เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 30 เมื่อ 03 ต.ค. 12, 17:31
|
|
แปลว่าคนสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกพระยาวิสูตรฯ ว่ากัปตันบุด  ดิฉันเรียกตรอกกัปตันบุ๊ชมาตลอด ต้องกลับไป "บุด" ใหม่เสียแล้ว ถ้าลากเสียงยาวสักหน่อย กลายเป็นกัปตันบูดไปเลยนะเนี่ย ป.ล. ถ้างั้นคุณพระนิเทศชลธี ในกระทู้โน้น ก็ต้องเรียกว่าท่านว่ากัปตันลอบเตอด นะคะ ไม่ใช่ลอฟตัส
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 31 เมื่อ 03 ต.ค. 12, 18:36
|
|
tus มันเป็น เตอด ได้อย่างไร ? ยังเป็นงงอยู่ไม่หาย
Loftus เป็น ลอบตัด ยังจะใกล้กว่า แต่คงเห็นว่าเขียนอย่างนั้นไม่สู้จะเป็นมงคลเทาไหร่ ฟังดูเหมือนพวกแก๊งค์แมวน้ำกระมัง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 32 เมื่อ 03 ต.ค. 12, 18:57
|
|
ไปเช็คกับเว็บออกเสียง พบว่า Loftus อ่านออกเสียงแบบอังกฤษได้ 2 แบบคือ ล๊อฟ-ถัส กับอ่านออกเสียงว่า ล๊อฟ- เถ่อส ค่ะ คนโบราณกินหมากลิ้นแข็ง ออกเสียงเอสท้ายคำไม่ได้ ตัวสะกดในภาษาไทยที่เป็นคำตาย มีแค่แม่กก กด กบ เสียงตัวเอส ออกเสียงเป็น ด นับว่าใกล้เคียงสุด ส่วนเสียงตัว t ไทยรุ่นเก่าออกเสียงเป็น ต
นางสาว Rose ก็กลายเป็นนางสาวโร๊ด Loftus กลายเป็น ลอบเตอด และ..เพิ่งผ่านมาหยกๆ กัปตัน Bush เป็นกัปตันบุด ไงล่ะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 33 เมื่อ 03 ต.ค. 12, 21:09
|
|
ยอร์ช เจมส์ บุช เป็นใคร หาข้อมูลยากมาก ปรากฏชื่อในบันทึกของพระวิภาคภูวดล ( เจมส์ แมคคาร์ธี ) เจ้ากรมแผนที่คนแรกในต้นรัชกาลที่๕ ที่มาทำแผนที่สยามแทนนายอาลาบาศเตอร์ ความดังนี้
เพิ่งจะหายไข้ได้ไม่นาน ข้าพเจ้าก็ต้องออกเดินทางไปยังคาบสมุทรมลายู เพราะตอนนั้นเกิดปัญหาเรื่องเขตแดนระหว่างเปรักซึ่งเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ กับปัตตานีแต่การกำหนดเขตแดนที่เป็นปัญหานั้นทำได้โดยยาก เพราะข้อเสนอฝ่ายมลายูระบุถึงดินแดนในสภาพที่เคยเป็นอยู่เมื่อสี่สิบห้าปีมาแล้ว เนื่องจากไม่เคยได้รับรู้ว่ารัฐบาลสยามได้จัดแบ่งเขตการปกครองรัฐปัตตานีออกเป็นเจ็ดรัฐย่อย ดังจะได้กล่าวถึงต่อไปข้างหน้า บริเวณที่เกิดวิวาทกันนั้นอยู่ในรัฐรามัน (State of Raman)
เมื่อเตรียมการเบื้องต้นเสร็จแล้ว นายยอร์ช บุช (Mr.George Bush) ร่วมเดินทางไปกับข้าพเจ้าด้วย เราลงเรือชื่อ แนโรว์ บีม ("Narrow Beam") พร้อมกับกรรมาธิการฝ่ายสยาม พระยาพิไชยสงคราม กัปตันเรือเป็นลูกครึ่งเขมร - มาเลย์ ซึ่งเพิ่งจะขอลาไปแสวงบุญที่เมกกะแล้วไม่ได้รับอนุญาต จึงออกจะอารมณ์ไม่สู้จะดีนัก เขาออกตัวว่าไม่รู้จักฝั่งตะวันตกของอ่าวไทยเลย มีอยู่แต่แผนที่เดินเรือแถบชายฝั่งโนวา สโกเชีย
บันทึกนี้ยาวมาก ไปจบที่หลวงพระบาง แต่ไม่ได้เอ่ยถึงการตายของยอร์ช เจมส์ บุช
แต่หลุมศพทั้งสองนี้ น่าจะเป็นพ่อลูกกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 34 เมื่อ 03 ต.ค. 12, 21:30
|
|
ไปเช็คกับเว็บออกเสียง พบว่า Loftus อ่านออกเสียงแบบอังกฤษได้ 2 แบบคือ ล๊อฟ-ถัส กับอ่านออกเสียงว่า ล๊อฟ- เถ่อส ค่ะ คนโบราณกินหมากลิ้นแข็ง ออกเสียงเอสท้ายคำไม่ได้ ตัวสะกดในภาษาไทยที่เป็นคำตาย มีแค่แม่กก กด กบ เสียงตัวเอส ออกเสียงเป็น ด นับว่าใกล้เคียงสุด ส่วนเสียงตัว t ไทยรุ่นเก่าออกเสียงเป็น ต
นางสาว Rose ก็กลายเป็นนางสาวโร๊ด Loftus กลายเป็น ลอบเตอด และ..เพิ่งผ่านมาหยกๆ กัปตัน Bush เป็นกัปตันบุด ไงล่ะคะ
ล้อฟ กับ โร้ด กระมัง 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 35 เมื่อ 02 มี.ค. 13, 08:09
|
|
ที่ดึงกระทู้นี้กลับมาไม่ได้หมายจะเรียกratingนะครับ แต่เหตุก็เนื่องจากข้อความที่ผมเคยลงไว้นี้ กัปตันบุชมีลูกอย่างน้อยหกคนกับสองภรรยา คนแรกที่ชื่ออลิซาเบท(ลอร์สัน)ตายในกรุงเทพตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๔๐๙ มีชีวิตชาวกรุงเทพได้ไม่ถึงสิบปี ตามประวัติที่ฝรั่งเขียนกล่าวว่าลูกชายของนางได้รับราชการเป็นนายท่าแทนพ่อ แต่ผมหาไม่เห็นจะมี นามสกุลของลูกหลานถ้ามีในเมืองไทยจริง จะว่ากระไรก็ไม่ทราบ แต่กัปตันบุชแต่งงานใหม่กับแม่หญิงมอญบ้านทวาย ปากคลองโอ่งอ่าง ชื่อแม่เพียรมีลูกด้วยกันสองคน ชื่อวิกเตอร์และวิกตอเรีย ทั้งคู่เลือกที่จะเป็นฝรั่ง วิกเตอร์เป็นนายทหารอังกฤษแต่ไปตายเสียในสงครามโลกครั้งที่๑ น้องสาว(คงเป็นคนที่อยู่สิงคโปร์ช่วงหนึ่ง)แต่งงานและไปอยู่แคลิฟอเนีย ลูกชายของเธอเป็นอเมริกันชื่อวิลเลี่ยม บุช (ไม่ได้เกี่ยวดองอะไรกับนายบุชสองพ่อลูกที่เคยอยู่ในทำเนียบขาวนั่น) นายคนนี้เคยมากรุงเทพในปีพ.ศ.๒๕๒๙เพื่อสืบหาญาติ ไม่ทราบเจอใครบ้าง และได้ไปด้อมๆมองๆเดินดูบ้านที่เคยเป็นที่อาศัยของครอบครัวในตรอกกัปตันบุช สมัยคุณตามาเมืองไทยครั้งแรกเมือร้อยห้าสิบปีที่แล้ว
ภาพข้างล่าง(เขาว่า)เป็นบ้านหลังนี้ ปลายปีที่แล้ว วารสารศิลปากร ปีที่๕๕ ฉบับที่๖ พ.ย.-ธ.ค. ๒๕๕๕ ได้ลงเรื่อง “การผาติกรรมวัดแก้วแจ่มฟ้า และที่มาของบ้านเลขที่ ๑ ซอยกัปตันบุช” โดยคุณจิรนันท์ คอนเซฟซิออน ผมอ่านแล้วก็ได้นำข้อมูลที่เกี่ยวกับเรื่องข้างต้นมาค้นคว้าต่อ โดยเฉพาะในเรื่องบ้านของกัปตันบุช และขอนำมาเติมไว้แก่ผู้สนใจเรื่องนี้ดังนี้
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 36 เมื่อ 02 มี.ค. 13, 08:14
|
|
คุณจิรนันท์เขียนเล่าว่าเมื่อกัปตันบุชเมื่อเป็นนายท่า หรือ Harbour Master มีบรรดาศักดิ์เป็นพระวิสูตรสาครดิฐนั้น ในสมัยรัชกาลที่๔คนไทยเรียกท่านตามตำแหน่งว่า ฮัปมาสเตน แล้วก็กลายเป็น หันประมาสะแตน ไปโน่นเลย คงพอๆกับคำว่าCaptain Bush ที่ก็เรียกตามถนัดปากของตนเหมือนกันว่า กับตันบุด
หลักฐานที่แสดงว่ากัปตันบุชมีบ้านอยู่ในตรอกที่ตั้งชื่อตามท่าน คือข้อความเล็กๆในหนังสือพิมพ์Bangkok Calenderของหมอบร้ดเลย์ ฉบับปีคศ๑๘๗๒ ระบุว่าท่านและครอบครัวพำนักอยู่บ้านที่ตั้งอยู่ปากคลองผดุงกรุงเกษม ใกล้โรงภาษี(ภาพข้างล่าง)ซึ่งอยู่ถัดไปบนถนนเจริญกรุงอีกสองซอย
บทความภาษาอังกฤษฉบับหนึ่งกล่าวว่า บ้านของท่านนี้ ใหญ่โตกว้างขวางพอจะต้อนรับคณะทูตจากอิตาลีที่เดินทางเข้ามาทำสนธิสัญญาทางไมตรีและพาณิชย์กับสยามในปีค.ศ.๑๘๖๘(พ.ศ. ๒๔๑๑) ให้พักอยู่ด้วยได้
ทุกสำนวนจะจบลงที่ว่าบ้านและที่ดินตรงนั้นต่อมาได้เป็นธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ของอังกฤษ ซึ่งเปิดทำการในกรุงเทพเมื่อปีค.ศ. ๑๘๘๘(พ.ศ. ๒๔๓๑)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 37 เมื่อ 02 มี.ค. 13, 08:15
|
|
ผมตามเข้าไปค้นหาประวัติของธนาคารแห่งนี้ ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในนามว่าเอชเอสบีซี(HSBC) ได้ความว่าธนาคารแห่งนี้เปิดดำเนินการในประเทศไทย และเป็นธนาคารแรกของสยามด้วย ในนามธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่นจำกัด เมื่อวันที่๒ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๑ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสำนักงานแห่งแรกตั้งอยู่ ณ อาคารสำนักงานเก่าของสถานกงสุลเบลเยี่ยม ถนนเจริญกรุง (ภาพล่าง)
แต่ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๓๓ (ปีเดียวกับที่กัปตันบุชหลบไปพำนักอยู่ที่สิงคโปร์กับลูกสาว) ธนาคารได้ย้ายที่ทำการไปยังอาคารคอนกรีตทรงโรมันโดยมีกรมพระจันทบุรีนฤนาถ ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้น เสด็จมาเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารอย่างเป็นทางการ อาคารแห่งนี้ตั้งอยู่ปากคลองขุดใหม่(อีกชื่อหนึ่งของคลองผดุงกรุงเกษม)ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
อาคารทรงโรมันนี้นับเป็นอาคารประวัติศาสตร์ของธนาคารเพราะใช้เป็นที่ทำการนานถึง๘๗ปี และเป็นที่ตั้งของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อเริ่มเปิดใหม่ โดยได้มาเช่าตึกนี้เป็นการชั่วคราว ก่อนที่จะเปลี่ยนเจ้าของและต่อมาได้ถูกรื้อลงเพื่อสร้างเป็นโรงแรมระดับ๕ดาว เปิดดำเนินการในวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ ชื่อว่าโรงแรมรอยัลออร์คิด เชอราตัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 38 เมื่อ 02 มี.ค. 13, 08:17
|
|
เป็นอันว่า บ้านของกัปตันบุชเดิมก็อยู่ตรงโรงแรม ไม่ใช่ศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี้ที่อยู่ถัดไป และไม่ใช่บ้านเลขที่๑ ที่ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ฝั่งตรงข้ามถนนหน้าโรงแรมในปัจจุบัน ดังที่ผู้คนจำนวนหนึ่งเชื่อกัน
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 39 เมื่อ 02 มี.ค. 13, 08:18
|
|
ส่วนตัวบ้านนั้น จะเป็นบ้านทรงโรมันที่ธนาคารนำมาดัดแปลงเป็นสำนักงานหรือไม่ เมื่อก่อนผมเห็นเฉพาะภาพถ่ายทางอากาศก็คิดว่าเป็นไปได้ที่เศรษฐีฝรั่งระดับกัปตันบุชสมัยรุ่งโรจน์จะมีบ้านหรูหราขนาดนั้น แต่ครั้นเมื่อมาได้ภาพถ่ายชัดๆ ในมุมมองระดับพื้นดินตามปกติ ก็ประจักษ์ในสัดส่วนความสูงของอาคารที่ไม่น่าจะได้รับการออกแบบให้เป็นบ้านอยู่อาศัย(แม้กระทั่งวัง) อาคารหลังนี้สถาปนิกได้ออกแบบให้เป็นที่ทำการของสำนักงานธนาคารโดยตรงเลย
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 40 เมื่อ 02 มี.ค. 13, 08:22
|
|
ส่วนบ้านของกัปตันบุชตัวจริงคงจะเป็นอาคารไม้ทรงโคโรเนียล เหมือนบ้านพักของชาวยุโรปร่วมสมัย และคงถูกรื้อทิ้งไปเพื่อหลีกทางให้ความเจริญยุคใหม่กว่าที่มาในรูปแบบของตึกทรงโรมัน ซึ่งไม่กี่ทศวรรษต่อมา ตึกอันโอ่อ่าของธนาคารยักษ์ใหญ่ของอังกฤษที่มีสาขาทั่วโลกนี้ก็ต้องถูกทุบทิ้งไปเหมือนกันเพื่อหลีกทางให้ความเจริญยุคใหม่ยิ่งขึ้นอีก คราวนี้มาในรูปแบบของอาคารสูง รองรับกิจการโรงแรมระดับอินเทอร์เนชันแนลห้าดาว ที่ตอนนี้ก็ชักจะเริ่มเก่าแล้ว
ซึ่งก็เป็นไปตามสัจจธรรมของกฎพระไตรลักษณ์ที่ทุกสรรพสิ่ง ล้วนแต่ เกิดขึ้น..ดิ้นที่จะดำรงอยู่…แล้วก็..ดับไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 41 เมื่อ 02 มี.ค. 13, 19:27
|
|
เมื่อ คุณอา NAVARAT.C ยกไว้ว่าบ้านกัปตันบุช น่าจะเป็นที่ตั้งของฮ่องกงเซี่ยงไฮ้แบงค์ จึงรีบเข้าไปนำแผนที่เก่า พ.ศ. ๒๔๓๐ นำมาให้วิเคราะห์ จะเห็นว่าโครงสร้างประธานของบ้าน ออกไปทางสี่เหลี่ยม
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 42 เมื่อ 02 มี.ค. 13, 19:35
|
|
ลำดับต่อมาเข้าไปค้นหาสารบาญชี ส่วนที่ ๓ คือราษฏรในจังหวัด บ้านหมู่และลำน้ำ พิมพ์ที่โรงพิมพ์หมอบรัดเล จศ. ๑๒๔๕
ไม่พบชื่อกัปตันบุช เนื่องจากเสียชีวิตไปก่อนหน้านี้แล้ว แต่บาญชีระบุไว้อย่างละเอียดถึง "บ้านหมู่อู่พระวิสูทสาครดิฐ" มีประชากรอยู่ในตำบลนี้ ๒๐๐ กว่าชีวิต
ประชากรมีหลายหลาย ไทย จีน แขก อยู่ปะปนกันในพื้นนี้ใต้ลำน้ำคลองผดุงกรุงเกษมและแนวถนนเจริญกรุง ยกตัวอย่างเช่น
สรั่งสุก บุตรอำแดงคิม ขึ้นพระยารังสัน เช่าที่อำแดง ดี โรงแตะ
แขกอะซัน ร่มธงฮอลันดา
สรั่งซัน ร่มธงกงสุลฮอลันดา
นายเต่า บุตรนายแก้วขึ้นพระองค์เนาวรัตน์ เช่าโรงแตะเจ้าสัวเท้ง (เจ้าสัวเท้ง มีห้องให้เช่า ๑๖ ห้อง)
จีนแบ้ แซ่หุ้น ผูกปี้ เช่าโรงมิศน๊อก โรงฝากระดาน (มิศน๊อก มีห้องให้เช่า ๕ ห้อง)
อำแดงปุก (บ้านเจ๊สัวสอน) มีโรงแตะให้เช่า ๖ ห้อง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 43 เมื่อ 04 มี.ค. 13, 09:06
|
|
ทิ้งเป็นปริศนาต่อไปว่า บ้านเลขที่ ๑ ตรอกกัปตันบุช เป็นบ้านของพ่อค้าวาณิชฝรั่ง หรือคหบดีไทยท่านใด 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 44 เมื่อ 04 มี.ค. 13, 09:16
|
|
ส่วนตัวบ้านนั้น จะเป็นบ้านทรงโรมันที่ธนาคารนำมาดัดแปลงเป็นสำนักงานหรือไม่ เมื่อก่อนผมเห็นเฉพาะภาพถ่ายทางอากาศก็คิดว่าเป็นไปได้ที่เศรษฐีฝรั่งระดับกัปตันบุชสมัยรุ่งโรจน์จะมีบ้านหรูหราขนาดนั้น แต่ครั้นเมื่อมาได้ภาพถ่ายชัดๆ ในมุมมองระดับพื้นดินตามปกติ ก็ประจักษ์ในสัดส่วนความสูงของอาคารที่ไม่น่าจะได้รับการออกแบบให้เป็นบ้านอยู่อาศัย(แม้กระทั่งวัง) อาคารหลังนี้สถาปนิกได้ออกแบบให้เป็นที่ทำการของสำนักงานธนาคารโดยตรงเลย
ธนาคาร HSBC ออกแบบโดย โยอาคิม กราซี (Joachim Grassi/Gioachino Grassi) สถาปนิกชาวอิตาลี-ออสเตรีย รายละเอียดอยู่ใน วิทยานิพนธ์เรื่อง "สถาปัตยกรรมของโยอาคิม กราซีในสยาม" โดย นางสาวพิริยา พิทยาวัฒนชัย หน้า ๑๗๐-๑๗๕ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|