เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 8796 สกุล ศรียาภัย มีความเกี่ยวเนื่องอันใด กับพระเจ้าตากสินครับ
jilkung
อสุรผัด
*
ตอบ: 38


 เมื่อ 29 ก.ย. 12, 23:10

สกุล ศรียาภัย มีความเกี่ยวเนื่องอันใด กับสมเด็จพระเจ้าตากสินครับ คือเท่าที่เคยค้นหาข้อมูล ได้ทราบเพียงว่าสืบเชื้อสายจากทางพระธิดาในสายฝ่ายหญิงของสมเด็จพระเจ้าตากสิน หรือมีความเกี่ยวข้องกับราชวงศ์สมัยอยุธยาหรือไม่ประการใดครับ รบกวนผู้รู้มาตอบ สกุลศรียาภัยที่รู้จักตอนนี้ คือท่านผู้หญิงธิดา เศวตศิลา(ศรียาภัย)อะครับ *-*
 ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 30 ก.ย. 12, 12:10

คุณ ritti018 สมาชิกเรือนไทยเคยโพสต์ประวัติของสกุลศรียาภัยไว้ว่า

นามสกุล "ศรียาภัย" เป็นนามสกุลพระราชทาน ที่รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชทานให้กับพระยาวจีสัตยารักษ์ (ฃำ)  ผู้กำกับถือน้ำ  กระทรวงมหาดไทย  บิดาคือพระศรีสรราชสงรามรามภักดี (ปาน)  ปู่คือพระอภัยณรงค์สงคราม (แพ)

ประวัติของพระยาวจีสัตยารักษ์(ขำ  ศรียาภัย) มีดังนี้
   พระยาวจีสัตยารักษ์  เดิมชื่อ ขำ  เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี  เดือน 11 แรม 12  ค่ำ  ปีมะโรง  พ.ศ. 2387  ตรงกับรัชกาล  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 3  นายขำมีบุตร 5 คน  คือ คุณชื่น  ศรียาภัย  พระยาประชุมพลขันธ์(ขัน  ศรียาภัย)  นายจวน  นายเขต  และนางเฉลิม
 
    นายขำ  ศรียาภัย  ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ 4  ได้ฝึกหัดราชการอยู่ในสำนักของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง  บุนนาค)  สมุหพระกลาโหมเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญหลายด้าน  เช่น  การค้าขาย  การจับ  และฝึกหัดช้าง  และยังมีความสามารถในการพูดภาษาจีน  ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงราชานุชิต  ผู้ช่วยราชการเมืองไชยา  ในรัชกาลที่ 4
 
    ในสมัยรัชกาลที่ 5  ท่านได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาศรีราชสงคราม  ปลัดเมืองไชยาและดำรงตำแหน่งนี้เป็นเวลา  10 ปี  มีความชอบจากการไปปราบจลาจลชาวจีนที่เมืองภูเก็ต  จึงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทิพยาภรณ์ช้างเผือก  ขั้นที่ 5

พ.ศ. 2422  ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวิชิตภักดี  ผู้ว่าราชการเมืองไชยา  ทำความดีความชอบจนได้รับ

พ.ศ. 2422  ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบมณฑล  พระยาวิชิตภักดีได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น  พระ      ยาไวยวุฒิวิเศษฤทธิ์  จางวางเมืองไชยา

พ.ศ. 2449  ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวจีสัตยารักษ์

    เนื่องจากพระยาวจีสัตยารักษ์  เป็นผู้ชำนาญเกี่ยวกับหัวเมืองชายทะเลปักษ์ได้  พระยาวจีสัตยารักษ์จึงได้ทำหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์นำเสด็จ  และเมื่อมีทางรถไฟสายใต้ได้เป็นผู้นำตรวจทางรถไฟสายใต้เป็นครั้งแรก  ตั้งแต่มณฑลปัตตานี  ถึงเมืองเพชรบุรี  นอกจากนี้ยังได้สร้างคุณงามความดีอันเป็นประโยชน์อีกมากมาย
 
     พระยาวจีสัตยารักษ์ท่านถึงแก่กรรมด้วยโรคลมปัจจุบัน  เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2457  รวมอายุได้  70 ปี  ปัจจุบันมีสถูปซึ่งบรรจุอัฐิของท่านและบุตรหลานในตระกูลศรียาภัย ณ เมืองไชยา(เก่า)  ตำบลพุมเรียง  อำเภอไชยา  จังหวัดสุราษฎร์ธานี
*****************
ไม่ได้เอ่ยถึงความเกี่ยวข้องกับสมเด็จพระเจ้าตากสินค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 30 ก.ย. 12, 18:43

ช่วยได้แค่นี้จริงๆครับ

คงจะเป็นสกุลหนึ่งที่ถวายลูกสาวให้เป็นเจ้าจอมมารดา แต่จะเป็นท่านใดคงต้องตามรอยไปดูในหนังสือของกรมศิลปากรที่ว่า หอสมุดแห่งชาติน่าจะมี


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 19 คำสั่ง