เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 8732 ขอถามเรื่องของอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ หน่อยครับ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 11 พ.ค. 22, 11:53

เช่นบางตอนกล่าวว่า "โครงการนี้นั้นเป็นโครงการอันเดียวอย่างแน่นอนกับที่ประเทศรัสเซียใช้อยู่  ส่วนใครจะเอาอย่างใครนั้นข้าพเจ้าไม่ทราบ  สตาลินจะเอาอย่างหลวงประดิษฐ์ฯ หรือหลวงประดิษฐฯ จะเอาอย่างสตาลินก็ตอบไม่ได้ ตอบได้ข้อเดียวว่า โครงการทั้ง     2 นี้ เหมือนกันหมด" ซึ่งทำให้ ปรีดี พนมยงค์ ถึงกลับกล่าวว่า "เมื่อในหลวงไม่เห็นด้วยแล้วก็มีทางเดียวเท่านั้น คือ ข้าพเจ้าต้องลาออกจากรัฐมนตรี" แต่ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ขอให้ระงับการลาออกไว้ก่อน

ใน พระบรมราชวินิจฉัยเค้าโครงการเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงแสดงความเห็นโต้แย้งแนวคิดทางเศรษฐกิจของ ปรีดี พนมยงค์ แทบจะทุกประเด็น เริ่มตั้งแต่ หมวดที่ 1 ว่าด้วยหลักของคณะราษฎร ทรงก็ "ขอให้ฟังเสียงของราษฎรจริงๆ อย่างได้หักโหมบังคับเอาโดยทางอ้อม หรือทางใดทางหนึ่ง ให้ออกเสียงเห็นด้วยเลย ขออย่างโกรษราษฎรถ้าเขาพากันออกเสียงว่าไม่ชอบวิธีเหล่านี้ ซึ่งย่อมทำให้เกิดความไม่พอใจแก่พวกของผู้เขียนโดยแน่นอน และอย่างได้ว่าราษฎรนั้นถือทิฐิมานะงมงายหรือเป็นอุบาทว์กาลีโลก", ส่วนเรื่องของ "ความไม่เที่ยงแท้แห่งการเศรษฐกิจในปัจจุบัน"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 11 พ.ค. 22, 11:54

เค้าโครงการเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเรื่อง "ความแร้นของราษฎร" นั้น รัชกาลที่ 7 ทรงโต้แย้งว่า "ราษฎรของเราตลอดจนชั้นคนขอทานยังมิปรากฏเลยว่าอดตาย คนที่อดตายจะมีก็แต่คนที่กลืนไม่ลงเพราะความเจ็บไข้เท่านั้น แม้แต่สุนัขตามวัดก็ปรากฏยังไม่มีอดตาย...ราษฎรของเรามีน้อยคนหรือเกือบจะไม่มีก็ได้ที่นอนกลางคืนแล้วนึกว่ารุ่งขึ้นเช้าจะหากินไม่ได้ นอกจากผู้นั้นจะกระดุกกระดิกตัวไม่ได้ หาไม่ฉะนั้น คงหากินได้เสมอ"

เรือง "ราษฎรชอบเป็นข้าราชการ" นั้น พระองค์ก็โต้แย้งว่า "ความข้อนี้อาจเป็นจริงได้ แต่ไม่ใช่จริงอย่างตลอด เพราะเหตุว่าความหมายของราษฎรให้คำว่า 'ข้าราชการ' นั้นมิได้หมายดังที่ผู้เขียนหมาย 'ข้าราชการ' ตามความจริงของราษฎรนั้น คือผู้นั่งชี้นิ้วอำนวยการงาน หรือผู้นั่งโต๊ะเป็นเสมียน กินน้ำชาและงานเบาๆ ในประเภทเช่นว่านี้ ข้าราชการเช่นนั้น ข้าพเจ้ายอมรับว่าราษฎรอยากเป็นจริง เพราะสบายดี ไม่ต้องเหนื่อยยากอันใด แต่ถึงกระนั้นเองก็ยังไม่เป็นการจริงทั้งสิ้น เพราะมีราษฎรหลายคนที่ไม่พึงประสงค์จะเป็นแม้แต่เสมียน เขาชอบประกอบการอาชีพทำการอิสระ ดั่งนี้มักมีจำนวนอยู่มากไม่น้อย"

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 11 พ.ค. 22, 11:56

เรื่อง "แรงงานที่สูญเสียไปและพวกหนักโลก" นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโต้แย้งว่า "การที่จะจัดให้ราษฎรมาทำงานให้แก่รัฐบาลดังนี้ได้ โดยรัฐบาลมีอำนาจเต็มที่จะสั่งอะไรก็ได้ ในเวลากำหนดเท่าใดก็ได้ ดังแผนนี้ ข้าพเจ้ารู้สึกว่า ถ้าจะทำได้ก็คงต้องถึงใช้การบังคับกันอย่างหนัก ถึงกับต้องยิงกัน อย่าลืมว่าคนไทยนันรักเสรีภาพความเป็นอิสระอยู่ในเลือดแล้ว เขาย่อมสละเสรีภาพมาให้ง่ายๆ ไม่ได้แน่ ถ้าจะต้องบังคับกันอย่างนี้แล้ว จะสมควรละหรือ เราหวังจะให้ความสุขสมบูรณ์แก่ราษฎรทั่วไป การต้องบังคับกดคอให้เขาทำงานนั้น จะจัดว่าให้ความสุขสมบูรณ์แก่เขาอย่างไร มันจะกลายเป็นให้ทุกข์สมบูรณ์เสียมากกว่า" ส่วนบทที่ 4 ที่ว่าด้วยเรื่อง "แรงงานที่เสียไปเพราะบุคคลที่เกิดมาหนักโลก" นั้น ทรงวิจารณ์ว่า

"ความหนักโลกดังผู้เยนกล่าวนี้ ข้าพเจ้าไม่เห็นว่าจะหมดไปได้ นอกจากนั้นใครจะยอมว่าใครหนักโลก ตัวก็พูดว่าคนอื่นหนักโลก เรามักเห็นตัวเราไม่ถนัด เขาหนักเสมอ ต่างก็นึกเช่นนั้นเสมอเป็นธรรมดา เราเห็นว่าเราทำความดีให้ชาติ คนอื่นเขาก็คงมีเหตุผลอย่างเดียวกันที่จะนึก ดังนั้น คนเราย่อมมีใจคิดด้วยกัน ใครจะมาเป็นผู้ตัดสินว่า ใครผิดใครถูกโดยไม่มีข้อพิสูจน์อย่างใดชัดย่อมไม่ได้ เช่น พวก

ปรปักษ์ของรัฐบาลบางจำพวกที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เขาอาจเห็นตัวเขาไม่หนักโลก แต่เห็นคนอื่นหนักก็ได้"
เรื่อง "วิธีซึ่งรัฐบาลจะหาที่ดิน แรงงาน เงินทุน" ที่ปรีดี พนมยงค์ เน้นย้ำว่า "หลักการสำคัญที่ควรคำนึงก็คือ รัฐบาลต้องดำเนินการวิธีโดยละม่อม ไม่ประหัตประหารคนมั่งมี" นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงเตือนว่า "ข้าพเจ้าขอให้เป็นดังนั้นจริงๆ เถิด ลงท้ายเข้าเกรงจะหันเข้าหาวิธีรัสเซียใช้ คือ เก็บภาษีสูบเลือดไปทีละเล็กละน้อย ให้ใบบอนด์ซึ่งมีราคาเกินกระดาษ จัดการเข้าประหารคนมั่งมี หาว่าคนมั่งมีหนักโลกเสียละกระมัง"

เรื่อง "รักชาติหรือรักตัว" พระองค์ก็ทรงโต้แย้งว่า "การที่จะพูดว่า คนที่เช่าที่เขาหรือคนที่มีที่ดินของตัวเองว่าใครจะรักชาติมากกว่าใครนั้นเฉยๆ ไม่ได้ เราจะรู้ได้ว่าใครจะรักมากกว่าใคร กลับจะต้องไปพิสูจน์เสียอีกว่า ถ้าชาติพังทะลายเสียแล้ว ผู้ใดจะเสียประโยชน์มากกว่ากันเป็นคะแนนวัดความรักชาติเสียอีก เพราะคนย่อมรักของๆ ตัวและประโยชน์ของตัวเป็นใหญ่จึงจะมีความรักใคร่ส่วนรวม คือ ชาติ"  ส่วนที่ปรีดี พนมยงค์ กล่าวว่า "ข้าราชการบางคนเกียดกันไม่อยากให้ราษฎรเป็นข้าราชการ" นั้น พระองค์ก็ทรงโต้แย้งว่า "คำพูดเช่นนี้เป็นการกล่าวโทษข้าราชการโดยไม่ยุติธรรม"


เรื่อง "การจัดทำรายได้และรายจ่ายของรัฐบาลเข้าสู่ดุลยภาพ" โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อที่ว่าด้วยเรื่อง  "การจัดการเศรษฐกิจโดยรัฐบาลต้องระวังไม่ให้มนุษย์กลายสัตว์" นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวิจารณ์ว่า "การที่จะไม่ให้คนกลายเป็นสัตว์นั้น ย่อมอยู่ที่คอยเพ่งเล็งมิให้เขาเสียเสรีภาพของเขาเป็นส่วนใหญ่ แต่ตามโครงการเศรษฐกิจที่ผู้เขียนกล่าวไว้แล้วนั้น ข้าพเจ้าเห็นว่าจะทำให้เป็นผลสำเร็จไม่ได้เลยถ้าไม่ใช้การบังคับ" ซึ่งก็จะทำให้ราษฎรกลายเป็นทาสเช่นเดียวกับในช่วงก่อนที่รัชกาลที่ 5 จะทรงประกาศเลิกทาส "แทนที่จะเรียกว่าข้าราชการก็กลายเป็นรัฐทาสเสียมากกว่า สัตว์นั้นอดหยากได้ยากกว่ามนุษย์ เพราะมันหาหย้ากินได้สบายกว่า แต่รัฐทาสนี้ไม่มีทางใดจะหากินทีเดียวนอกจากเป็นทาส"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 11 พ.ค. 22, 11:57

นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงวิจารณ์หลัก 6 ประการข้ออื่นๆ ด้วย เรื่อง  "ความเสมอภาค" ทรงวิจารณ์ว่า "จะมีความเสมอภาคได้อย่างไร ข้าราชการส่วนหนึ่งต้องทำงานเป็นทาส และอีกส่วนหนึ่งเป็นนายผู้ชำนาญทำงานชี้นิ้ว ความเสมอภาคที่ผู้เขียนกล่าวนั้นไม่ใช่มีแต่บนกระดาษ เป็นแต่เพียงเสมอภาคด้วยชื่อ", เรื่อง "เสรีภาพ" ทรงวิจารณ์ว่า "เมื่อห้ามปรามขัดขวางไม่ให้ราษฎรทำตามสมัครใจได้ดังกล่าวแล้ว ก็เท่ากับตัดเสรีภาพ ก็เมื่อรัฐบาลตั้งใจจะตัดเสรีภาพเช่นนี้ ก็นับว่าเป็นการนำความสุขสมบูรณ์มาให้แล้วก็จะทิ้งคนให้มีชีวิตอยู่ทำไม ประหารชีวิตมันเสียให้หมดก็แล้วกัน มันจะได้ไม่ตายดีกว่าที่จะสละทิ้งเสรีภาพของตน" และสุดท้าย เรื่อง "การศึกษา" ทรงวิจารณ์ว่า  "การบังคับให้เรียนหรือการบังคับต่างๆ นี้ ทำไมผู้เขียนจึงชอบนัก ก็จะการชักชวนแทนมิได้หรือ ถ้าจะจัดการศึกษาควรจะต้องชักชวนให้ราษฎรรักการศึกษา และให้ความสะดวกในการศึกษา ทำไมจะต้องใช้แต่ไม้บังคับตลอดไป"

ควรกล่าวด้วยว่า ใน พระบรมราชวินิจฉัยเค้าโครงการเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงวิจารณ์ "เค้าร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการประกันความสุขสมบูรณ์ของราษฎร" และ "เค้าร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการประกอบเศรษฐกิจ" อย่างละเอียดด้วย จากนั้นในท้ายที่สุด พระองค์ได้ทรง "สรุปความ" ว่า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 11 พ.ค. 22, 11:58

"เรื่องที่ได้พิจารณามาแล้วนี้ย่อมเป็นความเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้า ซึ่งจะเป็นการถูกต้องหรือไม่นั้นก็เป็นแต่ความคิดของข้าพเจ้าเท่านั้น การที่จะรู้ว่าใครเป็นคนถูกหรือผิดก็ต้องทดลองดูเท่านั้นจึงจะเห็นได้

แต่มีข้อสำคัญอันหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนอย่างไม่ต้องเป็นสิ่งสงสัยเลยว่า โครงการนี้นั้นเป็นโครงการอันเดียวอย่างแน่นอนกับที่ประเทศรัสเซียใช้อยู่ ส่วนใครจะเอาอย่างใครนั้นข้าพเจ้าไม่ทราบ สตาลินจะเอาอย่างหลวงประดิษฐ์ฯ หรือหลวงประดิษฐ์ฯ จะเอาอย่างสตาลินก็ตอบไม่ได้ ตอบได้ข้อเดียวว่า โครงการทั้ง 2 นี้เหมือนกันหมด เหมือนกันจนรายละเอียดเช่นที่ใช้และรูปแบบของวิธีการกระทำ จะผิดกันก็แต่รัสเซียนั้นแก้เสียเป็นไทย หรือไทยนั้นแก้เป็นรัสเซีย ถ้าสตาลินเอาอย่างหลวงประดิษฐ์ฯ ข้าวสาลีแก้เป็นข้าวสาร หรือข้าวสารแก้เป็นข้าวสาลี รัสเซียเขากลัวอะไร ไทยก็กลัวอย่างนั้นบ้าง รัสเซียเขาหาวิธีตบตาคนอย่างไร ไทยก็เดินวิธีตบตาคนอย่างนั้นบ้าง".

--------------------

อ้างอิง : สถาบันพระปกเกล้า

https://www.thaipost.net/main/detail/33019
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 11 พ.ค. 22, 12:35

รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ อยู่ในหนังสือ เค้าโครงการเศรษฐกิจ ของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 12 พ.ค. 22, 08:15

 “เมื่อข้าพเจ้ามีอำนาจ ก็ไม่มีประสบการณ์ แต่เมื่อข้าพเจ้ามีประสบการณ์ ก็ไม่มีอำนาจ”
ปรีดี พนมยงค์


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 02 พ.ค. 23, 11:45

วันนี้เมื่อ ๔๐ ปีก่อน ปรีดี พนมยงค์ ได้ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อเวลา ๑๑.๔๕ น. ของวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๒๖ ด้วยอาการหัวใจวาย ที่บ้านพักชานกรุงปารีส ขณะมีอายุ ๘๓ ปี ซึ่งในอีกไม่กี่วันก็จะถึงวันครบรอบวันเกิดของท่าน (๑๑ พฤษภาคม)

"อโถ สุจิณฺณสฺส ผลํ น นสฺสติ"
ผลของการที่ก่อสร้างไว้ดีแล้ว ย่อมไม่สูญหาย

นั้นคือคติพจน์ของหลวงประดิษฐ์มนูธรรมเมื่อเป็นรัฐมนตรีมหาดไทย  และสิ่งที่อาจารย์ปรีดีก่อสร้างไว้ดีแล้ว ก็ย่อมไม่สูญหายเช่นกัน

ในฐานะลูกศิษย์ ขอน้อมระลึกถึงอาจารย์ด้วยความเคารพ

ป๋วย อึ๊งภากรณ์
กรุงเทพฯ
๑๙ เมษายน ๒๕๓๐



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 02 พ.ค. 23, 13:00

คำสารภาพของ ปรีดี พนมยงค์ ยอมรับความผิดพลาดในการร่างเค้าโครงเศรษฐกิจ

“ข้าพเจ้าไม่มีความจัดเจน…บางครั้งข้าพเจ้าประยุกต์ทฤษฎีอย่างนักตำรา ข้าพเจ้าไม่ได้นำความเป็นจริง ในประเทศของข้าพเจ้ามาคำนึงด้วย ข้าพเจ้าติดต่อกับประชาชนไม่พอ ความรู้ทั้งหมดของข้าพเจ้าเป็นความรู้ตามหนังสือ ข้าพเจ้าไม่ได้เอาสาระสำคัญของมนุษย์มาคำนึงด้วยให้มากเท่าที่ข้าพเจ้าควรจะมี”

นี่คือคำสารภาพของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) เกี่ยวกับความผิดพลาดในการร่าง “เค้าโครงเศรษฐกิจ” หรือที่รู้จักกันในนาม “สมุดปกเหลือง” ซึ่งเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรกของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2475 และเป็นต้นเหตุให้เกิดความแตกแยกกันอย่างรุนแรง ในคณะรัฐบาลชุดแรกของระบอบประชาธิปไตย

ช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยโต้แย้งเค้าโครงเศรษฐกิจฉบับนี้ว่า เป็นการลอกแบบมาจากประเทศรัสเซีย ….สุดท้าย “สมุดปกเหลือง” ของปรีดี พนมยงค์ ก็ไม่ได้ถูกประกาศใช้ เนื่องจากไม่ผ่านการลงมติในสภา อีกทั้งในเวลาต่อมา แม้แต่ตัวผู้ร่างอย่างปรีดี ยังได้ออกมายอมรับความผิดพลาดของตนเอง ในการให้สัมภาษณ์ กับ เอเชียวีค ว่า “ทั้งหมดเกิดจากความไม่เจนจัดและการขาดประสบการณ์ของตน จนไม่คำนึงถึงความเป็นจริงของประเทศ”

https://www.luehistory.com
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 02 พ.ค. 23, 15:35

เมื่อผมเป็นนักศึกษาธรรมศาสตร์ปีสี่ อยู่ฝ่ายแปรอักษร ชุมนุมเชียร์ และได้ผลักดันให้แปรอักษรรำลึกถึงปรีดี พนมยงค์ในงานฟุตบอลประเพณี มกราคม ปี ๒๕๒๖

เป็นการพูดถึงปรีดีในที่สาธารณะครั้งแรกในรอบเกือบสี่สิบปี ท่ามกลางความตื่นตระหนกของบรรดาฝ่ายอนุรักษ์นิยม

อาจารย์ปรีดี ได้เขียนจดหมายมาขอบคุณชุมนุมเชียร์ ที่ยังรำลึกถึงท่าน

และอีกไม่นาน
ท่านก็ได้ลาจากโลกนี้ไป
เมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๒๖

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์

นักเขียนสารคดี นักวิจารณ์สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม

https://pridi.or.th/th/content/2021/01/588



บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 05 พ.ค. 23, 22:51

ในสมุดปกเหลืองเค้าโครงเศรษฐกิจ ถ้าเลือกเอาตอนที่
ปรีดี เขียนชมฮิตเลอร์ มาวิเคราะห์ต่อ
และเทียบกับ บทวิจารณ์เรื่องเดียวกัน ในสมุดปกขาว
ก็น่าจะเห็นว่าใครเขียนได้ใกล้เคียงความจริงกว่ากัน

ในวัยสามสิบกว่าๆ ปรีดีไม่ใช่คนที่รู้รอบที่เจนจัด แต่เมื่อครั้งถึงวัยที่มีความเจนจัดก็หมดอำนาจเสียแล้ว ตามสำนวนของคุณปรีดีเอง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 19 คำสั่ง