เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
อ่าน: 20374 พระนิเทศชลธี นายทหารเรืออังกฤษแห่งราชนาวีสยาม
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


 เมื่อ 23 ก.ย. 12, 12:50

ผมท่องเน็ทหาร่องรอยของเฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ เผอิญเจอเข้ากับบทความหนึ่งในHandsworth Magazineที่เขียนในปี1899(พ.ศ.๒๔๔๒) เล่าเรื่องอดีตนายทหารราชนาวีอังกฤษผู้หนึ่ง ซึ่งเคยเข้ามารับราชการในสยาม สมัยแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ห้า และฝากผลงานที่เป็นประโยชน์ไว้มากมาย ไม่เฉพาะแก่ฝ่ายอังกฤษหรือไทย แต่สำหรับนักเดินเรือทั่วโลกได้ใช้ร่วมกัน  ชีวตของท่านมีสีสันพอๆกับนิยายทีเดียว

ผมเอามาผสมผสานกับข้อมูลของไทย ซึ่งมีเรื่องของท่านผู้นี้น้อยมาก

ลองอ่านดูครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 23 ก.ย. 12, 12:53

กัปตันจอห์น อัลเฟรด ลอฟตัส เกิดที่ดาร์ลิงตัน แลงคาสเตอร์เกิดเมื่อปี1836

ชีวิตวัยรุ่นชัดเจนว่าเป็นคนรักทะเลอย่างไม่ต้องกังขาใดๆทั้งสิ้น พออายุสิบสามก็สมัครขึ้นเรือฟริเกตชื่อเพกิน(Pekin)ที่นิวคาสเซิลบนแม่น้ำไทนย์(Newcastle-on-Tyne)ในตำแหน่งลูกเรือฝึกหัด แล้วก็ประจำการอยู่บนเรือนั้นถึงหกปี ได้ร่วมปฏิบัติการขนกองทหารจากมัดราสไปพม่าเมื่อจักรภพอังกฤษเปิดสงครามยึดเมืองขึ้นที่นั่น ร่วมอยู่ในเหตุการณ์เมื่อเรือลำนี้ลอยลำติดอยู่ในน้ำที่แข็งตลอดฤดูหนาวในแม่น้ำโคลัมเบีย บนทวีปอเมริกาเหนือ ร่วมปฏิบัติภารกิจในการนำนักบุกเบิกไปตั้งถิ่นฐานในอาณานิคมใหม่ชื่อว่านิวซีแลนด์

มีโอกาสได้ไปเห็นอาณานิคมออสเตรเลีย แล้วเลยไปเมืองท่าต่างๆในอเมริกาใต้ จนถึงหมู่เกาะกูอาโนในเปรู และเมื่อย้อนกลับมาถึงเกาะแซนด์วิชในหมู่เกาะฮาวาย ที่ซึ่งกัปตันคุกได้ถูกชาวพื้นเมืองฆ่าตายเมื่อห้า-หกสิบปีก่อน ด้วยเหตุใดไม่แจ้ง ลอฟตัสได้ไปสร้างความคุ้นเคยกับพระราชากามี กัมญ่า จนทำให้พระองค์ทรงรับเป็นพระสหาย และประทานชาวประมงให้กลุ่มนึงมาเป็นลูกเรือของเขา ทำให้สามารถนำเรือเพกินอันชราภาพกลับสู่นิวคาสเซิลได้ตลอดรอดฝั่ง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 23 ก.ย. 12, 12:56

แลงคาสเตอร์ เมืองเกิดของเขาในยุคสมัยนั้น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 23 ก.ย. 12, 12:57

Newcastle-on-Tyne เมืองที่เขาไปสมัครลงเรือเป็นลูกนาวี


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 23 ก.ย. 12, 13:02

2nd Anglo-Burmese War สงครามขยายจักรภพอังกฤษที่เขาเข้าร่วมในฐานะลูกเรือลำเลียงทหาร เป็นขบวนจากอินเดียไปย่างกุ้ง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 23 ก.ย. 12, 13:04

อาณานิคมอังกฤษบนทวีปใหม่ ออสเตรเลีย ที่เขาเคยได้ไปเห็น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 23 ก.ย. 12, 13:09

เรือมุ่งหน้าไปสุดภารกิจที่นิวซีแลนด์ ดินแดนใหม่ที่เพิ่งผนวกเข้าอยู่ในอาณานิคม เรื่อของเขาขนผู้อพยพจากอังกฤษ ส่งขึ้นบกไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่นั่น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 23 ก.ย. 12, 13:13

หมู่เกาะกูอาโน ในเปรู อเมริกาใต้ที่อังกฤษไปครอบครอง ดูในภาพน่าจะเป็นท่าจอดเรือมีที่กำบังลมอย่างดี


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 23 ก.ย. 12, 13:18

เกาะแซนด์วิสที่มีชื่อเสียง เพราะเป็นที่ตายของกัปตันคุกคนดัง ในภาพเป็นการขึ้นฝั่งเพื่อประกาศการค้นพบเกาะนี้ครั้งแรก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 23 ก.ย. 12, 13:26

การมาครั้งที่สอง ทำให้กัปตันคุกเอาชีวิตมาทิ้งไว้

ลอฟตัสหนุ่มมาที่นี่ในฐานะลูกเรือ ไฉนจึงได้สนิทสนมกับพระราชาแห่งเกาะนี้ถึงขนาดได้ลูกเรือไปเสริมกำลัง จนสามารถแล่นเรือกลับอังกฤษได้?


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 23 ก.ย. 12, 13:30

เมื่อกลับบ้านแล้วในคราวนั้น ได้งานใหม่ในลอนดอน เป็นถึงบุคคลใหญ่ที่สุดในเรือ ได้ชื่อเรียกใหม่ว่า “กัปตันลอฟตัส” ออกเดินทางไปยังทุกภูมิภาคต่างๆของโลก แต่จุดท้ายก็ปักหลักในซีกโลกภาคตะวันออก
 
ในปี1857เขากู้เรือลำหนึ่งที่จมอยู่ก้นอ่าวแอนดี้ (harbour of Andy อยู่ที่ไหนก็ไม่ทราบ)ขึ้นมาซ่อม และตั้งตนเป็นอิสสระ เอาเรือลำแรกของเขานี้เป็นเรือธง วิ่งไปมาค้าขายโดยใช้สิงคโปรเป็นฐานไปยังทุกเมืองท่าริมฝั่งทะเลของอินเดีย จีน และญี่ปุ่น
 
กลับไปบ้านเกิดเมืองนอนครั้งหนึ่งในปี1866 และอยู่ที่นั่นสักปีเศษเขาก็จากมาอีก โดยนำเรือschoonerขนาด125ตัน(เรือใบวิ่งเร็ว)มากับกลาสีสี่คนและเพื่อนร่วมทางอีกหนึ่ง(สงสัยจะเป็นแฟน) และก็ใช้เรือลำนี้วิ่งตระเวนไปทั่วน่านน้ำที่ตนคุ้นเคย จนถึงปี1870 ก็เกิดจุดพลิกผันในดวงชะตา เรือเล็กๆของเขาถูกสลัดยึดได้ในบริเวณน่านน้ำชายฝั่งของไหหลำ และเผามันทิ้ง ทำให้เขาสูญเสียทรัพย์สินที่มีทั้งหมดไม่เหลือแม้แต่เก๊เดียว แต่ก็รอดชีวิตมาได้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 23 ก.ย. 12, 13:33

ในภาพเป็นเรือschoonerขนาด125ตัน จัดเป็นเรือใบที่วิ่งเร็วของราวๆปี1866
เรือของกัปตันลอฟตัสคงเป็นแบบนี้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 23 ก.ย. 12, 13:41

ในช่วงอังกฤษกำลังมือขึ้นในการค้าขายในย่านที่มังกรทะเลเป็นเจ้าถิ่น โจรสลัดจีนได้ชื่อว่าโหดที่สุดยากที่เรือสินค้าจะรอด ทหารเรืออังกฤษพยายามจะไล่ล่าโจรพวกนี้ แต่ก็ไม่รู้จักหมดจักสิ้น กัปตันลอฟตัสเชี่ยวทะเลแค่ไหนในที่สุดก็โดน ดีที่รอดตาย รอดไปได้อย่างไรก็ไม่แจ้งเหมือนกัน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 23 ก.ย. 12, 13:42

เริ่มงานใหม่ในฮ่องกง เป็นผู้บังคับการเรือกลไฟชื่อวิสเคาน์ แคนนิ่ง(Viscount Canning)ที่เพิ่งเดินทางกลับมาจากสงครามอบิศซีเนีย(Abyssinian War) หลังจากนั้นก็ได้รับคำสั่งให้เดินทางมาสยาม และเข้ารับราชการภายใต้บังคับบัญชาของท่านผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 23 ก.ย. 12, 13:55

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์กับผมทรงมหาดไทของท่าน

ทรงผมแบบนี้ทรมานใจฝรั่งมาก นำไปค่อนไปขอดสารพัด เดี๋ยวจะนำมาขยายให้ฟังว่ากัปตันลอฟตัสนำไปเขียนวิพากษ์เสียหมดรูปอย่างไร
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเสด็จไปทอดพระเนตรอาณานิคมของยุโรปรอบๆบ้านเราครั้งแรก เมื่อกลับมาแล้ว สิ่งที่ทรงปฏิรูปทันทีคือทรงผมของคนไทย โปรดเกล้าฯให้เลิกบังคับข้าราชการต้องเอาไว้ผมทรงมหาดไท โดยพระองค์ทรงแสดงเป็นตัวอย่างที่ไว้พระเกษายาวแบบฝรั่ง แต่ก็ไม่ฝืนใจ ใครอยากจะเอาไว้ผมทรงใดก็ได้ ทรงให้เสรีภาพ

หนึ่งในบรรดาท่านที่ยึดแน่นไม่ยอมเปลี่ยน ก็คือท่านผู้สำเร็จราชการแผ่นดินนี่เอง แต่พระองค์ก็มิได้ทรงว่าอะไร


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 19 คำสั่ง