เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 50
  พิมพ์  
อ่าน: 265725 มาทายภาพบุรุษ และสตรีปริศนากันเถอะ !!!!
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 195  เมื่อ 24 ก.ย. 12, 21:54

Cogito ergo sum  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 196  เมื่อ 24 ก.ย. 12, 23:08

^
« je pense, donc je suis ».

แล้วจำได้ไหมคะว่าใคร
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 197  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 05:59

สุภาพสตรีสาว และเด็กน้อยในภาพนี้ จำได้ไหมคะว่าใคร



เด็กน้อยในภาพเมื่อเจริญวัย

จำได้ไหมเอ่ย   ยิ้มเท่ห์


บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 198  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 08:45

Cogito ergo sum  ยิงฟันยิ้ม


ทุกท่านคงทราบดีอยู่แล้วว่าเป็นวลีทองของ René Descartes ที่ปรากฏในหนังสือ Principles of Philosophy (ที่จริงชื่อหนังสือคือ Principia philosophiae แต่ original วลีจริงๆต้องเป็นภาษาฝรั่งเศส อย่างที่ท่านเทาชมพูโค๊ดไว้คือ  "Je pense donc je suis" จากหนังสือ  Discourse on Method (ตีพืมพ์ตังแต่ปี 1637))

ผมมีความเชื่อและความคิด(ส่วนตัว)ว่า ความรู้ความเข้าใจจะเกิดได้ต้องผ่าน "ความคิด"

ผมเลยคิดเลยเถิดอยากให้ เว็บ "เรือนไทย" เป็นเว็บ "วิชาการ" จริงๆ

"วิชาการ" ที่ว่านี้คือ ทำให้ผู้อ่านได้ "ข้อมูล" หรือ ""ความรู้" เพื่อไปสู่ "การคิด"

"ข้อมูล" ที่ว่านี้อาจผิดบ้างถูกบ้าง เราท่านทั้งหลายก็ช่วยกันแก้ไขปรับปรุงโดยอิงหลักฐาน อาจไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ในทุกเรื่อง แต่ก็ดีกว่าการแพร่คร้งแรกอย่างแน่นอน

กระทู้เรื่องนี้ บางความเห็นก็ให้ "ข้อมูล" ที่มีประโยชน์ เช่น ความเห็นที่ 181 และ 182 ของท่านเพ็ญชมพู (ความเห็นอื่นอาจมีข้อมูลเหมือนกันแต่ผมมิได้เปิดดูทุกหน้าจึงมิได้กล่าวถึง ต้องขออภัยด้วยครับ)
แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการโพสต์รูปและทายชื่อ ซึ่งต้องขออภัยที่ผมมองไม่ออกว่า การจับคู่ได้ถูกต้องระหว่าง "หน้าตา" กับ "ชื่อ" ได้ถูกต้องนั้นทำให้เกิด "ความรู้" อันนำไปสู่ "ความคิด" ได้อย่างไร ผม

แรกๆผมก็พยายามมองในแง่บวกและบอกกับตนเองว่า กระทู้นี้ในมุมมองของท่านอื่นอาจมองว่า ก็เหมือนเล่นเกมทั่วไปคือช่วย "ผ่อนคลาย" "สร้างความ "เพลิดเพลิน"

แต่ก็เห็นว่า ไปเรื่อยๆ ก็เลยกระทุ้ง (ออกจะแรงไปนิดหน่อย) โดยการโค๊ดวลีทองดังกล่าว

ที่ตอบมายืดยาวเพราะท่านเจ้าเรือนได้กรุณาโค๊ดวลีทองที่เป็นภาษาฝรั่งเศสตามมา

เกรงว่าเดี๋ยวผู้อื่นจะเข้าใจว่า ผมแย่งscene โดยแทนที่จะให้ทายหน้าตา กลับมาตั้งเรื่องให้ทายว่า ใครเป็นเจ้าของวลีเด็ดๆ ที่(เกรงว่า) อาจจะตามมา



ท่านเจ้าเรือนหรือadmin อ่านความเห็นนี้แล้วและเกรงว่าจะทำให้ "บรรยากาศ" ของเว็บนี้เสียไปและอาจก่อให้เกิดความไม่สงบวุ่นวายในบ้านเมือง (ปานนั้น) กระผมก็ยินดีให้ "ลบ" ความเห็นนี้ได้นะครับ

เพียงแต่เล่า "ความคิด" ของผมให้ฟังเท่านั้นเองครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทพกร
ชมพูพาน
***
ตอบ: 142



ความคิดเห็นที่ 199  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 09:32

ตอบภาพปริศนา ในความเห็นที่ 197

สตรีในภาพซ้ายมือ คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทุรัตนา
บุรุษในภาพขวามือ คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์ ครับ ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 200  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 09:35

หลายท่านอาจมองว่าเป็นแค่การเล่นเกมทายชื่อจากภาพ นั่นก็ส่วนหนึ่งค่ะ ได้ความสนุกจากการทาย การลุ้น ว่าจะถูกไหม
แต่ก่อนที่จะได้ชื่อท่านเหล่านั้นมา ต้องผ่านการ ค้นคว้า การเสาะแสวงหา การประมวลเรื่องราว การคิดวิเคราะห์
ซึ่งแน่นอนค่ะว่า ต้องได้รับความรู้เพิ่มขึ้น ทุกครั้งที่เข้ามาร่วมเล่นเกม
แม้ว่าจะเฉลยแล้วว่าท่านเหล่านั้นคือใคร ชื่ออะไร แต่ถ้าเราสงสัยใคร่รู้ต่อไปเกี่ยวกับประวัติของท่าน
เราก็เข้าไปสืบค้นหาได้จากอินเทอร์เน็ต เพื่อต่อยอดความรู้ต่อไปได้

หนูดีดี มีพื้นความรู้ทางประวัติศาสตร์น้อยมากค่ะ ก็ได้รับความรู้จากการทายภาพในเว็บเรือนไทยนี่แหละคะ
เริ่มจากภาพสถานที่ในกรุงเทพ ภาพบุคคล ทำให้ได้เข้าใจประวัติศาสตร์และเกร็ดต่างๆ มากยิ่งขึ้น
การให้ความรู้มีหลายรูปแบบ ไม่จำเป็นต้องมีแต่วิชาการก็ได้ เพราะถ้ามีแต่วิชาการคัดลอกเอามาให้อ่านจะน่าเบื่อ
สู้ให้เข้าไปค้นคว้า คิดวิเคราะห์หาคำตอบจากข้อมูลที่หาได้ ในลักษณะเกมจะมีความท้าทาย น่าค้นหาและจำได้มากกว่าการอ่านผ่านๆ ไปค่ะ
และบางครั้ง เมื่อมีคำตอบที่ขัดแย้งกัน ก็หาเหตุผล หาข้อมูลมาประกอบการวิเคราะห์ ก็เป็นการนำ "ความรู้" ไปสู่ "ความคิด" นะคะ
 
เว็บไซต์มีมากมายหลายล้านเว็บ แต่หนูดีดี เลือกและรักเว็บเรือนไทย เพราะมีครบถ้วน ทั้งวิชาการ ความรู้
ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ภาษา วรรณคดี เทคโนโลยีที่ทันสมัย  เพลง อาหาร
ความสนุกสนานเพลิดเพลิน  
และเหนืออื่นใด เว็บเรือนไทยมี มิตรภาพ และความห่วงใยเอื้ออาทร ให้กับทุกท่านที่เข้ามาเยือนค่ะ..... ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 201  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 09:49

หลายท่านอาจมองว่าเป็นแค่การเล่นเกมทายชื่อจากภาพ นั่นก็ส่วนหนึ่งค่ะ ได้ความสนุกจากการทาย การลุ้น ว่าจะถูกไหม
แต่ก่อนที่จะได้ชื่อท่านเหล่านั้นมา ต้องผ่านการ ค้นคว้า การเสาะแสวงหา การประมวลเรื่องราว การคิดวิเคราะห์
ซึ่งแน่นอนค่ะว่า ต้องได้รับความรู้เพิ่มขึ้น ทุกครั้งที่เข้ามาร่วมเล่นเกม
แม้ว่าจะเฉลยแล้วว่าท่านเหล่านั้นคือใคร ชื่ออะไร แต่ถ้าเราสงสัยใคร่รู้ต่อไปเกี่ยวกับประวัติของท่าน
เราก็เข้าไปสืบค้นหาได้จากอินเทอร์เน็ต เพื่อต่อยอดความรู้ต่อไปได้

หนูดีดี มีพื้นความรู้ทางประวัติศาสตร์น้อยมากค่ะ ก็ได้รับความรู้จากการทายภาพในเว็บเรือนไทยนี่แหละคะ
เริ่มจากภาพสถานที่ในกรุงเทพ ภาพบุคคล ทำให้ได้เข้าใจประวัติศาสตร์และเกร็ดต่างๆ มากยิ่งขึ้น
การให้ความรู้มีหลายรูปแบบ ไม่จำเป็นต้องมีแต่วิชาการก็ได้ เพราะถ้ามีแต่วิชาการคัดลอกเอามาให้อ่านจะน่าเบื่อ
สู้ให้เข้าไปค้นคว้า คิดวิเคราะห์หาคำตอบจากข้อมูลที่หาได้ ในลักษณะเกมจะมีความท้าทาย น่าค้นหาและจำได้มากกว่าการอ่านผ่านๆ ไปค่ะ
และบางครั้ง เมื่อมีคำตอบที่ขัดแย้งกัน ก็หาเหตุผล หาข้อมูลมาประกอบการวิเคราะห์ ก็เป็นการนำ "ความรู้" ไปสู่ "ความคิด" นะคะ
 
เว็บไซต์มีมากมายหลายล้านเว็บ แต่หนูดีดี เลือกและรักเว็บเรือนไทย เพราะมีครบถ้วน ทั้งวิชาการ ความรู้
ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ภาษา วรรณคดี เทคโนโลยีที่ทันสมัย  เพลง อาหาร
ความสนุกสนานเพลิดเพลิน  
และเหนืออื่นใด เว็บเรือนไทยมี มิตรภาพ และความห่วงใยเอื้ออาทร ให้กับทุกท่านที่เข้ามาเยือนค่ะ..... ยิงฟันยิ้ม

ดีครับ  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 202  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 10:41

สนใจจะอภิปรายต่อจากที่คุณสุจิตราจุดประกายไว้ค่ะ

ขบวนการเรียนรู้ของคน ดิฉันขอแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน
เรียนรู้จากความทรงจำ    ขั้นตอนนี้สอนกันมากในหลักสูตรโรงเรียนไปจนมหาวิทยาลัยในหลายสาขา    คือสอนให้จำแม่นๆในสิ่งที่ผ่านเข้ามาในสายตา   ไม่ว่าจะเป็นตัวหนังสือ รูปภาพ แผนที่ ฯลฯ  ครูถามปุ๊บตอบได้ปั๊บ
   เด็กหัวดีจำแม่น มีโอกาสจะสอบผ่านด้วยเกรดดีๆ  เพราะข้อสอบมักเป็นปรนัยซึ่งอาศัยการจำเป็นพื้นฐาน    สอบเข้าคณะที่คะแนนสูงก็ได้ เพราะข้อสอบก็หนักไปทางปรนัยเหมือนกัน     เรื่องนี้น่าเห็นใจเพราะบางคณะถ้าคนเรียนจำไม่แม่น  จะออกไปประกอบอาชีพคงยาก  เช่นหมอเองก็ถ้าจำตำราไม่แม่น  จะวิเคราะห์โรคขั้นต้นจากคำบอกเล่าของคนไข้ได้อย่างไร มิผิดพลาดหมดหรือ
   ดิฉันมีหมออยู่ท่านหนึ่ง  ไปหาทีไร  พอเล่าอาการให้ฟัง  คุณหมอจะอธิบายยาวเหยียด ให้ความรู้อย่างดี     เหมือนเลกเชอร์ นศ.แพทย์    แม้แต่ยาคุณหมอก็อุตส่าห์แจกแจงส่วนผสมบ้าง แจกแจงผลข้างเคียงที่อาจเกิดบ้างให้ฟังอย่างละเอียด     ดิฉันนึกในใจว่าคุณหมอนี่ต้องสมองดีความจำแม่นมาก  ไปเปิดหาประวัติในอินทรเนตร  จริงด้วย   คุณหมอได้รางวัลเรียนเก่งมาตั้งแต่อยู่ชั้นประถม  ก็นึกชมว่าสมแล้วที่ไปเรียนแพทย์   ได้หมอแบบนี้คนไข้อุ่นใจ
เรียนรู้จากการวิเคราะห์  เป็นขั้นตอนที่สูงขึ้นมาจากข้อ 1    ถ้าเป็นหลักสูตรวิชาการที่วางไว้อย่างดี  เด็กนักเรียนที่ผ่านการท่องจำมาจะถูกสอนให้วิเคราะห์เป็น   จะมึอุปกรณ์เสริมอย่างห้องแล็บหรือออกภาคสนามก็แล้วแต่     คือเป็นการหาคำตอบที่ยากขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง
    ในเรือนไทย  มีหลายคนที่วิเคราะห์เป็น  ยกตัวอย่างที่ดิฉันเห็นชัดๆ เช่นคุณ V_Mee เวลาทายรูปต่างๆ   บางทีท่านก็จำไม่ได้ว่าเป็นรูปใคร  แต่คุณ V_Mee จะมีวิธีประมวลจากเหรียญตราที่ประดับเสื้อ   แบบของเสื้อผ้า   ฯลฯ เพื่อดูว่าคนนั้นมีอาชีพอะไร เป็นข้าราชการระดับไหน  แล้วจากนั้นก็นำไปสู่คำตอบได้ง่ายขึ้นว่าคนที่เข้าเกณฑ์นี้น่าจะมีใครบ้าง   แบบนี้ดิฉันเรียกว่าวิเคราะห์เป็น   เพราะเป็นขั้นตอนที่เอาความรู้จากความจำมาสังเคราะห์อีกทีหนึ่ง
    แต่บางคนที่ติดอยู่ในขั้นที่ 1  โดยไม่รู้ตัว จะทำได้เพียงแค่ใช้ความจำ  หรือถ้าเขียนอะไร  ก็ลอกข้อมูลดิบมาลง  โดยไม่สามารถแตกกิ่งก้านความคิดเพิ่มขึ้นไปเป็นขั้นที่ 2 ได้    คนที่แตกกิ่งก้านความคิดเป็นชั้นที่ 2  อีกท่านหนึ่งที่ทำอยู่บ่อยๆในเรือนไทย คือคุณ NAVARAT.C   ขอให้อ่านกระทู้ของท่านจะเห็นว่าท่านเอาข้อมูลดิบมาสังเคราะห์เป็นเรื่องขนาดยาวได้อย่างไร   
3   เรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่  ข้อนี้หมายถึงว่า เอาความรู้จากชั้นเรียนหรือประสบการณ์  บวกการวิเคราะห์ มาสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นที่ไม่ซ้ำแบบใครมาก่อน    มีความคิดของตัวเอง  หรือมีผลงานชิ้นใหม่ขึ้นมาเป็นของตัวเอง   ไม่อาจหาอ่านหาดูจากที่อื่นได้     
     คนที่ทำแบบนี้ได้มักเป็นศิลปินสาขาใดสาขาหนึ่ง  อย่างคุณอังคาร กัลยาณพงศ์เขียน "วักทะเล"   เอลวิส เพรสลีย์เอาเพลงบลูส์ของคนดำมาร้องในแบบคนขาว จนดังไปทั่วอเมริกา  หรือครูเอื้อเอาทำนองไทยเดิมมาเรียบเรียงใหม่เป็นเพลงไทยสากล  ครูแก้วเอาโคลงสี่จากวรรณคดีมาเป็นเนื้อเพลงไทยสากล ประสานกับครูเอื้อ     การเรียนรู้ถึงระดับนี้มักจะทำได้ยาก
    นานๆได้เลกเชอร์ทีค่ะ  ขอจบแค่นี้
    ส่วนเรื่องทายภาพ   ดิฉันเห็นด้วยกับคุณ DD ค่ะ  ดิฉันเองก็ได้ความรู้มากมายเพิ่มขึ้นจากการไปค้นหาภาพที่เราคิดว่าน่าจะเป็นคนนั้นคนนี้    บ่อยครั้ง ยังหาคำตอบไม่ได้ว่าเป็นภาพใคร  แต่ได้ความรู้อื่นๆมาเป็นผลข้างเคียงเยอะเลย

       
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 203  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 11:01

  ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายที่ทายกันถูกเป๊ะๆ โดยไม่ได้อาศัยความจำอย่างเดียว  แต่อาศัยการค้นคว้าด้วย จะกรุณามาอธิบายขั้นตอนของการทำงาน ก็จะเป็นวิทยาทานแก่คนอ่านที่อยากจะเดินตามรอยท่านด้วยนะคะ
   ขอย้อนกลับไปถึงรูปปริศนาในค.ห. 193 ของคุณเทพกร     ข้อนี้ดิฉันใช้ความจำ  ดูจากเครื่องแบบของท่านเหมือนหัวหมื่นมหาดเล็ก  ก็เลยไม่แน่ใจว่าจะเป็นเจ้านายหรือขุนนางผู้ใหญ่
   แต่ท่านดูคล้ายพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์   เลยเตรียมรูปเอามาเปรียบเทียบให้ช่วยกันดู


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 204  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 11:10

พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (สุข ดิษยบุตร) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร พ.ศ. ๒๔๕๖ - ๒๔๖๔

จาก เว็บกาญจนาภิเษก

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 205  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 11:24

^
มีวิธีหาอย่างใด  วานบอก
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 206  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 11:35

คุณเทาชมพูลองเข้าไปค้นดูจดหมายหัวข้อ "มือใหม่ไขความลับ" ลงวันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เวลา ๒๑.๓๘ น.

จะทราบความลับทั้งหมด

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 207  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 12:24

ภาพที่คุณเพ็ญมาไขความกระจ่างว่าเป็นภาพ พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (ศุข  ดิษยบุตร) และท่านอาจารย์ใหญ่ระบุไว้ในความเห็นก่อนหน้าว่า
น่าจะเป็นหัวหมื่นมหาดเล็กนั้น  จากลักษณะเครื่องแบบเป็นเครื่องแบบข้าราชการพลเรือนในพระราชสำนักชั้นมหาเสวกกระทรวงวังหรือชั้นจางวาง
กรมมหาดเล็กที่เทียบเท่ายศทหารชั้นนายพล  ที่สามารถระบุชั้นยศได้นั้นดูจากลายปักที่อกเสื้อครับ  ถ้าเป็นชั้นมหาเสวกหรือจางวาง  ลายยปัก
รูปกนกนาคนั้นจะเต็มทั้งแผ่นอก  แต่ถ้าเป็นข้าราชการชั้นเสวกหรือ หัวหมื่น รองหัวหมื่น และ จ่า มหาดเล็ก  ที่เทียบเท่านายทหารชั้นนายพันนั้น
ลายปักกนกนาคจะเป็นแนวตั้งตามแนวตะเข็บกลางเสื้อ  ไม่ออกไปเต็มอก  ส่วนชั้นยศรองเสวก กรือหุ้มแพร รองหุ้มแพร และมหาดเล็กวิเศษ
ที่เทียบชั้นยศนายร้อยไม่มีลายปักที่อกเสื้อแต่อย่างใดครับ

ในภาพนั้น พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร แต่งเครื่องยศ มหาเสวกตรี กระทรวงวัง ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่า เมื่อเริ่มจัดระเบียบปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล
ในรัชกาลที่ ๕ นั้น  บรรดาข้าหลวงเทศาภิบาลหรือต่อมาเรียกว่าสมุหเทศาภิบาลนั้นล้วนเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย  จึงใช้ยศอย่างข้าราชการ
พลเรือน  เว้นแต่ผู้ที่โอนมาจากทหารจึงคงใช้ยศทหารตามเดิม  ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ มีพระราชดำริว่าตำแหน่งอุปราชภาคและสมุหเทศาภิบาลนั้น  เป็น
ผู้ที่พระมหากษัตริย์ทรงตั้งแต่งให้ออกไปดูแลปกครองราษฎรในหัวเมืองมณฑลต่างๆ แทนพระองค์  สมควรที่อุปราชและสมุหเทศาภิบาลนั้นจะต้องเป็น
ข้าราชการที่ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นหัวหน้ารัฐบาลโดยตรง  จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้อุปราชภาคและสมุหเทศาภิบาลที่เดิมใช้ยศมหาอำมาตย์อย่าง
ข้าราชการเปลี่ยนมาใช้ยศในพระราชสำนักหมายว่าเป็นผู้ที่ขึ้นตรงต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  มิได้ขึ้นการบังคับบัญชาในกระทรวงมหาดไทยเช่นที่
เคยเป็นมา  โดยผู้ที่เคยรับราชการในกรมมหาดเล็กมาก่อนที่จะออกไปรับราชการทางฝ่ายปกครองก็โปรดให้ใช้ยศจางวางอย่างข้าราชการกรมมหาดเล็ก 
ส่วนผู้ที่มิได้เคยรับราชการในกรมมหาดเล็กนั้นก็ให้ใช้ยศมหาเสวกเช่นเดียวกับข้าราชการกระทรวงวัง

การที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ โปรดให้ยกตำแหน่งอุปราชและสมุหดทศาภิบาลมาขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์นั้นมองมุมหนึ่งได้ว่า เป็นการลดบทบาทของ
กระทรวงมหาดไทยที่มีเหนือข้าราชการกระทรวงอื่นๆ ในส่วนภูมิภาคลง  แต่ในมุมมองของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพนั้น  ทรงมองว่าราชการใน
ส่วนภูมิภาคบางเรื่องต้องต้องรอรายงานเข้ามาขออนุญาตจากเจ้ากระทรวงในกรุงเทพฯ ทำให้การตัดสินใจบางเรื่องต้องเนิ่นช้าลง  ต่อมาในรัชกาลที่ ๗
จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกตำแหน่งอุปราชภาคและย้ายสมุหเทศาภิบาลกลับปสังกัดกระทรวงมหาดไทย  ก็เลยทำให้มหาดไทยมีอำนาจครอบงำราชการ
ส่วนภูมิภาคสืบมาจนถึงปัจจุบัน

อธิบายมายืดยาวนี้ก็เพื่อแสดงให้เห็นประโยชน์ของการเล่นทายภาพ  ที่นอกจากความเพลิดเพลินและสนุกกับการทายถูกทายผิดแล้ว  ยังเป็นอีกช่องทาง
ที่จะได้นำสาระความรู้มาแลกเปลี่ยนกันครับ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 208  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 12:29

ภาพข้าราชการผู้ใหญ่ในความเห็นที่ ๑๘๓ ค้างอยู่หลายวันแล้วยังไม่มีท่านผู้ใดมาตอบ
ขอใบ้เพิ่มเติมต่อจากที่อธิบายความไว้ในความเห็นข้างบนว่า ท่านผู้นี้ได้ดำรงตำแหน่งสุดท้ายเป็น สมุหพระนครบาล
ซึ่งเดิมตำแหน่งนี้เป็นตำแแหน่งชั้นเสนาบดี  ท่านจึงได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น เจ้าพระยา
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 209  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 12:38

เจ้าพระยามุขมนตรี ศรีสมุหพระนครบาล(อวบ เปาโรหิตย์)

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 50
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 19 คำสั่ง