เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 82036 ทายาทราชวงศ์ชิง - เรื่องราวของเชื้อพระวงศ์จีนหลังสิ้นบัลลังค์มังกร
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 18 พ.ย. 12, 23:11

หลังการตายของพระองค์หญิงได้มีข่าวแจ้งว่าพบพระองค์หญิงในช่วงปี ๑๙๕๐ แต่ก็ไม่มีการติดตาม ตำนานนี้สุดท้ายในปี ๒๐๐๖ ได้มีจิตรกรชาวมลฑลจี่หลินเมืองฉางชุน(吉林省长春市)ชื่อว่าจางยู่ (张钰) ได้นำมรดกข้าวของเครื่องใช้ และรูปถ่ายของหญิงชราคนหนึ่งที่คนที่นั้นเรียกว่าคุณยายฝาง (方姥)ซึ่งเสียชีวิตในปี ๑๙๗๘ และกล่าวว่าสตรีชราคือคือพระองค์หญิงเซี่ยนหยู่ในวัยปั้นปลาย โดยพระองค์อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเล็กๆของมณฑลจี่หลิน จิตรกรผู้นี้กล่าวว่าหญิงชราเป็นผู้เลี้ยงดูตนจนเติบใหญ่ ที่เขารู้ความลับนี้เพราะว่าคุณปู่เขาก่อนตายได้บอกความจริงแก่เขา

ชื่อฝาง (方) เป็นการอ่านออกเสียงอักษรญี่ปุ่นที่ออกเสียงเป็นภาษาจีนในชื่อภาษาญี่ปุ่นของพระองค์ ชื่อญี่ปุ่นที่ออกเสียงแบบจีนคือ ชวน เต่า ฝาง จึ (川岛芳子)
หลักฐานต่างๆนี้ พระขนิษฐาที่ใกล้ชิดกันมาชื่อว่าพระองค์หญิงลี่เซียงหลาน (李香兰) บอกว่าของเหล่านี้และรูปเหล่านี้คือรูปพระองค์หญิงเซี่ยนหยู่ภคินีแท้ๆของพระองค์

ภาพของคุณยายฝาง และข้าวของเครื่องใช้บางอย่าง ดังภาพพิมพ์ และลายประทับเป็นอักษรภาษาอังกฤษตัว HK




บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 18 พ.ย. 12, 23:13

เนื่องจากระยะเวลาผ่านไปนานแล้ตามการที่จะค้นหาจาก DNA ที่ตกค้างบนวัตถุหรือรอยนิ้วมือที่หลงเหลือไม่สามารถทำได้แล้ว กระดูกก็ถูกเผาทำลายจนไม่อาจจะตรวจสอบได้เช่นกัน ดังนั้นจึงยากที่จะยืนยันว่าจริงหรือไม่ แต่ว่า ทางการจีนและญี่ปุ่นได้ทำการตรวจสอบภายหลังมีการรับแจ้ง ทางการจีนแจ้งว่าจากภาพของศพที่ตายและภาพของพระองค์หญิงเซี่ยนหยู่ตรวจสอบแล้วมิใช่ภาพของคนๆเดียวกัน และทางการญี่ปุ่นได้ศึกษาโครงร่างของศพ เพื่อดูสภาพของกระดูกมีลักษณะเป็นอย่างไร ทางการญี่ปุ่นแถลงว่า เป็นของสตรีใช้แรงงานหนัก และเคยมีบุตรมาแล้ว ไม่น่าจะใช่ของพระองค์หญิงเซี่ยนหยู่เพราะตลอดชีวิตพระองค์ใช้ชีวิตอย่างชนชั้นสูง ไม่เคยใช้แรงงานใดๆ ทั้งไม่เคยมีบุตร แต่ก็ยากที่จะตรวจสอบว่าหญิงชราที่ตายไปใช่พระองค์หญิงจริงหรือเปล่า เพราะว่าศพของหญิงผู้นี้ถูกเผาไปแล้ว และยากที่จะตรวจสอบDNA จากเถ้ากระดูกที่เหลือ

เรื่องราวของพระองค์คงเป็นหนึ่งในสตรีที่มีชีวิตโลดโผนที่สุดคนหนึ่งของประวัติศาสตร์จีน

นี้คือเรื่องของพระองค์ เซียนหยู่ เจ้าหญิงสายลับ


ภาพของพระองค์หญิง


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 18 พ.ย. 12, 23:33

เนื่องจากข้าพเจ้าออกจะยุ่ง และเขียนหัวข้อวิทยานิพนธ์อยู่เลยไม่มีเวลามาเขียนลง พึ่งมีเวลาว่างเลยมาเขียน

ทั้งนี้ มีท่านใดอยากทราบประวัติของเชื้อพระวงศ์ฝ่ายชายบ้างไหม
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 18 พ.ย. 12, 23:50

มีการนำชีวิตของพระองค์สร้างเป็นภาพยนต์หลายเรื่อง กระทั่งปรากฎอยู่ในเกมต่างๆ ข้าพเจ้าลงเนื้อหาจากวิกีพีเดียให้ทุกท่านอ่านดู เผื่อท่านใดจะตามค้นดู

Kawashima has been depicted in numerous movies from 1932 until the present day by many actresses. She was also featured in the movie The Last Emperor, where she appeared as "Eastern Jewel", played by Maggie Han.

Anita Mui played Kawashima Yoshiko in a 1990 Hong Kong-produced film, The Last Princess of Manchuria.

She is a prominent character in the 2007 drama Ri Kouran, which tells the story of the life of Yoshiko Yamaguchi, also known as Li Xianglan (李香蘭). She was portrayed by Japanese idol Rei Kikukawa.

An eight-year-old Kawashima Yoshiko makes a cameo appearance in the PlayStation 2 game Shadow Hearts: Covenant, as Yoshiko Kawashima. A character in the previous game was also named Yoshiko Kawashima, though she was another person altogether and, in the second game, was portrayed as the namesake for the historical figure.

The Private Papers of Eastern Jewel, by Maureen Lindley, is a 2008 novel about the life of Yoshiko Kawashima (a.k.a. “Eastern Jewel”).

Meisa Kuroki portrays Kawashima in the 2008 Japanese drama "Dansō no Reijin ~Kawashima Yoshiko no Shōgai~".

Kawashima was featured as a character in Ian Buruma's novel The China Lover, released in 2008.


More scholarly and peer-reviewed research exists on Kawashima Yoshiko in English in Dan Shao's "Princess, Traitor, Soldier, Spy: Aisin Gioro Xianyu and the Dilemma of Manchu Idnentity" in Mariko Asano Tamanoi, ed. ''Crossed Histories: Manchuria in the Age of Empire. Honolulu: University of Hawai'i Press, 2005.

บันทึกการเข้า
giggsmay
ชมพูพาน
***
ตอบ: 135


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 19 พ.ย. 12, 09:17

 ;Dขอบคุณมากคะที่มาเขียนประวัติของพระองค์มาให้ได้อ่านกันชีวิตของพระองค์โลดโผนมาก สนุกมากคะ ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 19 พ.ย. 12, 10:55

เรื่องของยายฝางนี่ฟังดูแปลกๆ นะครับ

หลี่เซียงหลานเป็นคนยุคเดียวกับเจ้าหญิงเสี่ยนอวี๋ อยู่ในสังคมแมนจู-ญี่ปุ่นด้วยกัน อาจจะรู้จักคุ้นเคยกันในช่วงเวลาหนึ่ง หลังสงครามโดนคดีคล้ายกัน แต่พื้นเพครอบครัวและจุดจบแตกต่างกันอย่างมากมาย และไม่ได้เป็นพี่น้องกันแต่อย่างใดครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 19 พ.ย. 12, 15:45

พระขนิษฐาที่ใกล้ชิดกันมาชื่อว่าพระองค์หญิงลี่เซียงหลาน (李香兰) บอกว่าของเหล่านี้และรูปเหล่านี้คือรูปพระองค์หญิงเซี่ยนหยู่ภคินีแท้ๆของพระองค์

ภาพของคุณยายฝาง และข้าวของเครื่องใช้บางอย่าง ดังภาพพิมพ์ และลายประทับเป็นอักษรภาษาอังกฤษตัว HK

ขอบพระคุณที่ทักมา ข้าพเจ้าเขียนชื่อผิด ตอนเขียนเรียงออกจะมึนๆ อันนั้นชื่อดารา แต่ว่ารู้จักกับพระองค์หญิงเป็นการส่วนตัว เมื่อเป็นผู้เข้าร่วมตรวจสอบเรื่องราวของคุณยายฝางเธอถึงกับออกปากนี้นี้แหละ "พี่ชายของเธอ" ด้วยเธอนั้นเรียนพระองค์หญิงว่าพี่ชาย

แต่ว่าคนที่เป็นพระขนิษฐาแท้ๆที่ข้าพเจ้าเขียนผิดนั้น พระนามว่า จินโม่ยู่ (金默玉) ทุกวันนี้ยังมีพระชนม์อยู่

ภาพของพระองค์หญิงจินโม่ยู่




บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 19 พ.ย. 12, 15:48

ไว้คราวหน้าจะเล่าเรื่องพระขนิษฐาพระองค์นี้บ้างละกัน  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
noomxman
อสุรผัด
*
ตอบ: 6


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 02 ธ.ค. 12, 15:16



  ขอลงชื่อรอฟังด้วยคนครับ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
วารุวิชญ
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 06 ธ.ค. 12, 15:09

รอฟังด้วยคนค่ะ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 07 พ.ค. 13, 10:04

ขอบคุณมากค่ะ เรื่องราวของเจ้าหญิงสายลับมีรวมเล่มเป็นหนังสือแต่ก็ออกแนวนวนิยายมากเกินไปหน่อยค่ะ
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 02 ต.ค. 14, 18:13

อันนี้เป็นพระประวัติแสนเศร้าของพระองค์เจ้าหญิง (ชั้นพระธิดาท่านอ๋อง) หวาง หมิน ท่ง (王敏彤) ภาษาจีนเรียกว่า เก่อเก๋อ (格格) ภาษาไทยคงเทียบฉันพระองค์หญิง เป็นสตรีโฉมงาม พระบิดาคือเจ้าคุณทหารผู้ใหญ่แห่งราชวงศ์ชิง (完颜立贤)  พระมารดาเป็นเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงอ้ายซินเจี่ยหวัว เฮิงฮุย (爱新觉罗·恒慧) เป็นพระธิดาองค์โตของครอบครัว ประสูติตอนปี ๑๙๑๓

ภาพนี้ถ่ายประมาณ ปี ๑๙๒๐ ปลายๆ

พระชะตาน่าสงสารมาก ข้าพเจ้าอ่านแล้วใจหาย เป็นดี น่ารัก ใจเย็น และไม่ชอบหักหาญน้ำใจใคร รักพระเจ้าปูยีอย่างลึกล้ำ แต่ว่าบังเอิญพระญาติได้รับเลือกเป็นฮ่องเฮา พระองค์หญิงเลยสงบและไม่แสดงออก ตลอดเวลาช่วงที่จีนประสบเหตุการณ์ พระองค์ดูแลทุกคน รักพระเจ้าปูยีจนวันตาย ไม่ยอมแต่งงาน รู้ว่าพระเจ้าปูยีแต่งงานกับคนอื่นก็ได้แต่กรรแสง

ภาพสมัยวัยเยาว์




บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 02 ต.ค. 14, 18:24

อย่างไรก็ตาม ตอนปฏิวัติวัฒนธรรมพระองค์ถูกไล่ออกจากวังที่ประทับ ต้องย้ายไปอยู่ในบ้าน...ขออภัย...บ้านแบบในสลัม กับพระมารดา อดอยากแร้งแค้น แถมถูกประณามทุกวันเป็นเวลา ๑๐ ปีในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม จนในที่สุดพระมารดาก็ประชวรสิ้นพระชนม์ไป เหลือพระองค์ไว้องค์เดียว

อย่างไรก็ตามพระญาติที่พอจะมีฐานะเกื้อกูลได้ก็ไม่ทอดทิ้งพยายามชวนให้พระองค์ไปประทับด้วยกันในหมู่พระญาติ แต่พระองค์ก็ไม่ยอมไป ไปเยี่ยมบ้าง แล้วก็ขอรีบกลับบ้านน้อยของตน ด้วยกลัวคนทำร้าย - เป็นผลจากการปฏิวัติวัฒนธรรม

พระองค์สิ้นพระชนม์ในปี ๒๐๐๓ นี้เอง หลังจากพระญาติขอร้องให้ไปอยู่ในบ้านพักคนชรา เพราะจะได้ดูแลได้ง่ายขึ้น - ดีกว่าชุมชนแออัดและห้องเล็กๆที่พระองค์ประทับอยู่ พระองค์หญิงเสวยเกี้ยวแล้วสำลัก และสิ้นพระชนม์ลง

ทั้งนี้ สมบัติโบราณที่พระองค์เก็บไว้อาทิ แจกันพระเจ้าเฉียนหลงและอื่นๆ ที่คนขอซื้อมูลค่าเป็นล้านๆหยวน พระองค์ประทานให้พระญาติที่อยู่ และพระญาติที่หนีไปไต้หวัน



บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 02 ต.ค. 14, 21:27

เป็นกระทู้ที่ทำให้เสียน้ำตาอีกแล้ว ร้องไห้
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 03 ต.ค. 14, 07:07

อันนี้เป็นเรื่องของน้องสาวเจ้าหญิงสายลับ แต่คนนี้ต้องเรียกว่า เจ้าหญิงนักสู้

จิน โม้ หยู่ (金默玉)เจ้าหญิงนักสู้

จินโม้หยู่ หรือพระนามแมนจูคือ อ้ายซินเจว่หัว เซียนชี เป็นเป็นพระธิดาองค์ที่ ๑๗ ของเจ้าชายซู (肃亲王)ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ชั้นชินหวางอันนับว่าเป็นบรรดาศักดิ์สูงที่สุด เทียบเท่ายศเจ้าฟ้าของไทย เป็นขนิษฐาแท้ๆของเจ้าหญิงสายลับญี่ปุ่นอ้ายซินเจว่หลัว เซียนหยู่ (爱新觉罗 显玗) มีชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า “Yoshiko Kawashima”

พระองค์เกิดเมื่อปี ๑๙๑๘ พระองค์ในวัยเยาว์มีชีวิตที่สุขสบายเป็นที่สุด ถูกส่งไปเรียนที่ญี่ปุ่น เมื่อกลับมาจีนในยุคสงครามจีนญี่ปุ่นเริ่มต้น พระองค์มาเป็นที่ปรึกษาให้บริษัทญี่ปุ่น ได้รับเงินเดือนสูงมาก และไม่ต้องนั่งประจำในบริษัท ถือว่าเป็นหญิงทำงานยุคแรกๆของจีน


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.078 วินาที กับ 19 คำสั่ง