เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 19
  พิมพ์  
อ่าน: 63770 เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 11 ก.ย. 12, 22:19

  ดิฉันไม่แน่ใจว่า เมื่อเฮนรี อาลาบาศเตอร์เดินทางมาถึงกรุงเทพครั้งแรก เขาพาภรรยามาด้วยในคราวนั้นเลยหรือเปล่า   ตอนนั้นเฮนรีอายุ 21  ส่วนพาลาเซียอ่อนกว่า 3 ปี   ถ้าแต่งงานกันก็คงแต่งกันใหม่ๆ แล้วพามาสยามด้วยกันเลย    ถ้าคำนวณว่าเสียเวลาเดินทาง 6-8 เดือน  เจ้าสาวก็แต่งงานเมื่ออายุ 17  เจ้าบ่าว 20
  ข้อมูลประวัติของเฮนรีเกี่ยวกับงานของเขายังสับสนกันอยู่   ฝรั่งเองก็ลอกข้อมูลกันต่อๆมาไม่แพ้คนไทย    จึงมีประวัติหลายแห่งบอกว่าเฮนรีมาที่สยามในฐานะรองกงสุล    ความจริงไม่น่าจะใช่  ประวัติอีกตอนหนึ่งบอกว่า เฮนรีได้รับการแต่งตั้งเป็นรองกงสุล ในอีกหลายปีต่อหลังมาอยู่ในสยาม  ดูเหมือนจะหนึ่งปีก่อนเหตุการณ์สุริยุปราคาที่หว้ากอ    ส่วนลูกชายคนโตที่เกิดจากภรรยาชาวอังกฤษเกิด 1 ปีหลังจากนั้น   ถ้าสองสามีภรรยามาอยู่สยามกันตั้งแต่อายุ 21 กับ 18  ก็ต้องอยู่กันมาเกือบ 10 ปีกว่าจะมีลูก  
  แต่ถ้าเฮนรีไม่ได้พาภรรยามาด้วยตั้งแต่แรก   ก็เป็นได้ว่าเขาเดินทางกลับไปรับราชการที่อังกฤษ เมื่อเรียนภาษาไทยจนใช้การได้ดีแล้ว  จากนั้นแต่งงานแล้วพาภรรยากลับมาสยามอีกครั้ง เพื่อมารับตำแหน่งรองกงสุลในพ.ศ. 2409  จากนั้นอีกสองปี บุตรชายคนแรกถึงคลอดออกมา
  ถ้าจะรู้คำตอบก็ต้องดูหลักฐานว่าภาพวาดทิวทัศน์บ้านช่องในกรุงเทพ ของคุณนายพาลาเซีย วาดขึ้นในพ.ศ.อะไร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 ก.ย. 12, 22:45 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 11 ก.ย. 12, 22:25

   หลังเฮนรี อาลาบาศเตอร์ถึงแก่กรรมแล้ว   คุณนายแหม่มไม่ได้อยู่ในสยาม  หรืออาจจะอยู่พักหนึ่ง  แต่ในที่สุดเธอก็กลับไปพำนักถาวรในบ้านเกิดเมืองนอน    คงพาลูกเต้ากลับไปหมด ไม่ได้ทิ้งไว้ในสยาม จึงไม่มีข้อมูลว่าลูกๆชาวอังกฤษของนายอาลาบาศเตอร์รับราชการในเมืองไทย     มีแต่ลูกที่เกิดจากภรรยาไทยที่รับราชการได้เป็นใหญ่เป็นโตทั้งสองคน
   จากนั้นคุณนายพาลาเซียไปยึดอาชีพเป็นศิลปินวาดภาพ   มีหลักฐานว่าภาพของเธอถูกประมูลด้วย แต่ยังหาตัวอย่างไม่พบ    หลักฐานอีกอย่างคือพบว่าในค.ศ. 1871  เธออาศัยอยู่ที่เซนต์จอร์ช ฮันโนเวอร์สแควร์ ที่เบลเกรฟ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 ก.ย. 12, 22:46 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 12 ก.ย. 12, 09:21

ลูกชายคนแรก ชาร์สล์ ชาลอนเนอร์ อาลาบาศเตอร์  เกิดเมื่อ ค.ศ. ๑๘๖๙

ลูกชายคนที่สอง   เอ็ดเวิร์ด เพอร์ซี  อาลาบาศเตอร์  เกิดเมื่อ ค.ศ. ๑๘๗๐

ฉะนั้น ..... บุตรขอบ อลาบาสเตอร์ สองคนแรก น่าจะเกิดที่ สยาม เมื่อท่านมารับราชการในฐานะนักเรียนล่าม จนถึง "ผู้ว่าราชการแทนกงสุล"

(๑๙ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๕๘ - ๓๑ ธันวาคม ค.ศ. ๑๘๗๑ )



ส่วนบุตรคนที่สาม เออเนสต์  อาลาบาศเตอร์  เกิดเมื่อ ค.ศ. ๑๘๗๒ ในเว็บไซด์ สายสกุล Alabaster ระบุว่า เกิดที่ Brentford ลอนดอน ประเทศอังกฤษ

ถ้าท่านเดินทางมาเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๑๖ หรือ ค.ศ. ๑๘๗๓ บุตรของท่านก็ยังแบเบาะอยู่ ซึ่งไม่น่าจะเดินทางมาพร้อมกัน.......  ท่านคงเดินทางเข้ามาคนเดียว ส่วนคุณปาลาเซีย น่าจะตามมาในภายหลัง

ยังหาสิ่งระบุไม่ได้ว่า บุตรของท่านได้เข้ามาด้วยหรือไม่ ถ้าเข้่ามา ก็น่าจะมีบันทึกว่า เป็นพระสหายของพระราชโอรส ในหลวง ดังเช่น เรื่อง นายหลุยส์ เลียวโนเวนส์ บ้าง
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 12 ก.ย. 12, 09:45

เมื่อ อลาบาสเตอร์ ถึงแก่อนิจกรรม ในหลวงรัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทาน เงินเลี้ยงชีพให้ ม่ายของ มิสเตอร์ อลาบาสเตอร์ ตลอดชีวิต (ถ้ายังเป็นม่ายอยู่ ?) ปีละ ๓๐๐ ปอนด์ หรือ ๓๐ ชั่ง คือ เดือนละ ๒๕ ปอนด์  หรือ ๒๐๐ บาท (ทำให้เราได้ความรู้ว่า อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสมัยนั้น ๘ บาท เท่ากับ ๑ ปอนด์ !!!!) ซึ่งมากกว่า เบี้ยหวัดข้าราชการสยาม คือปีละ ๔๐ บาท ( เดือนละ  ๓ บาทเศษ ) อยู่มากโข !!!

และ ...

แล พระรา ทาน ให้ เปน ส่วน เลี้ยง บุตร ของ มิศเตอร อาลาบาศเตอร นั้น ปี ละ สอง ร้อย ปอนด์ คือ ยี่ สิบ ชั่ง (สยามไสมย จ.ศ. ๑๒๔๖)

ในสยามไสมย ไม่ได้ระบุว่า พระราชทานให้กับบุตร แม่ไหน ?

พล.อ.อ. สิทธิ เศวตศิลา เขียนเรื่อง "คุณป๋า" (พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ - ทองคำ เศวตศิลา) สรุปความไว้ว่า เมื่ออลาบาสเตอร์ ถึงแก่อนิจกรรม เจ้าคุณ มีอายุเพียง ๕ ขวบ เจ้าคุณทองย้อย น้องชาย อายุเพียง ๒ ขวบเศษ  ........

คุณเพิ่ม มารดา ได้พา ท่านทั้งสอง เข้าไปพำนักอยู่ในพระบรมมหาราชวังด้วย เพราะคุณเพิ่ม มีหน้าที่ถวายนมแก่พระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ ๕ พระองค์หนึ่ง ทำให้ท่านทั้งสองได้มีโอกาสได้ใกล้ชิดเจ้านายหลายพระองค์ในขณะนั้น

เนื่องจาก เจ้าคุณทั้งสองไม่ได้รับมรดาจากคุณปู่้เลย จึงมีชีวิตต้องต่อสู้กับความยากลำบากมาตั้งแต่เยาว์วัย โดยเฉพาะเมื่อคุณเพิ่ม ได้ย้ายกลับไปอยู่ที่ต่างจังหวัด เจ้าคุณทั้งสองยังต้องเรียนหนังสือที่พระนครต่อ จึงต้องอาศัยคนนั้นอยู่บ้างคนนี้อยู่บ้าง เวลาเปิดเรียน เงินทองจะซื้อหนังสือและค่าแต่งตัวก็ไม่มี ต้องหยุดเรียนไปหาสตางค์ โดยการขายดินสอหิน และให้เพื่อนนักเรียนกู้ โดยคิดดอกเบี้ยจนพอกลับเข้าเรียนได้

มีท่านผู้รู้ บอกมาว่า เรื่องของเจ้าคุณ บุตร อลาบาสเตอร์ ทั้งสองตอนเป็นนักเรียนนี้ ให้ไปอ่าน หนังสืองานศพ คุณวิลาศ โอสถานนท์ ท่านใดมีบ้าง ?
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 12 ก.ย. 12, 10:14


        ขอบคุณคุณปิยะสารณ์ที่เอ่ยเรื่อง สติลเฟรด   ก็เกี่ยวๆอยู่ในระยะเวลาเดียวกันค่ะ    

เมื่อวันก่อนนักหาหนังสือเก่ามาถามเรื่องสติลเฟรดและรูปในเมืองไทย   ได้ตอบไปว่าน่าจะสูญไปในกองเพลิง

ที่ไหม้ร้านไปแล้ว   เพราะสติลเฟรดขายกิจการในญี่ปุ่น   เมื่อกลับไปเมืองนอกร้านถ่ายรูปก็เซ้งไปอีกรอบ

สติลเฟรดนั้นเป็นช่างภาพระดับครูหรืออาร์ติส   คิดค่าถ่ายแพงเพราะรูปทุกรูปเป็นงานศิลป   เมื่อเก็บเข้าเล่ม

แล้วก็ขายได้อีก


        ยศบารอนนั้นข้าราชการไทยที่ตามเสด็จเจ้าฟ้าของเรา   ไปเรียนหนังสือแถวรัสเซียหรือยุโรปก็ใข้ยศนี้กัน

การเจรจาให้บารอนสติลเฟรดมาถ่ายรูป   งาน Centennial  Exhibition  นั้นคงขาดตกบกพร่องเรื่องรายละเอียด

ของราคาไป  และเท่าที่เห็นเป็นงานที่ไม่เปิดให้ผู้ใดนำกล้องถ่ายรูปเข้าไปมากกว่าจะมาขูดรีดเอาดื้อๆ

        รูปงานนิทรรศการสินค้าพื้นเมืองไทยเลยไม่มีเลย


        โปรแกรมในพระราชพิธีนั้น อาลาบาสเตอร์ เป็นผู้แปล
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 12 ก.ย. 12, 10:57



อาลาบาสเตอร์  อยู่บ้านเคียงคลังสินค้าลำนำ้ฝั่งตะวันออก   เลขที่ ๙๑๘ - ๕
                   ทำงานอยู่  มิวเซียม

                   ผู้ช่วยผู้จัดการกรมไปรษณีย์

                   กองรักษาสวนสราญรมย์
                        อาลาบาสเตอร์เคยชวนพวกฝรั่งชาวนอก   มาประชุมดูต้นไม้ดอกไม้ที่งามประหลาด     มีพวกแตรฝรั่งผลัดกันเล่น
                        แขกบางคนก็เล่นโครเกต  บางคนก็เดินชมต้นไม้ดอกไม้   พอพลบค่ำก็จุดโคมสี  เลี้ยงกันในห้องที่ตั้งต้นกล้วยไม้
                        เป็นอันมาก
                       
                        บัตรเชิญออกในนาม มิสเตรศ อาลาบาสเตอร์(ในเอกสารเขียน  อาลบาซะตอ)

                        ( สยามไสมย  เล่ม ๒   หน้า ๑๓๗)

                       

       กงสุลอังกฤษ   บ้านก็อยู่ใกล้กัน

       ทูตอเมริกันที่ประจำอยู่ ณ กรุงเทพ   ก็อยู่ถัดออกมาหน่อย
                   

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 12 ก.ย. 12, 11:26

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ นายเฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ได้เดินทางไปยังพระพุทธบาท สระบุรี เนื่องจากอยากจะไปแวะอากาศบริสุทธิ์ เพราะสุขภาพเริ่มไม่ดี ซึ่งได้แวะที่อยุธยาและได้เข้าไปชม "พระเจดีย์ภูเขาทอง" ที่จังหวัดอยุธยา ซึ่งท่านได้บรรยายเอาไว้ว่า

"The first is the "Mount of Gold," the highest of the spires, which differs from most Buddhist towers in having three accessible terraces round it. The highest terrace commands a view over most of the tree-tops. From it we count about fifty spires, so there may be some truth in a native assertion, that Yuthia had two hundred temples. There is nothing very elegant about the spire to justify its grand name; and its height, which I judge to be about a hundred and fifty feet, is nothing very great; but as a good illustration of one of the forms of Buddhist spires, it is worth describing. Upon an extensive square base rises a pyramidal tower in three parts, tier above tier, separated by wide terraces. Cornices of many forms, round and angular, encircle it in close succession. Deep flutings and reentering angles reduce the squareness of the four corners. Two flights of steps on the north and south sides lead to the terraces.

From the highest terrace, which is about sixty feet from the ground, the tower rises for about thirty feet more in the same pyramidal form as described for the lower part. In this portion are two niches containing images of Buddha about seven feet high. Above the niches the still tapering tower is without cornices and quite smooth for about fifteen feet; and thence changing from a square pyramid to a cone, it rises about forty feet to a point. The upper part of the spire is ornamented with narrow headings or rings, lying close one over the other. "The tower is built of brick, and seems to be almost solid, excepting only a small chamber, to which access is obtained from the highest terrace. We find nothing but bats in the chamber, which seems to have suffered from fire. Previous to the Burmese invasion, it probably contained some idols or relics. I know of no other large spires, or Phrachedi, as they are generally called, which have an accessible chamber, though such are found in a few of the smaller spires"

References:

The Wheel of The Law - Henry Alabaster (1871) - Trubner & Co, London - page 270-271


บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 12 ก.ย. 12, 14:51

นอกจาก งาน งาน งาน ที่ได้ช่วยกันพรรณามาแล้ว ท่านยังแปลหนังสือ เขียนหนังสืออีก ด้วย

บทความของท่าน ที่เคยมีผู้นำมาเผยแพร่แล้วคือ เรื่อง มิวเซียม และ  มิเนอรโลชี วิชาหินแลแร่ต่างๆ ถูกนำลงในหนังสือ มิวเซียม ฤา รัตนโกษ

เรื่องมิวเซียม ไม่ได้อ่าน ........... อ่านแต่ เรื่อง วิชาหินแร่ ที่กล่าวถึงเพชร เป็นส่วนใหญ่ อ่านแล้ว มีความเห็นว่า ท่านมีความรู้ เรื่องนี้ เป็นอย่างดี ถึงกับเจียรนัยเรื่องราวของเพชรและหินแร่  ได้อย่างกับ เจียรนัยเพชร กระนั้น 


ในบทความยังว่า  มิวเซียมในพระบรมมหาราชวัง มี หิน - แร่ ให้ได้ชมถึง ๑,๕๐๐ ก้อน และลงท้ายว่า ได้จำลอง ตัวอย่างเพชร ก้อนสำคัญ ของโลก ไว้ให้ชมอีกด้วย เยี่ยมจริงๆ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 12 ก.ย. 12, 16:55



มิวเซียมหรือรัตนโกษ   ที่มีบทความเรื่องมิวเซียม  คือ เล่ม ๑  จ.ศ. ๑๒๓๘   หน้า ๑๙๑ - ๑๙๔

และเล่ม ๒  จ.ศ. ๑๒๓๙  หน้า ๑๕๑ - ๑๖๖


The Wheel of the Law   พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๑๑   และครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๔
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 12 ก.ย. 12, 17:00

ผมกลับมาถึงบ้านแล้ว พบว่ากระทู้ท่านอาลาบาศเตอร์มีผู้มาเพิ่มเติมข้อมูลให้มากมาย ขอบคุณครับ

ถ้าท่านทราบได้คงจะยินดีที่คนไทยไม่ลืมท่าน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 12 ก.ย. 12, 17:06

เอาผลงานที่ท่านทำเป็นhobbyมาแลกเปลี่ยน

สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร    
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

ประวัติการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ในประเทศไทย
 
ประเทศไทยมีกล้วยไม้พันธุ์พื้นเมืองที่มีความสวยงามมากและหลากหลาย ในสมัยโบราณจึงมีผู้นิยมเก็บหานำมาปลูกเลี้ยงไว้ตามบ้านทั่วไป โดยเฉพาะในชนบท แต่ที่มีการเพาะเลี้ยงไว้เป็นจำนวนมากหรือที่เรียกว่า “รังกล้วยไม้” ซึ่งมีขนาดใหญ่แต่เดิมนั้นจะพบก็เพียงในรั้วในวังหรือในหมู่ข้าราชการบริพารผู้ใหญ่เท่านั้น

ทั้งนี้ได้มีบันทึกไว้ในสมัยประมาณปี พ.ศ.๒๓๘๐ มีรังกล้วยไม้ขนาดใหญ่ที่มีการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ไว้เป็นจำนวนมากอย่างถูกวิธีโดยมีการนำเอากล้วยไม้ต่างประเทศเข้ามาเลี้ยงเพื่อเพิ่มสีสัน และความสวยงามมีการผสมพันธุ์ขึ้นใหม่ให้มีความแปลกตาขึ้นไปอีก ได้แก่รังกล้วยไม้ของนายเฮนรี่ อาลาบาสเตอร์ (ต้นสกุล เศวตศิลา) ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเล่นกล้วยไม้ที่มีชื่อเสียงมากจนเป็นที่รู้จักกันดีสมัยนั้น ต่อมาเมื่อท่านถึงแก่กรรมลงในปี พ.ศ.๒๓๘๐พระเจ้าบรมวงษ์เธอกรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ ได้รับช่วงรังกล้วยไม้ ทั้งกล้วยไม้พื้นบ้านและกล้วยไม้พันธุ์ต่างประเทศของนายอาลาบาสเตอร์มาดูแลไว้เป็นจำนวนมากได้สะสมพันธุ์เพิ่มเติมและทดลองผสมพันธุ์ใหม่ต่างๆ จนมีความเชี่ยวชาญและได้รับยกย่องเป็นอย่างสูงอีกท่านหนึ่งว่าเป็นผู้มีฝีมือเยี่ยม ทั้งในการเลี้ยงดูและการปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้ในยุคนั้น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 12 ก.ย. 12, 17:13

ดังที่ได้เอ่ยไปแล้ว นิสัยรักและสนใจพรรณพฤกษ์ต่างๆ บวกกับความรู้ความชำนาญของท่านคงได้ถูกถ่ายทอดทางใดทางหนึ่งให้แก่ทายาทที่ชื่อ “ทองคำ” ผู้ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯว่า “เศวตศิลา” อันหมายถึงหินขาวAlabaster


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 12 ก.ย. 12, 17:20

เรียบเรียงจากข้อมูลอาจารย์วิกก์
พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ (ทองคำ เศวตศิลา) 22 มิถุนายน พ.ศ. 2422 – 4 เมษายน พ.ศ. 2510 นักพฤกษศาสตร์ นักวิชาการป่าไม้ ผู้ริเริ่มปลูกสวนป่าไม้สักของประเทศไทย ผู้จัดตั้งกองป่าไม้ภาคใต้

พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ เกิดที่กรุงเทพฯ เป็นบุตรชายคนโตของนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์กับคุณเพิ่ม มีน้องชายร่วมมารดาคนเดียวคือ พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง (ทองย้อย เศวตศิลา)

เมื่อบิดาถึงแก่อนิจกรรม พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์มีอายุได้เพียง 5 ขวบ ทั้งสองพี่น้องไม่ได้รับมรดกใดๆ จากบิดาจึงมีชีวิตในวัยเด็กที่ยากลำบาก ในขณะเรียนหนังสืออยู่ในกรุงเทพฯ มารดาได้ย้ายไปอยู่ต่างจ้งหวัด จึงอาศัยอยู่กับญาติบ้าง ผู้อื่นบ้าง ในบางครั้ง เวลาขึ้นชั้นเรียนใหม่ก็ต้องหยุดเรียนเพื่อเพื่อไปเร่ขายดินสอหินสำหรับเขียนกระดานชนวนเพื่อนำเงินมาซื้อเสื้อผ้าและหนังสือสำหรับขึ้นเรียนชั้นใหม่ เมื่อมีเงินพอแล้วจึงกลับเข้าไปเรียนใหม่

อย่างไรก็ดี พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์สามารถจบหลักสูตรในขณะนั้นโดยสอบไล่ได้ประโยค 2 ได้เป็นที่ 1 ได้รับการจารึกชื่อในแผ่นหินที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบในพระบรมมหาราชวัง จากนั้นก็ได้เข้าเรียนวิชาทำแผนที่ และสอบไล่ได้เป็นที่ 1 อีก ได้เป็นครูแผนที่ ต่อมาสอบชิงทุนไปเรียนวิชาการป่าไม้ที่ประเทศอินเดียและเป็นคนไทยคนแรกที่สอบวิชาการป่าไม้ได้สำเร็จ หลังจากรับราชการในกรมป่าไม้ได้ 10 ปี พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ก็ได้ขอลาราชการไปศึกษาต่อด้านพฤกษศาสตร์ที่ประเทศอังกฤษด้วยทุนส่วนตัวและก็เป็นนักเรียนไทยที่สำเร็จวิชาพฤกษศาสตร์เป็นคนแรกเช่นกัน

พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ได้กลับเข้ารับราชการในกรมป่าไม้ อีกครั้งหนึ่งและได้ย้ายไปเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ภาคภูเก็ต และเจ้าพนักงานป่าไม้ภาคนครศรีธรรมราช ตั้งแต่ก่อน พ.ศ. 2460
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 12 ก.ย. 12, 17:27

การรวบรวมพรรณไม้ไทยและการจัดตั้งหอพรรณไม้

ในช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2455 – พ.ศ. 2463 พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ซึ่งเป็นนักพฤกษศาสตร์ของกรมป่าไม้ด้วย ก็ได้รวบรวมพันธุ์ไม้ของไทยจากภาคต่างๆ ของประเทศ โดยเฉพาะทางภาคเหนือและภาคใต้เพื่อทำเป็น ”หอพรรณไม้” โดยเก็บตัวอย่างได้ประมาณ 1,200 หมายเลข ปัจจุบันยังเก็บรักษาไว้ที่หอพรรณไม้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และตัวอย่างซ้ำถูกส่งไปเก็บที่ หอพรรณไม้คิวKew Gardenในประเทศอังกฤษ
การเรียบเรียงตำราพรรณไม้

นอกจากได้ชื่อว่าเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนบุกเบิกด้านพฤกศาสตร์ที่เป็นคนไทยในการรวบรวมพรรณไม้และการจัดตั้งหอพรรณไม้ (Herbarium) ของกรมป่าไม้ขึ้นดังกล่าวมาแล้ว พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ก็ยังได้เป็นผู้เรียบเรียงหนังสือ “พรรณไม้ไทย” (List of Common Trees and Shrubs in Siam, 1923 ) ซึ่งจัดเป็นตำราพันธุ์ไม้เล่มแรกของไทยในปี พ.ศ. 2466


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 12 ก.ย. 12, 17:28

การริเริ่มปลูกสวนป่าต้นสัก

ในด้านการป่าไม้ พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ ได้ทำการทดลองปลูกสวนสักเมื่อปี พ.ศ. 2449 ตามแบบที่พม่าใช้ได้ผลมาแล้วโดยวิธีหยอดเมล็ดลงหลุมและอาศัยความร่วมมือจากชาวไร่ เมื่อการทดลองครั้งแรกได้ผลดี จึงได้มีการขยายการปลูกสร้างสวนป่าไม้สักเพิ่มขึ้นในระยะต่อมา
เกียรติประวัติ

พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ได้รับเกียรติจากนักพฤกษศาสตร์ต่างประเทศในการใช้ชื่อท่านตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ให้ถึง 6 ชนิดด้วยกัน

ผลงานของพระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ นับได้ว่าท่านสร้างคุณประโยชน์ไว้ให้แก่ประเทศชาติอย่างมากมายเช่นกัน


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 19
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 19 คำสั่ง