เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
อ่าน: 20373 พระนิเทศชลธี นายทหารเรืออังกฤษแห่งราชนาวีสยาม
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 13:58

และท่านยังได้เป็นผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับสยามและประวัติศาสตร์อันน่าสนใจยิ่ง ทำให้คนอังกฤษได้รู้จักพระราชอาณาจักรและกษัตริย์ที่ปกครองประเทศสืบต่อกันมาจนรัชกาลนี้ กับได้ทราบถึงการปฏิรูปประเทศของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯที่ทรงกระทำเมื่อยี่สิบเจ็ดปีที่แล้ว เช่นการอนุญาตให้ประชาชนมีเสรีภาพทางศาสนาที่จะไว้ทรงผมเหมือนคนยุโรปได้ แทนที่จะต้องโกนผมโดยเว้นไว้นิดนึงบนกบาล เหมือนขนแปรงไม้กวาดเก่าๆหรือกระจุกหญ้าบนส่วนหน้าของศรีษะ (ผมว่าตามนักเขียนฝรั่งนะครับ ถ้ากัปตันลอฟตัสเขียนจริงอย่างนี้ ก็แสดงว่าท่านเข้าใจผิดอย่างแรงต่อผมทรงมหาดไทแบบท่านผู้สำเร็จราชการฯ คิดว่าพุทธศาสนิกชนไทยต้องโกนผม ดังพระวินัยที่บัญญัติสำหรับพระภิกษุ)


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 14:09

พระราชอาณาสยามในปัจจุบันได้ร่วมอยู่ในสมาพันธ์ไปรษณีย์และพัศดุสากล มีกิจการโทรเลข มีไฟฟ้าใช้ในเมืองหลวงมาสิบกว่าปีแล้ว รัฐบาลอนุญาตให้มีโรงพิมพ์ของชาวยุโรปเพื่อการศึกษาและวัตถุประสงค์อื่นๆ ผลิตผลทางธรรมชาติของประเทศนี้ก็คือไม้สัก ข้าว ขนสัตว์ เมล็ดงา พริกไท ไม้ฝาง มีนิตยสารภาษาไทยสองหรือสามฉบับและยุโรปสองฉบับ ภาษาอังกฤษได้แก่บางกอกไทม์ซึ่งออกฉบับแรกในปี1887 หนังสือพิมพ์ฝ่ายตรงข้ามกันชื่อ The Siam Mercantile Gazette พิมพ์โดยชาวเยอรมัน บทความหนึ่งของท่านเซอร์กล่าวถึงสาระสำคัญในสนธิสัญญาบาวริ่ง “Treaty of Friendship and Commerce between Great Britain and Siam, 1856 และภาคผนวกที่แสดงความเห็นค้านข้อกล่าวหาที่Mr. Holt S Hallett มีต่อพระเจ้าแผ่นดินสยาม และสุดท้าย บัญชีสินค้าส่งออกของสยาม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 14:14

กัปตันลอฟตัสเป็นข้าราชการผู้อุทิศตนต่อสยาม และเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างสยามกับสหราชอาณาจักร ท่านเป็นผู้ที่เผชิญอันตรายมาแล้วอย่างโชกโชนทั้งบนบกและในทะเล ได้ซาบซึ้งในฤทธิ์เดชของพายุไซโคลนดียามต้องเผชิญหน้ากับมันหลายต่อหลายครั้งในทะเล ที่ร้ายแรงที่สุดสองครั้งคือเมื่อ21ตุลาคม1861 และ1พฤศจิกายน1867 ซึ่งกระชากหลังคาบ้านเรือนไป30,000หลัง ไร่นาล่มสลาย เรือหลายลำอัปปาง ซึ่งจะเรียกให้ถูกต้องใช้คำว่าถูกฉีกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยอยู่ในทะเล
 
ครั้งหนึ่งเมื่อท่านล้มเจ็บหนัก เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ กรมหลวงเทวะวงศ์ พระอนุชาของพระเจ้าอยู่หัว (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ความจริงเป็นพระปิตุลานี = น้องชายของพ่อ)ได้ส่งแพทย์หลวงประจำพระองค์มาดูแล และเกรงกันว่าท่านจะทิ้งสังขารเพราะโรคร้าย พระเจ้าอยูหัวทรงมีรับสั่งให้เตรียมหาโลงศพที่งดงามสมเกียรติไว้ให้พร้อมเพื่อบรรจุศพของท่านแล้ว โชคดีที่ท่านยังไม่ต้องการที่จะรับพระราชทานเกียรติยศถึงระดับนั้น จึงหายป่วยท่ามกลางความดีพระทัยและความยินดีปรีดาของบรรดาเพื่อนฝูงในยุโรป


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 14:21

เมื่อกราบบังคมทูลลาออกจากราชการเมื่อประมาณอายุ55ปี และเดินทางกลับไปประเทศอังกฤษราวปี1890-91 กัปตันลอฟตัสมีงานต้องทำต่อเพื่อแก้ปัญหาเรื่องไฟต้นหน และค้นคว้าหาวัสดุที่จะส่งสัญญาณให้ดีขึ้นสำหรับเรือและรถไฟ ซึ่งงานของท่านก็เป็นผลสำเร็จ
 
ท่านมีความรู้ภาษามาเลย์ดี และสายสัมพันธ์ระหว่างท่านและคนไทยที่ยาวนานเกินยี่สิบห้าปี ได้ช่วยสร้างประสานมิตรภาพระหว่างสยามและสหราชอาณาจักรให้แน่นแฟ้นยิ่ง

กัปตันลอฟตัสพักอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 6 ถนนกรอสเวเนอร์  ในปี1988 วันที่29ของเดือนที่ผ่านมา Handsworthได้สูญเสียลูกบ้านที่มีสีสันคนหนึ่งไปชั่วนิรันดร์


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 15:33

สุริยคราสครั้งนี้ไม่ใช่คราวที่หว้ากอซึ่งพระจันทร์บังพระอาทิตย์เต็มดวง แต่เป็นสุริยคราสสมัยรัชกาลที5 ที่กำลังจะเกิดสิ่งที่เรียกว่า “ปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์” ซึ่งจะเห็นได้ชัดที่สุดก็ที่พระราชอาณาจักรนี้

ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯได้มีพระราชสาส์นถึงราชสมาคมดาราศาสตร์ (Royal Astronomical Society) เพื่อเชิญนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษมาสยาม เพื่อสังเกตปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2418 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้กัปตันลอฟตัสนำเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง ไปสร้างค่ายทำหอสังเกตการณ์ฝ่ายไทยล่วงหน้านานนับเดือน และคอยให้ความช่วยเหลืออนุเคราะห์คณะนักสำรวจจากอังกฤษที่จะเดินทางมาสมทบด้วย กัปตันลอฟตัสได้เลือกจุดที่บริเวณชายฝั่งทะเลใกล้กับปากคลองขนาดเล็ก ใกล้แหลมเจ้าลาย ในชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นจุดที่เงียบสงบ กัปตันลอฟตัสเองได้ตั้งเครื่องไม้เครื่องมือของหลวงเตรียมไว้ และเมื่อเกิดอุบัติการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ก็ทำการบันทึกได้ครบทุกนาทีตั้งแต่ต้นจนจบ ในขณะที่คณะของนักดาราศาสตร์อังกฤษนำโดยอาร์เธอร์ ชุสเตอร์ (Arthur Schuster) และนอร์แมน ลอคเยอร์ (Norman Lockyer) ซึ่งเดินทางมาถึงล่าช้ากว่ากำหนดมาก โดยมาถึงสยามก่อนวันดังกล่าวเพียงหกวัน จนเตรียมการอะไรไม่ทันแม้กระทั่งจะติดตั้งกล้องให้เข้าที่เข้าทางอย่างสมบูรณ์ แต่กลับก็มีเรื่องและภาพไปทำเสนอรายงานใน Illustrated London News ฉบับวันที่19 กรกฎาคม 1875 อย่างแจ่มแจ๋ว

ศาสตราจารย์ อาเทอร์ ชูสเตอร์


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 15:34

เส้นทางสุริยุปราคาเต็มดวง เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๑๘ (ค.ศ. 1875)


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 17:17

ในความเห็นของท่าน Navarat C. ข้างต้นที่กล่าวถึงสมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการนั้น  ถูกทั้ง ๒ แบบครับ
ตอนที่ทรงเป็นกรมหลวงเสนาบดีต่างประเทศนั้น  ทรงเป็นพระเจ้าน้องยาเธอในรัชกาลที่ ๕ ครับ
ถึงรัชกาลที่ ๖ จึงทรงเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทวะวงศ์ฯ  แล้วเลื่อนเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาเทวะวงศ์ฯ ใน พ.ศ. ๒๔๕๙ ครับ  ในรัชกาลที่ ๖ นี้ทรงเป็นทั้งพระปิตุลา คือ น้องของพ่อ)
และทรงเป็นพระมาตุลา  เพราะทรงเป็นพระเชษฐาในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี
พันปีหลวงด้วยครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 18:02

^
นั่นสินะครับ แล้วผมไปใส่ข้อความในวงเล็บไว้ทำไม สงสัยตนเองอีกแล้ว


บันทึกการเข้า
Diwali
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 22:18

เข้ามาลงชื่อว่าตามอ่านเหมือนอย่างเคยครับ

 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 27 ก.ย. 12, 07:59

อ้างถึง
ขออนุญาตแทรกความรู้เรื่องทหารเรือไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในยุคที่เรายังต้องใช้ฝรั่งเป็นผู้บังคับการเรือ

ซึ่งเรื่องนี้ นายพลเรือโท พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นชุมพรอุดมศักดิ์ เสนาธิการทหารเรือ พระยศและตำแหน่งในเวลานั้น ทรงพระนิพนธ์ไว้ในเรื่อง “ความเจริญแห่งราชนาวี” ที่ประทานไปลงใน ดุสิตสมิต เล่ม ๖ (ฉบับพิเศษ สำหรับเปนที่ระฤกเนื่องในงานเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๓ มกราคม พระพุทธศักราช ๒๔๖๒) ว่า

“ในระหว่างที่ชาวต่างประเทศเปนผู้บังคับบัญชา (นายงาน) อยู่นั้นก็หาได้ตั้งใจจะฝึกสอนให้คนไทยมีความรู้สำหรับทำการในน่าที่ และมิได้จัดการบังคับบัญชาให้เปนระเบียบแบบแบบธรรมเนียมของทหารอันมียุทธวินัย, เปนแต่เวลาทำงานก็ใช้แรงทำงานและข่มขี่อย่างทาษ; ส่วนความประพฤติของทหารนั้นมิไยใครจะประพฤติเกะกะเกกมะเหรกละเมิดบทกฎหมายหรือต้องโทษต้องทัณฑ์อย่างไรก็ช่าง "มิหนำซ้ำในสมัยนั้น ถ้าจะมีใครกล่าวขวัญถึงราชนาวีด้วยบ้าง ก็ไม่ต่างกันกับกล่าวขวัญถึงกุลีของรัฐบาลพวกหนึ่งสำหรับใช้ทางเรือ (ในทเล, ลำน้ำ, ลำคลอง, และเบ็ดเตล็ดจุกจิกอื่นๆ อีกเอนกประการ)”

อ้างถึง
^เรื่องที่คุณวีหมีกล่าวมานี้เห็นทีจะต้องว่ากันอีกยาว แต่ตอนนี้ขอผลัดไปก่อนนะครับ

คือผมผลัดไปหากระจกมาส่องให้ดูอีกด้านหนึ่ง เป็นบันทึกของนายเฮนรี นอร์แมน นักเขียนสารคดีการเมืองชาวอเมริกันที่เข้ามาสยามเมื่อเหตุการณ์ร.ศ.๑๑๒ เพิ่งจะผ่านพ้นไปหมาดๆ ผมถอดความออกมาให้อ่านประกอบดังนี้ครับ

อีกสาขาหนึ่งของงานหลวง คือราชนาวี แม้การอวดอ้างจะน้อยแต่ในความจริงแล้วหลายอย่างจะดีกว่าที่อื่นๆ ริเชอลิวนายทหารเดนมาร์กผู้ที่ข้าพเจ้าได้สนทนาด้วย ทำงานทหารเรือมาหลายปีแล้วร่วมกับพระองค์เจ้า(ขจรจรัสวงษ์  พลเรือโทกรมหมื่นปราบปรปักษ์)ผู้โดดเด่นในบรรดานายทหารไทยในเรื่องเข็มแข็งต่อการงานและความตงฉิน ได้สร้างทหารเรือที่มีระเบียบวินัยอย่างเยี่ยมขึ้นมากรมใหญ่ ถึงแม้จะขาดประสิทธิภาพทางยุทธวิธีมากหน่อยก็ตาม ทหารเหล่านั้นก็น่าจะเป็นผู้ที่ประจำการในป้อมปืน เป็นพลประจำปืนบนเรือรบ และเป็นพลรบบนภาคพื้นดินหรือที่ไหนก็ตามที่มีการรบ แม้ว่าพวกนี้จะผ่านการฝึกในด้านแถวทหารมานิดหน่อยและพอจะรู้วิธียิงปืนไรเฟิ้ล แต่ความมีวินัยก็สร้างภาพลักษณ์ให้ทหารเรือโดดเด่นขึ้นมาจากกรมกองอื่นๆของสยาม  ทำให้ภารกิจต้องหนักไปอีกทางหนึ่งโดยสิ้นเชิง ทหารเรือกลายเป็นเหมือนกับทหารรับใช้ในพระราชสำนักอันโอ่อ่าไม่ใช่ภารกิจในการป้องกันชาติ พวกนี้สวมเครื่องแบบกลาสีแต่ทำงานแบบกุลี เงินเดือนต่ำกว่าที่ควรจะได้ งานหนัก และเกษียณโดยไม่มีบำนาญ เมื่อมีการเสด็จแปรพระราชฐานไปเกาะสีชังหรือบางปะอิน กรมทหารเรือมีภารกิจในงานแบกขนสัมภาระ กระทะหม้อข้าวหม้อแกงของสำนักพระราชวัง ซึ่งตระเตรียมหีบห่อไว้โดยคุณหญิงคุณนายและคนรับใช้สตรีนับจำนวนไม่ถ้วน(การบรรจุหีบห่อนี้ถือศิลปะที่ปกปิดอย่างหนึ่งในสยาม) ทำงานซ่อมสร้างตั้งแต่ในวังถึงในกระท่อมของผู้ตามเสด็จ งานรดน้ำต้นไม้ งานสร้างสุขาและสุขาภิบาล งานลากรถเจ๊ก งานแบกเสลี่ยง งานที่ต้องแต่งเครื่องแบบเต็มที่เพื่อเข้ากระบวนเสด็จไปจนถึงงานกำจัดแมลงวันเป็นถังๆไม่ให้รบกวนพระราชฐาน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 27 ก.ย. 12, 08:04

เอาต้นฉบับมาลงไว้ให้ดูด้วยกันสงสัย

As for the other branch of his Siamese Majesty's service, the Navy, while the pretensions are less, the realities in some respects are better. The Danish officer M. de Eichelieu, of whom I have already spoken, has given many years of labour to this, and in alliance with him, Pra Ong Chora, unique among Siamese officials for energy and integrity, has created a large body of marines who possess at any rate the elements of discipline, however much they may lack technical efficiency. They are supposed to man the forts, supply the fighting crews for the gunboats, and act as an armed force on land whenever one is required, though their whole training for these duties consists of a little elementary drill and the bare knowledge of how to discharge a rifle. The  discipline which does characterise them, and which yet distinguishes them brilliantly from other Siamese organisations, is directed to wholly different ends. They are neither more nor less than the body-servants of the royal household another striking instance of the subordination of national interests to royal luxury. Underpaid, harshly treated, and ground by the corvee, they wear the uniform of sailors and perform the duties of coolies. When the King goes to Koh-si-chang or Bang-pa-in, the whole navy turns out to effect his household removal, to carry the pots and pans of the Palace retinue of innumerable ladies and women-servants (packing is an unknown art in Siam), to build their " palaces " and shanties, to water their gardens, to erect and superintend their sanitary conveniences, to drag their jinrikisha, to carry their sedans, to dress up in their processions, and even to catch flies by bucketfuls to facilitate the royal repose.

บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 27 ก.ย. 12, 17:00

^
นั่นสินะครับ แล้วผมไปใส่ข้อความในวงเล็บไว้ทำไม สงสัยตนเองอีกแล้ว

สงสัยจะเพราะหนุ่มน้อยไปหน่อยครับ อิอิ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 27 ก.ย. 12, 17:30

ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯได้มีพระราชสาส์นถึงราชสมาคมดาราศาสตร์ (Royal Astronomical Society) เพื่อเชิญนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษมาสยาม เพื่อสังเกตปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2418 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้กัปตันลอฟตัสนำเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง ไปสร้างค่ายทำหอสังเกตการณ์ฝ่ายไทยล่วงหน้านานนับเดือน และคอยให้ความช่วยเหลืออนุเคราะห์คณะนักสำรวจจากอังกฤษที่จะเดินทางมาสมทบด้วย กัปตันลอฟตัสได้เลือกจุดที่บริเวณชายฝั่งทะเลใกล้กับปากคลองขนาดเล็ก ใกล้แหลมเจ้าลาย ในชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นจุดที่เงียบสงบ กัปตันลอฟตัสเองได้ตั้งเครื่องไม้เครื่องมือของหลวงเตรียมไว้ และเมื่อเกิดอุบัติการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ก็ทำการบันทึกได้ครบทุกนาทีตั้งแต่ต้นจนจบ ในขณะที่คณะของนักดาราศาสตร์อังกฤษนำโดยอาร์เธอร์ ชุสเตอร์ (Arthur Schuster) และนอร์แมน ลอคเยอร์ (Norman Lockyer) ซึ่งเดินทางมาถึงล่าช้ากว่ากำหนดมาก โดยมาถึงสยามก่อนวันดังกล่าวเพียงหกวัน จนเตรียมการอะไรไม่ทันแม้กระทั่งจะติดตั้งกล้องให้เข้าที่เข้าทางอย่างสมบูรณ์ แต่กลับก็มีเรื่องและภาพไปทำเสนอรายงานใน Illustrated London News ฉบับวันที่19 กรกฎาคม 1875 อย่างแจ่มแจ๋ว

ลอฟตัสคือคนซ้ายสุดในรูปหรือเปล่าคะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 27 ก.ย. 12, 17:44

รูปนี้ไม่ใช่เหตุการณ์จริงนะครับ เป็นหุ่นขี้ผึ้งที่ถูกจัดฉากตั้งแสดงไว้ในสถาบันทางดาราศาสตร์ในฝรั่งเศส
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 27 ก.ย. 12, 17:48

^
นั่นสินะครับ แล้วผมไปใส่ข้อความในวงเล็บไว้ทำไม สงสัยตนเองอีกแล้ว

สงสัยจะเพราะหนุ่มน้อยไปหน่อยครับ อิอิ

คุณประกอบ อย่าย้ำ...ขอร้องละ..ปั่ดธ่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 20 คำสั่ง