เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 82067 ทายาทราชวงศ์ชิง - เรื่องราวของเชื้อพระวงศ์จีนหลังสิ้นบัลลังค์มังกร
zombie
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 22 ก.ย. 12, 13:30

เยี่ยมครับ น่าสนใจมากๆ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
tikky1974
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 26 ต.ค. 12, 15:13

มาลงชื่อรออ่านด้วยคนค่ะ
บันทึกการเข้า
lantum
อสุรผัด
*
ตอบ: 13


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 31 ต.ค. 12, 01:56

ลงชื่อรอฟังด้วยคนคะ
บันทึกการเข้า
pierre
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 05 พ.ย. 12, 23:17

รออ่านด้วยคนค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 11 พ.ย. 12, 07:35

โอ้ ผมนึกออกแล้วว่าเป็นใคร ถูกลงโทษประหารนะครับ แต่ว่าภายหลังในปี ๒๐๐๘ มีข่าวลือว่าไม่ได้ถูกประหารแต่หนีออกไปได้ เรื่องของท่านผู้นี้ยาวมาก เอามาเล่าแยกอีกเรื่องยังได้เลย

ท่านใดอยากฟังร่วมลงนามละกัน  ยิงฟันยิ้ม

ร่วมลงชื่อด้วยคน

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
บัวรัศมี สีทอง
อสุรผัด
*
ตอบ: 33


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 13 พ.ย. 12, 22:28

สงสัยว่า HAN BING  ลืมคอลัมน์นี้ไปแล้ว  รออ่านนะจ๊ะ  ร้องไห้
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 18 พ.ย. 12, 22:47

ทายาทราชวงศ์ชิง ๒


เซียนหยู่ เจ้าหญิงสายลับ


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 18 พ.ย. 12, 22:49

ต่อไปนี้ข้าพเจ้าขอเล่าเรื่องของเจ้าหญิงในราชวงศ์ชิงพระองค์หนึ่ง ซึ่งมีชีวิตโลดโผนมาก เจ้าหญิงพระองค์นี้ ชื่อเดิมในภาษาจีนว่าอ้ายซินเจว่หลัว เซียนหยู่ (爱新觉罗 显玗) มีชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า “Yoshiko Kawashima” เป็นพระธิดาองค์ที่ ๑๔ ของเจ้าชายซู (肃亲王)ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ชั้นชินหวางอันนับว่าเป็นบรรดาศักดิ์สูงที่สุด เทียบเท่ายศเจ้าฟ้าของไทย  ต่อมาเจ้าชายได้ประทานพระองค์หญิงให้เป็นบุตรบุญธรรมของ Naniwa Kawashima ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของพระองค์ ชายผู้นี้มีบทบาทในกองทัพญี่ปุ่น ที่เจ้าชายซูประทานพระธิดาให้เพราะว่าหวังว่าจะเป็นสะพานใช้ในการหาความช่วยเหลือเพื่อฟื้นฟูราชวงศ์ชิง

ภาพพระบิดา เจ้าชายซู

และภาพบิดาบุญธรรม Naniwa Kawashima



บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 18 พ.ย. 12, 22:51

พระองค์หญิงได้เดินทางไปญี่ปุ่นในปี ๑๙๑๒ ตอนนั้นพระองค์มีพระชนม์เพียง ๗ ชันษาเท่านั้น เมื่อไปอยู่ญี่ปุ่นบิดาบุญธรรมของพระองค์หญิงได้ตั้งชื่อใหม่ให้เป็นภาษาญี่ปุ่นว่า Yoshiko Kawashima ตลอดเวลาที่เติบโตในญี่ปุ่น พระองค์ได้รับการอบรมแบบญี่ปุ่น เรียนหนังสือในโรงเรียนสตรีชั้นนำของญี่ปุ่น พระองค์ไม่ได้ถูกอบรมเพียงคุณสมบัติกุลสตรีเท่านั้นแต่ยังได้รับการศึกษาเกี่ยวกับการเมือง การปกครองและการทหารจากบิดาบุญธรรม บิดาบุญธรรมผู้นี้ภายหลังได้ข่มขืนพระองค์เมื่อพระองค์หญิงมีพระชนม์เพียง ๑๗ ชันษา ซึ่งเรื่องที่เลวร้ายนี้พระองค์ได้กล่าวเองในภายหลัง

ในวัยสาว พระองค์หญิงเซียนหยู่ได้พบรักกับผู้หมวดชาวญี่ปุ่นคนหนึ่ง แต่ต่อมาได้พลาดรักไป พระองค์หญิงได้พยายามปลงพระชนม์ตนเองแต่ไม่สำเร็จ ภายหลังจะเพื่อแก้แค้นเพศของตนหรือต้องการจะต่อต้านเพศชายที่ทำร้ายระองค์ สุดท้าย พระองค์หญิงเซียนหยู่ได้ทำการปลงเกษาให้สั้น แต่ตัวเหมือนบุรุษ และทำทุกอย่างที่ผู้ชายทำ พร้อมประกาศก้องว่าพระองค์ได้ “หลุดพ้นจากความเป็นหญิงแล้ว”

ภาพพระองค์หญิงตั้งแต่วัยเยาว์จนถึงวัยรุ่น และหลังจากที่ปลงพระเกษาทิ้ง





บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 18 พ.ย. 12, 22:53

ในปีค.ศ. ๑๙๓๗ พระองค์ได้ทรงสมรสกับเจ้านายชาวมองโกลนามว่ากันจูเออร์จาปู้ ซึ่งเป็นบุตรของนายพลปาปู้จาปู้ ท่านนายพลผู้นี้เป็นผู้นำในขบวนการแยกดินแดนมองโกลเป็นอิสระ พระบิดาแท้ๆของพระองค์หญิงเซี่ยนหยู่สนิทสนมกับครอบครัวนี้มาก และเป็นผู้ส่งจูเออร์จาปู้ไปเรียนต่อด้านวิชาทหารที่ญี่ปุ่น เมื่อจบการศึกษาในปี ๑๙๒๗ จึงให้สมรสกับพระธิดาของพระองค์เอง

ภาพของพระองค์หญิงและพระสวามี โดยพระองค์ประทับอยู่ทางด้านซ้ายของรูป ชายที่นั่งอยู่ตรงกลางคือพระสวามี



บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 18 พ.ย. 12, 22:57

อย่างไรก็ตามในปี ๑๙๓๑ ทั้งสองได้เลิกร้างกันไป ในปีเดียวพระองค์หญิงเซี่ยนหยู่ได้กันก็ได้ไปอยู่อาศัยร่วมกับนายทหารญี่ปุ่นชื่อว่าริวคิชิ ทานากะ (Ryukichi Tanaka) ตอนนี้เองที่เธอเริ่มต้นการทำงานกับญี่ปุ่นใกล้ชิดมากขึ้น โดยอาศัยเส้นสายของบิดาเลี้ยง ในเวลาเดียวกัน ทางญี่ปุ่นได้อาศัยความสัมพันธ์ของเธอกับเหล่าเชื่อพระวงศ์แมนจูและเจ้านายชาวมองโกลในการสร้างรัฐแมนจูกัว  พระเจ้าปูยีอดีตพระจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ชิงเมตตากับพระองค์หญิงมาก เพราะเห็นเป็นเชื้อพระวงศ์ที่สนิทกัน การที่พระเจ้าปูยียอมไปเป็นจักพรรดิของรัฐแมนจูกัวที่ญี่ปุ่นสร้างขึ้นส่วหนึ่งก็เพราะการเกลี้ยกล่อมของพระองค์หญิง

ภาพพระเจ้าปูยี

ภาพริวคิชิ ทานากะ (Ryukichi Tanaka)



บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 18 พ.ย. 12, 22:59

ภายหลังในปี ๑๙๓๒ เมื่อญี่ปุ่นได้สร้างรัฐแมนจูกัวขึ้น พระองค์หญิงเซี่ยนหยู่ได้รับตำแหน่งนายพลหญิงแห่งแมนจูกัว มีบทบาทด้านกรมโฆษณาการของแมนจูกัว ออกวิทยุและถึงขั้นร้องเพลงและบันทึกแผ่นเสียง แต่พระองค์ไม่ได้มีความสามารถแค่นั้น พระองค์มีความสามรถถึงขนาดร่วมรบไปกับกองทัพของแมนจูกัวคราวสงครามแม่น้ำเร่อ โดยมีความสามารถโดดเด่นถึงขนานทางญี่ปุ่นได้ประกาศว่าทหารอาสาของกองทัพได้เดินทัพไปโดยมีเจ้าหญิงชาวแมนจูเป็นผู้นำ

ภาพของพระองค์หญิงขณะเป็นนายพลหญิงแห่งแมนจูเรีย และภาพบ้านพัก




บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 18 พ.ย. 12, 23:01

แม้พระองค์หญิงได้เข้าร่วมกับกองทัพญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิด แต่ในใจของพระองค์ยังยึดถือว่าตัวเองเป็นชาวแมนจู และทุกสิ่งที่ทำเพื่อกอบกู้ราชวงศ์ เมื่อค้นพบว่าแมนจูกัวไม่ใช่ประเทศของกษัตริย์ชิง แต่เป็นดินแดนของญี่ปุ่นพระองค์หญิงเซี่ยนหยู่ จึงเริ่มทำการต่อต้านญี่ปุ่นและกล่าวประณามการกระทำของรัฐบาลญี่ปุ่นต่อประเทศจีน รวมถึงพยายามใช้อำนาจที่มีช่วยให้คนจีนที่ญี่ปุ่นจับตัวได้หลบหนีออกไป ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นรู้สึกว่าพระองค์เริ่มเป็นอันตรายต่อกองทัพญี่ปุ่น สุดท้ายจึงถูกส่งตัวไปอยู่ที่ญี่ปุ่น ในปี ๑๙๓๔ แต่ในปี ๑๙๓๖ ได้กลับเข้ามายังจีนอีก โดยอาศัยอยู่ในเทียนจิน และทำงานเป็นสายลับให้แก่ญี่ปุ่น

ภาพพระองค์ขณะอยู่ที่เทียนจิน


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 18 พ.ย. 12, 23:03

อย่างไรก็ตามหนังสือประวัติศาสตร์ไม่น้อยกล่าวว่าพระองค์หญิงเซี่ยนหยู่เป็นนางมารขายชาติ เมื่ออยู่ในแมนจูกัวได้ปฏิบัติต่อคนจีนอย่างโหดร้าย พร้อมมีเรื่องเล่าอีกมากมาย สุดท้ายเป็นอย่างไรคงต้องตัดสินใจเองว่าจะเลือกเชื่อแบบใด

ภาพพระองค์หญิงกับกลุ่มสายลับญี่ปุ่น



บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 18 พ.ย. 12, 23:09

ในปีค.ศ. ๑๙๔๕ เมื่อญี่ปุ่นได้แพ้สงคราม พระองค์หญิงเซี่ยนหยู่ได้เป็นหนึ่งในกลุ่มชาวจีนที่ถูกลงโทษฐานเป็นขายชาติในวันที่ ๒๒ ตุลาคม ปี ๑๙๔๗ ได้ถูกพิพากษาลงโทษประหารชีวิต ในที่สุดในวันที่ ๒๕ มีนาคม ปี ๑๙๔๘หลังจากที่ทรงเขียนพินัยกรรมเสร็จสิ้น พระองค์ได้ถูกสำเร็จโทษด้วยการยิงปืนเข้าที่ศรีษะ โดยยิงเข้าที่ด้านหน้า ต่อมาทางการได้ถวายพระเพลิง และส่งพระอัฐิกลับไปยังที่ฝังที่ประเทศญี่ปุ่นในสุสานของตระกูลคาวาซึมะ

ภาพระหว่างต้องโทษ พระศพหลังการสำเร็จโทษ และภาพหลุมฝังพระอัฐิของพระองค์





บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.171 วินาที กับ 19 คำสั่ง