เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 19
  พิมพ์  
อ่าน: 63559 เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 12 ก.ย. 12, 17:29

มหาอำมาตย์ตรีพระยาวันพฤกษ์พิจารณ์สมรสกับคุณหญิงขลิบ วันพฤกษ์พิจารณ์ (ขลิบ บุนนาค ธิดา เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค)[3] มีบุตรธิดา 3 คน คือ

พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา
นางสมจิตต์ สกลคณารักษ์ (ถึงแก่กรรม)
ร้อยตรีสนั่น เศวตศิลา (ถึงแก่กรรม)

จากนี้พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ยังมีบุตรธิดากับภริยาอื่นอีก 12 คน รวมเป็น 15 คน

พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตและซื่อตรงต่อหน้าที่เป็นอย่างยิ่ง ไม่เป็นผู้มักใหญ๋ไฝ่สูง แม้จะได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยา มหาอำมาตย์โต๊ะทอง กาทองเป็นคนแรกในกรมป่าไม้ ก็มิได้มีฐานะร่ำรวยและไม่ได้รับตำแหน่งสูงสุดตามควร แต่ท่านก็มีความพอใจและสั่งสอนลูกๆ ให้มีความซื่อสัตย์สุจริตและให้ทำความดีไว้เสมอ

พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ พ.ศ. 2510 สิริอายุรวมได้ 87 ปี 10 เดือน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 12 ก.ย. 12, 18:13

รูปหล่อปานดาราฮอลิวู๊ดนี้ คือทายาทรุ่น๓ของนายอาลาบาศเตอร์ ที่สร้างเกียรติประวัติไม่แพ้บรรพบุรุษ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 12 ก.ย. 12, 18:26

พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา เป็นศิษย์เก่าของโรงเรียนเซนต์คาเบรียล โรงเรียนวัดราชบพิธ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จากนั้นได้เดินทางไปเรียนต่อจนจบการศึกษาปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมศาสตร์ และปริญญาโทวิศวกรรมโลหะที่สถาบันเอ็มไอที ซึ่งถือเป็นมหาวิทยาลัยระดับTop10 ของสหรัฐอเมริกา
 
ในระหว่างศึกษาได้เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง จึงเข้าร่วมกับขบวนการเสรีไทยในสหรัฐอเมริกา โดยทำงานร่วมกับ OSS - Office of Strategic Services ของสหรัฐอเมริกาอย่างใกล้ชิด จนได้รับเหรียญประกาศเกียรติคุณเสรีไทยจากสำนักงานประมวลข่าวกรองของสหรัฐ (หรือซีไอเอ) เพื่อเชิดชูวีรกรรมการต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2543


กลับเมืองไทย เข้ารับราชการกองทัพอากาศ ประจำกรมช่างอากาศ หลังจากนั้นได้ทำงานในตำแหน่งต่างๆดังนี้

รองอธิบดีกรมประมวลข่าวกลาง
เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (รัฐบาล พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (รัฐบาลเปรม ติณสูลานนท์ และชาติชาย ชุณหะวัณ)
หัวหน้าพรรคกิจสังคม และ ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคกิจสังคม
ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2534[2]
นายทหารพิเศษประจำกรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศ พ.ศ. 2536

ภาพนี้เป็นผู้เดียวกันกับภาพก่อนหน้า


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 12 ก.ย. 12, 18:29

ภาพถ่ายรวมญาติที่สืบเชื้อสายมาจากนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์รุ่นปัจจุบัน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 12 ก.ย. 12, 22:55

ใครบ้างที่ไม่รู้จักสะใภ้คนงามของพลอ.อ.สิทธิ เศวตศิลา   คุณกุลนภา เศวตศิลา
หรือ อดีต น.ส. รัตนา ชาตะธนะบุ
หรือ มยุรา ธนะบุตร


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 13 ก.ย. 12, 10:44

ความจริง เฮนรี อาลาบาสเตอร์มีลูกกับคุณนายแหม่มพาลาเซีย 4 คนนะคะ ไม่ใช่ 3 คนอย่างที่เราเข้าใจกันแต่แรก
ลูกคนแรกเสียชีวิตเมื่อยังเยาว์  ในประวัติไม่ได้บอกว่าเป็นอะไร   แต่ถ้าสันนิษฐานจากบันทึกของหมอบรัดเลย์ที่เล่าว่าเด็กทารกฝรั่งในสยามเสียชีวิตกันเมื่อแรกคลอด หรือไม่ก็ยังแบเบาะกันทั้งนั้น   
ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่อัตราการตายของทารกในสมัยนั้นจะสูงมาก   เด็กฝรั่งอาจมีภูมิต้านทานโรคในเมืองร้อนน้อยกว่าเด็กไทยก็เป็นได้   ข้อนี้คงต้องรอให้คุณหมอในเรือนไทยมาอธิบายกันเอง
อย่างไรก็ตาม ตามบันทึกของตระกูลอาลาบาศเตอร์ที่ลูกหลานช่วยกันรวมรวมไว้   ได้ประวัติของชาร์สล์ ชาลอนเนอร์ อาลาบาศเตอร์ที่เป็นลูกคนที่สองของเฮนรี อาลาบาศเตอร์ เพิ่มขึ้นอีกนิดหน่อย

เป็นอย่างที่คิดคือคุณนายแหม่มกับลูกๆ 3 คนกลับไปตั้งถิ่นฐานอยู่อังกฤษ     ชาร์ลส์ ชาลอนเนอร์อยู่ที่บ้านเกิดเมืองนอนจนอายุ 34 ปี  ในค.ศ. 1903  จึงเดินทางไปเยี่ยมญาติทางฝ่ายพ่อที่แคนาดา ชื่อเพอร์ซี คริดเดิล  เป็นลูกพี่ลูกน้องของเฮนรี่ อาลาบาศเตอร์   เมื่อไปที่นั่น  ชาร์ลส์ก็กลับไปตั้งหลักปักฐานอยู่ที่แคนาดาโน่นเลย   ไม่กลับอังกฤษ   
คุณนายแหม่มพาลาเซียถึงแก่กรรมเมื่อค.ศ. 1904  ที่เคนซิงตัน  อายุ 65 ปี  มรดกถูกแบ่งกันไปในระหว่างลูกชายคนที่สามและสี่ 

รูปนี้คือชาร์สล์ ชาลอนเนอร์ อาลาบาศเตอร์ในวัยชรา


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 13 ก.ย. 12, 13:39

จากการค้นระบบการเก็บทะเบียนวันเดือนปีเกิดและสมรสของชาวอังกฤษ ทำให้ได้ข้อมูลมาพอจะมองเห็นระยะเวลาการทำงานของเฮนรี อาลาบาศเตอร์ได้ดังนี้ค่ะ

- เฮนรี อาลาบาสเตอร์  เกิดเมื่อ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1836 (พ.ศ. 2379)  ถึงแก่กรรม วันที่ 8 สิงหาคม  ค.ศ.  1884 (พ.ศ. 2427)อายุ 48 ปี
- เฮนรี อาลาบาศเตอร์  สมรสกับนางสาวพาลาเซีย เอ็มม่า ฟาฮีย์ เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ.  1865 (พ.ศ. 2408) ที่เมืองเชลซี  มณฑลมิดเดิลเซกซ์  ประเทศอังกฤษ เมื่ออายุ 29 ปี
- เขาเดินทางเข้ามาในสยามเป็นครั้งแรก เมื่อค.ศ. 1857 (พ.ศ.  2400) เมื่ออายุ 21 ปี    ในฐานะนักเรียนล่ามภาษา   ดังนั้น ในครั้งแรกนี้เฮนรีเข้ามาคนเดียวในฐานะหนุ่มโสด  ยังไม่ได้สมรส    
- ในช่วงค.ศ. 1857-1864 (หรือก่อนหน้า 1864 เล็กน้อย)  เฮนรี่อยู่ในสยามตามลำพัง    ทำงานสำรวจถนน และงานอื่นๆถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- เมื่อจบช่วงที่อยู่ในสยามครั้งแรกนี้แล้ว    เฮนรีเดินทางกลับไปอังกฤษ สมรสและพาภรรยากลับมา ประมาณ ค.ศ. 1866  (พ.ศ. 2409)
- ภาพวาดบ้านเรือนในกรุงเทพ  ฝีมือคุณนายอาลาบาศเตอร์ที่ยังเหลืออยู่เป็นหลักฐาน คงวาดประมาณค.ศ. 1866  ไม่ใช่ค.ศ. 1857  อย่างที่เข้าใจทีแรก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 13 ก.ย. 12, 14:13

- เฮนรี แต่งงานเมื่ออายุ 29 ปี  เจ้าสาวอ่อนกว่า 3 ปี อายุ 26 ปี
- เฮนรี พาภรรยากลับมาอยู่ในกรุงเทพ  คลอดบุตรชายคนแรกชื่อเฮอร์เบิร์ต เจมส์  เมื่อเดือนสิงหาคม 1866 (พ.ศ. 2409)  แต่เด็กอยู่ได้ไม่กี่วัน ก็เสียชีวิตเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ปีเดียวกัน
- ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งระหว่างพ.ศ. 2409-2411 เฮนรีได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองกงสุลอังกฤษประจำสยาม    และรักษาราชการแทนกงสุลตัวจริง เมื่อลากลับไปอังกฤษ
- เขาตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไปดูสุริยุปราคาที่หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์   เมื่อค.ศ. 1868 (พ.ศ. 2411)  กลับมาได้ไม่กี่วัน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯก็ประชวรด้วยโรคไข้ป่า(มาเลเรีย) และเสด็จสวรรคต
- ในค.ศ. 1868 (พ.ศ. 2411)   เมื่อขึ้นแผ่นดินใหม่    รัฐบาลอังกฤษแทนที่จะตั้งรองกงสุลอาลาบาศเตอร์เป็นกงสุล  กลับตั้งร้อยเอกโทมัส ยอร์ช น็อกซ์ ครูฝึกทหารวังหน้าให้ได้ตำแหน่งนี้ข้ามหน้าเฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ไป
- ข้อนี้กลายเป็นรอยร้าวรอยใหญ่ระหว่างเฮนรีและกงสุลน็อกซ์   จนถึงขั้นเฮนรีลาจากรองกงสุลจากสยาม กลับประเทศอังกฤษ
- เฮนรีลาออก และเดินทางจากสยามไปในปี ค.ศ. 1868 (พ.ศ. 2411) คือปีที่เปลี่ยนแผ่นดินนั้นเอง   
-  ตามบันทึกทะเบียนเกิดของอังกฤษ  ลูกชายคนที่สองของเขา ชาร์ลส์ ชาลอนเนอร์ เกิดที่เมืองทวิกเกินนัม (Twickenham) มณฑลมิดเดิลเซกส์  ประเทศอังกฤษเมื่อ ค.ศ. 1869 (พ.ศ. 2412)
-  เฮนรีใช้เวลาช่วงนี้อยู่ในอังกฤษ  เขียนตำราธรรมะเรื่อง THE WHEEL OF THE LAW  ซึ่งตีพิมพ์เมื่อค.ศ. 1871 (พ.ศ. 2414)
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 13 ก.ย. 12, 15:20

ยอดเยี่ยม ยอดเยี่ยม ยอดเยี่ยม ครับ...



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 13 ก.ย. 12, 16:00

ขอบคุณ  แต่ยังไม่จบค่ะ คุณ piyasann   ขอลงจากเวทีไปให้น้ำก่อน   
ตัวเลขค.ศ. /พ.ศ. มันเยอะจนตาลาย


บันทึกการเข้า
takae
อสุรผัด
*
ตอบ: 88


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 13 ก.ย. 12, 18:33

สวัสดีครับ ยิงฟันยิ้ม

มีสิ่งของสะสมอยู่ชิ้นนึง คือ กระจกเงารูปไข่ ด้านหลังเป็นรูปฟิลม์

" ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ ม.อ.ต. พระยาอินทราธิบดี สีหราชรองเมือง
   ( ทองย้อย เศวตศิลา ) พ,ศ, ๒๔๗๖

ขอฝากเป็นสาระข้อมูลไว้ในกระทู้เรื่องนี้ด้วยครับ. ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 13 ก.ย. 12, 19:26

คุณ takae เข้ามาได้จังหวะมากเลยครับ ข้อมูลส่วนใหญ่ เทน้ำหนักไปที่ เจ้าคุณวันพฤกษ์ แต่หาที่่เกี่ยวกับน้องชายท่านไม่ได้เลย มีหนังสืองานศพ พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง อยู่บ้างไหมครับ ?

ค้นเจอแต่ว่า ท่านเป็นบิดา คุณโรสลิน เศวตศิลา พระสหาย ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เมื่อทรงพระเยาว์ (คงต้องขออนุญาต รบกวน อาจารย์ เทาชมพู นำภาพ พระฉายาลักษณ์ ที่ทรงฉายกับ คุณโรสลิน มาให้ชมด้วยครับ)

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 13 ก.ย. 12, 21:56



        มิใช่เรื่องลำบากแต่อย่างใด   


มหาอำมาตย์ตรี  พระยาอินทราะธิบดีสีหราชรองเมือง (ทองย้อย  เศวตศิลา)   

เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๕

หลังจากศึกษาวิชาในโรงเรียนมหาดเล็กหลวงสำเร็จแล้ว    รับราชการเป็นพนักงานแผนที่  กรมแผนที่ 
กระทรวงเกษตราธิการ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒


พ.ศ. ๒๔๔๔ เป็นมหาดเล็กเวรศักดิ์

พ.ศ. ๒๔๔๘ เป็นนายอำเภอเสนาใหญ่

พ.ศ.​๒๔๔๙ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น ขุนนราภัยพิทักษ์

พ.ศ.​๒๔๕๑  ได้เลื่อนเป็นหลวงไชยสงคราม   ปลัดจังหวัดอ่างทอง

พ.ศ.​๒๔๕๓  เป็นข้าหลวงมหาดไทย  มณฑลอยุธยา

พ.ศ.​๒๔๕๔ รับพระราชทานยศ  เลื่อนเป็นรองอำมาตย์เอก

พ.ศ. ๒๔๕๕  เป็นปลัดกรมตำรวจภูธร  แล้วเป็นยกกระบัตรมณฑลนครไชยศรี

พ.ศ. ๒๔๕๖  เป็นอำมาตย์ตรี  ตำแหน่งปลัดมณฑลอยุธยา   เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระกรุงศรีบริรักษ์  และยศเป็นอำมาตย์โท

พ.ศ.​๒๔๕๗  เป็นนครบาลจังหวัด นนทบุรี   และเป็นอำมาย์เอก

พ.ศ. ๒๔๕๘  เป็นพระยานนทบุรีศรีเกษตราราม

พ.ศ.​๒๔๖๒   เป็นมหาอำมาตย์ตรี

พ.ศ. ๒๔๖๕  รั้งตำแหน่งปลัดบัญชาการกองสมุหพระนครบาล  และเปลี่ยนบรรด่ศักดิ์เป็นพระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง

พ.ศ. ๒๔๗๑  รั้งตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลจันทบุรีอยู่  ๗ เดือนเศษ  แล้วเป็นสมุหเทศาภิบาล

พ.ศ. ๒๔๗๒  ย้ายไปเป็นสมุหเทศาภิบาลปราจีน


ท่านป่วยเป็นโรคปอดบวม  ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม  พ.ศ. ๒๔๗๔   อายุได้ ๔๙ ปี
บันทึกการเข้า
takae
อสุรผัด
*
ตอบ: 88


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 13 ก.ย. 12, 21:58

คุณ takae เข้ามาได้จังหวะมากเลยครับ ข้อมูลส่วนใหญ่ เทน้ำหนักไปที่ เจ้าคุณวันพฤกษ์ แต่หาที่่เกี่ยวกับน้องชายท่านไม่ได้เลย มีหนังสืองานศพ พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง อยู่บ้างไหมครับ ?

ค้นเจอแต่ว่า ท่านเป็นบิดา คุณโรสลิน เศวตศิลา พระสหาย ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เมื่อทรงพระเยาว์ (คงต้องขออนุญาต รบกวน อาจารย์ เทาชมพู นำภาพ พระฉายาลักษณ์ ที่ทรงฉายกับ คุณโรสลิน มาให้ชมด้วยครับ)



ไม่มีครับ อาจต้องค้นหาจากเรื่องราวเกี่ยวกับ จ.นนทบุรี เพราะท่านเป็นผู้ว่าฯ คนแรกครับ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 13 ก.ย. 12, 22:11



ขอบพระคุณ คุณตาแก่ค่ะ       

เห็นสร้อยทองราง ๆ  หลายเส้น   


ถ้าข้อมูลผิดพลาดประการใด   ขออภัยเป็นอย่างยิ่ง  สังเกตเห็นสิ่งผิดพลาด ๒ แห่ง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 19
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 19 คำสั่ง