เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 16
  พิมพ์  
อ่าน: 89452 "คำถามจากหนังสือ "การเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี" - "วีรกรรมนี้เกิดขึ้นจริงหรือ?"
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 07:26

ตามอ่าน ชอบทุกความเห็นของทุกท่านครับ  กด ...


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 07:33

ต่อครับ ต่อ

คุณสายพินเรียนประวัติศาสตร์มาน่าจะรู้ว่า ตำนาน พงศาวดาร บันทึก จดหมายเหตุ มีความแตกต่างกันอย่างไรในเรื่องของมูลความจริง แต่คุณสายพินได้ทำการแปลงเอกสาร โดยเอาบางตอนของจดหมายเหตุทัพเวียงจันท์ ที่เขียนไว้อย่างตรงไปตรงมาน่าเชื่อถือ ไปผนวกไว้กับพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯสองเล่ม ที่ทรงระบุว่าเป็นตำนานและพงศาวดาร อย่างชนิดที่แยกความไม่ออกว่าฉบับไหนเป็นฉบับไหน เพื่อโน้มน้าวให้ผู้อ่านเข้าใจว่า วีรกรรมของคุณหญิงโม หากมีจริงก็ถูกเสริมแต่งเสียจนเวอร์โดยบุคคลสำคัญของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช เพื่อเจตนาสร้างวีรสตรีอีสานขึ้นมาเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์

ผมว่าคุณสายพินนั่นแหละที่เวอร์ไปเอง เพราะขนาดสมเด็จกรมพระยานริศฯท่านยังไม่รู้จักคุณหญิงโม คนไทยสมัยนั้นกี่คนเล่าจะรู้จัก และจะรู้จักจำนวนมากพอที่จะทำให้นโยบายอะไรนั่นบรรลุจุดหมายไหม  สมเด็จกรมพระยาดำรงทรงส่งหนังสือที่กล่าวถึงคุณหญิงโมไปถวายให้ทรงอ่าน ท่านยังทรงวิจารณ์ว่าไม่เห็นแผลงอิทธิฤทธิ์อะไรเลย ฯลฯ แสดงว่าทั้งท่านที่ทรงส่งหนังสือไปถวายและท่านที่ทรงอ่าน แม้จะเคยนั่งอยู่ในรัฐบาลของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชทั้งคู่ ก็ไม่ทรงระแคะระคายว่าเคยมี “วาทกรรม”สำคัญระดับนโยบายอะไรเรื่องคุณหญิงโมตามความเชื่อที่คุณสายพินสร้างขึ้น สมเด็จกรมพระยาดำรงทรงจำคุณหญิงโมได้ แต่คงจะเลือนๆไปแล้ว มิฉะนั้นก็น่าจะส่งพระนิพนธ์ของพระองค์ไปถวายแทนที่จะเป็นเล่มที่เจ้าพระยาทิพากรวงศ์เขียน

ส่วนคนเก่าคนแก่เมืองโคราชนั้น เขารู้จักคุณหญิงโมดีมาแต่บรรพบุรุษ เพราะคุณหญิงโมได้ช่วยไว้ ไม่ให้ต้องย้ายถิ่นฐานไปอยู่เวียงจันทน์ในฐานะเชลย เท่านั้นก็เพียงพอแล้ว คนเมืองหลวงไม่ต้องไปสร้างวาทกรรมเรื่องคุณหญิงโมอะไรกับเขา(แหม ผมไม่อยากใช้คำนี้เลย แต่คุณสายพินชอบใช้ ก็เลยพยายามจะเว้าภาษาเดียวกัน)

l


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 07:41

ข้อความภาษาลาว อ่านไม่ออกค่ะ

ลองแกะเป็นอักษรไทยได้ดังนี้

เมื่อครอบครัวอพยพมาถึงทุ่งสัมฤทธิ์ ท้าวปลัด เมืองราชสีมา พร้อมนางโม้ พากันวางแผนเลี้ยงเหล้าทหารลาว เมาเหล้านอนหลับอยู่ ท้าวปลัดและครอบครัวพวกสยามก็ยึดเอาปืนทหารลาว แล้วยิงทหารลาวตายเกือบหมด ผู้ยังเหลือก็ ? หนี ครอบครัวลาวถูกข่มขู่ว่า : ใครขัดขืนจะถูกฆ่าตาย

งานเขียนนี้เป็นงานเขียนฉบับปรับปรุงเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙

ข้อมูลคงเอามาจากงานเขียนของไทย

 ยิ้ม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 07:42

บัดเดี๋ยวจะมาต่อความเรื่องการสร้างวาทกรรมเรื่องพลเมืองดี ซึ่งมีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ มาเป็นความจงรักภักดีต่อชาติซึ่งมีรัฐบาลคณะราษฏรเป็นศูนย์กลาง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 07:48

แต่คุณสายพินประสงค์จะเรียกสถูปอันหลังนี้ว่าอนุสาวรีย์(ทั้งที่คุณสายพินเองเขียนว่าอยู่ในที่คับแคบไม่สมเกียรติและศักดิ์ศรีของวีรสตรี) เพราะถ้าเรียกสถูปอย่างที่ว่าที่ร้อยตรีตุ๊เรียก ก็จะไม่ค่อยมีน้ำหนักพอที่จะกล่าวว่า ผู้สำเร็จราชการมณฑลนครราชสีมาทำไปเพื่อสนองนโยบายของรัฐในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช

หามิได้ ผู้ที่เรียกกู่ขนาดเล็กบรรจุอัฐิคุณหญิงโมไว้ที่วัดกลางว่า "อนุสาวรีย์" คือ พระยาประสิทธิศัลการเอง

เกี่ยวกับอนุสาวรีย์คุณหญิงโมนี้ พระยาประสิทธิศัลการขณะไปเป็นอัครราชทูตสยามประจำประเทศอังกฤษ ได้เขียนจดหมายกราบทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลงวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๑๙ (พ.ศ. ๒๔๔๓) เมื่อทราบว่าพระองค์เสด็จพระราชดำเนินเมืองนครราชสีมา

...หวังด้วยเกล้าฯ ว่าใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาทคงจะได้ทอดพระเนตรอนุสาวรีท้าวสุรนารี ผู้ซึ่งได้ช่วยชาวเมืองนครราชสีมาไว้นั้น ข้าพระพุทธเจ้าได้ทำไว้ที่มุมวัดกลางด้านตวันตกที่ริมโรงเรียนนั้น คิดด้วยเกล้าฯ ว่าจะทำให้ใหญ่กว่านี้ แต่เกรงด้วยเกล้าฯ ว่าจะไม่สำเร็จ ทั้งเวลานั้นทุนของข้าพระพุทธเจ้าไม่ใคร่จะพอใช้ด้วย เพราะต้องเข้าเรี่ยไรทำการบำรุงวัดแลขุดสระหลายแห่ง คิดด้วยเกล้าฯ ว่าจะทำอนุสาวรีสำหรับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก กับเจ้าพระยาบดินทรเดชา อีกสองแห่ง แต่เห็นด้วยเกล้าฯ ว่าเป็นการใหญ่ จะต้องขอรับพระบรมราชดำริห์ก่อน พันเอินต้องไปรับราชการที่ลอนดอน การเหล่านี้หาสำเร็จไม่

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 08:07

อาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ เขียนอธิบายเกี่ยวกับคำว่า "อนุสาวรีย์" ว่า จริง ๆ แล้วคำนี้ยังไม่ทราบว่ามีความเป็นมาอย่างไร แต่หลักฐานจากจดหมายของพระยาประสิทธิศัลการกราบทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแสดงว่าคำนี้มีใช้มาอย่างน้อยตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๔๓ แล้ว

คำว่า "อนุสาวรีย์" หากเทียบกับภาษาสันสกฤต ก็อาจเทียงได้กับคำว่า “อนุ-สฺวาร” (อะ-นุ-สฺ-วา-ระ) ซึ่งแปลว่า เสียงตาม ไม่ใช่ ระลึกถึง ถ้าจะให้หมายถึง ระลึกถึง ก็พึงใช้คำ “อนุสฺมาร” (อะ-นุ-สฺ-มา-ระ) เป็น “อนุสามรีย์”  คำเช่นนี้เรียกว่า "คำเพี้ยน"  

ตัวอย่างคำเพี้ยนอีกคำว่า "อัตโนมัติ" ซึ่งเป็นคำแปลภาษาอังกฤษว่า automatic อันที่จริง “อัตโนมัติ” แปลว่า ความเห็นส่วนตัว ความเห็นโดยลำพังตน มัติ แปลว่า ความเห็น แต่ automatic แปลว่า เป็นไปเอง มิได้แปลว่า ความเห็น อะไรเลย ถ้าใช้ “อัตโนวัติ” ก็จะใกล้กับคำภาษาอังกฤษมากกว่า

แต่อย่างไรก็ต้องถือว่าเป็นคำเพี้ยนที่ใช้ได้ เพราะท่านรอยอินรับรอง

อ่านรายละเอียดในเรื่อง อนุสาวรีย์-อนุสรณีย์ โดย ศ.จำนงค์ ทองประเสริฐ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 08:53

เอาครับ เป็นอันว่าผมไม่เห็นข้อความที่คุณเพ็ญชมพูยกมา

แต่เมื่อเพื่อพิเคราะห์แล้ว ผมออกจะเชื่อคำว่าอนุสาวรีย์ซึ่งเพิ่งเกิดในสมัยรัชกาลนั้นยังออกจะมีความสับสนในการใช้อยู่ ถ้าพระยาประสิทธิศัลการจะเรียกสถูปใหม่ของคุณหญิงโมว่าอนุสาวรีย์ ก็น่าจะเรียกสถูปเดิมของท่านว่าเป็นอนุสาวรีย์ด้วย เพราะไม่ได้มีความแตกต่างในเรื่องรูปแบบ ขนาด และสถานที่ที่ประดิษฐานคือยังเป็นในวัดอยู่ ไม่ใช่ในลานกว้างในที่ชุมชนเพื่อประสงค์จะให้คนทั้งหลายเห็นง่ายๆ จะได้ระลึกถึงเรื่องราวที่อนุสาวรีย์ต้องการจะสื่อ

เป็นอันว่าศัพท์สมัยใหม่(ในยุคโน้น)ที่พระยาประสิทธิศัลการนำมาใช้ เข้าตาคุณสายพิน สามารถนำมาขยายผลได้  ความตามที่ผมเขียนไว้เดิมนี้ คงไม่ต้องแก้
อ้างถึง
แต่คุณสายพินประสงค์จะเรียกสถูปอันหลังนี้ว่าอนุสาวรีย์(ทั้งที่คุณสายพินเองเขียนว่าอยู่ในที่คับแคบไม่สมเกียรติและศักดิ์ศรีของวีรสตรี) เพราะถ้าเรียกสถูปอย่างที่ว่าที่ร้อยตรีตุ๊เรียก ก็จะไม่ค่อยมีน้ำหนักพอที่จะกล่าวว่า ผู้สำเร็จราชการมณฑลนครราชสีมาทำไปเพื่อสนองนโยบายของรัฐในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 09:48

...หวังด้วยเกล้าฯ ว่าใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาทคงจะได้ทอดพระเนตรอนุสาวรีท้าวสุรนารี ผู้ซึ่งได้ช่วยชาวเมืองนครราชสีมาไว้นั้น ข้าพระพุทธเจ้าได้ทำไว้ที่มุมวัดกลางด้านตวันตกที่ริมโรงเรียนนั้น คิดด้วยเกล้าฯ ว่าจะทำให้ใหญ่กว่านี้ แต่เกรงด้วยเกล้าฯ ว่าจะไม่สำเร็จ ทั้งเวลานั้นทุนของข้าพระพุทธเจ้าไม่ใคร่จะพอใช้ด้วย เพราะต้องเข้าเรี่ยไรทำการบำรุงวัดแลขุดสระหลายแห่ง คิดด้วยเกล้าฯ ว่าจะทำอนุสาวรีสำหรับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก กับเจ้าพระยาบดินทรเดชา อีกสองแห่ง แต่เห็นด้วยเกล้าฯ ว่าเป็นการใหญ่ จะต้องขอรับพระบรมราชดำริห์ก่อน พันเอินต้องไปรับราชการที่ลอนดอน การเหล่านี้หาสำเร็จไม่

คุณสายพินให้ความเห็นว่า

อนุสาวรีย์ที่พระยาประสิทธิศัลการวางแผนที่จะสร้างต่อไปน่าจะไม่ใช่สถูปเจดีย์ เนื่องจากคงหาพระอัฐิและอัฐิมาบรรจุไม่ได้ น่าจะเป็นรูปปั้นซึ่งสามารถจะหาแบบพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าที่อยู่ที่ปราสาทพระเทพบิดรได้ ส่วนแบบรูปปั้นของเจ้าพระยาบดินทรเดชาก็คงหาได้ไม่ยาก เนื่องจากเชื่อกันว่าหน้าของเจ้าพระยาบดินทรเดชาสมัยหนุ่ม ๆ เหมือนใบหน้าของพระยาประสิทธิศัลการ เนื่องจากเจ้าพระยาบดินทรเดชาเป็นปู่ทวดของท่าน

อนุสาวรีย์ตามความเข้าใจของคนปัจจุบันแห่งแรกคือ "พระบรมราชานุสรณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" (พระบรมรูปทรงม้า) สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.  ๒๔๕๑

ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 10:00

^
อนุสาวรีย์ที่พระยาประสิทธิศัลการจะสร้างอีกสองแห่งนั้น คงจะไม่ได้เป็นสถูปอยู่ในวัดนะครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 10:06

^
อนุสาวรีย์ที่พระยาประสิทธิศัลการวางแผนที่จะสร้างต่อไปน่าจะไม่ใช่สถูปเจดีย์ เนื่องจากคงหาพระอัฐิและอัฐิมาบรรจุไม่ได้ น่าจะเป็นรูปปั้นซึ่งสามารถจะหาแบบพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าที่อยู่ที่ปราสาทพระเทพบิดรได้ ส่วนแบบรูปปั้นของเจ้าพระยาบดินทรเดชาก็คงหาได้ไม่ยาก เนื่องจากเชื่อกันว่าหน้าของเจ้าพระยาบดินทรเดชาสมัยหนุ่ม ๆ เหมือนใบหน้าของพระยาประสิทธิศัลการ เนื่องจากเจ้าพระยาบดินทรเดชาเป็นปู่ทวดของท่าน

เดาใจท่านไม่ถูกว่าท่านคิดจะสร้างที่ไหน

 ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 10:26

รูปปั้นหรือรูปหล่อของพระมหากษัตริย์ในวัดเท่าที่มีอยู่ เขาจะเรียกว่าพระบรมรูปนะครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 10:40

เรื่องอนุสาวรีย์นี้ ทางราชการเขาก็มีหลักมีเกณฑ์กำหนดไว้เหมือนกัน

ตามระเบียบกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการก่อสร้างอนุสาวรีย์แห่งชาติและการจำลองพระพุทธรูปสำคัญ พ.ศ. ๒๕๒๐ กล่าวถึงการสร้างอนุสาวรีย์แห่งชาติมีหลักเกณฑ์ดังนี้

พระบรมราชานุสาวรีย์ หมายความว่า อนุสาวรีย์ของพระมหากษัตริย์ซึ่งได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นคุณอย่างยิ่งใหญ่แก่ชาติไทยในยุคสมัยต่าง ๆ ตามที่มีเรื่องหรือพระนามปรากฏในเอกสารหรือหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี และพระบรมราชานุสาวรีย์นั้นจะได้ประดิษฐานไว้ในที่สาธารณะหรือ ณ ที่ซึ่งเปิดให้มหาชนสักการบูชาและชมได้

อนุสาวรีย์บุคคลสำคัญ หมายความว่า สิ่งก่อสร้างที่เป็นเครื่องหมายน้อมนำให้ระลึกถึงวีรกรรมหรือคุณความดีของบุคคลที่ได้ประกอบกรณียกิจเป็นคุณประโยชน์อย่างยิ่งใหญ่ไว้แก่บ้านเมืองไทย สมควรจะสร้างอนุสาวรีย์ไว้ในปรากฏ เพื่อเป็นที่รวมพลังใจ ศรัทธา และความนิยมนับถือของประชาชน และเป็นแบบฉบับแก่อนุชนไทยสืบต่อไป และสิ่งก่อสร้างนั้นจะได้ประดิษฐานไว้ในที่สาธารณะหรือ ณ ที่ซึ่งเปิดให้มหาชนสักการบูชาหรือชมได้

สำหรับเรื่อง "ย่าบุญเหลือ" ที่คุณหนุ่มสอบถาม

มีการกล่าวถึง "ย่าบุญเหลือ" หรือ "นางสาวบุญเหลือ" กันบ้างไหม  ฮืม ท่านผู้นี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของการกู้ชาติที่ทุ่งสำริดเช่นกัน

ใน พ.ศ. ๒๕๒๔ จังหวัดนครราชสีมามีความคิดที่จะสร้างอนุสาวรีย์นางสาวบุญเหลือไว้ที่โรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์ จึงเสนอเรื่องไปยังกรมศิลปากร แต่กรมศิลปากรอนุญาตให้สร้างเป็น "อนุสรณ์สถาน"  ซึ่งทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๙

ทำไมกรมศิลปากรไม่อนุมัติให้สร้างเป็น "อนุสาวรีย์"

ลองเดาใจกรมศิลปากรดู

 ขยิบตา


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 11:29

ก่อนจะไปนางสาวบุญเหลือ โปรดดูข้อความในบทสรุปตอนนี้ของคุณสายพินให้จบก่อน



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 11:42

คุณสายพินได้เขียนมาก่อนนี้ในทำนองว่า กบฏบวรเดชคือการต่อสู้ระหว่างระบอบเก่าและระบอบใหม่ ทั้งที่คุณสายพินก็อ่านหนังสือมาเยอะ น่าจะทราบว่า ตั้งแต่พระองค์เจ้าบวรเดชลงไปถึงแม่ทัพนายกองทั้งหลาย เขาไม่ได้ต้องการที่จะนำระบอบเก่ากลับมา แต่เขาไม่เห็นด้วยกับการกระทำของคณะราษฎรในฐานะรัฐบาลใหม่ ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดก็เป็นเพียงข้ออ้างของนักการเมืองในคราบทหาร ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายกบฏ ใครไม่เข้าใจขอให้ไปอ่านในกระทู้ที่ผมเขียนเรื่อง “กบฏบวรเดช นี่ทหารการเมืองเขาเล่นอะไรกัน” แย่ที่สุดตรงที่ทั้งสองฝ่ายต่างอ้างสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อมาโฆษณาชวนเชื่อหาความชอบธรรมให้ฝ่ายตน ทำให้พวกไม่ชอบเจ้าสุดขอบมักจะเลือกบางบรรทัดไปแปรเพื่อป้ายสีพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯว่าทรงสนับสนุนฝ่ายกบฏ แล้วฟันธงไปเลยว่ากบฏบวรเดชคือการต่อสู้ครั้งสุดท้ายของฝ่ายเจ้ากับฝ่ายประชาธิปไตย อันเป็นเท็จทั้งดุ้น

คุณสายพินน่าจะเคยเห็นข้อเขียนที่ว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯท่านมิได้ทรงรับรู้เรื่องกบฏ เมื่อเหตุเกิดขึ้นแล้วพระองค์ยังทรงพยายามยับยั้งสงครามกลางเมืองครั้งนั้นด้วยซ้ำ ซึ่งฝ่ายกบฏแตกพ่ายก็เพราะรัฐบาลใช้คำว่า รัฐบาลในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาต่อสู้กับพวกเขานั่นเอง

และคุณสายพินเองก็ยังได้คัดข้อความเหล่านี้มาลงในบทที่๒ ของวิทยานิพนธ์ ที่ทำให้เห็นชัดว่า พระมหากษัตริย์ทรงมีสถานะที่เข้มแข็งเพียงไรในหัวใจคนไทย ชาวโคราชนี่แหละคือตัวอย่าง ตั้งแต่ชนชั้นปกครองไปจนถึงราษฎรตัวจริงเลย แต่ตอนสรุป ไหงเขียนไปคนละทางประมาณว่า คนท้องถิ่นมีความจงรักภักดีต่ออำนาจรัฐในส่วนกลาง และเสนอให้ทำอนุสาวรีย์ที่รัฐฉกฉวยเอาไปเป็นสัญญลักษณ์ของการต่อสู้ที่ระบอบประชาธิปไตยมีต่อระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 11:48


“กบฏบวรเดช นี่ทหารการเมืองเขาเล่นอะไรกัน”ถูกดึงขึ้นหน้าหนึ่งมาแล้ว สะดวกแก่ท่านที่จะเข้าไป
แต่ในอนาคตอาจไม่รู้อยู่ตรงไหน ผมจึงขออนุญาตที่จะลิงค์ไว้ให้ครับ

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5194.0
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.082 วินาที กับ 20 คำสั่ง