที่ทำการศุลกากร (Customs House) หรือโรงภาษี เริ่มมีเป็นครั้งแรก หลังจากไทยได้ทำสนธิสัญญาบาวริงกับประเทศอังกฤษ ซึ่งในตอนหนึ่งระบุว่าจะต้องปลูกโรงภาษีให้ใกล้ท่าจอดเรือพอสมควร ถึงแม้ว่าภายหลังจากสนธิสัญญาบาวริง ได้มีที่ทำการศุลกากร (Customs House) หรือโรงภาษีขึ้นแล้ว แต่ก็ทราบได้แน่นอนราวปี พ.ศ. 2428 ว่าที่ทำการศุลกาการเวลานั้น เดิมเรียกว่า โรงภาษีร้อยชักสาม หรือเรียกสั้นๆ ว่าโรงภาษีตั้งอยู่ปากคลองผดุงกรุงเกษม เยื้องธนาคารฮ่องกงและเซียงไฮ้แบงค์ปัจจุบัน ลักษณะของอาคารเป็นเรือนปั้นหยาชั้นเดียว หันหน้าลงแม่น้ำ

ภายหลัง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานที่หลวง ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงภาษีนี้แก่พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรย์ เพื่อทำตึกให้ฮ่องกงแอนด์เซียงไฮ้แบงค์เช่า (พระราชหัตถเลขาในรัชกาลที่ 5 ถึงเจ้าพนักงาน พระคลังมหาสมบัติ ลงวันที่ 7 ปีชวด สัมฤทธิศก พ.ศ. 2430) จึงได้ย้ายมาตั้ง ณ ที่อาคารเก่าศุลกากร ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีตำรวจดับเพลิงบางรักในปัจจุบัน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 04 มี.ค. 13, 21:04

ลักษณะของอาคารเป็นเรือนปั้นหยาชั้นเดียว หันหน้าลงแม่น้ำ

อย่างกับหลังที่ตกขอบด้านซ้ายมือของรูปนี้เลย



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 04 มี.ค. 13, 21:37

ขออนุญาตย้อนกลับไป # ๔๕



หมายเลข ๑, ๒ และ ๓ คืออะไรหนอ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 04 มี.ค. 13, 22:11

กัปตันบุชถึงแก่กรรมเมื่อพ.ศ. ๒๔๔๘   ในตอนนั้นบ้านเลขที่ ๑ ยังไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมา   ในแผนที่ฉบับตีพิมพ์พ.ศ.๒๔๕๐  ที่ดินผืนนี้็ยังว่างอยู่     ต่อมาอีกหลายปี  ในแผนที่ซึ่งสำรวจปีพ.ศ.๒๔๖๘ ตีพิมพ์พ.ศ.๒๔๗๕ บ้านหลังนี้ได้ปรากฏขึ้นแล้วบนพื้นที่โล่งดังกล่าว เจ้าของบ้านคือพระคลังข้างที่ ไม่ทราบผู้เช่า

เก็บลางสังหรณ์ลงลิ้นชัก เอาข้อมูลฉบับนวรัตนดอทซีในกระทู้นี้มาปะติดปะต่อกันก็ได้คำตอบว่า พระคลังข้างที่เป็นเจ้าของบ้าน   จะซื้อมาจากใคร  หรือปลูกบ้านนี้ขึ้นมาเองก็ไม่ทราบ    แต่หารายได้โดยให้เช่า     ดูจากลักษณะของบ้าน ใหญ่โตโอ่อ่าแบบฝรั่ง น่าจะเป็นบ้านให้ฝรั่งเช่ามากกว่าไทย  เพราะคนไทยที่กล้าเช่าบ้านขนาดนี้ น่าจะรวยพอปลูกบ้านอยู่เองได้อยู่แล้ว

จากข้อมูลนี้   แสดงว่าบ้านเลขที่ ๑ ถือกำเนิดมาภายหลังกัปตันบุชถึงแก่กรรมไปแล้วหลายปี   สรุปว่าไม่ใช่บ้านท่าน    
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 05 มี.ค. 13, 06:55

ในกระทู้นี้นวรัตนดอทซีให้ข้อมูลว่า พระคลังข้างที่เป็นผู้ผาติกรรมวัดแก้วแจ่มฟ้าไปอยู่ที่อื่น แล้วนำที่ดินนั้นมาลงทุนสร้างเป็นบ้านใหญ่ๆเพื่อให้ฝรั่งเช่าได้๔หลัง ดังหมายเลข๑ ๒ ๓ และ๔ ในแผนที่ที่คุณเพ็ญชมพูถาม
เดี๋ยวนี้ที่ดินผืนนี้ยังเป็นของทรัพย์สินฯรวมทั้งบ้านเลขที่๑ ส่วนใครเป็นผู้เช่าบ้าง ทราบแต่รายสุดท้ายของบ้านเลขที่๑ที่กล่าวไปแล้ว ปัจจุบันเหลือแต่คนเฝ้าบ้านพำนักอยู่  

และที่ดินอีกส่วนหนึ่งของวัดนั้น ได้ผาติกรรมมาก่อนหน้านั้นนับสิบปี ตั้งแต่สมัยที่กัปตันบุชยังมีชีวิตอยู่ แล้วแบ่งให้ยูไนเต็ดคลับและธนาคารฮ่องกงเซี่ยงไฮ้เช่าไปสร้างตึกหรูหราใหญ่โต


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 05 มี.ค. 13, 07:04

หยิบสารบาญชีเล่ม ๑ มาเปิดตรงกรมท่า พบว่า บ้านพระวิสูทสาครดิฐ (กับตันบุช) บ้านปากคลองผดุง ลำน้ำฝั่งตะวันออก ๑๐



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 05 มี.ค. 13, 07:08

บทความดังกล่าวมิยักติดตามไปที่กรมท่า เพื่อหาบ้านพักของกัปตันบุช ?!

กรมท่า ตั้งอยู่เลยวัดแม่พระลูกประคำไปทางเหนือเล็กน้อย  "กัปตันบุช" เคยมาอยู่แถวกรมท่าหรือ  ฮืม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 05 มี.ค. 13, 07:41

นั่นแหละครับ จึงต้องการลางสังหรณ์มาช่วยกันหาบ้าน “หลังใหญ่ที่กัปตันบุชพำนัก” ตามตำนาน

นวรัตนดอทซีนำข้อมูลมาลงไปแล้ว ขอเรียงตามtime lineว่า กัปตันบุช สมัยรัชกาลที่๔ พำนักอยู่ในกรมท่า หรือโรงภาษีเก่าที่เป็นอาคารไม้ชั้นเดียวหลังคาทรงปั้นหยา ตั้งอยู่ปากคลองผดุงกรุงเกษมนี้แหละ แต่ด้านหน้าที่ติดแม่น้ำจะยาวไปแค่ไหนไม่ทราบ แต่ก็ต้องยาวพอที่เรือใหญ่จะเข้าเทียบได้(ที่ใหญ่เกินก็ต้องทอดสมออยู่กลางแม่น้ำเอาเรือเล็กเทียบถ่ายสินค้าอีกทีหนึ่ง) ที่ดินผืนนี้เคยเป็นของวัดแก้วแจ่มฟ้ามาก่อนจะถูกผาติกรรม(ครั้งแรก)
 
สมัยรัชกาลที่๕ ได้สร้างโรงภาษี(กรมท่า)ขึ้นใหม่เมื่อประมาณปี ๒๔๓๐ เป็นอาคารหรูหราเชิดหน้าชูตาสยาม ที่ดินตรงโรงภาษีเก่าพระราชทานให้พระเจ้าพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์ เพื่อทำตึกให้ธนาคารฮ่องกงแอนด์เซียงไฮ้เช่า

บ้านของกัปตันบุชยังคงอยู่ที่เดิม ไม่ได้ย้ายตามกรมท่าใหม่ไป เห็นได้จากการเข้าร่วมลงชื่อร้องเรียนให้ทางราชการเข้ามาจัดการกับมลภาวะในวัดแก้วแจ่มฟ้า(ส่วนที่ยังเหลือ)ในปี๒๔๔๐

กัปตันบุชถึงแก่กรรมในปี๒๔๔๘ บ้านที่เคยอยู่ อาจจะเป็นบ้านของตนปลูกในที่หลวง หรือบ้านหลวงทั้งหลังที่พระราชทานให้อยู่จนตายนั้น ทายาทก็ต้องคืนให้หลวงไป และยุคปัจจุบันโรงแรมโรยัลออคิดได้เช่ารวมกับที่ดินแปลงที่ติดแม่น้ำทั้งหมดจากสำนักงานทรัพย์สินฯ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.164 วินาที กับ 20 คำสั่ง