เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 16
  พิมพ์  
อ่าน: 89518 "คำถามจากหนังสือ "การเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี" - "วีรกรรมนี้เกิดขึ้นจริงหรือ?"
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 20:26

อ่านตรงนี้ก่อนครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 20:28

^
ผมวิจารณ์การต่อสู้ในกบฏบวรเดชไปแล้วว่าเป็นการต่อสู้ของนักการเมืองในเครื่องแบบทหารที่ฝ่ายหนึ่งเพิ่งมีอำนาจและอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งอกหัก ไม่ใช่การต่อสู้ระหว่างสองชนชั้นดังความเชื่อของบางสำนัก

บังเอิญเกิดเหตุการณ์ที่ว่าที่ร้อยตรีตุ๊ นายทหารฝ่ายรัฐบาลซึ่งขึ้นไปรบศึกที่โคราช ได้ไปพบสถูปของท้าวสุรนารีในวัดที่ไปพำนัก และนำความไปเล่าให้แม่ทัพฟัง และบังเอิญอีกเหมือนกัน ที่แม่ทัพแม้จะเป็นคนกรุงเทพแต่มีเชื้อสายโคราชนับญาติเป็นลูกหลานคุณหญิงโม จึงเป็นแรงผลักดันให้เกิดการเรี่ยไรขึ้นเพื่อหาทุนสร้างอนุสาวรีย์แบบสมัยใหม่ให้ท้าวสุรนารี รัฐบาลแทบจะไม่ได้ยุ่งด้วยเลย เพียงแต่ให้กรมศิลปากรรับงานปฏิมากรรมสร้างรูปหล่อท้าวสุรนารีเท่านั้น วันเปิดอนุสาวรีย์ก็ไม่ปรากฏบุคคลในรัฐบาลคณะราษฎรไปร่วมพิธี ทางจังหวัดกระทำกันเองทั้งนั้น แล้ววาทกรรมที่ว่าน่ะคืออะไร มีจริงหรือ

ว่าก็ว่าเถอะ ผมมองไม่เห็นว่าท้าวสุรนารีจะเป็นสามัญชนที่ไหน เพียงแต่ว่าท่านจะมิใช่เจ้านายราชวงศ์จักรีเท่านั้น ทว่าท่านก็เป็นเจ้านายของเมืองโคราชระดับคุณหญิงของท่านเจ้าเมืองทีเดียว เมื่อชาวเมืองโคราชถูกกองทัพเวียงจันทน์เทครัวจะไปเมืองลาวนั้น ถ้าผู้นำการลุกฮือขึ้นต่อสู้ไม่ใช่คุณหญิงโมแต่เป็นสามัญชนระดับชาวบ้านจริงๆ ถามหน่อย จะปลุกระดมสำเร็จไหม

ยิ่งรูปหล่อของท้าวสุรนารีที่อัครศิลปินระดับศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีนิรมิตขึ้นมา ผมมองไม่ออกว่าเป็นสัญญลักษณ์ของสามัญชนตรงไหน นั่นน่ะ ศักดินาระดับเทพทีเดียว ไม่แปลกที่คนสมัยนี้จะบูชาท่านเป็นเทวนารีไปแล้ว

ไม่ทราบว่าเป็นวาทกรรมของฝ่ายใด
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 20:53

ทว่าท่านก็เป็นเจ้านายของเมืองโคราชระดับคุณหญิงของท่านเจ้าเมืองทีเดียว

ระวังท่านพระยาปลัดจะมาว่าเอานา คุณนวรัตน

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 21:10

ขอบคุณที่ทักครับ

ขอแก้เป็นตามคุณเพ็ญครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 21:14

ไม่แปลกที่คนสมัยนี้จะบูชาท่านเป็นเทวนารีไปแล้ว

...อนึ่งข้าพระพุทธเจ้าขอนมัสการเทพพรหมมินทร์ อิศวรอินทรนารายณ์ ตลอดจนเทพยดาเจ้าทั้งหลายทั่วทุกทิศ เนื่องด้วยข้าพระพุทธเจ้าจะได้กระทำสิริกิจสังเวยพิธีบวงสรวงพระแม่เจ้าท่านท้าวสุรนารีแห่งนครราชสีมา

...จึงขอทูลเชิญให้เสด็จจรจรัลกลับมาสถิต เป็นรูปนิมิตเพื่อลูกหลานน้อมสักการบูชายังฐานใหม่งามละลานตาหน้าประตูชุมพล เชิญพระแม่ท่านเสด็จจรดลมาประทับ และรับเครื่องสังเวยซึ่งลูกหลานน้อมจัดมาให้เสวยอย่างอร่อยล้ำ มีหัวหมูบายศรี ส้มตำ เป็ดไก่ กุ้งปลาพล่ายำ และผลไม้ เครื่องจันอับ กล้วยอ้อย...ขนมต้มแดงต้มขาว อีกน้ำจันอันโอชา...ขอพระแม่ได้โปรดอวยชัยแก่ลูกแก้วทั่วทุกคน ให้มีทรัพย์ศฤงคารเหลือล้นไหลมาเทมา...


จากหนังสือที่ระลึกสร้างฐานแท่นอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีใหม่ พ.ศ. ๒๕๑๐

 ขยิบตา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 21:48

    ขอกลับไปตั้งข้อสังเกตบางอย่างในวิทยานิพนธ์ของคุณสายพินค่ะ    ดิฉันรู้สึกว่าอ่านยาก ตามความคิดของเธอไม่ทัน   เพราะมันมีหลายตอนที่แย้งๆกันอยู่
    เอาตัวอย่างง่ายๆ ในบทที่ 4
    ๑   คุณสายพินใช้คำว่า พระราชพงศาวดารของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มีส่วน"สร้างความชอบธรรมให้วีรกรรมของคุณหญิงโม  เป็นอย่างยิ่ง" เพราะว่าเป็นงานเขียนเล่มแรกที่ยืนยันว่าวีรกรรมของคุณหญิงโมมีอยู่จริง      แปลไทยเป็นไทยว่า   เจ้าพระยาทิพากรวงศ์เป็นผู้รับรองเองว่าวีรกรรมคุณหญิงโมมีจริง
    ๒  แต่ต่อมาคุณสายพินก็บอกว่า วีรกรรมนั้นถูกเอ่ยถึงเพียงเล็กน้อย  ขนาดไม่เขียนถึงก็ได้   เจ้าพระยาท่านก็ไม่เห็นจะบอกว่ามันสลักสำคัญตรงไหน  คนอ่านอย่างสมเด็จกรมพระยานริศฯเองทรงอ่านแล้วก็ไม่เห็นจะมีวีรกรรมอะไรนักหนา     เอกสารร่วมสมัยอื่นๆก็ไม่เห็นจะระบุวีรกรรมเอาไว้
     ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงก็ไม่เห็นว่าจะเป็น "ความชอบธรรมอย่างยิ่ง" แก่คุณหญิงโมตรงไหนเลยนี่คะ     
     เพราะถ้าวีรกรรมของท่านมีมากกว่าที่เขียน ก็ต้องถือว่างานเขียนไม่ให้ความชอบธรรมแก่ท่าน    แต่ถ้าวีรกรรมท่านน้อยนิด  หรือไม่มีเอาเลยจนหลักฐานร่วมสมัยไม่เอ่ยถึง อย่างที่คุณสายพินพยายามชี้ไปในทางนั้น เจ้าพระยาทิพากรวงศ์เขียนให้ขนาดนี้ก็ต้องถือว่าให้เครดิตมากกว่าที่เป็น  จะเรียกว่าชอบธรรมไม่ได้อีกเหมือนกัน
    ภาษาของคุณสายพินนี่แหละเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ดิฉันรู้สึกว่าอ่านยาก    เพราะมันทำให้รู้สึกว่าจะเป็นอย่างนั้นก็ได้ อย่างนี้ก็ได้  หรือจะไม่เป็นสักอย่างเลยก็ได้เหมือนกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 22:14

  อีกตอนหนึ่ง ในบทที่ 4  หน้า 260  หัวข้อ กลวิธีทัดทาน กับการท้าทายพระราชอำนาจของราชสำนักสยาม
  คุณสายพินเล่าประวัติศาสตร์ว่าเมื่อพ.ศ. 2410  ฝรั่งเศสเริ่มคุกคามสยามด้วยการยกพลมายึดเขมรส่วนนอกไป   พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯจึงส่งพงศาวดารเมืองเขมรไปให้ฝรั่งเศส เพื่อยืนยันเป็นหลักฐานว่าสยามเป็นเจ้าของดินแดนส่วนนี้มาก่อน   แต่ฝรั่งเศสปฏิเสธไม่ยอมรับ  ทำให้สยามต้องสละอำนาจเหนือดินแดนเขมรส่วนนี้ไป
   นี่คือคำบอกเล่าของคุณสายพิน
   เธอวิเคราะห์ว่าการที่คุณหญิงโมปรากฏวีรกรรมขึ้นในพระราชพงศาวดาร ที่เขียนขึ้นใน 2 ปีหลังจากนั้น เป็นเครื่องสะท้อนว่าวีรกรรมนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อราชสำนักสยาม   เพราะวีรกรรมของท่านเป็นเรื่องเน้นความจงรักภักดีของหัวเมืองต่ออำนาจรัฐที่กรุงเทพ    ทำให้ราชสำนักต้อง"ผลิต" งานที่เน้นความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างรัฐบาลกลางกับหัวเมืองต่างๆโดยเฉพาะอีสาน เนื่องจากตระหนักถึงภัยฝรั่งเศสที่คุกคามมาทางทิศตะวันออกของสยาม
 
    ขอให้สังเกตความเป็นเหตุเป็นผลในเหตุผลนี้  ว่ามันมีอะไรแปร่งๆอยู่มาก
    ก็ถ้าหากว่าสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงส่งพงศาวดารที่แสดงหลักฐานว่าสยามเป็นเจ้าของเขมรไปให้ฝรั่งเศส เพื่อแจ้งว่า นี่สยามกับเขมรเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนะท่าน    ผลคือฝรั่งเศสไม่ยอมฟัง ปฏิเสธไม่รับรู้ จะยึดอำนาจเหนือเขมรส่วนนอกให้ได้ท่าเดียว  ไทยก็ต้องยอม
    ก็แปลว่าการใช้พงศาวดารเป็นเครื่องมือนั้น ไม่ได้ผลในการป้องกันการรุกราน
    แล้วถ้าอย่างนั้น แค่ 2 ปีต่อมา  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ จะทรงใช้วิธีที่ไม่ได้ผลมาหยกๆ ซ้ำแบบอีกทำไมกัน  
    การเขียนว่าโคราชเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกรุงเทพผ่านทางวีรกรรมของท้าวสุรนารี    มันก็ซ้ำรอยกับพงศาวดารเขมรที่เคยแสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับไทย ผ่านทางกษัตริย์เขมรองค์ก่อนๆ หลายองค์ที่เคยมาอยู่ในอุปการะของไทย  
    มิหนำซ้ำ คุณสายพินยังใช้คำว่า "ผลิต" ส่อนัยยะว่าเป็นการสร้างเรื่องขึ้นมา  ไม่ใช่เล่าเรื่องจากข้อเท็จจริง  แต่มีอะไรเบื้องหลังแอบแฝงอยู่   เพื่อนำไปสู่เนื้อหาวิทยานิพนธ์ว่ามีการเมืองแอบแฝงอยู่ทุกช่วงเวลา
    พูดอีกทีคือ เธอเห็นว่าการสร้างวีรกรรมของท้าวสุรนารีที่ไม่มีจริง หรือมีก็ปลีกย่อยแทบหาความสำคัญไม่ได้ เป็นกลอุบายฝ่ายไทยที่บันทึกลงในพงศาวดารเพื่อจะใช้ประโยชน์ยื่นให้ฝรั่งเศสอ่าน  หากรุกรานอีสาน       เผื่อจะได้ผลหลังจากการกระทำแบบนี้ไม่ได้ผลมาแล้วเมื่อ 2 ปีก่อน
    มันฟังขึ้นไหมล่ะคะ?  
  
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 07 ก.ย. 12, 00:00

อ้างถึง
คงมีผู้มาวิจารณ์นักวิจารณ์อีกต่อหนึ่ง

วิจารณ์ว่า นักวิจารณ์ไม่ได้วิจารณ์เนื้อหา แต่ย่อความวิทยานิพนธ์นี้มาเขียนเกือบทั้งหมด

ชอบจริง ๆ ที่ท่านพูดตรง ๆ
งานวิชาการที่ดีนั้น คนอ่านอ่านแล้วต้องเข้าใจ ถ้าอ่านแล้วไม่เข้าใจ คุณค่าก็ไม่เกิด เมื่อคุณค่าไม่เกิด งานชิ้นนั้นก็ไม่มีประโยชน์ทางวิชการ
ถ้าคนที่เรียกตัวเองว่า "นักวิชาการ" ยังเข้าใจว่าการ "วิจารณ์" คือ "การย่อ" เรื่องก็เอวังด้วยประการฉะนี้
ผมเพิ่งเสร็จจากการทำรายงานของรัฐสภาชิ้นหนึ่งร่วมสองร้อยหน้าและต้องร่วมทำงานกับเจ้าหน้าที่และ "ผู้ใหญ่" ต้องขอบอกว่า "อึดอัดใจมาก" ที่ต้องบอกว่าอึดอัดเพราะผมคาดหว้งในคุณภาพการทำงานอย่างดีจากท่านที่กล่าว
แต่เมื่อทำงานจริง เจ้าหน้าที่ก็ทำงานแบบ "วิทยานิพนธ์ตัดปะ" ตัดปะไม่ว่ากันเพราะสมัยนี้มีคอมฯ แต่อย่างน้อยควรต้องอ่านทวนไม่ให้พลาด (เพราะจบนิติศาสตร์มาทั้งนั้น มิใช่ ม.๖ หรือ ปวช.) นี่คือเหตุที่ผมต้องรับมาทำใหม่หมดเอง เพราะขี้คร้านจะไปบอกเจ้าหน้าที่ว่าต้องแก้ผิดถูกตรงไหน ตรงตัดตรงไหน ต้องเพิ่มตรงไหน
ส่วน "ผู้ใหญ่" ก็ไม่สมเป็นผู้ใหญ่ที่คาดหวัง เพราะแม้แต่ "บทสรุปผู้บริหาร" ท่านยังจะคัดลอกคำถาม คำตอบ ที่มีปรากฏอยู่ในเนื้อหาอยู่แล้วมาใส่ในบทสรุป กลายเป็นบทสรุปมีถึง ๑๙ หน้า
ผมจึงเข้าใจได้ว่า ทำไมเด็กไทย IQ จึงต่ำกว่าเด็กพม่า และสูงกว่าเขมรเล็กน้อย
ขอบ่นหน่อย เพราะที่ท่านเนวรัตน์เขียนสะกิดต่อมความรู้สึกของผมครับ
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 07 ก.ย. 12, 00:28

เพื่อเป็นวิทยาทานแก่คนทั่วไปและแก่สังคม ผมเสนอให้ท่านเนาวรัตน์รวบรวมหลักฐานที่สำคัญในเรื่องนี้จากกระทู้นี้ รวมทั้งข้อคิดเห็น มาทำเป็นหนังสือเชิงวิชาการ ทำนองเรื่องว่า "วีรกรรมคุณหญิงโม : บทเรียนในเรื่องการค้นคว้าประวัติศาสตร์"  โดยมีท่านเทาชมพูเป็นบรรณาธิการ โดยอาจขอทุนวิจัยจากรัฐสภาก็ได้นะครับ ผมยินดีติดต่อให้
หรือถ้าจะค้นและจัดพิมพ์เอง ผมก็ยินดีลงขันห้าหมื่นบาท (อันนี้ไม่ได้พูดเล่นครับ)
เพื่อประเทศไทยของเรา (ไม่คลั่งชาติ แต่รักชาติและสำนึกในบุญคุณบ้านเมืองและในหลวงครับ)
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 07 ก.ย. 12, 06:11

ผมคงไม่รับนิมนต์หรอกครับ ขอบคุณที่ให้เกียรติ

อ่านความเห็นก่อนหน้าแล้ว คนที่เหมาะที่สุดที่จะทำคือคุณสุจิตรานั่นแหละ วันใดวันหนึ่งก็ได้ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีคงยังยืนยงอีกนาน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 07 ก.ย. 12, 07:39

   พูดอีกทีคือ เธอเห็นว่าการสร้างวีรกรรมของท้าวสุรนารีที่ไม่มีจริง หรือมีก็ปลีกย่อยแทบหาความสำคัญไม่ได้ เป็นกลอุบายฝ่ายไทยที่บันทึกลงในพงศาวดารเพื่อจะใช้ประโยชน์ยื่นให้ฝรั่งเศสอ่าน   หากรุกรานอีสาน       เผื่อจะได้ผลหลังจากการกระทำแบบนี้ไม่ได้ผลมาแล้วเมื่อ 2 ปีก่อน  

คงไม่ใช่เพื่อให้ฝรั่งเศสอ่านอย่างที่คุณเทาชมพูว่า

ข้อเท็จจริงคือ นครราชสีมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ "ชายขอบ" ระหว่างสองวัฒนธรรมคือสยามกับลาว ขณะนั้นคนอีสานยังมีความรู้สึกผูกพันอยู่กับเวียงจันท์มากกว่าสยาม ความเป็นเมืองชายขอบของนครราชสีมา จึงทำให้เกิดความคลุมเครือต่อสถานะความจงรักภักดีของนครราชสีมาที่มีต่อกรุงเทพฯ

อ่านที่คุณสายพินว่าไว้ต่อดีกว่า

 ยิ้ม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 07 ก.ย. 12, 08:22

อ้างถึง
ข้อเท็จจริงคือ นครราชสีมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ "ชายขอบ" ระหว่างสองวัฒนธรรมคือสยามกับลาว ขณะนั้นคนอีสานยังมีความรู้สึกผูกพันอยู่กับเวียงจันท์มากกว่าสยาม ความเป็นเมืองชายขอบของนครราชสีมา จึงทำให้เกิดความคลุมเครือต่อสถานะความจงรักภักดีของนครราชสีมาที่มีต่อกรุงเทพฯ

ขอออกความเห็นนิดเดียวครับ

คงลืมกันไปว่า บริบทนั้นทัพลาวข้ามโขงมาปล้นเมืองนครราชสีมา แล้วจะกวาดต้อนครัวเรือนกลับไปเวียงจันท์ ถ้าคนโคราชมีความรู้สึกผูกพันอยู่กับเวียงจันท์มากกว่าสยาม คงยอมตามเขาไปโดยดี เหมือนครั้งพระนเรศวรทรงเคยนำครัวไทยในพม่ากลับกรุงศรีอยุธยา แต่นี่ไปเล่นทีเผลอเข่นฆ่าเขาซะยับเยิน

มันจะคลุมเครืออะไรอีก
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 07 ก.ย. 12, 08:25

ภาพนี้ชัดเจนมาก
ผมเอามาให้ท่านพิจารณาเองว่า วาทกรรมของคุณสายพินเรื่องการเชิดชูสามัญชนขึ้นมาแทนเจ้าผ่านอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีนั้น เป็นความคิดที่ถูกครอบงำโดยอคติอันใดหรือเปล่า

รูปนี้ถ้าไม่บอกว่าเป็นรูปปั้นใคร ผู้ที่ไม่เคยเห็นมาก่อนคงจะเชื่อว่าเป็นพระรูปของพระนางองค์ใดองค์หนึ่งเป็นแน่แท้ ไม่ใช่บุคคลธรรมดาสามัญชนอย่างที่คุณสายพินพยายามสร้างภาพไว้ในสาระสำคัญของวิทยานิพนธ์


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 07 ก.ย. 12, 08:27

ตรงจอนผมมีทัดด้วย ปั้นสีผึ้งเป็นก้อนทันแฟชั่นในยุคนั้นเหมาะเหม็ง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 07 ก.ย. 12, 08:30

ผมเอาอนุสาวรีย์ของสามัญชนร่วมสมัยที่ชื่อMolly Pitcher ซึ่งเป็นชื่อสมมติตั้งให้วีรสตรีอเมริกันที่เข้าช่วยทหารรบทัพจับศึกในสงครามประกาศอิสรภาพในปีค.ศ. 1778 มาให้ดูกันเฉยๆ ไม่ได้ต้องการให้เปรียบเทียบอะไร

http://en.wikipedia.org/wiki/Molly_Pitcher

ความจริงมอลลี พิตเช่อร์มีมูลอยู่ว่าจะเป็น Mary Ludwig Hays McCauly แต่เรื่องของเธอก็กลายเป็นตำนานไป เพราะคนเล่าเหตุการณ์ล้วนเอาฝอยมาแถมเสียจนไม่รู้ว่าจริงๆแล้วเรื่องเป็นอย่างไรแน่  ในการรบครั้งนั้นมีผู้หญิงอาสาเข้ารบร่วมกับผู้ชายหลายคน วีรกรรมที่เล่าอาจจะเป็นเรื่องของคนนี้บ้างคนโน้นบ้างปนๆกันไปหมด ในที่สุดเขาก็เลยต้องตั้งนามสมมตินี้ขึ้นสำหรับเรียกรูปปั้นผู้หญิง ที่นำมาตั้งบนฐานอนุสาวรีย์ที่ทำขึ้นบนหลุมศพของ Mary Hays เพื่อแสดงการรำลึกถึงวีรสตรีเหล่านั้นโดยรวม

มอลลี พิตเชอร์อาจจะมีความเหมือนนางสาวบุญเหลือที่ทุ่งสัมฤทธิ์ก็ได้นะครับ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 20 คำสั่ง