เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 15 16 [17] 18 19
  พิมพ์  
อ่าน: 63731 เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 240  เมื่อ 19 ก.ย. 12, 11:55

"การประกาศขายที่ดินจำนวนเกือบ 9 ไร่ ของเขตสถานทูต อังกฤษ โดยมีบริษัท ซีบี ริชาร์ด เอลลิส (ประเทศไทย) จำกัด เป็นตัวแทนดำเนินการขาย ด้วยมูลค่าของผู้ยื่นซองประมูลสูงสุดในนามบริษัทเตียง จิราธิวัฒน์ จำกัด เจ้าของธุรกิจในเครือเซ็นทรัล ราคา 950,000 บาทต่อตารางวา หรือ 405 ล้านบาทต่อ 1 ไร่ รวมมูลค่าซื้อขายที่ดินจำนวนดังกล่าวกว่า 3,600 ล้านบาท ส่งผลให้ดีลครั้งนี้กลายเป็นอีกหนึ่งประวัติศาสตร์การซื้อขายที่ดินในกรุงเทพฯ ที่ ณ วันนี้สามารถทุบสถิติมาตรฐานราคาซื้อขายจากเดิมลงได้ทันที ช่วงระยะ 2 ปีที่ผ่านมา ราคาซื้อขายที่ดินย่าน วิทยุ เพลินจิต หลังสวน ในบางแปลงมีตัวเลขราคาแตะ 7-8 แสนบาทต่อตารางวา เดิมถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงแล้ว ซึ่งเมื่อพิจารณาจากคู่แข่งรายอื่นที่ยื่นซองประมูลเข้ามา จะมีตัวเลขที่ใกล้เคียงกับราคาซื้อขายที่เป็นอยู่ในย่านนี้ ไม่ว่าจะเป็นบริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ที่ยื่นประมูลไปในราคา 888,888 บาทต่อตารางวา, กลุ่มฮ่องกงแลนด์ ยื่นประมูลในราคา 800,000 บาทต่อตารางวา, กลุ่มที.ซี.ซี.แลนด์ของเจ้าสัวน้ำเมา นายเจริญ สิริวัฒนภักดี ยื่นประมูลในราคาเกือบ 700,000 บาทต่อตารางวา"

http://www.prakard.com/default.aspx?g=posts&t=1746
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 241  เมื่อ 19 ก.ย. 12, 11:57

เริ่มหาที่ตั้งใหม่และการครอบครองที่ดิน
 
อย่างไรก็ดี ถึงตอนนั้นทางเจ้าหน้าที่ของไทยก็ได้เล็งเห็นแล้วว่าทางรัฐบาลอังกฤษมิได้พอใจเท่าใดนักต่อสถานที่ตั้งของสถานทูต และได้มีการยื่นข้อเสนอที่ว่า หากฝ่ายอังกฤษสามารถหาสถานที่ตั้งใหม่ได้ สถานที่ตั้งปัจจุบันนั้นก็เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้ก่อตั้งเป็นที่ทำการไปรษณีย์กลางของกรุงเทพมหานคร แต่ทว่ากระบวนการทางราชการทั้งในกรุงเทพฯ และลอนดอน กลับถูกดำเนินการอย่างเชื่องช้ายิ่ง ในปี พ.ศ. 2457 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้น และเวลาก็ล่วงเลยไปจนสงครามยุติลงในปี พ.ศ 2462 เมื่อ มร. ริชาร์ด สเตอร์กิส ซีมัวร์ (Mr. Richard Sturgis Seymour) ได้เข้ามาในฐานะเอกอัครราชทูต โดยทางรัฐบาลไทยในขณะนั้นได้ยืนยันข้อเสนอที่จะจัดหาสถานที่ตั้งใหม่ให้เพื่อแลกกับเขตพื้นที่ของสถานทูตเดิม แต่เมื่อ เซอร์ โรเบิร์ต ไฮด์ เกร็ก (Sir Robert (Hyde) Greg) ได้เป็นเอกอัครราชทูตในปลายปี พ.ศ. 2464 ทีแรกท่านไม่ได้รู้สึกยินดีมากมายนักกับแนวคิดในการย้ายสถานที่ตั้ง ทั้งตัวท่านเองและภริยาของท่านเป็นผู้ที่มีรสนิยมศิลป์และอาคารทรงโบราณที่อยู่ในเขตพื้นที่สถานทูตเดิม ที่สอดคล้องกับความรู้สึกเชิงศิลป์ของสองสามีภรรยายิ่งนัก โดยเฉพาะ เซอร์ โรเบิร์ต (Sir Robert) นั้น รู้สึกรับไม่ได้เลยกับความคิดที่ว่าต้องอาศัยในบ้านที่ออกแบบโดยสถาปนิกจากกระทรวงโยธาธิการ
 
โชคดีที่ว่า มร. ดับบลิว เอ อาร์ วู้ด (Mr. W A R Wood) รองกงสุลในขณะนั้น ได้เดินทางไปเยือนอังกฤษในปี พ.ศ. 2465 และได้ช่วยจัดเตรียมแผนผังฉบับร่างสำหรับอาคารทำเนียบหลักในเขตพื้นที่สถานทูต ก่อนหน้านี้ มร. วู้ด(Mr. Wood) ได้เป็นผู้รับผิดชอบต่อแบบแผนผังฉบับร่างของสถานกงสุลใหม่ที่สงขลาและเชียงใหม่ และเป็นที่น่ายินดีว่าแนวคิดสำหรับกรุงเทพฯของท่านนั้นได้รับการเห็นพ้องด้วยดี หลังจากที่ท่านเดินทางกลับกรุงเทพมหานคร เซอร์ โรเบิร์ต (Sir Robert) แสดงความพึงพอใจต่อแผนดำเนินการของ มร. วู้ด (Mr. Wood) และเสียงคัดค้านของท่านต่อการย้ายที่พำนักก็เริ่มอ่อนลงเป็นลำดับ และดังนั้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2465 จึงมีการทำข้อตกลงกันโดยได้ฝ่ายอังกฤษได้สิทธิ์ในสถานที่ตั้งของสถานเอกอัครราชทูตในปัจจุบันจากพระยาภักดี นรเศรษฐ ผู้ที่รู้จักกันโดยทั่วไปในนามของนายเลิด ซึ่งในเวลานั้นเป็นเจ้าของสวนหย่อมที่อยู่ระหว่างถนนเพลินจิตและคลองขนาดใหญ่ที่ไหลขนานกับถนนเพชรบุรีแต่เพียงผู้เดียว รัฐบาลอังกฤษเข้าถือสิทธิ์ประมาณครึ่งหนึ่งของสวนหย่อม หรือประมาณ 12 เอเคอร์ (28 ไร่) จากนายเลิด (ผู้ซึ่งเสียชีวิตลงในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 1931 เมื่อมีอายุได้ 73 ปี) ลูกสาวของท่าน คุณหญิง เลอศักดิ์ คู่สมรสของคุณพินิจ สมบัติศิริ ได้รับมรดกในที่ดินส่วนที่เหลือ โดยส่วนหนึ่งนั้นเป็นสถานที่ตั้งของโรงแรมฮิลตันในปัจจุบัน
 
ขณะนั้น สถานที่ตั้งแห่งใหม่นี้อยู่ตรงขอบชั้นนอกของกรุงเทพมหานครพอดี โดยที่ถนนเพลินจิตสิ้นสุดประมาณครึ่งไมล์ถัดไป ไม่น่าแปลกใจเลยว่า มีเสียงตำหนิกล่าวหาว่าสถานทูตอังกฤษกำลังย้ายไปอยู่ในสถานที่ที่ไกลจากศูนย์กลางเมืองจนเกินไป เซอร์ โรเบิร์ต (Sir Robert) เห็นควรและจำเป็นที่จะตอบโต้บทความวิพากษ์วิจารณ์ในหนังสือพิมพ์ในกรุงเทพมหานครฉบับหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ไม่เป็นที่นิยมเลย โดยเฉพาะกับบริษัทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดินเรือ กัปตันของเรืออังกฤษ ซึ่งในช่วงนั้นเข้ามาเทียบท่าที่กรุงเทพมหานครเป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องมาลงทะเบียนและกระทำพิธีการเอกสารต่างๆสำหรับเรือของพวกเขาที่สถานกงสุลใหญ่ภายในสถานทูต และพวกเขาก็ร้องเรียนว่าต้องเสียเวลาที่พวกเขามีอยู่อย่างจำกัดไปอย่างมากในการเดินทางไปและกลับจากสถานที่ใหม่ ประชาชนในอาณัติของอังกฤษจำนวนมาก โดยเฉพาะชาวอินเดีย พม่า และ มาเลเซีย ก็แสดงความไม่พอใจ เพราะว่ารถโดยสารประจำทางและรถรางในเวลานั้น ไม่มีเส้นทางใดที่ผ่านใกล้สถานที่ตั้งแห่งใหม่เลย ได้มีการพิจารณาที่จะตอบรับและบรรเทาทุกข์ข้อโต้แย้งเหล่านี้เหมือนกัน โดยได้มีการดำริที่จะคงสถานกงสุลและสำนักงานการเดินเรือไว้ใกล้ๆ กับสถานที่ตั้งเดิม ทว่าค่าใช้จ่ายในการที่จะจัดหาที่ดินในบริเวณนั้นกลับสูงเกินกว่าที่จะรับได้
 
จากการที่สถานที่ตั้งใหม่นี้อยู่บริเวณขอบชั้นนอกของกรุงเทพมหานคร ไม่เพียงแต่มีความจำเป็นที่จะจัดหาที่ดินเท่านั้น แต่ยังรวมถึงจ่ายชำระค่าก่อสร้างอาคารใหม่ต่างๆ จากรายรับที่ได้มาจากการขายสถานที่ตั้งเดิมริมแม่น้ำ เป็นจำนวนประมาณ £110,000 ด้วย พระบรมรูปสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรียและเสาธงได้รับการย้ายไปสู่สถานที่ใหม่จากสถานทูตเดิมด้วยเช่นกัน พระบรมรูปสมเด็จพระนางวิกตอเรียนั้น ตามคำจารึกบนฐานของพระบรมรูปนั้น เขียนไว้ว่า “สถาปนาขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความจงรักภักดีโดยพสกนิกรของพระองค์ท่านในประเทศสยามเมื่อปี ค.ศ. 1903” พระบรมรูปนี้ได้รับการเคารพนับถือจากนักเรียนไทยเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ อาจเป็นไปได้ว่าพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระราชินีผู้ล่วงลับไปแล้ว อาจจะมีส่วนช่วยต่อความสำเร็จทางการศึกษาในกรุงเทพมหานคร พระบรมรูปนี้ถูกตีปิดไว้ด้วยไม้กระดานในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ทางญี่ปุ่นก็ยังกรุณาเจาะช่องสำหรับมองเอาไว้ให้ เพื่อไม่เป็นการลบหลู่สมเด็จพระราชินีผู้ล่วงลับไปแล้ว อนุสาวรีย์สงครามได้รับการลงจารึกโดยชาวอังกฤษในประเทศไทยและได้ถูกสถาปนาขึ้นในตอนต้นของปี พ.ศ. 2466 ตามข้อเท็จจริงแล้วนั้น ถือได้ว่าเป็นสิ่งก่อสร้างชิ้นแรกบนสถานที่ตั้งใหม่
 
การก่อสร้าง
 
อาคารต่างๆในเขตพื้นที่ของสถานทูตสร้างขึ้นแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2469 หัวหน้าคณะทูต คือเอกอัครราชทูตและเจ้าหน้าที่ทางการทูตผู้มีอำนาจเต็ม เซอร์ โรเบิร์ต เกร็ก (Sir Robert Greg) ได้เข้าพำนักในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2469 ซึ่งล่าช้ากว่าที่ท่านได้คาดหวังไว้ แต่ท่านได้กล่าวในเชิงปรัชญาในจดหมายถึงกระทรวงการต่างประเทศก่อนสิ้นเดือนสิงหาคมว่า “แค่ล่าช้าเพียงสองสามสัปดาห์นั้นนับเป็นอย่างไรได้ เมื่อคุณได้ใช้เวลาสร้างเกือบชั่วนิรันดร์ ?”
 
อาคารในเขตพื้นที่ของสถานทูตประกอบด้วยอาคารทำเนียบของเอกอัครราชทูต และที่พักของคณะทำงาน นอกเหนือจากการตกแต่งเพิ่มเติมเล็กน้อยหนึ่งหรือสองแห่ง ในปัจจุบันทุกๆ อาคารยังคงเป็นโครงสร้างเดิมตามที่ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในช่วงปี พ.ศ 2463 - 2472 จุดเด่นในห้องอาหารของอาคารทำเนียบคือพัดชัก ซึ่งถูกนำมาจากอาคารทำเนียบของสถานทูตเดิม  นายเลิศได้ซื้อที่ดินระหว่างถนนเพลินจิตกับคลองแสนแสบ และได้สร้างหลักเขตที่ดินที่มีลักษณะคล้ายปืนใหญ่ ซึ่งมีจำนวน 6 หลัก  ในปี 2546 ยังมีหลักเขตนี้เหลือให้เห็นแค่ 2 หลัก โดยหลักหนึ่งอยู่หัวมุมถนนข้างสถานทูตอังกฤษ  อีกหลักหนึ่งลักษณะคล้ายลูกปืนอยู่ด้านนอกใกล้ทางเข้าโรงแรม แต่ได้ถูกทำลายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ในปี 2546 
 
เซอร์ โรเบิร์ต เกร็ก (Sir Robert Greg) ได้เน้นให้เห็นถึงความสำคัญของการวางแผนผังแบบเปิดโล่งสำหรับเขตพื้นที่สถานทูตแห่งใหม่นี้ ท่านได้พูดถึง “ความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่โล่งต่อสุขภาพ”และเสนอต่อไปอีกว่า “ภูมิอากาศของกรุงเทพมหานครนั้นเป็นลักษณะที่ว่าไม่มีใครอยากจะออกไปนอกบ้านหากเขาไม่จำเป็นจริงๆ ในระหว่างเวลา 9 นาฬิกา และ 16.30 นาฬิกา” ถือได้ว่าเป็นเพราะความมานะพยายามของท่านที่ทำให้คลองที่สวยงามหลังทำเนียบถูกรวมไว้ในเขตพื้นที่สถานทูต คลองนี้ถูกขุดขึ้นมาเมื่อหลายปีก่อนหน้านี้ เพื่อนำมาใช้ถมเรียบสวนนายเลิดทั้งหมด และเป็นประโยชน์มากสำหรับผู้ใช้เพื่อล่องเรือและอาบน้ำในวันหยุดสุดสัปดาห์  อย่างไรก็ดี ไม่มีใครลงไปว่ายน้ำที่นั่นอีกแล้วในปัจจุบันนี้
 
การเปลี่ยนสถานภาพ
 
สถานทูตอังกฤษได้เปลี่ยนฐานะเป็นสถานเอกอัครราชทูตในปี พ.ศ. 2490 มร. เจฟฟรีย์ ฮาริงตัน ธอมพ์สัน (Mr. Geoffrey Harrington Thompson) อดีตอัครราชทูตและราชทูตวิสามัญ ได้มาดำรงตำแหน่งเป็นเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทยเป็นคนแรกในปีนั้น
 
ในปี พ.ศ. 2517 ได้มีการเพิ่มกลุ่มอาคารใหม่เพื่อใช้เป็นสำนักงานปรับอากาศที่ทันสมัย ได้มีการวางศิลาฤกษ์อาคารหลังใหม่นี้โดยสมเด็จพระนางเจ้าเอลิซาเบธที่สองในระหว่างการเสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในเดือนกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2515
 
สมาชิกของราชวงศ์อังกฤษหลายพระองค์ได้เข้ามาเยี่ยมชมอาคารทำเนียบของสถานเอกอัครราชทูตหลังนี้ สมเด็จพระนางเจ้าเอลิซาเบธที่สองได้เสด็จมาระหว่างการเสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2515 และ พ.ศ. 2539 เจ้าชายฟิลลิปได้เสด็จมาเยือนในปี พ.ศ. 2511 และ พ.ศ. 2515 เจ้าฟ้าหญิงแอนในปี พ.ศ. 2521 ท่านดยุคแห่งเคนท์ ในปี พ.ศ. 2530 และ เจ้าฟ้าหญิงอาเล็กซานดร้าในหลายๆ วโรกาส โดยครั้งล่าสุดนั้นพระองค์ท่านได้มาเสด็จเยือนในปี พ.ศ. 2546
 
การขายที่ดิน
 
เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2549 สถานทูตอังกฤษได้ขายที่ดิน 3.55 เอเคอร์ จากที่ดินทั้งหมด 12.75 เอเคอร์ให้แก่บริษัทอสังหาริมทรัพย์ของนายเตียง จิราธิวัฒน์  ที่ดินส่วนที่ขายเป็นบริเวณที่ประกอบด้วยมลพิษและเสียงดังที่สุดในบริเวณสถานทูตซึ่งติดกับถนนใหญ่หกเลน (ถนนเพลินจิต) และเส้นทางรถไฟฟ้า  สถานทูตได้คงสภาพและรักษาอาคารที่อยู่อาศัยในส่วนที่เป็นประวัติศาสตร์, สำนักงานสถานทูต,  อนุสรณ์สถานสงครามโลก,  รูปปั้นที่โอ่อ่าของสมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย, สภาพแวดล้อมที่เป็นทะเลสาป และสวนสาธารณะไว้คงเดิม  การดำเนินการขายที่นี้เพื่อนำไปเป็นกองทุนในการพัฒนาและรักษาสถานทูต  ซึ่งรวมถึงส่วนที่เป็นที่อยู่อาศัยใหม่ของเจ้าหน้าที่, เครื่องอำนวยความสะดวกเพื่อการสันทนาการ,  การปรับปรุงอาคารที่ทำการเป็นแบบเปิดโล่ง และ การเสริมความแข็งแรงด้านความปลอดภัย  ต้นไม้ในส่วนของที่ดินที่ขายแล้วนั้นได้บริจาคให้กรุงเทพมหานครและโรงเรียนนานาชาติอังกฤษ 


ข้อมูลจากเวปสถานทูตอังกฤษ http://ukinthailand.fco.gov.uk/th/about-us/our-embassy/location-and-access/embassy-history
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 242  เมื่อ 22 ก.ย. 12, 06:00

มีลิงค์ดีๆของคุณหนุ่มรัตนะมาฝากคุณหนุ่มสยามและท่านที่ชอบเนื้อหาของกระทู้นี้ครับ


http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2012/01/K11623509/K11623509.html
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 243  เมื่อ 22 ก.ย. 12, 16:56

ในตอนค่ำ นายพันเอกออร์ดและคุณนาย กัปตันเอดีย์ ข้าพเจ้ากับภรรยาฯลฯ ทั้งหมดรวมแปดคน ได้รับพระราชทานเลี้ยงรับรองในส่วนพระราชฐานชั้นใน และทรงแนะนำพระราชโอรสพระราชธิดาและเจ้าจอมที่ทรงโปรดเก้าท่าน เช้าวันรุ่งขึ้นความสนิทสนมที่ได้เพิ่มขึ้นอย่างเป็นประวัติการณ์ ได้เปิดโอกาสให้บรรดาพระราชวงศ์ทั้งหลายทรงเลิกแสดงท่าทีเคร่งครัดตามขนบธรรมเนียมเสียสิ้น  ขณะที่พระเจ้าอยู่หัวและบรรดาเจ้าจอมกำลังสนทนากับนายพันเอกออร์ดและคุณนายในห้องหนึ่ง ในห้องที่ติดกันนั้น ข้าพเจ้าและสุภาพบุรุษอื่นๆได้สนทนากับพระเจ้าลูกยาเธอและพระเจ้าลูกเธออยู่ถึงสี่สิบห้านาทีเต็มๆ หลายพระองค์เป็นสาวรุ่นพระชันษาระหว่าง๑๕-๑๘ ทรงสนทนาด้วยความเปิดเผยตรงไปตรงมาและฉลาดเฉลียวรอบรู้  เกินกว่าที่ข้าพเจ้าจะนึกถึงเสียอีก

ทรงตรัสใช้ภาษาง่ายๆ  กรองคำที่หยาบหรือกระด้างออกจนฟังอ่อนโยน อันถือได้ว่าเป็นลักษณะเด่นเฉพาะของภาษาไทย สำหรับพวกที่ร่วมอยู่กับข้าพเจ้าผู้ไม่สามารถพูดภาษาไทยได้ ก็ทรงตรัสด้วยภาษาอังกฤษสองสามคำ พระเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นหนึ่งในบรรดาพ่อผู้ใจดี ทรงได้ยินเสียงพูดและเสียงหัวเราะของการสนทนา ทรงยอมรับด้วยพระอารมณ์ขันที่สุด ทรงแย้มพระสรวลขณะที่ตรัสระหว่างเสด็จเข้าว่า  "ลูกๆพูดกันเสียงหนวกหูเสียนี่กระไร"

ในนี้ นายอาลาบาศเตอร์ไม่ได้ระบุพระนามพระเจ้าลูกเธอ ที่เสด็จออกมาต้อนรับแขกเมือง      แต่ไปพบในพระนิพนธ์ม.จ. พูนพิศมัย ดิศกุล  ทรงบันทึกไว้ว่า หนึ่งในนั้นคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ์

" เสด็จป้ากรมหลวงสมรรัตน์ฯ เคยตรัสกับข้าพเจ้าว่า "ป้าก็เคยรินน้ำชาเลี้ยงฝรั่งที่หว้ากอ " แล้วท่านก็ทรงพระสรวลเมื่อเห็นข้าพเจ้าหัวร่อ  และตรัสต่อไปว่า "จริงนะ  เพราะทูลหม่อมท่านรับสั่งว่า  ธรรมเนียมฝรั่งเขาต้องให้ผู้หญิงรินน้ำชา    แล้วท่านก็เลยให้ป้าเป็นคนออกไปรับแขกเมือง"

พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ์ ประสูติเมื่อพ.ศ. 2395   เมื่อเสด็จไปที่หว้ากอ พระชันษาได้ 15 ย่าง 16 ปี


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 244  เมื่อ 22 ก.ย. 12, 17:02

มีลิงค์ดีๆของคุณหนุ่มรัตนะมาฝากคุณหนุ่มสยามและท่านที่ชอบเนื้อหาของกระทู้นี้ครับ
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2012/01/K11623509/K11623509.html

ความคิดเห็นที่ 3

ข้อมูลเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย
พระราชหัตถเลขาในคราวเสด็จบ้านคลองวาฬ ประจวบคีรีขันธ์ พระองค์โปรดให้ตั้งค่ายขึ้น และนำกุ๊กจีน กุ๊กยุโรป อย่างดีเยี่ยมมาเพื่อการนี้ และได้เชิญนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส, ผู้แทนพระองค์ของอังกฤษ ที่สิงคโปร์ มายังตำบลดังกล่าว

พวกฝรั่งเศสก็เย้ยหยันในทางที่ว่า จะมองเห็นหรือไม่ก็ไม่แน่ใจในความแม่นยำ เมฆก็มาก ปกคลุมอยู่หลายวัน ซึ่งรัชกาลที่ 4 ทรงพระราชหัตถเลขาส่งไปต่างประเทศเล่าความไว้โดยละเอียด

และข้อความในจดหมายไปยังต่างประเทศ รัชกาลที่ 4 ทรงรู้และตระหนักดีว่า "ไข้ป่า" รุนแรงเพียงใด ซึ่งพ่อครัวที่ไปตั้งค่ายอยู่ก่อนหน้านี้ได้ตายไปหลายคน ทรงเล่าผ่านตัวอักษรว่า

"ไช้ป่านั้นรุนแรงนักที่บ้านคลองวาฬ พ่อครัวหลายคนก็ได้เป็นโรคไข้ป่าตายกันมาก ดังนั้นจึงจะเขยิบที่สังเกตุการณ์ออกไปสักหน่อย (คาดว่าอยู่บ้านหว้ากอ) ซึ่งข้าพเจ้า (รัชกาลที่ 4 ) ไม่อยากจะติดเชื้อดังกล่าวเลย ไม่อยากจะขึ้นบกจะขออยู่ในเรือให้มากที่สุดเพื่อความปลอดภัยในไข้ป่านี้"

และเมื่อพระองค์เสด็จกลับกรุงเทพฯ สิ่งที่ทรงหวาดกลัวก็เป็นเรื่องจริง

จากคุณ    : หนุ่มรัตนะ

ม.จ.พูนพิศมัยทรงเล่าไว้เช่นกันว่า
"เสด็จป้า (หมายถึงพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ์) ทรงเล่าว่า  ก่อนทรงพระประชวรได้ 2 วัน   สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสถามคุณย่าใหญ่ (เจ้าจอมมารดาเที่ยง  พระมารดาของท่าน) ในเวลา  ทรงชี้นิ้วพระหัตถ์ไปที่ดาวพระพุธซึ่งกำลังจะผ่านเข้าไปในดวงจันทร์ ว่า "นังเที่ยง  เห็นดาวนั่นไหม" ท่านทูลตอบว่า "เห็นเพคะ ล้นเกล้าล้นกระหม่อม" พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ตรัสต่อไปว่า " ไม่ดีสำหรับข้านะดาวดวงนั้น" "
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 245  เมื่อ 23 ก.ย. 12, 09:57

ผมค้นเจอจดหมายเหตุของหมอบรัดเล ซึ่งเป็นบันทึกที่น่าสนใจโดยรวม ขอแนะนำให้ท่านไปอ่านเองในเน็ท แต่ในที่นี้ผมจะคัดเอาเฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องในกระทู้มาปิดท้าย เสียดายอยู่เหมือนกันที่ไม่ได้เจอเสียตั้งแต่แรก ข้อเท็จจริงที่เขียนจะได้ไม่พลาดดังที่ท่านคงอ่านพบไปแล้ว แต่ก็นั่นแหละ ถ้าผมจะรอจนกว่าจะค้นพบข้อมูลต่างๆครบถ้วนเสียก่อนแล้วจึงเขียน ก็คงจะใช้เวลาเป็นเดือนเป็นปี แล้วคงรับประกันไม่ได้อยู่นั่นเองว่าจะไม่ผิดที่ไหนเลย ดังนั้น ถ้าจะหมายให้ทุกอย่างถูกต้องหมดแล้ว คงไม่มีวันที่จะเขียนสำเร็จ ผมอายุมากพอประมาณแล้ว เวลาที่เหลือสำหรับที่จะเขียนอย่างสนุกสนานน้อยลงๆ เพราะความไม่สนุกมันเข้ามากระชับพื้นที่มากขึ้นทุกที

ปล. ผมชอบที่ฝรั่งด้วยกันเขียนFamily nameของเซอร์ โรเบิร์ต ซอมเบิร์ก ว่า“จอมเบิค”
ฮ่ะฮ่า น่าจะเขียนว่าจอมเบิกซะเลย ไทยๆดี

http://www.reurnthai.com/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A5
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 246  เมื่อ 23 ก.ย. 12, 10:01

จดหมายเหตุของหมอบรัดเล


ปีเถาะจุลศักราช ๑๒๑๗ พ.ศ.๒๓๙๘

เมษายน ที่ ๓ เซอร์ยอนเบาริง ราชทูตอังกฤษ เข้ามาขอทำหนังสือสัญญา
เมษายน ที่ ๑๘ ทำหนังสือสัญญาไทยกับอังกฤษ
เมษายน ที่ ๒๓ เซอร์ยอนเบาริงกลับไป
มีนาคม ที่ ๑๗ นายแฮรี ปากส์ มากับภรรยา นำสัญญาอังกฤษเข้ามาแลก
เมษายน ที่ ๕ แลกหนังสือสัญญาไทยกับอังกฤษ

ปีมโรงจุลศักราช ๑๒๑๘ พ.ศ. ๒๓๙๙

พฤษภาคม ที่ ๑๕ นายแฮรี ปากส์ กับภรรยากลับไป
มิถุนายน ที่ ๑๐ นายฮิลเลีย กงสุลอังกฤษคนแรก เข้ามาถึง
ตุลาคม ที่ ๑๘ นายฮิลเลีย กงสุลอังกฤษป่วยเปนบิดถึงแก่กรรม
มีนาคม นายยิลคัล ผู้รั้งกงสุลอังกฤษกับภรรยา เข้ามาถึง

ปีมเสงจุลศักราช ๑๒๑๙ พ.ศ. ๒๔๐๐

ธันวาคม ที่ ๘ เซอร์ รอเบิต จอมเบิค กงสุลอังกฤษเข้ามาถึง

ปีมแมจุลศักราช ๑๒๒๑ พ.ศ.๒๔๐๒

ธันวาคม ที่ ๑๒ เซอร์ รอเบิต จอมเบิค กงสุลอังกฤษได้รับอนุญาตให้ขึ้นไปเมืองเชียงใหม่ แล้วเดินทางบกออกไปเมืองเมาะลำเลิง
เมษายน ที่ ๒๖ เซอร์ รอเบิต จอมเบิค กงสุลอังกฤษกลับมาถึง

ปีรกาจุลศักราช ๑๒๒๓ พ.ศ. ๒๔๐๔

สิงหาคม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดให้สร้างถนนใหม่ (คือ ถนนเจริญกรุง) ผ่านไปข้างหลังบ้านฝรั่ง

ปีกุญจุลศักราช ๑๒๒๕ พ. ศ. ๒๔๐๖

มีนาคม ที่ ๑๖เปิดถนนทำใหม่ (คือ ถนนเจริญกรุง)
มีนาคม ที่ ๓๐ เซอรอเบิต จอมเบิค กงสุลอังกฤษกลับไปยุโรป
มกราคม ที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตพระชัณษา ๕๘
มกราคม ที่ ๓๐ เรือรบอังกฤษ ชื่อ โคเคต พาทอมัส ยอช นอกส์ เปนกงสุลเยเนอราลอังกฤษเข้ามาถึง(นายนอกส์ คนนี้เดิมเปนนายทหารอังกฤษ รับราชการอยู่อินเดีย ละราชการทหารอังกฤษ มาเมืองไทยเมื่อค.ศ.๑๘๕๑ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จ้างไว้เปนครูทหารวังน่า จน ค.ศ.๑๘๕๗ กลับรับราชการอังกฤษเปนล่ามที่ ๑ ในสถานกงสุล)
มีนาคม ที่ ๑๕ นายนอกส์ กงสุลอังกฤษไปเมืองนอก (ทางนี้นายอาลบาสเตอ รักษาการแทน)

ปีมโรงจุลศักราช ๑๒๓๐ พ.ศ. ๒๔๑๑

สิงหาคม ที่ ๘ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จจากกรุงเทพ ฯ ไปทอดพระเนตรสุริยอุปราคาหมดดวง (ที่ตำบลหว้ากอ แขวงจังหวัดประจวบ คีรีขันธ์)
สิงหาคม ที่ ๑๘ มีสุริยอุปราคาหมดดวง มืดอยู่ถึง ๖ นาที กับ ๔๖ วินาที
สิงหาคม ที่ ๒๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับจากหว้ากอ
สิงหาคม ที่ ๓๐ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประชวรมาหลายวัน เรียกหมอแคมเบล กับหมอบรัดเลเข้าไปปฤกษากับแพทย์หลวง แต่หาได้เข้าไปตรวจพระอาการไม่
กันยายน ที่ ๑๔ นายอาลบาสเตอ ผู้แทนกงสุลอังกฤษ เกิดวิวาทกับเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ เรื่อง (สมบัติคนในร่มธงอังกฤษต้อง) ไฟไหม้ที่วัดเกาะ
ตุลาคม ที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สวรรคตพระชัณษาได้ ๖๔ เสวยราชย์ได้ ๑๘ ปี สมเด็จพระราชโอรส เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เสด็จผ่านพิภพกรมหมื่นบวรวิไชยชาญ เปนพระมหาอุปราช
พฤศจิกายน ที่ ๑๕ เรือรบอังกฤษ ชื่อ สลามิส มาถึง นายพลเรือเกปเปล กับกงสุลเยเนราล นอกส์ มาด้วยในเรือนี้
มีนาคม ที่ ๑๘ ถวายพระเพลิงพระบรมศพ
ธันวาคม ที่ ๑๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จโดยเรือบางกอก ไปประพาศอินเดีย

ปีมเมียจุลศักราช ๑๒๓๒ พ. ศ. ๒๔๑๓

มีนาคม ที่ ๑๓ นายน๊อกส์ กงสุลเยเนราลอังกฤษไปตามเสด็จเมืองกัลกัตตา กลับมาถึง
มีนาคม ที่ ๑๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จไปประพาศอินเดีย ๔ เดือน กลับมาถึง
กรกฎาคม ที่ ๓ นายเฮนรี อาลบาสเตอ ไปยุโรป ๒ ปี กลับเข้ามาถึง (นายอาลบาสเตอนี้ แต่เดิมรับราชการอังกฤษ จนได้เปนผู้แทนกงสุลครั้งที่ ๑ วิวาทกับนายน๊อกส์กงสุล ฯ จึงออกจากราชการ กลับเข้ามาคราวนี้แล้วไม่ช้าก็เข้ารับราชการไทยอยู่จนถึงอนิจกรรม)
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 247  เมื่อ 23 ก.ย. 12, 10:18

ผมเอามาเรียบเรียงใหม่ให้เข้าใจง่ายๆดังนี้ครับ
ข้อความอักษรสีน้ำเงิน คือความเห็นที่ผมแสดงลงไป

พ.ศ. ๒๓๙๙

นายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ เข้ามาประเทศไทยเป็นครั้งแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ธันวาคม ที่ ๘ เซอร์ รอเบิต จอมเบิค กงสุลอังกฤษเข้ามาถึง
ปีนี้ นายอาลาบาศเตอร์เข้าทำงาน เริ่มเป็นตำแหน่งล่ามฝึกหัดในสถานกงสุล

พ.ศ.๒๔๐๐

ทอมัส ยอช นอกส์ ลาออกจากวังหน้า รับราชการอังกฤษเปนล่ามที่ ๑ ในสถานกงสุล

พ.ศ.๒๔๐๒

ธันวาคม ที่ ๑๒ เซอร์ รอเบิต จอมเบิค กงสุลอังกฤษได้รับอนุญาตให้ขึ้นไปเมืองเชียงใหม่ แล้วเดินทางบกออกไปเมืองเมาะลำเลิง
เมษายน ที่ ๒๖ เซอร์ รอเบิต จอมเบิค กงสุลอังกฤษกลับมาถึง

พ.ศ. ๒๔๐๔

สิงหาคม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดให้สร้างถนนใหม่ (คือ ถนนเจริญกรุง) ผ่านไปข้างหลังบ้านฝรั่ง
นายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ไปช่วยงานที่นั่นร่วมสองปี จึงไม่ค่อยได้ทำหน้าที่ในสถานกงสุลโดยตรง ขณะที่นายน๊อกซ์อยู่ประจำ น่าจะปรากฏชื่อเป็นที่รู้จักในกระทรวงมากกว่า

พ. ศ. ๒๔๐๖
มีนาคม ที่ ๑๖เปิดถนนทำใหม่ (คือ ถนนเจริญกรุง)
มีนาคม ที่ ๓๐ เซอรอเบิต จอมเบิค กงสุลอังกฤษกลับไปยุโรป
มกราคม ที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตพระชัณษา ๕๘
มกราคม ที่ ๓๐ เรือรบอังกฤษ ชื่อ โคเคต พา ทอมัส ยอช นอกส์ เปนกงสุลเยเนอราลอังกฤษเข้ามาถึง(นายนอกส์ คนนี้เดิมเปนนายทหารอังกฤษ รับราชการอยู่อินเดีย ละราชการทหารอังกฤษ มาเมืองไทยเมื่อค.ศ.๑๘๕๑ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จ้างไว้เปนครูทหารวังน่า จน ค.ศ.๑๘๕๗ กลับรับราชการอังกฤษเปนล่ามที่ ๑ ในสถานกงสุล)
มีนาคม ที่ ๑๕ นายนอกส์ กงสุลอังกฤษไปเมืองนอก (ทางนี้นายอาลบาสเตอ รักษาการแทน)

นายน๊อกส์ไปหลายปี นายอาลาบาสเตอร์คงได้เลื่อนตำแหน่งเป็นรองกงสุล (Deputy หรือ Vice Consul)และรักษาการแทนกงสุล เพื่อให้สมศักดิ์ศรีผู้แทนของรัฐบาลอังกฤษในการติดต่อกับรัฐบาลสยาม

พ.ศ. ๒๔๑๑

สิงหาคม ที่ ๘ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จจากกรุงเทพ ฯ ไปทอดพระเนตรสุริยอุปราคาหมดดวง (ที่ตำบลหว้ากอ แขวงจังหวัดประจวบ คีรีขันธ์)

พ. ศ. ๒๔๑๕
มีนาคม ที่ ๑๓ นายน๊อกส์ กงสุลเยเนราลอังกฤษไปตามเสด็จ(พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)เมืองกัลกัตตา กลับมาถึง
มีนาคม ที่ ๑๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จไปประพาศอินเดีย ๔ เดือน กลับมาถึง
กรกฎาคม ที่ ๓ นายเฮนรี อาลบาสเตอ ไปยุโรป ๒ ปี กลับเข้ามาถึง (นายอาลบาสเตอนี้ แต่เดิมรับราชการอังกฤษ จนได้เปนผู้แทนกงสุลครั้งที่ ๑ วิวาทกับนายน๊อกส์กงสุลฯจึงออกจากราชการ กลับเข้ามาคราวนี้แล้วไม่ช้าก็เข้ารับราชการไทยอยู่จนถึงอนิจกรรม)
หลายฉบับว่านายอาลาบาศเตอร์ เข้ามาประเทศไทยเป็นครั้งที่สองพ.ศ. ๒๔๑๖ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อาจหมายถึงว่าเข้ารับราชการในปีนั้น ตามพิจารณาตามจดหมายเหตุของหมอบรัดเล แสดงว่านายอาลาบาศเตอร์ได้กลับมายังกรุงเทพก่อนหลายเดือนอยู่ แล้วจึงเข้ารับราชการ

ป.ล. คนที่งงเรื่องเดือนและพ.ศ. สมัยนั้นคนไทยนับ๑เมษายนเป็นวันเปลี่ยนศักราชขึ้นปีใหม่นะครับ

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 248  เมื่อ 24 ก.ย. 12, 11:19

คุณหนุ่มสยามเขียนไว้ว่า

อ้างถึง
สถานทูตอังกฤษที่ถนนเจริญกรุงนั้นเป็นที่ดินที่รัชกาลที่ ๔ ทรงซื้อตารางวา ๑ บาท เป็นจำนวนเงิน ๑๖,๐๐๐ บาทเพื่อให้เป็นที่ทำการสถานกงสุลอังกฤษ ซึ่งก่อนหน้านี้ยังมี "คดีนายเส็ง" ที่ขายที่ดินให้อังกฤษเช่า ๙๙ ปี แต่ต้องพระราชอาญาเฆี่ยนจนตายที่บางคอแหลม

ข้อความนี้มีความกำกวมอยู่ ตามไปค้นก็ไม่เจอ อ่านแล้วเข้าใจว่า หลังจากการเข้ามาของเซอร์จอห์น บาวริง เพื่อทำสนธิสัญญากับสยามในปี๑๘๕๕ ซึ่งมีผลในการบังคับใช้ในวันที่๕เมษายนของปีถัดไปนั้น อังกฤษก็ได้ส่งกงสุลคนแรกเข้ามาเมืองไทยทันทีมีนามว่านายชาลร์ส แบตเทน ฮิลลิเออร์ และการตั้งสถานกงสุลในคราวนั้นได้ก่อเรื่องฉกรรจ์ดังกล่าวขึ้น

วันนี้เจอแล้วได้ความว่า เมื่อเซอร์จอห์น บาวริ่งเข้ามาทำสญธิสัญญาทางไมตรีกับสยามนั้น ได้มีความข้อหนึ่ง ทำความชัดแจ้งเรื่องการถือครองที่ดินของคนต่างด้าวไว้ด้วย แสดงว่าเรื่องที่คุณหนุ่มสยามเขียนไว้นั้นมีมูล แต่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดในรัชกาลก่อนๆแล้ว อังกฤษยังสยองอยู่  แต่ไม่ใช่เกิดจากการก่อตั้งสถานกงสุลอังกฤษเมื่อเริ่มแรก หรือหลังที่สนธิสัญญาบาวริงมีผลบังคับใช้แล้ว

ฝ่ายอังกฤษประสบความสำเร็จอย่างมากในการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง โดยรัฐบาลสยามยอมให้อังกฤษเข้ามาตั้งกงสุล มีอำนาจพิจารณาคดีที่คนอังกฤษมีคดีความกัน และร่วมพิจารณาคดีที่คนไทยกับอังกฤษมีคดีความกัน ในสมัยปลายรัชกาลที่ 4 ฝรั่งต่างก็เข้ามาตั้งโรงงานในสยามเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่โรงสีข้าว โรงงานน้ำตาลทราย อู่ต่อเรือ โรงเลื่อยไม้ เป็นต้น การที่สยามรับเอาวิทยาการสมัยใหม่เข้ามาใช้หลายอย่างนี้ทำให้ฝรั่งเรียกขานว่าเป็น "เมืองไทยยุคใหม่"

ผลของสนธิสัญญายังเป็นการให้สิทธิเสรีภาพในการถือครองที่ดินแก่ทั้งราษฎรไทยและชาวต่างประเทศ ซึ่งแต่ก่อนราษฎรไม่ค่อยกล้าให้ชาวต่างประเทศถือครองที่ดินเพราะกลัวในหลวงจะกริ้ว รัฐบาลไทยอยากให้ฝรั่งเข้ามาตั้งโรงงานสมัยใหม่ จำต้องยอมผ่อนปรนเรื่องการถือครองที่ดินให้แก่ฝรั่ง แต่ก็ไม่ใช่จะถือครองได้ทุกที่ รัฐบาลแบ่งที่ดินออกเป็นสามเขต คือ ในพระนครและห่างกำแพงพระนครออกไปสองร้อยเส้นทุกทิศ ยอมให้เช่าแต่ไม่ยอมให้ซื้อ ถ้าจะซื้อต้องเช่าครบ 10 ปีก่อน หรือจะต้องได้รับอนุญาตจากเสนาบดี เขตที่ล่วงออกไป  เจ้าของที่และบ้านมีสิทธิให้เช่าหรือขายกรรมสิทธิ์ได้โดยไม่มีข้อแม้  แต่ล่วงจากเขตนี้ไปอีก ห้ามมิให้ฝรั่งเช่าหรือซื้อโดยเด็ดขาดเมื่อราษฎรได้รับสิทธิในการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน ราษฎรก็มีทางทำมาหากินเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง คือ การจำนองที่ดินเพื่อกู้เงิน หรือขายฝากขายขาดที่ดินของตนได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 249  เมื่อ 27 ก.ย. 12, 22:15

มีเกร็ดจากสุริยุปราคาที่หว้ากออีกนิดหน่อย  ตัดตอนจากพระนิพนธ์หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล ขอรวมไว้ในกระทู้นี้เลยค่ะ

"ถึงวันสูรย์จะหมดดวง  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกทอดพระเนตรหน้าพลับพลา พร้อมด้วยเจ้านายและข้าราชการทั้งหมด  รวมทั้งพระยาโหราฯด้วย   ต่างคนต่างดูท้องฟ้าด้วยกล้องด้วยกระจกแทบทุกคนไป

เจ้าพระยาทิพากรวงศ์จดไว้ว่า
"...ต่อมา 4 โมง 16 นาที (10.16 น.) เมฆจึงจางสว่างออกไป เห็นดวงอาทิตย์ไรๆ แลดูพอรู้ว่าจับแล้ว จึงประโคมเสด็จสรงมุรธาภิเษก  ครั้นเวลา 5 โมง 20 นาที (11.20 น.)แสงแดดอ่อนลงมา ท้องฟ้าตรงดวงพระอาทิตย์สว่างไม่มีเมฆเลย ที่อื่นแลเห็นดาวใหญ่ด้านตะวันตก และดาวอื่นๆ มากหลายดวง
เวลา 5 โมง 36 นาที 20 วินาทีจับสิ้นดวง เวลานั้นมืดเป็นเหมือนกลางคืนและพลบค่ำ คนที่นั่งใกล้ๆ ก็แลดูไม่รู้จักหน้ากัน "

เสด็จพ่อทรงเล่าว่าพระยาโหราฯ ตบขาร้องว่า "ผลุ๊บ" เวลาหมดดวง   ด้วยตื่นเต้นจนลืมว่าอยู่หน้าพระที่นั่ง"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 250  เมื่อ 27 ก.ย. 12, 22:17

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าไว้ในคำนำภาค 19 ว่า
"การที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่หว้ากอในฤดูฝน จนเป็นเหตุให้ประชวรและสวรรคต  ครั้งนั้นผู้ที่เกิดภายหลัง หรือเกิดทัน แต่ยังเป็นเด็กอยู่เช่นตัวข้าพเจ้า เคยปรารภกันว่า เพียงแต่จะดูสุริยุปราคา เหตุใดจึงเสด็จลงไปฝ่าอันตราย และความลำบากถึงเพียงนั้น
พึ่งมาได้ฟังคำชี้แจงภายหลังว่า สุริยุปราคาที่เห็นได้หมดดวง ในประเทศนี้ไม่เคยมีมาแต่ก่อน จนถึงในตำราโหรของไทยว่า สุริยุปราคาไม่มีที่จะหมดดวงได้
ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคำนวณทราบก่อนใครๆ ว่าในประเทศนี้ว่า ในปีมะโรงสุริยุปราคาจะมีหมดดวง และจะเห็นได้ในเมืองไทยนี้ ดำรัสบอก พวกโหรก็ไม่มีใครลงเนื้อเห็นด้วย

สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์เคยตรัสเล่าว่า แม้พระองค์ท่านเองก็ไม่ทรงเชื่อว่าจะเห็นหมดดวง แต่เกรงพระทัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ต้องยอมจะไปทอดพระเนตรด้วย
ที่เสด็จลงไปทอดพระเนตรที่ตำบลหว้ากอ ในแขวงประจวบคีรีขันธ์ เพราะปรากฏในทางคำนวณว่าจะเห็นได้หมดดวงที่ตรงนั้น ถ้าดูอยู่ในกรุงเทพฯ นี้หาเห็นหมดดวงไม่

เล่ากันว่าในวันมีสุริยุปราคา โหรที่ลงไปตามเสด็จก็ยังไม่เชื่อว่าจะเห็นหมดดวง พอเงากินปิดขอบพระอาทิตย์หมดดวง พระยาโหราธิบดีเถื่อนเวลานั้น ยังเป็นหลวงโลกทีป ร้อง "ผลุ๊บ" เต็มเสียงหน้าที่นั่งด้วยความยินดี สิ้นกลัวเพราะความเลื่อมใสในวิชาที่ได้ร่ำเรียน"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 251  เมื่อ 30 ก.ย. 12, 09:47

คิดว่ากระทู้นี้จบแล้ว    เอาเข้าจริงไปเจอเกร็ดเกี่ยวกับอาลาบาศเตอร์อีกนิดหน่อย   จึงขอนำมารวมกันไว้ในกระทู้นี้เสียเลยค่ะ

ในพระราชกิจรายวันในรัชกาลที่ ๕    ประจำวันพฤหัสบดีขึ้น ๑๕ ค่ำ  เดือน ๕  จ.ศ. ๑๒๓๘  (พ.ศ. ๒๔๑๙)  ทรงบันทึกว่า
" มิสเตอร์อาลาบาศเตอร์จดหมายมาขอยืมเงิน ๕๐๐ ชั่ง"
จากนั้น มีบันทึกว่า
" ได้เรียกมิสเตอร์อาลาบาศเตอร์มาพูดด้วยเรื่องจะกู้เงิน ๕๐๐ ชั่ง"
และมีบันทึกหลังจากนั้นว่า
" อาลาบาศเตอร์จดหมายขอบใจที่ได้รับเงิน"

พ.ศ. 2419  อาลาบาศเตอร์เข้ามาอยู่ในกรุงเทพเป็นครั้งที่ 2   ได้ 3 ปีแล้ว   ก็คือทำงานราชการถวายมาระยะหนึ่งนานพอสมควร    ต้องการเงินจำนวนมากมายนี้ไปทำอะไรก็ยังหาข้อมูลไม่พบ   เงิน 500 ชั่งหรือสี่หมื่นบาทในสมัยต้นรัชกาลที่ 5  เป็นเงินมากมายมหาศาล เกินกว่าจะคิดได้ว่าแกขอยืมเพื่อไปสร้างบ้านอยู่กับลูกเมีย     
คำว่า "ขอยืม" แสดงว่ามีเงื่อนไขว่าจะใช้เงินคืน   ไม่ใช่การขอพระราชทานเฉย ๆ  จึงสันนิษฐานว่าอาลาบาศเตอร์ขอยืมไปเพื่อลงทุนทำอะไรสักอย่าง ที่คิดว่ามีกำไรดีพอจะถวายเงินคืนได้     แต่อาจจะไม่ได้ผลกลับมา จึงไม่มีบันทึกไว้ในประวัติตอนถึงแก่กรรม ว่าเป็นเจ้าของกิจการอะไรในสยาม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 252  เมื่อ 30 ก.ย. 12, 09:59

อย่างไรก็ตาม   การทำงานของอาลาบาศเตอร์คงเป็นที่พอพระราชหฤทัย   จึงทรงพระกรุณามาก  นอกจากพระราชทานเงิน ๕๐๐ ชั่งแล้ว   ก็ยังพระราชทานล็อกเก็ตมีพระปรมาภิไธยย่อ จ.ป.ร. ให้คุณนายแหม่มของอาลาบาศเตอร์ด้วย

งานราชการที่อาลาบาศเตอร์ทำถวายคงจะทำให้เขาเป็นที่รู้จักมักคุ้นของชาวสยามกันมาก   ยิ่งเป็นฝรั่งอังกฤษที่พูดไทยคล่องแคล่วก็คงทำให้สื่อสารสนิทสนมกันได้ง่าย    จึงปรากฏในจดหมายเหตุสยามสมัยว่า งานศพของอาลาบาศเตอร์มีคนไปร่วมแสดงความอาลัยกันแน่นป่าช้าทีเดียว

ครั้นพอรู้ข่าวว่าท่านถึงแก่อนิจกรรมแล้ว     คนทั้งปวงพร้อมกันช่วยการศพ   ในหลวงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯจัดประทานให้มีวอ  และให้พวกเจ้า พวกขุนนาง พวกทหาร พวกแตรหลวงไปช่วยการแห่ศพ ให้เป็นที่แสดงใจรัก    และใจนับถือคนอันได้รับอาสาทำราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตหลายปีนักหนา     คนที่ชอบที่รักที่นับถือมิสเตอร์อาลาบาศเตอร์พากันเอาดอกไม้มาลาเป็นอันมากมาทิ้งในหลุมที่จะฝังศพนั้น     ชาวสยามบางคนจุดธูปเทียนบูชาครู    ครั้นครูดินได้สวดถวายนมัสการแก่พระเจ้าอันถาวรสมควรแก่การศพ     คนที่ออกแน่นป่าช้านั้นต่างคนต่างกลับไปบ้าน    เห็นคนสยามตั้งเครื่องดอกไม้ที่จะมีการจุดดอกไม้ในค่ำวันนั้น   เป็นการคำนับผู้ที่ถึงแก่อนิจกรรมแล้ว
บันทึกการเข้า
นอแรด
มัจฉานุ
**
ตอบ: 99


ความคิดเห็นที่ 253  เมื่อ 30 ก.ย. 12, 12:42


ขอบคุณจขกท. ที่นำประวัติของท่านอาลาบาศเตอร์มาเล่าสู่กันฟัง ทำให้รู้ความจริงเกี่ยวกับเรื่องสุริยุปราคา สมัย 1868 ว่ามีที่มาที่ไปอย่าไร
และขอบคุณ คุณเพ็ญชมพู ที่ให้ link http://www.alabaster.org.uk/chron18.htm#eclipse  รายงานของท่านอาลาบาสเตอร์ในฐานะ Acting Consul ( ในช่วงนั้นที่ยังทำงานให้ประเทศอังกฤษ  )  ฉบับภาษาอังกฤษนี้อ่านแล้วชัดเจนมาก

ตรงที่... The Prime Minister is said to have rushed into his house and called to his wives "Now will you believe in what foreigners tell you?..

และที่..The King gave a full and clear account of the causes of the Eclipse, shewing how thoroughly he had read up the subject.

และที่....the French Frelon having preceded her to Saigon with the news of the great success.




แต่ก็ยังมีที่สงสัยนึดนึง ตรงชาวฝรั่งเศส บ่นเรื่อง "The jealous Siamese" ว่่า อิจฉาอะไรกัน

แต่เมื่อจขกท.โพสต์รูปกล้องดูดาวของนักดาราศาสตร์แล้วจึงถึงบางอ้อ





บันทึกการเข้า
นอแรด
มัจฉานุ
**
ตอบ: 99


ความคิดเห็นที่ 254  เมื่อ 30 ก.ย. 12, 12:55


จากรูปกล้องของนักดูดาวชาวฝรั่งเศส นั้นทันสมัยมาก ตั้งอยู่บน German Equartorial Mount ที่สามารถตามการเคลื่อนที่ของดาวได้
และรูปนี้น่าจะเป็นรูปถ่าย negative คือกลับซ้ายเป็นขวา เนื่องจากตัว mount นั้นปกติจะชี้ไปทางทิศเหนือ ( ตามตำแหน่งที่ตั้งกล้อง  )
แต่จากภาพนี้ หัวของ mount ชี้ไปทางทิศตะวันตก

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 15 16 [17] 18 19
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.054 วินาที กับ 20 คำสั่ง