เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 19
  พิมพ์  
อ่าน: 63547 เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 18:45

สุสานของนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ที่ถนนสีลม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 18:47

ข่าวสุดท้ายเกี่ยวกับนายอาลาบาศเตอร์ของสยามไสมย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 18:50

รูปถ่ายสุดท้ายของนายอาลาบาศเตอร์ก่อนถึงแก่กรรม

แสดงความชราภาพเกินวัยไม่ถึงห้าสิบของสุภาพบุรุษอังกฤษท่านนี้


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 18:58

เรื่องของผมจบแล้ว แต่เรื่องของท่านคงยังไม่จบ
ขอเชิญช่วยกันเสริมต่อเพื่อบูชาคุณของฝรั่งที่อุทิศตนทำงานด้วยความจงรักภักดี ซื่อสัตย์สุจริต

เพื่อก้าวพ้นความล้าหลังของสยามที่ท่านเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสัมภารด้วยครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 19:07

เรื่องของผมจบแล้ว แต่เรื่องของท่านคงยังไม่จบ
ขอเชิญช่วยกันเสริมต่อเพื่อบูชาคุณของฝรั่งที่อุทิศตนทำงานด้วยความจงรักภักดี ซื่อสัตย์สุจริต

เพื่อก้าวพ้นความล้าหลังของสยามที่ท่านเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสัมภารด้วยครับ

จบเร็วจัง......อาลองเปิดสยามไสมยไปเรื่อยๆ จะเห็นคอลัมภ์ขายของเลหลัง ของบ้านนี้ขายหมดทุกรายการ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 19:39

เอ้า ก็เข้ามาช่วยกันนำเสนอซิครับ

สยามไสมยที่อยู่ในมือ ก็มีเร่ืองของท่านเพียงเท่านี้แล
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 20:22

เข้ามาเพิ่มเรตติ้งค่ะ
ภายในสุสานของนายเฮนรี อาลาบาสเตอร์  ตกแต่งอย่างประณีต  มีรูปปั้นหรือสลักครึ่งตัวของนายอาลาบาสเตอร์ประดับไว้สวยงาม  พร้อมคำจารึกว่า
To
Henry Alabaster
Formerly of H B.M.’s Consular Service
Afterwards in that of
His Majesty the King of Siam
By whom this monument was erected
In recognition of faithful service
Born A.D.1836
Died A.D.1884 

หมายความว่าสุสานของนายอาลาบาสเตอร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นพระราชทานเนื่องในคุณงามความดีของผู้ตาย ที่ทำงานสนองพระมหากรุณาธิคุณมาอย่างซื่อสัตย์

และมีคำจารึกว่า
A prophet is not without honour
save in his own country

แปลว่า  "นักปราชญ์นั้นย่อมไม่ไร้ผู้ยกย่อง    เว้นแต่ในประเทศของเขาเอง"

อาจเป็นคำจารึกตามความประสงค์ของผู้ตายเอง  หรือว่าตามที่ญาติหรือครอบครัวเห็นว่าเหมาะสม    ถ้าให้ตีความก็ขอเดาต่อว่า คงมีใครสักคนในหมู่คนรู้จัก เขียนยกย่องนายอาลาบาสเตอร์ ว่าเขาเป็นคนเก่งมีฝีมือเยี่ยมทีเดียว เสียแต่อังกฤษมองไม่เห็นเท่าที่ควร  จึงไม่ได้ยกย่องให้คุ้มค่าที่มีคนดีขนาดนี้   เป็นเหตุให้นายอาลาบาสเตอร์ต้องมาใช้ความสามารถในดินแดนอื่นแทนในบ้านเกิดเมืองนอนตนเอง
ถ้าเป็นคำจารึกที่โปรดเกล้าฯพระราชทาน   ก็ถือว่าเป็นการยกย่องนายอาลาบาสเตอร์อย่างสูง เท่าที่ชาวต่างชาติคนหนึ่งจะพึงได้รับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 20:37

อ้างถึง
สุสานของนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ที่ถนนสีลม

ขอแก้ว่า

สถานที่พำนักชั่วนิรันดร์ของเฮนรี อาลาบาศเตอร์ อยู่ที่สุสานโปรเตสแตนต์ ถนนเจริญกรุง ยานนาวา กรุงเทพมหานคร


บันทึกการเข้า
Matoom
อสุรผัด
*
ตอบ: 32


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 23:07

A prophet is not without honour
save in his own country

quote จาก Matthew 13:57 ครับ

http://bible.cc/matthew/13-57.htm
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 10 ก.ย. 12, 00:17

กราบขอบพระคุณ คุณ NAVARAT.C เป็นอย่างสูง ที่นำเรื่องราวของ นาย เฮนรี่ อลาบาสเตอร์ มาเผยแพร่ ..... ผมพยายามติดตาม สืบหา เรื่องราวของเขา ได้ความว่า ท่านเป็นฝรั่งอยู่เมืองไทย ที่รักเมืองไทย เป็นดังบ้านของตัว ใช่หาประโยชน์ ให้แก่แผ่นดินเดิมของตนไม่เลย และเป็นคนที่เริ่มนำความเจริญมาสู่สยาม ในยุคที่ ต้องปรับตัวให้ทันต่อโลก ฉนั้น ควรได้รับการสรรเสริญ เป็นอย่างยิ่ง บุคคลหนึ่ง

อลาบาสเตอร์ (Alabaster ) เป็นตระกูลเก่าแก่ ของอังกฤษ สืบสาวราวเรื่อง ได้ตั้งแต่ ศตวรรษที่ ๑๔ (ก็ ๕๐๐ กว่าปีมาแล้ว - บ้างก็ว่า สืบได้ตั้งแต่ ยุค พวกนอร์แมน เข้ามาในอังกฤษ ศตวรรษ ที่ ๑๒)  

Alabaster มาจากคำว่า "arbalester" ในตระกูลอลาบาสเตอร์ สันนิษฐานว่า ต้นตระกูล อาจเป็นผู้ทำหน้าไม้ (อาวุธชนิดหนึ่ง) ให้กับกองทหาร ฉะนั้น ตราประจำตระกูล จึงเป็นรูปหน้าไม้


บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 10 ก.ย. 12, 00:58

เฮนรี่ อลาบาสเตอร์ เป็นบุตรของ  James Chaloner Alabaster (๑๘๐๖ - ๑๘๔๐)  และ Harriet Sophia Woodman มีพี่น้อง สามคนคือ Charles Alabaster (๑๘๓๓ - ๑๘๖๕), Henry Alabaster  (๑๘๓๖ - ๑๘๘๔) และ Sir Chaloner Alabaster (๑๘๓๙ - ๑๘๙๘)

พอ เฮนรี่ อายุได้ ประมาณ ๔ ขวบ บิดา มารดา ก็ป่วย เสียชีวิตจากวัณโรค ติดๆ กัน ทำให้ สามพี่น้อง เป็นกำพร้า ต้องไปอยู่ในความอุปการะของป้า แต่บ้านนี้ ใผ่ความรู้ ได้ทุนเรียน King's College กันทั้งสามคน และเป็นนักเดินทาง ไม่มีใคร อาศัยอยู่อังกฤษเลย พี่ชายคนโต เป็นวัณโรค เช่นบิดามารดา จึงไปตั้งรกรากอยู่ที่นิวซีแลนด์

ส่วน Henry และ  Chaloner เมื่อเรียนจบแล้ว ก็ออกมาอยู่ฮองกง พี่คนกลาง (เฮนรี่) เดินทางเข้ามาเป็น ล่ามนักเรียน (Student Interpreter) และเข้ามาเีรียนภาษาไทย ส่วนคนน้อง เข้าไปทำงานอยู่ในจีน จนได้เป็น Vice - Consul ที่เซียงไฮ้ และตำแหน่งใหญ่โตจนเป็นท่านเซอร์ก่อนตาย......


ตอนเฮนรี่ เรียนที่ King College นั้น เดิม ท่านตั้งใจจะเรียนด้านพฤกษศาสตร์ ตามสมัยนิยม(ยุคนั้นกำลังฮิต) อ่านมาจากไหนแล้วก็ลืม ว่า ท่านสอบไม่ได้ หรือ เปลี่ยนความตั้งใจ ..... เป็นว่า มุมานะเรียน Surveying และ engineering เป็นหลัก แต่ก็ยังลงเรียนวิชา Botany เป็นวิชารอง

ตอนที่ท่านตามเสด็จฯ ในหลวงรัชกาลที่ ๔ ไปหว้ากอ ท่านก็อุตส่าห์ จะลงมือสำรวจพรรณพฤกษ์ เพราะมีนักพฤกษศาสตร์ ชาวฝรั่งเศส ชื่อ ชอง แบบติส หลุยส์ ปิแยร์ (J.B.J. Pierre) แต่ก็ไม่ได้ มีตัวอย่างสำรวจในครั้งนั้น ปรากฏเลย ผิดกับ ตา ปิแยร์ กับ ท่าน ชอร์มเบอร์ก ที่มีผลงานการเก็บตัวอย่าง ทางพฤกศาสตร์ มากมาย (ชื่อของท่านเชอร์ ชอร์มเบอร์ นี้แหล่ะ กลายเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ของ "สมัน" (Schomburgk's deer) สัตว์สูญพันธุ์ของไทย....... ส่วนผลงานของ ท่าน อลาบาสเตอร์ที่คิว (Kew Garden) นั้น ไว้จะมาเล่า เพราะเขามีความในกัน ลึกซึ่ง .......

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 10 ก.ย. 12, 04:53

ขอบคุณคุณปิยะสาส์นที่เล่าเรื่องนี้มากครับ ผมเขาไปอ่านที่นายอาลาบาศเตอร์บันทึกเรื่องหว้ากอตามที่คุณเพ็ญชมพูลิงค์ให้ เห็นเขียนเรื่องที่ฝรั่งเศสไปเก็บพันธุ์พฤกษ์เหมือนกัน บทความนั้นดีมากไม่ยาวเกิน และสะท้อนให้เห็นความรักคนไทยของท่านผู้นี้ อยากเอาลงไว้ในกระทู้ให้อ่านกันง่ายๆด้วย

ขอให้คุณเพ็ญช่วยแปลแล้ว กำลังรอลุ้นอยู่
ผมกำลังจะเดินทางไปต่างจังหวัดสองสามวัน คงไม่มีเวลาคร่ำเคร่งกับกระทู้นี้มากครับ กลับมาแล้วค่อยว่ากัน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 10 ก.ย. 12, 21:22

ผมแวะเข้ามาดู เห็นกระทู้นี้นิ่งอยู่กับที่ ไม่ทราบที่ผมเขียน"กลับมาแล้วค่อยว่ากัน"จะสื่อความหมายผิดไปหรืออย่างไร

ท่านที่จะกรุณาเสริมกระทู้นี้ ขอเชิญนะครับ ไม่ต้องรอผม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 10 ก.ย. 12, 21:47

ได้ไฟเขียวจากท่านเจ้าของกระทู้  ก็เลยแปลเรียบเรียงบทความที่มีคนเขียนเกี่ยวกับเฮนรี อาลาบาศเตอร์มาคั่นโปรแกรมไปพลางๆก่อนค่ะ จนกว่าเจ้าของกระทู้จะกลับมา

King's College ที่เฮนรีได้ทุนการศึกษาไปเรียนนั้นปัจจุบันก็คือ มหาวิทยาลัยลอนดอน   เฮนรี่เป็นนักเรียนหัวปราดเปรื่องคนหนึ่ง  เรียนได้หลายสาขาทั้ง  ทั้งกฎหมายนานาชาติ  วิศวกรรมศาสตร์   วิชาช่างก่อสร้าง  วิชาช่างสำรวจรังวัด  และพฤกษศาสตร์   สาขาทั้งหมดนี้เอื้อให้เฮนรีนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกสาขาในสยาม

ในสายตาฝรั่งที่เข้าในสยาม เมื่อค.ศ.1856  (พ.ศ   2399 ในรัชกาลที่ 4 )   กรุงเทพยังไม่ใช่เมือง ถ้าเทียบกับเมืองตามมาตรฐานยุโรป   สิ่งที่เรียกว่ากรุงเทพ  ก็คือวังหลวงกับวัดพระแก้วล้อมด้วยกำแพงมหึมาสีขาว   พ้นกำแพงออกไปก็มีวัดอีกจำนวนมากกระจัดกระจายอยู่ในหมู่ไม้    มีบ้านไม้ลอยอยู่บนแพสองฝั่งเจ้าพระยา    นอกจากนี้ก็ไม่มีอะไรนอกจากต้นมะพร้าว  สวนผลไม้  ไร่นาผืนเล็กๆ และที่ดินว่างมีน้ำท่วมขัง  
กรุงเทพไม่มีถนนให้เดิน  ผู้คนสัญจรกันไปมาทางน้ำ หรือมีคนแบกหามไปถ้าเป็นคนใหญ่คนโต    ฝรั่งที่พอจะเห็นหน้าได้ยู่ในสยาม มีแต่พวกกัปตันเรือโดยสารกับพวกมิชชันนารีเท่านั้นเอง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 10 ก.ย. 12, 22:04

   คำบรรยายข้างบนนั้น เป็นการมองจากสายตาฝรั่ง คนละแบบกับกวีไทยที่มองกรุงเทพว่าเป็น "อยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤๅ"      ดิฉันไม่ทราบว่าบทความนี้มาจากบันทึกของนายอาลาบาศเตอร์ หรือบันทึกของนักการทูตฝรั่งคนไหนที่เข้ามาสยามในสมัยนั้น     แต่จะคนไหนก็ตาม น้ำเสียงก็ออกจะดูวังเวงเมื่อบรรยายเมืองหลวงของประเทศที่เขาเห็นว่าแตกต่างจากประเทศเขาลิบลับ

   คนเขียนเล่าต่อไปว่า ในตอนนั้นสถานกงสุลของอังกฤษเพิ่งจะสร้างเสร็จ เป็นบ้านไม้ตั้งอยู่ตรงที่เป็นที่ว่าการไปรษณีย์  ริมถนนเจริญกรุงซึ่งเพิ่งตัดใหม่     การก่อสร้างนอกจากไม้กระดานสร้างบ้านซึ่งหาได้จากท้องถิ่นแล้ว  นอกนั้นพวกเครื่องประกอบทั้งหลายต้องสั่งตรงมาจากอังกฤษหมด เพราะไม่มีขายในสยาม  ไม่ว่าจะเป็นกุญแจประตู  สายยู ลูกบิด และกระจกหน้าต่าง ต้องอิมพอร์ตเข้ามาใช้ในการนี้ทั้งนั้น    กว่าจะเดินทางจากอังกฤษมาถึงสยามได้ก็ต้องใช้เวลาประมาณหกถึงแปดเดือน 
   นอกจากนี้ในกรุงเทพยังมีสัตว์ป่าอาศัยปะปนอยู่กับมนุษย์ได้ เห็นกันทั่วไป   ถ้าเดินลงไปที่สนามก็จะเจองูต่างๆ 13 ชนิดกับผีเสื้ออีก 27 ชนิด   แล้วยังมีแม้แต่คุกในสถานกงสุล  ( consular gaol)
    คำหลังนี้ดิฉันไม่แน่ใจว่าเขาหมายถึงอะไร   น่าจะเป็นห้องขัง เตรียมเอาไว้ขังชาวต่างชาติที่กระทำผิด อย่างห้องขังใต้ถุนศาล 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 19
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.048 วินาที กับ 19 คำสั่ง