เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 55
  พิมพ์  
อ่าน: 141988 รำลึกถึงดาวเสียงต่างชาติต่างภาษาที่ดับแสงไปแล้ว
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 09 ต.ค. 12, 16:14

เดือนนี้ ใบไม้อีกซีกโลกหนึ่งกำลังเปลี่ยนเป็นสีทอง  เข้ากับบรรยากาศของเพลง Autumn Leaves พอดี
โจ สตัฟฟอร์ดร้องเพลงนี้ด้วยเสียงหวานละห้อย โหยหา  ให้อารมณ์เหมือนใบไม้ปลิดปลิว





บันทึกการเข้า
นอแรด
มัจฉานุ
**
ตอบ: 99


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 09 ต.ค. 12, 16:32

โหย เพลงโปรดเข้ามาเยอะแยะเลยครับ


 เพลง It's almost tomorrow
มี version ของผู้ชายร้องด้วย   และแม้จะเป็นความคิดของผู้ชายสมัยก่อน....แต่ก็ยังมั่นคงถึงปัจจุบัน ไม่เปลี่ยนแปลง  


My dearest, my darling, tomorrow is near
The sun will bring showers of sadness I fear
Your lips won't be smiling, your eyes will not shine
For I know tomorrow your love won't be mine
It's almost tomorrow, but what can I do
Your kisses all tell me your love is untrue
I'll love you forever till stars cease to shine
And hope someday darling, you'll always be mine
Your heart was so warm dear, It now has turned cold
You no longer love me, your memories grow old
It's almost tomorrow, for here comes the sun
But still I am hoping tomorrow won't come
It's almost tomorrow, but what can I do
Your kisses all tell me your love is untrue
I'll love you forever, till stars cease to shine
And hope someday darling, you'll always be mine.

บันทึกการเข้า
นอแรด
มัจฉานุ
**
ตอบ: 99


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 09 ต.ค. 12, 16:54

และ...The Autumn Leaves .....สุดยอดที่จะบรรยาย

แต่ที่เคยได้ยินและไพเราะในสมัยนู๊น หลายๆเพลงข้างบน

มักจะเป็นเสียงจากนักร้องคนอื่นมากกว่าจาก  Jo Stafford

หรือว่าผมเกิดไม่ทัน ลังเล





บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 09 ต.ค. 12, 19:02

ต้นกำเนิดของเพลง Autumn Leaves ไม่ใช่เพลงอเมริกันอย่างที่มักจะเข้าใจกัน   แต่มาจากฝรั่งเศส   นักแต่งเพลงสองคนชื่อ  Joseph Kosma และ Jacques Prevert แต่งขึ้นโดยให้ชื่อว่า “Les Feuilles Mortes.”( The Dead Leaves)  ต่อมาในปี 1949 นักแต่งเนื้อเพลงชาวอเมริกันชื่อ Johnny Mercer ใส่เนื้อภาษาอังกฤษให้ทำนองเพลง ใช้ชื่อว่า  “Autumn Leaves.”
โจ สตัฟฟอร์ดเป็นนักร้องอเมริกันคนแรกที่ร้องเพลงนี้    ต่อมา มีนักร้องดังๆอีกหลายคนนำไปร้องกันในยุค 1950s และ 1960s    ทั้ง  Bing Crosby, Edith Piaf, Doris Day และ Nat 'King' Cole

เวอร์ชั่นนี้ อีดิธ เพียฟ ร้องทั้งสองภาษาค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 09 ต.ค. 12, 19:05

เวอร์ชั่นของแนท คิง โคล ที่ทำให้เพลงนี้เลื่องลือไปทั่วโลก  เป็นเพลงดังเพลงหนึ่งของเขา

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 09 ต.ค. 12, 19:09

เสียงของดอริส เดย์ ทำให้ใบไม้ร่วง ร่วงลงมาอย่างหวานซึ้ง

บันทึกการเข้า
นอแรด
มัจฉานุ
**
ตอบ: 99


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 09 ต.ค. 12, 20:25

ขอบคุณท่านเทาชมพูครับ ที่เอาเสียงหวานๆของ Doris Day มาให้ฟังยามค่ำคืน

....ชวนให้ระลึกถึง ตอนแตกเนื้อหนุ่ม มีเด็กสาวสวีดีชวาดรูปให้ผมดูว่า Autumn leaves สีมันสวยอย่างไร
เพลงนี้เนื้อร้องว่าอย่างไร และยังสอนให้รู้จัก.... จุมพิต
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 10 ต.ค. 12, 10:09

ขอนำเสนอเพลงใบไม้ร่วงเวอร์ชั่นนี้ ครับ

          จากเสียงร้องของดาวแสงที่ดับ(แสง)ไปแล้ว Yves Montand นักแสดงชื่อดัง
ชาวฝรั่งเศส ในหนังเรื่อง Paris Is Always Paris

         

         เปรียบเทียบกับอีกเวอร์ชั่นในวัยใกล้ใบไม้ร่วง

           
บันทึกการเข้า
นอแรด
มัจฉานุ
**
ตอบ: 99


ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 10 ต.ค. 12, 10:22


้ha ha ha ชอบใจสำนวนท่าน SILA ....วัยใกล้ใบไม้ร่วง แต่เสียงเขายังดีมากนะครับ ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 10 ต.ค. 12, 11:26

ขอพาไปพ้นบรรยากาศแห่งฤดูใบไม้ร่วง   ไปสู่ท้องทุ่งชนบทของอเมริกา สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จบลง
   
ในค.ศ. 1923 เด็กชายคนหนึ่งเกิดขึ้นในถิ่นบ้านนอกของรัฐอลาบาม่า ซึ่งสมัยนั้นถือว่าไกลปืนเที่ยงค่อนข้างมาก    พ่อป่วยจากการไปรบในสนามรบต้องไปรักษาตัวถาวรในโรงพยาบาลประสาท   ทิ้งแม่และลูกชายให้กัดฟันดิ้นรนเลี้ยงตัวเองไปตามยะถากรรม
แต่เด็กน้อยเป็นคนมีพรสวรรค์ด้านดนตรี    พอแม่สอนให้ร้องเพลง ก็ร้องได้เก่งตั้งแต่อายุสิบกว่าขวบ    หาเลี้ยงตัวเองได้ เล่นกีต้าร์ได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องมีใครสอน
พอเป็นหนุ่ม เขาก็กลายเป็นนักร้องออกอากาศทางวิทยุ   แล้วโด่งดังไปทั่วอเมริกาด้วยเพลงลูกทุ่งที่เขาแต่งเองร้องเอง  ตั้งแต่อายุ 25 ปีจน 29 ปี  ไม่มีนักร้องคันทรีคนไหนเทียบเขาได้  จนได้สมญาว่า "บิดาแห่งเพลงลูกทุ่งปัจจุบัน"

เขาชื่อแฮ้งค์ วิลเลียมส์ ที่คอเพลงลูกทุ่งชาวไทยที่ชอบเพลงคันทรี ย่อมรู้จักดี


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 10 ต.ค. 12, 11:29

น่าเสียดายว่าดาวเสียงดวงนี้มีเวลาเปล่งประกายสั้นมาก    เขาโด่งดังเมื่ออายุ 25  และจากไปกะทันหันด้วยอาการหัวใจวายเฉียบพลันเมื่ออายุ 29  ปี   เป็นผลจากอาการติดสุราอย่างหนัก จนบำบัดไม่สำเร็จ
ลีลาการร้องเพลงคันทรีของแฮ้งค์ยังไม่มีใครเทียบได้  และมีอิทธิพลต่อนักร้องคันทรีของอเมริกันมาจนทุกวันนี้

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 10 ต.ค. 12, 11:32

เพลง I'm so lonesome I could Cry  เอลวิส เพรสลีย์เอามาร้องทีหลัง  แต่คนละลีลากัน

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 10 ต.ค. 12, 11:36

ใครที่ชอบแฮ้งค์ วิลเลียมส์คงรู้จักเพลงนี้นะคะ   Jambalaya
มีนักร้องรุ่นหลังนำไปร้องอีกมากมาย รวมทั้งคาเรน คาเพนเตอร์ด้วย



ลองเทียบกับเสียงใสเป็นแก้วของคาเรนดูบ้าง

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 10 ต.ค. 12, 11:55

อีกเพลงที่รู้จักกันดี คือ Kaw-Liga  เป็นเพลงเล่าเรื่องแบบ ballad    ท่วงทำนอง มีเสียงกลองเป็นจังหวะคึกคักแบบอินเดียนแดง
ขออธิบายประกอบสำหรับท่านที่นึกไม่ออกว่าเพลงนี้เกี่ยวกับอะไร    ในสมัยค่อนศตวรรษก่อน ร้านขายยาสูบในรัฐทางตะวันตกของอเมริกาเขามักจะนิยมตั้งหุ่นอินเดียนแดงด้วยไม้สลักหยาบๆเอาไว้ เป็นสัญลักษณ์     ส่วนร้านขายของเก่าก็อาจจะมีรูปสลักชาวอินเดียนแดงทั้งชายและหญิงวางขายไว้เป็นของที่ระลึกด้วย
คนแต่งบรรยายถึงโคว์ไลก้า  เจ้าหนุ่มหุ่นไม้อินเดียนแดง ที่มองจากหน้าร้านของตัวเองไปยังร้านขายของเก่าที่มีสาวอินเดียนแดงหุ่นไม้ตั้งอยู่   หลงรักเธอแต่ก็ไม่เคยพูดอะไรออกมา เพราะเขาเป็นเพียงหุ่นไม้   สาวก็เฝ้ารอ   รอกันไปมาจนลูกค้ามาซื้อเธอไปจากร้าน
โคว์ไลก้าก็ได้แต่ซึมเศร้า  และอยากจะให้ตัวเองกลับไปเป็นอย่างเก่าเมื่อครั้งเป็นไม้สนอยู่ในป่า  ได้ไม่รู้สึกรู้สมอะไร



บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 10 ต.ค. 12, 14:01

          (ทำนอง)เพลง Kaw-Liga เมื่อมาถึงไทยถูกนำมาใส่เนื้อร้องใหม่กลายเป็นเพลง

                          หุ่นไล่กา

             ร้องโดยคุณ สิริมา สุนทรรังษี นักร้องนำหญิงของวงดนตรีสตริงคอมโบ้ไทยในสมัยนั้น - ซิลเวอร์แซนด์

            http://www.youtube.com/watch?v=5Lvk11DRKZ0

คุณสิริมาเมื่อ 5 ปีก่อน ในรายการคอนเสิร์ทย้อนยุคที่ศาลาเฉลิมกรุง


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 55
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 19 คำสั่ง