เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 6382 อักษรย่อ ป.ว.ร.
chatchawan
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


 เมื่อ 29 ก.ย. 12, 19:38

อยากทราบว่าอักษรย่อ ป.ว.ร. เป็นอักษรย่อนามของใครครับ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 29 ก.ย. 12, 20:04

แหม..ถ้าเป็น ว.ป.ร. ละก็ เสร็จคุณวีหมี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 29 ก.ย. 12, 20:15

มีรูปประกอบให้ดูเป็นตัวอย่างไหมคะ
บันทึกการเข้า
chatchawan
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 29 ก.ย. 12, 20:37

ไม่มีกล้องที่ถ่ายได้ครับ
บันทึกการเข้า
เทพกร
ชมพูพาน
***
ตอบ: 142



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 30 ก.ย. 12, 00:36

ป.ว.ร. น่าจะย่อมาจากพระนามของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์

ลองเอาภาพพระกริ่งปวเรศมาประกอบครับ
ด้านหลังองค์พระมีพระนามย่อ ป.ว.ร.



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 30 ก.ย. 12, 08:00

ถ้าเป็น บ.ว.ร. ล่ะ หมายถึงอะไร

 ฮืม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 30 ก.ย. 12, 09:13

เคยได้ยินชื่อพระกริ่งปวเรศ  นึกว่าเป็นพระกริ่งสร้างโดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
แต่กลับมาเจอในวิกิพีเดีย ว่าเป็นพระกริ่งของวังหน้า  ซึ่งบอกว่า" ปวเรศ" เป็นพระนามย่อของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
ไม่ทราบว่าเท็จจริงอย่างไรค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 30 ก.ย. 12, 11:02

เคยได้ยินจากปากของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธปาพจนบดี(ทองเจือ จินฺตากโร)อดีตเจ้าอาวาสวัดราชบพิธ นานมาแล้วท่านเคยเมตตาให้พระกริ่งปวเรศผมดู บอกว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงสร้างครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 30 ก.ย. 12, 11:11

ที่มาของความสงสัยค่ะ

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%A8

เจอคำตอบที่แตกต่างจากในวิกิพีเดีย จากอีกเว็บหนึ่ง  นำมาลงเพื่อให้พิจารณา

กรมหลวงวชิรญาณวงศ์แห่งวัดบวรฯ เคยมีดำรัสถึงเรื่องพระกริ่ง ปวเรศนี้ว่า "เท่าที่ฉันได้ยินมานั้น สมเด็จกรมพระยาปวเรศฯ ท่านทรงสร้างขึ้นด้วยพระองค์เอง มีจำนวนน้อยมาก น่าจะไม่เกิน 30 องค์ ต่อมาได้ประทานให้หลวงชำนาญเลขา (หุ่น) ผู้ใกล้ชิดพระองค์นำไปจัดสร้างขึ้นอีกจำนวนหนึ่ง แต่หลวงชำนาญเอาไปเทนั้น จะมากน้อยเท่าใดฉันไม่ได้ยินเขาเล่ากัน"

การสร้างพระกริ่งปวเรศของสมเด็จกรมพระยาปวเรศฯ นั้น น่าจะเนื่องจากว่าท่านได้รับการถวายพระกริ่งที่เรียกกันว่า "กริ่งปทุมสุริวงศ์" พร้อมตำราการสร้างพระกริ่งและตำรามงคลโลหะ ที่มีมาแต่โบราณสืบค้นได้ถึงสมัยสมเด็จพระพนรัตน วัดป่าแก้ว ทรงเห็นว่าพระกริ่งนั้นดีมีมงคล หากจะสร้างขึ้นตามตำรา แต่ดัดแปลงพุทธลักษณะที่คล้ายเทวรูปในคตินิยมแบบมหายาน ให้มีพุทธลักษณะคตินิยมแบบหินยานก็น่าจะมีเอกลักษณ์ดี

อีกทั้งเมื่อมีการขยับพระพุทธชินสีห์คราวสร้างฐานชุกชีนั้น พบว่ามีเนื้อฐานพระพุทธชินสีห์ชำรุดจึงโปรดให้ช่างตัดแต่งให้งามดุจเดิม และเนื้อฐานพระพุทธชินสีห์นั้นเองล่ะกระมังที่เป็นแรงบันดาลใจ เมื่อทรงได้ตำราสร้างพระกริ่งและตำราโลหะมงคลมา จึงได้นำโลหะที่เหลือจากการแต่งฐานพระพุทธชินสีห์มาใช้ เพราะนานไปเศษโลหะนั้นจะไม่มีผู้รู้ค่าว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์จะถูกทิ้งเสียเปล่า

พระองศ์เจ้าภาณุพันธ์ ยุคล ได้ทรงดำรัสถึงเรื่องพระต้นแบบพระกริ่งปวเรศเป็นความว่า "ฉันเห็นหม้อน้ำมนต์ของวัดบวรนิเวศวิหาร ฉันได้เอาแว่นขยายส่องดู จึงแน่ใจว่าเป็นพระกริ่งใหญ่ (พระกริ่งจีน) หรือที่เรียกกันว่าปทุมสุริวงศ์ อันน่าจะได้รับถวายมาจากราชวงศ์นโรดมกัมพูชา" สำหรับพระกริ่งใหญ่หรือพระกริ่งปทุมสุริวงศ์นี้ เป็นพระกริ่งของจีนโบราณสมัยหมิง ได้แพร่หลายเข้ามานานแล้ว แต่ที่พบจะมาพร้อมพระกริ่งบาเก็ง ซึ่งศิลปะสกุลช่างจีนเช่นเดียวกันแต่พบที่ปราสาทบาแคงที่ตั้งอยู่ในเทือกเขาพนมบาแคง

พระกริ่งปวเรศนั้นเป็นพระกริ่งที่สร้างหล่อทีละองค์ แบบเบ้าดินเผาแบบประกบ เมื่อเทเสร็จจะต้องนำมาเกาแต่งใหม่ทั้งองค์ และทุกองค์มีการอุดก้นด้วยแผ่นทองแดงและทองฝาบาตรประสานด้วยเงินสำหรับโค้ดลับเม็ดงานั้น ได้มีการตอกไว้จริงแต่ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งเดียวกันทุกองค์ จะถือการตอกผิดตำแหน่งเป็นของปลอมก็มิสมควร ต้องพิจารณาให้ละเอียด

http://board.palungjit.com/f128/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%A8-%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81-%E0%B8%9E-%E0%B8%A8-2434-%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%B8%B0-265345-3.html
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 30 ก.ย. 12, 11:51

ตามไปอ่านแล้วครับ คนเขียนมั่วข้อมูลน่าดู

๑ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์  หาเกี่ยวอะไรกับพระนามปวเรศไม่

๒ ภูมิรู้ของคนเขียนก็ตื้นเขิน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวท่านทรงมีฐานะพระมหากษัตริย์พระองค์ที่๒ สูงกว่ากรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือ พระมหาอุปราชวังหน้าที่อ้างถึง

คนเขียนคงจะต้องการสร้างประวัติเพื่อให้รู้สึกว่า จำนวนพระกริ่งปวเรศถูกสร้างขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงได้มีผู้นำมาค้าขายกันในตลาดพระได้  ทั้งที่ความจริงแล้ว พระกริ่งปวเรศถูกสร้างขึ้นอย่างจำกัดจำนวนมาก เพื่อเจาะจงทูลเกล้าฯถวายหรือประทานให้เป็นพระองค์ๆไป ที่หลุดออกมาถึงมือผู้อื่นจะมีบ้างในครั้งกระโน้น แต่ยากเต็มที
องค์ที่ผมเห็น ติดอยู่ในบาตรน้ำมนต์ครับ
บันทึกการเข้า
chatchawan
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 30 ก.ย. 12, 20:02

รูปช้างข้างต้นนี่หละครับใช่อันเดียวกับที่ผมหาข้อมูลอยู่เลยทั้ง เลข ๒๔๓๐ และแต่อักษรอาจมองผิดพลาด ไม่ทราบว่ามันคืออะไรหรือครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 30 ก.ย. 12, 21:14

พระกริ่งปวเรศนั้น ได้สูตรสร้างสรรค์จากสมเด็จพระวันรัต สมัยกรุงศรีอยุธยา สืบทอดตำรามาเป็นรุ่น ๆ ครับ สายหนึ่งส่งไปยังวัดบวรนิเวศ สายหนึ่งส่งไปยังวัดสุทัศน์ฯ สายหนึ่งส่งไปยังวัดจักรวรรดิ์ฯ (วัดสามปลื้ม) ซึ่งมีหลักการสร้างพระกริ่งอย่างเดียวกัน แต่ต่างกันที่พิธีกรรมครับ

สำหรับพระกริ่งปวเรศฯ โดยสมเด็จกรมพระปวเรศ ถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์และมีค่ามาก เอาไว้อาราธนาทำน้ำมนต์ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงเคยเห็นการอาราธนาน้ำมนต์ดังกล่าว ลักษณะของพระกริ่งจะจำลองมาจากพระกริ่งใหญ่ของจีน ด้านหลังมีตอกโค๊ทรูปเม็ดงา กล่าวกันว่าที่พบเห็นประมาณ ๓๒ องค์ องค์ที่ผมนำมาให้ดูเป็น "องค์วัดบวรนิเวศ ประทับในศาลาเก๋งย่อส่วน" ครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 30 ก.ย. 12, 21:26

ขอถามค่ะ
แล้วอีกสองสาย เรียกว่าพระอะไร ในเมื่อสมเด็จกรมพระยาปวเรศฯไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็ไม่น่าจะเรียกว่าพระกริ่งปวเรศ
ถ้าเป็นพระเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยอยุธยา  มีชื่อเดิมมาตั้งแต่แรกหรือเปล่าคะ 
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 30 ก.ย. 12, 21:52

ขอถามค่ะ
แล้วอีกสองสาย เรียกว่าพระอะไร ในเมื่อสมเด็จกรมพระยาปวเรศฯไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็ไม่น่าจะเรียกว่าพระกริ่งปวเรศ
ถ้าเป็นพระเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยอยุธยา  มีชื่อเดิมมาตั้งแต่แรกหรือเปล่าคะ  

พระกริ่งในประเทศไทย

พระกริ่งในประเทศไทย นั้นต้องยอมรับว่า เจ้าตำรับการสร้างพระกริ่งในปัจจุบันนี้ ต้องยกให้วัดสุทัศน์เทพวราราม เนื่องจากมีชื่อเสียงโด่งดังและมีประวัติการสร้างพระกริ่งมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่พ.ศ. ๒๔๔๑ เป็นต้นมา

แต่ถ้าจะยกย่องให้พระกริ่งองค์แรก ที่หล่อขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ก็ได้แก่ วัดบวรนิเวศ โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงสร้างขึ้นมาและเรียกกันโดยสามัญว่า “พระกริ่งปวเรศ”

สำหรับตำราการสร้างพระกริ่งในประเทศไทยพบดังนี้ว่าตำราสร้างพระกริ่งในยุคกรุงรัตนโกสินทร์นี้ เดิมเป็นตำราของสมเด็จพระนพระชัต วัดป่าแก้ว สำนักอรัญญิกาวาสสมถธุระวิปัสสนาธุระแห่งกรุงศรีอยุธยา และมาอยู่ที่สมเด็จกรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัตติยวงศ์ วัดพระเชตุพนฯ จากนั้นพรมงคลทิพย์มุนี (มา) วัดจักรวรรดิราชาวาส ก่อนที่จะมาตกอยู่ที่สมเด็จพระสังฆราช (แพ) เมื่อครั้งยังทรงสมณศักดิ์เป็นพระเทพโมลี

ผมเคยตั้งกระทู้เกี่ยวกับพระกริ่งทุกรูปแบบไว้ที่นี่ครับ เชิญเข้าไปอ่านได้เลยครับ ประวัติพระกริ่ง แห่งสยามประเทศ

คือกล่าวอย่างสรุปคือ ตำราสมัยอยุธยานั้นสืบทอดมายัง สมเด็จกรมพระปรมานุชิต มายังกรมพระยาปวเรศ (อันเป็นพระกริ่งสายวัดบวรฯ ) และส่งมายังเจ้าคุณมา (สร้างพระกริ่งล้มลุก อันเป็นพระกริ่งสายวัดสามปลื้ม) และสังฆราช (แพ) ท่านได้นำตำรามาสร้างพระกริ่งเป็นสายวัดสุทัศน์สืบมาจนบัดนี้ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 19 คำสั่ง