เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 8729 ขอถามเรื่องของอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ หน่อยครับ
inteera
อสุรผัด
*
ตอบ: 14


 เมื่อ 26 ก.ย. 12, 19:15

พอดีเหตุบ้านการเมืองช่วงไม่กี่วันนี้ มีการกล่าวถึงเรื่อง อ.ปรีดี เสียสละเพื่อบ้านเมืองไม่กลับมาประเทศไทย
ใช่ครับ นี่เป็นสิ่งที่ผมได้เล่าเรียนมาสมัยเรียน หากแต่การโซเชียลเน็ตเวิร์คทำให้ผมได้เปิดหูเปิดตาไปเจออะไรที่ผมไม่เคยเจอในสมัยเรียน ผมจึงชักไม่ค่อยจะแน่ใจ เลยมาขอความรู้จากพวกพี่ ๆ น้า ๆ หน่อยครับ

สิ่งที่ผมได้ไปเห็นเขาถกเถียงกันคือ จริง ๆ แล้ว อ.ปรีดี อยากจะกลับบ้านแต่กลับไม่ได้ แล้วการกลับมาของ อ.ปรีดี ได้กำหนดแผนอะไรบางอย่างที่ใหญ่มาก ๆ

ผมอยากให้พี่ ๆ น้า ๆ ช่วยไขข้อกระจ่างหน่อยครับ ว่าจริงเท็จประการใดและช่วยขยายความด้วยจะขอบน้ำใจพวกท่านเป็นอย่างมากครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 26 ก.ย. 12, 20:07

คุณinteeraอ่านเรื่องนี้หรือยัง ถ้ายังควรอ่านก่อน แล้วจะเข้าใจและไม่เข้าใจอะไรๆอีกมากมาย

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3438.0
บันทึกการเข้า
inteera
อสุรผัด
*
ตอบ: 14


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 27 ก.ย. 12, 19:02

ขอบคุณครับ ใช้เวลา 2 วันเต็มๆอ่านจนหมด ได้รู้อะไรเพิ่มขึ้นเยอะเลย นั่งถามตัวเองว่า นี่สมัยเด็กๆ เราเรียนอะไรไปบ้างวะเนี่ย (ฮา)

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 27 ก.ย. 12, 19:55

ถ้าสนใจ มีอีกหลายกระทู้นะคะ

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3363.0
ชะตากรรมของพระยาทรงสุรเดช หนึ่งในสี่ทหารเสือคณะราษฎร์

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5194.0
กบฎบวรเดช นี่ทหารการเมืองเขาเล่นอะไรกัน?

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5236.0
คดีลอบสังหาร จอมพลป. : เงื่อนงำเบื้องหลัง ๑๘ ศพ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 28 ก.ย. 12, 08:08

มีข้อสังเกตเพิ่มเติมในเรื่องตัวละครสำคัญในประวัติศาสตร์ช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง คือ
ทั้งพระองค์เจ้าบวรเดช  พระยาพหลพลพยุหดสนา หลวงพิบูลสงคราม  ซึ่งต่อมาต่างก็เป็นคู่ขัดแย้งกันนั้น
ต่างก็เติบโตมาในเหล่าทหารปืนใหญ่  ซึ่งในสมัยก่อนถือกันว่าเป็นสุดยอดหัวกะทิของกองทัพด้วยกันทั้งนั้น
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 28 ก.ย. 12, 08:54

สารคดี "ปรีดี พนมยงค์"

ผลิตโดย โครงการฉลอง ๑๐๐ ปี ชาตกาล นายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส พ.ศ. ๒๕๔๓

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 07 ต.ค. 12, 08:57

ในกระทู้นี้มีหนังสือที่น่าสนใจ

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4778.0

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 11 พ.ค. 17, 09:35

๑๑ พฤษภาคม วันปรีดี

ร่วมรำลึก "รัฐบุรุษอาวุโส"

ปรีดี พนมยงค์    ทระนง ณ ธรณิน  
คือใจอันไม่สิ้น    แม้สิ้นใจไม่สิ้นจำ


เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์


บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 13 พ.ค. 17, 22:15

จนถึงวันนี้ผมยังดองการอ่านเรื่องจอมพลป.กับท่านปรีดีไว้เลย  รูดซิบปาก  เหมือนกับเพชรพระอุมาที่อยากอ่านรอบ 2 แบบเก็บรายละเอียดมาก การเดินทางครั้งใหม่ของมณีจันทร์ก็ยัง เวลามันหายไปไหนหมดน้า....

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 14 พ.ค. 17, 07:21

ฝากหนังสือให้คุณซูเปอร์บอยอ่านอีกเล่ม  ยิงฟันยิ้ม

ปรีดี บรรณานุสรณ์ ๒๕๖๐ หนังสือที่ระลึกในวันปรีดี พนมยงค์ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐

http://www.openbase.in.th/files/ebook/eBook-Pridibunnanusorn.pdf


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 17 พ.ค. 17, 10:53

ไปเจอเรื่องนี้เข้าใน facebook   อยากจะถามคุณเพ็ญชมพูว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร

ซามูไร อโยธยา
11 ชม. ·
นายปรีดี พนมยงค์ บีบคั้นในหลวงจนสละราชบัลลังก์ไปแล้ว พ่อและพรรคพวกทำอะไรกันต่อ

ยึดพระราชทรัพย์

การใช้อำนาจของรัฐบาลคณะราษฎรแทรกแซงกระบวนการของตุลาการ เรื่องมันมีอยู่ว่าอธิบดีศาลแพ่งพระสุทธิอรรถนฤมนตร์ (บุคคลในรูปนี้)ไม่ยอมรังแกในหลวงตามที่รัฐบาลมีความประสงค์ กล่าวคือเมื่อโอนพระคลังข้างที่มาอยู่กับกระทรวงการคลังแล้ว ซึ่งพ่อเป็นรัฐมนตรีการคลังอยู่! ก็ได้กล่าวหาว่าในหลวงและพระราชินี โอนเงินจากบัญชีทรัพย์สินฯ ไปใช้ส่วนตัวถึง ๑๐ รายการ รวมกว่า ๔,๑๙๕,๘๙๔.๘๙ บาท

นายปรีดี พนมยงค์ ในฐานะรมต.คลัง จึงส่งเรื่องให้อัยการยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๔๘๒ พร้อมกับขอคุ้มครองชั่วคราวแบบฉุกเฉิน โดยให้ศาลยึดหรืออายัดทรัพย์สินของทั้ง ๒ พระองค์ไว้ทั้งหมด โดยอ้างว่ามีการโอนที่ดินไปให้ผู้อื่น เมื่อรับฟ้องและคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวแล้ว พระสุทธิอรรถนฤมนตร์(สุข เลขยานนท์) อธิบดีศาลแพ่ง

"มีคำสั่งให้ยกคำร้องของกระทรวงการคลัง"

๓ วันต่อมา นายปรีดี พนมยงค์ ก็ยื่นคำร้องอีก

แต่ศาลแพ่งก็ยังสั่งยกคำร้องอีก โดยให้เหตุผลว่า "...โจทก์มิให้นำบัญชีแม้แผ่นเดียว หรือหนังสือสั่งการของจำเลยที่ ๑ (สมเด็จพระปกเกล้าฯ) แม้แต่ชิ้นเดียวมาแสดง พยาน(ของโจทก์) ทั้ง ๒ ปาก ทราบข้อเท็จจริงมาได้ก็โดยการตรวจพบเอกสารต่าง ๆ จึงมีค่าเสมือนพยานบอกเล่า โจทก์หาได้นำพยานที่รู้เรื่องเดิมแม้แต่ปากเดียวมาสืบประกอบไม่..."

สรุปสั้นๆคือ นายปรีดี พนมยงค์ ไม่ได้เอาหลักฐานที่เป็นเอกสารไปให้ศาลเลยแม้แต่แผ่นเดียว พ่อเพียงเอาพยานสองคนไปแจ้งให้ศาลทราบเท่านั้น
ท่านอธิบดีศาลแพ่งพระสุทธิอรรถนฤมนตร์(สุข เลขยานนท์) จึงสั่งให้ยกคำร้องของพ่อ
พ่อโมโหมากพ่อเลยไปกระซิบให้ณ๊องปอฟัง จากนั้นไม่นานพระสุทธิอรรถนฤมนตร์ก็ถูกย้ายไปอยู่ศาลฎีกา

...และในอีกไม่กี่เดือนถัดมาก็ถูกให้ออกจากราชการ

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ศ.ธานินทร์ กรัยวิเชียร ยกตัวอย่างเรื่องนี้ไว้ในหนังสือ "คุณธรรมและจริยธรรมของนักกฎหมาย" ไว้ว่า

"พระสุทธิอรรถฯ ถูกย้ายไปศาลฎีกาทั้งๆ ที่ท่านกำลังจะได้รับการพิจารณาความดีความชอบ ๒ ขั้นเป็นกรณีพิเศษ เพราะผลงานของท่านในรอบปีที่ผ่านมาดีเด่น ท่านเป็นนักกฎหมายไทยคนแรกๆ ที่สำเร็จการศึกษาวิชากฎหมายจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา เมื่อท่านถูกย้ายไปศาลฎีกา ท่านก็ไปถามรัฐมนตรีฯ ว่า ทำไมท่านจึงถูกสั่งย้าย ท่านรัฐมนตรีฯตอบท่านว่า ไม่มีอะไร เป็นเรื่องการเมือง ท่านจึงไม่ได้รับพิจารณาความดีความชอบ และไม่ช้าท่านก็ถูกปลดออกจากราชการด้วย

ในวงการศาลรู้สึกไม่สบายใจในเรื่องนี้มาก กังวลกันว่า ต่อไปนี้นักการเมืองจะเข้ามาแทรกแซงในคดีความของศาล ทำให้ศาลไม่มีความเป็นอิสระ จึงต้องหาทางร่วมกันแก้ไข เพราะในท้ายที่สุดผู้ที่จะเสียหายมากที่สุด ก็คือ ประชาชนผู้เป็นคู่ความในคดีกับรัฐนั่นเอง ต่อมา รัฐบาลชุดนั้นผ่านพ้นไป รัฐบาลชุดนายควง อภัยวงศ์ เข้ามารับตำแหน่งหน้าที่ เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) ผู้เคยเป็นเสนาบดีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้รับการทาบทามให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ กล่าวว่า ยินดีรับตำแหน่ง แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ต้องให้พระสุทธิอรรถฯ กลับมาเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาตามเดิมต่อไป นายควง อภัยวงศ์ ตกลงรับเงื่อนไขดังกล่าว พระสุทธิอรรถฯ จึงได้กลับเข้ารับราชการตามเดิม หลังจากที่ออกไปเป็นทนายความอยู่พักหนึ่ง หลังจากรัฐบาลชุดนายควง อภัยวงศ์ พ้นตำแหน่ง ก็มีรัฐบาลชุด หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช เข้ามารับตำแหน่ง หม่อมราชวงศ์เสนีย์ฯ ซึ่งเคยเป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์มาก่อน ได้เชิญพระสุทธิอรรถฯ ไปเป็นรัฐมนตรีสั่งราชการกระทรวงการต่างประเทศ แสดงให้เห็นว่า ในวงการศาลยุติธรรมของไทยนั้น มีการผนึกกำลังกันช่วยเหลือ และปกป้องดูแลคุ้มครองผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างเที่ยงธรรมให้พ้นจากการกระทำที่ไม่ชอบ ซึ่งเป็นการผนึกกำลังกันในวิชาชีพที่ดี"


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 19 พ.ค. 17, 11:03

คุณเทาชมพูอาจหาข้อเท็จจริงส่วนหนึ่งเกี่ยวกับคดีนี้ได้จากบทความ

คดียึดพระราชทรัพย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ โดย สุพจน์ แจ้งเร็ว นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับที่ ๒๗๒ วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๔๕

http://chatcha-mey.blogspot.com/2008/08/blog-post.html
บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 20 พ.ค. 17, 12:47

ผมรู้สึกนะครับ เอาแค่ความรู้สึก 
มันเหมือนกับ "ปล้น" เลยนะครับ
บ้านเมืองสืบทอดกันมาเป็นร้อยปี ทรัพย์สมบัติส่งต่อมาจากบรรพบุรุษ
ปฏิวัติแล้วก็ยึดทรัพย์สมบัติเข้ากองกลาง
เปลี่ยนแผ่นดินที ทรัพย์ก็ต้องส่งต่อไปให้พระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่อยู่แล้ว เป็นของแผ่นดินส่วนใหญ่อยู่แล้ว
ไม่ได้เป็นทรัพย์เฉพาะตัวทั้งหมดด้วยซ้ำ
รัชกาลที่ 7 ทำผิดสิ่งใด?
ผมเป็นคนรุ่นหลัง พอจะเข้าใจอุดมการณ์ของคณะราษฎร์แต่การปฏิบัติกลับเข้าใจไม่ได้เลย

ยุคของเหมา แก้งค์สี่คน ยุคของเขมรแดง คนธรรมดาไม่ได้ผิดอะไรแค่มีทรัพย์สินก็ถูกกระทำต่างๆนาๆเพียงเพราะอุดมการณ์ของความเท่าเทียม
ต้องการให้เท่าเทียมกันโดยการ "ปล้น" คนอื่นนี่นะเหรอเป็นสิ่งที่มนุษย์ควรกระทำแก่กัน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 11 พ.ค. 22, 11:35

๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๕ "วันปรีดี พนมยงค์"

ร่วมรำลึกถึง ๑๒๒ ปีชาตกาล ปรีดี พนมยงค์

เสรีไทยนักสู้กอบกู้ชาติ  
เอกราชเทิดไว้ให้สูงส่ง
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ผู้นำธงธรรมจักรพิทักษ์ประชา

ดุจบ่อน้ำบำบัดกระหายให้ทวยราษฎร์
ประศาสน์การธรรมศาตร์แหล่งศึกษา
รัฐบุรษ-คนดีศรีอโยธยา
 นามก้องฟ้า "ปรีดี พนมยงค์"


อภิชาติ  ดำดี
๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๕


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 11 พ.ค. 22, 11:53

พระบรมราชวินิจฉัย ร.7 ต่อเค้าโครงการเศรษฐกิจของปรีดี

คณะอนุกรรมาธิการพิจารณา "เค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ" ของปรีดี พนมยงค์ ได้จัดประชุมขึ้นในวันที่ 12 มีนาคม 2476 โดยมีพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นประธาน ที่ประชุมมีความเห็นแตกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเสนอให้ดำเนินการทางเศรษฐกิจอย่างรัฐบาลเก่า คือ ขยายสหกรณ์ประเภทเครดิต และขจัดคนกลาง เลือกทำในบางเรื่องตามโอกาสอำนวย และที่สำคัญคือ ไม่ต้องมีการวางแผนเศรษฐกิจ ส่วนฝ่ายของปรีดี พนมยงค์ เสนอให้รับหลักการที่จะดำเนินตาม "เค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ" แต่งตั้งสภาเศรษฐกิจสำรวจและวางแผนจัดดำเนินการ "เมื่อมีแรงทุนเท่าใดทำเพียงเท่านั้น" การประชุมในวันนั้น ฝ่ายปรีดี พนมยงค์ พยายามรุกให้ที่ประชุมตกลงว่า จะเอาอย่างไรให้แน่นอน แต่ฝ่ายพระยามโนปกรณ์นิติธาดาก็เบี่ยงบ่ายด้วยความคิดที่ว่า โครงการนั้นจะดำเนินการไม่ได้ และถ้าหาก ปรีดี พนมยงค์ ประกาศโครงการเศรษฐกิจในนามของตนเอง ก็อย่าทำให้คนทั่วไปเข้าใจผิดว่าเป็นของรัฐบาล

วันที่ 28 มีนาคม 2476 ได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเรื่องนี้อีก ในที่ประชุม พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ถามว่า นโยบายทางเศรษฐกิจได้จัดการอย่างไรบ้าง ปรีดี พนมยงค์ ได้เล่าถึงการเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวของตน จากนั้น พระยามโนปกรณ์นิติธาดาก็ได้นำเอาบันทึกพระบรมราชวินิจฉัยของรัชกาลที่ 7 เกี่ยวกับเค้าโครงการเศรษฐกิจของปรีดี พนมยงค์ มาเสนอต่อที่ประชุมและให้ปรีดี พนมยงค์อ่าน การกระทำดังกล่าวทำให้ความขัดแย้งต้องยุติลง พระบรมราชวินิจฉัยดังกล่าวนี้บ้างก็เชื่อว่าเป็นของรัชกาลที่ 7 บ้างก็ว่าพระยามโนปกรณ์นิติธาดากับพวกทำขึ้นแล้วให้รัชกาลที่ 7 ลงพระนาม แต่พระบรมราชวินิจฉัยดังกล่าวโต้แย้งปรีดี พนมยงค์ รุนแรงมาก
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 20 คำสั่ง