เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 6620 สถานทูตไทยในนานกิง - ความสัมพันธ์ไทยจีนครั้งจีนเป็นสาธารณรัฐ
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



 เมื่อ 24 ก.ย. 12, 23:27

เมืองนานกิงเดิมเคยเป็นเมืองหลวงเก่าของจีนมาก่อนในยุคสาธารณรัฐ ในยุคสาธารณรัฐนี้ประเทศไทยกับประเทศจีนนั้นเริ่มมีการติดต่อกันอย่างเป็นทางการ มีการส่งทูตไปประจำแต่ละประเทศครั้งแรกเในปีพ.ศ. ๒๔๘๙ หรือ ค.ศ. ๑๙๔๖

ประเทศไทยได้แต่งตั้งนายสงวน ตุลารักษ์เป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศจีน

นานสงวน ตุลารักษ์ (๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๕ - ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๘) เป็นนักการเมืองไทยและสมาชิกผู้นำของเสรีไทย นายสงวนสืบเชื้อสายมาจากชาวจีน โดยมีเทือกเถาเหล่ากอเป็นชาวแต้จิ๋ว
 
นายสงวนเป็นผู้ติดตาม นายปรีดี พนมยงค์ มาเป็นเวลานาน และเข้าร่วมกับกลุ่มการปฏิวัติสยาม พ.ศ. ๒๔๗๕ หลังจากนั้น ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและประธานสำนักงานโรงงานยาสูบในกระทรวงการคลัง
 
ในปี พ.ศ. ๒๔๘๖ นายสงวนได้เป็นผู้นำคณะผู้แทนที่ถูกส่งโดยผู้นำเสรีไทยเพื่อติดต่อกับฝ่ายสัมพันธมิตรที่ฉงชิ่ง ความพยายามของนายสงวนพิสูจน์แล้วว่ามีความสำคัญยิ่งในการรับเอาความช่วยเหลือของอังกฤษและสหรัฐอเมริกามาให้กับขบวนการเคลื่อนไหวใต้ดินดังกล่าว ซึ่งในไม่ช้า เสรีไทยก็มีอาวุธและยุทโธปกรณ์มากพอสำหรับปฏิบัติการกองโจรอย่างมีประสิทธิภาพ
 
ในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตประจำสาธารณรัฐจีน และปฏิเสธที่จะเดินทางกลับประเทศไทยหลังจากรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๙๐ โดยประกาศว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย นายสงวนใช้เวลาอีกสิบปีถัดมาอาศัยอยู่ในจีน จึงเดินทางกลับประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ และถูกสั่งจำคุกโดยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก่อนจะได้รับการปล่อยตัวในปี พ.ศ. ๒๕๐๘

ภาพท่านสงวน ตุลารักษ์


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 24 ก.ย. 12, 23:38

มีบางท่านได้นำบันทึกของท่านสงวนมาเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต หากท่านอ่านแล้วคงทำให้มองเห็นภาพความสัมพันธ์ ไทยจีนในยุคนั้นได้ว่ากว่าจะสร้างได้ยากเย็นเพียงใด

ข้าพเจ้าคัดจาก "จากบันทึกส่วนหนึ่งของ นายสงวน ตุลารักษ์ ในการปฏิบัติงานของ “เสรีไทย”"

ที่มาจากเว็ปไซด์ http://www.oknation.net/blog/sinsawade/2011/11/19/entry-1

ผมได้รับมอบหมายจากท่านปรีดี พนมยงค์ ให้เดินทางไปประเทศจีนเพื่อติดต่อกับฝ่ายสัมพันธมิตรเรื่องงานของกลุ่มเสรีไทย ซึ่งมีท่านปรีดีเป็นหัวหน้าอยู่

 
 ท่านปรีดีได้ส่งคุณจำกัด พลางกูร ไปประเทศจีนก่อนหน้านี้ แต่หลังจากทราบว่าเดินทางไปถึงจุงกิงแล้ว ก็ไม่ได้รับข่าวอะไรอีก จึงส่งผมกับคณะไป

 
 คณะเดินทางครั้งนี้รวมทั้งหมดมี ๗ คน คือ ผมและครอบครัว คือ คุณบุญมา (ภรรยาผม) กับ รำไพและไกรศรี (ลูกสาวและลูกชาย) กับคุณกระจ่าง ตุลารักษ์ (น้องชายผม) คุณแดง คุณดิลก และคุณวิบูลย์วงศ์ วิมลประภา

 
 ได้ออกเดินทางเช้าวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๔๘๖ โดยรถไฟไปพระตะบอง เพื่อเดินทางต่อไปไซง่อนและฮานอย (เราได้บอกทางญี่ปุ่นไว้ว่าจะเดินทางเพื่อไปซื้อใบยาสูบ ขณะนั้นผมเป็นผู้อำนวยการโรงงานยาสูบ จึงเป็นเหตุผลที่ดี สำหรับลูกๆก็อ้างว่าจะไปเรียนต่อ) แต่แล้ว เมื่อถึงกรุงฮานอยเราก็ไม่ได้ลงเรือไปประเทศญี่ปุ่น กลับแอบขึ้นรถยนต์รางไปเมืองไฮฟอง เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม แล้วลงเรือจากไฮฟองเมื่อวันที่ ๒๖ ถึงเมืองมองกายเมื่อวันที่ ๒๗  (เป็นเมืองชายแดนระหว่างอินโดจีนกับจีน)

 
 วันที่ ๒๘ กรกฎาคม เป็นวันที่ตื่นเต้นและเสี่ยงชีวิตมาก เวลา ๑๑.๓๐ น. พวกเราทั้ง ๗ แต่งตัวปลอมตัวเป็นชาวญวน ซึ่งเดินทางข้ามแดนไปค้าขายในเขตจีนได้ เราแยกย้ายกันเดินไป ถือตะกร้ากระจาดเหมือนพ่อค้าแม่ค้าธรรมดาเดินข้ามสะพานเล็กๆเข้าไปในเขตจีนที่เมืองตงเฮง ซึ่งเป็นสะพานข้ามแม่น้ำแคบๆ เมื่อเราพักอยู่ในโรงเตี๊ยมในตงเฮงยังเห็นทางฝั่งมองกาย ถ้าพวกญี่ปุ่นรู้เข้าเราคงถูกตามล่าแน่

 
 ในขณะที่เดินทางต่อ เรายังได้พบกับชาวจีนโพ้นทะเลบ้าง รีบติดต่อกับจอมพลเจียงไคเช็ค ที่จุงกิง (เมืองหลวงของจีนในขณะนั้น) โดยส่งโทรเลขแล้วรอฟังข่าวจากจุงกิง

ภาพจอมพล เจียงไคเช็ค


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 24 ก.ย. 12, 23:43

๕ สิงหาคม จึงออกเดินทางจาก “ตงเฮง” ตอนเช้า โดยจ้างเกี้ยว (คานหาม)  สำหรับพวกเราทั้ง ๗ คน และนายทหารอีก ๒ คน ซึ่งทางจีนให้พาพวกเราไปส่ง นอกจากนั้นยังมีพลทหารอีก ๔ คน และชาวจีนโพ้นทะเลอีก ๒ คน ซึ่งต้องเดินเอง ถึงเมือง “กังเพ้ง” ต้องลงเรือใบไปเมือง “ซัวคา” แล้วจึงนั่งเกี้ยวต่อไปถึงเมือง “เหลียงเท่าเล้ง” ตอนค่ำ  แล้วต้องลงเรือเล็กๆไปตลอดคืน จนถึงเมือง “ฟองเส่ง” เช้ามืดวันรุ่งขึ้น

 
 ต่อจากนั้น เดินทางไปถึงเมือง “ฮ้ำเจา” แล้วเดินทางโดยเกี้ยวตลอดจนถึงเมือง “เสียวตัง” “ไต้ถ่ง” “หมิ่นหยง” และ “น่ำเล้ง” เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม (เป็นอันสิ้นสุดการเดินทางโดยเกี้ยว)

 
 หลังจากนั้นจึงเดินทางต่อโดยรถยนต์โดยสารไปเมือง “เซ็งกัง” และถึงเมือง “หลิวจิว” เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม พบนายซิงซิมโจ (หรืออากง) ผู้แทนรัฐบาลจีน ซึ่งทางการให้มารับพวกเรา (นายซิงซิมโจ และภรรยาเคยไปอยู่เมืองไทยมาก่อน)

 
 ๑๕  สิงหาคม ได้พบกับคุณหมอหวัง หยิ่วหลวน (คุณหมอล้วน ว่องวานิช นายห้างขายยาอังกฤษตรางู) กับลูกชายที่ชื่อบายบุญศรี ผมรู้สึกดีใจมากจริงๆ เพราะคุณหมอล้วนแต่เป็นเพื่อนเก่าที่สนิทกันมาก และยิ่งยินดีมากขึ้นเมื่อทราบว่าคุณหมอล้วนจะร่วมเดินทางไปกับคณะเดินทางของผมจนถึงเมืองจุงกิง

 
 เท่าที่รอนแรมมาเป็นเวลาหนึ่งเดือนเต็ม หลังจากออกจากประเทศไทยมาเป็นการเดินทางที่แสนจะทุรกันดาร นั่งเกี้ยวและลงเรือสลับกับไปมาเห็นหน้าคุณหมอล้วน ซึ่งเป็นคนใจดีและอารมณ์ขันตลอดเวลา จึงเปรียบเหมือนพวกเรามาพบน้ำบ่อน้อยกลางทะเลทราย มีความรู้สึกชุ่มฉ่ำไม่แห้งแล้งต่อไป

ภาพคุณหมอล้วน ว่องวานิช และครอบครัว

ภาพจาก http://www.cokethai.com/forum/viewtopic.php?f=95&t=25152



บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 24 ก.ย. 12, 23:48

หลังจากนั้นการเดินทางค่อยสะดวกขึ้น เพราะเป็นการเดินทางรถยนต์บ้าง รถไฟบ้าง ออกเดินทางจาก “หลิวจิว” วันที่ ๑๙ สิงหาคม โดยรถไฟถึงเมือง “กิ๋มเซียงกัง” แต่ระหว่างสงครามการหาเช่ารถยนต์ก็ค่อนข้างลำบาก รถก็อยู่ในสภาพเก่า จึงเสียเวลาเพราะรถเสียบ้าง หารถเดินทางต่อไปไม่ได้บ้าง เดินทางผ่านเมือง “ตกซัน” “โกวเต็งก๊วน” และถึง “ไกวยาง” เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ต้องพักอยู่ที่นี่หลายวัน

 
 ระหว่างการเดินทางช่วงหลังโดยรถยนต์นี้ มีอยู่วันหนึ่งที่รำไพลูกสาวของผมเกิดเป็นโรคท้องเสียอย่างแรงราวกับเป็นอหิวาตกโรค ก็นับว่าเป็นเคราะห์ดี ที่มีคุณหมอล้วนซึ่งถือย่ามยาติดมาด้วย รวมอยู่ในขบวนผู้เดินทางครั้งนี้  จึงช่วยบำบัดอาการท้องร่วงอย่างน่ากลัวของรำไพได้ นอกจากนั้นใครเจ๊บไข้ได้ป่วย เป็นหวัด  ปวดหัว หรือปวดท้องในระหว่างเดินทางรอนแรมกันมานั้น ย่ามยาของคุณหมอล้วนก็ได้ใช้ประโยชน์อย่างมาก

 
 ๒๙  สิงหาคม ออกเดินทางจาก “ไกวยาง” โดยรถยนต์ แวะที่โรงเรียนตำรวจลับซือฟง ได้พบนักเรียนที่เกิดเมืองไทย พูดภาษาไทยได้ดีหลายคน ซึ่งในจำนวนนี้มีนายบุญธรรม แสนอรุณ และนายประกอบ ชัยสาร (ซึ่งภายหลังได้เข้ามาอยู่เมืองไทยได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัชรสินธุ์) ได้ร่วมเดินทางต่อไปกับพวกเรา เดินทางแวะพักไปวันละเมือง ผ่านเมือง “ซุ่นยี่” “ซุงดำ” และ “ซีเกียง” เป็นแหล่งสุดท้าย

 
 วันที่ ๑ กันยายน ตอนบ่ายโมงก็ถึงจุดหมายคือ จุงกิง นครหลวงของจีน ที่ต้องข้ามแม่น้ำใหญ่มีเจ้าหน้าที่ของคณะ “ก๊กมินตั๋ง” คอยต้อนรับแล้วพาพวกเราไปพักที่ SINO-AMARICAN INSTITUTE OF CULTURAL RELATION มีห้องพักไม่กี่ห้อง พวกเราได้นอนเพียงสองห้อง พักกันแปดคน รวมทั้งคุณหมอล้วนด้วย

 
 คุณหมอล้วนพักอยู่กับพวกเราพักหนึ่ง จนเห็นว่ามีการติดต่อที่พอจะเข้ารูปเข้ารอยแล้ว คุณหมอจึงขอลาเดินทางกลับไปอยู่กับลูกชายที่เมือง “หลิวจิว” ตามเดิม นับว่าคุณหมอล้วนได้ทำประโยชน์ให้พวกเรามากเลยทีเดียว ทั้งช่วยเป็นล่ามคอยประสานงานกับนายซิงซิมโจว ซึ่งคุณหมอมีความคุ้นเคยเป็นอย่างดี และได้ช่วยเหลือด้านอื่นๆอีกมากมายหลายประการ และถือได้ว่าคุณหมอล้วนเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนช่วยเหลือการปฏิบัติงานของเสรีไทย ซึ่งเป็นงานกู้ชาติบ้านเมืองได้สำเร็จในที่สุดด้วย

 
 หมายเหตุ : ชื่อเมืองต่างๆที่กล่าวไปนั้นเป็นเมืองเล็กๆ ส่วนใหญ่จะหาในแผนที่ธรรมดาไม่พบ เมืองใหญ่ปัจจุบันนี้ก็ได้เปลี่ยนชื่อไป เช่นเมือง จุงกิง เป็น CHONGQING หลิวจิว เป็น LIUZHOU
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 00:05

ภาพที่ทำการของรัฐบาลก๊กมินตั๊งในนานกิง

ที่มา http://www.jllib.cn/njmgjz.cn/xzjz/b219


บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 12:30

เส้นทางการเดินทางน่าสนใจดีครับ

ชื่อเมืองในประเทศจีนที่ปรากฏบางชื่อเป็นสำเนียงแต้จิ๋ว บางชื่อเพี้ยนจากแต้จิ๋วไปคล้ายกวางตุ้ง ผมไม่แน่ใจว่าสำเนียงทางกว่างซีเป็นอย่างไรนะครับ

มองกายคือเมือง Móng Cái (หมองก๋าย) ในเวียดนามตรงพรมแดนจีน ติดกับเมืองตงซิ่ง (东兴) ที่คุณสงวนเรียกว่าตงเฮง ซึ่งก็แปลกอยู่ เพราะสำเนียงแต้จิ๋วจะว่าตังเฮง กวางตุ้งถึงจะอ่านตงเฮงครับ

เมืองกังเพ้ง(สำเนียงแต้จิ๋ว) คือเจียงผิง (江平)

เมืองซัวคา(สำเนียงแต้จิ๋ว) คือซานเจี่ยว (山脚)

เมืองเหลียงเท่าเล้ง (สำเนียงแต้จิ๋ว) คือเหลี่ยงโถวหลง (两头龙)

เมืองฟองเส่ง (สำเนียงกวางตุ้ง ถ้าแต้จิ๋วจะว่า ฮ่วงเซี้ย) คือฝางเฉิง (防城)

ที่เหลือมีเวลาจะทะยอยมาต่อนะครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 15:12

ฮ้ำเจา(ไม่รู้สำเนียงอะไร คล้ายๆกวางตุ้ง แต่กวางตุ้งจะว่า ย้ำเจา) คือ ชินโจว (钦州)
เสียวตัง ไม่แน่ใจว่าคือ เสียวต่ง (小董) หรือไม่ ถ้าใช่แสดงว่าลำดับผิด เพราะอยู่เหนือไต้ถ่งขึ้นไปอีก
ไต้ถ่ง (แต้จิ๋ว) น่าจะเป็น ต้าตง (大垌)
หมิ่นหยง ไม่รู้ว่าที่ไหน
น่ำเล้ง (แต้จิ๋ว)คือ หนานหนิง (南宁)
เซ็งกัง ไม่รู้ว่าที่ไหน
หลิวจิว (แต้จิ๋ว) คือ หลิ่วโจว (柳州)
กิ๋มเซียงกัง ไม่รู้ว่าที่ไหน
ตกซัน (น่าจะสำเนียงกวางตุ้ง แต้จิ๋วจะว่าตกซัว) คือ ตู๋ซาน (独山)
โกวเต็งก๊วน ไม่รู้ว่าที่ไหน
ไกวยาง (น่าจะสำเนียงไทยถอดจากฝรั่งครับ) คือ กุ้ยหยาง (贵阳 - guiyang)
ซุ่นยี่ (เดาว่าสำเนียงไทยถอดฝรั่งเหมือนกัน) คือ จุนอี้ (遵义 - zunyi)
ซุงดำ ไม่รู้ว่าที่ไหน
ซีเกียง (น่าจะสำเนียงไทยถอดฝรั่งอีก) คือ ฉีเจียง (綦江 - qijiang)
จุงกิง (สำเนียงนี้ผมเข้าใจว่าไทยรับมาจากฝรั่ง แต่จะคล้ายกับสำเนีนงกวางตุ้งอยู่เหมือนกัน เมื่อก่อนฝรั่งจะเขียง chungking) คือ ฉงชิ่ง (重庆)

ใส่ชื่อทั้งหมดใน google map จะพอเห็นเส้นทางที่ใช้นะครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 17:54

เอาภาพมาเติม๑


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 17:55

เอาภาพมาเติม๒


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 20:21

หลังจากนายสงวนพ้นจากตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำสาธารณรัฐจีน ท่านที่รับตำแหน่งต่อมาคือพระยาอภิบาลราชไมตรี

พระยาอภิบาลราชไมตรี มีนามเดิมว่า ต่อม บุนนาค อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ คนที่ 3 และอดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา

พระยาอภิบาลราชไมตรี เป็นบุตรพลโท เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) กับคุณใหญ่ (สกุลเดิม โอสถานนท์) เริ่มรับราชการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (พ.ศ. 2476-2477)  จากนั้นไปดำรงตำแหน่งอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๘ - ๒๔๘๓ และอัครราชทูต ณประเทศจีนระหว่าง พ.ศ. ๒๔๙๑ - ๒๔๙๒ ภายหลังประเทศจีนเปลี่ยนแปลงเป็นปกครองด้วยลัทธิสังคมนิยม ทางประเทศไทยก็ยังคงดำรงความสัมพันธ์กับรัฐบาลจีนพรรคก๊กหมินตั๊งเรื่อยมากระทั่งปีพ.ศ. ๒๕๑๗

พระยาอภิบาลราชไมตรีเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อประเทศไทยในหลายด้าน นอกจากด้านการต่างประเทศแล้ว ในด้านการเมืองไทยยุคเริ่มเดินใหม่ๆ ท่านเจ้าคุณได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา และดำรงตำแหน่งรองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2490

พระยาอภิบาลราชไมตรี สมรสกับคุณหญิงสน บุนนาค (สกุลเดิม แสง-ชูโต) มีบุตรชื่อตุล บุนนาค (เป็นบิดาของนายเตช บุนนาค และคุณติ๋ว บุนนาค) และมีบุตรีกับคุณหญิงรื่น ธิดาพระยาจำนงดิฐการ (เทพ บุนนาค) ชื่อ รมดีเตรุ บุนนาค (สมรสกับนายพิชัย วาศนาส่ง)

ภาพพระยาอภิบาลราชไมตรีขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนจตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในภาพถ่ายคู่กับ มร. ร๊อบบิน อธิบดีกรพิธีการทูตที่ทำเนียบไวท์เฮ้าส์ เนื่องในโอกาสเข้าพบประธานาธิบดีฮูเวอร์แห่งสหรัฐอเมริกา พ.ศ. ๒๔๗๕

ที่มา http://www.bunnag.in.th/prarajpannuang070.html
 


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 20:23

ภาพครอบครัวของท่านเจ้าคุณ จากรูป ได้แก่ ภาพท่านเจ้าคุณกับคุณหญิงสน ภาพเดี่ยวคุณหญิงรื่น และภาพท่านเจ้าคุณ คุณหญิงรื่น กับคุณตุล บุนนาค




บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 26 ก.ย. 12, 17:07

ลองเปิดแผนที่ดู หาเจอเพิ่มขึ้นอีกบางเมืองครับ

เซ็งกัง น่าจะหมายถึง เชียนเจียง (迁江) ชื่อนี้แต้จิ๋วจะอ่านว่าเชียงกังครับ

กิ๋มเซียงกัง (แต้จิ๋ว) คือ จินเฉิงเจียง (金城江)

โกวเต็งก๊วน (ไม่รู้สำเนียงอะไร) อาจจะเป็น กุ้ยติ้ง (贵定) เพราะอยู่บนแนวทางรถไฟจากหลิ่วโจวไปกุ้ยหยาง ซึ่งคุณสงวนว่าเส้นทางช่วงนี้ใช้รถไฟ สอดคล้องกับแผนที่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ระบุว่าเส้นทางนี้มีทางรถไฟ

ในสมัยนั้น เส้นทางรถไฟในจีนมีน้อยกว่าปัจจุบันมาก แถบนี้ของจีน นอกจากทางรถไฟจากหลิ่วโจวไปกุ้ยหยางแล้ว ก็จะมีเส้นทางจากฮานอยไปหนานหนิงอีกเส้นทางเดียว แต่ไม่ทราบว่าคุณสงวนไม่ได้ใช้เพราะเส้นทางนี้ถูกปิดไป ในเวลานั้น หรือว่าเพราะการตรวจตราตรงพรมแดนเข้มข้นมาก ไปผ่านด่านตรงหมองก๋าย-ตงซิ่งอาจจะง่ายกว่าครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 27 ก.ย. 12, 22:45

ก่อนจะปิดท้ายด้วยเรื่องบ้าน

ท่านใดมีประวัติท่านเจ้าคุณแล้วนำมาเพิ่มเติมได้จะดีเหลือแสน

ข้าพเจ้าเข้า google ไม่ได้เลยช่วงนี้เพราะว่าจีนบล๊อก... ร้องไห้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 30 ก.ย. 12, 14:28

คุณหาญบิงหมายถึงบ้านหลังนี้หรือเปล่าคะ


บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 19 คำสั่ง