เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 255 เมื่อ 30 ก.ย. 12, 13:16
|
|
รูปนี้ ไม่ใช่นักดาราศาสตร์ที่มาดูสุริยุปราคาที่หว้ากอในปลายรัชกาลที่ 4 แต่เป็นนักดาราศาสตร์ที่มาดูปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2418 ในรัชกาลที่ 5 ไม่มีอาลาบาศเตอร์ มีแต่พระนิเทศชลธี (เซอร์อัลเฟรด จอห์น ลอฟตัส) คุณ NAVARAT.C เจ้าของกระทู้อธิบายว่าภาพนี้ไม่ใช่ของจริง แต่เป็นหุ่นขี้ผึ้งที่ถูกจัดฉากตั้งแสดงไว้ในสถาบันทางดาราศาสตร์ในฝรั่งเศส เชิญอ่านได้ที่กระทู้นี้ค่ะ http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5377.45
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นอแรด
มัจฉานุ
 
ตอบ: 99
|
ความคิดเห็นที่ 256 เมื่อ 30 ก.ย. 12, 14:34
|
|
ขอบคุณครับท่านเทาชมพู ผมไปอ่านlink ที่ท่านให้มา แลท่านเองเอารูป ทางเดินของสุริยุปราคา ในวันที่ 6 เมษ 1875 มาประกอบนะครับ ไม่ใช่ปรากฎการณ์ ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ แต่อย่างไร สุริยุปราคานั้นเกิดขึ้นจริงเห็นได้ที่กทม.ด้วยซ้ำ เวลาประมาณ 14:30 กว่าก็บังเต็มดวงครับ
ปล. แก้ไข คศ ที่พิมพ์ผิด จาก 1975 เป็น 1875
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นอแรด
มัจฉานุ
 
ตอบ: 99
|
ความคิดเห็นที่ 257 เมื่อ 30 ก.ย. 12, 14:36
|
|
ส่วนรูปที่ว่าถึงแม้จะถ่ายมาจากหุ่นขี้ผิ้ง ผู้ปั้นหุ่นเอง ก็ต้องทำจากรูปถ่ายต้นฉบับครับ ไม่สามารถยกเมฆตามใจชอบ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 258 เมื่อ 30 ก.ย. 12, 14:41
|
|
ขอบคุณครับท่านเทาชมพู ผมไปอ่านlink ที่ท่านให้มา แลท่านเองเอารูป ทางเดินของสุริยุปราคา ในวันที่ 6 เมษ 1975 มาประกอบนะครับ ไม่ใช่ปรากฎการณ์ ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ แต่อย่างไร สุริยุปราคานั้นเกิดขึ้นจริงเห็นได้ที่กทม.ด้วยซ้ำ เวลาประมาณ 14:30 กว่าก็บังเต็มดวงครับ
รูปไหนคะ รูปนี้หรือเปล่าที่คุณบอกว่าเป็นทางเดินของสุริยุปราคา ในวันที่ 6 เมษ 1975  เห็นมุมบนขวาเขียนว่า 1875 April 06 ไม่ใช่ 1975 April 06 นะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นอแรด
มัจฉานุ
 
ตอบ: 99
|
ความคิดเห็นที่ 259 เมื่อ 30 ก.ย. 12, 14:49
|
|
ครับรูปนั้น ครับ ผมพิมพ์ คศ ผิดครับ ควรเป็น 1875 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 260 เมื่อ 02 ต.ค. 12, 18:49
|
|
ในหนังสือ "แคทยา และเจ้าฟ้าสยาม" พระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์ได้ทรงเขียนเล่าเหตุการณ์ที่หว้ากอไว้ น่าจะรวบรวมไว้ในกระทู้นี้ เพื่อความสะดวกที่จะศึกษาเรื่องราวซึ่งถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ท่อนหนึ่ง ในระหว่างจุดเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเพื่อให้สยามอยู่รอด พระจอมเกล้าฯทรงสนพระทัยในดาราศาสตร์อย่างยิ่ง ซึ่งอัครมหาเสนาบดีของพระองค์ก็สนใจอยู่ด้วย ทรงมีพระราชประสงค์จะให้พศกนิการของพระองค์เปลี่ยนแปลงความเชื่อถือ หันมายึดการคำนวณตามหลักคณิตศาสตร์มากกว่าโหราศาสตร์ ดังนั้น ทรงดีพระทัยยิ่งที่ทรงคำนวนพบว่า จะมีสุริยุปราคาเต็มดวงในวันที่๑๘สิงหาคม๒๔๑๑ ในวันที่๑๘กรกฎาคมพระองค์ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงนายเฮนรี อาลาบาสเตอร์ ล่ามของสถานกงสุลอังกฤษ ให้ช่วยกระตุ้นให้เซอร์แฮรี่ ออร์ด ข้าหลวงใหญ่ประจำสิงคโปร์และภรรยา ตอบรับคำเชิญของพระองค์เพื่อเดินทางมาดูสุริยุปราคาในครั้งนี้ ดังความตอนหนึ่งว่า
“ฉันได้มีโอกาสติดต่อกับเซอร์ แฮรี่ ออร์ด โดยทางจดหมายหลายครั้ง น้ำเสียงและถ้อยคำสำนวนในจดหมายเป็นที่พอใจฉันมาก จนฉันรู้สึกว่ามีความคุ้นเคยกับเขาเป็นอย่างดี เช่นเดียวกับภรรยาของเขาก็เป็นที่ชื่นชอบนับถือของบรรดามเหสีของฉัน… ..สุริยุปราคาครั้งนี้เป็นสิ่งที่น่าทึ่งและน่าสนใจเป็นที่สุด… ….โปรดช่วยฉันให้ประสบความสำเร็จดังประสงค์เท่าที่ท่านจะทำได้ ฉันจะรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณอย่างยิ่ง”
เนื่องจากไทยอยู่ในแนวสุริยุปราคาโดยตรง พระองค์จึงทรงหวังว่า จะสามารถโน้มน้าวพสกนิกรของพระองค์ให้เลิกงมงายกับความเชื่อโบราณที่ว่าสุริยุปราคาเกิดจากราหูอมอาทิตย์ ต้องตีฆ้องหรือจุดประทัดให้ราหูตกใจ จะได้คายดวงอาทิตย์อกมาใหม่ โดยหันมายอมรับความจริงว่าสุริยุปราคาเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สามารถทำนายได้ล่วงหน้า และอธิบายได้ด้วยหลักการที่เป็นเหตุเป็นผล
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 261 เมื่อ 02 ต.ค. 12, 18:51
|
|
ผู้สังเกตการณ์จากยุโรปจำนวนหนึ่งเริ่มทยอยเดินทางเข้ามาในภูมิภาคส่วนนี้ของโลก รวมทั้งคณะนักสำรวจจากฝรั่งเศสที่เข้ามาในไทยเพื่อการนี้โดยตรง จากการคำนวณของพระจอมเกล้าฯเอง สุริยุปราคาครั้งนี้จะเกิดขึ้นระหว่างเส้นแวงที่๙๙องศา ๔๒ลิปดาตะวันออก และเส้นรุ้งที่๑๑องศา ๓๙ลิปดาเหนือ พระองค์จึงได้เลือกตำบลรกร้างกลางป่าทึบแห่งหนึ่ง ไกลจากกรุงเทพไปประมาณ๑๔๐ไมล์ เป็นที่ทอดพระเนตรปรากฏการณ์ครั้งนี้ พระองค์ทรงเชื้อเชิญชาวต่างประเทศในกรุงเทพรวมทั้งคณะนักสำรวจชาวฝรั่งเศส ไปชุมนุม ณ ตำบลนั้นในวันที่๑๘สิงหาคม พระองค์ทรงต้อนรับ เลี้ยงดู และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ตามเสด็จอย่างเต็มที่ โดยไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่าย ประมาณว่า พระคลังข้างที่ใช้จ่ายในการนี้ไปถึง๒๐๐๐๐ปอนด์ มีการถางป่าเพื่อตระเตรียมที่ทางเป็นอาณาบริเวณกว้างประมาณ๒ไมล์ ปลูกพลับพลา ที่ประทับและที่พักชั่วคราวจนดูคล้ายกับเมืองเล็กๆ นอกจากนี้ ยังมีการสร้างพลับพลาที่หลังคาเลื่อนออกได้ เพื่อตั้งกล้องดูดาวของคณะสำรวจฝรั่งเศส
นายสเตฟาน หัวหน้าคณะสำรวจฝรั่งเศส ซึ่งมาทางบก(เพราะตอนนั้นคลองสุเอชยังไม่ได้เปิดให้เรือแล่นผ่าน) ได้เล่าถึงเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทยพร้อมข้าราชสำนัก กองทหารและชาวยุโรปจำนวนหนึ่ง เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคโดยเรือกลไฟของกองทัพเรือรวม ๑๒ ลำ มาถึงที่นี่เมื่อวันที่๘สิงหาคม ในขณะที่โดยทางบก ก็ยังมีเกวียนเทียมวัว ม้า และช้างอีก๕๐เชือก”
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 262 เมื่อ 02 ต.ค. 12, 18:53
|
|
ในวันที่๑๖สิงหาคม เซอร์แฮรี่ ออร์ด ผู้ว่าราชการสิงคโปรและภรรยาได้ตามมาสมทบ แต่เนื่องจากวันนั้นเป็นวันอาทิตย์ ผู้ว่าราชการฯและภรรยา ซึ่งต่างเป็ยคริสต์ศาสนิกชนที่เคร่งครัด จึงยังไม่ขึ้นจากเรือจนกว่าจะวันรุ่งขึ้น ขณะที่ขึ้นบกนั้น ก็มีพิธีการต้อนรับอย่างเป็นทางการ และยิงสลุต๑๗นัด ในจำนวนผู้ที่ตามเสด็จครั้งนั้น มีเจ้าจุฬาลงกรณ์และพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร พระราชโอรสของพระเจ้าอยู่หัว รวมทั้งโหรประจำราชสำนักจำนวนหนึ่ง ซึ่งถ้าโหรหลวงเหล่านี้มิได้กระตือรือร้นกับเหตูการณ์ครั้งนี้นัก ก็ย่อมจะเป็นที่เข้าใจได้ เพราะถ้าทุกอย่างเป็นไปตามคำทำนาย ก็แสดงว่า วิชาโหรของเขาก็เป็นสิ่งพ้นสมัย เชื่อถือไม่ได้อีกต่อไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 263 เมื่อ 02 ต.ค. 12, 18:55
|
|
พลับพลาที่ประทับนั้นตกแต่งด้วยผ้าแดง มีรั้วล้อมรอบ ถัดไปเป็นพลับพลาของอัครมหาเสนาบดี พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้ว่าราชการสิงคโปร คณะสำรวจจากฝรั่งเศส เจ้าหน้าที่กงสุลและแขกรับเชิญชาวยุโรป ตามลำดับความสำคัญและสถานะอย่างเคร่งครัด พระจอมเกล้าฯทรงรับรองผู้ตามเสด็จอย่างดี มีทั้งครอบครัวชาวไทย พ่อครัวฝรั่งเศสสำหรับทำอาหารฝรั่ง ในขณะที่มีเหล้าไวน์บริการไม่จำกัด และมีวงดุริยางค์หลวงอีกถึง๒วง คอยบรรเลงขับกล่อมทุกคืน
(ภาพล่างผมหาได้จากเวป บรรยายภาพว่าเป็นที่พักของคณะนักดาราศาสตร์ฝรั่งเศส)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 264 เมื่อ 02 ต.ค. 12, 18:57
|
|
รุ่งเช้าของวันที่เฝ้ารอมานาน อากาศดี สว่าง สดใส แต่แล้วทุกคนก็ใจหายวูบเมื่อถึงเวลา๑๐.๒๒น. ซึ่งเป็นเวลาเริ่มสุริยุปราคา เพราะมีเมฆเคลื่อนมาบดบังพระอาทิตย์จนมืดมิด คณะนักสำรวจฝรั่งเศสใช้เวลาเตรียมการมานานเป็นแรมเดือน และต้องรอนแรมมาไกลนับหมื่นไมล์ รู้สึกผิดหวังมาก แต่ราวกับว่าเป็นการบันดาลของสิ่งศักดิ์สิทธิ์มหัศจรรย์ ก่อนที่สุริยุปราคาจะเต็มดวงเพียง๒๒นาที ท้องฟ้ากลับแจ่มกระจ่าง เห็นดวงอาทิตย์กำลังถูกกลืนได้อย่างชัดเจน และสุริยุปราคาก็เกิดตามกำหนดเวลาที่ทรงคำนวณไว้ไม่ผิดเพี้ยน ดังที่พระองค์เจ้าดิศวรกุมารทรงบันทึกไว้ว่า “มันมืดมิดสนิทเสียจนกระทั่งมองเห็นดวงดาวจำนวนมากเต็มท้องฟ้า”
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 265 เมื่อ 02 ต.ค. 12, 18:58
|
|
ตอนนี้เองที่มีการยิงปืนใหญ่กันสนั่นหวั่นไหว พร้อมกับเสียงประโคมของแตรสังข์ และพระจอมเล้าฯและอัครมหาเสนาบดีของพระองค์ ต่างร้องตะโกนด้วยความดีใจเป็นภาษาอังกฤษว่า “ฮูรา ฮูรา” เพราะในภาษาไทยไม่มีคำอุทานแบบนี้ แน่นอนที่พระองค์และอัครเสนาบดีต่างก็ดีใจที่สามารถพิสูจน์ให้เห็นความแม่นยำของการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ ในค่ำคืนนั้นพระจอมเกล้าฯโปรดพระราชทานเลี้ยงใหญ่เป็นการอำลา ในขณะที่คงมีแต่โหรหลวงที่ไม่สู้สบายใจนัก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 266 เมื่อ 02 ต.ค. 12, 18:59
|
|
อย่างไรก็ดี การเสด็จกลับอย่างผู้มีชัยและความปลื้มปิติในความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของพระเจ้าอยู่หัวในงานทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ครั้งนี้ กลับนำไปสู่เหตุการณ์อันน่าเศร้าสลดใจอันเนื่องมาจากพลับพลาที่ประทับที่โปรดให้สร้าง ณ ตำบลในแนวของสุริยุปราคานั้น อยู่ในที่ลุ่มชื้นแฉะ เป็นแหล่งเพาะไข้มาลาเรีย โดยที่เป็นคราวเคราะห์ที่ไม่มีใครเฉลียวใจฉุกคิดขึ้นมาก่อนว่าจะเป็นตำบลที่จะเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อสุขภาพ ด้วยเหตุดังนั้นเอง พระจอมเกล้าฯจึงทรงพระประชวรล้มเจ็บอย่างแรงด้วยพิษไข้มาลาเรีย …..
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
นอแรด
มัจฉานุ
 
ตอบ: 99
|
ความคิดเห็นที่ 268 เมื่อ 03 ต.ค. 12, 10:56
|
|
และที่น่าสนใจไปกว่านั้น ก็คือ ใน Bangkok calender 1862 ได้มีการตีพิมพ์ เหตุการณ์ สุริยุปราคาที่จะเกิดขึ้นในปี 1862 ว่าจะมีกี่ครั้ง เห็นได้ที่ีประเทศใดบ้าง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นอแรด
มัจฉานุ
 
ตอบ: 99
|
ความคิดเห็นที่ 269 เมื่อ 03 ต.ค. 12, 11:03
|
|
และใน Bangkok calender 1862 เช่นกันมีการตีพิมพ์ ( จะใช้ว่าทำนาย ดีไหมหนอ ) ว่าจะเกิดการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ต่างๆ ในแต่ละเดือนว่าจะไปไหน เห็นได้เวลาไหน ......
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|