เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 50
  พิมพ์  
อ่าน: 266891 มาทายภาพบุรุษ และสตรีปริศนากันเถอะ !!!!
เทพกร
ชมพูพาน
***
ตอบ: 142



ความคิดเห็นที่ 210  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 13:20

ภาพนี้ยังไม่มีผู้ใดทายถูก จึงเพิ่มคำใบ้ให้นะครับ
1. เป็นอดีตอธิบดีที่กรมมีสัญลักษณ์เป็นพระิอินทร์
2. เป็นอดีตอธิบดีที่กรมมีสัญลักษณ์เป็นเทพแห่งศิลปวิทยาการ

คงจะทายถูกนะครับ  ยิ้มเท่ห์


บันทึกการเข้า
เทพกร
ชมพูพาน
***
ตอบ: 142



ความคิดเห็นที่ 211  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 13:24

ท่านนี้คงทายกันไม่ยาก เพราะมีจุดสังเกตหลายแห่ง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 212  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 13:31

# ๒๑๐


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 213  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 13:42

# ๒๑๑


บันทึกการเข้า
เทพกร
ชมพูพาน
***
ตอบ: 142



ความคิดเห็นที่ 214  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 13:52

ถูกต้องนะครับ  ยิงฟันยิ้ม
ภาพนี้คือภาพของ พันเอก หลวงรณสิทธิพิชัย (เจือ กาญจนิทุ) ครับ

          พันเอก หลวงรณสิทธิพิชัย (เจือ  กาญจนินทุ) เกิดเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๔๒ ตรงกับวันอังคาร แรม ๗ ค่ำ ปีกุน ณ ตำบลบางซื่อ อำเภอบางซื่อ พระนคร เป็นบุตรลำดับที่ ๓ จากจำนวนพี่น้อง ๕ คน ของพันตำรวจตรี หลวงนิกรบริรักษ์ (เจิม  กาญจนินทุ) และนางเนย  กาญจนินทุ

         เนื่องจากคุณพ่อของ พันเอก หลวงรณสิทธิพิชัย เป็นข้าราชการ ย่อมรู้ถึงคุณประโยชน์ของการศึกษาดี จึงให้ลูกทุกคนได้เข้าเรียนตั้งแต่อายุยังน้อย สถานศึกษาแห่งแรกที่พันเอก หลวงรณสิทธิพิชัย ได้เข้าศึกษา คือโรงเรียนวัดอัมรินทร์ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่อยู่ใกล้บ้าน หลังจากนั้นท่านได้ลาออกเพื่อไปเข้าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ศึกษาอยู่จนถึงพุทธศักราช ๒๔๕๔ จึงได้ไปสมัครเข้าโรงเรียนนายร้อยทหารบก โดยการแนะนำของพี่ชายคนโต คือ ร้อยโท ขุนพจนการโยธาทร (พจน์  กาญจนินทุ) ขณะศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก ได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็น  หัวหน้าหมวดในกองร้อยที่ ๑ โรงเรียนนายร้อยชั้นปฐม ผู้ช่วยผู้บังคับหมวดในกองร้อยนักเรียนนายดาบ โรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม และนักเรียนทำการนายร้อยกรมทหารราบที่ ๒๐ จังหวัดร้อยเอ็ด

          พุทธศักราช ๒๔๖๒ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก ปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็น นายทหารประจำกรมทหารบกที่ ๒๐ พุทธศักราช ๒๔๖๓ ได้รับพระราชทานยศร้อยตรี ปฏิบัติหน้าที่เป็น นายทหารฝึกหัดราชการ แผนกที่ ๕ กรมยุทธศาสตร์ทหารบก พุทธศักราชการ ๒๔๖๔ เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนกรมยุทธศาสตร์ทหารบก และโรงเรียนเสนาธิการทหารบก พุทธศักราช ๒๔๖๕ ได้รับพระราชทานยศร้อยโท ปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็น นายทหารฝึกหัดราชการ โรงเรียนการฝ่ายเสนาธิการ กรมยุทธศาสตร์ทหารบก นายทหารฝ่ายเสนาธิการ กองพลทหารบกที่ ๑๐ พุทธศักราช ๒๔๗๐ ปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็น นายทหารฝ่ายเสนาธิการ กองพลทหารบกที่ ๖ และในปีเดียวกันนั้นได้รับมอบหมายให้เป็น ครูวิชาทหาร กรมยุทธศึกษาทหารบก พุทธศักราช ๒๔๗๑ ได้รับพระราชทานยศร้อยเอก

          วันที่ ๒๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๕ ได้ร่วมในคณะราษฎรขอพระราชทานรัฐธรรมนูญจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ในปีเดียวกันนั้น ปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็น ผู้บัญชาการกองร้อยที่ ๓ กองร้อยนักเรียนนายร้อยและนักเรียนนายดาบ

          พุทธศักราช ๒๔๗๖ ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒ และปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็น ผู้บัญชาการ ร้อย ๑ พัน ๔ (พระนคร) ผู้บัญชาการนักเรียนนายร้อย ร้อย ๑ พุทธศักราช ๒๔๗๗ ปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นรองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๑ รักษาการในตำแหน่ง เสนาธิการมณฑลทหารบกที่ ๑ ในปีเดียวกันนั้น ได้รับพระราชทานยศพันตรี และก้าวหน้าในตำแหน่งทางราชการมาเป็นลำดับ จนพุทธศักราช ๒๔๗๘ ได้รับพระราชทานยศพันโท

          เป็นธรรมดาของผู้ที่ก้าวเข้าไปเล่นการเมือง ย่อมได้รับผลของการเมืองบ้าง ดังนั้น ชะตาร้ายทางการเมืองจึงได้เดินเข้ามาหา พันเอก หลวงรณสิทธิพิชัย เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๗๘ ได้มีคำสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็น ประจำกองบัญชาการ กรมเสนาธิการทหารบก และขอให้หยุดราชการไปพักผ่อนร่างกายในประเทศอินโดจีนฝรั่งเศส (คือประเทศกัมพูชา ซึ่งในขณะนั้นเป็นประเทศในอาณานิคมของประเทศฝรั่งเศส) โดยยังได้รับพระราชทานเงินเดือนอยู่ ขณะที่อยู่ในประเทศอินโดจีนฝรั่งเศสนี้ ได้เกิดกรณีพิพาทระหว่างประเทศไทยกับประเทศอินโดจีน คือการเรียกร้องดินแดนบางส่วนของประเทศไทยคืน ทางประเทศฝรั่งเศสทราบว่า พันเอก หลวงรณสิทธิพิชัย เป็นนายทหารฝ่ายเสนาธิการและต้องออกไปอยู่ที่ประเทศอินโดจีนฝรั่งเศส เพราะเหตุทางการเมือง จึงได้ไปติดต่อขอให้ช่วยกองทัพของฝรั่งเศส แต่ท่านได้ตอบปฏิเสธโดยเด็ดขาด เพราะรู้ว่าจะให้ช่วยทำแผนเข้าโจมตีประเทศไทย ท่านไม่มีเหตุผลอันใดที่จะทรยศต่อชาติไทย ถึงแก่ต้องลดฐานะของนายทหารไทย และคนไทยลงไปต่ำถึงเพียงนั้น เมื่อได้รับการปฏิเสธ ทางการของประเทศฝรั่งเศสจึงได้สั่งย้ายท่านจากกรุงพนมเปญไปอยู่ที่เมืองโชลอง อันเป็นถิ่นทุรกันดารซึ่งท่านก็ได้ปฏิบัติตาม

          ตลอดระยะเวลาที่อยู่ที่ประเทศอินโดจีนฝรั่งเศสนั้น พันเอก หลวงรณสิทธิ-พิชัย ได้เคยขออนุญาตกลับประเทศไทยไม่น้อยกว่า ๑๐ ครั้ง แต่ก็ไม่เป็นผล จนเมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๒ เมื่อผลการสอบสวนของคดีการเมืองในครั้งนั้นพาดพิงไม่ถึงท่าน ทางราชการจึงมีคำสั่งเรียกตัวให้กลับ ท่านได้ย้ายครอบครัวคืนกลับสู่ประเทศไทย เมื่อเดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๘๙

          เมื่อกลับสู่ประเทศไทยแล้ว เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๐ พันเอก หลวงรณสิทธิพิชัย ก็ได้รับเชิญให้เข้าดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมโฆษณาการ (ต่อมา เปลี่ยนชื่อเป็น กรมประชาสัมพันธ์) ปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็น ข้าราชการพลเรือนชั้นพิเศษ

          พลเอก กฤช  ปุณณกันต์ อดีตอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เขียนไว้ในหนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ พันเอก หลวงรณสิทธิพิชัย เกี่ยวกับงานที่ได้ปฏิบัติในขณะที่ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมโฆษณาการ ว่า

          “...คุณหลวงเป็นบุคคลพิเศษ ที่เป็นนักพูด นักเขียน เป็นผู้มีความคิดริเริ่มที่ดี และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการประชาสัมพันธ์นั้น เมื่อกองการโฆษณาซึ่งเป็นหน่วยงานประชาสัมพันธ์ของรัฐแห่งแรก ได้เปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานโฆษณาการ เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๔๗๖ แล้ว คุณหลวงก็ได้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าสำนักงานโฆษณาการเป็นคนแรก และเมื่อการโฆษณาได้ขยายงานเป็นกรมโฆษณาการ ท่านก็ได้กลับมาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมโฆษณาการอีกคำรบหนึ่ง เพราะท่านได้ทำงานให้เห็นผลเป็นที่ประจักษ์ว่าท่านได้วางรากฐานงานด้านประชาสัมพันธ์ไว้อย่างถูกหลักและมั่นคง ซึ่งเป็นแนวทางสะดวกต่อการพัฒนาสืบมาอย่างดียิ่ง อาทิเช่น การจัดรายการทางวิทยุกระจายเสียงอย่างถูกต้องทันสมัย ให้ความรู้ ความบันเทิง ให้ข่าวสารทันท่วงที เป็นสื่อกลางสำหรับประชาชนและรัฐบาล มีการให้ความรู้ในเรื่องประชาธิปไตย ให้ประชาชนได้ทราบทั้งทางวิทยุกระจายเสียง และทางไปปาฐกถาเผยแพร่ความรู้แบบหน่วยเคลื่อนที่ ซึ่งในขณะนั้นต้องเดินทางด้วยเรือ ด้วยขี่ม้า และเดินเข้าไปปาฐกถาตามหัวเมืองและชนบทห่างไกลที่ประชาชนยังด้อยการศึกษา มีสำนักงานท่องเที่ยวบริการประชาชนที่ทำงานแข็งขันเป็นที่นิยมของคนทั่วไป สำหรับในด้านวิทยุกระจายเสียงนั้น คุณหลวงได้พยายามฝึกฝนโฆษกให้พูดจาและอ่านข่าวอย่างถูกต้องตามอักขรวิธี โฆษกจะต้องผ่านการคัดเลือก โดยทดลองให้ผู้มีเสียงไพเราะให้อ่านข่าว อ่านประกาศ อ่านโฆษณาแจ้งความให้ถูกต้อง ทำให้มีโฆษกอักษรศาสตรบัณฑิตอยู่หลายคน

          การจัดรายการ ก็มีทั้งธรรมะ ความรู้ ความบันเทิงที่ให้ประโยชน์ ไม่เป็นพิษเป็นภัยแก่ผู้ฟัง และมีทั้งรักษาศิลปวัฒนธรรมไทยไว้ และดนตรีตามสมัยนิยม มีเรื่องสำหรับเด็ก อบรมจิตใจเด็กไปพร้อมมูล เมื่อย้ายจากกรมประชาสัมพันธ์ไปดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร ท่านก็ทำงานขยันขันแข็งตลอดมา นับว่าท่านเป็นบุรุษเหล็กได้คนหนึ่ง เพราะท่านเป็นทั้งนักการทหาร นักการเมือง นักสู้ นักประชาสัมพันธ์ นักเขียน นักพูดนักริเริ่ม และนักทำงานตลอดชีวิต..."

          นายรักศักดิ์  วัฒนพานิช อดีตอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ อีกท่านหนึ่งเขียนไว้ในหนังสือเล่มเดียวกัน เกี่ยวกับงานด้านประชาสัมพันธ์ที่ พันเอก หลวงรณสิทธิพิชัย ได้มีส่วนร่วม และผลักดันให้เกิดความเจริญก้าวหน้าแก่กรมประชาสัมพันธ์ว่า

          “...ท่านเป็นนักทำงานที่เข้มแข็ง เป็นนักริเริ่มที่ดี กิจการงานของกรมโฆษณาการในขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีอยู่ ได้ก้าวหน้าอย่างคึกคักมั่นคงและถูกต้อง ผลงานของท่านกล่าวได้ว่าเป็นรากฐานส่วนหนึ่งที่ทำให้งานประชาสัมพันธ์ก้าวหน้าเป็นประโยชน์ในด้านเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับรัฐบาลได้ผลดี ท่านได้ขยายงานด้านวิทยุกระจายเสียง ย้ายสถานีวิทยุจากศาลาแดง มาใช้
สถานีวิทยุพญาไท ตรงข้ามโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าฯ ทำให้งานด้านวิทยุกระจายเสียงก้าวหน้าต่อมาเป็นลำดับ

          ได้จัดให้ข้าราชการระดับประจำแผนกทุกคน ฝึกพูด ฝึกปาฐกถา เพื่อประโยชน์ในงานโฆษณาเคลื่อนที่ให้ประชาชนเข้าใจในระบอบประชาธิปไตย และเข้าใจนโยบายของรัฐบาลโดยถูกต้อง

          ท่านได้ดำเนินการปรับอัตราตำแหน่งเจ้าหน้าที่ช่างภาพ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายดนตรีจากลูกจ้างประจำ หรือข้าราชการวิสามัญ ให้เป็นข้าราชการสามัญ ทำให้งานด้านดนตรีและด้านช่างภาพโฆษณาเป็นรูปร่างขึ้น และขยายก้าวหน้ากว้างขวางขึ้นตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

          ได้เริ่มให้มีสถานีวิทยุภาคทดลอง ปชส. ขึ้นเป็นครั้งแรก การจัดรายการได้ใช้แผ่นเสียงไปตลอด มีโฆษณาสินค้าหรือข่าวย่อยบ้าง เช่น ข่าวมรณกรรมคั่นบ้างเล็กน้อย และได้จัดทำหนังสือเสียงวิทยุ แบบสารคดี ๕ นาที

          ท่านได้ให้มีการฝึกโฆษกหญิงขึ้นเป็นครั้งแรกของเมืองไทย

          ท่านได้จัดการประกวดเพลงไทยเดิม และเพลงไทยสากลขึ้น เพื่อส่งเสริมศิลปะการร้องเพลงที่ถูกแบบทั้งเพลงไทยเดิมและเพลงไทยสากล

          ท่านได้ขยายหน่วยปาฐกถาเคลื่อนที่กว้างขวางมากขึ้น และให้ดำเนินงานบ่อยครั้งขึ้น

          ท่านได้ขยายงานด้านส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยยกระดับแผนกส่งเสริมการท่องเที่ยวในกรมโฆษณาการขณะนั้นขึ้นเป็นสำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว จัดให้บริการประชาชนอย่างเข้มแข็ง ให้มีการนำเที่ยวสถานที่ต่าง ๆ ที่ให้ประโยชน์อย่างแท้จริง เป็นที่พอใจของประชาชนมากขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งในปัจจุบันเป็นงานที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศเป็นจำนวนมากแขนงหนึ่ง

          ในด้านสวัสดิการข้าราชการกรมประชาสัมพันธ์ ท่านได้ให้จัดตั้งร้านสหกรณ์ของกรมขึ้น ให้ข้าราชการซื้อของจำเป็นในการครองชีพ เช่น ข้าวสาร น้ำตาล ฯลฯ ในราคาถูก ผู้ใดจำเป็นต้องซื้อของเป็นจำนวนมากก็มีรถบริการให้ถึงบ้าน นับเป็นการช่วยสวัสดิการครอบครัวของข้าราชการได้เป็นอย่างดีและทันสมัย..."

          พันเอก หลวงรณสิทธิพิชัย เป็นผู้ที่มีความสนใจในงานประพันธ์ วรรณคดี ท่านได้เขียนเรื่องราวและบทความที่น่ารู้ น่าอ่าน และเป็นประโยชน์แก่การศึกษาเป็นจำนวนมาก สมัยที่ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมโฆษณาการ ระหว่างพุทธศักราช ๒๔๙๐ – ๒๔๙๓ นั้น ท่านได้เขียนบทความเผยแพร่ทางวิทยุกระจายเสียงหลายครั้ง ที่สำคัญได้แก่บทความเกี่ยวกับความรักชาติ เช่น เรื่องตื่นเถิดชาวไทย เส้นผมบังภูเขา เป็นต้น ในด้านวรรณคดีได้แต่งโคลงกลอนที่เป็นภาษิตหลายเรื่อง โดยใช้นามปากกาว่า “อินทุมาศ” อันมีความหมายเดียวกันกับนามสกุลของท่าน คือ “กาญจนินทุ” ที่แปลว่า “พระจันทร์สีทอง” ภาษิตที่มีชื่อเสียงรู้จักกันแพร่หลาย คือ ภาษิตอินทุมาศ และสุภาษิตานุสรณ์ ซึ่งได้นำออกอ่านเป็นวิทยุสุภาษิตานุสรณ์ และต่อมาได้ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นอนุสรณ์ในวันอายุครบ ๖๐ ปี ของท่าน นอกจากนั้นยังได้แต่งหนังสือคู่มือแม่บ้าน อันเป็นความรู้รอบตัวอีกด้วย
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 215  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 13:56

คุณเพ็ญฯ นี่เก่งทุดนัดเลยนะครับ นับถือ ๆ

ขอส่งภาพวาดสีน้ำมันชาวจีน ว่าท่านผู้นี้เป็นใครครับ


บันทึกการเข้า
เทพกร
ชมพูพาน
***
ตอบ: 142



ความคิดเห็นที่ 216  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 14:02

          พันเอก หลวงรณสิทธิพิชัย ปฏิบัติหน้าที่อธิบดีกรมโฆษณาการ ประมาณ ๓ ปี ก็ได้รับความไว้วางใจจาก จอมพล ป.  พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ให้ไปดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร ในวันที่ ๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ ซึ่งท่านก็ได้สร้างคุณูปการ และผลงานฝากไว้แก่กรมศิลปากรมากมายเช่นเดียวกัน

          ในหนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ พันเอก หลวงรณสิทธิพิชัย พลเรือตรีสมภพ  ภิรมย์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร เขียนเกี่ยวกับงานด้านการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และโบราณคดีของชาติ ขณะที่พันเอก หลวงรณสิทธิพิชัย ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร ไว้ว่า

          “...ท่านได้มุ่งหน้าปรับปรุงงานกรมศิลปากรให้ก้าวหน้าเป็นลำดับ ท่านได้เป็นผู้เริ่มให้ใช้อักษรย่อของกองและแผนกต่าง ๆ เป็นผู้ริเริ่มให้กองต่าง ๆ จัดทำสถิติส่งทุก ๆ เดือน ท่านพยายามหาโอกาสออกไปตรวจโบราณสถาน และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอยู่เสมอ เมื่อกลับมาก็พิจารณาปรับปรุงงานโบราณคดี และงานการพิพิธภัณฑ์ให้ก้าวหน้า นอกจากนั้นท่านยังสนใจวิชาประวัติศาสตร์ ได้เขียนบทความเรื่อง “ชาติไทย” ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงติดต่อกันเป็นเวลานาน ต่อมาได้มีผู้จัดพิมพ์เป็นเล่มขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๔ ท่านได้เสนอรัฐบาลขอให้พิจารณาจัดตั้งคณะกรรมการจัดทำประวัติศาสตร์ไทยขึ้น ซึ่งก็ได้รับอนุมัติ งานประวัติศาสตร์ไทยจึงได้เริ่มมาแต่ครั้งนั้น ในด้านเผยแพร่ความรู้ พ.อ. หลวงรณสิทธิพิชัย ได้รื้อฟื้นจัดให้มีการออกวารสารศิลปากรขึ้นอีก ในฐานะผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยศิลปากร ท่านเป็นผู้จัดตั้งคณะโบราณคดีขึ้น เพื่อจะได้เป็นสถาบันที่ฝึกอบรมผู้ที่จะมารับงานโบราณคดีและการพิพิธภัณฑ์สืบต่อไป งานในด้านสถาปัตยกรรม หัตถศิลป์ การสังคีต วรรณคดี หอสมุดแห่งชาติ และหอจดหมายเหตุ ท่านก็สนใจและพยายามหาทางที่จะให้งานดังกล่าวเจริญก้าวหน้า ...”

          นายนุ่ม  อยู่ในธรรม อดีตรองอธิบดีกรมศิลปากร เขียนเล่าถึงอุปนิสัยใจคอของพันเอก หลวงรณสิทธิพิชัย ในหนังสือเล่มเดียวกัน ว่า

          “...ข้าพเจ้าเริ่มรู้จักมักคุ้นกับ พ.อ. หลวงรณสิทธิพิชัย เมื่อปี ๒๔๙๕ โดยข้าพเจ้าโอนจากกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ปัจจุบันคือ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี) ไปรับราชการทางสำนักงานงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ในตำแหน่งหัวหน้าแผนกโต้ตอบ และเก็บ กองกลาง ขณะนั้นคุณหลวง ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร และบ่อยครั้งท่านต้องเป็นผู้รักษาการแทนปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ที่ประทับใจข้าพเจ้ามากคือ ความเป็นผู้รักเหตุผล และกล้าที่จะผจญกับความจริงโดยไม่เกรงอันตรายใด ๆ ทั้งสิ้น ยกตัวอย่าง เช่น เมื่อตอนแรกตั้งกระทรวงวัฒนธรรมนั้น กรมการวัฒนธรรมซึ่งยังไม่ค่อยมีภารกิจอะไรมากนัก ได้รับมอบจาก ฯพณฯ จอมพล ป.  พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ให้ดำเนินการเผยแพร่อุดมคติของขบวนการ M.R.A. (Moral Re-Armament) โดยถือว่าเป็นงานหลักที่สำคัญของกรมการวัฒนธรรม งานหนึ่ง ควบคู่กับงานของหน่วยวัฒนธรรมเคลื่อนที่ ขบวนการดังกล่าวนี้มีอุดมการณ์ ๔ ประการ คือ

          ๑.  มีความรักด้วยประการทั้งปวง
          ๒.  มีความซื่อสัตย์ด้วยประการทั้งปวง
          ๓.  มีความบริสุทธิ์ด้วยประการทั้งปวง
          ๔.  มีความไม่เห็นแก่ตัวด้วยประการทั้งปวง

          ขณะนั้นคุณหลวง ท่านเป็นนายกพุทธสมาคมอยู่ด้วย ท่านก็ค้านอย่างหัวชนกำแพงทีเดียวว่า หลักของพระพุทธศาสนาซึ่งชาวไทยนับถือกันอยู่โดยทั่วไปนั้นดีอยู่แล้ว ดีกว่าหลักการอื่น ๆ ของขบวนการ M.R.A. นี้ เช่น มีฉันทะ มีสัจจะ มีปาริสุทธ และมีจาคะ เป็นต้น ทั้ง ๆ ที่ท่านก็ย่อมทราบอยู่แล้วว่า ไม้ซีกหรือจะไปงัดไม้ซุง แต่เมื่อท่านเห็นว่าไม่ถูกต้องท่านก็ยอมเสี่ยงเพื่อทางที่ถูกที่ควร เดชะบุญที่ ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นเพื่อนผู้ก่อการด้วยประการหนึ่ง และ ฯพณฯ เป็นผู้ใหญ่ที่เคารพเชื่อในเหตุผลที่ถูกที่ควรของบุคคลอื่น คุณหลวงจึงไม่กระทบกระเทือนด้วยภัยอย่างใดเลย ถ้าเป็นสมัยอื่น ข้าราชการที่ปฏิบัติดังเช่นคุณหลวงรณสิทธิพิชัย ก็ไม่แน่นักว่าจะอยู่โดยปกติสุขได้...”

          นายบรรเจอด  กาญจนินทุ น้องชายของพันเอก หลวงรณสิทธิพิชัย เขียนเล่าถึงความสามารถ ความกล้าหาญ และการปกครองผู้ใต้บังคับบัญชาของพี่ชาย ในหนังสือเล่มเดียวกันว่า

          “...ในตอนที่หลวงรณสิทธิพิชัยกลับเข้ามารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนนี้ ข้าพเจ้าเคยได้ยินหลายคราว ที่ข้าราชการเคยพูดกันว่า หลวงรณสิทธิพิชัยเป็นทหาร คิดว่าคงจะปกครองและปฏิบัติต่อข้าราชการพลเรือนเช่นแก่ทหาร แต่ตรงกันข้าม หลวงรณสิทธิพิชัยเป็นทหารแต่ปกครองพลเรือนเช่นอย่างพลเรือนคนหนึ่งได้เป็นอย่างดี แต่ถึงแม้เมื่อมีชีวิตอยู่ในระหว่างทหารด้วยกัน ก็มีข่าวอยู่เสมอว่า การปกครองของหลวงรณสิทธิพิชัยนั้นอ่อนหวาน ไม่แข็งกร้าว ข้อนี้ข้าพเจ้าขอรับรองว่าเป็นความจริง ทั้งนี้ เพราะเราลูก ๆ ได้รับคำอบรมสั่งสอนจากคุณพ่ออยู่เสมอ และเป็นอย่างมากในหลักธรรมแห่งการปกครองคนนั้นกระมัง และก็ผิดกับการปฏิบัติการในการรบจริงที่บางเขน เป็นต้น หลวงรณสิทธิพิชัย ในฐานะผู้บังคับกองพันอยู่แนวหนุน ได้สังเกตการรบอยู่ในขณะนั้นพอสมควร อดนิ่งอยู่ไม่ได้ จึงคลานออกจากโรงนาที่แนวตั้งอยู่ออกไปดูสภาพแนวหน้า (พอออกจากโรงนาไปได้ไม่กี่เมตร โรงนาแห่งนั้นก็ถูกกระสุนปืนจากฝ่ายตรงข้ามอย่างหนัก) และก็กลับลงมาสู่แนวขออาสานำทหารในกองพันที่บังคับบัญชาออกไปแนวหน้าแทน และก็สามารถตะลุยไปข้างหน้าได้อย่างสะดวก

          ปัจจัยอีกประการหนึ่งอันเป็นการสนับสนุนวิธีการปกครองคนและบริหารงานเห็นจะเป็นเพราะหลวงรณสิทธิพิชัยมีนิสัยชอบดนตรี และการแสดงละครกระมัง เพราะดนตรีเป็นเหตุหนึ่งที่ช่วยทำให้จิตใจของคนอ่อนละมุนและรื่นเริง หลวงรณสิทธิพิชัยชอบการร้องเพลง และเคยร้องส่งในวงดนตรี (แบบกันเอง) หลายครั้ง

          เมื่อแรกออกรับราชการครั้งแรกที่ร้อยเอ็ด ก็เคยรวบรวมนายทหารและภรรยา มาฝึกซ้อมละคร จากบทละครที่แต่งขึ้นเองออกแสดงเพื่อการรื่นเริง และเพื่อการกุศลก็หลายครั้ง ทำให้จังหวัดร้อยเอ็ดตื่นตัวและครึกครื้นขึ้นมิใช่น้อย

          ตอนที่เข้ารับราชการเป็นอธิบดีกรมโฆษณาการนั้น นอกจากพิจารณาปรับปรุงการบริหารบางประการแล้ว ก็มาถึงการปรับปรุงฐานะของวงดนตรีสากลของกรม ซึ่งปรากฏว่าตั้งแต่นายวงลงไป ยังอยู่ในฐานะลูกจ้าง หลวงรณสิทธิพิชัยจึงได้จัดการให้มีการสอบเพื่อยกฐานะลูกจ้างมาเป็นข้าราชการสามัญ และก็ได้เป็นไปสมความมุ่งหมายนับว่าได้นำความก้าวหน้าในทางราชการให้แก่วงดนตรีสากลของกรมเป็นอย่างมาก ครั้นเมื่อได้ย้ายไปเป็นอธิบดีกรมศิลปากร ก็ได้ดำเนินการส่งเสริมวงดุริยางค์สากลของกรมนั้น ซึ่งข้าพเจ้าทราบมาว่าตอนก่อนนั้น วงดุริยางค์สากลของกรมศิลปากรเงียบเหงา เพราะขาดการฝึกซ้อม เนื่องจากอุปกรณ์บางประการ อาทิ สายซอ หรือลิ้นปี่ ไม่มีงบประมาณซื้อ ครั้นอธิบดีคนใหม่นี้เข้าไป ก็จัดแจงให้จัดตั้งงบประมาณเพื่อการนี้และนั่นก็ได้มีเสียงบรรเลงเสียงซ้อมกันดังขึ้น...”

          สมัยเมื่อดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร ระหว่างพุทธศักราช ๒๔๙๓ – ๒๔๙๘ นั้น พันเอก หลวงรณสิทธิพิชัย มีความสนใจในการค้นคว้าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดี เป็นพิเศษ ท่านได้เดินทางไปสำรวจโบราณวัตถุ โบราณสถานตามท้องถิ่นต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักรอยู่เสมอ จึงทำให้มีความรู้และความเข้าใจในการดำเนินงานทางด้านโบราณคดีอย่างดียิ่งผู้หนึ่ง งานด้านโบราณคดีที่ท่านได้ริเริ่มขึ้น และเป็นรากฐานของความเจริญในสมัยปัจจุบันก็คือ การขยายพิพิธภัณฑสถานในจังหวัดต่าง ๆ ให้กว้างขวาง และสนับสนุนให้มีการสำรวจและค้นคว้าเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นยังได้จัดหาทุนส่งเสริมข้าราชการกรมศิลปากรให้ไปศึกษาอบรมยังต่างประเทศมากขึ้น พร้อมกับเปิดสถาบันฝึกอบรมและสอนวิชาโบราณคดีแก่ผู้ที่จะเข้ารับราชการทางด้านนี้ ซึ่งสถาบันแห่งนี้ก็คือ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งในขณะนั้นอยู่ในสังกัดกรมศิลปากร

          นอกจากการจัดหน่วยงาน ส่งเสริมและสนับสนุนทางด้านวิชาการแล้ว พันเอก หลวงรณสิทธิพิชัย ยังได้ค้นคว้าและเรียบเรียงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีออกเผยแพร่เป็นจำนวนมาก ที่สำคัญคือเรื่อง “ไทยในแหลมทอง” ซึ่งเดิมได้เรียบเรียงเป็นบทความให้ชื่อว่า “บทความเรื่องไทย” บรรยายออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเป็นตอน ๆ เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๖ แล้วได้นำมาตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในวารสารศิลปากร ระหว่างพุทธศักราช ๒๔๙๖ – ๒๔๙๗ ครั้นพุทธศักราช ๒๔๙๗ ได้รวบรวมจัดพิมพ์เป็นเล่มขึ้น นับเป็นการพิมพ์ครั้งที่สอง ให้ชื่อว่า “ไทยในแหลมทอง” หนังสือเรื่องไทยในแหลมทองนี้ เป็นเรื่องที่กล่าวถึงความสำคัญและความเป็นมาของชาติไทย ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ สมัยสุโขทัย และสมัยปัจจุบัน ให้ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ ก่อให้เกิดความรักชาติ และซาบซึ้ง ในเรื่องราวของชาติ ทั้งที่เป็นอดีตและปัจจุบัน จึงนับว่าเป็นหนังสือที่มีคุณค่ายิ่งเรื่องหนึ่ง นอกจากนั้น ท่านยังได้เรียบเรียงถอดความในนิทานคำกลอนชื่อ “สุริยัน-จันทรา” ซึ่งตีพิมพ์อยู่ในวารสารศิลปากร ระหว่างพุทธศักราช ๒๔๙๕ – ๒๔๙๖ ออกเป็นความเรียงด้วย

          เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๔ ระหว่างรับราชการอยู่ณ กรมศิลปากร พันเอก หลวงรณสิทธิพิชัย ผู้เกิดมาในตระกูลที่นับถือพระพุทธศาสนา และประกอบด้วยศรัทธาปสาทะแห่งตน จึงสละเพศฆราวาสเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ณ พัทธสีมา วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัฌชาย์ และสมเด็จพระสังฆราช (จวน  อุฏฐายี) แห่งวัดมกุฏกษัตริยาราม
ขณะเมื่อดำรงสมณศักดิ์เป็น พระสาสนโสภณ กับพระพรหมมุนี (ผิน  สุวโจ) แห่งวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ในระหว่างที่อยู่ในสมณเพศนั้น ท่านมีความสามารถสอบได้เป็นนักธรรมเอก แล้วได้ลาสิกขาบท คืนเข้าสู่กรมศิลปากรตามเดิม

          ระหว่างที่อุปสมบทนั้น ท่านได้เขียนเรื่องราวที่เกี่ยวกับธรรม และพุทธปรัชญาออกเผยแพร่ เช่นพุทธประวัติ ประทีปแห่งเอเชีย เทศนาสามกัณฑ์ และเรียงความกระทู้ธรรม เป็นต้น

          พุทธศักราช ๒๔๙๗ ได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศพันเอก

          ปลายปีพุทธศักราช ๒๔๙๘ พันเอก หลวงรณสิทธิพิชัย ได้ลาออกจากราชการ และตัดสินใจหาที่วิเวกเพื่อสงบจิตใจจนกว่าจะสิ้นชีวิต ในที่สุดก็ได้เลือกส่วนหนึ่งของวัดถ้ำมังกรทอง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นที่ฝึกวิปัสสนา และถือศีล ๘ โดยได้รับอนุญาตจากหลวงพ่อจ้อย  เขมิโย ผู้เป็นเจ้าอาวาส อนุญาตให้ท่านสร้างอาศรมไม้ชั้นเดียว กว้างขวางพอที่ลูก ๆ หรือญาติ ๆ หรือผู้อื่นที่รักใคร่ไปขอพำนักบ้าง ท่านได้ฝึกวิปัสสนา และถือศีล ๘ โดยปวารณาตัวขอเป็นศิษย์พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก  ญาณสิทธิเถร) ขณะเมื่อท่านดำรงสมณศักดิ์เป็น พระราชสิทธิมุนี ท่านได้กรุณาสอนและให้ทางปฏิบัติอย่างถี่ถ้วน ซึ่งพันเอก หลวงรณสิทธิพิชัย ได้จดจำ และนำมาปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
จนการวิปัสสนาก้าวหน้าขึ้นไปเป็นลำดับ

          พุทธศักราช ๒๕๐๓ ขณะที่พันเอก หลวงรณสิทธิพิชัย ฝึกวิปัสสนาที่อาศรม วัดถ้ำมังกรทองนี้ แขนและขาข้างขวาของท่านเกิดอาการชาเหยียดยืดไม่สะดวก จำเป็นต้องหยุดการวิปัสสนา และถือศีล ๘ ลงเสีย เพราะจะทำให้อาการทรุดหนักมากขึ้น ภายหลังได้เริ่มมีอาการของโรคอัมพาต เริ่มด้วยการบังคับขาขวาไม่ได้ ต่อมาก็เป็นแขนขวา และอาการก็มากขึ้นเป็นลำดับ ในช่วงนี้ท่านได้รับการรักษาโดยแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนโบราณ แต่อาการของท่านก็มีแต่ทรุดลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงต้องนอนอยู่กับที่ต้องป้อนอาหารและจับพลิกตัวให้ โดยที่ท่านไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย ถึงแม้ว่าการรักษาทางกายจะไม่ได้ผล แต่ทางจิตใจท่านได้รับการรักษาดูแล ได้รับความอบอุ่นอย่างเต็มที่จากลูก ๆ และหลาน ๆ

          พันเอก หลวงรณสิทธิพิชัย ได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕ สิริอายุได้ ๗๓ ปี ๕ เดือน ๑๕ วัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศโถ พร้อมเครื่องประกอบเกียรติยศ และได้มีพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม เมื่อวันจันทร์ ที่ ๘ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๑๖

อ้างอิงจาก หนังสือสดุดีบุคคลสำคัญ เล่มที่ 24
อรุณี แดงพันธ์ เีรียบเรียง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 217  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 14:06

# ๒๑๕



บันทึกการเข้า
เทพกร
ชมพูพาน
***
ตอบ: 142



ความคิดเห็นที่ 218  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 14:14

หาอ่านรายละเอียดของภาพปริศนาได้ที่เล่มนี้นะครับ ยิ้มกว้างๆ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 219  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 14:19

เจ้านายท่านนี้ ท่านชื่ออะไรเอ่ย


บันทึกการเข้า
เทพกร
ชมพูพาน
***
ตอบ: 142



ความคิดเห็นที่ 220  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 14:21

ต่อกัันด้วยภาพนี้ ใหม่ขึ้นมาหน่อย ท่านเป็นใครกันหนอ


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 221  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 17:08

พอบอกใบ้เข้านิดคุณเพ็ญก็ระบุนาม เจ้าพระยามุขมนตรี (อวบ  เปาโรหิตย์) ได้ในเวลาอันรวดเร็ว
ก่อนที่ท่านผู้นี้จะได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยามุขมนตรี ตำแหน่งสมุหพระนครบาล  ซึ่งจะเทียบกับตำแหน่ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในปัจจุบันได้หรือไม่? คงต้องรบกวนท่านผู้รู้ช่วยกันวิพากษ์ต่อไป
ท่านมีบรรดาศักดิ์เป็น พระยาราชนกูล วิบุลยภักดี  เมื่อท่านเลื่อนเป็นเจ้าพระยามุขมนตรีแล้ว
จึงเป็นการเปิดทางให้พระยาไพศาลศิลปสาตร์ (รื่น  ศยามานนท์) ที่เคยมีรูปมาทายกันก่อนหน้านี้
ย้ายจากปลัดทูลฉลองกระทรวงธรรมการมาเป็นปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย  และเปลี่ยน
ราชทินนามมาเป็น พระยาราชนกูล วิบุลยภักดี คนสุดท้าย
 
บันทึกการเข้า
benzene
อสุรผัด
*
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 222  เมื่อ 26 ก.ย. 12, 07:14

เจ้านายท่านนี้ ท่านชื่ออะไรเอ่ย


ทูลกระหม่อมเอียดเล็ก ครับผม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 223  เมื่อ 30 ก.ย. 12, 19:01

พระรูปเจ้านายเล็กๆ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 4  ที่นำมาลงนี้  มีผู้รู้พอทราบไหมคะว่าเป็นพระองค์ใดบ้าง   
คนถามคือคุณสืบ บุณยรัตพันธุ์    ดิฉันอาสาเอาลงในเรือนไทยเพื่อหาคำตอบให้

พระรูปแรก
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ประทับนั่งพร้อมกับพระราชโอรส   สตรีในภาพน่าจะเป็นเจ้าจอมมารดาเที่ยง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 224  เมื่อ 30 ก.ย. 12, 19:02

พระรูปที่สอง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 50
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.048 วินาที กับ 20 คำสั่ง