เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5]
  พิมพ์  
อ่าน: 20303 พระนิเทศชลธี นายทหารเรืออังกฤษแห่งราชนาวีสยาม
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 27 ก.ย. 12, 21:42

รูปนี้ไม่ใช่เหตุการณ์จริงนะครับ เป็นหุ่นขี้ผึ้งที่ถูกจัดฉากตั้งแสดงไว้ในสถาบันทางดาราศาสตร์ในฝรั่งเศส
ดูไม่ออกเลยค่ะ


บันทึกการเข้า
นอแรด
มัจฉานุ
**
ตอบ: 99


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 30 ก.ย. 12, 17:02

จากปี1871ถึง1891นั้น ภารกิจหลักของเขาคือ รับผิดชอบการสำรวจชายฝั่งทะเล แม่น้ำต่างๆ เส้นทางปักเสาโทรเลขและทางรถไฟเพื่อทำแผนที่ แต่กัปตันลอฟตัสก็ถูกเรียกให้ไปรับงานแถมเสมอๆ อีกครั้งหนึ่งที่สำคัญก็คือ เขาได้รับมอบหมายให้ไปกำกับการก่อสร้างค่ายสังเกตการณ์เฝ้าดูสุริยคราส และให้การรับรองรวมทั้งช่วยเหลือแขกเมืองจากอังกฤษที่จะเดินทางมาร่วมด้วย

สุริยคราสครั้งนี้ไม่ใช่คราวที่หว้ากอซึ่งพระจันทร์บังพระอาทิตย์เต็มดวง แต่เป็นสุริยคราสสมัยรัชกาลที5 ที่กำลังจะเกิดสิ่งที่เรียกว่า “ปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์” ซึ่งจะเห็นได้ชัดที่สุดก็ที่พระราชอาณาจักรนี้

ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯได้มีพระราชสาส์นถึงราชสมาคมดาราศาสตร์ (Royal Astronomical Society) เพื่อเชิญนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษมาสยาม เพื่อสังเกตปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2418 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้กัปตันลอฟตัสนำเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง ไปสร้างค่ายทำหอสังเกตการณ์ฝ่ายไทยล่วงหน้านานนับเดือน และคอยให้ความช่วยเหลืออนุเคราะห์คณะนักสำรวจจากอังกฤษที่จะเดินทางมาสมทบด้วย กัปตันลอฟตัสได้เลือกจุดที่บริเวณชายฝั่งทะเลใกล้กับปากคลองขนาดเล็ก ใกล้แหลมเจ้าลาย ในชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นจุดที่เงียบสงบ กัปตันลอฟตัสเองได้ตั้งเครื่องไม้เครื่องมือของหลวงเตรียมไว้ และเมื่อเกิดอุบัติการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ก็ทำการบันทึกได้ครบทุกนาทีตั้งแต่ต้นจนจบ ในขณะที่คณะของนักดาราศาสตร์อังกฤษนำโดยอาร์เธอร์ ชุสเตอร์ (Arthur Schuster) และนอร์แมน ลอคเยอร์ (Norman Lockyer) ซึ่งเดินทางมาถึงล่าช้ากว่ากำหนดมาก โดยมาถึงสยามก่อนวันดังกล่าวเพียงหกวัน จนเตรียมการอะไรไม่ทันแม้กระทั่งจะติดตั้งกล้องให้เข้าที่เข้าทางอย่างสมบูรณ์ แต่กลับก็มีเรื่องและภาพไปทำเสนอรายงานใน Illustrated London News ฉบับวันที่19 กรกฎาคม 1875 อย่างแจ่มแจ๋ว



ไม่ทราบว่าท่านเนาวรัตน์ แปลมาจากที่ไหนครับ เพราะว่า ....ไม่มีปรากฎการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ในวันดังกล่าว (  6 เมษ 1875 )
แท้ที่จริงแล้ววันดังกล่าว .......เกิดสุริยุปราคา เต็มดวง เห็นที่เมืองไทย เวลาประมาณ บ่านสองโมงครึ่งเศษ  แม้ในกทม.ก็มองเห็นครับ




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 30 ก.ย. 12, 17:48

ไม่ได้เอาจากอันนี้ แต่อันนี้คล้ายกับที่ไปเอา

http://www.narit.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=406:-venus-transit-2012&catid=1:astronomy-news&Itemid=4
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 30 ก.ย. 12, 18:54

ดูที่นี่ http://transitofvenus.nl/wp/2011/08/22/transits-and-eclipses-mixed-up/

เมื่อประกอบกับลิงก์ที่คุณ Navarat.C ได้กรุณามาโพสต์ไว้ น่าจะชัดเจนครับ ปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์เกิดในเดือนธันวาคมปีก่อนหน้านั้น Illustrated London สับสน ลากไปรวบเข้ากับสุริยุปราคาว่าเกิดพร้อมกันครับ หากเชื่อว่า Loftus สังเกตการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ที่ค่ายบางทะลุ ก็แสดงว่าค่ายบางทะลุถูกเตรียมสร้างขึ้นก่อนสุริยุปราคา 1875 อย่างน้อยร่วมครึ่งปีทีเดียว

บางตะลื้อในลิงก์ของคุณ Navarat.C ก็คือบางทะลุนี่แหละครับ อันนี้คนไทยถอดฝรั่งเขียนทับศัพท์ไทยสับสนครับ

 ยิ้ม

มีอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ คือนักดาราศาสตร์ฝรั่งเศสที่เข้ามาสังเกตการณ์สุริยุปราคาที่หว้ากอในปี 1868 มีชื่อแพลมๆให้เห็นวับๆ แวมๆ ว่านายปิแอร์ ซึ่งน่าจะเป็นนามสกุล แต่จะเป็นชื่อตัวหรือเปล่าก็ยังไม่แน่ใจนัก ไม่รู้ว่าได้เขียนรายงานอะไรออกมาบ้างหรือไม่ เพราะในสุริยุปราคาครั้งนั้น มีนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสอีกคนหนึ่งคือนาย Pierre Janssen ไปสังเกตการณ์ที่อินเดีย และทำการตรวจจับเสปคตรัมของแสงในช่วงสุริยุปราคาจนนำมาซึ่งค้นพบธาตุฮีเลียม นาย Lockyer ก็เป็นคนสำคัญผู้หนึ่งในการค้นพบธาตุนี้ครับ เรื่องนี้ถือเป็นข่าวใหญ่ในวงการมิทยาศาสตร์ในเวลานั้น นาย Janssen ผู้นี้ยังได้เข้ามาสังเกตการณ์สุริยุปราคาในสยามปี 1875 ด้วย ไม่ทราบว่าดูที่ไหน และมีบันทึกฝ่ายไทยอย่างไรหรือไม่ครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
นอแรด
มัจฉานุ
**
ตอบ: 99


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 30 ก.ย. 12, 19:47

ไม่ได้เอาจากอันนี้ แต่อันนี้คล้ายกับที่ไปเอา

http://www.narit.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=406:-venus-transit-2012&catid=1:astronomy-news&Itemid=4

ผมตามท่านเนาวรัตน์ไป web ที่ว่า ก็เลยรู้ว่ากัปตันลอฟตัส ในระหว่างที่ไปสร้างหอสังเกตุการณ์สำหรับ การดูสุริยุปราคานั้น ได้เป็นคนเห็น ดาวศุกร์โคจรผ่านหน้าดวงอาทิตย์ด้วย จึงใช้โปรแกรม search ย้อนหลัง ดูว่ามีปรากฎการณ์นั้นเมื่อใด และนี่ก็คือ คำตอบครับ
โห เกิดวันที่ 9 ธค. 1874 เวลา เมื่อดาวศุกร์เข้าไปเต็มดวงประมาณ เกือบ 10:30 น. แสดงว่าไปสร้างก่อน เกือบ 6 เดือน


   


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 30 ก.ย. 12, 19:51

I may mention the following. M. Pierre, the botanist of the Expedition,

ต้นฉบับเขียนดังข้างบนครับคุณม้า น่าจะเป็น surname
บันทึกการเข้า
นอแรด
มัจฉานุ
**
ตอบ: 99


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 30 ก.ย. 12, 19:53

และก็จาก เวป เดียวกันนี้ เขาเอารูปกลุ่มนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษพร้อมกล้องดูดาว ซึ่งภาพนี้เหมือนกับภาพของท่านเนาวรัตน์ ที่อ้างว่าเป็นนักดูดาวฝรั่งเศส และถ่ายจากพิพิทธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งของฝรั่งเศส

ตกลงแล้วเป็นของชาติใดแน่ครับ



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 30 ก.ย. 12, 20:15

ขอเวลาไปย้อนดูเอกสารชั้นต้นก่อน
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 30 ก.ย. 12, 23:53

I may mention the following. M. Pierre, the botanist of the Expedition,

ต้นฉบับเขียนดังข้างบนครับคุณม้า น่าจะเป็น surname

ขอบคุณครับ ยังหาตัวไม่เจอครับ อาจจะไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์คนสำคัญครับ

ผมยังสงสัยเรื่อง Janssen มาดูสุริยุปราคาที่สยาม 1785 อยู่ครับ ดูเหมือนไม่มีร่องรอยเลย ถึงแม้ wiki จะว่า Janssen มาสยามปีนั้น แต่ผมสงสัยว่าอาจจะไม่ได้มาจริงครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 01 ต.ค. 12, 06:09

Jean Baptiste Louis Pierre เป็นนักพฤกษศาสตร์ครับคุณม้า อาลาบาศเตอร์มีพื้นฐานเดียวกันจึงชื่นชมกล่าวถึง

http://en.wikipedia.org/wiki/Jean_Baptiste_Louis_Pierre


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 08 ต.ค. 16, 08:19

มีรูปและเรื่องราวมาเพิ่มครับ ขอเชิญเข้าไปดู

https://www.facebook.com/visanu/media_set?set=a.10154529207148554.1073741864.686798553&type=3
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 22 มี.ค. 17, 09:34

มีเรื่องของลอฟตัสมาให้อ่านเพิ่มครับ บางตอนในเรื่องเดียวกันนี้ผมได้เขียนไว้ในกระทู้ใหม่เกี่ยวกับบทบาททางการทูตของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ แต่ไม่มีเรื่องที่ลอฟตัสร่วมคณะสำรวจฝรั่งเศสในฐานะข้าราชการสยาม ไปสำรวจคอคอดกระในครั้งกระนั้นด้วย จึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่ครับ

https://www.silpa-mag.com/club/art-and-culture/article_7580
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 19 คำสั่ง