เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 4079 อยากทราบว่ามีวรรณกรรมเรื่องไหนได้บรรยายสภาพบ้านเมือง สมัยรัชกาลที่ 6 ได้ชัดเจนบ้างคะ
ทับทิมสยาม
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


 เมื่อ 04 ก.ย. 12, 18:22

พอดีกำลังสืบหาข้อมูลทำวิทยานิพนธ์อยู่ค่ะ เลยอยากจะสอบถามว่ามีท่านใดพอจะทราบบ้างว่า

วรรณกรรมหรือ หนังสือเรื่องใดมีฉากในสมัยรัชกาลที่6บ้าง พอดีอยากทราบความเป็นอยู่ สภาพบ้านเมือง และก็ศิลปะในสมัยนั้นค่ะ

และอีกอย่างคือคำว่าศิวิไลศ์ของคนสยามในสมัยนั้นเป็นอย่างไรคะ (อาจจะกล่าวรวมถึงสมัยรัชกาลที่5ด้วยค่ะ)

ปล..ไม่ทราบว่าตั้งกระทู้ถูกหมวดหรือไม่ พอดีเป็นสมาชิกใหม่ค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 04 ก.ย. 12, 18:34

คุณทับทิมสยามคงรวมทั้งนวนิยาย เรื่องสั้น สารคดี ชีวประวัติ ฯลฯ
รอคำตอบจากคุณ V_Mee ดีกว่าค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 04 ก.ย. 12, 19:09

คำถามของคุณทับทิมสยามกว้างมากจนไม่รู้ว่าจะตอบที่จุดไหนก่อน    ถ้าจะเอาฉากที่บรรยายในนวนิยาย   คุณคงได้อ่าน "สี่แผ่นดิน" แล้ว   ก็อ่านแผ่นดินที่สองดูนะคะ
นอกจากนี้มีเรื่องสั้นอีกมากที่แต่งในสมัยรัชกาลที่ 6   ย่อมมีฉากร่วมสมัยอยู่ไม่มากก็น้อย    ลองหาพระราชนิพนธ์เรื่องสั้นและบทละครในรัชกาลที่ 6  มาอ่าน   คุณ V_Mee  ผู้เชี่ยวชาญในยุคสมัยรัชกาลที่ 6  คงแนะนำได้ว่าเรื่องอะไรบ้าง   นอกจากนี้มีพระนิพนธ์เรื่องสั้นของน.ม.ส.  ด้วยค่ะ
นึกออกแค่นี้
บันทึกการเข้า
giggsmay
ชมพูพาน
***
ตอบ: 135


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 04 ก.ย. 12, 19:22

นวนิยายเรื่อง จากฝันสู่นิรัดร ก็น่าจะได้นะคะเพราะว่าพระเอกย้อนเวลาไปหานางเอกสมัยรัชกาลที่ 6
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 04 ก.ย. 12, 19:29

อย่างที่ท่านอาจารย์ใหญ่ได้กล่าวไว้ในความเห็นข้างต้นครับ  สภาพบ้านเมืองในสมัยรัชกาลที่ ๖ ถ้าจะอ่านจากวรรณกรรมเพียงอย่างเดียวคงไม่ได้
คงต้องดูจากแผนที่ที่มีการจัดทำเผยแพร่แล้ว  ซึ่งจะเห็นการขยายตัวของบ้านเมืองไปทางทิศเหนือของกรุงเทพฯ  ยิ่งเรื่องศิลปในสมัยนั้นยิ่งหา
คำจำกัดความได้ยากว่าหมายถึงอะไรบ้าง  งานโขน ละคร ดนตรี  สถาปัตยกรรม  จิตรกรรม  ปฏิมากรรม ฯลฯ

ส่วนคำว่าศิวิไลซ์นั้น  ล้นเกล้าฯ ทรงพระราชนิพนธฺ์ไว้หลายแห่งทั้งในพระราชบันทึกส่วนพระองค์  และบทความที่พระราชทานไปลงหนังสือพิมพ์
สรุปแล้วคำว่า "ศิวิไลซ์" ที่ทรงกล่าวถึงนั้น  คือโรคอย่างหนึ่งที่คนไทยรับมาจากยุโรป  เช่น การดูถูกชาติของตน  การเสพสุรา  ฯลฯ  ในขณะเดียวกัน
ก็ทรงกล่าวถึงสถานภาพของสตรีว่าเป็นเครื่องแสดงถึงความรุ่งเรืองของบ้านเมือง  เป็นต้น
บันทึกการเข้า
ทับทิมสยาม
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 04 ก.ย. 12, 19:42

ขอบพระคุณทุกท่านที่ช่วยแนะนำค่ะ

อย่างไรเสียจะลองไปหาเพิ่มเติมดูค่ะ

พอดีกำลังจะทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการออกแบบโรงแรมบูติค ที่อิงกับประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่6ค่ะ 

เลยกำลังพยายามหาข้อมูลเพิ่มเติมด้านประวัติศาสตร์ไปสนับสนุนค่ะ

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 04 ก.ย. 12, 19:55

ถ้าอย่างงั้น หนังสือเล่มนี้ครับ

พัฒนาการแนวความคิดและรูปแบบของงานสถาปัตยกรรม โดย ดร.วิมลสิทธิ์ หรยางกูรและคณะ

ข้อความและรูปประกอบ ตอนที่1 สาระโดยย่อด้านสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ถึงรัชกาลที่๗
คงจะใช่ที่คุณต้องการ

หนังสือน่าจะหาได้ที่ห้องสมุดคณะที่สอนวิชาสถาปัตยกรรมทั้งหลาย หรือที่สมาคมสถาปนิกสยามครับ ที่อยุู่หาทางอินเทอเน็ทเอาเองคงไม่ยาก
บันทึกการเข้า
ทับทิมสยาม
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 04 ก.ย. 12, 20:07

ขอบพระคุณ คุณNAVARAT.C มากๆเลยค่ะ
ไว้พรุ่งนี้จะไปยืมที่ห้องสมุดคณะดูค่ะ

ว่าแต่คำว่า "ศิวิไลซ์" ที่ล้นเกล้ารัชกาลที่6 ท่านทรงได้กล่าวไว้ ฟังดูแล้วเหมือนจะไปทางด้านลบเลยนะคะ
คุณV_Mee พอจะแนะนำหนังสือ หรือสารานุกรม เอกสารอ้างอิงอะไรที่เกี่ยวกับประเด็น ซิวิไลซ์ เพิ่มเติมอีกได้ไหมคะ เผื่อว่าจะได้ลองไปหาดูในห้องสมุดพร้อมกันเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 04 ก.ย. 12, 20:33

โปรดดู "โทษของความเจริญตามแผนยุโรป" ในจดหมายเหตุรายวัน ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 
พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าชัชวลิต  เกามสันต์  ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส  วันที่  ๑  สิงหาคม  พ.ศ. ๒๕๑๗  หน้า ๓๗ - ๔๐

อีกเล่มคือ ประมวลบทพระราชนิพนธ์ ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาคปกิณกะ  พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ
พลตรี พระยาอนิรุทธเทวา (ม.ล.ฟื้น  พึ่งบุญ)  ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส  วันที่  ๒๒  เมษายน  พ.ศ. ๒๔๙๔
เล่มนี้มีหลายเรื่องคงต้องอ่านทุกๆ เรื่องที่ทรงพระราชนิพนธ์ไว้  เพาะจะเกี่ยวพันกับเรื่องศิวิไลซ์ทั้งหมด

โคลนติดล้อก็มีกล่าวถึงเหมือนกันครับ  และอีกหลายเล่มทีเดรยว  แนะนำให้ไปศึกษาที่หอวชิราวุธานุสรณ์ดีกว่าครับ

เรื่องอาหารการกินก็มีตำรับอาหารพิเศษของศรีมาลา (ม.ล.ปอง มาลากุล) ที่กล่าวถึงอาหารจากบทพระราชนิพนธ์เห่ชมเครื่องคาวหวาน
ในพระราชนิพนธ์กาพย์เห่เรือรัชกาลที่ ๖

ชีวิตความเป็นอยู่ในรัชกาลที่ ๖ ใช่ว่าจะอ่านจากเอกสารเพียงอย่างเดียว  ควรจะต้องหาโอกาสสนทนากับลูกหลานของท่านที่เคยมีชีวิต
ในสมัยนั้นจะได้รายละเอียดมากกว่า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 04 ก.ย. 12, 20:40

มาแถมให้ค่ะ
สภาพบ้านเมืองสมัยนั้นเป็นแบบนี้


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ทับทิมสยาม
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 04 ก.ย. 12, 20:59

ขอบพระคุณคุณเทาชมพู และ คุณV_Mee อีกรอบค่ะ ยังไงคงต้องหาเวลาไปหอสมุดวชิราวุธานุสรณ์สักครั้งค่ะ เพราะหนังสือแต่ละเล่มนี่ท่าทางเป็นหนังสือหายาก หาไม่ได้ในห้องสมุดแน่ๆค่ะ ^^
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 05 ก.ย. 12, 07:37

๑. สภาพทั่วไปของกรุงเทพฯ ในช่วงรัชกาลที่ ๖ นั้น เจิรญขึ้นมาก การกระจายตัวของชาวกรุงเริ่มออกไปทางตะวันออกมากขึ้น ไม่ได้กระจุกตัวอยู่ในเขตพระนครชั้นในอีกต่อไป การไล่ที่ทำวังก็หมดปัญหาไปนานแล้ว วังใหม่ ๆ บ้านหลังโต ๆ สถาปัตยกรรมตึกผสมยุโรป คืบคลานเข้ามา เพิ่มความเป็นศิวิไลซ์ให้กับพระนคร

๒. กำแพงพระนครเริ่มถูกรื้อลงบางส่วนเพื่อเปิดพื้นที่ให้กับถนน รองรับรถยนต์มากขึ้น สะพานข้ามคลองต่าง ๆ เป็นรูปร่างซึ่งพัฒนามาจากสมัยรัชกาลที่ ๕

๓. ระบบน้ำประปา ระบบไฟฟ้านอกจากที่วัดเลียบแล้ว ยังมีไฟฟ้าสามเสนที่เริ่มก่อตัวขึ้น ดับบ้าง ติดบ้างเป็นธรรมดา

๔. การคมนาคม ทางรถไฟ รถราง รถเจ็ก ทางเรือ ก็มีให้เห็นกันโดยทั่วไป สะดวกสบาย

๕. เครื่องบินเริ่มเข้ามามีบทบาทในการติดต่อถึงกันมากขึ้น ระบบการขนส่งทางระบบไปรษณีย์ การติดต่อผู้คนจากกรุงเทพสู่หัวเมืองต่าง ๆ ทำได้รวดเร็วขึ้นด้วย อากาศไปรษณีย์

๖. ธุรกิจโรงสี โรงเลื่อย ในกรุงเทพและปริมณฑลมีให้เห็นอย่างมากริมแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนมากทำโดยชาวจีน
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 05 ก.ย. 12, 08:18

ขอแถมคุณหนุ่มสยามอีกข้อครับ
๗. รถไมล์หรือที่ปัจจุบันเรียกกันว่า รถแท๊กซี่ ก็เริ่มมีในรัชกาลที่ ๖ นี้เหมือนกัน

มีหนังสือที่ขอแนะนำให้คุณทับทิมสยามไปหาอ่านเพิ่มเติมคือ อนุสรณ์ "ศุกรหัศน์ 
พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ เสวกโท จมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม  เศวตนันทน์)
บิดาคุณอดีศักดิ์  เศวตนันทน์ สามีตุณเชอรี่ สวลี  ผกาพันธุ์  กับอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ
เสวกตรี นายลิขิตสารสนอง (ชัพน์  บุนนาค) ลูกเสือคนแรกคนไทย  ที่ท่านเล่าถึงการแต่งชุดลูกเสือ
เป็นคนแรกของไทยไปเดินโชว์ตัวรอบตลาดพาหุรัด

อีกเล่มที่เล่าถึงชีวิตในพระราชสำนัก คือ บันทึกของคุณเจรียง  ลัดพลี คุณข้าหลวงในสมเด็จพระนางเจ้า
อินทรศักดิศจีฯ  กับอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายบัว  ศจิเสวี มหาดเล็กรุ่นจิ๋ว  ก็กล่าวถึงชีวิต
ในพระราชสำนักรัชกาลที่ ๖ ต่อด้วยชีวิตความเป็นอยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๗  จนสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 05 ก.ย. 12, 09:40

หาหนังสือที่จมื่นอมรดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช) ท่านบันทึกเกี่ยวกับเรื่องราวและเหตุการณ์ต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ไว้ค่อนข้างละเอียดมาก

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 19 คำสั่ง