เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 48833 มะละกอฮอลแลนด์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 09:55

เหลียวมองรอบกายเห็นเครื่องครัวอยู่ในห้อง ทำให้รำลึกได้ว่ากระทู้นี้อยู่ในห้องครัวเรือนไทย อย่ากระนั้นเลยก่อนที่จะไปตามหามะละกอที่มะละกา หรือที่อยุธยา

มาตามหาเมนูมะละกอสักเมนู  

จาก คอลัมน์ ส้มตำ : ความเป็นมาที่ถูกใจคนไทย โดย ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์  นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ คอลัมน์นี้แหละที่บอกว่าคนไทยสมัยพระนารายณ์เรียกมะละกอว่า "แตงไทย"  แต่หลังจากผ่านเครื่องกรองแล้วก็พอได้ความรู้เรื่องเมนูส้มตำว่าประดับ  คุณธงชัยเขียนว่าดังนี้

ในอดีตเราก็มี ตำราอาหารที่เรียกว่าข้าวมันส้มตำ ปรากฏอยู่ในตำราอาหารเก่า ๆ เช่น ตำรับเยาวภา ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท โดยมีส่วนประกอบสำคัญคือข้าวมันหุงด้วยกะทิ และส้มตำซึ่งใช้มะละกอเป็นหลักแต่มีส่วนผสมที่มากกว่าสูตรของคนอีสานคือมีกุ้งแห้งกับถั่วลิสงป่น และปรุงรสชาติแบบนุ่มนวลไม่จัดจ้าน ค่อนข้างไปทางหวานนำ

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตได้ให้รายละเอียดของเมนู "ข้าวมันส้มตำ ตำรับสายเยาวภา" ไว้ให้ผู้ที่สนใจการทำอาหาร ดังนี้

เครื่องปรุง  

ข้าวสาร, มะพร้าว, เกลือ, มะละกอ, กุ้งแห้ง, กระเทียม, พริกไทย, มะขามเปียก, น้ำเคยดี, น้ำตาลหม้อ, มะนาว, พริกมูลหนู

วิธีทำ

ซาวข้าวให้สะอาด มะพร้าวกะเทาะเปลือกแข็งออก ปอกผิวดำ แล้วขูดด้วยกระต่ายจีน คั้นใส่หม้อข้าว แล้วเกลี่ยข้าวให้เสมอวัดด้วยนิ้วกลาง ให้น้ำกะทิท่วมข้าว ๒ องคุลี ใส่เกลือสักเล็กน้อย ยกขึ้นตั้งไฟให้แรง ๆ หน่อย พอจวนเดือดคอยคนบ่อย ๆ จนเดือดทั่วแล้ว จึงพรากไฟออก ให้เหลือแต่เพียงเล็กน้อยใช้ใบตองปิดปากหม้อปิดฝาทับแล้วคลุมทับให้มิดปากหม้อ และหมุนไปรอบ ๆ พอสุกยกลง

ปอกมะละกอ ล้างยางให้หมด ซอย แล้วโรยเกลือป่นประมาณพอออกรสเค็มนิด ๆ เคล้าจนมะละกอนุ่ม แล้วคั้นน้ำออกเสียบ้าง โขลกกระเทียมพริกไทย ป่นกุ้งแห้งคลุกกับมะละกอ คั้นส้มมะขามเปียก น้ำตาลหม้อ น้ำปลาดี มะนาวหั่นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ถ้าชอบเผ็ดก็บุบพริกมูลหนูใส่ด้วย ชิมรสตามชอบ

เครื่องประกอบข้าวมันส้มตำ
 
๑. ผักดิบ มีใบไม้ต่าง ๆ เช่น ใบทองหลางไทย ใบชะพลู ใบมะยม ใบมันสำปะหลัง ใบคูน ฯลฯ
๒. ผักทอด คือใบไม้ ดอกไม้ต่าง ๆ ชุบแป้งทอดอย่างเครื่องน้ำพริกขนมจีน และใบทองหลาง ใบมนทอด
๓. น้ำพริกส้มมะขามเปียก ใช้พริก ๕ เม็ด กระเทียม ๕ กลีบ กุ้งแห้ง เกลือ น้ำตาลหม้อ น้ำปลาดี กะปิ โขลกและผสมตามชอบรส
๔. เนื้อฉีกฝอยผัดหวาน ใช้เนื้อเค็มแผ่น ๆ ล้างน้ำปิ้งพอสุก ทุบให้นุ่ม จนเส้นกระจาย แล้วฉีกให้เป็นฝอย ซอยหอมพอควร ตักน้ำมันใส่กะทะเจียวหอม พอเหลืองตักขึ้นแล้วใส่เนื้อลงผัดจนกรอบ โรยน้ำตาลทรายตามต้องการ คนพอทั่วตักขึ้น โรยหอมที่เจียวไว้
๕. ปลาแห้งทอด ล้างปลาแห้งแล้วปิ้งพอสุก ทุบพอนุ่มเป็นปุยแล้วตัดเป็นชิ้นพองาม ทอดให้กรอบ
๖. ปลากุเลาทอด ล้างปลากุเลาสะอาดแล้ว แล่เนื้อออกหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยม ขนาด ๑ ซม. ชุบไข่ทอด
๗. แกงเผ็ดไก่หรือแกงเผ็ดเนื้อ

ขอให้รับประทานข้าวมันส้มตำให้อร่อย

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 10:19

มี้อเที่ยงนี้ ขอเสนอเมนู ข้าวมัน-ส้มตำ-เนื้อฝอย ค่ะ.... ยิงฟันยิ้ม
(ร้านอาหารเดี๋ยวนี้ มีไม่ครบตามสูตรโบราณ แบบ"ข้าวมันส้มตำ ตำรับสายเยาวภา" ค่ะ)


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 10:31

หรือจะชอบสูตรนี้ ส้มตำ ข้าวเหนียว ไก่ย่าง

สั่งตรงมาจาก หาดชะอำ

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 11:36

ถ้าไม่อยากน้ำหนักเพิ่มจากข้าวมัน ข้าวเหนียว และไก่ย่าง ลองซุปมะละกอดูปะไรคะ  เป็นเมนูทางเลือกค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 11:41

เสิฟสลัดอาโวคาโดกับมะละกอ เป็นจานต่อมา


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 11:44

ส่วนจานหลักคือสเต๊กทูน่า   ย่างปลาทูน่าให้ค่อนข้างสุก   คลุกสับปะรดและมะละกอด้วยน้ำมันมะกอก ใครชอบพริกหยวกก็ใส่ลงไปด้วย   บีบมะนาวโรยเกลือเล็กน้อย  ปรุงรสให้ถูกปาก แล้วโรยทั้งหมดลงบนเนื้อปลา  เอาผักชีโรยหน้าอีกนิดหน่อย


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 03 ต.ค. 12, 09:50

วันนี้ คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ เขียนเรื่อง  มะละกอ, มะละกา และ พระอภัยมณี
ลงนสพ. มติชน อ่านเต็มๆ ได้ที่เว็บ

                http://www.sujitwongthes.com/2012/10/siam03102555/

(สังเกตมาระยะหนึ่งว่า คุณสุจิตต์เขียนบทความที่มีเนื้อหาตรงกับหัวข้อกระทู้ของที่นี่ในเวลาใกล้เคียง
กันหลายครั้ง ซึ่งอาจเป็นความบังเอิญก็ได้)

เนื้อหาส่วนที่เกี่ยวกับมะละกอ ครับ

           มะละกา เป็นชื่อเมืองท่ายิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของประวัติศาสตร์อุษาคเนย์ อยู่ปลายแหลมมลายู
ใกล้เกาะเรียว ตรงบริเวณที่เป็นช่องแคบเชื่อมมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิกเลยได้ชื่อ ช่องแคบมะละกา

          ช่องแคบ ในภาษามลายูเรียก เซลัต เป็นบริเวณมีโจรชุกชุมปล้นสะดมเรือทะเลผ่านช่องแคบ
ไปมา จนเป็นที่เลื่องลือทั่วไปทั้งภูมิภาค ไทยเลยเรียกทับศัพท์มลายูว่า โจรสลัด

          มะละกอในไทยเอามาทำส้มตำ ได้พันธุ์ครั้งแรกจากมะละกา

          ดร. สุรีย์ ภูมิภมร (อดีตอาจารย์ ม. เกษตรศาสตร์) มีหลักฐานชัดเจนว่ามะละกอมีถิ่นกำเนิด
อยู่อเมริกาใต้ ต่อมาพวกโปรตุเกสกับสเปนได้พันธุ์มาปลูกทางอุษาคเนย์

          เฉพาะพวกโปรตุเกส เอามะละกอมาปลูกครั้งแรกที่มะละกา ตรงกับยุคกรุงธนบุรีของไทย
แต่คำว่า มะละกา เป็นภาษามลายู แปลว่า มะขามป้อม มีบันทึกนักปราชญ์บอกว่าคนพื้นเมือง
สมัยโน้นออกเสียงว่า มะละกอ (เสียง อา ออกเป็น ออ)

        เมื่อไทยรับพันธุ์พืชชนิดนี้จากมะละกามายุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เลยเรียกชื่อว่า มะละกอ
สืบจนทุกวันนี้

          ส้มตำมะละกอ จึงไม่ใช่อาหารดั้งเดิมของไทย ไม่ว่าอีสานหรือกรุงเทพฯ แต่เป็นอาหารปรุงใหม่
เริ่มครั้งแรกในกรุงเทพฯ ราวยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ (ส่วน“ตำส้ม” เป็นวัฒนธรรมลาวมาแต่ดั้งเดิม
ดึกดำบรรพ์ อย่าปนกัน)

          และไม่แน่ใจว่าสุนทรภู่ให้พระอภัยมณีกินส้มตำมะละกอหรือยัง? ผมไม่เคยตรวจสอบ
ใครเคยพบช่วยบอกบุญด้วย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 03 ต.ค. 12, 17:05


(สังเกตมาระยะหนึ่งว่า คุณสุจิตต์เขียนบทความที่มีเนื้อหาตรงกับหัวข้อกระทู้ของที่นี่ในเวลาใกล้เคียง
กันหลายครั้ง ซึ่งอาจเป็นความบังเอิญก็ได้)

 ถ้าคุณสุจิตต์เคยผ่านมาเจอเว็บเรือนไทย  หวังว่าจะสละเวลามาให้วิทยาทานบ้าง    ในนามแฝงก็ได้ ไม่จำเป็นต้องบอกชื่อจริง
ไม่แน่...อาจจะเคยแวะมาแล้ว แต่พวกเราไม่รู้กันเอง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 03 ต.ค. 12, 17:19

ยังไม่เคยเจอว่าตัวละครในพระอภัยมณีกินอาหารแบบอื่นนอกไปจากอาหารภาคกลาง อย่างที่ปรากฏในกาพย์เห่เรือ    กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวานในรัชกาลที่ 2   ไม่มีมะละกออยู่ในเมนู     กับข้าวของคาวที่มีรสเปรี้ยว ใช้มะนาว หรือน้ำส้ม(สายชู)

ในพระอภัยมณี เมื่อนางละเวงจัดเลี้ยงเจ้าละมาน   สุนทรภู่บรรยายดินเนอร์มื้อนั้นว่ามี

เครื่องพล่ายำน้ำส้มพรมพริกไทย                   สุกรแพะแกะไก่ล้วนใส่จาน
ใบผักชียี่หร่าโรยหน้าพร้อม                         พระแสงส้อมมีดพับสำหรับฝาน
สุราเข้มเต็มพระเต้าเก้าทะนาน                      พนักงานตั้งเตียงไว้เรียงราย


ดินเนอร์ของฝรั่งลังกามีมีดกับส้อม   สุนทรภู่คงได้แบบอย่างมาจากอาหารฝรั่งของพวกฝรั่งในสยามสมัยรัชกาลที่ 3   แต่บอกว่าเป็นมีดพับ ไม่ใช่มีดหั่นเนื้อ
เนื้อสัตว์ที่กิน เป็นเนื้อดิบ เข้าใจว่าว่าย่างแบบ  raw  ไม่ใช่ดิบของแท้   เป็นดิบๆสุกๆมีเลือดติดอยู่ อย่างที่ฝรั่งชอบกิน   และยังมีสุราสีเข้มไว้กินกับเนื้อ  ก็คงเป็นไวน์แดงละมัง?

เอาปลายมีดกรีดเชือดเลือดสดสด                 อร่อยรสน้ำส้มด้วยคมสัน
เนื้อพังผืดตืดไตกินไส้ตัน                           ยิ่งกลืนมันเมามายทำชายตา

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 04 ต.ค. 12, 06:52

         คำว่า มะละกา เป็นภาษามลายู แปลว่า มะขามป้อม

ในตำนานกล่าวว่า เจ้าชายปรเมศวร (Parameswara) เจ้าผู้ครองเกาะเทมาเส็ก (Tumasik/สิงคโปร์ในปัจจุบัน) ถูกกองทัพชวาโจมตีจนต้องหนีมาทางเหนือ ขณะที่พักกองทัพ เจ้าชายทรงนั่งอยู่ใต้ต้นมะขามป้อม ได้เห็นสุนัขป่า ๒ ตัวไล่ทำร้ายกระจงตัวเล็ก ๆ กระจงน้อยได้ต่อสู้จนเตะสุนัขตัวหนึ่งตกลงไปในน้ำ พระองค์นึกชื่นชมในความกล้าหาญของกระจง จึงเลือกที่จะปักหลักสร้างอาณาจักรใหม่ที่นี่ ให้ชื่อว่า มะละกา (Melaka ในภาษามาเลย์ แปลว่า มะขามป้อม) ตามชื่อของต้นมะขามป้อม กระจงน้อยได้กลายเป็นสัญลักษณ์และตราประจำรัฐมะละกามาจวบจนทุกวันนี้

ข้อมูลและภาพจาก บล็อกของคุณ Please.Peace


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 04 ต.ค. 12, 06:56

อนุสาวรีย์กระจงน้อยที่มะละกา


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 04 ต.ค. 12, 06:57

มะขามป้อมขึ้นอยู่ทั่วไปในมะละกา

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 04 ต.ค. 12, 07:02

ส่วนมะละกอที่มะละกา ต้องตามหาอยู่นานจึงจะเจอ

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
นอแรด
มัจฉานุ
**
ตอบ: 99


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 04 ต.ค. 12, 08:17


เอ่อ....ผลมะละกอ ป้อมๆไปทั้งลูกคล้าย มะละกอฮอแลนด์ ที่วางขายในไทยแลนด์ จัง ยิ้ม
บันทึกการเข้า
MCMLII
อสุรผัด
*
ตอบ: 16


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 07 ก.พ. 16, 02:10

ในหนังสือ Du Royaume de Siam หรือ The Kingdom of Siam ของมองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศส ซึ่งเขียนขึ้นราว พ.ศ. ๒๒๓๑ สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีตอนหนึ่งกล่าวถึง "มะละกอ"
ตัวอักษร long S เท่าที่เห็นในหนังสือเก่า ๆ นี่เลิกใช้ไปในปีใด
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.097 วินาที กับ 20 คำสั่ง