เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 16
  พิมพ์  
อ่าน: 89121 "คำถามจากหนังสือ "การเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี" - "วีรกรรมนี้เกิดขึ้นจริงหรือ?"
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 165  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 12:46

มีข้อมูลอีกด้านหนึ่งจาก "เอกสารพื้นเวียง"

"พื้นเวียง" เป็นวรรณกรรมพื้นบ้านของอีสาน เป็นที่แพร่หลายและรู้จักกันโดยทั่วไปในหมู่ชาวลาวและชาวอีสานเหนือ มักใช้อ่านหรือขับร้องใน "ง้นเฮือนดี" หรืองานศพ

ต้นฉบับใบลานพื้นเวียงนั้น ได้ถูกนำจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ ตั้งแต่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพยังดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย แต่เนื้อหาในพื้นเวียงคงเป็นเรื่องที่ทางกรุงเทพฯ รับไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่ตรงกันข้ามกันอย่างสิ้นเชิงกับพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะเรื่องการกบฏของเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ เป็นที่รู้กันในหมู่คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยชุดปัจจุบันว่า "เอกสารพื้นเวียง" ได้เคยนำมาเข้าในที่ประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้งแล้ว แต่ก็มิได้นำมาเปิดเผยต่อสาธารณชน เพราะมีเนื้อหาที่ขัดแย้งกับเอกสารในกรุงเทพฯ อย่างชนิดที่ว่ารับไม่ได้เอาเลยทีเดียว เอกสารหรือวรรณกรรมชิ้นนี้จึงถูกบรรจุไว้อย่างระมัดระวังในสุสานหนังสือของหอสมุดแห่งชาติ และกลายเป็นเอกสารต้องห้ามไปโดยปริยาย

เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ นิตยสาร "สยามนิกร" ได้ตีพิมพ์บทความชิ้นหนึ่งเรื่อง "เอกสารพื้นเวียง: ข้อขัดแย้งใหม่ในประวัติศาสตร์" นับเป็นการเปิดประเด็นการศึกษา "เอกสารพื้นเวียง" อย่างจริงจังออกสู่สาธารณชน และบทความชิ้นนี้นำไปสู่การสัมมนาเรื่องประวัติศาสตร์อีสาน ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม ระหว่างวันที่ ๑๖-๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๑ ศาสตราจารย์ธวัช บุญโณทก จากวิทยาลัยครูนครราชสีมา ได้นำ "เอกสารพื้นเวียง" มาศึกษาและเสนอบทความดังกล่าวในที่ประชุม ปรากฏว่าได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง

เนื้อหาโดยย่อ กล่าวถึงนครเวียงจันทน์ มีกษัตริย์ชื่อพระอนุรุธราชเจ้ามีมเหษีฝ่ายขวาชื่อ คำปอง ฝ่ายซ้ายชื่อ คำจันทร์ มีพระธาตุพนมเป็นศูนย์กลางของโลก (ชาวลาว) ความสุขที่เคยมีมาในอดีต ได้กลับเปลี่ยนแปลงเป็นความเดือดร้อน เกิดพายุแผ่นดินแยกและเกิดฟ้าผ่าพระธาตุพนมอันเป็นที่สักการะบูชาพังพินาศ และลางร้ายของบ้านเมืองก็มาถึง

กล่าวถึง หลวงยกบัตรเมืองโคราช ขออนุญาตมายังราชสำนักสยามเพื่อขอปราบพวกข่าที่ดอนโขง บ้านด่าน เมื่อได้พระบรมราชานุญาต หลวงยกบัตรก็ดำเนินแผนร้ายของตนเองทันที โดยทำตัวเป็นผู้ยิ่งใหญ่ขูดรีดชาวพื้นเมือง เมืองใดไม่ยอมก็ยกทัพเข้าตี ผู้คนล้มตายไปเป็นจำนวนมาก พระยาไกรเจ้าเมืองภูขันไม่ยอมอ่อนต่อเมืองโคราช ได้ฟ้องร้องไปยังราชสำนักสยาม ราชสำนักได้ส่งคุณมหาอมาตย์ขึ้นไปไต่สอนความ เมื่อพบกับหลวงยกบัตรเมืองโคราช ก็ได้รับสินบนและได้ฟังแต่ข้อความดี ๆ จากปากของหลวงยกบัตรคุณมหาอมาตย์เดินทางกลับเพื่อไปรายงานต่อราชสำนักสยามพระยาไกรได้ฟ้องร้องไปอีก คุณมหาอมาตย์ก็เดินทางไปอีกเช่นเคย คราวนี้ได้นำหลวงยกบัตรมากรุงเทพฯ ด้วย หลวงยกบัตรจัดเครื่องบรรณาการ มี เงิน ทอง เครื่องครามของป่า ข้าทาสลงมาถวายต่อราชสำนักด้วยและในที่สุดหลวงยกบัตรก็ได้รับแต่งตั้งเป็นพระยาพรหมภักดี เป็นการตอบแทน พร้อมทั้งให้สัญญาว่าเมื่อใดที่เจ้าเมืองโคราชถึงแก่อสัญญากรรมแล้วทางกรุงเทพฯ จะแต่งตั้งพระยาพรหมภักดีขึ้นครองเมืองแทน

เมื่อพระพรหมภักดีเป็นที่โปรดปรานของราชสำนักสยามก็ได้ตั้งหน้าตั้งตารีดนาทาเร้นชาวพื้นเมืองหนักข้อยิ่งขึ้นทุกวัน ชาวพื้นเมืองที่ถูกกดขี่นั้น มีพวกข่ารวมอยู่ด้วยพวกข่าได้รวมตัวกันต่อสู้และท้ายที่สุดก็ได้ภิกษุสา หรือเจ้าหัวสาเป็นผู้นำในการต่อสู้ พวกข่าได้ไปขอขึ้นเป็นไพร่มากมาย และได้ตั้งตัวเป็นอยู่ที่เขาเก็ดโง้ง บ้านหนองบัว แขวงจำปาศักดิ์

เมื่อมีพวกข่ามาขึ้นมากมาย แทนที่พระยาพรหมภักดีจะเข้าไปต่อสู้ กลับวางแผนยั่วยุให้เจ้าหัวสา เผาเมืองบาศักดิ์และให้ตั้งตนเป็นใหญ่ครองเมืองบาศักดิ์ โดยตนเองจะสนับสนุน เจ้าหัวสามีความักใหญ่ใฝ่สูงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ไม่รู้แผนของพระยาพรหมภักดี ก็เลยยกทัพไปตีเมืองบาศักดิ์ โดยมีทหารของพระยาพรหมภักดีช่วยเหลือด้วย และสามารถยึดเมืองได้และเผาเมืองทิ้งเสีย ผู้คนในเมืองต่างแดนแตกตื่นและหนีไปยังเมืองต่าง ๆ รวมทั้งเมืองจำปาศักดิ์หนีไปหาพระยาพรหม  การกระทำของเจ้าหัวสา ทำความเดือดร้อนให้แก่ขาวบ้านเป็นอย่างมาก ทำให้พระอนุรุธราช เจ้าเมืองเวียงจันทน์ออกปราบปราม และจับเจ้าหัวสาได้ เมื่อได้ทำการสอบสวนเจ้าหัวสา ก็สารภาพว่า พระยาพรหมภักดีเป็นผู้ยุแหย่ พระองค์พิโรธมาก จึงให้ทหารไปตามตัวพระยาพรหมมาสอบสวน พระยาพรหมปฏิเสธและจากสาเหตุดังกล่าวทำให้ทั้งสองขัดแย้งกันมากขึ้น ในที่สุด ทั้งพระอนุรุธราช พระยาพรหม ลงมากรุงเทพฯ พร้อมทั้งเจ้าหัวสา และพรรคพวกซึ่งถูกข้อหาขบถ

จากการสอบสวนพระยาพรหมภักดี แม้จะมีความผิดแต่ก็ทรงเห็นว่ามีคุณต่อแผ่นดินก็ยกโทษให้ พระอนุรุธราชทูลขอให้ราชบุตรของพระองค์ครองเมืองจำปาศักดิ์ ก็ทรงอนุญาต พระยาพรหมภักดีเห็นว่า พระอนุรุธราชมีอำนาจมากขึ้นทุกวัน จึงทูลว่าเมื่อเจ้าเมืองเวียงจันทน์มีอำนาจมาก พวกลาวก็จะกลับไปยังเมืองเวียงจันทน์หมด มีทางแก้ก็อยู่ต้องจดเลกพวกลาวเสียก่อน ทางราชสำนักสยามเห็นชอบด้วย จึงโปรดกล้าฯ ให้หมื่นภักดี หมื่นพิทักษ์ ไปเป็นแม่กองสักเลกที่เมืองกาฬสินธุ์ ละคร เหมราษฐ์ บังมุกอุบล ตามลำดับ พอดีกับเจ้าเมืองโคราชถึงแก่อสัญกรรมพระยาพรหมภักดีก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้ครองเมืองแทน

การสักเลกจึงทวีความรุนแรงขึ้น ชาวบ้านชาวเมืองเดือดร้อนมากขึ้นทุกวัน ผู้คนถูกกวาดต้อนย้ายถิ่นฐานพลัดนาคาที่อยู่และต่างหนีไปพึ่งเมืองเวียงจันทน์ ความขัดแย้งทวีอย่างรุนแรงขึ้นทุกวัน ระหว่างเจ้าเมืองเวียงจันทน์กับพระยาพรหมภักดี และถึงจุดระเบิดเมื่อพระยาพรหมภักดีแจ้งไปยังเมืองบาศักดิ์ให้นำทหารไปตีพวกข่า เจ้าบาศักดิ์ไม่พอใจจึงไปทูลเจ้าเมืองเวียงจันทน์ เจ้าเวียงจันทน์ทรงกริ้วพระยาพรหมภักดีมาก เพราะทำความเดือดร้อนให้แก่ชาวลาวและข่ามากขึ้นทุกวัน จึงจัดทัพจากเวียงจันทน์ออกกวาดล้างกองสักเลก และหมายล้มอำนาจของพระยาพรหมภักดีด้วย เพราะเห็นความชั่วร้ายของพวกเหล่านี้มากมายเพราะนอกจากจะทารุณประชาชนแล้ว แม้แต่ข้าทาสที่อยู่รักษาพระธาตุพนมก็ถูกพวกพระยาพรหมภักดีกวาดต้อนไปเสียสิ้น อันเป็นการลบหลู่ดุหมิ่นต่อพระศาสนาอย่างมาก

ทัพของพระอนุรุธราช เจ้าเมืองเวียงจันทน์ ได้จับนายกองสักเลก และเจ้าเมืองที่ข่มเหงราษฎร์ฆ่าเสียสิ้น ทุกคนกลัวพระบารมี ในที่สุดเวียงจันทน์ก็เดินทัพเข้าสู่โคราช กรรมการเมืองยอมอ่อนน้อม ขณะนั้นพระพรหมภักดีหายไปไม่ปรากฏตัว ทัพเวียงจันทน์รวบรวมทรัพย์สมบัติและกวาดต้อนผู้คนไปกักกันไว้ที่ค่ายมูลเค็ง (ทุ่งสัมริด) อีกส่วนหนึ่งก็ออกล่าตัวพระยาพรหมภักดี โดยมีพระยาไกรเป็นหัวหน้า

ดูเหมือนจะเป็นแผนการของพระยาพรหมภักดี ซึ่งคอยหลบซ่อนอยู่ที่เมืองขุขัน พอทราบข่าวว่าพรรคพวกถูกกวาดต้อนไปกักกันที่ค่ายมูลเค็ง พระยาพรหมภักดีก็ปลอมตัวเป็นไพร่แล้วลอบเข้ามาอยู่ในค่ายมูลเค็ง วางแผนกับลูกน้องในการที่จะหยุดยั้งการกวาดต้อนไปเวียงจันทน์ให้ช้าลง เช่น ขอหยุดเพื่อรวบรวมครอบครัวที่กระจัดกระจายให้ครบถ้วนเสียก่อน ขอซ่อมพาหนะในการขนเสบียงเป็นต้น เจ้าเมืองเวียงจันทน์ทรงอนุญาต และพระองค์เสด็จไปรวบรวมไพร่พลในเมืองอื่น ๆ ต่อไป ได้แก่ กาฬสินธุ์ ละคร แปะ (บุรีรัมย์) ปัก (ปักธงชัย) ร้อยเอ็ด ในขณะนั้นทางค่ายมูลเค็งก่อความไม่สงบ ได้ฆ่าพวกทหารเวียงจันทน์ตายเกือบหมด และพ่ายแพ้หนีไป เจ้าเมืองเวียงจันทน์ทราบข่าวก็พิโรธมาก จึงจัดให้ถอยทัพก่อน และให้รีบรวบรวมไพร่พลอพยพกลับเวียงจันทน์

ความทราบมาถึงราชสำนักสยามจากเมืองโคราช ซึ่งทางกรุงเทพฯ ทราบเพียงว่า เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เป็นขบถ จึงโปรดให้พระยามุนินทรเจ้าลือเดช (เจ้าพระยาบดินทร์เดชาสิงห์ สิงหเสนีย์) เมื่อทัพทางกรุงเทพฯ ขึ้นไป ทัพลาวแตกพ่ายไปยับเยิน เจ้าเมืองเวียงจันทน์เห็นลางพ่ายของตนเอง จึงหมายที่จะไปพึ่งแกว (ญวน) แต่ในที่สุดพระองค์ถูกทัพหลวงของไทยจับตัวได้ และถูกส่งตัวไปยังกรุงเทพฯ ในที่สุดถึงแก่ทิวงคต ไปสู่สวรรค์ชั้นไตรตรึงษ์

หลังจากสวรรค์ของเจ้าอนุวงศ์ เนื้อหาได้กล่าวถึงสงครามระหว่างไทยกับเวียดนาม


จาก พื้นเวียง ...บางส่วนของประวัติศาสตร์ลาว-สยาม

 ขยิบตา

บันทึกการเข้า
สมภพ เจ้าเก่า
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 166  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 13:54


เหตุการณ์ที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๖๙ ในเหตุการณ์กบฏเจ้าอนุวงศ์นี้เอง เมื่อเจ้าอนุวงศ์ยกทัพมายึดเมืองนครราชสีมา เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์) มิได้กลับมาช่วยแก้ไขสถานการณ์ ภายหลังเหตุการณ์นี้ รัชกาลที ๓ ทรงลดบทบาทของเจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์) ให้มีอำนาจเฉพาะในหัวเมืองขึ้นของนครราชสีมาเท่านั้น  ส่วนหัวเมืองอีสานอื่น ๆ มอบหมายให้เจ้าพระยาบดินทรเดชารับผิดชอบปกครองแทน


ดูสอดคล้องกันดีเหมือนกันครับ
การที่ย่าโมบุกจับลูกหัวหน้าตัวเองได้  แสดงว่าหัวหน้าต้องไม่อยู่
ให้เดาต่อ คงจะนำตัวมาสอบเค้น ได้ความแล้วก็เลยควบม้าตามไปช่วยคน - -!
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 167  เมื่อ 09 ก.ย. 12, 21:23

คำถามจากหนังสือ "การเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี" - "วีรกรรมนี้เกิดขึ้นจริงหรือ?"

วีรกรรมนี้รวมถึงวีรกรรมของเจ้าพ่อพญาแลด้วย

ถึงคิวเจ้าพ่อพญาแล

เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ จังหวัดชัยภูมิได้เขียนประวัติของเมืองโดยให้ภาพพญาแลว่า

...นายแลเจ้าเมืองชัยภูมิ พร้อมด้วยขุนพลนายด่านบ้านชวน และกองทัพเจ้าเมืองสี่มุม (จัตุรัส) ได้ยกไพร่พลไปสมทบกับทัพของคุณหญิงโม ตีขนาบกองทัพเจ้าอนุเวียงจันทน์แตกกระจายไป...สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้คุณหญิงโมเป็นท้าวสุรนารี นายแลเมืองไชยภูมิ (ชัยภูมิ) เป็นเจ้าพระยาภักดีชุมพล...

ลองมาดูคำให้การของคนที่อยู่ในเหตุการณ์สมัยนั้นดูบ้าง

คำให้การของนายแทน บุตรหลวงสุริยราชา ส่วยทองพระราชวังหลวง เมื่อเจ้าอนุวงศ์กวาดต้อนครัวเมืองนครราชสีมา เมืองภูเขียว เมืองสี่มุม เมืองปัก และเมืองชัยภูมินั้น นายแทนทำหน้าที่คุมช้างบรรทุกสิ่งของให้กับเจ้าอนุวงศ์ข้ามไปถึงเวียงจันทน์ นายแทนให้การเกี่ยวกับพญาแลว่า เมื่อตนมาที่ค่ายหนองบัวลำภู ได้พบกับครัวของเมืองชัยภูมิที่นำโดยพญาแล และเมื่อรู้ข่าวว่ากองทัพจากกรุงเทพฯ จะยกทัพมา ต่างปรับทุกข์กันว่า "...ถ้ากองทับกรุงฯ ยกขึ้นมาถึงก็จภากันตายเสียสิ้นแล้ว พญาสรบุรี พญาณริน เจ้าเมืองภูเขียว เจ้าเมืองปัก หลวงรัก เจ้าเมืองไชยภูมิ ภากันร้องไห้ปรับทุกกันอยู่..."

ยังมีคำให้การของอ้ายเชียงยัน เลกสมของเจ้าพระยานครราชสีมา ซึ่งหนีพวกลาวไปถึงเมืองชัยภูมิอีก (รายละเอียดดูข้างล่าง)

จากคำให้การของทั้งสองคน ไม่มีตอนไหนที่กล่าวถึงวีรกรรมของพญาแลเลย

 ขยิบตา


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 168  เมื่อ 10 ก.ย. 12, 07:01

รบกวนลงรูปหน้าถัดไปด้วยได้ไหมครับ

ผมไม่ขอเข้ามาเถียงใดๆ เพราะว่าในฐานะเรียนประวัติศาสตร์มา การจะเถียงใดๆเราจะต้องหาเอกสารมายืนยัน เอกสารชิ้นนี้เก่ากว่า และอาจละเอียดกว่า คงต้องนำมาพิจารณา

อย่างไรก็ตามในฐานะคนชัยภูมิ ฟังประวัติศาสตร์มุขปาฐะมายาวนาน เนื้อความแตกต่างจากที่เอกสารคำให้การข้างต้นมาก และในความรับรู้ของชาวชัยภูมิ ตั้งแต่ก่อนเกิดประวัติศาสตร์ชาตินิยมยุคจอมพลต่างๆ (คุณตา คุณยาย ของผมอยู่ก่อนรุ่นนั้นๆ รวมถึงคุณทวด) เล่าเรื่องแตกต่างกันมาก

หลักฐานพยานเอกสารมีการขัดแย้งกันได้เสมอ และบางเรื่องอาจจริงกว่า อย่างไรก็ตาม เอกสารชั้นต้นนี้ต้องพิจารณาข้อหนึ่ง คือ เนื้อความในนั้นจริง เท็จ ประการใด และท่านจะตรวจสอบอย่างไรเพื่อให้มั่นใจว่าเอกสารชั้นต้นที่ท่านได้มานั้น ผู้เขียนพูดเรื่องจริง หรือพูดครอบคลุมหมดทุกอย่าง ไม่สามารถกล่าวได้เก่าสุด แล้วจะถูกสุด กระทั่งมีเอกสารสองชิ้นเหมือนกัน แต่มุขปาฐะที่อยู่ในชุมชนกลายเป็นคนละเรื่อง เหมือนเอกสารพื้นเวียง กับเอกสารทางการไทย นั้นเอง

ข้าพเจ้าไม่ได้เข้ามาเถียงคุณสายพิน แต่ว่าต้องขออนุญาตดูว่าคุณสายพินเธอมีหลักฐานแน่ชัดเท่าไร เทียบกับเรื่องเล่ามุขปาฐะที่ปรากฎก่อนหน้าการเกิดประวัติศาสตร์ชาตินิยมเป็นอย่างไร

ถ้าเธอถูกก็ขอขอบคุณ ถ้าผิดก็ไม่ได้ว่าอะไร 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 169  เมื่อ 10 ก.ย. 12, 09:01

คุณหาญปิงสามารถหาอ่านรายละเอียดในใบบอกและคำให้การของบุคคลในเหตุการณ์เพิ่มเติมที่

จดหมายเหตุเรื่องปราบกบฏเวียงจันท์
http://www.sac.or.th/databases/siamrarebooks/main/attachments/article/181/nirat_resize_2.pdf
http://www.sac.or.th/databases/siamrarebooks/main/attachments/article/181/nirat_resize_3.pdf

ต่อไปนี้จะเป็นคำให้การของอ้ายเชียงยันโดยละเอียดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพญาแล

อ้ายเชียงยันแนะนำตัวเองว่า


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 170  เมื่อ 10 ก.ย. 12, 09:12

.



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 171  เมื่อ 10 ก.ย. 12, 09:22

.



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 172  เมื่อ 10 ก.ย. 12, 09:26

.



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 173  เมื่อ 10 ก.ย. 12, 21:01

รบกวนลงรูปหน้าถัดไปด้วยได้ไหมครับ

หน้าถัดไป (หน้า ๓๗๘) จากหนังสือของคุณสายพิน เขียนว่า

เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ จังหวัดชัยภูมิได้เขียนประวัติของเมืองโดยให้ภาพพญาแลว่า

...นายแลเจ้าเมืองชัยภูมิ พร้อมด้วยขุนพลนายด่านบ้านชวน และกองทัพเจ้าเมืองสี่มุม (จัตุรัส) ได้ยกไพร่พลไปสมทบกับทัพของคุณหญิงโม ตีขนาบกองทัพเจ้าอนุเวียงจันทน์แตกกระจายไป...สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้คุณหญิงโมเป็นท้าวสุรนารี นายแลเมืองไชยภูมิ (ชัยภูมิ) เป็นเจ้าพระยาภักดีชุมพล...


การให้ภาพพญาแล เชื่อมโยงกับวีรกรรมของคุณหญิงโม อาจเป็นเพราะวีรกรรมเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์กบฏเจ้าอนุวงศ์เหมือนกัน อีกทั้งการรับรู้วีรกรรมของคุณหญิงโมเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ ค่อนข้างแพร่หลายแล้ว ดังนั้น จึงน่าจะมีส่วนสร้างเสริมให้กับการับรู้วีรกรรมของพญาแลได้ด้วย นอกจากนี้ทางจังหวัดก็ยังพยายามให้ภาพของเจ้าเมืองสี่มุม ซึ่งขณะนั้น (พ.ศ. ๒๕๐๐) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิว่าเป็นบุคคลหนึ่งที่ไปช่วยคุณหญิงโมรบกับกองทัพฝ่ายลาว แต่การให้ภาพเกี่ยวกับเรื่องนี้จะพบว่าขัดแย้งกับคำให้การของพระยาณรินทร์ เจ้าเมืองสี่มุมที่ให้ภาพว่าตนเองร่วมอยู่กับกองทัพเจ้าอนุวงศ์ อีกทั้งเมื่อถูกกองทัพไทยจับได้ พระยาณรินทร์ยังเลือกที่จะแสดงความจงรักภักดีกับเจ้าอนุวงศ์ ด้วยการยอมถูกประหารชีวิต

การับรู้เรื่องพญาแลยังคงไม่แพร่หลายนัก จนกระทั่งอนุสาวรีย์ของพญาแลเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ ประกอบกับการสร้างความเชื่อมโยงกับวีรกรรมของวีรสตรีแห่งชาติ เช่น คุณหญิงโม จึงน่าจะทำให้วีรกรรมของพญาแลแพร่หลายมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม เรื่องวีรกรรมพญาแลก็สะท้อนให้เห็นว่า การรับรู้เรื่องราววีรบุรุษในประวัติศาสตร์ของปัจจุบันสามารถเกิดขึ้นได้ โดยผ่านกระบวนการผลิตซ้ำของงานเขียนหรือความพยายามเชื่อมโยงกับการรับรู้เกี่ยวกับวีรบุรุษคนอื่น ๆ มากกว่าเกิดขึ้นจากตัวตนของวีรกรรมที่รับรู้อย่างกว้างขวางจริง ๆ ในประวัติศาสตร์

 ขยิบตา

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 174  เมื่อ 11 ก.ย. 12, 08:37

ต่อไปเป็นคำให้การของอ้ายเชียงยันในส่วนที่เกี่ยวกับพระยานรินทร์



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 175  เมื่อ 11 ก.ย. 12, 08:41

.



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 176  เมื่อ 11 ก.ย. 12, 08:45

.


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 177  เมื่อ 11 ก.ย. 12, 20:43

พระยานรินทร์มีเชื้อสายลาวเวียงจันทน์ จึงสวามิภักดิ์ต่อเจ้าอนุวงศ์  เจ้าอนุวงศ์ตั้งให้เป็นเจ้าเมืองหนองบัวลำภู รักษาค่ายต่อสู้กับฝ่ายไทย

พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ได้บันทึกเรื่องราวการสู้รบของพระยานรินทร์ไว้ว่า

"ครั้น ณ เดือน ๖ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ทัพหลวงก็ยกจากเมืองนครราชสีมาขึ้นไปตั้งอยู่น้ำเซิน ทัพหน้าเข้าตีค่ายหนองบัวลำภู แต่ ณ วันอังคาร เดือน ๖ ขึ้น ๖ ค่ำ พระยานรินทร์แม่ทัพลาวได้สู้รบทัพไทยเป็นสามารถ ทัพไทยตีค่ายหนองบัวลำภูแตก แต่ ณ วันศุกร์ เดือน ๖ ขึ้น ๙ ค่ำ จับได้พระยานรินทร์ส่งตัวมาทัพหลวง รับสั่งให้ถามพระยานรินทร์ว่า จะเลี้ยงจะอยู่หรือไม่อยู่ พระยานรินทร์ไม่สวามิภักดิ์ ก็โปรดให้เอาช้างแทงเสีย"

ไม่เพียงเท่านั้น ตามใบบอกของพระยาจ่าแสนยากรให้รายละเอียดว่า


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 178  เมื่อ 11 ก.ย. 12, 21:34

ณ สถานที่ที่พระยานรินทร์เสียชีวิต ต่อมามีการสร้างศาลเพื่อเป็นที่ระลึกชื่อว่า "ศาลเจ้าจอมนรินทร์" อยู่บริเวณช่องเขาเขตติดต่อระหว่างภูเวียงและเวียงเก่า (ปากช่อง)  จังหวัดขอนแก่น


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 179  เมื่อ 11 ก.ย. 12, 21:59

ในมุมมองของผู้มาสักการะศาลแห่งนี้ซึ่งมีชาติพันธุ์เฉกเช่นเดียวกัน พระยานรินทร์ย่อมเป็นวีรบุรุษ ผู้สร้างวีรกรรมที่เกิดขึ้นจริงแท้แน่นอน

แม้จะเป็นเพื่อฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ก็ตาม

 ขยิบตา


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.041 วินาที กับ 19 คำสั่ง