เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 19
  พิมพ์  
อ่าน: 63692 เฮนรี่ อาลาบาศเตอร์ ฝรั่งดีที่ฝากร่างและผลงานไว้ในสยาม
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 195  เมื่อ 18 ก.ย. 12, 01:12




        ท่านเฮนรี  อาลาบาสเตอร์   กลับมายังประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง ใน พ.ศ. ๒๔๑๖  หรือ ค.ศ. ๑๘๗๓

เป็นปีที่ ๕  ในรัชกาลที่ ๕
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 196  เมื่อ 18 ก.ย. 12, 06:07

อ้างถึง
คุณนวรัตน์เริ่มกระทู้ พระปรีชากลการเมื่อไร   จะได้รีบมาจองข้างเวทีค่ะ

น็อกซ์มาจากกองร้อยทหารพื้นเมือง       กว่าจะยิงปืนใหญ่ในไทยเป็นก็คงอ่านอินสตรัคชั่นเสียเหนื่อย

คงไม่ไหวแล้วละครับ เรื่องพระปรีชานี่ว่ากันมาหลายวิกแล้ว ต้องชวนคุณเพ็ญชมพูกับคุณแสนอักษรขึ้นมาแสดงผมขอจองข้างเวทีบ้าง หากกระทู้ถึงตอนมันๆ ผมเกิดของขึ้นๆมาจึงจะกระโดดขึ้นไปเล่น

คุณแสนอักษรนี้คือใครผู้ใดหนอ

จากเพ็ญชมพูผู้มีอักษรไม่ถึงแสน  แหะ แหะ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 197  เมื่อ 18 ก.ย. 12, 06:23

พ.ศ. ๒๔๑๕ รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสอินเดีย  เพื่อทำความตกลงเรื่องสัญญาเชียงใหม่ฉบับแรก
ในหนังสือสมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ  คุณวิมลพรรณ เล่าว่า ล้นเกล้าฯ ทรงชวนอลาบาสเตอร์
มารับราชการเป็นที่ปรึกษาที่กรุงสยาม  แสดงว่าเมื่ออลาบาสเตอร์จากเมืองไทยไปใน พ.ศ. ๒๔๑๔
น่าจะไปอยู่ที่อินเดีย  แล้วจึงเข้ามาเมืองไทยอีกครั้งใน พ.ศ. ๒๔๑๖
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 198  เมื่อ 18 ก.ย. 12, 07:14

ท่านเฮนรี อาลาบาสเตอร์ ถูกย้ายจากฮ่องกงเข้ามายังสยาม ในฐานะ นักเรียนล่ามประจำกรุงสยาม

ภายหลังเมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๐๑ (ค.ศ. ๑๘๕๘) ได้รับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยชั้นสอง ตอนนั้นกงสุลทำการในหน้าที่ราชทูต

เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๐๒ (๑๘๕๙)ได้เลื่อนเป็นผู้ช่วยชั้นที่ ๑ และทำงานในตำแหน่งนี้จนถึงวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๐๔(๑๘๖๑)

ได้เลื่อนเป็นล่ามตั้งแต่วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๗ (๑๘๖๔) และดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๑๔ (๑๘๗๑)


แสดงว่าที่มาของข้อมูลขัดกันน่ะซีครับ เพราะปีที่เสด็จหว้ากอคือ ปีพ.ศ. ๒๔๑๑ (๑๘๖๘) ตอนนั้นเอกสารอื่นๆว่านายอาลาบาศเตอร์เป็นDeputy Consul บ้าง Vice Consul เป็นรองกงซูลบ้าง แล้วแต่ชนชาติใดจะบันทึก ไม่เห็นมีใครกล่าวว่าท่านเป็นล่าม แล้วไปตามเสด็จในฐานะรักษาการกงสุลใหญ่ เป็นแขกพิเศษของพระเจ้าอยู่หัว

ผมผ่านตาข้อมูลที่คุณวันดียกมาให้ดูนี้เหมือนกัน แต่เห็นว่ามันยังไงๆอยู่ ผมจึงเลือกที่จะเขียนว่าท่านเป็นรองกงสุล เพราะใครอ่านแล้วก็เข้าใจได้ ถ้าเอามาเขียนว่า อังกฤษส่งตำแหน่งล่ามไปเป็นพระราชอาคันตุกะ และทรงจุดชนวนปืนยิงสลุตให้เกียรติด้วยพระองค์เอง คนอ่านสะดุดใจแน่

ด้วยความเคารพ เรื่องตำแหน่งล่ามกับตำแหน่งรองกงสุล(ซึ่งเป็นตำแหน่งบริหาร)นี่ ผมเชื่อตามแนวข้อมูลที่ท่านอาจารย์เทาชมพูนำมาเขียนนานแล้วครับ ประสบการณ์จริงที่ทำงานมา ผมก็เห็นแต่ล่ามนั่งข้างหลังผู้เจรจา สมองคิดแต่เรื่องหาคำแปล ไม่ได้คิดStrategy(ภาษาไทยแปลซะดุว่ายุทธศาสตร์)ในการเจรจาเช่นผู้บริหารเลย
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 199  เมื่อ 18 ก.ย. 12, 07:30

พ.ศ. ๒๔๑๕ รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสอินเดีย  เพื่อทำความตกลงเรื่องสัญญาเชียงใหม่ฉบับแรก ในหนังสือสมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ  คุณวิมลพรรณ เล่าว่า ล้นเกล้าฯ ทรงชวนอลาบาสเตอร์มารับราชการเป็นที่ปรึกษาที่กรุงสยาม  แสดงว่าเมื่ออลาบาสเตอร์จากเมืองไทยไปใน พ.ศ. ๒๔๑๔ น่าจะไปอยู่ที่อินเดีย  แล้วจึงเข้ามาเมืองไทยอีกครั้งใน พ.ศ. ๒๔๑๖
 


นี่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นตัวอย่างว่า Alabaster Chronicle ถูกบันทึกโดยผู้ที่อาจจะไม่รู้จริง หรือรู้ไม่หมด เพราะไม่ได้กล่าวไว้เลยว่าเมื่อ เฮนรี อาลาบาศเตอร์ หลังจากลาออกจากงานที่สถานกงสุลในกรุงเทพแล้ว กลับเมืองอังกฤษไปทำอะไรบ้าง มาอินเดียหรือเปล่า มาทำไม เราจึงต้องเดากันไปในทางว่า นายอาลาบาศเตอร์มีลูกมีเมีย เป็นผู้ใหญ่มีความคิดแล้ว คงจะไม่เดินทางผจญภัยมาหางานทำเอาดาบหน้า น่าจะได้รับงานที่สำคัญอะไรสักอย่างหนึ่งก่อน แล้วจึงจะเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมาอุษาคเนย์อันไกลโพ้น

ส่วนตัวผมจึงไปเดาว่า ท่านคงใช้ความรู้ภาษาไทยหางานที่ลอนดอน โดยเริ่มจากกงสุล(กิตติมศักดิ์)ของสยามที่นั่น เมื่อมีความชัดเจนในระดับหนึ่งแล้ว ท่านจึงเดินทางมา
เดาก็เขียนว่าเดานะครับ ไม่ได้เขียนในรูปแบบข้อเท็จจริง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 200  เมื่อ 18 ก.ย. 12, 07:37

อ้างถึง
คุณแสนอักษรนี้คือใครผู้ใดหนอ

จากเพ็ญชมพูผู้มีอักษรไม่ถึงแสน  แหะ แหะ

คิดถึงคุณแสนอักษรเน๊อะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 201  เมื่อ 18 ก.ย. 12, 08:01



แสนอักษรสบายดีค่ะ   วันก่อนไปดูหนังสือพงศาวดารจีนที่พิมพ์พระราชทานในงานศพสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์มา ๒ เล่ม

ปกสวยลายฝรั่ง  เป็นดอกไม้ดอกเล็ก ๆ   เรียงแถวกัน   ฝากปกไว้ที่คุณอาร์ตค่ะ


เรื่องข้อมูลที่ขัดกันนั้น   ขอเลือกที่จะเชื่อวิมลพรรณ  เพราะเธอใช้เอกสารต้นฉบับมากมายเป็นทรั้งค์ ๆ  และค้นอยู่เป็นสิบปี
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 202  เมื่อ 18 ก.ย. 12, 08:17



แสนอักษรสบายดีค่ะ   วันก่อนไปดูหนังสือพงศาวดารจีนที่พิมพ์พระราชทานในงานศพสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์มา ๒ เล่ม

ปกสวยลายฝรั่ง  เป็นดอกไม้ดอกเล็ก ๆ   เรียงแถวกัน   ฝากปกไว้ที่คุณอาร์ตค่ะ


เรื่องข้อมูลที่ขัดกันนั้น   ขอเลือกที่จะเชื่อวิมลพรรณ  เพราะเธอใช้เอกสารต้นฉบับมากมายเป็นทรั้งค์ ๆ  และค้นอยู่เป็นสิบปี


อุ๊ยๆๆๆ ออกชื่อเราด้วยฮ่ะ  ตกใจ

ปกสวย สีเทา (แต่คุณอีกคนแกว่าสีเขียวอมน้ำเงิน) ดอกไม้ลายทอง งามนักๆ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 203  เมื่อ 18 ก.ย. 12, 08:19

อ้างถึง
เรื่องข้อมูลที่ขัดกันนั้น   ขอเลือกที่จะเชื่อวิมลพรรณ  เพราะเธอใช้เอกสารต้นฉบับมากมายเป็นทรั้งค์ ๆ  และค้นอยู่เป็นสิบปี

ครับผม

ก็ต้องค้นหากันต่อไปว่าท่านมาทำอะไรในอินเดีย ถ้าไม่มีงานรออยู่แล้ว หรือจะออกแนวว่า ได้ทุนมาทำมาวิจัยเรื่องพระพุทธศาสนาต่อหลังจากประสพความสำเร็จในการเขียน Wheel of the Law

และถ้าเป็นเช่นนั้น ก็คงไม่ได้หอบลูกเมียมาให้เป็นภาระแก่ท่่าน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 204  เมื่อ 18 ก.ย. 12, 09:04

จดหมายเหตุ บางกอกรีคอร์ดเดอร์ โดยหมอบรัดเล ตีพิมพ์ฉบับวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1865 ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๐๘ ลงข่าวเรื่อง "คืนกลับมากรุงเทพ"

ณ วันพฤหัสบดี เดือนสิบ แรมหกค่ำ มิศเตอเฮนรี อาละบัศเตอเปนผู้ช่วยกงสุลอังกฤษ กลับมาแต่เมืองอังกฤษได้ภรรยาภามาด้วย

จึนำมาให้ชมกัน  ยิ้มเท่ห์


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 205  เมื่อ 18 ก.ย. 12, 09:13

^
ตรงนี้เป็นช่วงที่คุณวันดีคัดมาไว้

ได้เลื่อนเป็นล่ามตั้งแต่วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๗ (๑๘๖๔) และดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๑๔ (๑๘๗๑)

คือไม่ใช่ช่วงที่กลับเข้ามาเพื่อรับราชการ
เอ้า ช่วยหากันต่อปาย
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 206  เมื่อ 18 ก.ย. 12, 10:31

เรียงตามระยะเวลา อาศัยอ้างอิงจากคุณ Wandee และบทความของพระยาวันพฤกษ์พิจารณ์

(เรื่องคำนวนปี ถ้าผิดพลาด กรุณาทักท้วง เนื่องจาก ไม่ถนัด ปฏิทิน เปลี่ยนปีพ.ศ. เดือนเมษายน แบบเก่าครับ)


ล่าม (ตำแหน่งเกินอัตรา) ประจำสถานฑูตอังกฤษในจีน     ๓ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๕๖ - ๒๗ กันยายน ค.ศ. ๑๘๕๖  ( ๔ เดือน)
Superintendency ประจำสถานฑูตอังกฤษในจีน        ๒๘ กันยายน    ค.ศ. ๑๘๕๖ - ๓๑ มกราคม ค.ศ. ๑๘๕๗  ( ๔ เดือน)

เดินทาง เข้ามาสยาม.....


เป็นนักเรียนล่าม (Student Interpreter) - ไม่ปรากฏวันที่ ถ้าอนุมาน ก็น่าจะอยู่ในช่วง เดือนมีนาคม ค.ศ. ๑๘๕๗ - ก่อน ๑๙ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๕๘ (ประมาณ ๑ ปี เศษ)

ผู้ช่วยชั้น ๒ ประจำ สถานกงสุลกรุงเทพฯ        ๑๙ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๕๘ - ๒๓ มีนาคม ค.ศ. ๑๘๕๙ (ประมาณ ๑๐ เดือน)

ผู้ช่วยชั่น ๑ ประจำ สถานกงสุลกรุงเทพฯ        ๒๔ มีนาคม ค.ศ. ๑๘๕๙ - ๑๑ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๖๐ ( ประมาณ ๑ ปี ๒ เดือน)

ทำหน้าที่แทนล่าม                                 ๑๒ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๖๐ - ๒๑ ธันวาคม ค.ศ. ๑๘๖๑ (ประมาณ ๑ ปี ๖ เดือน)

ไม่ปรากฏว่า ทำตำแหน่งใด                       ๒๒ ธันวาคม ค.ศ. ๑๘๖๑ - ๒๙ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๘๖๔ (ประมาณ ๓ ปี)

ล่าม                                                 ๓๐ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๘๖๔ - ๓๑ ธันวาคม ค.ศ. ๑๘๗๑ ( ๗ ปี กับ ๑ เดือน)

บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 207  เมื่อ 18 ก.ย. 12, 10:52

ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่ง ล่าม ....  มีเหตุการณ์เกิดขึ้น ดังนี้

๑. เซอร์ ซอมเบอร์ก ออกจากตำแหน่ง กงสุล เดินทางกลับอังกฤษ ในปี ค.ศ. ๑๘๖๔ ( He retired from the public service in 1864, hampered by health problems )

๒. อลาบาสเตอร์ เดินทางกลับอังกฤษ เพื่อสมรส กับคุณ ปาลาเซีย เมื่อวันที่ ๒ กันยายน ค.ศ.  ๑๘๖๕ (อย่างน้อย ต้องเดินทางกลับไปอังกฤษ เป็นครึ่งปี .......)

๓. จากที่ อ. เทาชมพู กรุณาค้นคว้า ได้ความว่า "- ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งระหว่างพ.ศ. 2409-2411 เฮนรีได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองกงสุลอังกฤษประจำสยาม    และรักษาราชการแทนกงสุลตัวจริง เมื่อลากลับไปอังกฤษ"  = อลาบาสเตอร์ เป็นรองกงสุล ในปีค.ศ. ๑๘๖๖ (คงเมื่อกลับจากแต่งงาน)

ซึ่งสอดคล้องกับ ข้อเขียน ของเจ้าคุณวันพฤกษ์ฯ ว่า

"... เมื่อครั้นท่านได้รับตำแหน่งเป็นผุ้แทนกงสุล ซึ่งตามภาษาราชการไทย เรียกกันว่า "ผู้ว่าราชการแทนกงสุล" พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เสด็จไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่เกาะจานใกล้เกาะหลัก เมื่อปลายรัชกาลนั้น (พ.ศ. ๒๔๑๑) ท่านอาลาบาศเตอร์ก็ได้รับพระมหากรุณาให้ไปในการนั้นด้วย ......"


ตอนเซอร์ ชอมเบอร์ก ออกจากตำแหน่ง กงสุล อลาบาสเตอร์ ก็อายุประมาณ ๓๐ ปี ส่วน ตาน๊อกซ์ อายุ ก็ประมาณ ๔๐ ปี เข้ามาอยู่เมืองไทยก่อนพักใหญ่ ถ้านับอย่างไทย ก็อาวุโสสูงกว่า (ถ้าไม่พาดพิงเรื่องภูมิหลัง) ไม่มีเอกสารอยู่ในมือ จึงไม่ทราบว่า คำสั่งแต่งตั้ง น๊อกซ์ เป็นกงสุล เมื่อวันที่ เดือน ปี ใด?

ขอใช้ verb to เดา ว่า ถ้าไม่ใช่เรื่องการเมือง ก็คงเป็นเรื่อง อาวุโส กับ ผลัดกันกลับยุโรป ........
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 208  เมื่อ 18 ก.ย. 12, 11:28

สยามไสม ตีพิมพ์ไว้ว่าเมื่อนายอาลาบาศเตอร์ สิ้นชีวิตลง ในหลวงพระราชทานเงินเบี้ยเลี้ยงดูภรรยา ๓๐๐ ปอนด์ และบุตร ๒๐๐ ปอนด์ตลอดชีวิต

ภายหลังมีการขายของเลหลัง ทรัพย์สินของบ้านนี้หมด เช่น กระถางแก้ว เก้าอี้บุหนัง โคมไฟ กำปั่นเหล็ก ตู้ จานกระเบื้อง และอื่น ๆ จิปาถะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 209  เมื่อ 18 ก.ย. 12, 13:48

มาอ่านประวัติของที่ทำการทูตของอังกฤษกัน


หลังจากการเข้ามาของเซอร์จอห์น บาวริง เพื่อทำสนธิสัญญากับสยามในปี1855 ซึ่งมีผลในการบังคับใช้ในวันที่5เมษายนของปีถัดไปนั้น อังกฤษก็ได้ส่งกงสุลคนแรกเข้ามาเมืองไทยทันทีมีนามว่านายชาลร์ส แบตเทน ฮิลลิเออร์(Charles Batten Hillier) ท่านผู้นี้ติดโรคบิดมาจากไหนไม่ทราบ หรือเป็นของแถมจากการบริโภคน้ำดิบในเมืองไทยที่กระเพาะของฝรั่งเปราะบางเกินจะรับก็ได้ ทำให้ต้องไปพักฟื้นรักษาร่างกายทางใต้ แต่ระหว่างกลับมาเพราะมีราชการด่วนนั้น นายฮิลลิเออร์ก็ป่วยหนักจนเสียชีวิตลงเมื่อ18 ตุลาคม 1856 ร่างของเขาถูกฝังไว้ในสุสานโปรเตสแสตนท์ที่กรุงเทพ อ้อ นี่เองที่หนังสือรับสั่งอ้างถึงว่า ทรงให้จัดการพิธีศพของนายอาลาบาศเตอร์ให้ดีกว่าที่รัฐบาลอังกฤษทำให้กงสุลใหญ่ผู้นี้

ผมหาภาพที่ฝังศพของนายฮิลลิเออร์ไม่เจอ แต่เอาของนายอาลาบาสเตอร์มาให้ดูว่าเด่นกว่าผู้ใดในสุสานนั้น


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 19
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 19 คำสั่ง