เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 39310 กัปตันบุช ทหารเรือเชื้ออังกฤษที่คนไทยรู้จักเพียงชื่อตรอก
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 30 ก.ย. 12, 11:13

หลุมศพของกัปตันบุช ในปัจจุบัน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 30 ก.ย. 12, 12:18

ADMIRAL SIR JOHN BUSH K.C.W.E. 

 เซอร์ จอห์น บุช เคซีดับเบิ้ลยูอี
(ตัวย่อท้ายชื่อเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ผู้ได้รับสามารถใช้คำว่าเชอร์นำหน้าชื่อได้)


ยังติดใจว่า K.C.W.E. ย่อมาจากคำเต็มว่ากระไร

 ฮืม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 30 ก.ย. 12, 13:09

^
มาอภิปรายกันหน่อยก็ดีครับ
 
ผมเองก็สงสัยว่า อยู่ดีๆอังกฤษจะเรียกกัปตันบุชไปมอบเครื่องราชย์ให้เป็นท่านเซอร์ได้อย่างไร ผลงานที่เป็นคุณกับประเทศอังกฤษไม่เห็นจะมี ค้นอยู่นานมาก พบว่าเครื่องราชย์ที่ใครได้แล้ว จะได้เป็นท่านเซอร์มีอยู่ตระกูลหนึ่ง เรียกว่า Order of the Wolf (OW) ผู้รับจะต้องได้ระดับขั้น Knight Commander ขึ้นไปจึงจะสามารถใช้คำว่า เซอร์ นำหน้านาม และตามหลังด้วย(KCW) ย่อมาจาก Knights Commander of the Order of the Wolf ได้

K.C.W.E. ของอังกฤษไม่มี !

แต่สยามมีอยู่ตระกูลหนึ่ง เรียกว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ภาษาอังกฤษว่า The Most Exalted Order of the White Elephant  ระดับที่พระยาจะได้รับสมัยโน้นเรียกว่า จุลวราภรณ์ ซึ่งเปลี่ยนเป็น ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก เรียกย่อว่า ท.ช. ในปัจจุบัน
   
ระดับทวีติยาภรณ์ช้างเผือกนี้มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Knights Commander of the Order of the White Elephant ตรงกันหากจะย่อว่า K.C.W.E.

ถ้าเป็นดังที่ผมวิเคราะห์นี้ กัปตัน จอห์น บุช ก็เป็นท่านเซอร์แบบไทยๆ ที่แปลความหมายมาจากคำว่า พระยา ให้เป็นเกียรติแก่ผู้ตาย ว่ากันว่าจารึกที่หลุมศพของท่าน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงลิขิตด้วยพระองค์เองทีเดียว

His grave in the Protestant Cemetery is marked by a fine obelisk with an inscription composed by King Chulalongkorn himself.

อาจไม่จริงเช่นที่ว่าทั้งหมด แต่อย่างน้อย ก็คงผ่านสายพระเนตรแน่นอน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 30 ก.ย. 12, 13:33

ตอนตาย สมบัติของกัปตันบุชประเมินค่าได้ ๑,๒๔๐,๐๐๐ บาท ค่าของเงินในขณะนั้น บ้านดีๆหลังหนึ่ง ค่าก่อสร้าง๑๐,๐๐๐บาท ถ้าสร้างโบสถ์ฝรั่ง มีงบ๕๐,๐๐๐ บาทก็เอาอยู่แล้ว
สมมุติว่าบ้านดีๆสมัยนี้ ค่าก่อสร้าง(ไม่รวมที่ดิน) ๑๐ ล้านบาท   ก่อสร้างโบสถ์ธรรมดาๆ ไม่หรูหรา ราคา ๕๐ ล้านบาทคงเอาอยู่   ทรัพย์สินของกัปตันบุชก็ต้องเอา ๑๐๐๐ คูณเข้าไป เป็น ๑๒๔๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท  โอ้โฮ  ตกใจ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 01 ต.ค. 12, 09:03

ได้ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์เสตร์ทไทมส์ ตีพิมพ์ในสิงคโปรมาเพิ่มครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 01 ต.ค. 12, 09:06

มรณกรรมของคนเก่าแก่คนหนึ่งของสยาม

นายพลเรือเอกจอห์น บุชแห่งราชนาวีสยามถึงแก่กรรมเมือวันที่๓เดือนที่แล้วขณะอายุได้๘๖ปี เขานำเรือสินค้ามาสยามในนามของกัปตันบุชเมื่อปี๑๘๕๔ และพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้เขาเข้ารับราชการในตำแหน่งนายท่าของกรุงเทพในปี๑๘๕๘ งานหลักของผู้วายชนม์คือปรับปรุงองก์กรทหารเรือสยาม เขาได้ดำรงตำแหน่งนายท่าและเจ้ากรมจนกระทั่งปี๑๘๙๓ จึงได้เกษียณจากราชการมารับบำนาญในระดับนายพลเรือเอก ยามนั้นนายพลเรือเอกบุชยังเป็นชายชราที่แข็งแรงสุภาพดี และเพราะธุรกิจสำคัญของเขาอยู่ในสยาม เขาจึงตัดสินใจที่จะอยู่จนตราบสุดท้ายในกรุงเทพแทนที่จะกลับคืนสู่บ้านเกิด นางบุชนั้นถึงแก่กรรมนานแล้ว แต่ในบรรดาลูกๆ อย่างน้อย ก็มี นายเรือ เจ.เอช.เอ็ม. บุช  นางคูร์ตซาลส์ และนางเดวิดสันที่ยังอยู่ หลานตาสองคนคือ นายแฟรงค์ สต๊วร์ต และกัปตันสต๊วร์ตแห่งบริษัทบอร์เนียว ก็เป็นที่รู้จักดีอยู่ในกรุงเทพ นางจอห์น แอนเดอร์สันผู้ล่วงลับที่เคยอยู่ในสิงคโปรนั้นก็เป็นลูกสาวคนหนึ่งของนายพลเรือเอกนี้


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 01 ต.ค. 12, 10:23

กัปตันบุชรวยถึงขนาดนี้คงทำการค้าหลายอย่าง ไม่เฉพาะแต่บริษัทบางกอกด๊อค     แต่ซื้อขายที่ดินด้วย  ในประวัติบอกว่าท่านมีบ้านอยู่ที่ปากคลองผดุงกรุงเกษม  ซึ่งกว้างพอจะต้อนรับคณะทูตจากอิตาลีให้พักอยู่ด้วยได้ตอนเดินทางมาทำสนธิสัญญาการค้ากับสยาม  นอกจากนี้ยังมีที่ดินสองข้างคลองพ่อยมอีกหลายแปลง     ตอนชรา เกษียณจากงานก็ไปสร้างบ้านอยู่ริมทะเลที่อ้างศิลา

นึกถึงข้อความที่คุณ siamese โพสไว้ในกระทู้นายอาลาบาศเตอร์

สถานทูตอังกฤษที่ถนนเจริญกรุงนั้นเป็นที่ดินที่รัชกาลที่ ๔ ทรงซื้อตารางวา ๑ บาท เป็นจำนวนเงิน ๑๖,๐๐๐ บาทเพื่อให้เป็นที่ทำการสถานกงสุลอังกฤษ ซึ่งก่อนหน้านี้ยังมี "คดีนายเส็ง" ที่ขายที่ดินให้อังกฤษเช่า ๙๙ ปี แต่ต้องพระราชอาญาเฆี่ยนจนตายที่บางคอแหลม


คุณ NAVARAT.C  เขียนต่อไว้ในกระทู้อาลาบาศเตอร์ ถึงเรื่องนี้ ว่า

ผลของสนธิสัญญายังเป็นการให้สิทธิเสรีภาพในการถือครองที่ดินแก่ทั้งราษฎรไทยและชาวต่างประเทศ ซึ่งแต่ก่อนราษฎรไม่ค่อยกล้าให้ชาวต่างประเทศถือครองที่ดินเพราะกลัวในหลวงจะกริ้ว รัฐบาลไทยอยากให้ฝรั่งเข้ามาตั้งโรงงานสมัยใหม่ จำต้องยอมผ่อนปรนเรื่องการถือครองที่ดินให้แก่ฝรั่ง แต่ก็ไม่ใช่จะถือครองได้ทุกที่ รัฐบาลแบ่งที่ดินออกเป็นสามเขต คือ ในพระนครและห่างกำแพงพระนครออกไปสองร้อยเส้นทุกทิศ ยอมให้เช่าแต่ไม่ยอมให้ซื้อ ถ้าจะซื้อต้องเช่าครบ 10 ปีก่อน หรือจะต้องได้รับอนุญาตจากเสนาบดี เขตที่ล่วงออกไป  เจ้าของที่และบ้านมีสิทธิให้เช่าหรือขายกรรมสิทธิ์ได้โดยไม่มีข้อแม้  แต่ล่วงจากเขตนี้ไปอีก ห้ามมิให้ฝรั่งเช่าหรือซื้อโดยเด็ดขาดเมื่อราษฎรได้รับสิทธิในการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน ราษฎรก็มีทางทำมาหากินเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง คือ การจำนองที่ดินเพื่อกู้เงิน หรือขายฝากขายขาดที่ดินของตนได้

บ้านของกัปตันบุชที่ปากคลองผดุงฯ น่าจะหมายถึงบ้านที่ตรอกกัปตันบุชในปัจจุบัน  เป็นบ้านในเขตพระนคร   ส่วนที่ดินริมคลองพ่อยมน่าจะอยู่นอกเขต     แต่อ่านแล้วเหมือนท่านเจ้าคุณวิสูตรสาครดิฐก็สามารถซื้อที่ดินผืนงามๆ ได้หลายแห่ง ไม่มีข้อขัดข้อง      จึงคิดว่าในช่วงที่ท่านซื้อหาที่ดินสมัยรัชกาลที่ ๕   ฝรั่งคงถือครองที่ดินได้แล้วกระมัง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 01 ต.ค. 12, 14:51

ความทุกข์ของกัปตันบุชตามมาติดๆในยามดวงตก เมื่อปีพ.ศ.๒๔๓๓ หลังจากเกิดเรื่องใหญ่นำเรือพระที่นั่งสำรองเวสาตรี ไปชนหินจนอับปางเสียในมลายู จนต้องหลบไปตั้งหลักอยู่กับลูกสาวในสิงคโปร

ลูกสาวคนนี้แต่งงานกับจอห์น แอนเดอร์สัน อดีตนายเรือพาณิชย์นาวีและเป็นกงสุลใหญ่ของสยามประจำสิงคโปร มีบรรดาศักดิ์เป็นพระพิเทศพานิช คราวที่พระเจ้าอยู่หัวเสด็จที่นั่นอีกครั้งในปีพ.ศ.๒๔๓๙ คุณพระฝรั่งคนนี้ได้รับเสด็จคนเดียว เพราะภรรยาเสียชีวิตไปก่อนหน้านั้นแล้วตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๔๓๗

แสดงว่า กัปตันบุชมาอยู่กับลูกสาวได้พักหนึ่ง แล้วก็มอบสมบัติในกรุงเทพให้เธอหมดหลังปลงตก จากนั้นอีกสองสามปี ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง ลูกสาวเกิดตายไปก่อน สมบัติที่ยกให้ลูกสาวคงตกเป็นของลูกเขยตามกฏหมาย

ไม่นานลูกเขยก็แต่งงานใหม่ เพราะเห็นว่าลูกสาวกัปตันบุชเป็นภรรยาคนแรก ถ้าเป็นความจริงดังที่ปะติดปะต่อนี้ ก็มิน่าเล่าที่จอห์น บุชถึงต้องกลับมาตายในกรุงเทพ แต่กว่าจะถึงฉากสุดท้ายก็ในปีพ.ศ.๒๔๔๘โน่น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 01 ต.ค. 12, 14:53

อ่านเรื่องกัปตันบุชที่ผมเขียนมาถึงบันทัดนี้ ท่านคงสับสนในเรื่องลูกๆและการแบ่งสมบัติของกัปตันบุช ผมเองก็เป็นเช่นนั้น  ได้ประวัติเรื่องแรกจากเวปของพวกโปแตสแท้นส์มาก็นึกว่าแม่นแล้ว แต่พอทีหลังแกะรอยจากข่าวหนังสือพิมพ์ที่ออกในยุคนั้นได้ ก็เห็นว่าไม่ยักกะเหมือนกัน ท่านตัดสินใจเองก็แล้วกันว่าจะเชื่ออย่างไร โปรดอย่ามาคาดคั้นจากผม ผมเห็นอะไรมาก็เขียนอย่างนั้น ไม่มีความสามารถจะหยั่งรู้ได้เป๊ะๆว่าอะไรจริงอะไรไม่จริง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 01 ต.ค. 12, 20:36

เว็บของโปรแตสแตนท์  เอ่ยถึงฝรั่งชื่อ George James Bush  ซึ่งไม่ได้เกี่ยวอะไรกับอดีตประธานาธิบดีที่เรารู้จักกัน    เขาผู้นี้มีสุสานอยู่ใกล้ๆกัปตันบุช  (ดูตามรูป)  เว็บเอ่ยไว้อย่างไม่ค่อยจะแน่ใจนักว่าอาจเป็นลูกชายอีกคนของกัปตันบุชก็เป็นได้   
หลักฐานที่จารึกไว้ก็คือ  George James Bush died in Luang Prabang    29 June 1884  ตรงกับพ.ศ. 2427 และระบุด้วยว่าเขารับราชการด้วย
ถ้าเขาเป็นลูกชายของกัปตันบุชจริงๆ ก็เสียชีวิตไปก่อนพ่อถึง 21 ปี      มรดกของพ่อจึงตกไปที่ลูกสาวแทน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 03 ต.ค. 12, 10:07

เรือพระที่นั่งเวสาตรี ภาพจาก The Illustrated London News


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 03 ต.ค. 12, 10:08

หลังจากอับปางที่มลายู ในขณะที่กัปตันบุชเป็นผู้บังคับการคนสุดท้ายแล้ว ไม่เหลือซากอะไรอีกนอกจากระฆังมองเหลืองประจำเรือ ซึ่งได้รับการเก็บกู้กลับคืนมาสู่สยาม ปัจจุบันแขวนอยู่ที่โรงเรียนนายเรือ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 03 ต.ค. 12, 16:14

จากเวปของราชบัณฑิตยสถาน

ตรอกกัปตันบุช  (๒๖ มีนาคม ๒๕๕๒)

ตรอกกัปตันบุช (อ่านว่า กับ-ตัน-บุด) ตั้งอยู่ระหว่างตรอกฮ่องกง กับที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขกลาง ถนนเจริญกรุง มีระยะทางจากถนนเจริญกรุงไปจดแม่น้ำเจ้าพระยา
ชื่อตรอกกัปตันบุช มาจากชื่อพระยาวิสูตรสาครดิฐ (อ่านว่า วิ-สูด-สา-คอน-ดิด) หรือกัปตันจอห์น บุช (Captain John Bush) คำว่า บุช ภาษาอังกฤษเขียน Bush ภาษาไทยเขียน บุช. กัปตันจอห์น บุช เป็นชาวอังกฤษที่เข้ามารับราชการในตำแหน่งเจ้าท่า สังกัดกรมท่า และได้มีโอกาสปฏิบัติราชการใกล้ชิดพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในการตามเสด็จประพาสต่างประเทศ

กัปตันบุชและครอบครัวพำนักอยู่ที่บ้านในตรอกเล็ก ๆ ใกล้กับที่ทำการกรมเจ้าท่า ตรอกบ้านของกัปตันบุชจึงเรียกว่าตรอกกัปตันบุชจนถึงทุกวันนี้. ปัจจุบันตรอกกัปตันบุชมีชื่อเป็นทางการว่า ซอยเจริญกรุง ๓๐



ที่มา : บทวิทยุรายการ "รู้ รัก ภาษาไทย" ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น .



http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=2889
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 03 ต.ค. 12, 16:50

จากเวปของราชบัณฑิตยสถาน

ตรอกกัปตันบุช  (๒๖ มีนาคม ๒๕๕๒)

ตรอกกัปตันบุช (อ่านว่า กับ-ตัน-บุด)

http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=2889


เพิ่งเห็นข้างบนนี้ค่ะ
ขอเชิญคุณเพ็ญชมพู  คุณ crazyhorse  คุณสุจิตรา  และท่านที่ไปตอบกระทู้คำทับศัพท์ มาที่นี่ด่วน  ตกใจ ตกใจ ตกใจ  


Bush ทับศัพท์ว่า บุช  ราชบัณฑิตท่านให้ อ่านว่า บุด  จริงๆหรือนี่่
งั้นอดีตประธานาธิบดี George W. Bush   ที่ผู้อ่านข่าวอ่านว่า ประธานาธิบดี จ๊อจ  บุ๊ช   ก็อ่านผิดมาทุกครั้งน่ะซี   ต้องอ่านว่า
ประธานาธิบดี จอด บุด


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 03 ต.ค. 12, 17:23

ช้าก่อนพระเจ้าข้า ช้าก่อน

ผมว่าฯพณฯรอยอิน ท่านอนุโลมให้อ่านออกเสียงตามโบราณ เช่น หมอบรัดเล นายกัลฝัด หมอเหา เป็นต้น
กัปตันบุช คนไทยอ่านบุด ก็ต้องบุดต่อไป

ดังนี้....แล

ประธานาธิบดี จ๊อช์จ  บุ๊ช เป็นคนเกิดสมัยนี้ หมดสิทธิ์ที่จะเป็นนายจอดบุดไปแล้ว

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.054 วินาที กับ 20 คำสั่ง