พูดอีกทีคือ เธอเห็นว่าการสร้างวีรกรรมของท้าวสุรนารีที่ไม่มีจริง หรือมีก็ปลีกย่อยแทบหาความสำคัญไม่ได้ เป็นกลอุบายฝ่ายไทยที่บันทึกลงในพงศาวดารเพื่อจะใช้ประโยชน์ยื่นให้ฝรั่งเศสอ่าน หากรุกรานอีสาน เผื่อจะได้ผลหลังจากการกระทำแบบนี้ไม่ได้ผลมาแล้วเมื่อ 2 ปีก่อน
คงไม่ใช่เพื่อให้ฝรั่งเศสอ่านอย่างที่คุณเทาชมพูว่า 
ใช่ซีคะ คุณเพ็ญชมพู
วิทยานิพนธ์ของคุณสายพิน อย่าอ่านแบบเอา"คำ"เป็นหลัก ต้องเอา"ความ"เป็นหลัก ถึงจะรู้เรื่อง
คนที่อ่านแบบเอาคำเป็นหลักคือคนที่อ่านพบว่า "นาย ก.ไม่ได้อยู่ในห้อง" ก็จะถือว่า ไม่อาจตีความได้นาย ก.ออกไปจากห้อง ถ้านาย ก.ออกไปจากห้อง ต้องเขียนว่า "นาย ก.ออกไปจากห้อง" นี่เขียนแค่ "นาย ก.ไม่ได้อยู่ในห้อง" ต่างหาก คนละความหมาย
ถ้าอ่านเอาคำเป็นหลัก คือถือว่า ตราบใดที่คุณสายพินไม่เขียนลงมาชัดๆว่าพงศาวดารไทยบันทึกเรื่องท้าวสุรนารีเพื่อให้ฝรั่งเศสอ่าน ฉันก็บอกว่าไม่ใช่ ถ้าใช่ต้องเอาประโยคนี้มายันกัน นี่คือวิธีการอ่านที่ไม่มีการตีความ
ส่วนคุณสายพินนั้นเป็นคนเขียนอะไรแบบแสดงนัยยะ ด้วยคำคลุมๆให้กว้างที่สุด แต่ไม่ชัดเจน เป็นอย่างนี้ตลอดเล่ม เพื่อให้คนอ่านต้องมาตีความอีกทีหนึ่ง
ข้อความในหน้า 260 ยกเรื่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงส่งพงศาวดารเขมรให้ฝรั่งเศสอ่านเพื่อยืนยันสิทธิ์ของไทยเหนือเขมรมาก่อน แต่ฝรั่งเศสไม่ยอมฟัง เนื้อความต่อมา บอกว่าในรัชกาลที่ ๕ ไทยก็เขียนพงศาวดารเรื่องวีรกรรมคุณหญิงโม เพื่อแสดงให้เห็นว่ากรุงเทพเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับโคราช เพราะตระหนักถึงภัยที่ฝรั่งเศสกำลังคุกคามลาวอยู่
ในเมื่อคุณสายพินเขียนสาเหตุไว้ตอนต้นหน้า 260 เขียนผลไว้ท้ายหน้า ก็ตีตวามออกมาได้แบบนี้ เพราะถ้าไม่เขียนพงศาวดารไว้เพื่อเป็นหลักฐานแบบเดียวกับรัชกาลที่ 4 แล้วจะเขียนทำไม
ถ้าคุณเพ็ญตอบว่าเขียนไว้ให้โคราชกับกรุงเทพอ่านเท่านั้น มันยิ่งตลกเข้าไปใหญ่ ถ้าอย่างนั้นแล้วยกเหตุการณ์ฝรั่งเศสเข้ามาคุกคามไว้เป็นสาเหตุทั้งตอนต้นของหน้า และตอนท้ายของหน้า ทำไมกันล่ะคะ ทำไมไม่เขียนแค่โคราชกับกรุงเทพ
คุณเพ็ญชมพูช่วยกลับไปอ่านประโยคท้ายของหน้า 260 อีกทีนะคะว่า คุณสายพินเขียนถึงฝรั่งเศส(เธอใช้คำว่าตะวันตก) ค่ะ