V_Mee
|
ได้รับคำไหว้วานจากท่านผู้อาวุโสที่เป็นคณะทำงานเตรียมการจัดศาลาว่าการกรุงเทพมหานครที่เสาชิงช้าเป็นพิพิธภัณฑ์เมือง (City Museum) โดยมีแนวคิดที่ว่า พิพิธภัณฑ์เมืองที่จะจัดนี้จะต้องเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต ผู้ชมสามารถมีกิจกรรมร่วมได้ อีกทั้งจะจัดให้มีหอสมุดและหอจดหมายเหตุ ที่รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับกรุงเทพมหานคร นัยว่าจะจัดให้มีมุมเสวนาให้ผู้ที่สนใจเรื่องราวต่างๆ ได้มาพบปะเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้กันเหมือนในเวบ เรือนไทยนี้ด้วย
แต่คำถามที่ท่านผู้อาวุโสถามมาก็สะท้อนถึงความจำเป็นที่จะต้องมีหจดหมายเหตุกรุงเทพมหานครขึ้นแล้ว คือท่านถามว่า ศาลาว่าการกรุงเทพมหานครนี้ สร้างขึ้นเมื่อใด และท่านใดเป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ พยายใช้อินทรเนตรค้นแล้วก็ไม่อาจหาคำตอบได้ จะหวังพึ่งหอจดหมายเหตุก็คงจะมิได้ เพราะ เอกสารที่ให้บริการในหอจดหมายเหตุนั้นมาสิ้นสุดเอาที่รัชกาลที่ ๗ และหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเล็กน้อยก็ไม่ได้ ความหวังอีนน้อยนิดจึงต้องมาฝาก ความหวังให้ท่านผู้รู้ในเวบเรือนไทยได้ช่วยไขปริศนานี้ให้กระจ่างด้วยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลุงไก่
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 24 ก.ย. 12, 12:49
|
|
คงต้องเริ่มเรื่องตั้งแต่สมัยยังมีตลาดเสาชิงช้ากับโรงก๊าดยุครัชกาลที่ ๕ ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
POJA
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 24 ก.ย. 12, 17:30
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 24 ก.ย. 12, 18:29
|
|
ในทีสุดก็ได้รับคำตอบในเวลาอันรวดเร็วยิ่ง ขอบพระคุณครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 24 ก.ย. 12, 21:01
|
|
หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม ท่านสำเร็จการศึกษาจากกรุงปารีส เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑ และเมื่อกลับมาเมืองไทยท่านได้ดำรงตำแหน่งกองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๘๔ - ๒๔๙๓ ผลงานของท่านมีมากมาย นอกจากศาลาว่าการกรุงเทพมหานครเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ แล้วยังมีโรงละครแห่งชาติ, พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์, พระบรมราชอนุสาวรีย์ ร.๖ สวนลุมพินี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 24 ก.ย. 12, 21:04
|
|
แบบร่างอาคารศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๔๙๘
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
POJA
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 25 ก.ย. 12, 12:38
|
|
คำตอบนี้อยู่ในวารสารของ กทม. ซึ่งไม่ได้บอกวันที่พิมพ์ไว้ แต่เดาว่า อยู่ในปี 2552 จากบทความเรื่องทองคำในเล่ม
ท่านผู้เขียนเรื่องความเป็นมาของศาลาว่าการ กทม. คงจะมีต้นฉบับจริงที่สามารถเป็นเอกสารอ้างอิงที่ดีได้มากกว่านี้
ภาพถ่ายหุ่นจำลองในเล่ม เป็นภาพสี สงสัยว่าจะถ่ายจากหุ่นจริง ซึ่งก็คงจะซ่อนอยู่ที่ไหนสักแห่งใน กทมฯ นั่นแหละค่ะ
เคยได้ยินอีกเรื่องหนึ่งที่ว่าการออกแบบให้เต็มโครงการนั้น จะต้องมีอีกอาคารหนึ่งตรงที่ปัจจุบันเป็นลานอเนกประสงค์-จอดรถใต้ดินด้วย แต่คงเป็นเพราะคับแคบไป ความต้องการใช้งานมากขึ้น จึงย้ายไปอยู่ที่ ดินแดง ในปัจจุบัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 25 ก.ย. 12, 14:50
|
|
ขอส่งภาพเปรียบเทียบแผนที่ 2475 เทียบกับ 2555 ชี้นให้เห็น ตลาดเสาชิงช้า (ลานคนเมือง) และศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่คนละแห่งกัน
โรงก๊าดสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งภายหลังเป็นตลาดเสาชิงช้า และกลายมาเป็นลานคนเมือง ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|