เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 16
  พิมพ์  
อ่าน: 89119 "คำถามจากหนังสือ "การเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี" - "วีรกรรมนี้เกิดขึ้นจริงหรือ?"
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 04 ก.ย. 12, 19:25



กรอบแดงในสุด หมายถึง หน้า ๑-๑๕ ของประชุมจดหมายเหตุเรื่องปราบกบฏเวียงจันท์ เป็นเรื่อง "พงศาวดารเวียงจันท์" ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ลองเปรียบสำนวนที่คุณนวรัตนยกมา และสำนวนในหนังสือของคุณสายพิน



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 04 ก.ย. 12, 19:35

^
^
ข้อความโดย: เพ็ญชมพู
อ้างถึง
คุณสายพินได้อ้างข้อความหน้า ๖ และ ๗ ในหนังสือที่คุณนวรัตนนำมาแสดง แต่หนังสือที่นำมาอ้างเป็นคนละเล่มกัน ข้อความเหล่านี้ปรากฏในหนังสือ "พงศาวดารเมืองเวียงจันท์" พระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉบับแรกสุดพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ พิมพ์แจกในการพระกฐินพระราชทานสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต

ข้อความโดย: NAVARAT.C
อ้างถึง
งงครับ
แปลว่าอะไร ตกลงอ้างว่าอย่างไร

เพิ่งจะหายงงได้ เพราะคุณม้ามาช่วยชี้ซ่องนี่แหละ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 04 ก.ย. 12, 19:40

ข้อความโดย: V_Mee
อ้างถึง
ในเมื่อคุณสายพิณไม่อาจค้นเอกสารจดหมายเหตุมาหักล้างความเชื่อของตนได้  ก็เลยถือโอกาสนั้นสรุปตามแนวทางที่ตนเข้าใจไปโดยอัตโนมัติ 

นั่นนะซีครับ สรุปเลยว่ารัชกาลที่๓ไม่ได้มีการตั้งท้าวสุรนารี
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 04 ก.ย. 12, 21:12

งานเขียนเรื่องต่อมาที่กล่าวถึงวีรกรรมของคุณหญิงโมคือ "สยามสงครามว่าด้วยกองทัพกรุงสยามทำศึกสงครามกับลาวเวียงจันทน์ เป็นมหายุทธการ จ.ศ. ๑๑๘๗ (พ.ศ. ๒๓๖๘)" เป็นหนังสือที่พระยาพิทักษ์เทพธานีคัดลอกมาจากฉบับของมองซิเออร์ฮาดูวิน กงสุลฝรั่งเศส เมื่อ ร.ศ. ๑๑๔ (พ.ศ. ๒๔๓๘) แต่นำมาถวายฯ เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๕ สมัยรัชกาลที่ ๖ ..........

งานเขียนเรื่องนี้ไม่ได้กล่าวถึงทั้งพระยาปลัดและคุณหญิงโมว่าได้รับความดีความชอบแต่อย่างใด ทั้งที่ได้กล่าวถึงบทบาทของทั้งสองท่านนี้ด้วย อย่างไรก็ตาม งานเขียนนี้จะเน้นบทบาทของพระณรงค์สงครามมากกว่า เพราะเป็นทั้งผู้วางแผนการต่าง ๆ และผู้นำการรบด้วย ซึ่งทำให้ดูสมจริงที่จะได้รับความดีความชอบครั้งนี้ ในส่วนของวีรกรรมของคุณหญิงโม งานเขียนนี้ก็ให้ความสำคัญเช่นกัน ดังที่กล่าวถึงบทบาทของคุณหญิงโมไว้ทุกครั้งเมื่อมีการสู้รบกับลาว

(ยังมีต่อ)

ต่อจากตอนที่แล้ว

คุณสายพินชี้ให้เห็นว่ามีงานเขียนอีกเรื่องหนึ่งซึ่งมีข้อความเดียวกับงานเขียนข้างบนคือ งานเขียนของ ก.ศ.ร. กุหลาบ เรื่อง "อานามสยามยุทธ" ในสยามประเภทสุนทโรวาทพิเศษ ซึ่งเริ่มพิมพ์ครั้งแรกสำหรับเรื่องนี้เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๔) และ "อานามสยามยุทธ" ที่พิมพ์เป็นเล่มเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔

งานเขียนเรื่องสยามสงครามฯ พระยาพิทักษ์เทพธานีอ้างว่าคัดลอกมาจากฉบับของมองซิเออร์ฮาดูวิน กงสุลฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๘ แต่นำมาถวายเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๕ ซึ่งมองซิเออร์ฮาดูวินนั้นเป็นรองกงสุลฝรั่งเศสที่กำกับดูแลจังหวัดน่านเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๘ (ร.ศ. ๑๑๔) ถ้าพระยาพิทักษ์เทพธานีคัดลอกมาจากฉบับของมองซิเออร์ฮาดูวินจริง ย่อมแสดงว่ามองซิเออร์ฮาดูวินอาจคัดลอกมาจากงานเขียนของผู้อื่นที่เขียนขึ้นก่อน พ.ศ. ๒๔๓๘ แล้ว   ในขณะที่อานามสยามยุทธของ ก.ศ.ร. กุหลาบ อ้างว่าเรียบเรียงจากรายงานทัพญวน ๕๕ เล่ม ซึ่งเป็นสมุดไทยของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ทว่าไม่พบว่าหลักฐานที่ ก.ศ.ร. กุหลาบอ้างนั้นมีจริงหรือไม่  งานเขียนทั้งสองต้องมาจากต้นฉบับเดียวกัน เพราะมีข้อความสำนวนเดียวกัน แตกต่างกันเพียงตัวสะกดบางตัวที่ต่างกัน  หรือการแทรกคำเข้าไปบ้างในฉบับของ ก.ศ.ร. กุหลาบ แต่การเพิ่มข้อความก็มีน้อยมาก จนแทบไม่เห็นความแตกต่าง

คุณสายพินให้ความเห็นว่า ผู้เขียนเรื่องที่เป็นต้นฉบับของงานเขียนทั้งสองคงต้องเคยอ่านทั้งพงศาวดารที่เป็นเอกสารหวงห้ามในหอหลวง ตลอดจนจดหมายเหตุในสมัยรัชกาลที่ ๓ ด้วย นอกจากนี้ผู้เขียนน่าจะรู้ถึงรายละเอียดของเหตุการณ์การสู้รบได้ดี  ผู้เขียนอาจเป็นขุนนางผู้ใหญ่ที่ร่วมอยู่ในเหตุการณ์ครั้งนี้ หรืออาจเป็นผู้ชอบคัดลอกเอกสารจากหอหลวงซึ่งเป็นมืออาชีพก็ได้ การเป็นผู้คัดลอกดูค่อนข้างจะมีน้ำหนัก เนื่องจากชื่อของกรมการเมืองหลาย ๆ คนที่ผู้เขียนมักเปลี่ยนแปลงให้แตกต่างไปจากพงศาวดาร

ไม่ว่าผู้เขียนจะเป็นใครก็ตาม สิ่งสำคัญที่ปรากฏก็คือ งานเขียนในส่วนนี้เป็นงานเขียนที่ให้ภาพการรับรู้แก่เรื่องนี้ได้ดี โดยจะพบงานเขียนที่ผลิตซ้ำในระยะหลังอ้างอิงหรือคัดลอกงานเขียนเหล่านี้ไปตีพิมพ์

 ขยิบตา
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 04 ก.ย. 12, 21:52

เรื่องของคุณสายพิณ ส่วนของผมเห็นจะจบแล้ว
แต่จะขอเอาเรื่องที่ผมเคยเขียนไว้มาลงอีกครั้งหนึ่งให้ถูกที่ถูกทาง

เรื่องคุณหญิงโมนั้น หนังสืออัตชีวประวัติของจอมพลประภาส จารุเสถียร ในส่วนซึ่งเป็นเรื่องราวที่ตน ตั้งแต่ยังเป็นว่าที่ร้อยตรีตุ๊ ได้ร่วมทัพไปปราบกบฏบวรเดชนั้น มีข้อความกล่าวถึง“เรื่องบังเอิญที่แทรกเข้ามา”สั้นๆอยู่สักหน้ากระดาษเศษๆ แต่มีความสำคัญเกี่ยวกับวิวาทะเรื่องความมีตัวตนจริงของคุณหญิงโมตามที่ปรากฏในหน้าประวัติศาสตร์หรือไม่ ซึ่งว่ากันสนุกปากหลังจากที่จอมพลประภาสได้เขียนเรื่องนี้ไว้นานทีเดียว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 04 ก.ย. 12, 21:55

ความช่วงดังกล่าวข้างต้นของหนังสือ ผมได้คัดลอกมาดังนี้

………ภายหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจในการยึดปากช่อง เมื่อเคลื่อนตัวเข้ายึดเมืองโคราช ข้าพเจ้าได้รับคำสั่งให้นำรถถังไปพักที่วัดแห่งหนึ่งใกล้กับประตูเมืองปัจจุบัน

ที่ต้องไปอยู่วัดเช่นนั้น เพราะโรงทหารแน่นมาก และอยูปะปนกัน สับสนไปหมด มีทั้งพวกทหารเก่าที่เป็นทหารโคราช เป็นทั้งพวกกบฏบ้างไม่ได้ไปกับพวกกบฏบ้าง รวมทั้งพวกที่ไปร่วมกับกบฏแล้วกลับมาอยู่บ้าง อยู่ระหว่างการสอบสวน สภาพเช่นนี้ย่อมไม่ปลอดภัยและไม่เหมาะนักสำหรับรถถัง ซึ่งขณะนั้นถือว่าเป็นอาวุธที่มีประสิทธิภาพสูง สมควรจะเก็บไว้ต่างหาก รักษาดูแลให้ดี จึงแยกเอาไปพักไว้ในพื้นที่ๆเป็นวัด

เหตุที่พบเนื่องจากข้าพเจ้าเห็นว่าบริเวณตรงนั้นเป็นพื้นเรียบ มีที่บังศรีษะดี ก็เอาผ้าไปปูเอาหมอนไปหนุนหัวนอน นอนไปนอนมาอยู่ว่างๆก็เลยเช็ดขัดออกแล้วอ่านดู ปรากฏว่าเป็นเรื่องราวของท่านคุณหญิงโม เป็นวีรสตรี
รู้สึกว่ามีความสำคัญมาก จึงนำความไปเรียนให้นายพันเอกพระเริงรุกปัจจามิตร(แม่ทัพใหญ่)ท่านทราบ

ความจริงก็ไม่ได้รายงานหรือกราบเรียนอย่างเป็นทางการอะไร เป็นแต่ว่านายพันเอกพระเริงรุกปัจจามิตรท่านชอบนั่งรถยนต์หุ้มเกราะ รถถังออกตรวจเมืองโคราชในตอนเช้าๆ คล้ายๆออกโชว์ อวดธง เป็นการบำรุงขวัญทหาร ขณะเดียวกันอีกด้านหนึ่ง ก็เป็นการที่ให้ผู้คิดกบฏ เข้าร่วมกับพวกกบฏ ให้บังเกิดความหวาดกลัวไปด้วย

ในตอนเช้านายพันเอกพระเริงรุกปัจจามิตรจะนัดให้เอารถยนต์หุ้มเกราะไปรับ ขึ้นนั่งบนป้อมแล้วสั่งให้พวกเราขับไปรอบเมืองสักรอบหรือสองรอบ เสร็จแล้วจะสั่งให้ไปจอดที่ร้านกาแฟหน้าโรงหนังตรงสี่แยกใหญ่ เนื่องจากที่นั่นมีร้านกาแฟใหญ่มีคนไปชุมนุมกันมาก


ภาพสมัยที่ยังไม่มีอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี โคราชเป็นอย่างนี้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 04 ก.ย. 12, 22:01

เมื่อนั่งแล้วท่านก็เลี้ยงกาแฟนายทหาร ใครมีเรื่องอะไรก็มาคุยกัน

ข้าพเจ้าได้เล่าให้นายพันเอกพระเริงรุกปัจจามิตรฟังเรื่องพบแผ่นศิลาจารึกเรื่องคุณหญิงโม
ท่านก็บอกว่า อ๊า นั่นมันที่ฝังกระดูกพวกกูนี่หว่า แม่โมนี่เป็นโครตกูนี่
แล้วท่านก็ให้พาไปดู ผลสุดท้ายท่านก็สั่งเขาขุดขึ้นมาเก็บไว้ที่โรงทหาร เอามาทั้งแผ่นศิลาจารึกและสื่งอื่นๆด้วย

เก็บไว้จนมาถึงสมัยจอมพลผิน ชุณหวันจึงได้ทำเป็นอนุสาวรีย์

นี่เป็นเรื่องบังเอิญที่แทรกเข้ามา ……….


สมัยจอมพลผินนั้น ผู้เขียนหมายถึงสมัยที่จอมพลผินซึ่งขณะนั้นเป็นนายพันเอกหลวงชำนาญยุทธศาสตร์ ได้ขึ้นมาเป็นแม่ทัพต่อจากนายพันเอกพระเริงรุกปัจจามิตรนะครับ
จอมพลผินเป็นบิดาน้าชาติ หรืออดีตนายกชาติชาย ชุณหวัน ที่มีฐานเสียงแน่นปึ๊กอยู่ในโคราชเพราะสร้างสมบารมีไว้ตั้งแต่สมัยพ่อ

ภาพนี้ เป็นอนุสาวรีย์ที่ประดิษฐานในปี๒๔๗๗


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 04 ก.ย. 12, 22:17

เรื่องแทรกระหว่างบรรทัดเช่นนี้แหละที่ผมชอบ และเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง

สิ่งว่าที่ร้อยตรีตุ๊ไปเจอมานั้นคือหลักฐานว่าคุณหญิงโมท่านเป็นคนดังในหน้าประวัติศาสตร์พอสมควรจนคนอย่างว่าที่ร้อยตรีตุ๊รู้จัก ไม่ได้เป็นคนดังแค่ในระดับท้องถิ่น แต่ถูกลืมเลือนไปบ้างจนสถูปของท่านถูกปล่อยทิ้งไว้ให้ทรุดโทรม

การที่รัฐบาลสมัยคณะราษฎร์สร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีขึ้นในปี๒๔๗๗ มิใช่อยู่ๆเกิดปิ๊งขึ้นมา แต่เป็นเพราะเกิดการค้นพบโดยบังเอิญดังกล่าว และลูกหลานของท่านนำไปขยายผลในกรุงเทพ ถ้าจะมีความคิดอะไรปิ๊งขึ้นมา ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น ไม่ได้เกิดจากวางแผนล่วงหน้า


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 04 ก.ย. 12, 22:30

ก่อนหน้าจะมีอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีใน พ.ศ. ๒๔๗๗ ได้มีอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีในรูปลักษณ์ตามคติเก่าของไทยคือเป็นสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาคือสถูปเจดีย์หรือกู่ ตามประวัติที่เล่ากันมาเขื่อว่าคุณหญิงโมถึงแก่กรรมเมื่อเดือน ๕ จ.ศ. ๑๒๑๔ (พ.ศ. ๒๓๙๕) อายุได้ ๘๑ ปี สามีของคุณหญิงโมได้สร้างเจดีย์บรรจุอัฐิไว้ที่วัดศาลาลอย ต่อมาเมื่อเจดีย์นั้นชำรุด พลตรีพระยาสิงหเสนี (สะอาด สิงหเสนี) ขณะเป็นพระยาประสิทธิศัลการ ข้าหลวงเทศาภิบาลผู้สำเร็จราชการมณฑลนครราชสีมา ได้สร้างกู่ขนาดเล็กบรรจุอัฐิคุณหญิงโมไว้ที่วัดกลาง (วัดพระนารายณ์มหาราช) สร้างเสร็จเมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ร.ศ. ๑๑๘ (พ.ศ. ๒๔๔๒)

เกี่ยวกับอนุสาวรีย์คุณหญิงโมนี้ พระยาประสิทธิศัลการขณะไปเป็นอัครราชทูตสยามประจำประเทศอังกฤษ ได้เขียนจดหมายกราบทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลงวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๑๙ (พ.ศ. ๒๔๔๓) เมื่อทราบว่าพระองค์เสด็จพระราชดำเนินเมืองนครราชสีมา

...หวังด้วยเกล้าฯ ว่าใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาทคงจะได้ทอดพระเนตรอนุสาวรีท้าวสุรนารี ผู้ซึ่งได้ช่วยชาวเมืองนครราชสีมาไว้นั้น ข้าพระพุทธเจ้าได้ทำไว้ที่มุมวัดกลางด้านตวันตกที่ริมโรงเรียนนั้น คิดด้วยเกล้าฯ ว่าจะทำให้ใหญ่กว่านี้ แต่เกรงด้วยเกล้าฯ ว่าจะไม่สำเร็จ ทั้งเวลานั้นทุนของข้าพระพุทธเจ้าไม่ใคร่จะพอใช้ด้วย เพราะต้องเข้าเรี่ยไรทำการบำรุงวัดแลขุดสระหลายแห่ง คิดด้วยเกล้าฯ ว่าจะทำอนุสาวรีสำหรับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก กับเจ้าพระยาบดินทรเดชา อีกสองแห่ง แต่เห็นด้วยเกล้าฯ ว่าเป็นการใหญ่ จะต้องขอรับพระบรมราชดำริห์ก่อน พันเอินต้องไปรับราชการที่ลอนดอน การเหล่านี้หาสำเร็จไม่

จากจดหมายของพระยาประสิทธิศัลการแสดงว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องทรงทราบและรับรู้วีรกรรมของคุณหญิงโมผ่านอนุสาวรีย์ด้วย เพราะการเสด็จเปิดทางรถไฟสายนครราชสีมานี้พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปที่วัดกลางด้วย และนอกจากพระองค์แล้ว ข้าราชบริพารที่ตามเสด็จก็คงมีส่วนรับรู้เรื่องนี้เช่นกัน

อนุสาวรีย์นี้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นแรกหรือที่หลงเหลืออยู่ ที่กล่าวถึงชื่อ "ท้าวสุรนารี" เป็นครั้งแรก โดยปรากฏที่คำจารึกด้านหน้าของสถูปเจดีย์นี้ ชื่อ "ท้าวสุรนารี" อาจจะมีมาก่อน พ.ศ. ๒๔๔๒ ก็ได้  คุณสายพินให้ความเห็นว่าการปรากฏชื่อนี้ในอนุสาวรีย์มีส่วนทำให้งานเขียนที่ผลิตขึ้นหลังจากอนุสาวรีย์นี้ปรากฏตัวไม่นาน กล่าวถึงการได้รับความดีความชอบของคุณหญิงโม ดังเรื่อง "ตำนานเมืองนครราชสีมา" และ "พงศาวดารเมืองเวียงจันท์" พระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ได้กล่าวถึงไว้แล้วข้างต้นนั่นเอง

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 04 ก.ย. 12, 23:00

^
นี่ก็เป็นโอกาสที่จะเกิด“ฝอย”ได้

เมื่อเจ้านายเสด็จไปเยี่ยมชม ก็ย่อมจะตรัสถามเจ้าถิ่นว่าเรื่องราวมันเป็นอย่างไรมาอย่างไร คราวนี้แหละก็เป็นทีที่ลูกหลานหรือคนแก่คนเฒ่าจะเพ็ททูลเรื่องที่ได้ยินได้ฟังมา ซึ่งต้องมีแถมๆอยู่แล้วตามธรรมเนียม ผู้ที่ตามเสด็จได้ยินก็คงมาเล่าต่อๆกันไป ยิ่งเล่ายิ่งเพี้ยน

ผมว่าที่สมเด็จกรมพระยาดำรงฯท่านทรงบันทึกไว้ ก็คงกรองๆจากเรื่องเล่าจากปากต่อปากเช่นนี้เอง หาใช่เจตนาที่จะทรงเสกสรรปั้นเรื่องขึ้นมาเองเพื่อสนองสิ่งใดไม่

ใครไม่เชื่อเรื่องฝอยจากปากต่อปาก ขอให้ไปเที่ยวอนุสรณ์สถานของพันท้ายนรสิงห์ที่สมุทรสาครสักครั้ง  จะได้เห็นศาลเสด็จพ่อพันท้ายนรสิงห์ และศาลเสด็จแม่ศรีนวล

ทั้งๆที่นวลเป็นชื่อของนางเอกในละครเรื่องพันท้ายนรสิงห์ที่แต่งขึ้นแท้ๆ คนยุคปัจจุบันยังเชื่อกันว่าเคยมีตัวตนได้ถึงเพียงนี้


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 04 ก.ย. 12, 23:20

เรียน คุณเพ็ญชมพู
อ่านวิทยานิพนธ์ของคุณสายพินแล้ว    พรุ่งนี้เจอกันค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 04 ก.ย. 12, 23:23

แหะ แหะ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 05 ก.ย. 12, 07:39

มีการกล่าวถึง "ย่าบุญเหลือ" หรือ "นางสาวบุญเหลือ" กันบ้างไหม  ฮืม ท่านผู้นี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของการกู้ชาติที่ทุ่งสำริดเช่นกัน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 05 ก.ย. 12, 11:53

หลักฐานที่เป็นงานเขียนเก่าที่สุดที่พูดถึง "นางสาวบุญเหลือ" คือสมุดสั่งสอนทหารแบบสั่งสอนที่ ๑ ว่าด้วยพระราชวงศ์และพงศาวดาร พิมพ์ที่โรงพิมพ์กรมทหารบก มณฑลนครราชสีมา เมื่อ ร.ศ. ๑๒๔ (พ.ศ. ๒๔๔๘) นิพนธ์โดยพลเอกพระองค์เจ้าบวรเดช ขณะดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารมณฑลนครราชสีมา เขียนยกย่องวีรกรรมของ "นางสาวเหลือ" ว่าเป็นผู้จุดเกวียนบรรทุกกระสุนดินดำ

งานเขียนเรื่องที่สองคือ เรื่อง "ท้าวสุระนารี" ของพันตรีหลวงศรีโยธา (ศรี จูฑะพล) พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ เพื่อจำหน่ายในงานเปิดอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีในปีเดียวกัน ในเรื่องนี้กล่าวถึง "นางสาวทองเหลือ" บุตรีหลวงเจริญ ได้รับมอบหมายจากคุณหญิงโมให้เป็นผู้ปรนนิบัติเพี้ยรามพิชัย ผู้ทำหน้าที่ดูแลเกวียนกระสุนดินดำ โดยหวังว่าถ้ากำจัดเพี้ยนายนี้ได้ ก็จะสามารถฉกฉวยเอาเกวียนและกระสุนดินดำมาใช้ประโยชน์ได้ หรืออาจทำลายเพื่อไม่ให้ฝ่ายลาวนำมาใช้ทำร้ายพวกครัว

เรื่องที่สามอยู่ในหนังสือที่ระลึกเนื่องในพิธีเปิดอนุสรณ์สถานของนางสาวบุญเหลือ พ.ศ. ๒๕๒๙ เขียนโดยพันโทเนตร อุตมัง โดยใช้ชื่อว่า เนตรนิมิตร ภาพของ "นางสาวบุญเหลือ" คล้ายคลึงกับงานเขียนของพันตรีหลวงศรีโยธา แต่ต่างกันตรงชื่อ  และประเด็นการจุดดินระเบิดของนางสาวบุญเหลือที่หลวงศรีโยธาให้ภาพว่าคุณหญิงโมมอบหมายให้นางสาวทองเหลือฆ่าเพี้ยรามพิชัยหรือจุดทำลายดินระเบิด ขณะที่เนตรนิมิตรเชื่อว่าคุณหญิงโมไม่ได้สั่งให้นางสาวบุญเหลือทำเช่นนั้น เป็นการแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้า

วีรกรรมของ "นางสาวเหลือ" "นางสาวทองเหลือ" "นางสาวบุญเหลือ" จะมีจริงหรือไม่

ฝากให้คุณหนุ่มพิจารณา

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 05 ก.ย. 12, 13:18

อ่านวิทยานิพนธ์ของคุณสายพินจบแล้ว     ได้ความเข้าใจที่จะเสนอท่านทั้งหลายพิจารณา  ท่านจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยประการใดก็แล้วแต่  

ขอหมายเหตุว่ายังไม่ได้พูดถึงสมมุติฐานในวิทยานิพนธ์บทที่ ๑ ของคุณสายพิน   ตอนนี้เอาความรู้สึกจากการอ่านทั้งเล่มก่อน  ส่วนสมมุติฐานที่ออกมาในทำนองว่าการสร้างอนุสาวรีย์ของท้าวสุรนารี มีจุดประสงค์แอบแฝง (hidden agenda) ทางการเมือง  คือเอาอนุสาวรีย์เป็นเครื่องมือของรัฐบาลเพื่อจูงใจประชาชนให้คิดอะไรสักอย่างหรือหลายอย่างตามที่รัฐบาลประสงค์  ไม่ใช่สร้างเพื่อระลึกถึงวีรกรรมอย่างตรงไปตรงมาตามที่เราเข้าใจกัน   เรื่องนั้นขอพูดทีหลัง

สรุปตามความเข้าใจเมื่ออ่านวิทยานิพนธ์
๑   คุณสายพินเห็นานว่า คุณหญิงโมมีตัวจริง  แต่บทบาทในการต่อต้านลาวนับว่าเล็กน้อยหรือไม่ก็ไม่ได้ทำอะไรเลย       ดูจากหลักฐานร่วมสมัยที่คุณสายพินหาเจอ  แทบไม่เอ่ยถึง   ส่วนหลักฐานที่เอ่ยถึงคุณสายพินหาไม่เจอ  เธอจึงเห็นว่าไม่มี
    อย่างไรก็ตาม คุณสายพินใช้คำว่า อาจ  อาจจะ น่าจะ  บ่อยมาก    เป็นคำก้ำกึ่งระหว่างรับและปฏิเสธ ไม่ฟันธงลงไปซึ่งทำให้สรุปยากว่าเธอคิดอย่างไรกันแน่  จำต้องดูบริบทประกอบ
๒  บทบาทคุณหญิงโมเพิ่งมาปรากฏใน  ๒ รัชกาลหลังจากนั้น ด้วยฝีมือเจ้าพระยาทิพากรวงศ์    เขียนถึงวีรกรรมที่ไม่ปรากฏในสมัยรัชกาลที่ ๓    ไม่รู้ว่าเจ้าคุณท่านไปเอามาจากไหน  เพราะหาหลักฐานที่มาไม่เจอ  
เมื่อไม่เจอก็ชวนคิดว่าไม่มี
หรืออาจเป็นได้ว่าขุนนางชายโคราชในสมัยนั้นกลบเกลื่อนวีรกรรมคุณหญิงโมไว้  ไม่ให้เกินหน้าตัวเอง   แต่ก็เป็นได้ว่า  ประชาชนโคราชกระพือข่าวคุณหญิงโมขึ้นมาเพื่อกู้หน้าตัวเอง ในการแพ้เจ้าอนุวงศ์
๓    สมเด็จกรมพระยาดำรงฯเองก็ไม่ทรงเห็นว่าคุณหญิงโมทำอะไรกล้าหาญจนต้องยกย่อง  ตามที่ทรงเขียนไว้ในสาส์นสมเด็จ     แต่ก็มีพระนิพนธ์เล่มอื่นที่ทรงยกย่องเหมือนกัน   สายพินไม่ได้ให้น้ำหนักว่าพระนิพนธ์ที่ขัดแย้งกันนี้เกิดจากอะไร  ควรเชื่อถือฉบับไหน
๔   วีรกรรมคุณหญิงโมถูกกระพือขึ้นมาอีกครั้งในรัชกาลที่ ๖  เพื่อเป็นตัวอย่างเชิดชูลัทธิชาตินิยม    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯทรงเลือกสามัญชนมาเพื่อปลุกใจประชาชนโดยเฉพาะ  แล้วก็เลือกคุณหญิงโมเป็นหนึ่งในนั้น    ผิดกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าที่ไม่เคยเอ่ยถึงสตรีสามัญชนเลย  
(แล้วนางลำหับในเงาะป่าเป็นเจ้าหญิงมาจากไหนไม่ทราบ?)
๕   สายพินไม่ได้แสดงข้อเท็จจริง หรือสนใจะยืนยันหลักฐานว่ามีการแต่งตั้งคุณหญิงโมเป็นท้าวสุรนารีจริงหรือไม่   ในรัชกาลที่ ๓    แต่อ้างสมเด็จกรมพระยาดำรงว่า อาจจะมีข่าวเรื่องนี้มาในรัชกาลที่ ๔    ทั้งๆเรื่องการแต่งตั้งท้าวสุรนารีเป็นหลักฐานข้อมูลสำคัญอย่างหนึ่งที่จะยืนยันวีรกรรมของคุณหญิงโม  
๖   ความคิดหลายอย่างของสายพิน ค่อนข้างกำกวม   ก้ำๆกึ่งๆระหว่างข้อเท็จจริง กับความคิดเห็นที่สรุปเอาเอง   เช่นตอนหนึ่งเอ่ยถึงว่าผู้หญิงสมัยนั้นเป็นผู้นำไม่ได้   ยิ่งนำทัพไพร่พลยิ่งทำไม่ได้  ทหารไม่ยอมรับ    ผู้เขียนแสดงข้อความนี้เฉยๆโดยไม่มีข้อแย้งเรื่องศึกถลางของคุณหญิงมุกกับนางจันย้อนหลังไป ๒ รัชกาลก่อนคุณหญิงโม ว่าเหตุใดผู้หญิงจึงเป็นผู้นำของเมืองต้านทานพม่าได้สำเร็จ    
เอา ๖ ข้อก่อนนะคะ
 

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 20 คำสั่ง