เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 45 เมื่อ 12 ก.ย. 12, 19:08
|
|
เพลงนี้ขอแยกซอยไปเป็นเพลงดังที่ดิฉันไม่รู้จัก สำรวจจาก 100 เพลงที่คุณสุจิตรานำมาให้ดูข้างบนนี้ เจอหลายเพลงที่ไม่รู้จัก หนึ่งในนั้นคือเพลงนี้ค่ะ Springtime for Hitler เดิมอยู่ในหนังปี 1968 ต่อมาทำใหม่ในปี 2005
ของเดิม
ของใหม่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 46 เมื่อ 12 ก.ย. 12, 22:26
|
|
จันทร์เอ๋ย คำร้อง: พระยาโกมารกุลมนตรี ทำนอง:หม่อมหลวงพวงร้อย สนิทวงศ์ ขับร้อง: ลินจง บุนนากรินทร์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 47 เมื่อ 13 ก.ย. 12, 10:34
|
|
^^ เพลงจันทร์เอ๋ย จากคุณอาชา > นึกถึงเพลงเดียวกันนี้เวอร์ชั่นเสียงคุณสุภัทรา > นึกถึง เพลงไพเราะเสนาะหูแต่แรกฟังจากเสียงสุภัทรา อินทรภักดี > ฉันจะฝันถึงเธอ
มีเวอร์ชั่นคุณศรัณย่า ด้วยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 49 เมื่อ 13 ก.ย. 12, 17:19
|
|
ชวนฟัง Mona Lisa เวอร์ชันนี้ ครับ เป็น OST จากภาพยนตร์เรื่อง Mona Lisa SMile
http://www.youtube.com/watch?v=PgvX4mh4Ugo
ได้ฟังครั้งแรกก็อุทานในใจว่า โอ้โห เยี่ยมมาก
เสียงร้องของ Seal ผู้ร้องเพลงดัง Kiss from a Rose ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 50 เมื่อ 16 ก.ย. 12, 12:04
|
|
La vie en rose ชอบตั้งแต่ชื่อแล้วค่ะ เรามักแปลว่า ชีวิตบนกลีบกุหลาบ แต่แปลตามตัว มันแปลว่า ชีวิตสีชมพู rose ในภาษาฝรั่งเศสแปลว่ากุหลาบก็ได้ สีชมพูก็ได้ ในเนื้อเพลง พูดถึงคนที่กำลังตกอยู่ในห้วงรัก โลกก็เป็นสีชมพู
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
oudinter
อสุรผัด

ตอบ: 3
|
ความคิดเห็นที่ 51 เมื่อ 18 ก.ย. 12, 15:19
|
|
ผมชอบเพลง scarborough fair ของ simon and garfunkel ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 52 เมื่อ 18 ก.ย. 12, 16:18
|
|
เคยฟัง Scarborough Fair ของ Celtic Woman ไหมคะ เจ้าของเสียงใสนี้คือ Hayley Westenra เป็นชาว New Zealand.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 53 เมื่อ 18 ก.ย. 12, 17:08
|
|
เพลงไม่ดังมากแต่ประทับใจและไพเราะไม่แพ้(หรืออาจจะมากกว่า)เพลงอื่นๆ ของดูโอคู่นี้ คือเพลงนี้ ครับ
April Come She Will
April come she will When streams are ripe and swelled with rain; May, she will stay, Resting in my arms again.
June, she'll change her tune, In restless walks she'll prowl the night; July, she will fly And give no warning to her flight.
August, die she must, The autumn winds blow chilly and cold; September I'll remember A love once new has now grown old.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 54 เมื่อ 18 ก.ย. 12, 17:19
|
|
เป็นเพลงประกอบหนังเรื่อง The Graduate
หลายคนตีความเนื้อร้องว่า เป็นการเปรียบเทียบช่วงเวลาแห่งความรักของหญิงสาว ที่แปรผันผ่านเหมือนฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลง บางคนว่าหมายถึงวัฏจักรชีวิตของสัตว์ปีกบางชนิดที่มีช่วงชีวิตไม่นาน และบ้างว่าเนื้อร้องนี้พอล ไซม่อนแต่งจาก nursery rhyme
The cuckoo comes in April She sings her song in May In June she changes her tune In July she prepares to fly In August go she must.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 56 เมื่อ 20 ก.ย. 12, 13:11
|
|
ถ้าใครชอบ O Sole Mio ร้องด้วยเสียงเทินเนอร์ในแนวโอเปร่า ไม่น่าพลาดคลิปนี้ เพราะเป็นการรวมของดาวเสียงสุดยอดแห่งศตวรรษ ทั้ง 2 คน ลูเชียโน ปาวาร็อตตี้ กับมาริโอ แลนซ่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 57 เมื่อ 01 พ.ย. 12, 10:07
|
|
ขอขุดกระทู้นี้ขึ้นมาอีกครั้ง
ขอเล่าถึงตำนานโอเปร่าไทยเรื่องหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นหนเดียวจากยอดศิลปิน 3 ท่านมาพบกันเพื่อสร้างผลงานร่วมกัน เป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้าย แต่ก็ทิ้งผลงานเอาไว้เป็นตำนานในวงการเพลงไทยมาจนทุกวันนี้ เมื่อพ.ศ. 2492 นักเรียนชายชั้นม. 6 ร.ร.สวนกุหลาบวิทยาลัย อายุ 17 ปีคนหนึ่ง ชื่อฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ แต่งนิยายขึ้นมาให้เพื่อนอ่านกันเล่นๆ ตั้งแต่อายุ 16 ปี โดยไม่มีสำนักพิมพ์ไหนยอมรับพิมพ์ วันหนึ่งเขาเดินเข้าไปในกรมโฆษณาการ(กรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน) เพื่อฟังเพลง พบนักร้องเอกของสุนทราภรณ์ในสมัยนั้นคือคุณมัณฑนา โมรากุล ที่เคยรู้จักกันมาก่อน คุณมัณฑนาพาเด็กหนุ่มพร้อมด้วยต้นฉบับนิยาย ไปพบครูเอื้อ สุนทรสนาน และครูแก้ว อัจฉริยกุล ซึ่งเป็นเจ้าของคณะละครวิทยุ "แก้วฟ้า" ครูแก้วอ่านต้นฉบับแล้วเห็นว่าเข้าท่า จึงปรึกษาครูเอื้อ นำไปออกอากาศเป็นละครวิทยุ มีเพลงเพราะๆจากฝีมือแต่งของท่านทั้งสองประกอบกัน 5 เพลง จากนั้น ละครวิทยุก็กลายมาเป็นละครเวที ชื่อเสียงของ จุฬาตรีคูณ ก็ยั่งยืนมาจนทุกวันนี้ หนุ่มน้อยผู้แต่ง เป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศในนาม " พนมเทียน" เจ้าของ "เพชรพระอุมา" ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์
ดิฉันฟังเพลงในเรื่องจุฬาตรีคูณ มาตั้งแต่นักร้องดั้งเดิม คุณมันฑณา โมรากุล จนมีนักร้องดังๆคนอื่นๆนำมาร้องอีกมากมาย ก็ฟังได้ทุกคน ไม่เคยเบื่อ เพราะประทับใจทั้งเนื้อร้องและทำนอง ที่ดิฉันถือว่าเป็นสุดยอดของการร่วมงานระหว่างครูเอื้อ และครูแก้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 58 เมื่อ 01 พ.ย. 12, 10:15
|
|
มาถึงเพลงที่สอง จ้าวไม่มีศาล เสียงร้อง คุณวินัย จุลละบุษปะ
นอกจากครูแก้วแล้วไม่มีใครแต่งเพลงนี้ได้ ขอยืนยัน แค่เห็นโจทย์ชื่อเพลง "จ้าวไม่มีศาล" ก็ตกม้าตายแล้วค่ะ ใครจะมีหัวคิดเอาอะไรมาแต่งได้กับประเด็นชื่อเรื่องแบบนี้ แต่ท่านก็แต่งได้ออกมาไพเราะ ตามเนื้อเรื่องตรงเผงทีเดียว
คำประพันธ์ กาพย์ฉบัง ๑๖ จากฝีมือของ "พนมเทียน" ในวัยนักเรียน นี่ก็อีกท่านหนึ่ง ที่ฉายแววศิลปินแห่งชาติมาตั้งแต่อายุ 17 ปี
อ้า พระผู้ทรงเดชา............ที่พระประเวศมา ด้วยพระประสงค์อันใด ไร้ญาติขาดทั้งราชัย.......... บัลลังก์รัตน์อำไพ จรไปดุจเช่นจัณฑาล เสวยทุกข์ทุรทนกันดาร....ยากแค้นซมซาน สิ่งใดเป็นพระประสงค์ พระลดเกียรติกษัตริย์ผู้ทรง......มหิทธาฤทธิรงค์ ทรงเป็นยาจกจัณฑาล หวังเพื่อประสบนงคราญ...........ในพระสุบินมาน กับสถานจุฬาตรีคูณ สองสิ่งนี้หรือเกื้อกูล...........ให้พระจำรูญ จำรัสจะแจ้งพระทัย? หรือพระหลงสวาททรามวัย......ในพระนิมิตไซร้ ไฉนจึงอึ้งอำพราง?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 59 เมื่อ 01 พ.ย. 12, 10:18
|
|
จุฬาตรีคูณที่ดิฉันชอบมากอีกชุดหนึ่ง บรรเลงโดย Bangkok Symphony Orchestra ชอบเสียงของอาจารย์นรอรรถ จันทร์กล่ำ และนักร้องคลื่นลูกใหม่ของสุนทราภรณ์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|