เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 43 44 [45] 46 47 ... 50
  พิมพ์  
อ่าน: 266836 มาทายภาพบุรุษ และสตรีปริศนากันเถอะ !!!!
เทพกร
ชมพูพาน
***
ตอบ: 142



ความคิดเห็นที่ 660  เมื่อ 08 มี.ค. 13, 09:08

ท่านอาจารย์ เทาชมพู เก่งมาก ถูกต้องทีเดียวเชียวครับ

ประวัติของท่านอยู่ที่นี่ครับ http://www.thaiclassic.net/ver2011/index.php?option=com_content&task=view&id=57&Itemid=43


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 661  เมื่อ 08 มี.ค. 13, 16:39

หลานสาวท่าน คุณศิริพันธ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยาสืบทอดฝีมือซอสามสายจากเจ้าคุณตาได้ไพเราะเป็นที่เลื่องลือ    ตั้งแต่สาวๆ   ไปดูรูปในเน็ต ตอนนี้ก็ยังสวยอยู่

คลิปนี้คืองาน ๑๐๐ ปีพระยาภูมิเสวิน เมื่อพ.ศ. ๒๔๓๗    ท่านผู้อาวุโสนั่งรถเข็นที่เปิดดูหนังสือที่ระลึกในตอนต้นของคลิป คือม.ล.ปิ่น มาลากุล



บันทึกการเข้า
เทพกร
ชมพูพาน
***
ตอบ: 142



ความคิดเห็นที่ 662  เมื่อ 09 มี.ค. 13, 09:21

แล้วบุรุษท่านนี้คือใครครับ?  เจ๋ง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 663  เมื่อ 10 มี.ค. 13, 07:06

ท่านผู้นี้ที่อกเสื้อเบื้องซ้ายประดับเข็มข้าหลวงเดิม  ที่อกเสื้อเบื้องขวาประดับเข็มอักษรพระบรมนามาภิไธย รัชกาลที่ ๖ กับเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา  
ที่คอเสื้อประดับเเครื่องหมายประจำการเป็นอักษรพระบรมนามาภิไธย (ดูไม่ชัด แต่เดาว่าน่าจะเป็นอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ ป.ป.ร.)  
ดูจากเครื่องแบบซึ่งคาดว่าภาพนี้จะถ่ายภาพในสมัยรัชกาลที่ ๗ แล้ว  พอจะจำกัดวงให้แคบเข้ามาได้  เพราะในช่วงก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นมีนักดนตรีที่ได้รับ
พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เพียง ๘ ท่าน  และผู้ที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์สูงสุดเป็น ชั้นพระ หรือ หลวง  และได้รับราชการต่อเนื่องมา
ในรัชกาลที่ ๗ มีเพียง ๓ ท่าน คือ

หลวงเพลงไพเราะ (โสม  สุวาทิต - ต่อมาเป็นพระเพลงไพเราะ)   พ.ศ. ๒๔๕๕
พระเจนดุริยางค์ (ปีเตอร์  ไฟท์  วาทยกร)     พ.ศ. ๒๔๖๙
หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (สอน  ศิลปะบรรเลง)   พ.ศ. ๒๔๗๒

คำตอบสำหรับภาพข้างบนคือ พระเพลงไพเราะ (โสม  วาทิต)
บันทึกการเข้า
เทพกร
ชมพูพาน
***
ตอบ: 142



ความคิดเห็นที่ 664  เมื่อ 10 มี.ค. 13, 14:42

คุณ V_Mee มาถูกทางแล้วครับ
แต่บุรุษท่านนี้ มิใช่ "พระเพลงไพเราะ (โสม สุวาฑิต) ครับ  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 665  เมื่อ 10 มี.ค. 13, 15:29

หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดุรยชีวิน)



บันทึกการเข้า
เทพกร
ชมพูพาน
***
ตอบ: 142



ความคิดเห็นที่ 666  เมื่อ 10 มี.ค. 13, 16:27

ถูกต้องครับ บุรุษท่านนี้คือ หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูริยชีวิน) ครับ


บันทึกการเข้า
ศานติ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 190

อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ปัจจุบันเป็นช่างไม้


ความคิดเห็นที่ 667  เมื่อ 15 มี.ค. 13, 03:38

ผมไปพบรูปเก่าๆเห็นว่ารูปนี้น่าสนใจดี ข้างหลังเขียนว่า พิธีประทานธงชัยเฉลิมพล ๒๔๗๕  ผู้ประทานธงคือพระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ ใช่ไหมครับ ตอนนั้นคงเป็นหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ดูเหมือนจะเป็นผู้สำเร็จราชการฯ


บันทึกการเข้า
เทพกร
ชมพูพาน
***
ตอบ: 142



ความคิดเห็นที่ 668  เมื่อ 21 มี.ค. 13, 22:28

ดันกระทู้ไม่ให้ตกจอ

บุรุษในภาพท่านนี้ คือผู้ใดครับ?  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทพกร
ชมพูพาน
***
ตอบ: 142



ความคิดเห็นที่ 669  เมื่อ 21 มี.ค. 13, 22:31

แถมอีก 1 ท่าน ขอรับกระผม  ยิ้ม


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 670  เมื่อ 22 มี.ค. 13, 06:51

ภาพในความเห็นที่ ๖๖๘ ขอตอบว่า นายพลตรี พระยาสิงหเสนี (สอาด  สิงหเสนี)

ส่วนภาพพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาประทานธงไชยเฉลิมพลนั้นน่าจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นราว พ.ศ.๒๔๘๑  เพราะพระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ ทรงเป็นประธานคณะผู้สำเร็จราชการฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๑
บันทึกการเข้า
ศานติ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 190

อดีตศัลยแพทย์ช่องอกเส้นเลือด (เกษียณ) ปัจจุบันเป็นช่างไม้


ความคิดเห็นที่ 671  เมื่อ 22 มี.ค. 13, 08:52

ส่วนภาพพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาประทานธงไชยเฉลิมพลนั้นน่าจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นราว พ.ศ.๒๔๘๑  เพราะพระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ ทรงเป็นประธานคณะผู้สำเร็จราชการฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๑

ข้างหลังรูป มี พ.ศ. ๒๔๗๕ กับคำว่า ประทานธงชัยเฉลิมพล ไว้ครับ  เท่าที่จำได้จากสมัยเด็กท่านที่ประทานธงเป็นพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา แต่หลายสิบปีแล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 672  เมื่อ 22 มี.ค. 13, 10:06

รูปของคุณเทพกรแต่ละรูป  ต้องอาศัยฝีมือคุณ V_Mee มาตีความเครื่องราชฯ แต่ละดวง สายสะพายแต่ละสาย   จึงจะหายมืดแปดด้าน
ดิฉันไม่เคยเห็นหรือเคยก็นึกไม่ออก  ขอบายค่ะ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 673  เมื่อ 22 มี.ค. 13, 18:15

ตอบโจทย์ท่านอาจารย์ใหญ่
บุคคลในภาพนี้แต่งเครื่องแบบเต็มยศข้าราชการพลเรือนในพระราชสำนักรัชกาลที่ ๖ สังกัดกระทรวงวังหรือกรมมหาดเล็ก 
สอดสายสะพายมหาสุราภรณ์มงกุฎสยาม (ประถมาภรณ์มงกุฎไทย)  ดวงตราที่ห้อยคอ้เรียงจากบนลงล่าง คือ
ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ  จุลวราภรณ์ (ทวีติยาภรณ์) ช้างเผือก  ดาราที่อกเสื้อแถวบน มหาสุราภรณ์มงกุฎสยาม  ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
แถวล่าง จุลวราภรณ์ (ทวีติยาภรณ์) ช้างเผือก  อกเสื้อเบื้องขวาประดับเข็มอักษรพระบรมนามาภิไธย ร.ร.๖
ที่อกเสื้อประดับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.ชั้นที่ ๓  และเหรียญดุษฎีมาลา  ถัดไปดูไม่ออกครับ
ที่คอเสื้อติดเครื่องหมายประจำการเป็นอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ ว.ป.ร.พระมหามงกุฎ   

จากโจทย์ที่ท่านอาจารย์ใหญ่มอบหมายมา พอจะจำกัดวงให้แคบจนพอจะเดาได้ว่า  ท่านผู้นี้เป็นข้าราชสำนักในรัชกาลที่ ๖  มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา
และการที่ได้รับพระราชทาน ท.จ.ว.แสดงว่าท่านผู้นี้ได้รับพระราชทานพานทองเป็นเครื่องยศ  ที่เรียกกันว่า พระยาพานทอง  และการที่ได้รับพระราชทาน
สายสะพายด้วยนั้นแสดงว่า เป็นผู้มีตำแหน่งราชการในระดับอธิบดีหรือเทียบเท่า  เมื่อตรวจสอบดูข้าราชการในพระราชสำนักชั้นพระยาพานทองที่ได้รับ
พระราชทานสายสะพายแล้ว  ส่วนใหญ่ก็จะเป็นผู้ที่คุ้นหน้ากันอยู่  แต่ท่านผู้นี้ดูไม่ค่อยคุ้นนักจึงน่าจะเป็นพระยาบำเรอภักดิ์ (ทองดี  สุวรรณศิริ) สมุหพระราชมณเฑียร
สังกัดกระทรวงวัง  ซึ่งต่อมาเป็นพระยาสุวรรณศิริ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 674  เมื่อ 22 มี.ค. 13, 20:23

รอคำเฉลยจากคุณเทพกร    แค่อ่านที่คุณ V_Mee ถอดรหัสออกมาเป็นชั้นๆก็ได้ความรู้มากมายแล้วค่ะ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 43 44 [45] 46 47 ... 50
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 20 คำสั่ง