เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 16939 ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ
นอแรด
มัจฉานุ
**
ตอบ: 99


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 04 ต.ค. 12, 17:34


ทองที่สุโขทัย คาดว่ายังมีอีกเยอะ ทั้งที่ศรีสัขนาลัย และแถว เมืองเก่า

ชิ้นนี้ได้มาจากสุโขทัย ใกล้กับตากครับ
( ยังไม่ได้ล้าง )


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 04 ต.ค. 12, 19:02

ขอบคุณท่าน ตั้ง มากเลยครับที่มาให้ความรู้ ได้อ่านเจอว่าท่านเชี่ยวชาญเรื่องแร่ต่างๆ ทั่วประเทศ
เลยขอโอกาศนี้สอบถามเรื่อง..ทอง แถวกาญจนบุรี ว่าท่านเคยเดินเจอทองบ้างหรือเปล่าครับ หรือไม่ก็ได้ยินพวกกะเหรี่ยงหรือชาวเขาพบทองบ้างไหม
ตามภูเขา หรือถนนที่มีดินแดง หรือดินลูกรัง ( แบบเดินเจอนะครับ  )  ยิงฟันยิ้ม

ว่าจะตอบแล้ว เลยลืมไป มัวแต่ไปกระทู้อื่นอยู่ ขออภัยครับ
ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญหรอกครับ เรียนมา+ประสบการณ์ทำงานเท่านั้นเอง
คงจะไม่ตอบว่าเจอทองบ้างใหม เอาเป็นว่ามีอยู่ทั่วไปก็แล้วกันครับ แต่ที่จะเจอแบบเป็น nugget นั้น หรือแบบโผล่ให้เห็นบนผิวดินนั้นไม่มีหรอกครับ มีแต่จะต้องขุดแล้วเอาดินมาเลียง (ร่อน) ดู ทำสักสามสี่เลียงต่อเนื่องหรือมากกว่านั้นมากๆ ก็อาจะได้เห็นสีเหลืองเป็นผงปรากฎให้เห็นที่ก้นเลียงสักสองสามเกล็ด หรืออาจจะมากกว่านั้น แต่ไม่เกินปริมาณเท่ากับผงชูรสน้อยๆที่ใส่ในชามก๋วยเตี๋ยว ทั้งนี้ จะต้องรู้ด้วยว่าควรจะเอาดินชั้นใหนในห้วยมาทำการเลียงดู   ในห้วยที่ไหลออกมาจากแหล่งทองโต๊ะโม๊ะ ใน อ.สุคิริน จ.นราธิวาส ชาวบ้านใช้เวลาช่วงบ่ายหลังทำสวนแล้ว เลียงกันสามสี่ชั่วโมง ได้ทองเดือนหนึ่งเพียงสลึงสองสลึงเท่านั้นเอง   ด้วยลักษณะนี้เอง ในหลายพื้นที่ แม้ชาวบ้านจะพบว่ามีทองอยู่ในห้วยก็ตาม แต่ด้วยปริมาณอันน้อยนิดนี้ เขาจึงไม่เสียเวลาไปทำกัน  แต่ในทางกลับกันผลจากการที่ได้พบนี้กลับไปมีความหมายต่อการสำรวจเพื่อทำเหมืองอย่างเป็นเรื่องเป็นราวเสียมากกว่า ซึ่งแม้กระนั้นก็ตาม แม้สำรวจพบแหล่งต้นตอของทองแล้ว ก็ไม่มีการทำเหมืองแร่ทอง   

สงสัยจะต้องร่ายยาวเรื่องทองมากกว่านี้อีกเสียแล้ว ใช่ไหมครับ  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
นอแรด
มัจฉานุ
**
ตอบ: 99


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 04 ต.ค. 12, 19:24


...สงสัยจะต้องร่ายยาวเรื่องทองมากกว่านี้อีกเสียแล้ว ใช่ไหมครับ..

ดีจังครับผมอยากฟัง

ส่วนเรื่องทองโต๊โม๊ะ นั้นเห็นชาวบ้านใช้วิธีฉีดทองด้วยน้ำ แล้วก็ได้ทองพอจะทำ apartment ที่กทม.ให้คนเช่า
แต่เห็นโดนห้ามไป เพราะว่าน้ำขุ่นทำให้หมู่บ้านกลางน้ำ ปลายน้ำ ร้องเรียน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 05 ต.ค. 12, 21:35

ท่าทางคุณนอแรดจะสนใจเรื่องทองคำเอามากๆ  ซึ่งคงจะได้อ่านมามากพอสมควรเลยทีเดียว 

ที่จะกล่าวถึงสองสามเรื่อง คือ แหล่งทองคำของเราและหลายๆแห่งในโลก ไม่ใช่จะมีหรือพบมากพอที่จะทำการเสี่ยงโชคเหมือนเรื่องราวในยุคการตื่นทองในอลาสก้า หรือในออสเตรเลีย  ทองคำในอลาสก้านั้นเป็นแบบมาจากการผุพังมาจากหินในยุคที่มีอายุมากกว่า 1000 ล้านปี แล้วถูกพัดพาไหลมารวมกันอยู่ตามแอ่งของห้วยเก่า เป็นลักษณะที่เราเรียกว่า Placer deposit   หากได้อ่านและติดตามเรื่องราวจริงๆก็จะเห็นว่า แม้ว่าจะมีนักเสี่ยงโชคไปทำเหมืองแร่ในอลาสก้ามากมาย แต่ก็ไม่มีเหมืองแร่ขนาดใหญ่ไปทำเหมืองกัน เหมืองทองจริงๆนั้นจะทำเหมืองกันในหินแข็งใต้ดินกันทั้งนั้น

เหมืองแร่ทองคำจริงๆนั้น ไม่ได้หมายถึงเหมืองแร่ที่ทำเฉพาะทองคำเพียงอย่างเดียว เกือบทั้งหมดจะกำไรอยู่ได้ก็เพราะแร่อื่นๆที่ทองคำเกิดร่วมอยู่ด้วย เช่น ทองแดง   


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 05 ต.ค. 12, 21:45

อ้างถึง
ขอถามว่าจังหวัดทั้งหลายที่มีชื่อแปลว่าทองคำ จริงๆแล้วมีทองคำหรือเปล่าครับ


กาญจนบุรี ก็ว่าไปแล้ว ส่วนที่ สุพรรณบุรี กับ อ่างทอง คุณตั้งว่ามันมีทองคำอยู่ในดินหรือเปล่าครับ
บันทึกการเข้า
นอแรด
มัจฉานุ
**
ตอบ: 99


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 05 ต.ค. 12, 23:02


ขอบพระคุณมากครับคุณตั้ง ผมสนใจประสบการณ์การเดินป่าและสำรวจแร่ทางเมืองกาญจนบุรีของคุณตั้งมาก เลยมาสมัครเป็นสามชิก
เพื่อที่จะได้สอบถามคุณตั้งโดยตรง และคุณตั้งเองก็เล่าได้อย่างสนุกสนาน ตื่นเต้นดี

ส่วนทองของเมืองนอกนั้นก็พอหาอ่านได้ในเวปครับ แต่เมืองไทยเองมีน้อยมาก จึงอยากจะฟังเรื่องของเมืองไทยมากกว่าครับ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 06 ต.ค. 12, 06:52

ขอตอบด้วยรูปนะครับ




รายละเอียดทั้งหมด
http://www.mne.eng.psu.ac.th/knowledge/student/AKHOM_GOLD/gold%209.html
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 06 ต.ค. 12, 07:18

ขอบคุณครับคุณsamun007

เข้าไปดูแล้ว กาญจนบุรีมีนิดหน่อยในตะกอน บริเวณภูเขาแถวๆชายแดนโน่น สุพรรณบุรี กับ อ่างทอง ไม่เห็นมีทองคำ

แล้ว "ทอง" คืออะไร
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 06 ต.ค. 12, 08:23

ขอบคุณครับคุณsamun007

เข้าไปดูแล้ว กาญจนบุรีมีนิดหน่อยในตะกอน บริเวณภูเขาแถวๆชายแดนโน่น สุพรรณบุรี กับ อ่างทอง ไม่เห็นมีทองคำ

แล้ว "ทอง" คืออะไร

ตอนแรกก็นึกแผลง "อ่างทอง" เช่นเดียวกับคุณ NAVARAT.C แต่นึกไปนึกมา ทำให้คิดได้ว่าบริเวณนี้เป็นที่ราบลุ่มน้ำดินตะกอน ไม่มีทองคำแน่นอน หากแต่เป็นพื้นที่ปลูกข้าว ท้องนาเหลืองดังทองคำ

"ทุ่งเอ๋ย ทุ่งรวงทอง เห็นข้าวออกรวงน่ามอง ดุจสีทองสีแห่งศรัทธา........"
บันทึกการเข้า
นอแรด
มัจฉานุ
**
ตอบ: 99


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 06 ต.ค. 12, 08:34

ขอบคุณท่าน saman ครับ ผมก็เคยอ่านเล่มนี้เหมือนกัน และ ก่อนเล่มนี้ ซึ่ง ทางกรมทรัพย์ได้เพิ่มข้อมูลมาหลังจากประชาชนได้ขุดพบ
ทองคำอีกหลายแห่ง จึงเข้าผนวกมาในเล่มนี้

อย่างไรก็ตาม ผมก็เห็นว่าเล่มนี้ได้ทิ้งข้อมูลเก่าๆ ไป ซึ่งผมเห็นว่า ข้อมูลจากภาคประชาชนมีประโยชน์มากทีเดียว ทิ้งไปแล้วก็น่าเสียดาย

อย่าลืมว่า ข้อมูลที่กรมทรัพย์ได้มาก็มาจากการค้นพบของชาวบ้านทั้งนั้น ( ไม่รวมถึงการอาศัยเครื่องบินสำรวจสนามแม่เหล็ก ที่จ้างเอกชนมาทำ ซึ่งก็ดูเหมือนจะเป็นการหาแหล่งแร่ขนาดใหญ่ )

ผมถึงอยากจะได้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ด้วย จึงเข้ามาสอบถามในที่นี้ครับ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 08 ต.ค. 12, 21:34

ขอบคุณท่าน saman ครับ ผมก็เคยอ่านเล่มนี้เหมือนกัน และ ก่อนเล่มนี้ ซึ่ง ทางกรมทรัพย์ได้เพิ่มข้อมูลมาหลังจากประชาชนได้ขุดพบ
ทองคำอีกหลายแห่ง จึงเข้าผนวกมาในเล่มนี้

อย่างไรก็ตาม ผมก็เห็นว่าเล่มนี้ได้ทิ้งข้อมูลเก่าๆ ไป ซึ่งผมเห็นว่า ข้อมูลจากภาคประชาชนมีประโยชน์มากทีเดียว ทิ้งไปแล้วก็น่าเสียดาย

อย่าลืมว่า ข้อมูลที่กรมทรัพย์ได้มาก็มาจากการค้นพบของชาวบ้านทั้งนั้น ( ไม่รวมถึงการอาศัยเครื่องบินสำรวจสนามแม่เหล็ก ที่จ้างเอกชนมาทำ ซึ่งก็ดูเหมือนจะเป็นการหาแหล่งแร่ขนาดใหญ่ )

ผมถึงอยากจะได้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ด้วย จึงเข้ามาสอบถามในที่นี้ครับ

จริง ๆ แล้ว ทองก็มีหลายเนื้อนะครับ ทั้งเนื้อเจ็ด เนื้อแปด และที่ดีที่สุดก็คือเนื้อเก้า  

ถ้าสนใจในเรื่องความรู้ของระดับชาวบ้าน ส่วนตัวคิดว่าทองคำในบ้านเรา อาจจะไม่ใช่เนื้อเก้าทั้งหมด เพราะถ้าดูในบริบทของสังคมสมัยก่อน เราก็จะพบกับเรื่องเนื้อหาวิทยาการด้านโลหะศาสตร์ ที่จะออกมาในรูปของตำราการเล่นแร่แปรธาตุ ซึ่งบางสูตร บางตำรา ก็ไม่ได้ใช้เนื้อทองตามธรรมชาติแต่อย่างใด เป็นเพียงแต่การนำเอาวัตถุดิบหลาย ๆ อย่างมาผสมเข้าด้วยกัน ถ้าทำได้ตามสูตรก็จะกลายเป็นทองคำได้นั่นเองครับ

โดยส่วนตัวแล้ว เคยผ่านตาเนื้อหาเรื่องของหลักฐานระดับชุมชน ที่หน่วยงานราชการและนักวิชาการส่วนใหญ่ยังไม่ยอมรับมาบ้าง วัตถุบางอย่างเช่นเนื้อหินที่มาจากกาญจนบุรี ก็ยังพอจะมองเห็นในส่วนของเนื้อทองบ้างเช่นกันครับ  


อีกนิดครับ เรื่องของการสำรวจโดยเครื่องบิน ส่วนตัวก็เคยได้ยินข้อมูลมาบ้างเหมือนกัน ได้ข่าวว่าบางที่เข็มวัดถึงกับขนาดตีกลับไปมาหลายรอบเลยเหมือนกันครับ ผมว่าหน่วยงานราชการจริง ๆ ก็รู้หมดล่ะครับว่าตรงไหนมีหรือไม่มีขนาดไหน แต่จะยอมเปิดเผยความจริงแค่ไหนเท่านั้นเอง

 

บันทึกการเข้า
นอแรด
มัจฉานุ
**
ตอบ: 99


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 08 ต.ค. 12, 21:39


ขอบคุณครับท่าน SAMAN

ผมสงสัยตรงที่ท่านบอกว่า..เนื้อหินที่มาจากกาญจนบุรี ก็ยังพอจะมองเห็นในส่วนของเนื้อทองบ้างเช่นกันครับ...

ตรงนี้ท่านพอมีตัวอย่างเป็นภาพหรือไม่และท่านได้มาจากที่ไหนของกาญจนบุรีครับ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 08 ต.ค. 12, 21:44


ขอบคุณครับท่าน SAMAN

ผมสงสัยตรงที่ท่านบอกว่า..เนื้อหินที่มาจากกาญจนบุรี ก็ยังพอจะมองเห็นในส่วนของเนื้อทองบ้างเช่นกันครับ...

ตรงนี้ท่านพอมีตัวอย่างเป็นภาพหรือไม่และท่านได้มาจากที่ไหนของกาญจนบุรีครับ

ภาพไม่มีครับ เพราะไม่ได้ถ่ายไว้ ส่วนที่ได้มาจากไหน ไม่ได้ถามรายละเอียดไว้เหมือนกันครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 09 ต.ค. 12, 19:34

แร่ต่างๆและทองคำที่พบกันในสถานที่ต่างๆหรือตามห้วยในท้องถิ่นทุรกันดารต่างๆนั้น ในทางวิชาการเรียกว่า Occurrence คือ ได้มีการพบว่ามีอยู่ตรงนั้น ซึ่งทั้งหมดมิใช่แหล่งแร่ (mineral deposit)  สิ่งที่พบเหล่านั้นเป็นเพียงผลิตผลจากสิ่งที่หลงเหลือมาจากการผุพังทำลายตามธรรมชาติซึ่งถูกนำพาหรือพัดพามาตกกระจัดกระจายอยู่ให้เราได้เห็น (trace)  ซึ่งสิ่งที่พบเห็นนี้เป็นเสมือนหนึ่งเครื่องมือที่แสดงว่าน่าจะีแหล่งแร่อยู่ในแถบนั้น (หากย้อนรอยกลับไป)  ทองคำก็เป็นเช่นนั้น

ในความเป็นจริงมันไม่เป็นเช่นนั้น หากพบแหล่งกันได้ง่ายขนาดนั้น ลงทุนทำเหมืองกันได้ง่ายขนาดนั้น เราคงร่ำรวยกันถ้วนหน้าไปแล้ว
 
แหล่งแร่ทองคำที่มีความอุดมสมบูรณ์มากของโลก เมื่อครั้งราคาทองคำบริสุทธิ์ขายกันที่ประมาณ 350 USD ต่อออนซ์ (หนักประมาณ 2 บาท) นั้น ต้นทุนการทำเหมืองเพื่อให้ได้มาซึ่งทองคำบริสุทธิ์หนึ่งออนซ์ ตกอยู่ที่ประมาณ 250 USD  กำไรที่ต่างกันประมาณ 100 USD นั้น หักเป็นเงินคืนทุน (ใช้หนี้) ที่ได้ลงไปส่วนหนึ่ง แบ่งกำไรให้กับเจ้าของเงินที่ลงทุนซื้อหุ้นส่วนหนึ่ง แล้วแบ่งเป็นเงินเอาไปสำรวจหาแหล่งไหม่อีกส่วนหนึ่งก็ฝืดเต็มที่แล้ว  แหล่งแร่ทองคำที่พบๆกันจนสามารถทำเหมืองได้กันนั้น ใช้เวลาระหว่าง 5-15 ปี จึงจะเริ่มได้ผลผลิตที่เป็นทองกัน  และที่สำคัญเหมืองทองคำนั้นมันอยู่ด้วยตัวปริมาณทองคำที่ผลิตได้อย่างเดียวเกือบไม่ได้ มันอยู่ได้ด้วยแร่อื่นๆที่เกิดร่วมอยู่ด้วยช่วยเป็นผู้จ่ายค่าใช่จ่ายหลักในการทำเหมือง
   
สภาพในปัจจุบันนี้คงเปลี่ยนไปมากเนื่องจากราคาทองสูงมาก จากเดิมในสมัยเก่าแก่เมื่อครั้งราคาทองคำประมาณน้ำหนักบาทละ 450 บาท ต้องเอาหินประมาณ 1 ตันมาบดละเอียดเพื่อจะให้ได้ทองคำประมาณ 8 กรัม จึงจะคุ้มค่าการลงทุน  เมื่อครั้งราคาทองคำประมาณน้ำหนักบาทละ 4000 บาท ต้องเอาหินประมาณ 1 ตันมาบดละเอียดเพื่อจะให้ได้ทองคำประมาณ 2 กรัม จึงจะคุ้มค่าการลงทุน  ปัจจุบันนี้คงจะไปอยู่ในระดับน้อยกว่าครึ่งกรัมต่อตันแล้วกระมัง

เล่ามาเพียงเพื่ออธิบายว่า occurrence นั้นมิใช่เป็นการพบแหล่งและต้นตอ (deposit) ที่สามารถจะทำเหมืองได้เสมอไปครับ
บันทึกการเข้า
นอแรด
มัจฉานุ
**
ตอบ: 99


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 10 ต.ค. 12, 10:53


ขอบคุณท่าน naitang มากครับที่ได้กรุณา เล่าเรื่องการทำเหมืองทองขนาดใหญ่มาให้เป็นความรู้

ท่านพูดถึงเรื่อง occurrence ขึ้นมา ตามปกติในอดีตเมืองไทยนั้น จะรู้ได้ว่าที่ไหนมีทอง ก็ต้องจากการร่อนแร่ตามลำธาร

แต่ที่ห่างจากลำธารก็มี เหมือนกันนะครับ ชาวบ้านอาจเห็นทองก้อนเล็กๆ หลังจากฝนตกใหม่ๆ ตามถนน( ส่วนใหญ่จะเป็นลูกรัง  ) หรือในสวนของเขาเอง

และนี่คือที่มาของ hobby ใหม่ที่เกิดขึ้นมาไม่กี่ปีที่ผ่านมา


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 20 คำสั่ง