เรื่องอนุสาวรีย์นี้ ทางราชการเขาก็มีหลักมีเกณฑ์กำหนดไว้เหมือนกัน
ตามระเบียบกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการก่อสร้างอนุสาวรีย์แห่งชาติและการจำลองพระพุทธรูปสำคัญ พ.ศ. ๒๕๒๐ กล่าวถึงการสร้างอนุสาวรีย์แห่งชาติมีหลักเกณฑ์ดังนี้
พระบรมราชานุสาวรีย์ หมายความว่า อนุสาวรีย์ของพระมหากษัตริย์ซึ่งได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นคุณอย่างยิ่งใหญ่แก่ชาติไทยในยุคสมัยต่าง ๆ ตามที่มีเรื่องหรือพระนามปรากฏในเอกสารหรือหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี และพระบรมราชานุสาวรีย์นั้นจะได้ประดิษฐานไว้ในที่สาธารณะหรือ ณ ที่ซึ่งเปิดให้มหาชนสักการบูชาและชมได้
อนุสาวรีย์บุคคลสำคัญ หมายความว่า สิ่งก่อสร้างที่เป็นเครื่องหมายน้อมนำให้ระลึกถึงวีรกรรมหรือคุณความดีของบุคคลที่ได้ประกอบกรณียกิจเป็นคุณประโยชน์อย่างยิ่งใหญ่ไว้แก่บ้านเมืองไทย สมควรจะสร้างอนุสาวรีย์ไว้ในปรากฏ เพื่อเป็นที่รวมพลังใจ ศรัทธา และความนิยมนับถือของประชาชน และเป็นแบบฉบับแก่อนุชนไทยสืบต่อไป และสิ่งก่อสร้างนั้นจะได้ประดิษฐานไว้ในที่สาธารณะหรือ ณ ที่ซึ่งเปิดให้มหาชนสักการบูชาหรือชมได้
สำหรับเรื่อง "ย่าบุญเหลือ" ที่คุณหนุ่มสอบถาม
มีการกล่าวถึง "ย่าบุญเหลือ" หรือ "นางสาวบุญเหลือ" กันบ้างไหม

ท่านผู้นี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของการกู้ชาติที่ทุ่งสำริดเช่นกัน
ใน พ.ศ. ๒๕๒๔ จังหวัดนครราชสีมามีความคิดที่จะสร้างอนุสาวรีย์นางสาวบุญเหลือไว้ที่โรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์ จึงเสนอเรื่องไปยังกรมศิลปากร แต่กรมศิลปากรอนุญาตให้สร้างเป็น "อนุสรณ์สถาน" ซึ่งทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๙
ทำไมกรมศิลปากรไม่อนุมัติให้สร้างเป็น "อนุสาวรีย์"
ลองเดาใจกรมศิลปากรดู
