เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 16
  พิมพ์  
อ่าน: 89460 "คำถามจากหนังสือ "การเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี" - "วีรกรรมนี้เกิดขึ้นจริงหรือ?"
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 12 ก.ย. 12, 10:49

เผอิญได้เห็นหนังสือ "ซาดลาว คนลาว อะดีด และ ปะจุบัน" เขียนโดย ดร. พูทอง แสงอาคม

เอามาให้ดู มีกล่าวถึงเหตุการณ์ที่ทุ่ง "สำลิด" ด้วย

ภาพจาก พันทิป

มีเรื่องกล่าวถึงเหตุการณ์ตีค่ายหนองบัวลำภูไว้ด้วย

กองทัพสยามได้มาตีค่ายหนองบัวลำภูเป็นเวลาเดือนกว่า ด้วยเหตุที่ (ย้อน) กำลังทหารมากกว่าทหารลาว พวกเขาจึงตีค่ายหน้าได้ พระยานรินทร์ถูกสยามจับได้ แม่ทัพสยามคิดว่าจะรักษาพระยานรินทร์ไว้ เพราะเป็นผู้เก่งกล้า มีฝีมือ ? ทหารดี แต่พระยานรินทร์ (พระยาลิน) บอกว่า : ชาติทหารเมื่อแพ้สงครามแล้ว ก็ต้องตายเท่านั้น พวกแม่ทัพสยามจึงเอาช้างแทงพระยาลินตาย

ในการรบนี้ พระยาลินก็ได้บุกเข้าในเวลาทหารสยามบุกขึ้นมานั้น และได้ฟันแม่ทัพสยามชื่อพระยาเกียรติ (พระยาเกียด) ตายกับสยามเสีย (?)


พระยานรินทร์ย่อมป็นวีรบุรุษในประวัติศาสตร์ลาวด้วยเป็นแน่แท้

 ขยิบตา


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 12 ก.ย. 12, 15:13

รบกวนลงรูปหน้าถัดไปด้วยได้ไหมครับ

หน้าถัดไป (หน้า ๓๗๘) จากหนังสือของคุณสายพิน เขียนว่า

เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ จังหวัดชัยภูมิได้เขียนประวัติของเมืองโดยให้ภาพพญาแลว่า

...นายแลเจ้าเมืองชัยภูมิ พร้อมด้วยขุนพลนายด่านบ้านชวน และกองทัพเจ้าเมืองสี่มุม (จัตุรัส) ได้ยกไพร่พลไปสมทบกับทัพของคุณหญิงโม ตีขนาบกองทัพเจ้าอนุเวียงจันทน์แตกกระจายไป...สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้คุณหญิงโมเป็นท้าวสุรนารี นายแลเมืองไชยภูมิ (ชัยภูมิ) เป็นเจ้าพระยาภักดีชุมพล...


การให้ภาพพญาแล เชื่อมโยงกับวีรกรรมของคุณหญิงโม อาจเป็นเพราะวีรกรรมเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์กบฏเจ้าอนุวงศ์เหมือนกัน อีกทั้งการรับรู้วีรกรรมของคุณหญิงโมเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ ค่อนข้างแพร่หลายแล้ว ดังนั้น จึงน่าจะมีส่วนสร้างเสริมให้กับการับรู้วีรกรรมของพญาแลได้ด้วย นอกจากนี้ทางจังหวัดก็ยังพยายามให้ภาพของเจ้าเมืองสี่มุม ซึ่งขณะนั้น (พ.ศ. ๒๕๐๐) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิว่าเป็นบุคคลหนึ่งที่ไปช่วยคุณหญิงโมรบกับกองทัพฝ่ายลาว แต่การให้ภาพเกี่ยวกับเรื่องนี้จะพบว่าขัดแย้งกับคำให้การของพระยาณรินทร์ เจ้าเมืองสี่มุมที่ให้ภาพว่าตนเองร่วมอยู่กับกองทัพเจ้าอนุวงศ์ อีกทั้งเมื่อถูกกองทัพไทยจับได้ พระยาณรินทร์ยังเลือกที่จะแสดงความจงรักภักดีกับเจ้าอนุวงศ์ ด้วยการยอมถูกประหารชีวิต

การับรู้เรื่องพญาแลยังคงไม่แพร่หลายนัก จนกระทั่งอนุสาวรีย์ของพญาแลเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ ประกอบกับการสร้างความเชื่อมโยงกับวีรกรรมของวีรสตรีแห่งชาติ เช่น คุณหญิงโม จึงน่าจะทำให้วีรกรรมของพญาแลแพร่หลายมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม เรื่องวีรกรรมพญาแลก็สะท้อนให้เห็นว่า การรับรู้เรื่องราววีรบุรุษในประวัติศาสตร์ของปัจจุบันสามารถเกิดขึ้นได้ โดยผ่านกระบวนการผลิตซ้ำของงานเขียนหรือความพยายามเชื่อมโยงกับการรับรู้เกี่ยวกับวีรบุรุษคนอื่น ๆ มากกว่าเกิดขึ้นจากตัวตนของวีรกรรมที่รับรู้อย่างกว้างขวางจริง ๆ ในประวัติศาสตร์

 ขยิบตา



ต่อมารวมถึงขุนพลนายด่านบ้านชวน หรือพระฤทธิฤาไชย ต้นตระกูลข้าพเจ้าด้วย

อันนี้หลักฐานไม่พอ ไม่ขอร่วมถก เอาไว้กลับชัยภูมิ หาข้อมูลได้จะทำร่วมเรื่องนี้ต่อ

มีกล่าวถึงขุนพลนายด่านบ้านชวนอีกบ้างไหมครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 12 ก.ย. 12, 16:25

ยังหาชื่อไม่พบ

อีก ๑๔ ปีหลังเหตุการณ์ศึกเจ้าอนุวงศ์ คือ พ.ศ. ๒๓๘๓ พบชื่อพระฤทธิฦๅไชย กล่าวไว้ในใบบอกเจ้าพระยาบดินทรเดชา

จาก หนังสือประชุมพงศาวดารเล่มที่ ๓๑

ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๕๖ เรื่อง เหตุการณ์เมืองเขมรตอนเสร็จสงครามกับญวน  ตอนใบบอกเจ้าพระยาบดินทรเดชาสนองพระราชโองการซึ่งโปรดให้พระองค์ด้วงออกไปครองกรุงกัมพูชา กล่าวถึงพระฤทธิฦๅไชยที่ไปราชการเมืองเขมร





เป็นคนเดียวกันหรือเปล่า ยังไม่แน่ใจ

 ฮืม

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 183  เมื่อ 06 พ.ย. 14, 19:13

เก็บตกจาก FB   ทำไปได้  ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 184  เมื่อ 06 พ.ย. 14, 19:58

 ขยิบตา


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 185  เมื่อ 07 พ.ย. 14, 10:11

ไปกันใหญ่  ขยิบตา

จาก Thailandsworld.com


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 186  เมื่อ 07 พ.ย. 14, 10:44

คงไม่รู้จะแปลคำว่า "ท้าว"  ว่ายังไง  ที่จริง จะเรียกว่า lady หรือ  Dame ฝรั่งก็คงพอเข้าใจ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 187  เมื่อ 05 พ.ค. 16, 08:27


เรื่องนี้ นานๆที บางฝ่ายยังหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นเสียดสีกันกันทางการเมือง

เพื่อให้ข้อมูลครบรอบด้าน ขอบันทึกไว้ว่าครั้งหนึ่ง
ดร.ชาญวิทย์ เคยให้สัมภาษณ์ว่าไม่เคยรับทราบเรื่องวิทยานิพนธ์นี้จนกระทั่งเกิดเรื่องกันขึ้น

การเมืองไทยในวิทยานิพนธ์เรื่องหนึ่ง
เป็นเรื่องน่าแปลกที่กาลเวลาทำให้คณบดี กับคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
รวมทั้งผู้เสนอวิทยานิพนธ์ออกมาสื่อสารข้อสรุปแก่สังคมได้อย่างแตกต่างกัน






บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 188  เมื่อ 25 พ.ค. 16, 10:24

บันทึกไว้เป็นหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์

กรณีหนังสือเรื่อง "การเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี" สงครามศักดิ์ศรีของชาวโคราช โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์กาญจนี ละอองศรี วารสารธรรมศาสตร์ ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๓ (กันยายน-ธันวาคม ๒๕๓๙)

http://digi.library.tu.ac.th/journal/0007/2539/22_3/04PAGE20_PAGE79.pdf



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 189  เมื่อ 25 พ.ค. 16, 10:43

การทำวิทยานิพนธ์ (ความเป็นมาของวิทยานิพนธ์เรื่อง "ภาพลักษณ์ท้าวสุรนารีในประวัติศาสตร์ไทย") โดย สายพิน  แก้วงามประเสริฐ   วารสารธรรมศาสตร์ฉบับเดียวกัน

http://digi.library.tu.ac.th/journal/0007/2539/22_3/03PAGE15_PAGE19.pdf


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 190  เมื่อ 25 พ.ค. 16, 12:39

วิทยานิพนธ์เรื่อง "ภาพลักษณ์ท้าวสุรนารีในประวัติศาสตร์ไทย" โดย สายพิน  แก้วงามประเสริฐ  

https://onedrive.live.com/view.aspx?cid=4E0C9E90D3112DE2&resid=4E0C9E90D3112DE2!681&app=WordPdf




บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 191  เมื่อ 28 พ.ค. 16, 19:08


ขอร่วมบันทึกเพิ่มเติมครับ
Quote ประธานสอบวิทยานิพนธ์ก่อน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 192  เมื่อ 28 พ.ค. 16, 19:28


นับว่าเป็นวิทยานิพนธ์ที่ค่อนข้างแปลกประหลาดที่ บทคัดย่อ เขียนได้อย่างกำกวม
ราวกับว่าผู้เขียนเป็นคนละบุคคลกับผู้เขียนบทสุดท้ายในวิทยานิพนธ์

ผู้เขียนเหมารวมเอาว่าการที่อนุเสาวรีย์ท้าวสุรนารีถูกสร้างขึ้นอย่างรวดเร็วในปี ๒๔๗๗ เนื่องจากรัฐต้องการใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองเป็นหลัก
ทั้งๆ ที่อนุเสาวรีย์อื่นๆที่รัฐสร้างขึ้นในช่วงเวลานั้นก็เพื่อจุดประสงค์ทางการเมืองแทบทั้งสิ้น กลับไม่กล่าวถึง

ข้อมูลที่คุณสายพิณลืมกล่าวถึงคือ ในปี ๒๔๗๗ พระเริงรุกปัญจามิตร ดาวรุ่งพุ่งแรงของกองทัพบกท่านไปไหนต่อ ?
ถ้านำมาพิจารณาเพิ่มเติมอาจมองเห็นเหตุผลที่ทำไมอนุเสาวรีย์ท้าวสุรนารีได้ถูกอนุมัติให้ถูกสร้างขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 193  เมื่อ 03 มิ.ย. 16, 09:43


Quote คุณสายพิณ ผู้เขียนวิทยานิพนธ์

กลายเป็นว่าประธานสอบวิทยานิพนธ์ กับ ผู้เสนอวิทยานิพนธ์ ออกมาสื่อสารในประเด็นเดียวกันไปคนละทิศคนละทาง

ประธาน : ข้อสรุปในวิทยานิพนธ์ไม่ได้ปฏิเสธว่าท้าวสุรนารีไม่มีตัวตน หรือ วีรกรรมของท่านไม่มีตัวตน ...
สายพิณ : ข้าพเจ้าไม่ได้สนใจว่าวีรกรรมนี้จะมีจริงหรือไม่ เพราะไม่ใช่ประเด็นที่จะพิสูจน์ได้...



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 194  เมื่อ 03 มิ.ย. 16, 11:20


สิ่งที่ไม่มีใครเขียนถึงคือ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
ปรากฏขึ้นพร้อมๆกับการทุบทำลายป้อมปราการและกำแพงเมืองนครราชสีมา
จนเหลือเฉพาะเท่าที่เห็นในปัจจุบัน


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.041 วินาที กับ 20 คำสั่ง