เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 20362 พระนิเทศชลธี นายทหารเรืออังกฤษแห่งราชนาวีสยาม
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 23 ก.ย. 12, 22:49

เยฟอานีเอช ----> F.R.G.S.(Fellowship of Royal Geographical Society สมาชิกราชสมาคมภูมิศาสตร์)


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 23 ก.ย. 12, 23:43

ท่านเซอร์อัลเฟรด จอห์น ลอฟตัส  หรือคุณพระนิเทศชลธี นอกจากเก่งทั้งทางทะเลและบนบก    ยังเก่งอีกอย่างคือเป็นนักประดิษฐ์
พบว่าท่านมีประดิษฐกรรมอยู่ 2 อย่าง (เป็นอย่างน้อย) ที่ดูจะประสบความสำเร็จเอาการ
1  ตะเกียงที่เรียกว่า Loftus Patent Glycerine Lamp   ซึ่งในประวัติบอกว่าใช้กันแพร่หลายในรัฐบาลหลายประเทศและในบริษัทเดินเรือหลายแห่งด้วย
2  นาฬิกาแดด เรียกว่า  Royal Cylinder Axis Sun Dial   ซึ่งใช้ในพระราชอุทยานหลายแห่งในสยาม 

พยายามหารูปในกูเกิ้ลแต่ไม่พบ   จะอธิบายรายละเอียดก็อธิบายไม่ถูกเพราะไม่รู้ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร   ใครพอจะนึกออก ช่วยกรุณาต่อความด้วยนะคะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 24 ก.ย. 12, 06:00

กัปตันลอฟตัสประดิษฐ์นาฬิกาแดดแบบใหม่ขึ้น เรื่องมีอยู่ว่า ขณะอยู่คนเดียวท่ามกลางความสงัดของอ่าวไทยวันหนึ่งนั้น เห็นว่านาฬิกาแดดที่มีอยู่หลายแบบล้วนอ่านค่ายาก จึงเกิดปิ๊งในความคิดขึ้นถึงรูปแบบใหม่ กึ๋นอยู่ที่วิธีทำให้เกิดเงาและแผงอ่านค่าเวลาของมัน เมื่อประดิษฐ์ขึ้นมาทดสอบแล้ว สามารถอ่านเวลาท้องถิ่นในขณะนั้นได้เลยเหมือนมองนาฬิกาธรรมดา โดยมีคลาดเคลื่อนไม่เกิน28วินาที

ท่านได้ร่วมกับกัปตันริชลิวสร้างถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเครื่องหนึ่ง ทรงโปรดให้ตั้งไว้ในสวนที่พระราชวังบางปะอิน (ทุกวันนี้ยังตั้งอยู่ที่หน้าโบสถ์วัดนิเวศธรรมประวัติ) รู้จักกันในนามว่า the Royal Cylinder Axis Sundial และได้จำลองแบบส่งไปแสดงที่เยอรมันและอิตาลี่ ได้รับความสนใจมากพอประมาณทีเดียว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 24 ก.ย. 12, 08:34

ตะเกียงที่เรียกว่า Loftus Patent Glycerine Lamp ซึ่งในประวัติบอกว่าใช้กันแพร่หลายในรัฐบาลหลายประเทศและในบริษัทเดินเรือหลายแห่งด้วยตามที่ท่านอาจารย์เทาชมพูสงสัยนั้น เป็นตะเกียงที่ใช้ในการเดินเรือครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 24 ก.ย. 12, 08:37

ปกติทะเลกว้างใหญ่ไพศาลยากที่เรือจะวิ่งมาประสานงากันได้ก็จริง แต่ในบางตำแหน่ง เช่นในร่องน้ำระหว่างแม่น้ำกับทะเลเป็นต้น มันมักจะแคบเสียจนเรือที่วิ่งสวนกันเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย โดยเฉพาะในยามค่ำคืน

ท่ามกลางความมืดมิด เมื่อเรื่มเห็นแสงของเรือตรงหน้าไกลออกไปนั้น ไม่ทราบหรอกครับว่า เรือลำนั้นอยู่ในทิศทางที่วิ่งมาหาเรา  หรือวิ่งในทิศทางเดียวกับเราแต่ความเร็วต่างกัน ควรจะหลบเรือไปทางซ้ายหรือขวาดี ชาวเรือเขาจึงคิดทำตะเกียงข้างเรือขึ้น กำหนดให้ข้างซ้ายมีแสงสีแดง ข้างขวามีแสงสีเขียว และแสงสีธรรมดาอยู่ด้านท้ายเรือ พอเรือเห็นแสงตะเกียงของกันและกันจะรู้อะไรเป็นอะไรได้โดยทันที และจะตั้งเข็มหลบเรือไปทางด้านขวาเสมอ ถือเป็นกฎสากลปฎิบัติ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 24 ก.ย. 12, 08:39

สมัยนี้มันง่ายเพราะใช้แสงจากไฟแบตตารี สมัยก่อนที่ต้องใช้ตะเกียงจุดไฟที่แสงริบหรี่(เพราะต้องประหยัดเชื้อเพลิงไว้ใช้นานๆด้วย) กว่าจะมองเห็นกันก็ยาก ลองมโนภาพสมัยที่เรือยังใช้ใบกันอยู่ ไม่มีเสียงเครื่องยนต์ และบางทีเมฆหมอกลงสลัว กว่าจะรู้ตัวก็หลบกันไม่ทันเสียแล้ว กัปตันลอฟตัสสามารถคิดค้นเอากลีเซอรีน ซึ่งเป็นสารที่มีลักษณะเป็นไขแข็งตัวได้ พอเติมสีลงไปแล้วจะโปร่งแสง มาทำเป็นแผ่นเลนซ์โค้งใช้สำหรับตะเกียงนำร่อง ได้รับการพิสูจน์รับรองว่าแสงสีแดงที่ผ่านตะเกียงไป จะสามารถมองเห็นได้ถึงระยะ9000หลา สีเขียว6000หลา และแสงก็สดใสกว่าของเดิมๆ แถมยังไม่แตกเมื่อเรือผจญพายุ หรือดับเพราะแรงอัดอากาศเวลายิงปืนใหญ่

สิทธิบัตรที่กัปตันลอฟตัสจดทะเบียนไว้นี้ คงเป็นรายได้แบบน้ำซึมบ่อทรายนานตราบกระทั่งใครไม่รู้ คิดค้นแบตตารีได้ ตะเกียงลอฟตัสชาวเรือสมัยนี้เลยไม่รู้จัก


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 24 ก.ย. 12, 09:02

^


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 24 ก.ย. 12, 09:24

สิทธิบัตรจากตะเกียงและนาฬิกาแดดที่คุณพระนิเทศชลธีจดไว้ในต่างประเทศคงจะทำรายได้ให้ท่านได้ดีมิใช่น้อย   พอเป็นรายได้อีกทางหนึ่งนอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้จากรัฐบาลสยาม
พูดถึงเรื่องค่าตอบแทน    ดิฉันคิดว่าในรัชกาลที่ 5 มีการจ่ายเงินเดือนขุนนางกันแล้ว   แต่เงินเดือนข้าราชการไทยกับข้าราชการฝรั่งคงจะต่างกันหลายเท่าตัว     เห็นได้จากเงินพระราชทานเลี้ยงชีพ หรือสมัยนี้เรียกว่าบำนาญตกทอดที่คุณนายอาลาบาศเตอร์กับลูกๆได้รับหลังพ่อตาย  ปีละ 30ชั่ง หรือ 300ปอนด์ ส่วนบุตรได้ปีละ 20ชั่ง หรือ 200 ปอนด์ นับว่าเป็นเงินรายได้อย่างงามทีเดียวสำหรับฝรั่ง
เทียบรายได้สมัยวิคตอเรียน  ครูพี่เลี้ยง (governess) ได้ประมาณปีละ 50 ปอนด์    ถ้าเป็นพ่อค้าระดับเถ้าแก่ ก็ค้าขายมีรายได้ปีละ  600-700 ปอนด์

ส่วนเงินเดือนข้าราชการไทยได้เท่าใด   ย้อนกลับไปเปิดประวัติเจ้าพระยามหิธรดู  พบว่าในพ.ศ. 2438 เมื่อเป็นเสมียนเอก  ท่านได้เงินเดือน 40 บาท  ก็ตกปีละ 480 บาท หรือ 6 ชั่ง

ถ้าหากว่าฝรั่งไม่ได้เงินเดือนมากเท่านี้ คงจะไม่ยอมทิ้งบ้านเรือนมาอยู่คนละซีกโลก  เพราะถึงอยู่ในเมืองหลวงก็ไม่สะดวกสบายเหมือนบ้านตัวเอง    ของกินของใช้ก็ขาดแคลน รวมทั้งโรคภัยไข้เจ็บในเมืองร้อนด้วย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 24 ก.ย. 12, 18:58

   ไปหาเงินเดือนของคุณพระนิเทศชลธีมาได้  พบว่าใน พ.ศ.๒๔๒๑ โปรดเกล้าฯ ให้กัปตัน ลอฟตัส เป็น พนักงานเซอรเว ในสังกัดกรมทหารมหาดเล็ก รับพระราชทาน เงินเดือนๆ ละ ๒๕๐ เหรียญ (๕ ชั่ง)
   ก็ตกปีละ ๓๐๐๐ เหรียญ  หรือ ๖๐ ชั่ง  เท่ากับ ๖๐๐ ปอนด์
   หลังจากนั้นอีก ๘ ปี   ในวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๒๙ ท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระนิเทศชลธี   ตำแหน่งเป็นเจ้ากรมเซอรเวทางน้ำ สังกัดกรมท่ากลาง ถือศักดินา ๘๐๐

  ยังค้นไม่เจอว่า คุณพระนิเทศชลธีถวายบังคมลาออกจากราชการ เพื่อกลับไปใช้ชีวิตวัยเกษียณในอังกฤษในพ.ศ.ใด   พบแต่ว่าท่านถึงแก่กรรมเมื่อค.ศ. 1899 (พ.ศ. 2442) รวมอายุ 63 ปี  ในประวัติกล่าวสั้นๆว่าท่านใช้ชีวิตอยู่ในสยามนานกว่า 25 ปี
  ไม่ทราบอีกอย่างคือครอบครัวของท่าน  ว่ามีบุตรภรรยาชาวอังกฤษหรือไทย
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 24 ก.ย. 12, 21:06

คอลัมน์สังคมไฮโซบางกอกซุบซิบว่า คุณนายลอปตัสและเด็กๆจะลงเรือยอท์ชของสยามชื่ออเลกซานดราที่สามีเป็นกัปตันเรือ นำV.I.P.ไปทัศนศึกษาชายฝั่งทะเลตะวันออกของอ่าวไทย โดยจะไปขึ้นที่อ่างหิน และรอที่นั่นจนกว่าเรือจะกลับมารับ

คุณนายลอปตัสเป็นคนอังกฤษแน่เลยครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 06:56

ข่าวคุณนายให้กำเนิดบุตรชายในกรุงเทพ วันที่ 22 มกราคม 1871


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 11:23

สรุปประวัติการทำงานของคุณพระนิเทศชลธี  โดยการบวกลบปีศักราชเอาเองจากประวัติที่ลงในข่าวมรณกรรมของท่านที่อังกฤษ
-  เกิดเมื่อค.ศ.  1836  (พ.ศ. 2379)
-  อายุ 13-19 เป็นนักเรียนนายเรือ
-  จากนั้นเดินเรือสำรวจในดินแดนไกลๆทางตะวันออกหลายแห่ง
-  เข้ามารับราชการในสยามเมื่ออายุ 35 ปี    ในค.ศ.1871  (พ.ศ.2414) เมื่อรัฐบาลสยามทำสัญญากับรัฐบาลอังกฤษแบบช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  โดยว่าจ้างนายนาวาโท อัลเฟรด เจ. ลอฟตัส (Alfred J. Loftus) พร้อมกับ มิสเตอร์ จอห์น ริชาร์ดส์ ซึ่งเป็นนายทหารที่เคยเข้ามาสำรวจในอดีต ให้เข้ามารับราชการเป็นหัวหน้าสำรวจแผนที่ทะเลขึ้นกับกรมพระกลาโหม เพื่อทำการสำรวจต่อจากที่อังกฤษได้ทำไว้แล้ว
    ในปีเดียวกันนี้  เป็นผู้บังคับการเรือปืนพิทยัมรณยุทธ(Regent) นำนายโทมัส น๊อกซ์กงสุลใหญ่อังกฤษ ตามเสด็จพระราชดำเนินเยือนอินเดียของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยร่วมขบวนไปกับเรือพระที่นั่งและเรืออื่นๆที่บรรทุกผู้ตามเสด็จ
-  อายุ 39 ปี อยู่สยามมาได้ 4 ปี  นำนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษไปสังเกตปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2418 ในสยาม
-  อายุ 35-55 ปี มีภารกิจหลักรับผิดชอบการสำรวจชายฝั่งทะเล แม่น้ำต่างๆ เส้นทางปักเสาโทรเลขและทางรถไฟเพื่อทำแผนที่
-  อายุ 47 ปี  ในปี 1883 (พ.ศ.2424) ร่วมกับคณะสำรวจฝรั่งเศสภายใต้การนำของนายนาวาโทบิลลิยงเพื่อศึกษาภูมิประเทศของคอคอดกระตามแนวที่อาจจะขุดคลอง
-  จากนั้นได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เซอร์
-  อายุ 51 ปี (ค.ศ.1887) เซอร์อัลเฟรด ลอฟตัสได้กลับอังกฤษอีกครั้งเพื่อร่วมงานฉลองสิริราชสมบัติครบ50พรรษาของสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกทอเรีย ณ ราชสำนักเซนต์เจมส์
-  ลาออกจากราชการสยาม กลับภูมิลำเนาในอังกฤษ
-  ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ 63 ปี  ในค.ศ. 1899  (พ.ศ. 2442)
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 12:39

ขออนุญาตแทรกความรู้เรื่องทหารเรือไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ในยุคที่เรายังต้องใช้ฝรั่งเป็นผู้บังคับการเรือ
ซึ่งเรื่องนี้ นายพลเรือโท พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นชุมพรอุดมศักดิ์ เสนาธิการทหารเรือ  พระยศและตำแหน่งในเวลานั้น  ทรงพระนิพนธ์ไว้ใน
เรื่อง “ความเจริญแห่งราชานาวี”  ที่ประทานไปลงใน ดุสิตสมิต เล่ม ๖ (ฉบับพิเศษ สำหรับเปนที่ระฤกเนื่องในงานเฉลิมพระชนมพรรษา
วันที่ ๓ มกราคม พระพุทธศักราช ๒๔๖๒) ว่า

“ในระหว่างที่ชาวต่างประเทศเปนผู้บังคับบัญชา (นายงาน) อยู่นั้นก็หาได้ตั้งใจจะฝึกสอนให้คนไทยมีความรู้สำหรับทำการในน่าที่  และมิได้จัดการบังคับบัญชา
ให้เปนระเบียบแบบแบบธรรมเนียมของทหารอันมียุทธวินัย,  เปนแต่เวลาทำงานก็ใช้แรงทำงานและข่มขี่อย่างทาษ;  ส่วนความประพฤติของทหารนั้นมิไยใคร
จะประพฤติเกะกะเกกมะเหรกละเมิดบทกฎหมายหรือต้องโทษต้องทัณฑ์อย่างไรก็ช่าง  "มิหนำซ้ำในสมัยนั้น  ถ้าจะมีใครกล่าวขวัญถึงราชนาวีด้วยบ้าง  ก็ไม่ต่างกัน
กับกล่าวขวัญถึงกุลีของรัฐบาลพวกหนึ่งสำหรับใช้ทางเรือ  (ในทเล, ลำน้ำ, ลำคลอง, และเบ็ดเตล็ดจุกจิกอื่นๆ อีกเอนกประการ)”
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 13:45

^
เรื่องที่คุณวีหมีกล่าวมานี้เห็นทีจะต้องว่ากันอีกยาว แต่ตอนนี้ขอผลัดไปก่อนนะครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 13:50

ในฐานะผู้ตรวจสอบงานสำรวจรังวัดและรับรองความถูกต้องของนายนาวาเอก พระนิเทศชลธีหน่วยงานในความรับผิดชอบของท่านได้ผลิตแผนที่อันมีคุณค่าสำหรับประเทศผู้เป็นเจ้าของ ท่านได้ตีพิมพ์แผนที่สยามและประเทศราชขึ้นหลายแบบหลายฉบับ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 19 คำสั่ง