เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 19
  พิมพ์  
อ่าน: 63700 เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 11 ก.ย. 12, 07:29

สถานทูตอังกฤษที่ถนนเจริญกรุงนั้นเป็นที่ดินที่รัชกาลที่ ๔ ทรงซื้อตารางวา ๑ บาท เป็นจำนวนเงิน ๑๖,๐๐๐ บาทเพื่อให้เป็นที่ทำการสถานกงสุลอังกฤษ ซึ่งก่อนหน้านี้ยังมี "คดีนายเส็ง" ที่ขายที่ดินให้อังกฤษเช่า ๙๙ ปี แต่ต้องพระราชอาญาเฆี่ยนจนตายที่บางคอแหลม

ในภาพเป็นสถานกงสุลอังกฤษถ่ายจากถนนเจริญกรุงไปยังแม่น้ำ จะเห็นเสาธงไม้ขนาดใหญ่ตั้งอยู่พร้อมธงยูเนี่ยนแจ๊ค ซึ่งหันหน้าออกไปทางแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ซึ่งนายเฮนรี่เคยทำงานอยู่ที่นี่มาก่อน เสาธงไม้นั้นได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ ๔ ภายหลังหักโค่นไป


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 11 ก.ย. 12, 07:34

เมื่อแรกตั้งสถานกงสุลอังกฤษ โดยซื้อที่ดินจากชาวมอญและพม่าที่เจริญกรุงนั้น ในตอนแรกสมัยรัชกาลที่ ๔ ด้านหน้าคืออาคารริมแม่น้ำเจ้าพระยา ภายหลังเมื่อถนนมีความสำคัญมากขึ้น วิถีการสัญจรก็เปลี่ยนแปลง มีการตั้งอนุสาวรีย์ควีนวิคตอเรียสำริด หันหน้าออกถนนเจริญกรุง รองรับรถราง รถเจ๊ก และรถยนต์ แทน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 11 ก.ย. 12, 09:32

กำลังอยากได้ภาพประกอบอยู่พอดีค่ะ 
นับว่าตะเกียงวิเศษนี้ขลังจริง  ไม่ต้องถู ก็เนรมิตมาให้ได้ทันใจ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 11 ก.ย. 12, 14:01

 เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์เข้ามาในสยามครั้งแรก เป็นหนุ่มอายุเพียง 21 ปี    ทีแรกเขาไม่ได้ตั้งใจจะอยู่ทำงานที่นี่  แต่มาในฐานะนักเรียนภาษาไทย  เพื่อจะนำกลับไปรับราชการที่อังกฤษในฐานะล่าม     เพราะในรัชกาลที่ 4  ยังไม่มีคนไทยคนไหนพูดภาษาอังกฤษได้    
ในบทความเขียนว่า ภาพบ้านเรือนและสภาพแวดล้อมที่เห็นคนทำให้เฮนรี่ใจฝ่ออยู่ไม่น้อย  แต่ดิฉันคิดว่าไม่จริง    ถ้าหากว่าเจ้าตัวใจฝ่อจริงคงไม่อยู่ในสยามมาอีกยาวนานหลายปี จนกระทั่งได้เข้าร่วมขบวนเสด็จไปดูสุริยุปราคาที่หว้ากอเมื่อพ.ศ. 2411
เฮนรี่เที่ยวผูกมิตรกับปัญญาชนสยามในยุคนั้น  และสนใจศึกษาพุทธศาสนาจนเขียนหนังสือธรรมะได้  เรื่องนี้คุณนวรัตนเล่าไว้ข้างบนแล้ว จะไม่กล่าวซ้ำนะคะ

ในเมื่อเฮนรี่เป็นนักศึกษาหนุ่มที่ฉลาดปราดเปรื่อง มีความรู้หลายด้าน จึงได้รับแต่งตั้งเป็นรองกงสุล    ผลงานของรองกงสุลหนุ่มรายนี้  ข้ามสาขาจากการทูตไปถึงงานช่างสำรวจ เพื่อตัดถนนเจริญกรุง   คนเขียนบรรยายว่าวันแล้ววันเล่า  เฮนรี อาลาบาศเตอร์ต้องลุยสำรวจไปตามสวนผลไม้  ทุ่งนา  บุกน้ำลุยโคลนไปตามพื้นที่ต่างๆเพื่อจะวางเส้นทางถนนสายใหม่
ด้วยผลงานนี่เอง เฮนรี่จึงเป็นที่ถูกพระอัธยาศัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนได้รับพระบรมราชานุญาตให้เข้าไปอ่านหนังสือในหอสมุดหลวง(หรือว่าสมัยนั้นชื่ออะไรก็ตาม  ฝากตรวจสอบด้วยค่ะ)  ก็นับว่าความลำบากลำบนของฝรั่งคนนี้ยังประโยชน์ให้สยามอย่างมหาศาล
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 ก.ย. 12, 22:39 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 11 ก.ย. 12, 15:46

อลาบาสเตอร์ ทำงานอยู่สถานฑูตอังกฤษเจริญก้าวหน้าดังที่ อ.เทาชมพพูกล่าว ........ ต่อมาเกิดความกับ กงซูล น๊อกซ์ จึงลาออกไปศึกษาต่อ วิชากฏหมาย (เพิ่มเติม) แล้วกลับมาเวียนวนอยู่ แถวเอเชีย จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เสด็จประพาสต่างประเทศ จึงได้พบกับ อลาบาสเตอร์ อีกครั้ง และได้ทรงว่าจ้างให้เข้ารับราชการในบางกอก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๖ .....

ในวิกิฯ เขาว่า อย่างนั้น แต่ผมไม่แน่ใจว่า พ.ศ. ๒๔๑๖ ในหลวง รัชกาลที่ ๕ เสด็จฯ ประพาสที่ไหนบ้าง และ ได้พบกับอลาบาสเตอร์ ที่สิงค์โปร์ หรือที่อื่น ?  ตามข้อมูล คุณวิกิฯ .....

ในเว็บไซด์ http://valuablebook.tkpark.or.th/image/MT/mu.html ว่า ในหลวง รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาส แหลมมลายู สิงค์โปร์ ชวา ครั้งแรก ปี ร.ศ. ๙๘ (พ.ศ. ๒๔๑๓) และ อีกครั้งในปีถัดไป เสด็จฯ ไปถึงอินเดีย (พ.ศ. ๒๔๑๔) และครั้งสุดท้าย ในปี พ.ศ. ๒๔๓๑ จึงไม่แ่น่ใจว่า ได้ทรงพบอลาบาสเตอร์ ที่ไหน ? อย่างไร ?

กลับมาเมืองไทยอีกครั้ง อลาบาสเตอร์ เข้าทำงานเป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์ ในหน้าปกหนังสือ WHEEL OF THE LAW ระุบุว่า ท่านดำรงตำแหน่งเป็น Interpreter of Her Majesty’s Consulate General in Siam แปลว่ากระไร โปรดช่วยแปลให้ทราบด้วยเถิด......
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 11 ก.ย. 12, 17:18



คุณปิยะสารณ์ที่นับถือ

Her Majesty's Consulate General in Siam    คือ สถานกงสุลของสมเด็จพระบรมมราชินีนาถ(แห่งเกรทบริเตน)ประจำสยาม



        ตามอ่านเรื่องชองอาลาบาสเตอร์มานานแสนนานแล้ว      ข้อมูลหลายอย่างก็ซ้ำซ้อนและสับสนสำหรับคนที่เพิ่งเคยเห็น

หนังสือของสกุลเองที่ออกมาตั้งสามสิบกว่าตอน   ก็มีข้อมูลแย้งกันบ้าง    ข้อมูลบางอย่างก็หายไป   หาอยู่หนึ่งวันจนไปเจอว่าเป็น

ตอนที่ต้องเสียสตางค์อ่านเสียแล้ว  เช่นหนุ่มน้อยอาลาบาสเตอร์เขียนถึงลูกผู้น้องเรื่องการเดินทางหลายฉบับ      เรื่องปาลาเซียทนความร้อน

ในสยามไม่ได้
   
        แต่มีตอนใหม่หลุดออกมา  อันนี้อาลาบาสเตอร์เล่าให้ญาตืฟังว่า  ปาลาเซียมีเพื่อนๆแล้ว  แต่กลุ่มของเธอไม่ไปตามธิดากงสุลเลย

ปาลาเซียก็เขียนไปบอกญาติว่า  สามีทำงานหนักมาก   สตางค์ก็น้อย(ต้องรีบเล่าไว้  เดี๋ยวหายไปอีก)   



เรื่อง The Wheel of the Law  นั้น    เพิ่งเล่าไปไม่นานมานี้ว่า  อาลาบาสเตอร์แปลมาเป็นบางส่วน  และรวมมาจากหนังสือหรือบทความ

เรื่อง Modern Buddhist

        "The first part is a revised and enlarged edition of the "Modern Buddhist,"   the short essay in which I,
last year , introduced  to European readers a summary of an idea of an eminent Siamese nobleman on his
own and other religion".

        "The second part; which illustrates the traditionary phrase, is a Buddhist Gospel, or "Life of Buddha,"
commencing with events previous to his last birth and ending with his attainment of the Buddhahood."

ดูได้ที่  Preface xiv  และ   xv

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 11 ก.ย. 12, 17:32


        อาลาบาสเตอร์นั้น  ขยันและเรียนหนังสือสูง   จะทำงานกับน๊อกซ์ก็คงลำบากใจเต็มประดา

เพราะน๊อกซ์นั้นเรียนหน้งสือคงไม่จบมัธยม  และต่อสู้ชีวิตมาอย่างสาหัส   ขนาดเดินเท้าหนีเจ้าหนี้เล่นม้าเข้าเมืองไทยมาจนได้

เม่ื่อน๊อกซ์กลับไปอังกฤษและได้ยศปลอบใจ  ได้ไปอยู่ที่แถบท่องเที่ยวเชิงเขา   ไม้ได้เอาเมียเมืองไทยไปด้วย  แต่ทิ้งสตางค์ไว้มาก

แคโรไลน์ลงจากคานได้ก็เพราะแม่มีเงินมาก  แต่แคโรไลน์ปาเข้าไปจะสามสิบแล้ว  ในสมัยโน้นคงดูแก่มาก   สมัยสาวๆสวยคมขำ

สาวครึ่งชาตินั้นเมื่อสาวก็แหม่มดีๆนี่เอง    เมื่อสูงอายุก็ดูเหมือนหญิงแขก
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 11 ก.ย. 12, 17:52



       ยังไม่ได้ค้นเรื่องตอนอาลาบาสเตอร์กลับไปอังกฤษ   ว่าจะไปเรียนกฎหมายน่ะได้เรียนหรื่อไม่

จำไม่ได้ค่ะ     คิดว่าไม่มีข้อมูล     แต่มีเอกสารบอกไว้ว่าอาลาบาสเตอร์จะกลับมาต่อสุ้ทาง"กฎหมายกับน๊อกซ์"


       เรื่องนี้ถ้าจะเล่าแบบฝอย  ก็จะสนุกมาก   เพราะได้ให้ลิ้งค์ให้หลายท่านไปแล้ว


       การที่อาลาบาสเตอร์มีภรรยาเป็นคนไทย  และมีลูกอีกสองคน      คิดว่าในเวลานั้นเป็นเรื่องปกปิด   เพราะลูกไม่ได้รับมรดกเลย

ต้องต่อสู้เลี้ยงชีวิตด้วยความบากบั่นสาหัส     ภรรยาแหม่มรับพระราชทานเงินเลี้ยงชีพตลอดชีวิต  บุตรอีกสองคน(ตายตั้งแต่เด็กเสียคน)ก็

ได้รับพระราชทานค่าเล่าเรียนจนเรียนจบ           ความคงไม่ทราบถึงพระเนตรพระกรรณ       ของที่เอาไปเลหลัง

ก็เกลี้ยงบ้าน   ตั้งแต่ม่าน  พรมแขวน(คงสมบัติเก่าเพราะเมืองไทยร้อนอบอ้าว)  กระป๋อง  สายยางรดน้ำ


        หนังสือพิมพ์ในบอสตันก็เขียนไว้ในเดือนต่อมาหลังฝังศพว่า  อาลาบาสเตอร์ทำงานได้   ไม่เคยวางท่าเป็นคนมีความรู้

แต่ไม่ค่อบป๊อบปิวล่าร์   
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 11 ก.ย. 12, 18:54

สนุกมากเลยครับคุณวันดี

แปลว่า นายอาลาบาศเตอร์มาเมืองไทยพร้อมภรรยาแหม่มหรือครับ ผมไม่ทราบเรื่องเลย ยังงงว่าทำไมประวัติบอกว่าลูกเมียลำบากมาก ทั้งๆที่พระราชทานเงินเลี้ยงชีพให้ภรรยาหม้ายปีละ๓๐ชั่ง หรือ๓๐๐ปอนด์ ส่วนบุตรพระราชทานปีละ๒๐ชั่ง หรือ๒๐๐ปอนด์ อึมม์ มันเป็นยังงี้นี่เอง

ข้อสงสัยอีกประการหนึ่ง ทำไมนายอาลาบาศเตอร์ถึงไม่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระหรือพระยากับเขาบ้าง สมัยโน้นฝรั่งที่มารับราชการได้รับกันก็หลายคน มีท่านผุ้รู้ท่านใดพอจะทราบไหมครับ
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 11 ก.ย. 12, 20:42

ขอบคุณ คุณ Wandee ที่กรุณาแปล อย่างกระจ่าง

อลาบาสเตอร์ เมื่อเข้าทำงานกับฝ่ายสยามแล้ว ..... อ่านจากเอกสารหลายฉบับ ท่านคงทำงานเป็นตัวจักรสำคัญจริง เพราะต้องทำงานออฟฟิต(ของในหลวง) ออกสำรวจทำถนน วางสายโทรเลข และต้องจัดสวนที่สวนสราญรมย์ อีกด้วย (ทำงานหนัก คุ้มค่าเงินจ้าง และบ้านพระราชทาน )

เมื่อมีคดี พระปรีชากลการ ลูกเขยตา น๊อกซ์ ก็ขู่ฟ้อ ๆ ว่าจะฟ้อง รัฐบาลอังกฤษ ให้เอาเรือรบมาบอมสยาม จนในหลวงรัชกาลที่ ๕ ทรงตั้ง ราชฑูตพิเศษ ได้แก่ เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ และ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง - ชูโต) ไปอังกฤษเป็นการด่วน เพื่อชี้แจง ให้รัฐบาลของกวีนวิคตอเรียทราบ ดีที่ท่านรัฐมนตรีต่างประเทศ ขณะนั้น (Lord Salisbury) ไม่ตื่นตูมตาม กงซูล .......

คนที่เป็นคนคิดแนะนำ การตั้งราชฑูตพิเศษนี้ ก็คือ นายเฮนรี่ อลาบาสเตอร์ นั้นเอง ทำให้เรื่องในเมืองไทย ไม่ลุกลามเป็นเรื่องระหว่างประเทศ เพราะพ่อตา-ลูกเขย (ผมว่า เรื่องนี้ อลาบาสเตอร์ ปฏิบัติตนอย่างดีเยี่ยม ไม่นำเรือ่งส่วนตัว มาปะปนกับเรือ่งงาน ดังเช่นท่านกงซูล แม้จะมีความกันมาก่อน)

นอกจากราชการ ร้อน และ แรง แล้ว ท่านอลาบาสเตอร์ ยังเป็นที่ปรึกษาเรื่องย่อยๆ น่าปวดหัว ให้กับกระทรวงต่างประเทศของสยาม จุก จิก หลายเรื่อง ( เสนาบดีขณะนั้นคือ เสด็จในกรมเทวะวงศ์วโรปการ ซึ่งเป็นลูกศิษย์เรียภาษาอังกฤษกับอลาบาสเตอร์) เช่น เมื่อ บารอน สติลฟริด เข้ามาถ่ายรูปในเมืองไทย (มีประกาศขายรูปยาว ๓ เมตร ในสยามสไมย นั้นแหล่ะ)  ลงท้าย ก็โมเมว่า รัฐบาลจ้างให้มาถ่าย แถมค่าถ่าย แพงฉิบฉิว  ..... ต้องเรียกว่า เป็นที่ปรึกษา "ไม้จิ้มฟัน ยัง เรือรบ"
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 11 ก.ย. 12, 20:50



ท่านผู้ใหญ่อธิบายว่า  เป็นการใช้สอยส่วนพระองค์ค่ะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 11 ก.ย. 12, 20:52

ก่อนหน้าที่นายเฮนรี่จะมาสยาม ท่านได้สมัตรไปเป็นล่ามที่สถานกงสุลอังกฤษที่ประเทศจีน แสดงว่าท่านมีความรู้ความสามารถในด้านภาษาเป็นอย่างมาก
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 11 ก.ย. 12, 20:56


        บิดามารดาของอาราบาสเตอร์นั้น  สุขภาพอ่อนแอ  เป็น T.B.  ตายตามกันทิ้งลูกกำพร้าไว้สามคนตั้งแต่ลูกยังเล็ก

พี่ชายคนโตก็เสียชีวิตเป็น T.B.   ตั้งแต่ยังหนุ่มเพิ่งแต่งงาน
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 11 ก.ย. 12, 21:18



        สมัยนั้น  ฝรั่งอยากจะไปผจญภัยต่อสู้โลกของคนด้อยพ้ฒนา     มิชชันนารีล้วนอยากนำความเจริญไป

ให้คนเจริญขึ้นมากันทั้งนั้น       จีนไม่ให้เข้าเมืองมาค้าขาย    จึงเลยมาแอบ ๆ อิง ๆ  แวะมาแจกหนังสือ

ศาสนาพิมพ์เป็นภาษาจีนกันในสยามกัน             เรื่องของแจกคนจีนไม่แพ้ใคร   จึงแย่งกันถึงลงไปในน้ำ   

แล้วรับกระดาษไปปิดไว้ที่ประตู(ทำอะไรได้หลายอย่าง)

 

        ข่าวที่บอสตันแจ้งมาว่า  อาลาบาสเตอร์พูดและเขียนจีนไม่ได้แม้นแต่คำเดียว(ฉบับเดือนต่อมาค่ะ)



ตัวที่เก่งคือ ฮะรีปักส์   ลูกกำพร้าที่ไปเดินซื้อก๋วยเตี๋ยว บะหมี่  ไก่ และอะไรดีล่ะ....ผักกาด  แบบต้องทำงานก็พูดเป็นไปเอง

พี่เขยเป็นคนสอนภาษาจีนและสอบภาษาจีนของล่าม    ฮะรีปักส์ก็สอบได้อ่ะซี  อ่า  อายุ ๑๕ กระมัง

เรื่องฮะรีปักส์นี่ต้องเล่ากันได้อีกนาน         เขาเสียดสีข้าราชการไทยไว้มาก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 11 ก.ย. 12, 21:20

เรื่องลูกเมียของเฮนรี อาลาบาศเตอร์   ท่านมี 2 ครอบครัวพร้อมกัน   หลักฐานทางฝ่ายอังกฤษบันทึกว่ามีลูกชาย 3 คนกับคุณนายพาลาเซีย (สกุลเดิม ฟาเฮย์)  
ลูกชายคนแรกชื่อชาร์สล์ ชาลอนเนอร์ อาลาบาศเตอร์  เกิดเมื่อพ.ศ. 2412  หนึ่งปีหลังสิ้นรัชกาลที่ 4
ลูกชายคนที่สอง   ชื่อเอ็ดเวิร์ด เพอร์ซี  อาลาบาศเตอร์  เกิดในปีถัดมา คือพ.ศ. 2413    
ลูกชายคนที่สาม  ชื่อเออเนสต์  อาลาบาศเตอร์  เกิดเมื่อพ.ศ. 2415

ส่วนหลักฐานทางไทยบันทึกครอบครัวในสยามว่า ภรรยาคนไทยชื่อเพิ่ม   มีบุตรชาย 2 คนชื่อทองคำและทองย้อย   ทั้งสองรับราชการในสยาม ก้าวหน้าด้วยดีทั้งคู่
นายทองคำต่อมาคือมหาอำมาตย์ตรี พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ (ทองคำ เศวตศิลา) บิดาของ พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา องคมนตรี
ส่วนนายทองย้อย ต่อมาคือพระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง (ทองย้อย เศวตศิลา)
          
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 ก.ย. 12, 22:44 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 19
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.078 วินาที กับ 19 คำสั่ง