เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 19
  พิมพ์  
อ่าน: 63693 เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 165  เมื่อ 16 ก.ย. 12, 21:19

อ้างถึง
อ้อ  เสริมท้ายอีกนิดว่า  ฝรั่งที่รับราชการสยามสมัยรัชกาลที่ ๕ นั้น  เป็นแต่รับราชการตามกรมหรือราชการส่วนพระองค์
ที่จะรับราชการอย่างออกหน้านั้น  ถึงขั้นเสนาบดีใหญ่  ก็มีแต่โรลังค์ ยัคมินส์  เป็นคนแรก  ส่วนเดอริชลิวและน้องชายนั้น
สองคนนี้มารับช่วงต่อจากกัปตันบุชเรื่องกิจการเรือกลไฟและทหารเรือ ถ้าจะนับเป็นเสนาบดีก็คงได้  แต่เป็นช่วงหลัง
ช่วงต้นรัชกาล  สยามยังคงระมัดระวังการตั้งฝรั่งเป็นข้าราชการ  เพราะสถานการณ์บ้านเมืองล่อแหลมมาก

ผมเข้าใจว่า หลังวิกฤตการณ์ร.ศ.๑๑๒กับฝรั่งเศส พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงเลิกวางใจที่จะใช้ชาวต่างชาติมาเป็นทหารเพื่อสู้รบรักษาอธิปไตยของสยาม จึงทรงส่งพระราชโอรสไปเรียนวิชาทหารในยุโรปหลายพระองค์เพื่อกลับมาทำหน้าที่ป้องกันรักษาชาติ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 166  เมื่อ 16 ก.ย. 12, 21:21

อ้างถึง
ผมได้รับอาราธนาจากสหายให้มาลงกระทู้นี้เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา 
ทั้งที่ผมเองก็มีภารกิจที่ต้องทำหลายอย่าง  ไม่ค่อยมีเวลาค้นหนังสือเอกสารหรือเล่นเน็ตนานๆ
และคงจะเป็นอย่างนี้ ไปอีกหลายเพลา  แต่ก็ได้เข้ามาอ่านกระทู้ในเรือนไทยเสมอ
กระทู้นี้ก็ได้ติดตามอ่านดูอยู่  เป็นกระทู้ที่น่าสนใจและเคลื่อนไหวเร็วมาก   จนบางทีตามอ่านไม่ทัน
และไม่ค่อยถนัดแล่นเรือออกโต้คลื่นลมในเขตทะเลหลวงเสียด้วย
อันที่จริง ไม่ใช่คนที่รู้เรื่องนายอาลบาสเตอร์ลึกซึ้งอะไรนัก  มีก็ข้อมูลเกร็ดเล็กๆ
อาศัยว่า  เดี๋ยวนี้ในเน็ตมีหนังสือเก่าให้โหลดอ่านมากมาย   ข้อมูลเก่าๆ ย้อนไปร้อยๆ ปี ก็มีให้อ่าน
ก็ได้เซฟเก็บไว้บ้าง   เสียดายว่า  หลายคนยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้น

วันก่อนอ่านบทความในหนังสือพิมพ์ เล่าว่า  ที่อังกฤษได้สำรวจสถิติการอ่านหนังสือของเด็กๆ
เห้นแล้วก้ตกใจว่า   เด็กอังกฤษอ่านหนังสือน้อยลง ไม่ว่านิตยสาร การ์ตูน หรือหนังสือพิมพ์
และมีแนวโน้มลดลงไปเรื่อยๆ  แม้แต่การอ่านในคอมพ์ ไอแพด ไอโฟน แทบเล็ต ก็น้อยมาก
เด็กไปให้ความสนใจอ่านข้อความสั้นในเฟซบุค หรือคอมเมนต์ในยุทิวป์มากกว่า
นี่ขนาดเด็กในยุโรปที่มีวัฒนธรรมการอ่านสูงยังเจออย่างนี้   บ้านเราล่ะ  จะมีเด็กสักกี่คนที่อ่านหนังสือจากจอต่างๆ

สุดท้ายนี้  ผมได้รับทำตามที่ได้รับอาราธนาจากสหายแล้ว  เห็นควรกลับไปปลีกวิเวกทำงานการของตนต่อ
คำถามอะไรที่มีต่อข้อความของผมนั้น  ถ้าผมว่าง  อาจจะกลับมาตอบให้  เข้าใจว่า  อาจจะต้องรอไปจนพ้นช่วงตรียัมปวายแล้ว
ใครรอได้ก็รอ  รอไม่ได้ก็กรุณาช่วยกันหาคำตอบหรือถกเถียงกันไปก่อน  ขอให้หนุกหนานกันทุกๆ ท่าน
 

อันนี้ขอผ่านก็แล้วกัน คำถามที่ผมถามใหม่จะเข้ามาตอบตอนไหน หรือไม่ตอบก็ตามสะดวก ใครมีคำตอบได้สาระก็ถือว่าเป็นคุณต่อกระทู้ที่อุทิศให้คนที่ทำความดีต่อบ้านเมืองท่านนั้น

 
ขอความกรุณาอย่าทำให้กระทู้ดราม่าไปมากกว่านี้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 167  เมื่อ 16 ก.ย. 12, 21:30

มีบทความหนึ่งที่ฝรั่งเขียนไว้ ช่วงลงท้ายผมเห็นว่าเข้ากับเรื่องที่เราถกกันอยู่พอดี จึงขอแปลมาลงไว้ให้อ่านกัน


Perhaps his greatest value to the King was his knowledge of the Colonial Powers and the designs they had on Thai territory. “He came to Thailand to turn her into a colony of the British, but he stayed in Thailand to help prevent her becoming a British colony,” said his grandson. This point did not go unnoticed by the British Foreign Office; “a good for nothing fellow who was dismissed,” they wrote. King Chulalongkorn thought rather differently and asked him to draft royal letters to Western heads of state; he was given the rank of Phya First Class, almost the highest rank ever attained by a foreigner in Thai service. When he died he was buried in the Protestant Cemetery and his grave is marked by the most imposing memorial of them all. It was given by the King himself.

บางทีคุณค่ายิ่งของเขาที่มีต่อพระเจ้าอยู่หัวคือความรู้ในเรื่องอำนาจจักรวรรดิ์นิยมและแผนการณ์ที่พวกนั้นวาดไว้บนดินแดนไทย “ ท่านมาเมืองไทยเพื่อหาทางเปลี่ยนให้เป็นเครือจักรภพ แต่ท่านกลับอยู่เพื่อป้องกันไม่ให้ไทยกลายเป็นประเทศในอาณานิคมของอังกฤษ” หลานปู่ของท่านกล่าว ประเด็นนี้มิใช่กระทรวงต่างประเทศอังกฤษจะไม่ตั้งข้อสังเกตุ “เจ้าคนไร้ค่าที่ถูกให้ออกนั่น” พวกเขาเขียนถึงท่านไว้อย่างนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงคิดต่างกันโดยทรงใช้ท่านให้เป็นผู้ร่างพระราชสาส์นถึงบรรดาประมุขของประเทศต่างๆ ท่านได้รับพระราชทานตำแหน่งพระยาพานทอง ซึ่งเกือบจะเป็นลำดับสูงสุดที่ชาวต่างชาติเข้ามาทำราชการจะได้รับ เมื่อท่านถึงแก่กรรมลงนั้น ร่างของท่านได้ถูกฝังยังสุสานของชาวโปรแตสแสตนท์  และที่ฝังศพของท่านได้ชื่อว่าเด่นเป็นสง่าที่สุดในบรรดาอนุสรณ์สถานทั้งหลาย พระราชทานโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 168  เมื่อ 16 ก.ย. 12, 23:50

ท่านอาจารย์นวรัตนอย่าเพิ่งลาหนีไปไหนนะครับ แหม่ ผิดพลาดนิดหน่อยแค่นี้ ห้ามน้อยใจครับ  ถ้าไม่อยากผิดพลาดคือนอนตีพุงปุๆ เฉยๆ ไม่ได้ทำอะไร แบบนั้นไม่ให้ประโยชน์กับนักเรียนขี้เกียจๆ แบบผม  รางวัลบ้านพร้อมที่ดินที่ผมตอบปัญหาถูกเมื่อครั้งกระโน้นผมยังไม่ได้ไปรับเลย เกิดอ่านอาจารย์หายไปผมจะไปรับที่ไหนหละนี่


ประวัติศาสตร์แบบห้องเรือนไทยนี่สนุกดีออกครับ ถกกันไปมา  เรื่องประวัติศาสตร์ยกเว้นของกระทรวงที่ให้นักเรียนเรียนกันมันไม่ใช่ของสำเร็จรูป  คงยากที่ใครจะมีข้อมูลครบถ้วนแม่นยำ หรือไม่มีอะไรต้องอนุมานตีความเอา แถมมุมมองการให้น้ำหนักข้อมูลของแต่ละท่านก็แตกต่างกัน ดังนั้นโอกาสที่จะนำเสนอข้อมูลที่คลาดเคลื่อนเป็นเรื่องธรรมดา  เมื่อมีข้อมูลใหม่ที่แม่นยำกว่าก็รับมาแก้ไขต่อไป  ถ้าทุกอย่างมันเป๊ะแล้วคงไม่ใช่ประวัติศาสตร์ที่แท้จริงแล้ว  การได้เห็นการถกเถียงหรือยกข้อมูลมาคัดค้านกัน เป็นประโยชน์แก่คนอ่านอย่างมหาศาลในการพัฒนาการรับรู้  การใช้เหตุผลและกลั่นกรองข้อมูล ทำให้เข้าใจโลกได้ดียิ่งขึ้น  นักเรียนแอบอ่านก็มีเยอะแยะนะครับ  แถมการมีดราม่าบ้างก็เป็นสีสันอย่างหนึ่งของอินเตอร์เนตครับ   ห้ามไม่ได้  ดังนั้นน้อยอกน้อยใจได้แต่อย่านานเด็ดขาดครับ


ในฐานะคนเจ้าชู้ชอบเรื่องรักๆ ใคร่ๆ มากหน่อย  เรื่องประวัติของนายอาลาบาสเตอร์นี่ ส่วนที่ผมสงสัยที่สุดไม่ใช่ทำไมท่านไม่ได้ตำแหน่งขุนนาง หรือไม่ได้เป็นกงสุล แต่สงสัยว่าท่านมีภรรยาพร้อมกันสองคนในไทยอย่างไร บริหารจัดการเรื่องในบ้านอย่างไร  เพราะแอบไปอ่านจากวิกิ เมื่อท่านสิ้นไปแล้ว ดูเหมือนบุตรคนไทยจะอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบากยากเข็ญมากทีเดียว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 ก.ย. 12, 09:00 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 169  เมื่อ 17 ก.ย. 12, 09:24


เมื่อท่านสิ้นไปแล้ว ดูเหมือนบุตรคนไทยจะอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบากยากเข็ญมากทีเดียว

ผมเองก็สงสัย เช่นเดียวกับคุณประกอบ แต่คนละประเด็น ถัดไปนิด นิ๊ด.... คือ เรื่อง เงินพระราชทาน ๒๐๐ ปอนด์ ที่พระราชทานบุตร อลาบาสเตอร์

ในพระราชหัตถเลขาของในหลวงรัชกาลที่ ๕ ที่พระราชทานให้มาดาม อลาบาสเตอร์ ลงวันที่ ๘ สิงหาคม ค.ศ. ๑๘๘๔ (วันเดียวกับที่ อลาบาสเตอร์ ถึงแก่อนิจกรรม )

"..... that I have directed a pension of £ 300 per annum be granted unto you throughout your long life as a widow of Mr. Alabaster, also the allowance of £ 200 a year be granted for the education of his two children and his funeral should be conducted with all honours of the first class Phya in my service,......."
(จดหมายฉบับนี้ คงเป็นต้นเรื่อง ที่หมอสมิธ นำเนื้อความไปลงในสยามไสมย ฉบับวันที่ ๒๗ สิงหาคม ปีเดียวกัน.........
หมอสมิธ ก็ได้ข่าวไว สมกับเป็นนักหนังสือพิมพ์จริงๆ  ยิ้ม)


้บุตรสองคน ที่ได้รับพระราชทานเงินเพื่อการศึกษา น่าจะหมายถึง บุตรคุณเพิ่ม คือ เจ้าคุณวันพฤกษ์ฯ และเจ้าคุณอิทราธิบดีฯ เพราะ คุณ ปาลาเซีย มีบุตร ๓ คน อยู่อังกฤษ


สิ่งที่หายไป คือ เราไม่ทราบว่า เหตุการณ์ ต่อจากนั้น เป็นเช่นไร.... เพราะเราทราบแต่ว่า "จะ" พระราชทานเงินให้ อีกที ก็มาทราบว่า ท่านทั้งสองลำบากต้องหาเงินเรียนหนังสือเอง เราไม่ทราบ Missing Piece จริงๆ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 170  เมื่อ 17 ก.ย. 12, 15:37

ผมหายไปค้นคว้าในเน็ทต่อว่า มีสาระอะไรเรื่องนายอาลาบาศเตอร์ที่น่าสนใจควรที่เอามาเล่าสู่กันฟังอีกบ้าง ไปเจอfootnoteเล็กๆในหนังสือ AMERICAN DIPLOMATS IN SOUTHEAST ASIA IN THE NINETEENTH CENTURY:THE CASE OF SIAM ที่นายBenjamin A. Batson ค้นคว้ามาเขียนเป็นตำรา ข้อมูลละเอียดถี่ยิบ อ่านกันตาลายกว่าจะเจอท่อนที่คัดมาให้ดูนี่ ผมแปลกำกับไว้ด้วยจะได้ไม่ต้องเสียเวลาแกะ

อยากให้ดูว่า ประโยคเล็กๆที่สังคมฝรั่งซุบซิบกันสมัยนั้น ได้ตีความสำคัญไว้ให้คนอย่างนายอาลาบาศเตอร์อย่างไร ขนาดนักการทูตของกงสุลอเมริกันถึงกับเขียนรายงานกลับไปกระทรวง และนายเบนจามินโฉบมาเขียนและอ้างอิงอีกที

Siam Despatches, November17,1897. ได้แนบบางตอนตัดจาก Siam Free Press, November15,1897.ในรายงานฉบับดังกล่าวด้วย
หนังสือพิมพ์ Siam Free Press นั้น นายแบรเรตรายงานในภายหลังว่าเป็น “ที่กล่าวกันทั่วไปว่าเป็นกระบอกเสียงของฝรั่งเศส” หลังที่ยั่วยุมาหลายปี สุดท้ายรัฐบาลสยามก็เกลี้ยกล่อมเสนาบดีอังกฤษให้ถอนความคุ้มครองตัวบรรณาธิการ(ซึ่งปรากฏว่าเป็นคนภายใต้อาณัติของเครือจักรภพ)สำเร็จ และเขาก็ถูกไล่ให้ออกนอกประเทศไป

คำว่า“ subtle native diplomats” ในบทความของสยามฟรีเพรสหมายถึงสมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์เป็นหลัก ชาวต่างประเทศส่วนใหญ่ล้วนนับถือในความสามารถของเสนาบดีการต่างประเทศพระองค์นี้  และบางคนเข้าใจ(ผิดๆ)ไปด้วยว่าพระองค์คือคนผู้ที่ทรงอำนาจปกครองสยาม เช่น เซมโพรเนียส บอยด์ เคยอธิบายว่ากรมพระยาเทวะวงศ์คือผู้ที่ “กุมอำนาจแท้จริงในพระราชอาณาจักรนี้” (Siam Despatches, 28ก.พ.,1891) และ นักเขียนเฮนรี นอร์แมน คิดว่าเมื่อเทียบกันแล้ว ระหว่างกรมพระยาเทวะวงศ์  นักการทูตจีนนายลี ฮวง ชาง ก็แค่คนป่าเถื่อนไร้การศึกษา( Siam Despatches, 13ส.ค.,1891) แต่ถ้าสมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์คือผู้ที่อยู่เบื้องหลังพระราชบัลลังก์จริง มันก็เป็นเรื่องธรรมดาๆที่จะเห็นอิทธิพลตะวันตกอันชั่วร้ายที่อยู่เบื้องหลังกรมพระยาเทวะวงศ์อีกที นายแบรเรตคิดว่านายโฮลัง-ยัคแมงส์ ชาวเบลเยี่ยมที่ปรึกษาใหญ่ของรัฐบาลสยามคือมือที่มองไม่เห็น (Siam Despatches, 25ม.ค.,1891) ในขณะที่ก่อนหน้านั้น นายฮัลเดอแมนเคยรายงานว่า ระหว่างที่กรมพระยาเทวะวงศ์ “มีผลงานของกระทรวงที่สำคัญยิ่ง” พระองค์ก็เป็นผู้ที่ถูกควบคุมโดย“คนอังกฤษหัวเปรื่อง” ที่ชื่อเฮนรี อาลาบาศเตอร์ด้วย (Siam Despatches, 10 มี.ค.,1884)

(Siam Despatches คือเอกสารรายงานที่ส่งจากสยามไปยังกระทรวงต่างประเทศสหรัฐ)

เรื่องที่ว่ากันว่าดังกล่าว จริงเท็จผมไม่ทราบ แต่เรื่องพรรณอย่างนี้ถ้าไม่มีมูล มันก็ไม่มีฝอย


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 171  เมื่อ 17 ก.ย. 12, 15:58

หนังสือพิมพ์ Straits Times วันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 1884 ลงข่าวการเสียชีวิตของเฮนรี่ อาลาบาศเตอร์


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 172  เมื่อ 17 ก.ย. 12, 15:59

2 ต่อ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 173  เมื่อ 17 ก.ย. 12, 16:01

3 ต่อ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 174  เมื่อ 17 ก.ย. 12, 16:12

ขบวนศพได้บรรจุร่างของนายเฮนรี่ลงเรือกัญญา เรือมีการตกแต่งด้วย "ช่อฟ้า" ซึ่งให้เกียรติอย่างสูงสุด เรือลากโดยเรือกลไฟ ภายในเรือมีลูกสาวนั่งคนเดียวในเรือ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 175  เมื่อ 17 ก.ย. 12, 16:23

^
เป็นรายงานข่าวที่ให้เกียรตินายอาลาบาศเตอร์มาก ขอบคุณคุณหนุ่มสยามด้วยครับที่ช่วยหามาลง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 176  เมื่อ 17 ก.ย. 12, 16:31

ที่ขีดเส้นแดงไว้ แปลว่านายอาลาบาศเตอร์มีลูกสาวโผล่มาอีกคนแล้วหรือไงนั่น ฮืม?
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 177  เมื่อ 17 ก.ย. 12, 17:36

กำลังจะถามเรื่องลูกสาวเลยทีเดียวครับ

ดูเหมือนนายอาลาบาสเตอร์จะได้รับเกียรติจากฝ่ายสยามมาก แต่เหมือนฝ่ายตะวันตกจะมองเค้าไม่ดีเท่าไหร่หรือเปล่าครับ  เพราะการกระทำหลายๆ อย่างเป็นการขัดขวางอิทธิพลของชาติตะวันตก อันนี้ผมเดาๆ เอาจากที่ท่านอาจารย์ยกข้อความมา
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 178  เมื่อ 17 ก.ย. 12, 18:11

เขาเพียงแต่บอกว่า ท่านไม่ป๊อบปูล่าทั้งระหว่างชาวยุโรปและชาวสยาม เรื่องนี้ก็เข้าใจได้ว่าคนบ้างานอย่างนั้นคงไม่ชอบสังสรรค์สโมสรกับคนหมู่มาก คนในสถานกงสุลอังกฤษคงไม่อยากคบหาด้วยอยู่แล้ว ท่านอาลาบาสเตอร์คงทำตัวขวางโลกไว้ที่นั่นพอแรง

แต่ฝรั่งเป็นคนที่เคารพกติกา(ที่ตนสร้างขึ้นมาบังคับให้คนอื่นใช้ตาม) ถ้าเราเล่นตามกติกาเขาก็หาเรื่องไม่ได้ นายอาลาบาศเตอร์มาสอนกติกาให้คนไทย การทูตบางอย่างที่นายอาลาบาศเตอร์แนะนำก็ได้ผลอย่างเหลือเชื่อเหมือนกัน ฝรั่งจึงไม่น่าจะเหม็นหน้านายอาลาบาศเตอร์ในเรื่องนี้
 
แต่อาจจะเหม็นหน้าเรื่องอื่น เช่นไปขวางผลประโยชน์ของพวกพ่อค้าเขา ทำให้ขาดทุนกำไรไปเยอะก็อาจเป็นได้ เพราะหลายงานที่อาลาบาศเตอร์จัดซื้อให้หลวงเอง และปรากฏว่าท่านก็ไม่ได้ร่ำรวยเหมือนฝรั่งที่เข้ามารับราชการต่อๆจากท่าน
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 179  เมื่อ 17 ก.ย. 12, 18:39

เห็นด้วยกับคุณ NAVARAT.C ที่ว่า ท่านก็ไม่น่าจะร่ำรวย ดูได้จาก รายการขายของเลหลัง, เงินเดือนขนาดท่าน ปีละ หลายร้อยปอนด์ น่าจะมีบ้านช่องใหญ่โต โอ่อ่า มีสมบัติมากมาย ไหง อ่านแล้ว ให้ความรู้่สึกว่า มักน้อย ทำแต่งานขนาดนี้

เรื่องไม่ป๊อปปูล่า ในคนไทยนั้น ก็น่าจะมีเค้าความจริงบ้าง มีเรื่องเล่าว่า ท่านได้พบต้นไม้ชนิดใหม่ ท่านก็เที่ยวไปถามใครต่อใคร ว่า ชาวสยามเรียกว่าอะไร ? ถามใครๆ ก็ไม่ได้คำตอบ (ทั้งๆ ที่บางชนิด เป็นที่นิยมจะตาย) ท่านโมโห จึงตั้งชื่อเรียกเองซ่ะ ก็มี ......

แต่มีฝรั่งอยู่อีกคนหนึ่ง ที่ น่าจะเข้ากับ อลาบาสเตอร์ ได้ดี เพราะ ท่านชวนกันเข้ามาทำงาน ในสยามจาก สวนพฤกษศาสตร์ สิงค์โปร์  รับผิดชอบจัดสวนสราญรมย์แทนตัวท่าน คือ James Murton  

ตา Murton ตายก่อน อลาบาสเตอร์ ปีเดียว ข่าวตาย เขาลงว่า ตายเพราะ candle burns at both ends ผมแปลได้ว่า ทำงานหนักจนตาย ...... (ท่านใดแปลได้อย่างถูกต้องโปรดชี้แนะ) นาย Murton ไม่ธรรมดา ตอนมาทำงานที่สิงค์โปร์ ถือหนังสือรับรองจาก Sir. John Lindley บิดาแห่งอนุกรมวิธานกล้วยไม้ เป็นใบเบิกทางเข้ามา
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 19
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 20 คำสั่ง