han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 45 เมื่อ 03 ต.ค. 14, 07:08
|
|
ในวัยสาวพระองค์ฐานะดี โปรดขี่ม้า ตีเทนนิส รักการช๊อปปิ้งเป็นชีวิตจิตใจ แต่ชุดพระราชพิธีชั้นพระองค์เจ้าเต็มยศไปฉายพระรูปที่ร้าน ทางร้านตั้งโชว์ไปหน้าร้าน บังเอิญพระเชษฐาเห็นก็กริ้วบอกว่าเราไม่ใช่นางแบบต่ำๆที่จะได้เอารูปไปอวดชาวบ้าน ให้เอากลับวังด่วน แต่ว่าพระองค์หญิงแค่ยักไหล่ ไม่สนใจ แถมชอบใจ เพราะพระองค์มั่น - มั่นว่าฉันสวย
แต่ความสุขในชีวิตของพระองค์จบลงเมื่อปี ๑๙๔๙ เกิดการปฏิวัติ พระญาติโดยมากหนีออกจากประเทศ แต่พระองค์ไม่หนี เพราะคิดว่าพระญาติฝ่ายชายไร้สาระพึ่งพิงมิได้ เลยอยู่เมืองจีนต่อไป แต่ต่อมาหลังจากถูกยึดทรัพย์พระองค์จำเป็นต้องนำของเก่าในบ้านออกขาย โดยไม่รู้ราคา ภายหลังเห็นทีท่าว่าขายไปก็ไม่น่าจะทำให้อิ่ม เลยเปิดร้านซักผ้า คราวนี้ยิ่งขาดทุนเพราะปรกติพระองค์ใช้แต่ของดีๆ จึงเอาเงินไปซื้อสบู่ขาดทุนเป็นอันมาก ภายหลังจึงเปลี่ยนมาเปิดร้านอาหารแบบตะวันตก ก็ไม่มีคนเข้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 46 เมื่อ 03 ต.ค. 14, 07:12
|
|
พระองค์นั่งคิดไปคิดมาว่าจะทำอย่างไรดี จู่ๆนึกขึ้นได้ตอนนี้คนเสฉวนเข้าทำงานในปักกิ่งเยอะแยะนับหมื่น เปิดร้านอาหารเสฉวนดีกว่า ปรากฎว่าเกิดรุ่ง ขายดี แม้จะไม่ได้ยิ่งใหญ่อะไร แต่ก็มีเงินเลี้ยงชีพสบายๆ ต่อมาร้านอาหารถูกยึดเป็นของรัฐ แต่ว่าทางรัฐก็จ่ายเงินเดือนให้ในฐานะทำงานให้รัฐเดือนละ ๖๐ หยวน (เมื่อ ๕๐ ปีก่อนในจีนสูงมาก สมัยปี ๑๙๘๐ เงินเดือนครูยังแค่ ๒๐ หยวนเท่านั้น) พระองค์แต่งงานกับจิตรกรชื่อดังหมาหวานหลี (马万里) ในปี ๑๙๕๔ การแต่งงานตอนอายุ ๓๙ ถือว่าแก่มากสำหรับผู้หญิงจีน และเป็นที่ตกใจของคนรอบตัวเพราะพระองค์ไม่สนใจชายใด แถมแต่งก็แต่งอย่างง่ายๆ ท่านบอกว่า เรื่องของคนรักกัน "งานแต่งจะเรียบๆอะไรก็ช่างหัวมันเถิด ฉันเลือกของฉันเอง" พระองค์ก็ใช้ชีวิตสบายๆเรื่อยมาจนกระทั่งปฏิวัติวัฒนธรรม
ถ่ายรวมกับพระสามีและพระญาติก่อนการปฏิวัติวัฒนธรรม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 47 เมื่อ 03 ต.ค. 14, 07:13
|
|
ในปี ๑๙๗๖ ด้วยสุขภาพไม่ดีเนื่องจากติดคุกและใช้แรงงานอย่างหนัก แต่สติปัญญายังดีอยู่ พระองค์จึงตัดสินใจเขียนจดหมายถึงเติ้งเสี้ยวผิง หลายคนเขียนจดหมายเพื่อขอคืนสถานเดิมก่อนปฏิวัติวัฒนธรรม (และก็ได้รับคืนกันทั่วหน้า เพราะเติ้งเองก็โดนส่งไปอยู่โรงงานทำจักรยาน มีประสบการณ์เช่นเดียวกัน) แต่ว่าพระองค์ไม่ขอ ขอแค่งานทำเป็นพอ ภายหลังพระองค์ให้สัมภาษณ์ว่า นี้เป็นการขอความช่วยเหลือครั้งแรกในชีวิตของพระองค์ ก่อนมาไม่เคยขอให้ใครช่วย
จดหมายถึงเติ้งได้รับการตอบกลับอย่างรวดเร็ว ได้รับอนุญาติให้ทำงานได้ตามปรกติโดยเป็นนักวิจัย ภายหลังพระองค์กับสามีได้ขายสมบัติทุกอย่างเปิดโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นในปี ๑๙๙๒ ต่อมาในปี ๑๙๙๖ ได้เปิดโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นเต็มรูปแบบ ถือว่าเป็นโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นของจีนที่ครบวงจรที่สุดที่ก่อตั้งโดยเอกชน
ภาพตอนเริ่มก่อตั้งโรงเรียน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 48 เมื่อ 03 ต.ค. 14, 07:19
|
|
แต่ความยิ่งใหญ่ของพระองค์ไม่ได้อยู่ที่พระองค์ตั้งโรงเรียน แต่อยู่ที่เป็นผู้ร่วมก่อตั้งนิคมมหาวิทยาลัย และถือเป็นผู้ร่วมก่อตั้งหลักด้วย กล่าวคือ เปิดเป็นวิทยาลัยต่างๆรวมอยู่ในนิคมเดียวกัน และมีการศูนย์การค้า โรงพยาบาล ร้านอาหาร ฯลฯ ถือเป็นเมืองมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดของจีน เรียกว่า หลางฟางตงฟางต้าเฉว่เฉิง (廊坊东方大学城) ปัจจุบันมีนักเรียนมากกว่า ๑ แสนคน และรวมคนทั้งงานในนิคมมหาวิทยาลัยมากกว่า ๒ แสนคน ในวัยชราพระองค์ดำรงตำแหน่งดังนี้
๑. ผู้ก่อตั้งโรงโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นสำหรับเด็ก ๒. คณะกรรมการบริหารนิคมมหาวิทยาลัยหลางฟางตงฟาง ๓. ประธานสมาคมการวิจันแมนจูศึกษาแห่งโตเกียว ๔.สมาชิกสถาบันวิจัยวัฒนธรรมปักกิ่ง ๕. ผู้ก่อตั้งวิทยาลัยตะวันออกศึกษาแห่งปักกิ่ง
นี้ยังไม่นับหนังสือที่ทรงแปลอีกมากมาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 49 เมื่อ 03 ต.ค. 14, 07:22
|
|
พระองค์ในวัยชราได้ซื้อห้องชุดของตัวเองห้องชุดหนึ่ง (เป็นที่ทราบกันดีในจีนว่า ปลายยุคเก้าสิบเป็นต้นมา ห้องที่เมืองจีนห้องเล็กๆก็ ๒๐ - ๓๐ ล้านบาทแล้ว) พักผ่อนอย่างมีความสุขกับสุนัข เคยมีคนไปสัมภาษณ์ พระองค์บอกว่าชีวิตนี้มีเรื่องร้ายๆหลายอย่าง แต่มีเรื่องยินดีข้อหนึ่ง
๑. ไม่ได้หนีไปฮ่องกงกับพระญาติ
๒. ตอนที่ตกทุกข์ได้ยากไม่เคยทำร้ายใคร
นี้แหละ คือความสุขใจของพระองค์
พระองค์สิ้นพระชนม์ วันที่ ๒๖ เดือน พฤษภาคม ค.ศ. ๒๐๑๔
จินโม่หยู่ เจ้าหญิงนักสู้แห่งราชวงษ์ชิง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Anna
|
ความคิดเห็นที่ 50 เมื่อ 03 ต.ค. 14, 10:37
|
|
เจ้าหญิงจิน โม้ หยู่ มีความเกี่ยวดองทางสายเลือดกับพระนางซูสีไทเฮาหรือเปล่าคะ ดูจากพระรูปในค.ห.44 พระพักตร์ท่านมีส่วนละม้ายคล้ายคลึงกับพระนางซูสีไทเฮา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 51 เมื่อ 03 ต.ค. 14, 18:39
|
|
เปล่าครับ คนละราชสกุลกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 52 เมื่อ 05 ต.ค. 14, 07:36
|
|
เจ้าฟ้าชายองค์สุดท้ายแห่งจีน - อ้ายซินเจว่หลัว ยู้จาน (爱新觉罗·毓嶦) เจ้าฟ้าศิลปิน
เจ้าฟ้าชายพระองค์นี้มีพระกำเนิดพระโอรสของเจ้าฟ้าชายอีกทอดหนึ่ง โดยสมเด็จทวดของท่านคือเจ้าชายกง หรือที่เรียกว่า กงชินหวาง (恭亲王) ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในประวัติศาสตร์ยุคใกล้ของจีน ตำแหน่งชินหวางนี้ถือเป็นตำแหน่งเจ้าชายชั้นสูงสุด ถ้าให้เทียบคงเทียบได้กับเจ้าฟ้าของไทย เนื่องจากสายราชสกุลของท่านทำความดีความชอบตลอด จึงได้เป็นเจ้าฟ้าสืบบรรดาศักดิ์มาสี่ชั่วรุ่น จนถึงตัวสมเด็จชาย โดยพระบิดาท่านคือเจ้าชายโปเวย (博伟) ซึ่งในประวัติศาสตร์จีนยุคใกล้มีบทบาทสำคัญมากด้านการปกครอง และเป็นที่ไว้วางพระทัยของพระนางซูสีไทยเฮา
ภาพพระบิดา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 53 เมื่อ 05 ต.ค. 14, 07:46
|
|
พระองค์ประสูติเมื่อปี ค.ศ. ๒๐๑๓ เดือน ๑๐ วันที่ ๑๐ เมื่อมีปี ๑๙๓๗ ถูกส่งเข้าไปเรียนหนังสือในวังต้องห้ามของรัฐแมนจูกัว และถวายตัวเป็นมหาดเล็กรับใช้พระเจ้าปูยี โดยถวายการรับใช้เป็นเวลา ๒๐ ปี ในปี ๑๙๔๕ หลังจากญี่ปุ่นแพ้สงครามพระองค์ถูกนำตัวไปโซเวียตพร้อมพระเจ้าปูยี หลังจากถูกส่งกลับจีนก็ถูกส่งเข้าคุกปรับทัศนคติสำหรับอาชยากรสงคราม หลังจากออกมาเมื่อปี ๑๙๕๗ ถูกส่งไปทำงานเป็นเกษตกร และตอนปฏิวัติวัฒนธรรมเริ่มต้นถูกส่งไปคุกแรงงานแถวภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนจนสิ้นสุดการปฏิวัติวัฒนธรรม
พระองค์เป็นโอรสองค์โตของพระบิดา จึงได้รับสืบทอดบรรดาศักดิ์ และสืบทอดสมบัติจำนวนมหาศาล พระองค์ได้รับการศึกษาอย่างดีเยี่ยมจากราชสำนักจีนยุคนั้น และได้รับการเชิญครูตะวันตกมาสอนภาษาอังกฤษ
ประสบการณ์ถวายการรับใช้พระเจ้าปูยี ทำให้เห็นว่าพระเจ้าปูยีมีความแปลกและประหลาดหลายอย่าง อาทิ ช่วงหนึ่งโปรดพิมพ์ดีด แต่พิมพ์ไม่เป็นจึงเรียกให้ท่านมาสอน สอนได้ไม่กี่ครั้งก็เบื่อ และเลิกไป
นอกจากนี้ยังกลัวประชวรกลัวสวรรคตมาก ครั้งหนึ่งซื้อยามาเป็นก่ายเป็นกอง จนสมเด็จชายทักว่า โอ้โห ยังกะกองกระสุนปืน ปรากฎว่าพระเจ้าปูยีกริ้ว หาว่าแช่งให้ท่านกินกระสนปีน เลยถูกโบยไปทีหนึ่ง ท่านว่าเสร็จแล้วต้องขอบพระทัยที่ลงโทษ เดชะบุญที่ญี่ปุ่นไม่ได้ให้สิทธิสั่งประหารคนแก่พระเจ้าปูยี ไม่เช่นนั้นท่านอาจจะถูกประหารไปแล้ว เพราะพระเจ้าปูยีเวลาท่านกริ้วอะไรมักจะมาลงกับคนใกล้ตัว
พระราชวังแห่งแมนจูกัว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 54 เมื่อ 05 ต.ค. 14, 07:53
|
|
ท่านว่าตอนท่านไปอยู่ที่โซเวียตความคิดของท่านเริ่มเปลี่ยนแปลง เริ่มคิดว่าคนทุกคนเท่ากันตามแบบความคิดมาร์คซิส ภายหลังพระเจ้าปูยีเองก็เป็นเช่นกัน หลังจากออกจากคุกที่โซเวียต ท่านถูกยึดทรัพย์ และถูกส่งไปทำงานหนัก ท่านก็ปลง ถือว่า ช่างมัน อะไรเสียแล้วก็เสียไป ความหวังข้างหน้าในชีวิตยังมี ท่านตรัสว่า จากเจ้านายกลายเป็นคนธรรมดา ชีวิตผกผัน ถ้าระหว่างทางมันจะเจออะไรร้ายๆ แย่ๆ ก็ถือว่าช่างมัน คนเราชีวิตไม่แน่นอน ความหวังยังมี ท่านบอกว่า ตลอดเวลาที่ท่านเจอเรื่องร้ายๆ ท่านไม่เคยท้อใจยังเต็มไปด้วยความหวังเสมอ คิดเสมอว่า "ไม่มีอะไรน่าเสียดาย" เพราะ "ความเปลี่ยนแปลง คือการเริ่มใหม่"
ภาพขณะพระเจ้าปูยีถูกจับไปโซเวียต
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 55 เมื่อ 05 ต.ค. 14, 07:58
|
|
หลังจากพ้นยุคปฏิวัติวัฒนธรรม ทางรัฐบาลรีบพื้นฟูสถานของท่าน ด้วยความท่านท่านเชี่ยวชาญด้านศิลปะ ดังนั้นจึงดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ในสำนักงาน "ศิลปจีน"(中国艺苑) ทำหน้าทีด้านการเขียนอักษรพู่กันจีนโดยเฉพาะ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งสมาชิสมาคมศิลปะจีน งานของสมเด็จชายนั้นมีชื่อเสียงโด่งดังมาก จัดแสดงไปที่ต่างๆ และเป็นที่นิยมในญี่ปุ่น
ภาพผลงานพู่กันจีนของพระองค์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 56 เมื่อ 05 ต.ค. 14, 08:01
|
|
ครั้งหนึ่งพระองค์เคยปรึกษากับพระญาติว่าตอนนี้มีคนแอบอ้างใช้ราชสกุลของราชวงศ์ชิงเยอะมาก เราควรจะแก้ไข ให้เรียบร้อยรวบรวมลำดับพระญาติ เพื่อแก้ไขปัญหา แต่พระญาติตอบว่า จะแก้อย่างไร คนแอบอ้างเยอะจนเราไม่รู้ แต่ว่าคนแอบอ้าง โดยมากจะสร้างชื่อเสียง ดังนั้นก็ช่างมันเถิด
พระองค์คิดไปคิดมาก็เห็นว่าจริง ถ้าคนแอบอ้างสร้างความดีให้ราชตระกูล ก็ถือว่าดีแล้ว
"ไม่รู้ฉันคิดอย่างนี้เห็นแก่ตัวหรือเปล่า" พระองค์ตรัสยิ้มๆ
นี้แหละ เรื่องของเจ้าชายพระองค์หนึ่ง ที่คิดเสมอว่าชีวิต คือ "การเริ่มใหม่"
ภาพพระองค์ในวัยชรา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 57 เมื่อ 05 ต.ค. 14, 09:49
|
|
พระองค์ประสูติเมื่อปี ค.ศ. ๒๐๑๓ เดือน ๑๐ วันที่ ๑๐
พิมพ์ผิด ต้อง ๑๙๒๓
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Anna
|
ความคิดเห็นที่ 58 เมื่อ 05 ต.ค. 14, 18:24
|
|
แมนจูมีภาษาพูดและตัวอักษรของตัวเองมั้ยคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นางมารน้อย
พาลี
   
ตอบ: 306
ทำงานแล้วค่ะ
|
ความคิดเห็นที่ 59 เมื่อ 06 ต.ค. 14, 10:42
|
|
แมนจูมีภาษาพูดและตัวอักษรของตัวเองมั้ยคะ
แมนจูมีทั้งภาษาพูด และภาษาเขียนของตนเองค่ะ จำได้ว่าพระราชโองการฮ่องเต้สมัยก่อนจะเขียนทั้ง 2 ภาษาคู่กันคือฮั่นและแมนจู ข้อที่ว่าองค์ชาย 4 อิ่นเจิ้น ปลอมพระบรมราชโองการของคังซีฮ่องเต้ว่า จากให้สิบสี่ เป็น ยกให้สี่ เป็นอันตกไปเพราะเหตุนี้ เนื่องจากการออกพระราชพินัยกรรมมีสองภาษาและภาษาแมนจูนั้นเปลี่ยนแปลงยากมาก ป.ล. ติดตามคุณหานบิงอยู่นะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
|
|
|
|