เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 19
  พิมพ์  
อ่าน: 63697 เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


 เมื่อ 09 ก.ย. 12, 08:03

เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ คนดีจากแดนไกลที่ฝากทั้งร่างและผลงานที่ทำไว้ ในพื้นแผ่นดินสยามแห่งนี้



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 08:07

ข่าวนี้มาจากหนังสือพิมพ์สยามไสมย ถ้าสะกดอย่างปัจจุบันก็คือ สยามสมัย น่าจะแปลมาจากภาษาอังกฤษที่ว่า Siam Times เป็นหนังสือพิมพ์รายเดือนและรายสัปดาห์ที่ออกเมื่อต้นสมัยรัชกาลที่ ๕ ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๒๕ - ๒๔๒๙ บรรณาธิการและผู้จัดพิมพ์คือหมอสมิท (Samuel J. Smith) มิชชันนารีชาวอังกฤษ ผู้ตั้งโรงพิมพ์หมอสมิทขึ้นที่ตำบลบางคอแหลม เพื่อจัดพิมพ์หนังสือต่างๆ ออกจำหน่ายบุกเบิกวงการหนังสือของเมืองสยาม
 
สำนวนภาษาหนังสือพิมพ์สมัยนั้นแสนจะตรงไปตรงมาเหมือนเล่าสู่กันฟัง อย่างเช่นประโยคว่ามีข่าวว่าในวันพุธสามยามเศษ ไม่สู้สบาย สักครู่หนึ่งขาตระไกรแข็งเลย พูดไม่ออกจนสิ้นใจ แต่กว่าจะถึงแก่กรรมก็ข้ามวันข้ามคืนไปถึงวันศุกร์

ถ้าคุณหมอCVTเข้ามาอ่านแล้ว จะกรุณาสันนิฐานหน่อยว่าท่านเสียชีวิตเพราะโรคอะไรก็จะเป็นพระคุณยิ่งนะครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 08:10

นายเฮนรี่ อาลาบาศเตอร์เป็นคนอังกฤษที่เข้ามารับราชการสนองพระบรมราโชบายของพระมหากษัตริย์ไทยในการอภิวัฒนาการสยามให้ก้าวทันนานาอารยประเทศ แม้จะถึงแก่กรรมในวัยสี่สิบแปดเท่านั้น แต่ท่านได้สร้างผลงานไว้มากมาย ผมจึงอยากให้คนไทยยุคหลังได้อ่านเรื่องราวของท่านไว้บ้าง โดยว่าไปตามข่าวมรณกรรมของท่านในสยามไสมยนี้แหละ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 08:11



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 08:17

คำว่าอังกฤษ คนอังกฤษเองสมัยโน้นเขียนเองว่า อังคริษ นะพระคุณท่าน ลอนดอน ท่านเขียนว่า ลันดัน ตามสำเนียงแท้ๆเลย

นายเฮนรี อาลาบาศเตอร์เกิดเมื่อวันที่๒๒ พฤษภาคม ๑๘๓๖ (พ.ศ.๒๓๗๙) ที่ Hastings, East Sussex เข้ามาประเทศไทยเป็นครั้งแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อพ.ศ. ๒๓๙๙ อายุยังไม่เต็ม๒๑ดี อยู่ในฐานะนักศึกษาเข้ามาเรียนภาษาไทยเพื่อจะกลับไปรับราชการเป็นล่ามที่ประเทศอังกฤษ เมื่อรู้ภาษาไทยดีแล้วก็เข้าทำงานเป็นล่ามให้เซอร์ โรเบิร์ต ซอมเบิร์กกงสุลอังกฤษประจำสยามในตอนนั้นก่อน และทำให้มีโอกาสได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

นายอาลาบาศเตอร์เป็นคนฉลาด และมีวิชาการสำรวจรังวัดติดตัวมาแต่เดิม เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯโปรดฯให้ตัดถนนเจริญกรุงขึ้นใหม่เพื่อขยายเมืองออกไปนอกกำแพงพระนครนั้น  นายอาลาบาศเตอร์ได้อาสาเข้าช่วยงานรังวัดถนนด้วย ตอนเริ่มต้นทำนั้น วันหนึ่งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯเสด็จทรงม้ามาทอดพระเนตร ทรงทักท้วงว่าถ้าตัดถนนใหญ่โตขนาดนั้น ตรงแน่วจากประตูพระนครที่สามยอดแล้ว หากเกิดอริราชศัตรูเข้ามาตีพระนคร(ทรงหมายถึงฝรั่งนั่นแหละ)แล้วลากปืนใหญ่มาตั้งบนถนน ก็จะเล็งยิงประตูพังโดยง่าย จึงทรงสั่งให้วางแนวถนนใหม่ให้โค้งตามรูปข้างล่าง เคยมีคนสมัยนี้ถามว่าคนตัดถนนสมัยโน้นเขาคิดยังไงจึงทำถนนโค้งอย่างนี้  คำตอบก็อย่างที่ผมเล่านี่แหละครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 08:19

ต่อมารัฐบาลอังกฤษได้เลื่อนตำแหน่งนายอาลาบาศเตอร์ให้เป็นถึงรองกงสุลอังกฤษประจำกรุงเทพฯ นับว่าหนุ่มมากสำหรับตำแหน่งนี้

ในระหว่างดำรงตำแหน่งรองกงสุล ครั้งหนึ่งนายอาลาบาศเตอร์ได้ทำหน้าที่รักษาการกงสุลใหญ่อังกฤษประจำกรุงสยามด้วยเมื่อเซอร์ โรเบิร์ต ซอมเบิร์กพ้นจากตำแหน่งและรัฐบาลอังกฤษยังไม่ได้แต่งตั้งผู้ใดให้มาแทน
 
เมื่อจะเกิดสุริยุปราคาที่บ้านหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๑๑นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯได้เชิญผู้แทนรัฐบาลต่างๆที่มีสถานกงสุลอยู่ในสยามให้เข้าร่วมสังเกตุการณ์ด้วย นายอาลาบาศเตอร์จึงได้เป็นหัวหน้าคณะนักดาราศาสตร์ของพระราชินีนาถแห่งสหราชอาณาจักร ร่วมกับคณะนักดาราศาสตร์จากฝรั่งเศส คณะกงสุลอเมริกันประจำกรุงสยาม ตลอดจนชาวยุโรปและอเมริกันที่พำนักอยู่ในประเทศ ร่วมขบวนเสด็จพระราชดำเนินในฐานะพระราชอาคันตุกะในโอกาสนั้นด้วย
ในภาพที่ประทับฉายพระบรมฉายาลักษณ์โดยมีฝรั่งยืนเรียงแถวอยู่ที่ค่ายหลวงหว้ากอนั้น นายอาลาบาศเตอร์คงยืนอยู่กับเขาด้วย พิจารณาจากหุ่นที่ผอมๆสูงๆไม่สวมเครื่องแบบทหารแล้ว อาจจะเป็นคนที่สี่จากซ้าย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 08:29

ขออนุญาตเสริมคุณนวรัตน

คุณอาลาบาสเตอร์บันทึกเหตุการณ์นี้ไว้ด้วย

ส่วนหนึ่งของบันทึกของ เฮนรี่  อาลาบาสเตอร์
เขียนเสร็จในกรุงเทพฯ    วันที่ 24 สิงหาคม, ค.ศ. 1868


คุณปิยะสารณ์คงเคยผ่านตาแล้วเป็นแน่


THE ECLIPSE of 1868
Henry Alabaster’s account

หาอ่านได้ที่นี่

http://www.alabaster.org.uk/chron18.htm#eclipse

แถมด้วยภาพเขียนสีน้ำ ฝีมือคุณหญิงแหม่ม

Henry’s wife, Palacia Alabaster, had painted a picture of the scene at the Jungle Palace which is now in the Public Record Office PRO FO 69/46/810S

Reproduced below is a small section from the picture, but the original is in bright colour. A better, miniature reproduction of this is enclosed with the Chronicle (printed version) for you to keep.



อยากเห็นภาพฉบับสมบูรณ์จัง

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 08:31

^
ขอบพระคุณ
คุณเพ็ญชมพูนควรจะแปลมาลงในกระทู้นี้นะครับ น่าสนใจเรื่องราวแท้ๆ ไม่ต้องอาศัยร่างทรงว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง ยิงฟันยิ้ม

หลังจากกลับจากหว้ากอได้ไม่นาน สยามก็ผลัดแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ แต่เนื่องจากยังมิได้ทรงบรรลุนิติภาวะ เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินว่าราชการแทน และถวายตำแหน่งวังหน้าให้แก่กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ รัฐบาลอังกฤษก็เล่นการเมืองด้วยการแต่งตั้งนายโทมัส ยอร์ช น็อกซ์ อดีตนายร้อยเอกทหารอังกฤษที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯทรงจ้างไว้ฝึกทหารวังหน้าและสนิทสนมกับกรมหมื่นบวรวิไชยชาญมานานนม  แต่ลาออกจากราชการสยามมาสมัครเข้าคัดเลือกเป็นกงสุลใหญ่แห่งสหราชอาณาจักร ให้ได้ตำแหน่งนี้ข้ามหน้านายเฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ผู้ถือว่าเป็นสายวังหลวงไป

จึงอย่าได้แปลกใจ เมื่อทำงานในตำแหน่งรองกงสุลไปได้สักระยะเดียว นายอาลาบาศเตอร์ก็ได้เกิดขัดแย้งกับกงสุลน็อกซ์อย่างแรง  ถึงขนาดลาออกจากตำแหน่งกลับไปประเทศอังกฤษทีเดียว


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 08:45

^
ขอบพระคุณ
คุณเพ็ญชมพูนควรจะแปลมาลงในกระทู้นี้นะครับ น่าสนใจเรื่องราวแท้ๆ ไม่ต้องอาศัยร่างทรงว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง ยิงฟันยิ้ม

อ่านตอนที่น่าสนใจบางตอน ที่นักแปลตัวจริงสรุปให้ฟังดีกว่า

THE ECLIPSE of 1868
Henry Alabaster’s account


But all the time there were two sources of uneasiness; the first, the weather had been overcast, and though it improved on the 15th there was a general expectation that we should not see that which we had come to see; second, the French were complaining and dissatisfied, and saying the Siamese were so suspicious of them that they would give them no assistance. (This was unfair, the Siamese, if I was not misinformed, wanted to do everything for them, even to feeding them). As an instance of what resulted, I may mention the following. M. Pierre, the botanist of the Expedition, wished to make a journey. "The jealous Siamese" said some "gave him no carts or assistance, believing he came to spy out the land". I asked him whether he had applied for them, he said "No" his chief had determined to take nothing from the Siamese, so had refused to ask for assistance for him. I spoke of it unofficially to a Siamese officer and in a few hours the gentleman was on his way rejoicing with three carts and ten coolies. For this, and some other services I had the fortune to render M. Pierre, I am to have the pleasure of receiving a duplicate set of the plants collected by him (embracing he believes more than 200 new varieties) which I shall forward to the Kew Museum. Also my name, or my present official position is to be attached to a remarkable rush that grows in muddy holes in Siam. I believe it was only the irritating cloudy sky that caused the ill will for as the weather improved it all passed away and the Siamese civilities, sacks of potatoes etc. were freely accepted.


Hy Alabaster

      
   เรื่องมีว่า  ทางฝรั่งเศสโวยวายกัน    อาลาบาสเตอร์แวะไปดู  เห็น  ปิแอร์  the botanist of the Expedition   เป็นชาวฝรั่งเศส    

ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ทางไทย  เพราะปิแอร์ไม่ได้ขอ

อาลาบาสเตอร์ก็ไปช่วยพูดให้    เลยได้เกวียนมาสามลำ และ คนงาน ๑๐ คน

เพราะความเอื้อเฟื้อนี้และอย่างอื่นอีกนิดหน่อย     ปิแอร์สัญญาว่าจะแบ่งพรรณไม้ให้ ๑ ชุด  

 ซึ่งน่าจะมีตัวอย่างใหม่ ๆ  มากกว่า ๒๐๐ ขนิด     he believes more than 200 new varieties

ซึ่งกระผม(เขียนรายงานถึงกระทรวงต่างประเทศของตัว) จะส่งไปที่ the Kew Museum.
 

นำเกร็ดมาเล่าพอเป็นน้ำจิ้ม

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 09:04

อ่านแล้ว ผมว่าน่าสนใจทั้งเรื่องนั่นแหละครับ

นายอาลาบาศเตอร์กลับไปอยู่ที่อังกฤษสองปี  คงเป็นเพราะได้ลาออกจากราชการมิใช่เป็นการขอย้ายกลับ ตำแหน่งล่ามของกระทรวงการต่างเทศอังกฤษที่อุตส่าห์ข้ามน้ำข้ามทะเลมาเล่าเรียนถึงเมืองสยาม ก็เลยไม่ได้ใช้ตามวัตถุประสงค์ สยามไสมยเขียนว่านายอาลาบาศเตอร์ถึงกับตกงาน

แต่ผมว่าไม่ใช่ ท่านใช้ความรู้ภาษาไทยศึกษาค้นคว้าแล้วเขียนหนังสือดีไว้เล่มหนึ่ง จะตั้งแต่สมัยอยู่เมืองสยามหรือเปล่าก็มิทราบได้ ชื่อ WHEEL OF THE LAW เป็นหนังสือพระพุทธศาสนา แปลว่าวงล้อแห่งธรรมซึ่งเราเรียกว่า ธรรมจักร ซึ่งถือเป็นแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาที่พระพุทธองค์ทรงประกาศธรรมะขึ้นครั้งแรกแก่พระปัญจวัคคีย์ ท่านคงใช้ช่วงเวลาดังกล่าวขัดเกลาภาษาและเสนอให้ได้รับการตีพิมพ์ในประเทศอังกฤษ

บัดนี้ WHEEL OF THE LAWยังเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ชนชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษผู้สนใจพระพุทธศาสนา และเป็นหนังสือที่ถูกใช้อ้างอิงมากที่สุดเล่มหนึ่ง
น่าทึ่งที่หนังสือดังกล่าวเขียนขึ้นโดยศาสนิกชนผู้ประกาศตนเป็นโปรแตสแตนท์ ตั้งแต่เกิดจนตาย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 09:14

อ้างถึง
ขอบพระคุณ
คุณเพ็ญชมพูนควรจะแปลมาลงในกระทู้นี้นะครับ น่าสนใจเรื่องราวแท้ๆ ไม่ต้องอาศัยร่างทรงว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง


ถ้าแปลดี จะได้ขอให้แปลเรื่องนี้ต่อเลย ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 09:29

       ได้ข่าวว่าคุณอ้วนธงชัย  ประมูลหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาได้ไปตั้งศอก   ที่สำคัญคือมี  The Wheels of Law  ไปด้วย

เคยอ่านมาแล้ว  แต่ก็อยากได้อยู่ดี

นายอาลาบาสเตอร์ เคยแต่งหนังสือ The Wheel of the Law พิมพ์ที่ลอนดอน
เป็นที่เลื่องลือมาก  และนักวิชาการได้ใช้อ้างอิงต่อมามากมาย

คุณหลวงที่นับถือและหวั่นหวาด


        อาลาบาสเตอร์ เขียน หรือ แปล  The Wheel of the Law     
        เมื่อคริสตี้ประเทศไทย เปิดแสดง ในปี ๒๕๔๓    ได้ไปดู
        ประเมินราคาไว้ที่  สี่พัน - หกพันบาท    ขายจริงไปในราคาเท่าไรก็ลืมไปแล้วค่ะ

        ขอเปลี่ยนคำถามเป็นว่า พระ ประชาชีพบริบาลคือใคร  เพราะท่านเป็นเจ้าของหนังสือเล่มที่คริสตี้นำมาประมูล


        (ไปเจอคำตอบแล้วค่ะ ว่า The Wheel of the Law  แบ่งเป็น ๓ ภาค
        ภาคแรก is a revised and enlarged edition of the Modern Buddhist

        ภาคที่สอง แปลมา

        ภาคที่สาม  รวบรวมมา

        อาลาบาสเตอร์เขียนไว้ว่า  "My translation is free or literal, according to my judgment.")
   

หากผู้ใดสนใจหนังสือเล่มนี้ แต่ยังไม่มีสตางค์ หาอ่านได้ที่

http://www.archive.org/stream/wheellawbuddhis00ibgoog#page/n6/mode/2up

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 09:59



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 10:00



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 10:04

หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ๒๐พรรษา ถือว่าทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ได้กราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ทรงโปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เครื่องยศเทียบเท่ากรมหลวง แล้วทรงว่าราชการแผ่นดินเป็นพระมหากษัตริย์แห่งประเทศสยามโดยสมบูรณ์
 
นายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ตอนนั้นอายุ๓๔ปี กลับมาเมืองไทยได้จังหวะดี จึงขอเข้ามารับราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อาศัยที่ทรงรู้จักนายอาลาบาศเตอร์ดีอยู่แล้ว จึงทรงรับไว้ในตำแหน่งราชเลขาธิการส่วนพระองค์


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 19
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.058 วินาที กับ 20 คำสั่ง