เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 9228 กำแพงเมืองริมคลองรอบกรุงฝั่งตะวันอก ครั้งกรุงธนบุรี มีจริิงหรือ?
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



 เมื่อ 16 ก.ย. 12, 08:46

การสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีจำเป็นต้องขยายพื้นที่เพื่อรองรับประชาชนที่หนีภัยสงครามมา และปรับปรุงให้เหมาะสมทางยุทธศาสตร์มากขึ้น ดังนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดเกล้าฯ ให้ขยายเมืองไปทางทิศเหนือจนจรดคลองบางกอกน้อย พร้อมกับสร้างกำแพงเมืองตามแนวคลองขุดใหม่มีชื่อเรียกเป็นตอนๆ ว่า คลองบ้านขมิ้น คลองบ้านช่างหล่อ คลองบ้านหม้อ คลองวัดท้ายตลาด ส่วนทางทิศตะวันออกขยายไปจรดคลองคูเมืองที่ขุดขึ้นใหม่ (ปัจจุบันเรียกว่า"คลองหลอด") ทำให้แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านกลางเมือง

แล้วสร้างกำแพงเมืองขึ้นตามแนวคลองคูเมือง (กำแพงเมืองนี้ต่อมาได้ถูกรื้อลง โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงขยายแนวกำแพงเมืองออกไปตามแนวคลองโอ่งอ่าง และคลองบางลำภู)

ส่วนป้อมวิไชยเยนทร์ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "ป้อมวิไชยประสิทธิ์" พร้อมทั้งให้ขุดที่สวนเดิมเปลี่ยนเป็นท้องนานอกคูเมืองทั้ง 2 ฟากซึ่งเรียกว่า "ทะเลตม" ไว้สำหรับเป็นที่นาใกล้พระนคร 

อ้างถึง - http://www.wangdermpalace.org/thonburi/index_thai.html

กำแพงเมืองริมคลองรอบกรุงด้านตะัวันตกนั้น ผมเชื่อว่ามีอยู่จริง โดยการพูนดินจากการขุดคลองขึ้นมาทำเป็นเชิงเทิน พร้อมตัดไม้ปักเป็นแนวกำแพง
แต่กำแพงเมืองด้านตะวันออก ริมคลองหลอด (คลองคูเมืองเดิม ที่เรียกอย่างใหม่) จะมีกำแพงเมืองไหม ถ้ามีก็น่าจะเป็นเชิงเทินดินเช่นเดียวกับด้านตะวันตก

หลายปีมาแล้ว (น่าจะเป็นช่วงเวลาใกล้ๆ กับการปรับปรุงอนุสารีย์หมูกับสะพานปีกุน) มีข่าวการขุดค้นพบฐานโครงสร้างอาคารเป็นอิฐก่อริมคลองหลอดความยาวสักสองเมตรกระมัง ใกล้ๆ สะพานปีกุน แล้วสันนิษฐานกันเป็นข่าวใหญ่ว่ามีการค้นพบฐานรากกำแพงเมืองเก่าสมัยกรุงธนบุรี
จะพัฒนา จะบูรณะ .. แล้วเรื่องก็เงียบหายไปกับสายน้ำในคลองหลอด

ระยะเวลา ๑๕ ปี ของการคองราชย์ กับกำลังคนอันน้อยนิดในยุคต้นๆ ของพระองค์ ที่มีภารกิจสารพัดในการกอบกู้บ้านเมืองและป้องกันภัยจากกองทััพพม่าด้วย จะมีแรงงานและเวลาเพียงพอที่จะสร้างกำแพงเมืองเชียวหรือ เพียงเกณฑ์แรงงานมาขุดคลองก็นับว่าเป็นงานใหญ่แล้ว





บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 16 ก.ย. 12, 11:02

กำแพงเมืองของกรุงธนบุรีน่าจะมีสภาพใกล้เคียงกับ กำแพงค่ายหลวงที่หว้ากอที่ฝรั่งใช้คำว่าtownในสมัยรัชกาลที่๔ ส่วนอีกภาพหนึ่งเป็นเมืองใหญ่ของรัฐฉานสมัยที่พม่าเพิ่งแพ้สงครามกับอังกฤษ ชื่อเมืองBhamo หรือบาม่อ บางท่านให้เรียกว่าบ้านหม้อครับ

จะเห็นว่ากำแพงเมืองสมัยนั้นเป็นไม้ก็พอไหวกับศึกพม่าแล้ว ถ้าเอาไม่อยู่ ก็ทรงมีแผนจะทิ้งเมืองไปตั้งหลักที่จันทบุรีอยู่แล้ว


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 19 ก.ย. 12, 10:28

ลักษณะกำแพงเมืองกรุงธนบุรีด้านตะวันออก มีกล่าวไว้ในพงศาวดารกรุงธนบุรี

มีการขุดคลองนำดินมาก่อเป็นมูลดินแล้วสร้างกำแพงเมืองบนมูลดินนั้น


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 20 ก.ย. 12, 14:29

จดหมายเหตุพระยาประมูลธนรักษ์ เขียนไว้ว่า

ปีมะโรง จ.ศ. ๑๑๓๔ ขุดคลองตลอดไปวัดบางหว้า ทำกำแพงรอบนอก ขุดทะเลตม (คลองที่ขุดนี้ เป็รคลองคูเมืองทั้งสองฝั่ง ฝั่งตะวันตกแต่คลองบางกอกใหญ่ ริมวัดท้ายตลาดไปออกคลองบางกอกน้อย

ฝั้วตะวันออก คือ คลองตลาดไปออกคลองโรงไหมทุกวันนี้ กำแพงรอบนอก ทำตามแนวคลองทีว่ามา ทะเลตมนั้นแต่คอลงมหานาคออกไปทุ่งปทุมวัน)
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 20 ก.ย. 12, 15:13

กำแพงไม้ก็มีนะคุณหนุ่ม ที่ผมเขียนอย่างนั้นก็เห็นว่างานเผาอิฐทำกำแพงเป็นงานใหญ่ ต้องใช้แรงงานผู้คนมาก ยามศึกสงครามชายฉกรรจ์ไปรบเหนื่อยล้าแล้ว จะเอามาเป็นจับกังมากคงไม่ไหว ขุดคลองก็แล้ว หากเผาอิฐก่อกำแพง ดูจะเป็นงานใหญ่กว่าขุดคลองเสียอีก

อนึ่งถ้ากำแพงเมืองเป็นอิฐจริง แถวนั้นน่าจะยังมีทรากของฐานราก และธนบุรีน่าจะมีหลักฐานถึงเตาเผาอิฐบ้าง สมัยที่รัชกาลที่๑ทรงสร้างกรุงเทพ กำแพงพระนครยังต้องไปรื้ออิฐจากอยุธยามาสร้างเลย ไม่เห็นมีกล่าวถึงรื้อกำแพงเมืองธนบุรีเอาอิฐมาใช้
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 20 ก.ย. 12, 15:45

กำแพงไม้ก็มีนะคุณหนุ่ม ที่ผมเขียนอย่างนั้นก็เห็นว่างานเผาอิฐทำกำแพงเป็นงานใหญ่ ต้องใช้แรงงานผู้คนมาก ยามศึกสงครามชายฉกรรจ์ไปรบเหนื่อยล้าแล้ว จะเอามาเป็นจับกังมากคงไม่ไหว ขุดคลองก็แล้ว หากเผาอิฐก่อกำแพง ดูจะเป็นงานใหญ่กว่าขุดคลองเสียอีก

อนึ่งถ้ากำแพงเมืองเป็นอิฐจริง แถวนั้นน่าจะยังมีทรากของฐานราก และธนบุรีน่าจะมีหลักฐานถึงเตาเผาอิฐบ้าง สมัยที่รัชกาลที่๑ทรงสร้างกรุงเทพ กำแพงพระนครยังต้องไปรื้ออิฐจากอยุธยามาสร้างเลย ไม่เห็นมีกล่าวถึงรื้อกำแพงเมืองธนบุรีเอาอิฐมาใช้


ในพงศาวการกรุงธนบุรีกล่าวไว้ว่า "แล้วให้เกณฑ์คนขึ้นไปรื้อเอาอิฐกำแพงเก่า ณ เมืองพระประแดง และกำแพงค่ายพม่า ณ โพธิ์สามต้น และสีกุก บางไทร ทั้งสามค่าย ขนบรรทุกเรือมาก่อกำแพงและป้อม ตามที่ถมเชิงเทินดินสามด้านทั้งสองฟาก" ครับผม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 20 ก.ย. 12, 16:04

^
เอาอันนี้ไปเขียนตั้งแต่คคห๒ด้วยก็แจ่มแจ้งไปแล้ว
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 20 ก.ย. 12, 17:32


ข้อความโดย: ลุงไก่
อ้างถึง
กำแพงเมืองริมคลองรอบกรุงด้านตะัวันตกนั้น ผมเชื่อว่ามีอยู่จริง โดยการพูนดินจากการขุดคลองขึ้นมาทำเป็นเชิงเทิน พร้อมตัดไม้ปักเป็นแนวกำแพงแต่กำแพงเมืองด้านตะวันออก ริมคลองหลอด (คลองคูเมืองเดิม ที่เรียกอย่างใหม่) จะมีกำแพงเมืองไหม ถ้ามีก็น่าจะเป็นเชิงเทินดินเช่นเดียวกับด้านตะวันตก

แต่รูปในคคห๑ ผมต้องการเสริมข้อความนี้
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 22 ก.ย. 12, 10:10

มูลเหตุของการตั้งกระทู้นี้ขึ้น เกิดจากข้อความที่กล่าว่า "... แม้ว่าแนวกำแพงกรุงธนบุรีจะไม่หลงเหลือสภาพให้พบเห็นอีก แต่ร่องรอยของแนวกำแพงเก่ากลับถูกขุดพบใกล้กับอนุสาวรีย์หมูริมคลองหลอด ..."

จากประเด็นดังกล่าว มีข้อพิจารณา ๒ ข้อ คือ

๑. จากลายจารึกของรัชกาลที่ ๔ จารึกไว้ทางทิศใต้ของโบสถ์ วัดราชประดิษฐ์ฯ "... ที่ภายในพระนครติดต่อไปข้างใต้จังหวัดตึกดินเก่า ซึ่งบัดนี้เป็นสนามทหารแลติดต่อข้างด้านตะวันออกหลังวังหม่อมเจ้าดิศช่างหล่อ แลติดต่อข้างเหนือวังกรมหมื่่นอมเรนทรบดินทร แลติดต่อข้างด้านตะัวันตกถนนริมคลองโรงสี ..." (อ้างถึงประัวัติวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม หนังสือ วัดของเรา โดยพุทธโฆสก (สมบัติ จำปาเงิน)

วังหม่อมเจ้าดิศช่างหล่ออยู่ด้านตะวันอกของวัดซึ่งอยู่ริมคลองหลอด

๒. ตรงสะพานปีกุนหรือสะพานหมู เคยเป็นการก่อสร้างสะพานหกมาก่อนที่จะมาเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก

ผู้สำรวจพบอาจจะเข้าไปไปว่าฐานกำแพงวังหรือฐานสะพานหกเป็นฐานรากกำแพงเมืองเก่า

ความเห็นของผมคือ ถ้ากำแพงเมืองสมัยกรุงธนบุรีมีจริง ก็คงจะเป็นเชิงเทินดินและเสริมด้วยไม้เป็นกำแพงขึ้นไป ไม่ใช่เป็นกำแพงอิฐที่พระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระราชหัตถเลขากล่าวถึง

สำหรับคลองคูเมืองธนบุรีฝั่งตะวันตกนั้น ได้เคยเห็นมาแต่ยังอยู่วัยเด็ก เนื่องจากเป็นชาววังหลัง (หลังโรงพยาบลศิริราช) จึงจำสภาพคลองเดิมได้ดีก่อนที่กรุงเทพมหานครจะมาทำกำแพงคอนกรีตริมคลอง เป็นคูน้ำแคบๆ จากการบุกรุกล้ำของชาวบ้านมานานแสนนาน


บันทึกการเข้า
ศิณาวรรณ
อสุรผัด
*
ตอบ: 22


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 22 ก.ย. 12, 15:18

มีอยู่จริงครับ เมื่อห้าสิบปีก่อนตอนผมเด็ก ๆ ก็ยังเห็นซากเนินดินใหญ่ ริมถนนอรุณอมรินทร์ เยื้องปากซอยวัดระฆังอยู่ มีต้นโพธิ์ใหญ่ขึ้นคลุมทับอยู่ด้วย เพิ่มมาไถออกตอนขยายถนนอรุณอมรินทร์ พศ. 2525 นี่เอง
บันทึกการเข้า
frong
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 22 ก.ย. 12, 15:27

ถ้าจำไม่ผิด โปรดให้เอาไม้ทองหลางมาสร้างนี่ครับ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 22 ก.ย. 12, 17:59

จากพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ..

.. ลุศักราช ๑๑๓๒ ปีขาลโทศก (พ.ศ. ๒๓๑๓) ทรงพระวิจารณะว่าเมืองเก่านี้น้อยนัก ไพร่พลสิมาก เกลือกมีการสงครามมา หาที่มั่นผู้คนจะอาศัยมิได้ จึงทรงพระกรุณาให้ข้าทูลละอองฯ ฝ่ายทหารพลเรือนทำค่ายด้วยไม้ทองหลางทั้งต้นเป้นที่มั่นไว้พลางก่อน จึงจะก่อกำแพงเมื่อภายหลัง ให้ทำค่ายตั้งแต่มุมกำแพงเมืองเก่าไปจนถึงวัดบางว้าน้อย วงลงไปริมแม่น้ำใหญ่ แล้วขุดคูน้ำรอบพระนคร มูลดินขึ้นเป็นเชิงเทินตามริมค่ายด้านใน เดือนหนึ่งสำเร็จการ ...




บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 27 พ.ย. 12, 16:17

ขอแนบแผนที่เมืองธนบุรี ให้ลุงไก่ครับ

จากป้อมวิไชยประสิทธ์ มีแนวกำแพง (ไม้หรือปูน ?) ล้อมรอบกรุงธนบุรีชั้นในไว้ ข้ามคลอง (คงเป็นคลองมอญ หรือ คลองโรงกะทะ) ด้านริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามีสะพานยื่นไปในแม่น้ำ ด้านฝั่งกรุงเทพฯ มีป้อมบางกอกตั้งอยู่ด้วย


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 03 ธ.ค. 12, 13:45

แผนที่เปรียบเทียบป้อมวิไชยประสิทธ์ ในวาระที่ต่างกัน โดยภาพซ้ายมือเราเป็นแผนที่วาดไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๙ ยังคงเห็นลักษณะป้อมปราการและกำแพงต่ออกไป มีอาคารตั้งอยู่ ส่วนภาพขวามือวาดไว้เมื่อปลายอยุธยาครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 31 ธ.ค. 12, 14:26

จากพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ..

.. ลุศักราช ๑๑๓๒ ปีขาลโทศก (พ.ศ. ๒๓๑๓) ทรงพระวิจารณะว่าเมืองเก่านี้น้อยนัก ไพร่พลสิมาก เกลือกมีการสงครามมา หาที่มั่นผู้คนจะอาศัยมิได้ จึงทรงพระกรุณาให้ข้าทูลละอองฯ ฝ่ายทหารพลเรือนทำค่ายด้วยไม้ทองหลางทั้งต้นเป้นที่มั่นไว้พลางก่อน จึงจะก่อกำแพงเมื่อภายหลัง ให้ทำค่ายตั้งแต่มุมกำแพงเมืองเก่าไปจนถึงวัดบางว้าน้อย วงลงไปริมแม่น้ำใหญ่ แล้วขุดคูน้ำรอบพระนคร มูลดินขึ้นเป็นเชิงเทินตามริมค่ายด้านใน เดือนหนึ่งสำเร็จการ ...


ไม้ทองหลาง

ไม้ทองหลาง หมายถึง การมีทรัพย์สินเงิน มีเงินทองใช้ไม่ขัดสน
  ข้อมูลทางวิชาการ
ไม้ต้น   ผลัดใบ สูง 5 - 10 เมตร ตามกิ่งต้นอ่อนมีหนาม เรือนยอดเป็นพุ่มกลม โปร่ง
นิเวศวิทยา พบทั่วไปในย่านเอเชียเขตร้อนและอบอุ่น
ออกดอก มกราคม - กุมภาพันธุ์
ขยายพันธุ์ โดยเมล็ดและปักชำ
ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ
....

กอก ในคำว่า บางกอก ....เดาไม่ได้ว่ามีที่มาอย่างไร แต่ สมมติฐานว่า...น่าจะเป็นชื่อเรียกแหล่ง...พื้นที่ที่มีต้นมะกอกมาก ... หรือกอก อาจจะเป็นภาษาอื่นๆ ที่มีความหมายเป็นอื่นๆ....

พอดีนึกขึ้นมาเล่นๆ ครับว่าถ้า บางกอก มาจากการที่มีต้นมะกอกมาก แล้วทำไมพระเจ้าตากสินจึงไม่ใช้ไม้มะกอกมาทำกำแพงเมือง แต่กลับใช้ไม้ทองหลางที่มีจำนวนมากพอที่จะตัดมาทำกำแพงเมือง

http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=1f9de123ba434168


บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.126 วินาที กับ 20 คำสั่ง