เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 20363 พระนิเทศชลธี นายทหารเรืออังกฤษแห่งราชนาวีสยาม
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 23 ก.ย. 12, 14:24

บันทึกฝ่ายไทยกล่าวว่า พ.ศ.๒๔๑๔ รัฐบาลสยามได้ทำสัญญากับรัฐบาลอังกฤษ แบบช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  โดยว่าจ้างนายนาวาโท อัลเฟรด เจ. ลอฟตัส (Alfred J. Loftus) พร้อมกับ มิสเตอร์ จอห์น ริชาร์ดส์ ซึ่งเป็นนายทหารที่เคยเข้ามาสำรวจในอดีต ให้เข้ามารับราชการเป็นหัวหน้าสำรวจแผนที่ทะเลขึ้นกับกรมพระกลาโหม เพื่อทำการสำรวจต่อจากที่อังกฤษได้ทำไว้แล้ว โดยใช้เรือของสยาม นอกจากนั้น นายนาวาโท ลอฟตัส ยังได้รับมอบหน้าที่ในการสำรวจบริเวณที่จะวางเครื่องหมายทางเรือให้ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับฝ่ายเจ้าท่าซึ่งมี กัปตัน บุช เป็นเจ้าหน้าที่อำนวยการ ทางการได้จัดเรือนไม้เสาอิฐโบกปูน ซึ่งอยู่ในบริเวณที่ทำการกรมอุทกศาสตร์ในปัจจุบัน ให้เป็นที่พักและเป็นสำนักงาน
 
ในปีเดียวกันนี้ นายนาวาโท ลอฟตัส และผู้ช่วย คือนายเรือเอก ที. คาลตอนและนายเรือเอก เอ็น. ลีแมน ได้ใช้เรือราชการของสยามเป็นพาหนะ สำรวจช่องสมุย และอ่าวนครศรีธรรมราช แผนที่ทั้ง ๒ แผ่นนี้ หน่วยอุทกศาสตร์ของอังกฤษในประเทศอินเดีย ได้พิมพ์ออกจำหน่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๓ ให้หมายเลข เอส.๔ (๑๘๑๑) และ เอส.๕ อนึ่ง ในปีเดียวกันนี้ ราชนาวีอังกฤษได้ส่งเรือ ทีสเซิล (Thistle) เข้ามาสำรวจปากน้ำท่าจีนด้วย

ในปีต่อมา นายนาวาโทลอฟตัส ได้ทำการสำรวจท่าเรือปัตตานีและสงขลา รวมทั้งทะเลสาบสงขลา โดยใช้เรือราญรุกไพรี แผนที่ทั้ง ๒ แผ่นนี้ได้พิมพ์แทรกไว้ในแผนที่หมายเลข ๙๙๘ ซึ่ง กรมอุทกศาสตร์อังกฤษ พิมพ์ออกจำหน่าย เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๓ และแผนที่ทั้ง ๒ แผ่นนี้ยังได้แยกพิมพ์เป็น หมายเลขเอส.๖ (๑๑๗๘) และ เอส.๗(๑๑๗๔) โดยหน่วยอุทกศาสตร์อังกฤษในอินเดียเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๙ ด้วย และใน พ.ศ.๒๔๑๕ นี้ นายนาวาโท ลอฟตัส และผู้ช่วย ยังได้ ทำการ สำรวจ อ่าวนครศรีธรรมราช ถึง แหลมแท่น คือ แผนที่หมายเลข ๙๘๙ ซึ่งกรมอุทกศาสตร์ อังกฤษ ได้พิมพ์ออกจำหน่าย เมื่อพ.ศ.๒๔๒๓……..ฯลฯ ฯลฯ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 23 ก.ย. 12, 14:27

ผมสงสัยว่า การที่อังกฤษเรียกท่านว่ากัปตันลอฟตัส จะมิได้หมายความว่าท่านเป็นนายทหารเรือยศนายเรือเอกแห่งราชนาวีอังกฤษกระมัง อย่างไรก็ดีเมื่อเข้ามารับราชการในสยามตามข้อตกลงร่วมกันระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล  อาจทำให้ได้รับพระราชทานยศนายนาวาโทในราชนาวีสยาม ส่วนรายละเอียดตามความในคคห.ข้างบน ผมไม่ได้หวังว่าจะให้ท่านผู้อ่านซึมซับเรื่องเทคนิควิทยาการ แต่อยากให้ทราบคร่าวๆเพื่อช่วยกันประหลาดใจว่า ตามบันทึกของนักเขียนฝรั่งนั้น ภาพพจน์ของกัปตันลอฟตัสออกจะเป็นนักผจญภัย ชอบเดินทางค้าขายเสี่ยงโชค ตะลอนๆไปเจ็ดคาบสมุทร แต่ที่ไหนได้ พอเข้ามาในเมืองไทยกลับกลายเป็นนักวิชาการผู้ทรงภูมิรู้ในหลายต่อหลายด้านไปซะงั้น
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 23 ก.ย. 12, 14:51

หนังสือพิมพ์ Strits Times ฉยับ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๙ โดย Alfred J. Loftus เกียวกับอ่าวไทย


บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 23 ก.ย. 12, 15:49

เข้ามายกมือครับ

เดาว่านายลอฟตัสตอนเริ่มลงเรือครั้งแรกตอนอายุ 13 คงจะไม่ได้ลงเรือในฐานะลูกเรือธรรมดาหรือลูกเรือฝึกหัด แต่คงจะลงเรือในฐานะนักเรียนทำการนายเรือมากกว่า เพราะเท่าที่ทราบช่วง ศตวรรษที่ 17-19 นายทหารราชนาวีอังกฤษจะเริ่มต้นชีวิตชาวเรือกันแบบนั้นครับ คือมาจากครองครัวชนชั้นกลางขึ้นไปจนถึงชนชั้นสูง อายุ 12-13 ก็ลงเรือในฐานะนักเรียน แต่มีสถานะที่สูงกว่าลูกเรือ อยู่ฝึกไปเรื่อยๆ จนอายุ 19-20 มีคุณวุฒิ วัยวุฒิ วิทยายุทธพอสมควร เช่นวิชาเดินเรือ วิชาแผนที่ที่ วัดแสงวัดแดด  วิชาอาวุธ ก็จะได้รับการแต่งตั้งเป็นนายหทารเต็มตัว รับราชการต่อไปเรื่อยๆ จนได้รับมอบหมายเป็นกัปตันเรือลำใดลำหนึ่ง น่าจะอยู่ในช่วงอายุ 30 กว่าๆ ขึ้นไป คำว่ากัปตันสมัยนั้น ใหญ่กว่าตำแหน่งเรือเอกสมัยนี้ครับ ต้องระดับผู้บังคับการเรือ เทียบเท่าปัจจุบันก็นาวาเอก

และดูเหมือนว่า บางคนอาจจะมีช่วงว่างๆ ไม่ได้รับมอบหมายให้ลงเรือ ไม่ได้ออกเรือ  ก็จะอยู่ว่างๆ รายได้น้อยนิดหรือไม่มี เลยไปประกอบอาชีพได้ตามอัธยาศัย แต่ถ้ามีศึกสงคราม หรือราชการจะเรียกตัวกลับมาเมื่อไหร่ก็ได้ ก็ได้ยศได้ตำแหน่งแบบเดิม  บางทีราชการก็ตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งอื่นๆ เช่นไปเป็นเจ้าปกครองอาณานิคมก็มี แต่ผมก็ไม่แน่ใจนัก แต่เคยอ่านประวัติกัปตันคุก กัปตันไบลท์ หรือแม้แต่ลอร์ดเนลสัน ดูเหมือนจะมีช่วงเวลาแบบนี้ทุกคน


นายลอฟตัสอาจจะเป็นลักษณะนี้ครับ หรืออาจจะออกจากราชการไปแล้ว ไปโดนสลัดปล้น หมดเนื้อหมดตัวก็เลยกลับมารับราชการใหม่ที่ฮ่องกงก็เป็นได้ จนได้รับมอบหมายให้มาสยาม เพราะงานทำแผนที่ รัฐบาลอังกฤษก็ต้องขอมีเอี่ยวด้วยอยู่แล้ว


นี่แสดงความเห็นเฉยๆ พอไม่ให้เงียบเหงา มาจากความทรงจำล้วนๆ อาจจะผิดหมดก็ได้
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 23 ก.ย. 12, 16:02

ตำแหน่งที่ว่าคือ midshipman คำแปลสั้นๆก็บอกว่า เป็นระดับต่ำสุดของนักเรียนนายเรือฝึกหัด ผมมิได้ศึกษาลงลึกลงในรายละเอียดอย่างที่คุณประกอบว่า จึงเขียนไปเป็นตำแหน่งลูกเรือฝึกหัด
ต้องขอบคุณในข้อมูลทั้งหมดที่เขียนเล่าไว้นี้ และทำให้ผมหายข้องใจในฐานะทางทหาร และความรู้ความสามารถของท่าน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 23 ก.ย. 12, 16:06

ฝรั่งเขียนต่อไปว่า ตำแหน่งอย่างเป็นทางการของกัปตันลอฟตัสคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านแผนที่อุทกศาสตร์ แต่เขาก็มักจะได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่แถม เช่น ในปี1871ให้เป็นผู้บังคับการเรือปืนพิทยัมรณยุทธ(Regent) นำนายโทมัส น๊อกซ์กงสุลใหญ่อังกฤษ ตามเสด็จพระราชดำเนินเยือนอินเดียของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยร่วมขบวนไปกับเรือพระที่นั่งและเรืออื่นๆที่บรรทุกผู้ตามเสด็จ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 23 ก.ย. 12, 16:11

การเสด็จพระราชดำเนินเยือนอินเดียครั้งนี้ นับเป็นครั้งที่สอง หลังจากนั้นก็ทรงพร้อมที่จะเสด็จยุโรป


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 23 ก.ย. 12, 17:22

จากปี1871ถึง1891นั้น ภารกิจหลักของเขาคือ รับผิดชอบการสำรวจชายฝั่งทะเล แม่น้ำต่างๆ เส้นทางปักเสาโทรเลขและทางรถไฟเพื่อทำแผนที่ แต่กัปตันลอฟตัสก็ถูกเรียกให้ไปรับงานแถมเสมอๆ อีกครั้งหนึ่งที่สำคัญก็คือ เขาได้รับมอบหมายให้ไปกำกับการก่อสร้างค่ายสังเกตการณ์เฝ้าดูสุริยคราส และให้การรับรองรวมทั้งช่วยเหลือแขกเมืองจากอังกฤษที่จะเดินทางมาร่วมด้วย

สุริยคราสครั้งนี้ไม่ใช่คราวที่หว้ากอซึ่งพระจันทร์บังพระอาทิตย์เต็มดวง แต่เป็นสุริยคราสสมัยรัชกาลที5 ที่กำลังจะเกิดสิ่งที่เรียกว่า “ปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์” ซึ่งจะเห็นได้ชัดที่สุดก็ที่พระราชอาณาจักรนี้

ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯได้มีพระราชสาส์นถึงราชสมาคมดาราศาสตร์ (Royal Astronomical Society) เพื่อเชิญนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษมาสยาม เพื่อสังเกตปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2418 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้กัปตันลอฟตัสนำเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง ไปสร้างค่ายทำหอสังเกตการณ์ฝ่ายไทยล่วงหน้านานนับเดือน และคอยให้ความช่วยเหลืออนุเคราะห์คณะนักสำรวจจากอังกฤษที่จะเดินทางมาสมทบด้วย กัปตันลอฟตัสได้เลือกจุดที่บริเวณชายฝั่งทะเลใกล้กับปากคลองขนาดเล็ก ใกล้แหลมเจ้าลาย ในชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นจุดที่เงียบสงบ กัปตันลอฟตัสเองได้ตั้งเครื่องไม้เครื่องมือของหลวงเตรียมไว้ และเมื่อเกิดอุบัติการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ก็ทำการบันทึกได้ครบทุกนาทีตั้งแต่ต้นจนจบ ในขณะที่คณะของนักดาราศาสตร์อังกฤษนำโดยอาร์เธอร์ ชุสเตอร์ (Arthur Schuster) และนอร์แมน ลอคเยอร์ (Norman Lockyer) ซึ่งเดินทางมาถึงล่าช้ากว่ากำหนดมาก โดยมาถึงสยามก่อนวันดังกล่าวเพียงหกวัน จนเตรียมการอะไรไม่ทันแม้กระทั่งจะติดตั้งกล้องให้เข้าที่เข้าทางอย่างสมบูรณ์ แต่กลับก็มีเรื่องและภาพไปทำเสนอรายงานใน Illustrated London News ฉบับวันที่19 กรกฎาคม 1875 อย่างแจ่มแจ๋ว
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 23 ก.ย. 12, 17:24

แสดงภาพบริเวณค่าย และหอดูดาวที่กัปตันลอฟตัสสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการสังเกตการณ์ ซึ่งได้ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ดังกล่าว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 23 ก.ย. 12, 17:27

ภาพวาดโคโรนาของดวงอาทิตย์มีข้อความระบุว่า “ปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ที่สังเกตการณ์ในประเทศสยาม” ทำให้สองนักวิทยาศาสตร์อังกฤษถูกยำใหญ่ เพราะโดยข้อเท้จจริงขณะที่ดาวศุกร์โคจรผ่านดวงอาทิตย์นั้น มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ต้องกรองแสงถึงขนาดจึงจะสังเกตุเห็นเป็นจุดเล็กๆ ค่อยๆวิ่งผ่านไป

นี่ไปทำเป็นภาพพิมพ์(engraving)เหมือนสุริยุปราคาเต็มดวงที่เกิดจากการบดบังของพระจันทร์


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 23 ก.ย. 12, 17:42

ส่วนงานสำรวจรังวัดทำแผนที่ที่ท่านรับผิดชอบโดยตรงนั้น ปรากฏตามเอกสารไทยดังนี้


จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกองทำแผนที่ทดลองขึ้นในพ.ศ.๒๔๑๘ โดยนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์เป็นหัวหน้ากอง กัปตันลอฟตัสเป็นผู้ช่วย พร้อมกับคนไทย๔คน (ม.ร.ว.แดง นายทัด นายสุด  และ ม.ร.ว. เฉลิม) โดยเริ่มด้วยการสำรวจทำแผนที่กรุงเทพฯ เพื่อตัดถนนเจริญกรุงและถนนอื่นๆ รวมทั้งงานทำแผนที่เพื่อวางสายโทรเลขไปยังพระตะบอง แผนที่บริเวณปากอ่าวสยาม เพื่อการเดินเรือและเพื่อเตรียมการป้องกันการรุกรานของข้าศึกที่อาจมาทางทะเล

ต่อมา นายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ผู้ซึ่งมิได้เป็นผู้เชี่ยวชาญโดยตรงในงานแผนที่จึงได้ถวายคำแนะนำให้ว่าจ้างช่างสำรวจรังวัดและทำแผนที่โดยตรงคือ นายเจมส์ เอฟ.แมคคาร์ธี ผู้ช่วยช่างทำแผนที่จากกรมแผนที่แห่งอินเดีย เข้ามารับราชการในกองทำแผนที่ทางบกตั้งแต่วันที่1ตุลาคม พ.ศ. 2424 (ขยายเป็นกรมทำแผนที่ในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2428)

ส่วนแผนที่ทางทะเลยังคงอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานแผนที่ทะเล ซึ่งมีกัปตันลอฟตัส เป็นหัวหน้าต่อไป


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 23 ก.ย. 12, 18:19

ในปี 1883 (พ.ศ.2424)ท่านได้ร่วมไปกับคณะสำรวจฝรั่งเศสภายใต้การนำของนายนาวาโทบิลลิยงเพื่อศึกษาภูมิประเทศของคอคอดกระตามแนวที่อาจจะขุดคลอง ไม่ได้ร่วมมือกันตลอดแต่ก็มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และจุดมุ่งหมายลับๆของพวกฝรั่งเศสจะเอื้ออำนวย

กัปตันลอฟตัสเขียนรายงานและส่งไปตีพิมพ์ในฐานะสมาชิกของราชสมาคมภูมิศาสตร์ ทั้งรัฐบาลอังกฤษและหนังสือพิมพ์ต่างเห็นด้วยกับความคิดของท่านในแง่ปฏิบัติ และยกย่องความอุสาหะที่ได้นำข้อเท็จจริงมาเสนอ ก่อนฝรั่งเศสจะทำการคำนวณแล้วเสร็จ แล้วพับโครงการไป


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 23 ก.ย. 12, 19:11

จากผลงานในสยาม ท่านได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกทอเรีย ให้เป็นอ้ศวินระดับท่านเซอร์ และทรงอนุญาตให้เซอร์อัลเฟรด ลอฟตัส กลับมาทำงานสนองพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์สยามต่อไปตามหน้าที่เดิม ในประเทศนี้ท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นที่ “พระนิเทศชลธี” นามเต็มคือ นายนาวาเอก พระนิเทศชลธี

ปี 1887 เซอร์อัลเฟรด ลอฟตัสได้กลับอังกฤษอีกครั้งเพื่อร่วมงานฉลองสิริราชสมบัติครบ50พรรษาของสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกทอเรีย ณ ราชสำนักเซนต์เจมส์ ในบรรดาราชบรรณาการล้ำค่าที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวส่งไปถวาย ชิ้นหนึ่งเป็นเหรียญทองคำที่สร้างขึ้นในโอกาสที่ทรงสถาปนาองค์สยามมกุฎราชกุมาร(พระองค์แรก) ถือเป็นการประกาศโดยนัยยะขององค์ที่จะผ่านภพขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินสยามต่อจากรัชกาลนี้

เมื่อถึงเวลาอันสมควรจะกราบบังคมทูลลาออกจากราชการในหลายปีต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯผู้ทรงคุณอันประเสริฐ ทรงรับใบลาออกของท่านเซอร์ด้วยความอาลัย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 23 ก.ย. 12, 20:54

ขอแยกซอยออกไปนิดหน่อย เพื่อปั่นเรตติ้งไปด้วยในตัว

ชื่อท่านเซอร์ ออกเสียงแบบไทย  อ่านแล้วยิ้มออกมาง่าย  แต่สะกดออกมายาก

แอลเฟรด ยอนลอบเตอด เยฟอานีเอช

คำสุดท้ายมาจากภาษาอังกฤษแน่นอน แต่คำเดิมว่าอะไรยังงงๆอยู่  ชีฟ เอนจิเนียร์ หรืออะไรกันแน่  ต้องขอเชิญผู้รู้ช่วยตีความ

ได้ตรงนี้มาจากประวัติทางรถไฟสายปากน้ำค่ะ
อินทรเนตรบอกว่า เป็นทางรถไฟเอกชนที่เดินรถระหว่างหัวลำโพง กรุงเทพมหานคร กับเมืองปากน้ำ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นระยะทาง 21 กิโลเมตร ตั้งแต่ พ.ศ. 2436 ถึง พ.ศ. 2503 เป็นทางรถไฟสายแรกของประเทศไทย

ทางรถไฟสายปากน้ำดำเนินการโดย กอมปานีรถไฟ หรือ บริษัทรถไฟปากน้ำ บริหารงานโดยอังเดร เดอ ริเชอลิเออร์ (พระยาชลยุทธโยธิน) ชาวเดนมาร์ก และแอลเฟรด ยอนลอบเตอด เยฟอานีเอช (พระนิเทศชลธี)2] มีวิศวกรเดินรถชื่อ ที.เอ. ก็อตเช่ (Captain T.A. Gottsche) ชาวเดนมาร์ก ต่อมาได้รับราชทินนามเป็น ขุนบริพัตรโภคกิจ ต้นสกุล คเชศะนันทน์

มีเพื่อนคนหนึ่งเรียนมาด้วยกันตั้งแต่เด็กจนจบจุฬา แต่แยกไปคนละคณะ   นามสกุลคเชศะนันทน์    เธอเคยบอกว่านามสกุลเดิมคือก๊อดเช่    หน้าตาสวยแบบฝรั่งมากทีเดียว   พอเห็นชื่อนี้ก็เลยถึงบางอ้อ    ท่านขุนผู้นี้น่าจะเป็นคุณปู่เธอเอง   
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 23 ก.ย. 12, 21:04

เยฟอานีเอช

Captain Alfred John Loftus, F.R.G.S, (Fellowship of Royal Geographical Society สมาชิกราชสมาคมภูมิศาสตร์)

รถไฟสายปากน้ำรุ่นแรกครับ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 20 คำสั่ง