เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16
  พิมพ์  
อ่าน: 89114 "คำถามจากหนังสือ "การเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี" - "วีรกรรมนี้เกิดขึ้นจริงหรือ?"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 210  เมื่อ 14 มี.ค. 23, 15:29


ขออนุญาตนำคำตอบของ คุณสายพิณ แก้วงามประเสริฐ ซึ่งเคยมีการอภิปรายมาแล้วในกาลก่อน มาแสดงอีกครา

คุณสายพินเธอเขียนว่า อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี : การต่อสู้ระหว่างระบอบเก่ากับระบอบใหม่ เธอให้เหตุผลว่า

รัฐบาลเห็นด้วยกับการสร้างอนุสาวรย์ท้าวสุรนารี น่าจะเป็นเพราะ "ท้าวสุรนารี" เป็น "สามัญชน" เหมือนกันที่ "คณะราษฎร" เป็น การปรากฏตัวของอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีในช่วงเวลานี้ จึงเป็นเหมือนตัวแทนของคณะราษฎรที่จะประกาศว่า "สามัญชน" ก็สามารถเป็นผู้สร้างประวัติศาสตร์ได้ทัดเทียมกับพวก "เจ้า"

ความคิดที่รัฐบาลต้องการใช้อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เป็นเครื่องต่อสู้กับความคิดของระบอบเก่านั้น ปรากฏอยู่หลักฐานร่วมสมัยคือในลายพระหัตถ์สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ที่มีถึงสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ลงวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๗  ว่า

เกล้ากระหม่อมไปที่ศิลปากรสถาน เห็นนายเฟโรจีปั้นดินเป็นรูปผู้หญิงยืนถือดาบตัวเล็ก ๆ หลายตัว...เกล้ากระหม่อมก็เข้าใจแล้วได้แนะนำว่า เราไม่รู้จักตัวหน้าตาเป็นอย่างไรไม่รู้ ทำไม่ได้ดอก ทำ Allegory เป็นนางฟ้าถือดาบดีกว่า แกเห็นด้วย... มาเมื่อก่อนหน้าจะเขียนหนังสือถวายนี้ ไปเห็นปั้นตัวเบ้อเร่ออย่างที่ทูลมา ถามว่าทำไมไม่ทำเป็นรูป Allegory แกบอกว่าเขาไม่เอา.....

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีลายพระหัตถ์ตอบเมื่อวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ว่า "การสร้างรูปท่านผู้หญิงโม้นั้น เป็นอุทาหรณ์อันหนึ่ง ซึ่งแสดงว่าความคิดสมัยใหม่ผิดกับสมัยก่อนหมดทุกอย่าง..."

การที่กรมศิลปากรไม่ยอมรับรูปปั้นท้าวสุรนารีที่มีรูปร่างเป็นนางฟ้านั้น คงจะเป็นเพราะขัดกับความเป็นจริงที่ว่า ท้าวสุรนารีเป็น "มนุษย์" โดยเฉพาะคือมนุษย์ที่เป็น "สามัญชน" ดังนั้นรูปปั้นท้าวสุรนารี ถ้าจะสื่อให้เห็นการกระทำของท้าวสุรนารีได้ดีและเหมาะสมกับสภาพการณ์ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ ๆ รูปปั้นนี้จึงต้องมีความเป็นมนุษย์ธรรมดาที่ไม่ต้องมีบุญญาบารมี แต่ต้องเป็นมนุษย์ที่กล้าหาญ


ไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นของคุณสายพิณค่ะ    สิ่งที่เธอพูดเป็นการคาดเดาล้วนๆ ไม่มีหลักฐานยืนยัน มีแต่การตีความให้เข้ากับจุดมุ่งหมาย
ดิฉันเองก็คาดเดาได้เหมือนกัน แต่คนละทาง

(ขอมาต่อพรุ่งนี้ค่ะ)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 211  เมื่อ 15 มี.ค. 23, 19:40

ความเห็นของ "เทาชมพู"

รัฐบาลไม่ขัดข้องที่จะมีการสร้างอนุสาวรย์ท้าวสุรนารี   เพราะไม่ใช่อนุสาวรีย์ของ "เจ้า" ที่รัฐบาลเพิ่งจะปฏิวัติระบบกษัตริย์มาหยกๆ   คงจะเป็นการแปลกประหลาดถ้ารัฐบาลจะสนับสนุนให้มีการสร้างอนุสาวรีย์แสดงคุณงามความดีของบุคคลในระบบที่รัฐบาลโจมตีอย่างรุนแรงมาก่อน   ดังนั้น ถ้าเป็นอนุสาวรีย์ของสามัญชน แล้ว   "คณะราษฎร" ไม่เห็นเป็นเรื่องเสียหายที่จะให้สร้างขึ้นมา

ในลายพระหัตถ์สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ที่มีถึงสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ลงวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๗  ว่า

เกล้ากระหม่อมไปที่ศิลปากรสถาน เห็นนายเฟโรจีปั้นดินเป็นรูปผู้หญิงยืนถือดาบตัวเล็ก ๆ หลายตัว...เกล้ากระหม่อมก็เข้าใจแล้วได้แนะนำว่า เราไม่รู้จักตัวหน้าตาเป็นอย่างไรไม่รู้ ทำไม่ได้ดอก ทำ Allegory เป็นนางฟ้าถือดาบดีกว่า แกเห็นด้วย... มาเมื่อก่อนหน้าจะเขียนหนังสือถวายนี้ ไปเห็นปั้นตัวเบ้อเร่ออย่างที่ทูลมา ถามว่าทำไมไม่ทำเป็นรูป Allegory แกบอกว่าเขาไม่เอา.....

ที่ไม่เอานั้น เขาไม่เอารูป Allegory  คือรูปเทวดานางฟ้าที่หาตัวตนไม่ได้
แต่เขาเอารูปคนธรรมดาๆ แบบเดียวกับที่พระบรมรูปทรงม้าที่สร้างเสร็จในรัชกาลที่ 6   หรือพระบรมราชานุสาวรีย์ของรัชกาลที่ 6   ที่หน้าสวนลุมพินี


สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีลายพระหัตถ์ตอบเมื่อวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ว่า "การสร้างรูปท่านผู้หญิงโม้นั้น เป็นอุทาหรณ์อันหนึ่ง ซึ่งแสดงว่าความคิดสมัยใหม่ผิดกับสมัยก่อนหมดทุกอย่าง..."

ข้อนี้แปลได้ว่า ความคิดสมัยใหม่คือความสมจริง หรือ realistic  ในเมื่อท้าวสุรนารีเป็นคน มีตัวตนจริงๆมาก่อน   เมื่อสร้างรูปปั้นก็ต้องสร้างให้เป็นคน  ไม่ใช่เป็นเทพธิดาอย่างนางเมขลา    ไปสร้างเป็นนางฟ้าก็จะขัดกับประวัติของท่านที่เป็นมนุษย์ เคยแสดงวีรกรรมออกรบ เคยได้รับความดีความชอบจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า 

เหตุผลนี้เป็นสามัญสำนึก  ไม่ต้องโยงเข้ากับคณะราษฎร์ก็มีเหตุผลอยู่ในตัวแล้ว
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 212  เมื่อ 16 มี.ค. 23, 09:35

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีลายพระหัตถ์ตอบเมื่อวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ว่า "การสร้างรูปท่านผู้หญิงโม้นั้น เป็นอุทาหรณ์อันหนึ่ง ซึ่งแสดงว่าความคิดสมัยใหม่ผิดกับสมัยก่อนหมดทุกอย่าง..."

ข้อนี้แปลได้ว่า ความคิดสมัยใหม่คือความสมจริง หรือ realistic  ในเมื่อท้าวสุรนารีเป็นคน มีตัวตนจริงๆมาก่อน   เมื่อสร้างรูปปั้นก็ต้องสร้างให้เป็นคน  ไม่ใช่เป็นเทพธิดาอย่างนางเมขลา    ไปสร้างเป็นนางฟ้าก็จะขัดกับประวัติของท่านที่เป็นมนุษย์ เคยแสดงวีรกรรมออกรบ เคยได้รับความดีความชอบจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า  

เหตุผลนี้เป็นสามัญสำนึก  ไม่ต้องโยงเข้ากับคณะราษฎร์ก็มีเหตุผลอยู่ในตัวแล้ว

ความเห็นของคุณเทาชมพูดูจะตรงกับความเห็นประการที่สองของคุณสายพินที่ว่า แนวคิดตามคติเก่าแต่เดิมนั้น การสร้างรูปบุคคลที่เคารพยกย่อง มักจะสร้างเป็นรูปเทวดามากกว่า ถึงยุคใหม่จึงต้องการสร้างรูปปั้นเหมือนจริง

นอกจากนี้ยังเสริมเรื่องด้วยความเห็นของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ว่าท้าวสุรนารีไม่ได้ทำอะไรเท่าไร ทำไมถึงยกย่องกันนักหนา เป็นตัวอย่างความคิดสมัยก่อน และการสร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (ซึ่งเป็นอนุสาวรีย์สามัญชนแห่งแรกของไทย) เป็นตัวอย่างความสมัยใหม่ ที่แสดงว่าประชาชนทุกคน คือผู้กำหนดวิถีประวัติศาสตร์ของประเทศ




บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 213  เมื่อ 16 มี.ค. 23, 13:06


ความเห็นของคุณเทาชมพูดูจะตรงกับความเห็นประการที่สองของคุณสายพินที่ว่า แนวคิดตามคติเก่าแต่เดิมนั้น การสร้างรูปบุคคลที่เคารพยกย่อง มักจะสร้างเป็นรูปเทวดามากกว่า ถึงยุคใหม่จึงต้องการสร้างรูปปั้นเหมือนจริง
ไม่คิดว่าตรงนะคะ  คุณสายพิณโยงทุกอย่างเข้าไปสู่อุดมการณ์ของคณะราษฎร์   ดิฉันไม่ปักใจเชื่อขนาดนั้น
ที่ว่าสร้างรูปบุคคลที่เคารพยกย่องมักสร้างเป็นรูปเทวดา  ขอให้คุณเพ็ญชมพูช่วยยกตัวอย่างหน่อย   ดิฉันยังนึกไม่ออกว่าใคร
เพราะพระบรมรูปทรงม้ากับพระราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 6   ก็จำลองจากพระองค์จริง   ไม่ใช่เทวดา    สร้างกันมาตั้งแต่ก่อน 2475  ตั้งหลายปี   ความนิยมแบบตะวันตกที่สร้างอนุสาวรีย์จำลองจากบุคคลจริง แพร่หลายมาตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 5   " เขา" ที่ไม่เอา  เป็นเพราะเหตุนี้

ส่วนความเห็นของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ว่าท้าวสุรนารีไม่ได้ทำอะไรเท่าไร ทำไมถึงยกย่องกันนักหนา คุณเพ็ญชมพูและคุณสายพิณตีความว่าเป็นตัวอย่างความคิดสมัยก่อน  ดิฉันตีความว่าเป็นความเห็นส่วนพระองค์ของสมเด็จฯท่านต่อบทบาทของท้าวสุรนารี    อย่าไปลากเอาสมัยก่อนหรือหลังมากำหนด 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 214  เมื่อ 16 มี.ค. 23, 17:35

ที่ว่าสร้างรูปบุคคลที่เคารพยกย่องมักสร้างเป็นรูปเทวดา  ขอให้คุณเพ็ญชมพูช่วยยกตัวอย่างหน่อย   ดิฉันยังนึกไม่ออกว่าใคร  เพราะพระบรมรูปทรงม้ากับพระราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 6   ก็จำลองจากพระองค์จริง   ไม่ใช่เทวดา

ข้อความตรงนี้ คุณสายพินอ้างอิงมาจาก หนังสืออนุสาวรีย์ที่ไทยทำ โดย รองศาสตราจารย์แสงอรุณ รัตกสิกร อดีตอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หน้า ๑๐๐

"เดิมทีเดียว เมื่อไทยบรรพบุรุษจะทำรูปบุคคลที่ยกย่อง เคารพ ท่านคงทำเป็นรูปแบบเทวดา ไม่ใช่รูปเหมือนจริง คตินี้เป็นคติเดิมของไทยเรา เพิ่งมาเปลี่ยนเมื่อเรามีการติดต่อกับฝรั่งในสมัยรัชกาลที่ ๔ และมาใช้วิธีการทำอนุสาวรีย์ตามแบบฝรั่งในสมัยรัชกาลที่ ๕ คือพระบรมรูปทรงม้า ซึ่งควรเรียกได้ว่าเป็นอนุสาวรีย์รูปแรกของประเทศ ที่ใช้วิธีการออกแบบและกรรมวิธีทำตามแบบฝรั่งและโดยฝรั่ง"

ตัวอย่างที่ใกล้เคียงเป็นพระพุทธรูป ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ทรงโปรดให้สร้างพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร ทรงเครื่องกษัตริยาธิราชเจ้า ๒ องค์ สูง ๖ ศอก (๓ เมตร) เพื่อเป็นราชอนุสรณ์แด่พระอัยกา และพระราชบิดาของพระองค์ เป็นพระหล่อสัมฤทธิ์หุ้มทองคำลงยาราชาวดี เครื่องต้นประดับด้วยเนาวรัตน์ ถวายพระนามว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ (องค์ซ้าย) พระพุทธเลิศหล้านภาไลย (องค์ขวา) ประดิษฐานในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 215  เมื่อ 16 มี.ค. 23, 18:46

นอกจากพระพุทธองค์ ที่ถูกสร้างออกมาในรูปของเทวดาแล้ว  มีบุคคลสำคัญที่เป็นมนุษย์  ที่สร้างออกมาเป็นเทวดาอีกไหม  ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 4
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 216  เมื่อ 16 มี.ค. 23, 19:35

พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ และ พระพุทธเลิศหล้านภาไลย สร้างขึ้นในฐานะเป็นรูปแทน พระอัยกา และพระราชบิดา ของรัชกาลที่ ๓ นั่นแล

คำอธิบายอยู่ใน คำนิยมของ ผศ. ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง ในหนังสือ เบื้องหลังรูปเคารพ คติความเชื่อรูปแทนบุคคลในสยาม โดย ปภาณิน เกษตรทัต




บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 217  เมื่อ 17 มี.ค. 23, 08:24

Misconcept ที่ว่ารูปเหมือนแทนตัวบุคคลเพิ่งเกิดในสังคมไทยไม่นาน
เป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่านักวิชาการไทยบางส่วนนำความเห็นส่วนตัวมาอ้างแทนข้อเท็จจริง

หลักฐานแย้ง มีมากมาย ตั้งแต่ภาพปูนปั้นพบที่อู่ทอง
ไปจนถึงลวดลายบนภาชนะสำริด หรือแม้แค่ภาพวาดผนังถ้ำในยุคก่อนประวัติศาสตร์  ศิลปินผู้สร้างสรรค์ตั้งใจที่จะทำให้เหมือนคน
ไม่ใช่เหมือนเทวดา (หรือเทวดาแต่งกายเหมือนคน ?)

พระรูปชัยวรมันที่ 5 Goldenboy
หรือชัยวรมันที่ 7 ก็ปั้นเป็นรูปเหมือนคน ไม่เป็นเทวดา หรือพระพุธรูป

รูปวาด และเครื่องทองในกรุวัดราชบูรณะ ก็เหมือนคน ไม่ใช่ทำเป็นเทวดา

รูปวาดสมัยพระนารายณ์ก็เหมือนคน
ใบหน้าพระพุทธรูปสมัยพระเจ้าปราสาททองยิ่งปรับให้เหมือนใครสักคน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 218  เมื่อ 17 มี.ค. 23, 09:35

"รูปเหมือน ซึ่งเป็นรูปแทนตัวคน (๑) ที่มีหน้าตาเช่นเดียวกันกับบุคคลต้นแบบ (๒) เพิ่งเกิดในสังคมไทยไม่นาน โดยย้อนกลับไปได้เพียงหนึ่งร้อยกว่าปีที่ผ่านมา"

รูปปั้น หรือ รูปวาด ที่มีหน้าตาเหมือนคน ที่คุณคนโคราชกล่าวถึง ยังความจำเพาะอยู่บางประการ เช่น

๑. มีหน้าตาเหมือนบุคคลต้นแบบ
๒. เกิดขึ้นในสังคมไทย

พอจะมีตัวอย่างรูปเหมือนที่มีคุณสมบัติครบถ้วนทั้ง ๒ ประการ บ้างไหม ฮืม
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 219  เมื่อ 17 มี.ค. 23, 11:09

มีเยอะเลยครับท่านอาจารย์เพ็ญชมพู

เช่น รูปหล่อสัมฤทธิ์ เจ้านายสตรีอยุธยา จากวัดราชบูรณะ เป็นต้น
ภาพวาดในกรุ เป็นต้น
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 220  เมื่อ 17 มี.ค. 23, 14:35

มีเยอะเลยครับท่านอาจารย์เพ็ญชมพู

เช่น รูปหล่อสัมฤทธิ์ เจ้านายสตรีอยุธยา จากวัดราชบูรณะ เป็นต้น

ในบทความเรื่อง ตามหารูปหล่อสัมฤทธิ์ เจ้านายสตรีสมัยอยุธยาที่หายไป นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤษภาคม ๒๕๕๘ ศาสตราจารย์ยอร์จ เซเดส์ ให้ความเห็นว่าควรเป็นรูปเจ้านายชั้นพระเจ้าหลานเธอ

พิจารณาพระพักตร์ไม่แน่ใจว่า อิงมาจากบุคคลต้นแบบหรือไม่ ?

ซ้าย ภาพรูปหล่อสัมฤทธิ์ เจ้านายสตรีสมัยอยุธยา พิมพ์ในหนังสือ "จิตรกรรมและศิลปวัตถุในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ" เมื่อพ.ศ. ๒๕๐๑ ขณะนั้นยังอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ขวา ภาพประกอบ ในบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง "ข้อสังเกตว่าด้วยรูปหล่อของเจ้านายฝ่ายในสมัยอยุธยา" โดย ศาสตราจารย์ยอร์จ เซเดส์ ในวารสารสยามสมาคม ปีที่ ๑๖ เล่ม ๑ พ.ศ. ๒๔๖๕


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 221  เมื่อ 17 มี.ค. 23, 14:35

รูปหล่อสัมฤทธิ์เจ้านายสตรีนี้ คาดว่าปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ Guimet (กีเม่) ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยพบอยู่ในรายการ "ไกลบ้าน" จาก FAROSE CHANNEL



ปรากฏรูปหล่อสัมฤทธิ์เจ้านายสตรี ในนาทีที่ ๓๑.๐๓ แม้จะไม่ได้มีการอธิบาย แต่หากพิจารณาจากภาพจะเห็นว่ามีลักษณะสอดคล้องกัน ซึ่งต้องพิสูจน์กันต่อไปว่าจะเป็นรูปหล่อองค์เดียวกันหรือไม่


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 222  เมื่อ 17 มี.ค. 23, 15:26

ยังจำได้ไหม  พระรูปนี้ก็เก่านะคะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 223  เมื่อ 17 มี.ค. 23, 18:35

คุณนวรัตน ออกนามว่า "เจ้าพ่อห้องเครื่อง" และเล่าว่า

เมื่อครั้งที่ผมเขียนกระทู้เรื่อง "ศพในโกศ" ลงในห้องประวัติศาสตร์ของพันทิปร่วมสิบปีที่ผ่านมานั้น ข้อมูลสำคัญ ๆ ทั้งหมดผมได้ไปขอจากเจ้าพนักงานภาษามาลาอาวุโสท่านหนึ่ง ซึ่งผู้ใหญ่ในสำนักพระราชวังกรุณานัดหมายให้ ภูษามาลาท่านนี้ไม่อนุญาตให้ผมระบุนาม เปิดเผยได้แต่เพียงว่าท่านเป็นผู้นั่งประคองพระโกศสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีบนพระมหาพิไชยราชรถในการออกพระเมรุมาแล้ว

ภูษามาลาคือเจ้าพนักงานผู้กระทำหน้าที่รับใช้เบื้องพระยุคลบาทของพระมหากษัตริย์ในเรื่องส่วนพระองค์ทุกอย่าง ตั้งแต่การตระเตรียมฉลองพระองค์ การถวายงานทรงพระเครื่องใหญ่ (ตัดผม) ไปจนถึงการจัดพระบรมศพลงพระบรมโกศ ตำแหน่งนี้จะมีไม่กี่คน ท่านที่ผมไปพบนั้นเกษียณไปนานหนักหนาแล้ว แต่ยังทำงานไหว จึงมีงานให้ทำในตำแหน่งที่ปรึกษา ห้องที่ท่านนั่งทำงานใหญ่เหมือนห้องสมุด อยู่บนตึกทำการในบริเวณพระบรมมหาราชวัง

เมื่อย่างเท้าก้าวเข้าไปในห้องนั้นก็ต้องจังงังกับสิ่งที่เห็นเบื้องหน้า เป็นงานแกะสลักไม้เก่า ๆ ที่ลงสีทับแล้วเขียนหน้าตาเป็นผู้ชายยิ้มหวาน สวมมาลาทรงเส้าสูง แขนปล่อยลงธรรมดา ๆ ไว้เล็บยาว แต่งกายด้วยผ้าเยียรบับแบบโบราณตัดขึ้นมาใหม่ มีดาบเอามาขัดไว้ที่ประคดเป็นเครื่องประดับ ตั้งอยู่ในซุ้มบูชามีช่อฟ้าใบระกาเด่นอยู่ที่ผนังด้านหนึ่งของห้อง เมื่อมีโอกาสระหว่างคุยกับท่าน ผมก็ได้เรียนถามนอกเรื่องถึงที่มาที่ไปของหุ่นนั้น

"เป็นของเก่าแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ตอนกรุงแตกภูษามาลาของพระเจ้าเอกทัศท่านเอาใส่เรือ พาหนีพม่ามาด้วย แล้วได้นำมาถวายพระพุทธยอดฟ้า กราบบังคมทูลว่าเป็นพระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวร ในศาลที่พระราชวังหลวง"

แล้วท่านก็เล่าต่อไปว่า "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าทรงรับไว้ แต่ไม่ทรงเชื่อเพราะท่าทางของหุ่นไม่มีแววว่าจะเป็นนักรบ น่าจะเป็นหุ่นขนาดเท่าพระองค์จริงของพระเจ้าแผ่นดินที่ภูษามาลาจำลองไว้ใช้ เพื่อลองฉลองพระองค์เวลาตัดชุดใหม่ถวายมากกว่า จึงทรงพระกรุณาให้เชิญมาตั้งบูชาไว้ที่ที่ทำงานของภูษามาลาโดยไม่ได้ทรงมีรับสั่งแต่อย่างใด หลายคนจึงยังนับถือว่าเป็นบรมรูปสมเด็จพระนเรศวร เอาสิ่งของมาถวายบูชามากไม่มีขาด"

ตามประวัติของตระกูลวัชโรทัย นามสกุลพระราชทานโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ ทรงสนธิคำว่าวัชระ ซึ่งแปลว่าเพชร กับอุทัย เพราะสืบสายสกุลมาจากพระยาอุทัยธรรม (เพ็ชร์) ภูษามาลาในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้เข้ามาถวายตัวต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกหลังปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แล้ว เพื่อขอรับตำแหน่งภูษามาลาตามที่เคยรับราชการมาแต่เดิม (โดยนำหุ่นดังกล่าวมาถวายเป็นหลักฐาน) ก็ได้โปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งนั้น ไม่เห็นมีที่กล่าวถึงพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรเลย แม้แต่หุ่นลองฉลองพระองค์ตามความในวงเล็บของผมก็ไม่มี

เรื่องข้างบนจึงเป็นเรื่องเล่าปากต่อปากนะครับ ส่วนปากแรกจริง ๆ จะเป็นใคร ตั้งแต่สมัยไหนนั้น ก็อย่าไปรู้มันเลย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 224  เมื่อ 17 มี.ค. 23, 20:17

นี่คือหลักฐานว่าสมัยปลายอยุธยา ก็มีการจำลองบุคคลสำคัญในลักษณะของมนุษย์ธรรมดาแล้ว

หุ่นนี้จะเป็นสมเด็จพระนเรศวรหรือไม่ก็ตาม   อย่างน้อยก็ต้องมีความสำคัญมากๆมาก่อน   ไม่งั้นภูษามาลาของพระเจ้าเอกทัศคงไม่พาหนีมาด้วย  ทั้งๆดูขนาดของหุ่นก็น่าจะหอบหิ้วลงเรือมาลำบาก   ยิ่งขึ้นฝั่งเดินป่ากว่าจะถึงเมือง ยิ่งลำบากหนักเข้าไปอีก 

ไหนๆกรุงก็แตกแล้ว  ต้องหนีไปตายเอาดาบหน้าทั้งที ภูษามาลาท่านปลดเพชรพลอยทองหยองที่ประกอบฉลองพระองค์ติดตัวมา  ไม่หอบหิ้วง่ายกว่าหรือ   ซ้ำเป็นของมีราคา เข้าตาจนก็เอาไปขายประทังชีวิตได้ด้วย   แต่นี่ขนมาทั้งร่างหุ่น ซึ่งถ้าเจ้าตัวภูษามาลาท่านไม่ถือว่าเป็นของสำคัญยิ่งกว่าแก้วแหวนเงินทอง  ก็จะขนมาทำไม

หุ่นที่สร้างไว้สวมฉลองพระองค์พระเจ้าแผ่นดิน น่าจะเป็นตัวแทนของพระเจ้าแผ่นดินอย่างที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าทรงวินิจฉัยไว้       ถึงจะเป็นพระองค์ไหนไม่มีหลักฐานชี้ชัด   แต่อย่างน้อยก็ต้องเป็นตัวแทนของสักพระองค์   เดิมอาจเป็นหุ่นฉลองพระองค์สมเด็จพระนเรศวร แต่ผ่านไปสองร้อยปี หุ่นชำรุดจนใช้การไม่ได้ ก็มีการสร้างหุ่นตัวใหม่ไว้สวมฉลองพระองค์ในรัชสมัยต่างๆเรื่อยมา   แต่ตามที่จดจำกันต่อๆมาก็คือยึดถือต้นแบบสมัยสมเด็จพระนเรศวรเป็นหลัก

ที่เขียนมานี้เพื่อจะแสดงความเห็นว่า มีการจำลองแบบบุคคลสำคัญในรูปร่างของมนุษย์ ไม่ใช่เทวดานางฟ้า มาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้วค่ะ
โปรดพิจารณา
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 20 คำสั่ง