เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 19
  พิมพ์  
อ่าน: 63691 เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 10:04


นายเฮนรี อาลาบาศเตอร์เกิดเมื่อวันที่๒๒ พฤษภาคม ๑๘๓๖ (พ.ศ.๒๓๗๙) ที่ Hastings, East Sussex


เอารูปและแผนที่เมืองเฮสติ้งส์มาให้ดูค่ะ  อย่างที่เป็นอยู่สมัยนายอาลาบาศเตอร์ยังใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น  เป็นเมืองชายทะเลลงไปทางตอนใต้ของลอนดอน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 10:05


ถ้าคุณหมอCVTเข้ามาอ่านแล้ว จะกรุณาสันนิฐานหน่อยว่าท่านเสียชีวิตเพราะโรคอะไรก็จะเป็นพระคุณยิ่งนะครับ


ระหว่างรอคุณหมอ ผมมีเอกสารชิ้นหนึ่งระบุว่า นายเฮนรี่นั้นเสียชีตด้วย "เส้นเลือดสมองแตก" หรือ Stoke ทำให้เกิดอัมพาต


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 10:27

โอ้..น่าจะเป็นคนที่คร่ำเคร่งกับงานมากจนสมองไม่มีเวลาจะพักจะผ่อน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 10:38

ผลงานชิ้นหนึ่งที่ นายเฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ได้ฝากความงามให้กับแผ่นดินสมัยรัชกาลที่ ๕ คือ ท่านได้รับให้ทำหน้าที่หาพันธุ์ต้นไม้ต่าง ๆ มาประดับจัดเป็นสวนสราญรมย์ ได้อย่างงดงาม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 10:54

^
ขอบคุณครับ ไม่เคยเห็นรูปนี้เลย

คราวที่เสด็จเยือนชวา มลายูและอินเดีย ก่อนพระบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงสนพระทัยเมืองที่ฝรั่งออกแบบทำไว้หลายอย่าง อย่างหนึ่งก็คือสวนพฤกษศาสตร์ ดังนั้นในฐานะราชเลขาธิการส่วนพระองค์ และเป็นผู้สนใจ มีความรู้ด้านต้นไม้ (ดังบันทึกแปลจากภาษาอังกฤษที่คุณเพ็ญเอามาลงไว้ในกระทู้นี้) นายอาลาบาศเตอร์ จึงได้กราบบังคมทูลถวายคำแนะนำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างสวนพฤกษศาสตร์ขึ้นที่บริเวณวังสราญรมย์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงสร้างไว้ตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๔๐๙ เพื่อเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ และศึกษาพรรณไม้และพันธุ์สัตว์ตามแบบอย่างยุโรป โดยนายอาลาบาศเตอร์เองเป็นผู้ออกแบบและดูแลการก่อสร้างสวนด้วยตนเองเมื่อพ.ศ.๒๔๑๗ และยังเป็นผู้สั่งกล้วยไม้รวมทั้งคัทลียามาแสดงในสวนอีกด้วย

ตัวนายอาลาบาศเตอร์เองก็สร้างรังกล้วยไม้ไว้ที่บ้าน และได้ชื่อว่าเป็นผู้เริ่มต้นการเลี้ยงกล้วยไม้เป็นคนแรกๆของสยามอีกด้วย
ลูกชายของท่านก็เป็นผู้ที่ได้ถ่ายทอดนิสัยรักต้นไม้นี้มาจากพ่ออย่างเป็นเรื่องเป็นราวทีเดียว


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 11:02

คำว่าอังกฤษ คนอังกฤษเองสมัยโน้นเขียนเองว่า อังคริษ นะพระคุณท่าน ลอนดอน ท่านเขียนว่า ลันดัน ตามสำเนียงแท้ๆเลย

นายเฮนรี อาลาบาศเตอร์เกิดเมื่อวันที่๒๒ พฤษภาคม ๑๘๓๖ (พ.ศ.๒๓๗๙) ที่ Hastings, East Sussex เข้ามาประเทศไทยเป็นครั้งแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อพ.ศ. ๒๓๙๙ อายุยังไม่เต็ม๒๑ดี อยู่ในฐานะนักศึกษาเข้ามาเรียนภาษาไทยเพื่อจะกลับไปรับราชการเป็นล่ามที่ประเทศอังกฤษ เมื่อรู้ภาษาไทยดีแล้วก็เข้าทำงานเป็นล่ามให้เซอร์ โรเบิร์ต ซอมเบิร์กกงสุลอังกฤษประจำสยามในตอนนั้นก่อน และทำให้มีโอกาสได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

นายอาลาบาศเตอร์เป็นคนฉลาด และมีวิชาการสำรวจรังวัดติดตัวมาแต่เดิม เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯโปรดฯให้ตัดถนนเจริญกรุงขึ้นใหม่เพื่อขยายเมืองออกไปนอกกำแพงพระนครนั้น  นายอาลาบาศเตอร์ได้อาสาเข้าช่วยงานรังวัดถนนด้วย ตอนเริ่มต้นทำนั้น วันหนึ่งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯเสด็จทรงม้ามาทอดพระเนตร ทรงทักท้วงว่าถ้าตัดถนนใหญ่โตขนาดนั้น ตรงแน่วจากประตูพระนครที่สามยอดแล้ว หากเกิดอริราชศัตรูเข้ามาตีพระนคร(ทรงหมายถึงฝรั่งนั่นแหละ)แล้วลากปืนใหญ่มาตั้งบนถนน ก็จะเล็งยิงประตูพังโดยง่าย จึงทรงสั่งให้วางแนวถนนใหม่ให้โค้งตามรูปข้างล่าง เคยมีคนสมัยนี้ถามว่าคนตัดถนนสมัยโน้นเขาคิดยังไงจึงทำถนนโค้งอย่างนี้  คำตอบก็อย่างที่ผมเล่านี่แหละครับ

ตรงนี้ขอยกสองมือเถียงเรื่องถนนโค้งครับ ถนนเจริญกรุงตัดเป็นเส้นตรงยาวตรงไปถึงถนนตกที่บางคอแหลมที่มีโรงพิมพ์ของหมอสมิธตั้งอยู่ ถนนเจริญกรุงนั้นควรเรียกว่าหักมุมเบนองศาเพื่อรับกับโค้งน้ำเจ้าพระยาเป็นแนวเส้นตรงไม่คดโค้งแต่ประการใด

ภาพที่ยกประกอบนั้นเป็นภาพถนนเยาวราชที่มีความโค้งเนื่องจากการตัดถนนตรงๆไม่ได้ เพราะว่าติดบ้านเรือนขุนนางระดับใหญ่ ติดบ้านเจ้าสัว ติดบ้านคนบังคับ ทำให้ถนนคดไปคดมา ผิดกับถนนเจริญกรุงที่ตัดตรงแน่ว หักมุมเบนองศาเท่านั้น
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 11:23

เอ้า ไม่เป็นไร ติดไว้ก่อน ขอเวลาไปถามเจ้าพ่อหลักเมืองกรุงเทพหน่อยนะ

 
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 11:27

เอ้า ไม่เป็นไร ติดไว้ก่อน ขอเวลาไปถามเจ้าพ่อหลักเมืองกรุงเทพหน่อยนะ

 
เอากับเขาด้วยหรอ ระวังนะคำตอบที่ได้อาจจะบอกว่า วันที่ตัดถนนเล็งกล้อง เจ้าพ่อไม่ได้เดินไปดู
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 11:31

นายอาลาบาสเตอร์ ได้กราบทูลถวายคำแนะนำในวิชาการสำรวจและทำแผนที่ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงเห็นว่ามีประโยชน์อย่างมาก จึงได้โปรดฯให้ทดลองตั้งกองทำแผนที่ขึ้นในพ.ศ.๒๔๑๘   ให้นายอลาบาสเตอร์ เป็นหัวหน้า และกัปตันลอฟตันเป็นผู้ช่วยร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายสยามอีก๔นาย ได้แก่ ม.ร.ว.แดง (หม่อมเทวาธิราช) นายทัด ศิริสัมพันธุ์ (พระยาสโมสรสรรพการ) นายสุด (พระอุตรพิจารณ์) และ ม.ร.ว.เฉลิม (ภายหลังเป็นพระยาสากลกิจประมวญ) และได้เริ่มสำรวจทำแผนที่ในกรุงเทพฯ เพื่อตัดถนนเจริญกรุงให้ขยายยาวออกไป รวมทั้งถนนอื่นๆอีกหลายสาย ต่อจากนั้นได้ทำแผนที่เพื่อวางสายโทรเลขไปยังพระตะบอง และแผนที่บริเวณปากอ่าวสยาม  เพื่อประโยชน์ในการเดินเรือ และเป็นแนวทางการป้องกันฝั่งทะเล เนื่องจากเกรงว่าอาจมีการรุกรานทางเรือจากต่างประเทศ

เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๓ รัฐบาลอังกฤษได้ขออนุญาตรัฐบาลสยาม ให้กองทำแผนที่ กรมแผนที่แห่งอินเดียซึ่งมีกัปตัน เอช.ฮิล เป็นหัวหน้า และนายเจมส์ เอฟ.แมคคาร์ธี เป็นผู้ช่วยเดินทางผ่านเข้ามาในประเทศสยาม เพื่อดำเนินการวางโครงข่ายสามเหลี่ยมปักหมุดรังวัดต่อเนื่องจากประเทศอินเดีย ผ่านพม่าเข้าเขตประเทศสยามทางจังหวัดราชบุรีเข้าบรรจบกับแผนที่ทางทะเลที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งขอสร้างหมุดหลักฐานทางแผนที่บนภูเขาทอง และที่พระปฐมเจดีย์ เพื่อใช้เป็นจุดอ้างอิงด้วย ภายหลังจากทรงพิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว จึงโปรดเกล้าฯอนุโลมตามคำแนะนำของนายอลาบาสเตอร์ ให้ความยินยอมตามคำขอของรัฐบาลอังกฤษ และทรงเห็นชอบกับการเจรจาทาบทามนายเจมส์  แมคคาร์ธี เข้ามารับราชการเพื่อวางรากฐานการทำแผนที่ของไทย

ประเทศสยามหลังจากนั้นได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และมีความต้องการแผนที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้กองทำแผนที่เพียงกองเดียว  ไม่สามารถรองรับความต้องการจำนวนมากได้ จึงมีโปรดเกล้า ฯ  ให้ตั้งโรงเรียนแผนที่ขึ้นเมื่อวันที่๑๓มกราคม พ.ศ.๒๔๒๕ โดยพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร(สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ) เป็นผู้บัญชาการโรงเรียนแผนที่ กับแต่งตั้งนายเจมส์ เอฟ แมคคาร์ธี (พระวิภาคภูวดล)เป็นครูใหญ่ และนายเฮนรี นิโกเล เป็นครูรอง ทำการสอนภาคทฤษฎีที่ตึกแถว ๒ ชั้น (ตึกกองทหารมหาดเล็ก) หน้าประตู  พิมานไชยศรี ด้านตะวันออก ในพระบรมมหาราชวัง โดยเกณฑ์นายทหารรักษาพระองค์ ๓๐ นายเข้าเป็นนักเรียนรุ่นแรกนายแมคคาร์ธี ได้พานักเรียนไปฝึกภาคปฏิบัติที่พระราชวังบางปะอิน โดยการลากโซ่ผ่านทุ่งนาหลังเกาะบางปะอิน  ถึงแม้นายแมคคาร์ธี จะเป็นครูใหญ่แต่ก็ได้นำนักเรียนฝึกผ่านภูมิประเทศที่เป็นน้ำ โคลน เลน ด้วยตนเอง ในขณะที่นักเรียน ซึ่งเป็นบุตรหลานเจ้านายและข้าราชการพากันทนไม่ไหว เพราะไม่เคยได้รับความลำบากจึงพากันหลบหนีเกือบหมด เหลือเพียงนักเรียนที่เป็นบุตรหลานคนทั่วไปไม่มากนัก นอกจากการฝึกที่หนักหน่วงแล้วความรู้ต่างๆก็เป็นปัญหาไม่น้อย เนื่องจากครูใหญ่และครูรองพูดไทยไม่ได้ จึงต้องจ้างนายบัญชา ภูมิสถาน(พระยามหาอำมาตยาธิบดี) เป็นล่ามและช่วยตำแหน่งวิสามัญ เพราะได้เรียนภาษาอังกฤษและเลขมาดีแล้ว และนอกจากจะเป็นล่ามแล้วยังสมัครเป็นนักเรียนด้วย

เมื่อ โรงเรียนแผนที่ดำเนินการมาได้ราวสามปีมีจำนวนผู้สำเร็จการศึกษามากพอที่จะตั้งหน่วยราชการขึ้นได้ จึงได้มีประกาศพระบรมราชโองการให้แยกเหล่านักสำรวจออกจากสังกัดกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ตั้งขึ้นเป็นกรมทำแผนที่ในวันที่ ๓ กันยายน พ.ศ.๒๔๒๘  นายแมคคาร์ธี ได้รับพระราชทานยศ และบรรดาศักดิ์ เป็นร้อยเอกพระวิภาคภูวดล ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้ากรม  ขึ้นตรงต่อพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยมีพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร เป็นผู้กำกับดูแลอีกชั้นหนึ่ง

รูปข้างล่างถ่ายสมัยต้นรัชกาลที่๖


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 12:08

อ้างถึง
ภาพที่ยกประกอบนั้นเป็นภาพถนนเยาวราชที่มีความโค้งเนื่องจากการตัดถนนตรงๆไม่ได้ เพราะว่าติดบ้านเรือนขุนนางระดับใหญ่ ติดบ้านเจ้าสัว ติดบ้านคนบังคับ ทำให้ถนนคดไปคดมา ผิดกับถนนเจริญกรุงที่ตัดตรงแน่ว หักมุมเบนองศาเท่านั้น

ภาพแรกจากเจ้าพ่อกู๋

เห็นตรงที่ถนนเจริญกรุงโค้งไหมครับ
ผมกำลังหาค้นข้อความต้นฉบับเรื่องที่ผมเอามาเขียนนั้นอยู่ รื้อหนังสือออกมาดูจนมึนแล้ว เจอเมื่อไหร่จะเข้ามาอีก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 12:33

ผมก็ลืมไป เดี๋ยวนี้ทางวิชาการเค้าไม่ต้องลำบากเที่ยวหาข้อมูลขั้นปฐมภูมิจากหนังสือกันเท่าไหร่ เพราะมีบริการเจ้าพ่อกู๋ทุกระดับประทับใจ คลิ๊กหาบนโต๊ะทำงานได้เลย

แม้ข้อความข้างล่างจะไม่เหมือนที่ผมเขียนไว้เซ๊ะเด๊ะ แต่ก็พอได้อาศัยนะคุณหนุ่มนะ

วางผังถนนเจริญกรุง

ได้มีเรื่องเล่ากันว่า ด้วยเหตุที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระปรีชาสามารถเรื่องปืนใหญ่ จึงได้ทรงทักท้วงการวางผังการตัดถนนเจริญกรุง ซึ่งเดิมร่างการตัดถนนจะเป็นถนนสายตรงจากสามแยกพุ่งเข้ามายังพระนคร โดยพระองค์ทรงมีพระราชวินิจฉัยข้อด้อยที่ประตูเมืองจะเป็นจุดที่ง่ายต่อการโจมตี หากข้าศึกนำปืนใหญ่มาตั้งยิงที่ถนน ดังนั้นจึงได้ตัดถนนเจริญกรุงโค้งอ้อมมาทางสะพานดำรงสถิต ซึ่งจะเห็นว่าหักมุมอยู่


http://sd.mod.go.th/phapinkao/phapinkao1.htm


บันทึกการเข้า
Diwali
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 12:44

ผมก็ลืมไป เดี๋ยวนี้ทางวิชาการเค้าไม่ต้องลำบากเที่ยวหาข้อมูลขั้นปฐมภูมิจากหนังสือกันเท่าไหร่ เพราะมีบริการเจ้าพ่อกู๋ทุกระดับประทับใจ คลิ๊กหาบนโต๊ะทำงานได้เลย

แม้ข้อความข้างล่างจะไม่เหมือนที่ผมเขียนไว้เซ๊ะเด๊ะ แต่ก็พอได้อาศัยนะคุณหนุ่มนะ

วางผังถนนเจริญกรุง

ได้มีเรื่องเล่ากันว่า ด้วยเหตุที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระปรีชาสามารถเรื่องปืนใหญ่ จึงได้ทรงทักท้วงการวางผังการตัดถนนเจริญกรุง ซึ่งเดิมร่างการตัดถนนจะเป็นถนนสายตรงจากสามแยกพุ่งเข้ามายังพระนคร โดยพระองค์ทรงมีพระราชวินิจฉัยข้อด้อยที่ประตูเมืองจะเป็นจุดที่ง่ายต่อการโจมตี หากข้าศึกนำปืนใหญ่มาตั้งยิงที่ถนน ดังนั้นจึงได้ตัดถนนเจริญกรุงโค้งอ้อมมาทางสะพานดำรงสถิต ซึ่งจะเห็นว่าหักมุมอยู่


http://sd.mod.go.th/phapinkao/phapinkao1.htm


แหม.. ผมว่า ข้อมูลจากเจ้าพ่อกู๋ หรือจะแม่นยำเท่าเจ้าพ่อหลักเมือง
อิอิอิ
 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
แซวเล่นนะครับ ทุกๆท่าน อย่าว่ากัน

ว่าแล้วก็ขอรายงานตัวเข้าเรียนวิชานี้นะครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 14:39

ผมก็ลืมไป เดี๋ยวนี้ทางวิชาการเค้าไม่ต้องลำบากเที่ยวหาข้อมูลขั้นปฐมภูมิจากหนังสือกันเท่าไหร่ เพราะมีบริการเจ้าพ่อกู๋ทุกระดับประทับใจ คลิ๊กหาบนโต๊ะทำงานได้เลย

แม้ข้อความข้างล่างจะไม่เหมือนที่ผมเขียนไว้เซ๊ะเด๊ะ แต่ก็พอได้อาศัยนะคุณหนุ่มนะ

วางผังถนนเจริญกรุง

ได้มีเรื่องเล่ากันว่า ด้วยเหตุที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระปรีชาสามารถเรื่องปืนใหญ่ จึงได้ทรงทักท้วงการวางผังการตัดถนนเจริญกรุง ซึ่งเดิมร่างการตัดถนนจะเป็นถนนสายตรงจากสามแยกพุ่งเข้ามายังพระนคร โดยพระองค์ทรงมีพระราชวินิจฉัยข้อด้อยที่ประตูเมืองจะเป็นจุดที่ง่ายต่อการโจมตี หากข้าศึกนำปืนใหญ่มาตั้งยิงที่ถนน ดังนั้นจึงได้ตัดถนนเจริญกรุงโค้งอ้อมมาทางสะพานดำรงสถิต ซึ่งจะเห็นว่าหักมุมอยู่


http://sd.mod.go.th/phapinkao/phapinkao1.htm


"ซึ่งเดิมร่างการตัดถนนจะเป็นถนนสายตรงจากสามแยกพุ่งเข้ามายังพระนคร" สามแยกตรงนี้หมายถึงที่ใด  ฮืม

"ดังนั้นจึงได้ตัดถนนเจริญกรุงโค้งอ้อมมาทางสะพานดำรงสถิต " หมายความว่าแนวร่างถนนเจริญกรุงไม่ใช่เส้นทางนี้ แต่หักมุมลงมาที่สะพานดำรง แล้วร่างต้นฉบับถนนเจริญกรุงไปออกประตูอะไร  ฮืม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 15:44

แหะ แหะ...เอ์๊อก

สมองนึกถึงสามยอด แต่นิ้วไปจิ้มเป็นสามแยก
สัญญาวิปลาสอีกแล้ว อัตโน

ขออภัยแล้วกันนะ คุณหนุ่มนะ
เอาแต่มูลๆแล้วกัน ว่าถนนเจริญกรุงตอนเริ่มตัดนี้ นายอาลาบาศเตอร์ได้มาทำเซอร์เวย์ส่องกล้องให้ และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯท่านเสด็จมาเห็นว่าแนวตรงเป๊ะกับประตูเมือง ท่านก็มีรับสั่งให้มันโค้งซะ เบี่ยงซะ ปืนใหญ่มันจะได้มาตั้งเล็งตรงๆไม่ได้

ส่วนฝอยๆที่ว่าเบี่ยงจุดไหน เบี่ยงแล้วไปตรงกับอะไร เอาเป็นว่าผมไม่ทราบก็แล้วกัน ถ้าคุณหนุ่มลากเส้นในแผนที่โบราณของคุณก็ทราบเองได้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 16:07

ก่อนจะมีกิจการไปรษณีย์ในประเทศไทยนั้นการติดต่อสื่อสารของคนไทยในสมัยโบราณ ก็ใช้วิธีการสื่อสารในระบบม้าเร็ว หรือใช้คนเดินข่าวด้วยเท้าและพาหนะสุดแต่จะสะดวก

ต่อมากงสุลอังกฤษได้นำเอาระบบการสื่อสารทางไปรษณีย์มาใช้ติดต่อระหว่างกรุงเทพกับสิงคโปร์ ตั้งแต่ปลายรัชสมัยแผ่นดินรัชกาลที่๔ โดยเปิดรับบรรดาจดหมายที่ต้องการส่งไปมากับประเทศต่างๆขึ้น ใช้สถานที่ตึกยามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาหลังที่ทำการกงสุล ซึ่งตอนนั้นตั้งอยู่บริเวณที่ทำการไปรณีย์กลางบางรักปัจจุบัน เปิดขายดวงตราไปรษณียากรของมลายูและอินเดีย ที่มาพิมพ์อักษร "B" แทนคำว่าBangkokทับลงไป ให้ผู้ต้องการไปติดจดหมายที่จะส่งไปต่างประเทศ แล้วส่งไปรณีย์เหล่านั้นไปประทับตราวันที่ที่สิงคโปร์ โดยฝากไปกับเรือค้าขายภายใต้ร่มธงอังกฤษ ก่อนจัดส่งไปประเทศต่างๆผ่านเส้นทางคมนาคมของอังกฤษต่อไป

วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๑๘ พระบรมวงศานุวงศ์ประกอบด้วยเจ้านาย ๑๑ พระองค์ ภายใต้การนำของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ทรงร่วมกันออกหนังสือพิมพ์รายวัน มีชื่อว่า “Court” หรือ “ข่าวราชการ” เป็นหนังสือแจ้งข่าวความเคลื่อนไหวเกี่ยวด้วยข้อราชการและความเป็นไปภายในพระราชสำนัก เพื่อทูลเกล้าฯถวายและแจกให้กันในหมู่เจ้านาย แต่ปรากฏว่ามีผู้สนใจต้องการพากันมาทูลขอมากขึ้น ทำให้ต้องพิมพ์เพิ่มเป็นจำนวนมาก แต่เดิมผู้ต้องการต้องไปรับหนังสือที่หอนิเพทพิทยาคม ในพระบรมมหาราชวังด้วยตนเอง ทำให้เกิดความไม่สะดวก สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีฯจึงทรงโปรดให้มีบุรุษเดินหนังสือข่าวราชการนี้ส่งให้แก่สมาชิกขึ้น เรียกว่า “โปสต์แมน” และเนื่องในการต้องส่งหนังสือนี้ จึงทรงโปรดให้มี “ตั๋วแสตมป์” ขึ้นเป็นครั้งแรกของสยามเอง สำหรับใช้เป็นค่าเดินส่งหนังสือ



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 19
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.081 วินาที กับ 20 คำสั่ง