เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 16
  พิมพ์  
อ่าน: 89110 "คำถามจากหนังสือ "การเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี" - "วีรกรรมนี้เกิดขึ้นจริงหรือ?"
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 05 ก.ย. 12, 13:40

เอาข้อที่แย้งได้ชัด ๆ ก่อน

๓    สมเด็จกรมพระยาดำรงฯเองก็ไม่ทรงเห็นว่าคุณหญิงโมทำอะไรกล้าหาญจนต้องยกย่อง  ตามที่ทรงเขียนไว้ในสาส์นสมเด็จ     แต่ก็มีพระนิพนธ์เล่มอื่นที่ทรงยกย่องเหมือนกัน   สายพินไม่ได้ให้น้ำหนักว่าพระนิพนธ์ที่ขัดแย้งกันนี้เกิดจากอะไร  ควรเชื่อถือฉบับไหน

ผู้ที่มีความเห็นดังว่านี้หาใช่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพไม่ แต่เป็นสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

ลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๗ กราบทูลสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ



 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 05 ก.ย. 12, 13:46

  ตามความเข้าใจของดิฉัน  คุณสายพินมีสมมุติฐานอยู่สมองก่อนแล้วว่า วีรกรรมของท้าวสุรนารีนั้นไม่มีจริง แต่เป็นโฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลในอดีต   เสริมแต่งเหตุการณ์เล็กๆน้อยๆอย่างหนึ่งในประวัติศาสตร์ให้ขยายใหญ่โตขึ้นมา  เพื่อสนองลัทธิชาตินิยม ที่มีมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๖  แล้วต่อมารัฐบาลยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองก็กระพือเรื่องนี้ซ้ำขึ้นมาอีก    
   แต่ทั้งๆที่จุดประกายเรื่องท้าวสุรนารีขึ้นมาเหมือนกันทั้งสองสมัย  แทนที่จะเห็นว่าเป็นความคิดชาตินิยมไปในทางเดียวกัน    คุณสายพินก็กลับเห็นว่าอนุสาวรีย์นั้นเป็นการต่อสู้ระหว่างระบอบกษัตริย์หรือสมบูรณาญาสิทธิราชย์  VS  ระบอบประชาธิปไตยไปเสียแทน  
    นอกจากนี้ยังมีผลพวงอีกอย่างหนึ่งของการสร้างอนุสาวรีย์   คือรัฐบาลประสงค์จะสร้างสังคมแบบประชาธิปไตยที่แสดงความเท่าเทียมกันระหว่างบุรุษกับสตรี      ข้อหลังนี้บวกเข้ามาโดยไม่เกี่ยวกับชาตินิยมตามสมมุติฐานเดิมอีกแล้ว
    คุณสายพินยังมีสมมุติฐานอีกว่า พวกเราและเยาวชนในปัจจุบันนี้เรียนเรื่องวีรกรรมของท้าวสุรนารี ก็เป็นการเรียนผ่านหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ
    คุณสายพินย้อนกลับไปในรัชกาลที่ ๕ ว่า ประวัติศาสตร์สมัยนั้นเขียนเรื่องท้าวสุรนารีก็เพราะเหตุผลทางการเมือง เพื่อแสดงความผูกพันระหว่างอีสานกับไทย     หมายความว่าประวัติศาสตร์ที่เขียนในกรุงเทพฯ ปลุกชีพย่าโมขึ้นมาในรัชกาลที่ ๕ ก็เพื่อเชื่อมความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างอีสานกับเมืองหลวง   ตามนโยบายสร้างสยามเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของการปกครองสมัยรัชกาลที่ ๕   ไม่ได้เป็นระบบกษัตริย์เมืองหลวงและเจ้าผู้ครองอาณาจักรต่างๆทางเหนือ ใต้ และตะวันออกอย่างในรัชกาลที่ ๓ เรื่อยมาถึงรัชกาลที่ ๔    
    เพราะข้อนี้ท้าวสุรนารีจึงถูกเอ่ยถึงขึ้นมาอย่างให้ความสำคัญอีกครั้งเพื่อให้วีรกรรมของท่านสนับสนุนความจงรักภักดีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างอีสานกับรัฐบาลกลาง
  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 05 ก.ย. 12, 13:47

เอาข้อที่แย้งได้ชัด ๆ ก่อน

๓    สมเด็จกรมพระยาดำรงฯเองก็ไม่ทรงเห็นว่าคุณหญิงโมทำอะไรกล้าหาญจนต้องยกย่อง  ตามที่ทรงเขียนไว้ในสาส์นสมเด็จ     แต่ก็มีพระนิพนธ์เล่มอื่นที่ทรงยกย่องเหมือนกัน   สายพินไม่ได้ให้น้ำหนักว่าพระนิพนธ์ที่ขัดแย้งกันนี้เกิดจากอะไร  ควรเชื่อถือฉบับไหน

ผู้ที่มีความเห็นดังว่านี้หาใช่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพไม่ แต่เป็นสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

ลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๗ กราบทูลสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
********************
แล้วคุณสายพินอ้างสมเด็จกรมพระยานริศหรืออ้างสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ คะ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 05 ก.ย. 12, 13:49

แล้วคุณสายพินอ้างสมเด็จกรมพระยานริศฯ หรือเปล่าคะ  ดิฉันจะได้แก้ไขความเห็นตัวเอง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 05 ก.ย. 12, 14:33

^
^


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 05 ก.ย. 12, 14:56

อ้างถึง
๓    สมเด็จกรมพระยาดำรงฯเองก็ไม่ทรงเห็นว่าคุณหญิงโมทำอะไรกล้าหาญจนต้องยกย่อง  ตามที่ทรงเขียนไว้ในสาส์นสมเด็จ     แต่ก็มีพระนิพนธ์เล่มอื่นที่ทรงยกย่องเหมือนกัน   สายพินไม่ได้ให้น้ำหนักว่าพระนิพนธ์ที่ขัดแย้งกันนี้เกิดจากอะไร  ควรเชื่อถือฉบับไหน

ขอแก้เป็น

สายพินเห็นว่า บุคคลสำคัญในรัชกาลที่ ๕   อย่างสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ก็ไม่ทรงเห็นว่าคุณหญิงโมทำอะไรกล้าหาญจนต้องยกย่อง  ตามที่ทรงเขียนไว้ในสาส์นสมเด็จ     เธอจึงสรุปจากพระนิพนธ์ประโยคนี้ว่า บทบาทของคุณหญิงโมในพระราชพงศาวดารอาจไม่จำเป็นต้องเขียนบันทึกลงไปก็ได้    เนื่องจากไม่มีวีรกรรมที่สำคัญนัก
หมายความว่า  สายพินยึดเอาถ้อยคำของสมเด็จกรมพระยานริศฯเป็นตัวตัดสินว่าวีรกรรมของคุณหญิงโมไม่สลักสำคัญ     แต่ที่ไปปรากฏบทบาทอยู่ในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๓ เพราะเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ผู้เรียบเรียงเชื่อว่ามีจริง แม้ว่าท่านไม่อาจหาแหล่งที่มามายืนยันได้ว่าท่านเอามาจากไหน    แต่เมื่อท่านเขียนลงไปแล้วสมเด็จกรมพระยาดำรงฯไม่ตัดออก  สายพินก็สรุปว่าเรื่องวีรกรรมคุณหญิงโมอาจเล่ากันมาก่อน   จนเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ได้ยินจึงเขียนลง   แต่เรื่องเล่านั้นคงไม่แพร่หลายนัก(มิฉะนั้นเจ้าพระยาทิพากรวงศ์คงหาแหล่งที่มามาอ้างอิงได้)
ข้อสรุปนี้เป็นของสายพินเอง   คำถามคือ
๑ จริงหรือว่าเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ไม่อาจหาที่ของวีรกรรมคุณหญิงโมได้
๒ วีรกรรมนี้พูดถึงกันอยู่บ้าง   แต่ไม่แพร่หลายนัก
เป็นข้อเท็จจริงหรือความเข้าใจของสายพินเอง   คุณเพ็ญชมพูคงอธิบายให้ดิฉันเข้าใจได้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 05 ก.ย. 12, 15:49

คำถามคือ
๑ จริงหรือว่าเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ไม่อาจหาที่ของวีรกรรมคุณหญิงโมได้

ตามที่คุณสายพินว่า

หลักฐานที่เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ใช้อ้างอิงในการเขียนคือ จดหมายเหตุ ตำราเก่า ๆ ปูม เอกสารจากกรมมหาดไทย กรมพระกลาโหม กรมพระอาลักษณ์ กรมท่า ตลอดจนกราบทูลถามพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ามหามาลากรมพระยาบำราบปรปักษ์ อีกทั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงช่วยสืบความจากที่อื่นให้ด้วยพระองค์เอง

ท่านอาจจะหาที่มาพบหรือไม่พบยังฟันธงลงไปไม่ได้  แต่ที่แน่ ๆ คือคุณสายพินหาไม่พบ  ยิงฟันยิ้ม

๒ วีรกรรมนี้พูดถึงกันอยู่บ้าง   แต่ไม่แพร่หลายนัก
เป็นข้อเท็จจริงหรือความเข้าใจของสายพินเอง  

ขออนุญาตยกตัวอย่าง "นิราศหนองคาย" ของ หลวงพัฒนพงศ์ภักดี (ทิม สุขยางค์) ที่แต่งในสมัยรัชกาลที่ ๕ หลังการแต่งพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๓ ก็ยังไม่มีตอนไหนกล่าวถึงวีรกรรมของคุณหญิงโมแม้แต่ตอนที่เดินทัพฝ่านไปทางทุ่งสัมฤทธิ์ ที่เกิดของวีรกรรมคุณหญิงโม หลวงพัฒนพงศ์ภักดีก็ไม่กล่าวถึงวีรกรรมนี้แม้แต่น้อย

เดินในทุ่งสัมฤทธิ์พินิจแล        ดูทิวไม้ไกลแท้น่าใจหาย
แลเวิ้งวุ้งทุ่งเลี่ยนเตียนสบาย    ดูสุดสายนัยนาพฤกษาทิว
เห็นแนวไม้สุดคาดมาตรคะเน   ดังทะเลบกซัดลมพัดฉิว
ละอองฝุ่นกลางทุ่งขึ้นฟุ้งปลิว   แลละลิ่วเหมือนอย่างกลางทะเล

 ขยิบตา

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 05 ก.ย. 12, 16:12

ในนิราศหนองคาย  มีตอนไหนกล่าวถึงศึกเจ้าอนุวงศ์บ้างไหมคะ 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 05 ก.ย. 12, 19:09

^
^
คิดว่าคงไม่มี   ยิ้ม

เผอิญได้เห็นหนังสือ "ซาดลาว คนลาว อะดีด และ ปะจุบัน" เขียนโดย ดร. พูทอง แสงอาคม

เอามาให้ดู มีกล่าวถึงเหตุการณ์ที่ทุ่ง "สำลิด" ด้วย

ภาพจาก พันทิป

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 05 ก.ย. 12, 19:29

^
^
คิดว่าคงไม่มี   ยิ้ม


ถ้าเอานิราศหนองคายเป็นมาตรฐานตัดสิน    งั้นศึกเจ้าอนุวงศ์ก็ต้องเป็นเรื่องเล็กพอกัน   หลวงพัฒนพงศ์ภักดีจึงไม่เอ่ยถึงเลยเอาไว้เลย
ข้อความภาษาลาว อ่านไม่ออกค่ะ

ป.ล. เมื่อไรคุณเพ็ญชมพูจะพูดกับดิฉันเพราะๆเสียที  คุยกันมาหลายปีแล้ว
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 05 ก.ย. 12, 22:43

เพื่อให้ท่านผู้อ่านที่มิได้สนใจถึงขนาดตามไปโหลดวิทยานิพนธ์เจ้าปัญหาของคุณสายพินมาอ่าน ผมจะเอาบทสรุปของวิทยานิพนธ์ดังกล่าวมาให้พิจารณาทีละหน้า โดยผมจะขออนุญาตวิพากษ์วิจารณ์ประกอบไปด้วย

หน้าแรก คุณสายพินสรุปว่า อนุสาวรีย์ของคุณหญิงโมปรากฏตัวขึ้นครั้งแรกเป็นสถูปในสมัยรัชกาลที่๕ เพื่อสนองนโยบายของรัฐในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 05 ก.ย. 12, 22:52

ทั้งๆที่ในบทที่๓ คุณสายพินเป็นคนไปค้นคว้ามาเองว่า สถูปของคุณหญิงโม ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิหลังจากปลงศพท่านที่วัดศาลาลอย เมื่อพ.ศ.๒๓๙๕ แต่หลังจากชำรุดพังไป พระยาประสิทธิ์ศัลการ ผู้สำเร็จราชการมณฑลนครราชสีมาได้นำอัฐิไปบรรจุในสถูปที่สร้างขึ้นใหม่ที่วัดกลางในพ.ศ.๒๔๔๒

แต่คุณสายพินประสงค์จะเรียกสถูปอันหลังนี้ว่าอนุสาวรีย์(ทั้งที่คุณสายพินเองเขียนว่าอยู่ในที่คับแคบไม่สมเกียรติและศักดิ์ศรีของวีรสตรี) เพราะถ้าเรียกสถูปอย่างที่ว่าที่ร้อยตรีตุ๊เรียก ก็จะไม่ค่อยมีน้ำหนักพอที่จะกล่าวว่า ผู้สำเร็จราชการมณฑลนครราชสีมาทำไปเพื่อสนองนโยบายของรัฐในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 05 ก.ย. 12, 22:55

สถูปบรรจุอัฐิของคุณหญิงโม มีแผ่นจารึกนามว่าท้าวสุนารี ที่วัดกลาง


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 05 ก.ย. 12, 23:20

อ่านหลายๆ ความเห็นที่แสดงกันมา  อดคิดไม่ได้ว่าวิทยานิพนธ์ฉบับที่กำลังวิพากษ์กันอยู่นี้  เป็นงานวิจัย
ที่มีเป้าหมายที่มองว่าการสร้างชาติในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นการสร้างประวัติศาสตร์เพื่อรักษาระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชให้มั่นคง  ซึ่งในระยัหลังๆ มานี้มักจะมีงานวิจัยออกมาในทำนองนี้เป็นจำนวนมาก
โดยเฉพาะจากสำนักวิชาประวัติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง

นอกจากวิทยานิพนธ์ที่มีการละเลยหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์เช่นเดียวกับเรื่องที่มีการวิพากษ์กันข้างต้นแล้ว
ยังเคยอ่านวิทยานิพนธ์ทางด้านสถาปัตยกรรมฉบับหนึ่งที่ให้บทวิเคราะห์ว่า การสร้างตึกบัญชาการโรงเรียน
ข้าราชการพลเรือนฯ และหอสวดและตึกนอนในโรงเรียนวชิราวุธนั้น  เป็นการสร้างงานสถาปัตยกรรมที่มีแนวคิด
ส่งเสริมลัทธิสมมติเทวราชของรัชกาลที่ ๖ เช่นเดียวกับการตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเพื่อฝึกนักเรียนเป็น
กองกำลังรักษาฐานอำนาจของพระมหากษัตริย์  แต่เมื่ออ่านวิทยานิพนธ์ฉบับนั้นจนจบเล่มก็ไม่อาจหาหลักฐาน
อ้างอิงที่ทำให้ผู้ทำวิทยานิพนธ์ฉบับนั้นนำมาวิเคราะห์จนได้ผลสรุปดังกล่าว  คงพบแต่บทสรุปที่ไม่มีที่มาที่ไป

ที่อดขำมิได้ คือ เมื่อสัปดาห์ก่อนมีพรรคพวกเล่าให้ฟังว่า มีนักศึกษาปริญญาโทในสำนักวิชาแห่งหนึ่งได้รับคำแนะนำ
จากอาจารย์ที่ปรึกษาให้ทำวิทยานิพนธ์ในหัวข้อ "กระบวนการสร้างภาพลักษณ์รัชกาลที่ ๖"  ซึ่งเมื่อผมได้ยินหัวข้อนี้แล้ว
ก็เกิดความสงสัยขึ้นมาโดยพลันว่า งานวิจัยเช่นนี้จะเป็นประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ  ในขณะเดียวกันท่านผู้เล่ายังได้เล่าว่า
ได้ย้อนถามผู้ที่จะทำวิจัยนั้นว่า เคยอ่านหนังสือที่เกี่ยวกับรัชกาลที่ ๖ มากี่เล่ม  คำตอบคือราว ๑๐ เล่ม  และทั้ง ๑๐ เล่มนั้น
เป็นหนังสือที่เขียนโดยกลุ่มบุคคลที่มีทัศนคติเป็นลบกับรัชกาลที่ ๖ ทั้งสิ้น  อย่างนี้น่าจะเปลี่ยนหัวข้องานวิจัย
เป็นกระบวนการทำลายภาพลักษณ์รัชกาลที่ ๖ เสียมากกว่า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 05 ก.ย. 12, 23:29

^


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.097 วินาที กับ 20 คำสั่ง