เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 19
  พิมพ์  
อ่าน: 63703 เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 16:13

ประมาณกลางปี พ.ศ.๒๔๒๓ จมื่นเสมอใจราช(หม่อมราชวงศ์เทวหนึ่ง ศิริวงศ์)  ข้าราชสำนักคนหนึ่งได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ขอให้ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งการไปรษณีย์ขึ้น ทรงเห็นด้วยแต่เนื่องจากเป็นงานใหญ่ หากพลาดพลั้งไปจะเสียหายได้ จึงโปรดฯให้จมื่นเสมอใจราชเดินทางไปศึกษาดูงานการไปรษณีย์ที่ประเทศจีนและประเทศญี่ปุ่นก่อน และทรงมีพระราชดำริว่า สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีฯ ทรงสนพระทัยและทรงเข้าใจเรื่องการไปรษณีย์ตั้งแต่เมื่อครั้งทรงออกหนังสือข่าวราชการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีฯทรงเป็นผู้นำในการจัดตั้งการไปรษณีย์ขึ้นในสยาม โดยร่วมมือกับจมื่นเสมอใจราชและนายเฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ตั้งสำนักงานอยู่ที่ตึกซึ่งเดิมเป็นบ้านของพระปรีชากลการที่ริบราชบาทว์มา ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองโอ่งอ่าง เรียกว่า“ไปรสะนียาคาร”


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 16:20

นายอาลาบาศเตอร์ ได้รับผิดชอบจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น เครื่องชั่งน้ำหนักและตู้ไปรษณีย์ พิมพ์ตราไปรษณียากร และจัดระเบียบข้อบังคับไปรษณีย์ จมื่นเสมอใจราชได้ทดลองเปิดกิจการไปรษณีย์ขึ้นในบางท้องที่ของจังหวัดพระนครก่อน ด้วยการจัดให้บ้านเรือนมีเลขที่บ้าน เพื่อที่จะได้นำส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ได้อย่างถูกต้อง แล้วจึงจะค่อยๆขยายออกไปยังหัวเมือง เมื่อเข้าที่เข้าทางแล้ว สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีฯจึงทรงมีหนังสือกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า เห็นควรที่จะประกาศเปิดการไปรษณีย์ขึ้นในกรุงเทพได้ในวันที่๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๒๖ และขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้มีกฎหมายแผ่นดินสำหรับการไปรษณีย์ขึ้นไว้เป็นหลักฐานตามร่างที่นายอาลาบาศเตอร์เสนอ หลังจากทรงมีพระราชวินิจฉัยแล้วจึงได้ประกาศให้ใช้บังคับได้ นับว่าเป็นกฎหมายไปรษณีย์ฉบับแรกของสยาม

ก่อนหน้านั้นนิดเดียว สถานกงสุลอังกฤษได้มีหนังสือถึงรัฐบาลสยามลงวันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๒๖ อ้างว่าข้าหลวงใหญ่ที่สิงคโปร์ให้สอบถามเรื่องจะขอจัดตั้งไปรษณีย์สาขาของอังกฤษขึ้นที่กรุงเทพอย่างเป็นทางการ รวมทั้งขอมีอำนาจสิทธิขาด ในการพิมพ์จำหน่ายตราไปรษณียากร และรับฝากจดหมายติดต่อกับต่างประเทศทั้งหมด แต่กระทรวงต่างประเทศสยามได้ตอบกงสุลอังกฤษไปว่าไม่อนุญาต เพราะรัฐบาลกำลังจะเปิดการไปรษณีย์ขึ้น และได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพสากลไปรษณีย์ไปแล้วเมื่อวันที่๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๒๘ ทำให้กิจการไปรษณีย์ของสถานกงสุลอังกฤษซึ่งดำเนินการมากว่า๓๐ปี เป็นอันยุติลง

ฝรั่งตรงกลางน่าจะเป็นนายอาลาบาศเตอร์ ที่ยืนอยู่ท่ามกลางข้าราชการการไปรณีย์


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 16:22

การเปิดบริการไปรษณีย์ในเขตกรุงเทพฯ ครั้งนี้ ปรากฎว่า เมื่อดำเนินการมาได้เดือนเศษ ปรากฎว่ามีผู้ใช้บริการมาก ได้ยังความชื่นชม สมพระราชหฤทัยเป็นที่ยิ่ง ดังจะเห็นได้จากกระแสพระราชดำรัส ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษา เมื่อวันที่๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๔๒๖ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท มีความตอนหนึ่งว่า

"การไปรษณีย์ซึ่งได้เปิดใช้โดยส่งหนังสือในแขวงจังหวัดกรุงเทพนั้น ก็เป็นที่แปลกใจของเราที่ไม่คิดว่าคนไทยจะใช้หนังสือกันถึงเพียงนี้ ทำให้เรามีความประสงค์ที่จะจัดการให้ได้ส่งหนังสือไปมาให้ได้ตลอดพระราชอาณาจักรสยามได้โดยเร็ว จะเป็นประโยชน์ในการค้าขายแลทางราชการมาก แล้วภายหลังเราหวังใจว่าคงจะทำตามคำเชิญของท่านผู้จัดการไปรษณีย์ใหญ่ในกรุงเยอรมนี ให้กรุงสยามเข้าจัดการส่งหนังสือไปมาได้ทั่วโลก คือเข้าในหมู่พวกการไปรษณีย์อันรวมกัน"



บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 16:22


ถ้าคุณหมอCVTเข้ามาอ่านแล้ว จะกรุณาสันนิฐานหน่อยว่าท่านเสียชีวิตเพราะโรคอะไรก็จะเป็นพระคุณยิ่งนะครับ


ระหว่างรอคุณหมอ ผมมีเอกสารชิ้นหนึ่งระบุว่า นายเฮนรี่นั้นเสียชีตด้วย "เส้นเลือดสมองแตก" หรือ Stoke ทำให้เกิดอัมพาต

ขออภัยครับ คำที่ถูกต้องคือ Stroke ครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 16:23

ก่อนจะมีกิจการไปรษณีย์ในประเทศไทยนั้นการติดต่อสื่อสารของคนไทยในสมัยโบราณ ก็ใช้วิธีการสื่อสารในระบบม้าเร็ว หรือใช้คนเดินข่าวด้วยเท้าและพาหนะสุดแต่จะสะดวก

ต่อมากงสุลอังกฤษได้นำเอาระบบการสื่อสารทางไปรษณีย์มาใช้ติดต่อระหว่างกรุงเทพกับสิงคโปร์ ตั้งแต่ปลายรัชสมัยแผ่นดินรัชกาลที่๔ โดยเปิดรับบรรดาจดหมายที่ต้องการส่งไปมากับประเทศต่างๆขึ้น ใช้สถานที่ตึกยามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาหลังที่ทำการกงสุล



เอาภาพนำมาหยอดให้ชมครับ  ยิงฟันยิ้ม  เป็นภาพตึกยามที่เปลี่ยนเป็นที่ทำการไปรษณีย์กงสุลอังกฤษ ที่ทำการรับฝากจดหมายไปยังสิงคโปร์และฮ่องกง ในส่วนบทบาทของนายเฮนรี่ ในด้านกิจการไปรษณีย์มีจดหมายลงนามโดยท่านเมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๔๐๗ ให้จัดการแก้ไขปัญหาการหายของจดหมาย ด้วยการนำกุญแจมาล๊อคไว้ ๒ ดอก เก็บไว้ที่เลขาการ และเจ้าของถุงไปรษณีย์ และจดหมายต่าง ๆ ไม่ต้องนำส่งให้เจ้าหน้าที่กงสุลอีกต่อไป ให้ทำการมาส่งที่ตึกยามได้ทันที


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 16:28

ก่อนจะมีกิจการไปรษณีย์ในประเทศไทยนั้นการติดต่อสื่อสารของคนไทยในสมัยโบราณ ก็ใช้วิธีการสื่อสารในระบบม้าเร็ว หรือใช้คนเดินข่าวด้วยเท้าและพาหนะสุดแต่จะสะดวก

เปิดขายดวงตราไปรษณียากรของมลายูและอินเดีย ที่มาพิมพ์อักษร "B" แทนคำว่าBangkokทับลงไป ให้ผู้ต้องการไปติดจดหมายที่จะส่งไปต่างประเทศ แล้วส่งไปรณีย์เหล่านั้นไปประทับตราวันที่ที่สิงคโปร์ โดยฝากไปกับเรือค้าขายภายใต้ร่มธงอังกฤษ ก่อนจัดส่งไปประเทศต่างๆผ่านเส้นทางคมนาคมของอังกฤษต่อไป




เราเรียกว่า แสตมป์ Straits Settlement นำมาใช้ในสยาม ก่อนที่จะสยามจะดำเนินการพิมพ์ตราไปรษณียการถึง ๓๐ ปี พิมพ์ประทับตัว B คือ Bangkok จึงนำมาให้ชมครับ มี ๓ รุ่น ต่างกันที่ลายน้ำ รุ่นแรกลายน้ำหัวช้าง รุ่นสองลายน้ำ มงกุฎ อักษร CC และรุ่นสาม ลายน้ำมงกุฎ อักษร CA


บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 16:31

ประมาณกลางปี พ.ศ.๒๔๒๓ จมื่นเสมอใจราช(หม่อมราชวงศ์เทวหนึ่ง ศิริวงศ์)  ข้าราชสำนักคนหนึ่งได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ขอให้ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งการไปรษณีย์ขึ้น ทรงเห็นด้วยแต่เนื่องจากเป็นงานใหญ่ หากพลาดพลั้งไปจะเสียหายได้ จึงโปรดฯให้จมื่นเสมอใจราชเดินทางไปศึกษาดูงานการไปรษณีย์ที่ประเทศจีนและประเทศญี่ปุ่นก่อน และทรงมีพระราชดำริว่า สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีฯ ทรงสนพระทัยและทรงเข้าใจเรื่องการไปรษณีย์ตั้งแต่เมื่อครั้งทรงออกหนังสือข่าวราชการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีฯทรงเป็นผู้นำในการจัดตั้งการไปรษณีย์ขึ้นในสยาม โดยร่วมมือกับจมื่นเสมอใจราชและนายเฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ตั้งสำนักงานอยู่ที่ตึกซึ่งเดิมเป็นบ้านของพระปรีชากลการที่ริบราชบาทว์มา ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองโอ่งอ่าง เรียกว่า“ไปรสะนียาคาร”
คุณครู Navarat.C ครับ "ริบราชบาทว์" แปลว่าอะไรครับ?
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 16:40

ที่ยุโรปตอนนั้น พระองค์เจ้าปฤศฎางค์อัครราชทูตสยามประจำกรุงลอนดอนได้ถูกสั่งให้ไปติดตามล๊อบบี้ให้สำนักงานใหญ่สหภาพไปรษณีย์สากลที่กรุงเบอร์ลินรีบรับรองใบสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสยามโดยเร็วที่สุด เพราะเกรงว่ารัฐบาลอังกฤษเมื่อถูกปฏิเสธไปแล้วจะไม่ยอม และอ้างสิทธิในฐานะที่ทำการรับส่งไปรษณีย์ในสยามมาก่อนร่วม๓๐ปี เรียกร้องอะไรมาอีก

เมื่อสหภาพไปรษณีย์สากลตอบรับให้เป็นสมาชิกแล้ว จึงเป็นอันจบ  สยามจึงมีดวงตราไปรษณียากรที่มีชื่อประเทศของตนปรากฏอย่างเต็มภาคภูมิ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 16:48

อ้างถึง
คุณครู Navarat.C ครับ "ริบราชบาทว์" แปลว่าอะไรครับ?

คุณครูใจหายวาบหวิดStrokeรับประทาน นึกว่าเขียนอะไรผิดปล่อยไก่ขายหน้าอีกแหล๋ว

เข้าทรงเจ้าพ่อกู๋ปั๊บ เจ้าพ่อบอกตามนี้ จดไว้นะคร๊าบ
ริบราชบาทว์ แปลว่า เอาเป็นของหลวงตามกฎหมาย เพราะเจ้าของต้องโทษแผ่นดิน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 16:52

ใครจะพาเข้าซอยพระปรีชากลการ ขออดใจรอให้ปลงศพนายอาลาบาศเตอร์เรียบร้อยก่อนนะครับ เพราะเรื่องนั้นก็ยาวทีเดียว เปิดกระทู้ใหม่ได้เลย
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 17:12

ขอบคุณคุณครูเนาวรัตน์มากครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 18:02

เรื่องโทรเลข คู่กับการไปรษณีย์ และโทรศัพท์อีกต่างหาก ดูท่านจะรอบรู้ไปเสียทั้งหมด



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 18:24

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯให้สร้างพระที่นั่งองค์หนึ่งขึ้นในพระบรมมหาราชวังและพระราชทานนามว่า “ประพาสพิพิธภัณฑ์” เพื่อใช้เป็นที่จัดตั้งแสดงศิลปะโบราณวัตถุที่ทรงรวบรวมไว้ แต่มิได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม โดยเรียกพิพิธภัณฑสถานในครั้งนั้นทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “Museum”

ครั้นถึงรัชสมัยต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้โปรดฯให้จัดตั้งมิวเซียมหลวงขึ้นที่หอคองคอเดีย ซึ่งอยู่ภายในพระบรมมหาราชวังชั้นนอก ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นศาลาสหทัยสมาคม เพื่อจัดแสดงสิ่งของต่างๆเหล่านั้น โดยพระยาภาสกรวงษ์(พร บุนนาค)เป็นหัวหน้าฝ่ายไทย และนายเฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ เป็นผู้อำนวยการจัดการแสดงให้พิพิธภัณฑสถานหอคองคอเดียมีภาพลักษณ์เป็นแบบสากล

และนายอาลาบาศเตอร์จึงจัดแสดงในหอคองคอเดีย แบ่งเป็น ๓ กลุ่มคือ
     ๑. ศิลปะโบราณวัตถุของไทย
     ๒. ศิลปะโบราณวัตถุส่วนพระมหากษัตริย์ 
     ๓. ศิลปะโบราณวัตถุจากต่างประเทศ

ทั้งหมดนั้นนายอาลาบาศเตอร์เป็นผู้ริเริ่มจัดทำแค็ตตาล็อกบัญชีภาษาอังกฤษและภาษาไทย และให้สิบเอกทัด ศิริสัมพันธ์ แห่งกรมทหารช่างมหาดเล็กรักษาพระองค์ (ต่อมาได้เป็น พลโทพระยาสโมสรสรรพการ)เป็นภัณฑารักษ์คนแรกของมิวเซียมคองคอเดีย

เมื่อแล้วเสร็จ ได้เปิดให้ประชาชนเข้าชมเป็นครั้งแรกเนื่องในการเฉลิมพระชนมายุครบ ๒๑ พรรษา โดยมีกระทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๔๑๗ ดังนั้นวันที่๑๙กันยายนของทุกปีจึงเป็น “วันพิพิธภัณฑ์ไทย”ตามมติครม.ในรัชสมัยรัชกาลที่๙

เมื่อเลิกวังหน้าแล้ว จึงโปรดฯได้ย้ายมิวเซียมหลวงจากพระบรมมหาราชวังไปจัดตั้ง ณ พระราชวังบวรสถานมงคลเมื่อปีพ.ศ. ๒๔๓๐ ซึ่งต่อมาเรียกว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ได้โปรดให้ยกฐานะพิพิธภัณฑ์ขึ้นเป็นกรมพิพิธภัณฑสถาน ขึ้นกับกระทรวงธรรมการ และมีพระองค์เจ้าไชยานุชิต กรมหมื่นพงศาดิศรมหิป เป็นเจ้ากรมคนแรก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 18:37



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 18:43




บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 19
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.473 วินาที กับ 20 คำสั่ง