เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 16
  พิมพ์  
อ่าน: 89447 "คำถามจากหนังสือ "การเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี" - "วีรกรรมนี้เกิดขึ้นจริงหรือ?"
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 11:52

ที่คุณสายพินเอามาลงไว้ยังมีอีกครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 11:53

ความต่อไปเป็นหน้านี้ครับ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 12:26

เพื่อสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างส่วนกลางกับนครราชสีมา คำแถลงของรัฐบาลจึงหลีกเลี่ยงที่จะกล่าวหาชาวนครราชสีมาว่าเป็น "กบฏ" และเพื่อเป็นการปลอบขวัญ รัฐบาลจึงจัดให้มีการเผาศพทหารชาวนครราชสีมาที่เสียชีวิตในที่รบ โดยในวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๖ ทำการขุดศพทหารนครราชสีมาที่ฝังยังที่ต่าง ๆ ขึ้นมา เพื่อไปจัดการเผาในวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๖ อีกทั้งยังจัดให้วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๖ เป็นวันทำขวัญเมืองด้วย

การจัดงานที่จังหวัดนครราชสีมาครั้งนี้ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีเป็นธุระสั่งการให้เจ้าหน้าที่ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนระดมกำลังตระเตรียมถนนหนทาง สถานที่สำคัญเกี่ยวกับการพิธีอันมีศาลเจ้าพ่อหลักเมือง อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (ของเก่าอยู่ที่วัดกลางหรือวัดพระนารายณ์มหาราช เป็นสถูปเจดีย์) ประตูชุมพล และโรงมหรสพต่าง ๆ

ยังมีการออกประกาศเชิญชวนให้ประชาชนร่วมทำบุญในงานเผาศพทหารนครราชสีมาโดยดำริว่า "....ถ้ามีเงินเหลือพอก็จะได้จัดการทำอนุศาวรีย์ไว้เป็นที่รฤกต่อไป"

อนุสาวรีย์ที่คิดจะสร้างนี้ก็คืออนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีแบบปัจจุบันนั่นเอง

 ขยิบตา


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 12:34

นั่นน่ะซีครับ แล้วทำไมคุณสายพินจึงมาสรุปอย่างนี้ไปได้


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 13:08

ความคิดประเภทวัตถุประสงค์แอบแฝง  (hidden agenda) โดยเอาเรื่องราวในอดีตของประเทศมารับใช้อุดมการณ์ใหม่ในประเทศนั้น  ดิฉันจำได้ว่าประธานเหมาเจ๋อตุงเป็นคนหนึ่งที่นำมาใช้      โดยเอาวรรณกรรมจีนสมัยฮ่องเต้กี่ร้อยปีมาแล้วก็ไม่รู้ มารับใช้อุดมการณ์คอมมิวนิสต์    ทั้งที่ในสมัยฮ่องเต้ ลัทธิคอมฯยังไม่เกิด    คนสมัยโน้นไม่ได้คิดไกลล่วงหน้าถึงกับไปทำอะไรรองรับอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ไว้ก่อนมันจะเกิดตั้งหลายร้อยปี
แต่ประธานเหมาฯคิดได้  ท่านจึงเอาวรรณกรรมเรื่องวีรบุรุษเขาเหลียงซาน (หรือที่ไทยรู้จักกันในชื่อ ซ้องกั๋ง) มาอธิบายให้สอดคล้องกับอุดมการณ์มวลชนได้สำเร็จ     ซ้องกั๋งหนีจากขุนนางกังฉินขึ้นไปอยู่กับโจรบนภูเขา  ก็ถูกอธิบายเป็นพลังของมวลชนที่ต่อต้านลัทธิจักรพรรดินิยม       ต่อมาท่านเหมาฯท่านเปลี่ยนใจเมื่ออ่านเรื่องนี้ซ้ำ   เพราะเห็นว่าตอนท้ายซ้องกั๋งก็กลับใจมาสวามิภักดิ์กับฮ่องเต้แล้วได้รับแต่งตั้งเป็นขุนนาง   ซ้องกั๋งจึงกลายเป็นลัทธิยอมจำนนไป 
แต่จริงๆแล้วซ้องกั๋งในประวัติศาสตร์จะคิดอะไรแบบนั้นจริงไหม   มันเป็นอีกเรื่อง     คนสมัยก่อนเขาก็คิดกันตรงๆว่าซ้องกั๋งทนขุนนางกังฉินใส่ร้าย  ไม่ไหว ก็หนีขึ้นภูเขาไปซ้องสุมกับโจร  เพื่อเอาชีวิตรอดให้พ้นเงื้อมมือกฎหมาย  เพราะบนเขาเหลียงซาน มือปราบตามขึ้นมาไม่ถึง  ถ้าซ้องกั๋งอยู่ในเมืองก็เสร็จไปนานแล้ว   
ดิฉันก็คิดตรงๆว่า  คนรุ่นหลังที่เขายกย่องท้าวสุรนารีก็เพราะยกย่องการกระทำที่เขาเห็นว่าควรแก่การสรรเสริญ   เริ่มจากท้องถิ่นคือจังหวัดโคราชก่อน  เมื่อรู้ไปถึงพระเนตรพระกรรณพระมหากษัตริย์  ตามหลักท่านก็ต้องโปรดเกล้าฯให้สอบสวนพยานหลักฐานครบถ้วนกระบวนความเสียก่อน  เชื่อได้แน่ว่าทำจริง  ถึงจะพระราชทานความดีความชอบ       
สมัยราชาธิปไตยตั้งแต่ก่อนรัชกาลที่ ๓ จนรัชกาลที่ ๕  ไทยก็ยังปกครองอยู่ระบอบเดียวที่มีมาแต่โบราณ   ไม่จำเป็นต้องไปปลุกกระแสอะไรเพื่อสนับสนุนอะไรหรือต่อต้านอะไร      ผู้ชายผู้หญิงถ้าทำหน้าที่ด้วยความห้าวหาญก็ได้รับการยกย่อง   จะเห็นได้จากกรณีท้าวเทพกระษัตรีย์ท้าวศรีสุนทรที่เป็นตัวอย่าง     
แต่ในเมื่อคุณสายพินตั้งสมมุติฐานว่ามีการเมืองแอบแฝง  ข้อมูลเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่คุณสายพินไปหามาจึงมีเพื่อเอามาประกอบสมมุติฐานตัวเอง    แต่ไม่ได้ดูว่ามันสอดคล้องกันในภาพรวมหรือไม่  หลายๆอย่างก็เลยขัดแย้งกันเองและขัดแย้งกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏ อย่างที่เห็นในกระทู้นี้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 13:30

คุณสายพินได้เขียนมาก่อนนี้ในทำนองว่า กบฏบวรเดชคือการต่อสู้ระหว่างระบอบเก่าและระบอบใหม่

คุณสายพินเธอเขียนว่า อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี : การต่อสู้ระหว่างระบอบเก่ากับระบอบใหม่ เธอให้เหตุผลว่า

รัฐบาลเห็นด้วยกับการสร้างอนุสาวรย์ท้าวสุรนารี น่าจะเป็นเพราะ "ท้าวสุรนารี" เป็น "สามัญชน" เหมือนกันที่ "คณะราษฎร" เป็น การปรากฏตัวของอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีในช่วงเวลานี้ จึงเป็นเหมือนตัวแทนของคณะราษฎรที่จะประกาศว่า "สามัญชน" ก็สามารถเป็นผู้สร้างประวัติศาสตร์ได้ทัดเทียมกับพวก "เจ้า"

ความคิดที่รัฐบาลต้องการใช้อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เป็นเครื่องต่อสู้กับความคิดของระบอบเก่านั้น ปรากฏอยู่หลักฐานร่วมสมัยคือในลายพระหัตถ์สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ที่มีถึงสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ลงวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ว่า

เกล้ากระหม่อมไปที่ศิลปากรสถาน เห็นนายเฟโรจีปั้นดินเป็นรูปผู้หญิงยืนถือดาบตัวเล็ก ๆ หลายตัว...เกล้ากระหม่อมก็เข้าใจแล้วได้แนะนำว่า เราไม่รู้จักตัวหน้าตาเป็นอย่างไรไม่รู้ ทำไม่ได้ดอก ทำ Allegory เป็นนางฟ้าถือดาบดีกว่า แกเห็นด้วย... มาเมื่อก่อนหน้าจะเขียนหนังสือถวายนี้ ไปเห็นปั้นตัวเบ้อเร่ออย่างที่ทูลมา ถามว่าทำไมไม่ทำเป็นรูป Allegory แกบอกว่าเขาไม่เอา.....

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีลายพระหัตถ์ตอบเมื่อวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ว่า "การสร้างรูปท่านผู้หญิงโม้นั้น เป็นอุทาหรณ์อันหนึ่ง ซึ่งแสดงว่าความคิดสมัยใหม่ผิดกับสมัยก่อนหมดทุกอย่าง..."

การที่กรมศิลปากรไม่ยอมรับรูปปั้นท้าวสุรนารีที่มีรูปร่างเป็นนางฟ้านั้น คงจะเป็นเพราะขัดกับความเป็นจริงที่ว่า ท้าวสุรนารีเป็น "มนุษย์" โดยเฉพาะคือมนุษย์ที่เป็น "สามัญชน" ดังนั้นรูปปั้นท้าวสุรนารี ถ้าจะสื่อให้เห็นการกระทำของท้าวสุรนารีได้ดีและเหมาะสมกับสภาพการณ์ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ ๆ รูปปั้นนี้จึงต้องมีความเป็นมนุษย์ธรรมดาที่ไม่ต้องมีบุญญาบารมี แต่ต้องเป็นมนุษย์ที่กล้าหาญ

 ขยิบตา

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 13:45

เอ่อ...
ความคิดสมัยใหม่ vs สมัยเก่าที่สมเด็จกรมพระยาดำรงฯทรงเอ่ยไว้   หมายถึงว่าทำอนุสาวรีย์เป็นนางฟ้าถือดาบมันเชย ล้าสมัยหมดยุคไปแล้วหรือเปล่าคะ  
ส่วนภาพปั้นเหมือนบุคคลจริงที่อาจารย์ศิลป์ พีระศรีทำมาตั้งแต่เข้ามารับราชการในสมัยรัชกาลที่ 6 ดูทันสมัยมากกว่า     นิยมกันมาตั้งแต่ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว    จนราชการไม่คิดจะย้อนกลับไปแบบเดิมอีก

เห็นได้จากตัวอย่างเช่นพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ ๑ ที่สะพานพุทธก็เป็นแบบคนจริงๆ    รูปปั้นที่ฐานอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยก็เป็นแบบคนจริงๆ      กระแสความนิยมรูปปั้นคนมาในรูปของ "เหมือนจริง" มากกว่า "สัญลักษณ์"   มีมาก่อนแล้วตั้งแต่รัชกาลที่ ๗
ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับสามัญชนหรือเจ้า    
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 14:01

อ้างถึง
การที่กรมศิลปากรไม่ยอมรับรูปปั้นท้าวสุรนารีที่มีรูปร่างเป็นนางฟ้านั้น คงจะเป็นเพราะขัดกับความเป็นจริงที่ว่า ท้าวสุรนารีเป็น "มนุษย์" โดยเฉพาะคือมนุษย์ที่เป็น "สามัญชน" ดังนั้นรูปปั้นท้าวสุรนารี ถ้าจะสื่อให้เห็นการกระทำของท้าวสุรนารีได้ดีและเหมาะสมกับสภาพการณ์ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ ๆ รูปปั้นนี้จึงต้องมีความเป็นมนุษย์ธรรมดาที่ไม่ต้องมีบุญญาบารมี แต่ต้องเป็นมนุษย์ที่กล้าหาญ

คงจะเป็นความคิดของคุณสายพิน   ไม่ใช่ความคิดคุณเพ็ญชมพู   แม้คิดว่าคุณเพ็ญชมพูเองก็เห็นอย่างเดียวกันกับคุณสายพิน

มันก็ขำนะคะ   ที่จะโยงทุกอย่างเข้าสมมุติฐานให้ได้    แม้แต่ลักษณะของรูปปั้น     เพราะรูปปั้นรูปหล่อแบบต่างๆที่สมจริงแบบมนุษย์ธรรมดาก็มีอยู่ในการสร้างพระบรมรูปจำลองของพระมหากษัตริย์  มาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่โปรดเกล้าฯ ให้ปั้นรูปเหมือนของพระองค์ถวายพระเจ้านโปเลียนที่ 3 แต่ออกมาไม่งามพอจึงงดส่งไป  
ในรัชกาลที่  5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้หล่อพระบรมรูปเหมือนของ 4 รัชกาลก่อนหน้านี้ ที่ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในปราสาทพระเทพบิดร   ทุกพระองค์ก็ออกมาเป็นแบบสมจริง  ล้วนแต่งพระองค์แบบสามัญชน  มีพระอิริยาบถอย่างมนุษย์จริงๆ  ไม่ได้แต่งองค์ทรงเครื่องเป็นเทพ     ก็เช่นเดียวกับพระบรมราชานุสาวรีย์ของรัชกาลที่ 1 ที่สะพานพุทธ  ฝีมือสมเด็จกรมพระยานริศฯ ก็ออกมาแบบสมจริงอย่างมนุษย์จริงๆ
ความนิยมในความสมจริงแบบนี้ อย่าว่าแต่อนุสาวรีย์       แม้แต่รูปปั้นรูปหล่อเทพฝรั่งและแขกทั้งหลายที่ประดับสวนอยู่ในบ้านพิษณุโลก(หรือบ้านบรรทมสินธุ์)ของพระยาอนิรุทธเทวามาตั้งแต่รัชกาลที่ 6  ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองตั้งหลายปี     ก็หน้าตารูปร่างสมจริงเป็นมนุษย์กันทั้งนั้น      

กรมศิลปากรมีช่างฝีมือเอกคืออาจารย์ศิลป์ที่ชำนาญการปั้นแบบสมจริงอยู่แล้ว รวมลูกศิษย์ลูกหาเก่งๆอีกหลายคน    ก็เหมาะสมที่ฝีมืออย่างท่านจะปั้นออกมาแบบที่สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เรียกว่า "สมัยใหม่"
ถ้ากรมศิลปากร  หรือคนสำคัญในบ้านเมืองต้องการสื่อว่ารูปปั้นท้าวสุรนารีจะต้องมีความเป็นสามัญชน  ก็ต้องทำให้เห็นว่าแตกต่างจากพระบรมรูปของพระมหากษัตริย์ในยุคสมบูรณาฯ   แล้วไปปั้นให้สมจริงเป็นคนจริงๆ เหมือนพระบรมราชานุสาวรีย์ และพระรูปต่างๆที่มีมาก่อนตั้งแต่ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองทำไมกัน    ทำไมไม่คิดค้นปั้นเป็นแบบอื่นให้แตกต่างกันเห็นชัดๆว่านี่แหละสามัญชน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 14:14

ประติมากรรมรูปท้าวสุรนารี ในแบบฉบับการแต่งกายไทยแบบสมัยรัชกาลที่ ๑-๓ ปั้นโดยอาจารย์ศิลป์ พีระศรี


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 14:25

พระบรมรูปพระบูรพกษัตราธิราชในปราสาทพระเทพบิดร ในรัชกาลที่ 1-4  สร้างตั้งแต่รัชกาลที่ 5   ออกแบบสร้างให้ดูเป็นเทพหรือว่ามนุษย์จริงๆ?


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 14:26

การแต่งกายแบบสตรีไทยสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่มณฑลปราจีนบุรี พ.ศ. 2438


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 14:35

พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ ๑ ก็ถูกออกแบบในลักษณะสมจริง อย่างมนุษย์จริงๆเช่นกัน ตั้งแต่ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 15:37

อ้างถึง
ผม   คุณสายพินได้เขียนมาก่อนนี้ในทำนองว่า กบฏบวรเดชคือการต่อสู้ระหว่างระบอบเก่าและระบอบใหม่

คุณเพ็ญชมพู   คุณสายพินเธอเขียนว่า อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี : การต่อสู้ระหว่างระบอบเก่ากับระบอบใหม่ เธอให้เหตุผลว่า ฯลฯ

ผมหมายถึง อย่างเช่นอันนี้



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 15:39

และเช่นอันนี้



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 15:52

หน้าสุดท้ายของบทสรุป คุณสายพินเขียนดังนี้



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 19 คำสั่ง