เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 16
  พิมพ์  
อ่าน: 89453 "คำถามจากหนังสือ "การเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี" - "วีรกรรมนี้เกิดขึ้นจริงหรือ?"
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 16:07

<
ตกลงคือ  วาทกรรมเกี่ยวกับคุณหญิงโมสามารถตอบสนองผู้สร้างวาทกรรมนี้ได้เสมอ คืออะไรครับ ท่านผู้รู้กรุณาแปลความหน้าที่แล้วที่คุณสายพินเขียนไว้นั่นให้ผมเข้าใจที
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 16:22

อ่านแล้วแม้นว่าจะมึนพอสมควรเพราะมีรายละเอียดค่อนข้างมากแต่เชื่อว่าผู้ที่สนใจจริงๆจะได้ประโยชน์มาก
อยากจะขออนุญาตชมท่านอาจารย์ใหญ่คือ ท่านเทาชมพู
ผมไม่ทราบว่าท่านคือใคร แต่ต้องขอชมในความเป็นนักวิชาการที่แท้จริง
"นักวิชาการ" ในมุมมองที่ผมว่านี้มิใช่ "ผู้รู้" เพราะเป็นไปไม่ได้ที่ใครจะ "รู้ละเอียด" ในทุกเรื่องและ "จำได้"
"ผู้รู้" ในมุมมองของผมและขอชมท่านเทาชมพู คือ "ความมีเหตุผล" โดยพิจารณาจาก "evidence-base" ที่ "เชื่อถือได้"
เป็นโชคดีของเว็บนี้และโชคดีของผมเป็นอย่างยิ่งที่มีท่านเป็น "เจ้าเรือน"
(ชมท่านแล้ว ผมจะได้อนุญาตเลื่อนไปนั่งหน้าห้องมากขึ้นหรือไม่ครับ(พูดเล่นครับ))


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 16:45

^
ดีใจจัง
ไม่ค่อยได้รับคำชมว่าเป็นนักวิชาการค่ะ    พอมีคนชมก็เลยดีใจออกนอกหน้าไปหน่อย
ส่วนในเรือนไทยนี้  ที่ดิฉันอยู่มาได้ก็  เพราะอาศัยผู้รู้อย่างสมาชิกประจำและสมาชิกชั่วคราวที่เข้าๆออกๆ ให้เห็นกัน มาสละเวลา  เพิ่มสาระและความรู้ให้ผู้สนใจ   ดิฉันทำคนเดียวไม่ได้   
จะบรรยายชื่อของท่านเหล่านี้ก็มากเกินกว่าจะพิมพ์ได้หมด  ดีไม่ดีตกหล่นชื่อใครไป ท่านจะน้อยใจเอา ขอสรุปว่าทุกท่านก็คงจะทราบดีว่าดิฉันหมายถึงท่านก็แล้วกัน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 16:53

<
ตกลงคือ  วาทกรรมเกี่ยวกับคุณหญิงโมสามารถตอบสนองผู้สร้างวาทกรรมนี้ได้เสมอ คืออะไรครับ ท่านผู้รู้กรุณาแปลความหน้าที่แล้วที่คุณสายพินเขียนไว้นั่นให้ผมเข้าใจที

อาสามาแปล  เดี๋ยวคุณเพ็ญชมพูคงจะมีวิกิ มีพจนานุกรม ฯลฯ มาอธิบายอีกที

เข้าใจว่าคุณสายพินตั้งใจจะบอกว่า คนที่สร้างวีรกรรมคุณหญิงโมขึ้นมา ทำงานได้ผลค่ะ    คือต่อให้ไม่ใช่ผลทางนี้  ก็ผลทางโน้น สรุปว่ายังไงก็ได้ผลอยู่ดี 
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 18:05

ในนิราศหนองคาย  มีตอนไหนกล่าวถึงศึกเจ้าอนุวงศ์บ้างไหมคะ 

ขออนุญาตย้อนหลังหน่อยนะครับ

ไม่มีครับ เพราะเหตุการณ์ในนิราศหนองคาย การเดินทัพสายที่คุณหลวงพัฒนพงศ์ภักดี (ทิม สุขยางค์) เดินทัพไปนั้น ไม่ได้พักทัพในตัวเมืองโคราชครับ เดินผ่านสีคิ้ว สูงเนิน(ในหนังสือเรียกสองเนิน) กุดจิก ครับ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 18:42

^
^
^
แวะพักทัพที่โคราชอยู่นานเลยครับ ยังได้ซ่อมเจดีย์ที่วัดกลางด้วย แต่ไม่ได้กล่าวถึงศึกเจ้าอนุวงศ์จริง

จะว่าไปแล้วในนิราศหนองคาย หลวงพัฒนพงศ์ภักดีจะกล่าวถึงกรณียกิจของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรงเป็นหลักครับ นอกจากบรรยายสภาพความเป็นไปโดยรอบตามที่เห็นแล้ว ไม่ค่อยจะมีเล่าเกร็ดอะไรมากนักครับ มีให้อ่านในตู้หนังสือเรือนไทยครับ

ยังมีนิราศทัพเวียงจันทร์ พระนิพนธ์หม่อมเจ้าทับ ในกรมหลวงเสนีบริรักษ์ ซึ่งถือเป็นเอกสารร่วมสมัยศึกเจ้าอนุวงศ์อีกเรื่องหนึ่งที่น่าอ่านครับ มีอยู่ในตู้หนังสือเรือนไทยเหมือนกันครับ

บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 18:44

พักในโคราชสองคืนเชียวหนอจะขอบอก   ยิ้มเท่ห์

เมื่อกองทัพยกมาถึงเมืองนครราชสีมา คุณหลวงพัฒนพงศ์ภักดีพรรณนาเรื่องราวต่าง ๆ

ถึงสามสักยักแยกมาเบื้องซ้าย           คนเรียงรายนั่งดูอยู่หนักหนา
เห็นโรงผู้หญิงคนชั่วดูทั่วมา             เหมือนหญิงข่าไม่น่ารักเลยสักคน
มาประเดี๋ยววกเลี้ยวซ้ายมือแว้ง         เห็นกำแพงโคราชสูงผาดโผน
แม้นข้าศึกหมายจะมาประจญ            ซึ่งจะปล้นเมืองได้เห็นไม่มี
ด้วยกำแพงสูงมีสักสี่วา                   ดูแน่นหนาคึกคักเป็นศักดิ์ศรี
ซึ่งข้างนอกกำแพงวุ้งแวงดี              ล้วนแต่มีคูรอบขอบสีมา
มีเชิงดินชั้นนอกห้าศอกสูง               แม้นมีฝูงปรปักษ์เรารักษา
เพียงเชิงเทินชั้นนอกออกประดา        ศัตรูอย่าเข้าไปถึงในคู
เมืองโคราชกว้างใหญ่มิใช่น้อย         ข้าศึกเพียงสิบร้อยเห็นพอสู้
เมืองใหญ่โตทำไมมีสี่ประตู             หอรบอยู่ข้างบนชอบกลดี ฯ

กองทัพกรุงเทพฯ พักอยู่เมืองนครราชสีมาได้สองวัน แม่ทัพก็ให้มีงานบัตรพลีไหว้ศาลหลักเมือง

พอหยุดพักอยู่นั่นสองวันครบ            เจ้าพระยาปรารภจะผายผัน
นายทัพนายกองมาพร้อมหน้ากัน       ไปอภิวันท์เทพารักษ์เจ้าหลักเมือง
พร้อมนายทัพนายกองมาซ้องแซ่       ท่านเจ้าคุณขี่แคร่ไม้ลายเหลือง
พร้อมนายทัพนายกองตามนองเนือง   เสร็จย่างเยื้องเข้าไปในประตู
ครั้นถึงศาลอารักษ์พระหลักเมือง       พร้อมด้วยเครื่องบูชาไก่ปลาหมู
ทั้งบายศรีซ้ายขวาน่าเอ็นดู              เสร็จแล้วบูชาเจ้าทั้งเหล้ายา
แล้วเรียกคนขลุ่ยกลองกระบองควง     แกว่งบวงสรวงอารักษ์เป็นหนักหนา
ทั้งต่อยมวยรำละครฟ้อนบูชา           พิณพาทย์สาธุการประสานตี

แวะพักทัพที่โคราชอยู่นานเลยครับ ยังได้ซ่อมเจดีย์ที่วัดกลางด้วย แต่ไม่ได้กล่าวถึงศึกเจ้าอนุวงศ์จริง


เมื่อวันหนึ่งเจ้าคุณจึ่งออกจากหอนั่ง    พร้อมสะพรั่งนายพหลพลขันธ์
จึ่งปรึกษาไต่ถามเนื้อความพลัน         ว่าวันนั้นเข้าไปที่ในเมือง
เห็นเจดีย์องค์ใหญ่ในวัดกลาง           ทำลายร้างอยากบำรุงให้ฟุ้งเฟื่อง
จึงหันหน้าปรึกษาท่านเจ้าเมือง          ก็พูดเยื้องชักเชือนบิดเบือนไป
เพราะว่าในเมืองนี้สุดที่คิด               ด้วยปูนอิฐไม่มีอยู่ที่ไหน
เจ้าคุณฟังยุบลเป็นจนใจ                 ก็มิได้ตอบความตามยุบล

ไม่มีอิฐปูนก็คงซ่อมเจดีย์ไม่ได้

เนื้อความข้างบน เอามาจาก ตู้หนังสือเรือนไทย ของคุณม้านั่นแหละ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 18:59

ต้องอ่านต่อไปสิครับ พักอยู่ในโคราชตั้งแต่เดือนอ้ายจนถึงเดือนสี่ ราวสามเดือน มีเรื่องเยอะแยะตาแป๊ะ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 19:09

ต้องอ่านต่อไปสิครับ พักอยู่ในโคราชตั้งแต่เดือนอ้ายจนถึงเดือนสี่ ราวสามเดือน มีเรื่องเยอะแยะตาแป๊ะ  ยิงฟันยิ้ม

 อายจัง


<
ตกลงคือ  วาทกรรมเกี่ยวกับคุณหญิงโมสามารถตอบสนองผู้สร้างวาทกรรมนี้ได้เสมอ คืออะไรครับ ท่านผู้รู้กรุณาแปลความหน้าที่แล้วที่คุณสายพินเขียนไว้นั่นให้ผมเข้าใจที

อาสามาแปล  เดี๋ยวคุณเพ็ญชมพูคงจะมีวิกิ มีพจนานุกรม ฯลฯ มาอธิบายอีกที  

ถ้าเกี่ยวกับเรื่องความหมายของคำว่า "วาทกรรม" คุณนวรัตนถาม คุณกุ๊ก เดี๋ยวเดียวก็ได้เรื่อง

ลองฟังนักวิชาการ รศ.ดร.พรรณี บัวเล็ก หัวหน้าศูนย์ส่งเสริมวิจัยและผลิตตำรา มหาวิทยาลัยเกริก วิจารณ์งานวิจัยชิ้นนี้ของคุณสายพิน มีศัพท์แสงมากมาย ชวนงงยิ่งกว่าคำว่า "วาทกรรม"

งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่ท้าทายความคิด ความเชื่อของคนในสังคมอย่างยิ่งจนก่อปฏิกริยาต่อผู้วิจัยในด้านลบเมื่อหลายปีมาแล้ว คืองานวิทยานิพนธ์ของ สายพิน แก้วงามประเสริฐ เรื่อง ภาพลักษณ์ท้าวสุรนารีในประวัติศาสตร์ไทย (เมื่อเป็นหนังสือชื่อว่า "การเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี" - เพ็ญชมพู) งานวิจัยชิ้นนี้ได้ถามถึงความมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ของคุณหญิงโมที่อยู่ในฐานะวีรสตรีและมีอนุสาวรีย์เป็นหลักฐานยืนยันความชอบธรรมโดยมีงานเขียนหรือพระนิพนธ์ที่ให้ความสำคัญกับบทบาทการต่อสู้ของคุณหญิงโมเป็นพิเศษ เรื่องราวของคุณหญิงโมที่ปรากฏในงานที่ผลิตซ้ำมีเงื่อนไขขึ้นอยู่กับบริบททางการเมืองที่รัฐต้องการใช้ประโยชน์จากวีรกรรมของคุณหญิงโมอย่างไร  

วิธีการศึกษางานวิจัยชิ้นนี้น่าสนใจในการพิสูจน์หาความจริง งานชิ้นนี้ใช้การศึกษาแบบหลังสมัยใหม่(Post-modernism) ตามแนวคิดของ Micheal Foucaul นักคิดชาวฝรั่งเศสวิธีการของเขาก็คือ Archaeology (โบราณคดี ) เป็นการขุดค้นลงไปในอดีต เพื่อหาส่วนที่อยู่เบื้องหลังที่ซ่อนลึกลงไป ที่มากกว่าข้อมูลที่ปรากฏซึ่งอาจจะเป็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังของการกระทำต่าง ๆ วิธีการศึกษานี้จะให้ความสำคัญกับ การรับรู้ (savoir ) สถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เป็นตัวกำหนดการรับรู้หรือความรู้นั้น ตามความคิดของ Foucaul นั้น ความรู้ (knowledge)และ อำนาจ (power) มีความสัมพันธ์กัน อีกวิธีการหนึ่งคือวิธีการ Genealogy (วงศาวิทยา) ก็คือการขุดลอกความคิดออกเป็นชั้น ๆ เพื่อลงไปหาแก่นของความจริง

สายพินกล่าวถึงวิธีการศึกษาของเธอว่าต่างจากคนอื่น ๆ ตรงที่ การนำเสนอไม่ได้เรียงตามลำดับเวลาจากอดีตมาปัจจุบันแต่จะเริ่มจากปัจจุบันกลับไปสู่อดีต เนื่องจากข้อสงสัยในตัวตนของ “ท้าวสุรนารี” ที่ปัจจุบันเรารับรู้อยู่ จากอนุสาวรีย์และงานเขียนต่าง ๆ มากมาย การใช้วิธีโบราณคดี ในการเริ่มต้นเราจะต้องสัมผัสกับพื้นผิวดินก่อน ซึ่งคล้ายกับความเป็นปัจจุบัน และเมื่อลงมือขุดไปเรื่อย ๆ จะพบกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ แต่ละช่วงสมัยจนถึงชั้นดินที่ต้องการ เมื่อนั้นเราจะพบกับจุดเริ่มแรกของสิ่งที่เป็นเป้าหมายการศึกษา ด้วยวิธีการนี้ผู้วิจัยจึงเริ่มต้นจากสิ่งที่รับรู้อยู่ในปัจจุบันแล้วค่อย ๆ วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อเท็จจริงเป็นลำดับ เพื่อกลับไปหาตัวตนของ “ท้าวสุรนารี” ในเอกสารร่วมสมัยกับกบฏเจ้าอนุวงศ์

เนื้อเรื่องของงานวิจัยกล่าวถึง การปรากฏตัวของอนุสาวรีย์คุณหญิงโม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์กบฏบวรเดช เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ เนื่องจากระหว่างเหตุการณ์นี้เมืองนครราชสีมาเป็นฐานที่ตั้งของฝ่ายกบฏ ดังนั้นภายหลังกบฏ ผู้นำท้องถิ่นจึงจำเป็นต้องสร้างภาพลักษณ์ของเมืองให้อยู่ในฐานะเมืองของผู้ที่จงรักภักดีต่ออำนาจรัฐที่ส่วนกลาง ผู้นำท้องถิ่นจึงคิดที่จะสร้างอนุสาวรีย์ของคุณหญิงโมขึ้นเพื่อยืนยันถึงความจงรักภักดีของเมืองนครราชสีมาที่มีต่อกรุงเทพฯ ขณะเดียวกันเหตุการณ์นี้ก็ทำให้รัฐตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับท้องถิ่น รัฐจึงต้องอนุมัติให้สร้างและให้การสนับสนุนการก่อสร้างจนอนุสาวรีย์นี้เสร็จเรียบร้อยอย่างรวดเร็วในเวลาเพียง ๓-๔ เดือน แสดงถึงความจำเป็นอันเร่งด่วนของท้องถิ่นและรัฐที่ต้องการให้อนุสาวรีย์นี้ปรากฏตัว นอกจากนี้ด้วยเหตุที่อนุสาวรีย์เป็นงานศิลปะที่มีความคิดที่ผู้สร้างต้องการจะสื่อสารกับผู้พบเห็นอยู่ด้วย “สาร” ที่อนุสาวรีย์นี้ต้องการจะสื่อ จึงปรากฏให้เห็นในรูปลักษณ์ของอนุสาวรีย์ เช่น ความคิดเกี่ยวกับฐานะที่เท่าเทียมกันระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย การต่อสู้ทางการเมืองระหว่างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชกับระบอบประชาธิปไตย และการสร้างความมั่นคงให้กับรัฐด้วยการปลุกความคิดชาตินิยมให้เกิดขึ้นกับประชาชน

เมื่ออนุสาวรีย์ของคุณหญิงโมเกิดขึ้นแล้ว ทำให้มีงานเขียนกับเรื่องนี้เพิ่มมากขึ้นและวีรกรรมก็ถูกทำให้กล้าหาญมากยิ่งขึ้น อีกทั้งรัฐบาลโดยเฉพาะในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีส่วนผลิตวาทกรรมเรื่องคุณหญิงโมเพื่อรับใช้อุดมการณ์ของรัฐ ทำให้ภาพลักษณ์ของคุณหญิงโม อยู่ในฐานะวีรสตรีแห่งชาติ ซึ่งเป็นฐานะที่มีความมั่นคงมาก แม้ภายหลังจะมีงานเขียนท้าทายความมีตัวตนของวีรกรรมคุณหญิงโมเกิดขึ้นแล้วก็ตาม แต่ไม่สามารถทำให้ฐานะความเป็นวีรสตรีของคุณหญิงโมสั่นคลอนลงได้ แสดงให้เห็นว่ากระบวนการการผลิตซ้ำวาทกรรมปฏิบัติต่อคุณหญิงโมให้เป็นประหนึ่ง “เทพ” หรือ “เทพารักษ์” ประจำเมืองมากกว่าที่จะเป็น “วีรสตรี” แห่งชาติ อย่างไรก็ดีฐานะใหม่นี้ก็มีส่วนเสริมสร้างการรับรู้เกี่ยวกับคุณหญิงโมได้เช่นกัน เนื่องจากประชาชนจำนวนมากมุ่งสัมผัสกับอนุสาวรีย์คุณหญิงโมด้วยการเคารพบูชา บนบานศาลกล่าว พลอยได้มีโอกาสรับรู้ “สาร” ที่อนุสาวรีย์นี้ต้องการจะสื่อออกมา

การที่รัฐและท้องถิ่นต่างเห็นความจำเป็นของการสร้างอนุสาวรีย์คุณหญิงโมแสดงนัยยะว่า วีรกรรมคุณหญิงโมคงเป็นที่รับรู้กันอยู่พอสมควรก่อน พ.ศ. ๒๔๗๗ แล้ว ยิ่งไปกว่านั้นวีรกรรมนี้ยังถูกผลิตขึ้นจากบุคคลสำคัญของรัฐ ก่อนการปกครองในระบอบประชาธิปไตย คือสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แสดงให้เห็นว่าสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช รัฐได้นำเอาวีรกรรมของคุณหญิงโมมารับใช้อุดมการณ์ทางการเมืองของรัฐ โดยเฉพาะความพยายามจะสร้างความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างส่วนกลางกับหัวเมืองภาคอีสาน จาการศึกษาผู้วิจัยพบว่าตัวตนของวีรกรรมคุณหญิงโมปรากฏตัวครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๒ สมัยรัชกาลที่ ๕ ทั้งที่วีรกรรมในครากบฏเจ้าอนุวงศ์ พ.ศ.๒๓๖๙ นั้นในเอกสารร่วมสมัยกับเหตุการณ์นี้ไม่ได้กล่าวถึงเลย แต่เมื่อเรื่องวีรกรรมของคุณหญิงโมถูกผลิตขึ้นในรัฐสมบูรณาญาสิทธิราช ทำให้น่าเชื่อว่าวีรกรรมนี้ถูกนำมารับใช้แนวคิดและอุดมการณ์ของรัฐเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการปลูกฝังความรู้สึกรักชาติให้เกิดแก่ประชาชน

คงมีผู้มาวิจารณ์นักวิจารณ์อีกต่อหนึ่ง

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 19:28

ผมเห็นที่คุณสายพินให้คำนิยามและอรรถาธิบายไว้แล้วตามนี้ แต่พออ่านประโยคสุดท้ายของข้อสรุป
วาทกรรมเกี่ยวกับคุณหญิงโมสามารถตอบสนองผู้สร้างวาทกรรมนี้ได้เสมอ
กลับไม่เข้าใจว่าคุณสายพินหมายความว่าอย่างไร

ไม่เป็นไรครับ ไม่เข้าใจก็วางมันไป



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 19:36

อ้างถึง
คงมีผู้มาวิจารณ์นักวิจารณ์อีกต่อหนึ่ง

วิจารณ์ว่า นักวิจารณ์ไม่ได้วิจารณ์เนื้อหา แต่ย่อความวิทยานิพนธ์นี้มาเขียนเกือบทั้งหมด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 19:39

ใช่ค่ะ  นิราศหนองคายไม่มีการเอ่ยถึงเจ้าอนุวงศ์  คุณ samun และคุณม้าตอบถูก
ที่ถามคุณเพ็ญชมพู  สืบเนื่องมาจากคำตอบคุณเพ็ญชมพูข้างล่างนี้

ขออนุญาตยกตัวอย่าง "นิราศหนองคาย" ของ หลวงพัฒนพงศ์ภักดี (ทิม สุขยางค์) ที่แต่งในสมัยรัชกาลที่ ๕ หลังการแต่งพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๓ ก็ยังไม่มีตอนไหนกล่าวถึงวีรกรรมของคุณหญิงโมแม้แต่ตอนที่เดินทัพฝ่านไปทางทุ่งสัมฤทธิ์ ที่เกิดของวีรกรรมคุณหญิงโม หลวงพัฒนพงศ์ภักดีก็ไม่กล่าวถึงวีรกรรมนี้แม้แต่น้อย

เดินในทุ่งสัมฤทธิ์พินิจแล        ดูทิวไม้ไกลแท้น่าใจหาย
แลเวิ้งวุ้งทุ่งเลี่ยนเตียนสบาย    ดูสุดสายนัยนาพฤกษาทิว
เห็นแนวไม้สุดคาดมาตรคะเน   ดังทะเลบกซัดลมพัดฉิว
ละอองฝุ่นกลางทุ่งขึ้นฟุ้งปลิว   แลละลิ่วเหมือนอย่างกลางทะเล

คุณเพ็ญชมพูสนับสนุนคุณสายพินว่า วีรกรรมของคุณหญิงโมไม่ได้เป็นที่รู้จักร่วมสมัย หรือรู้จักก็เล็กน้อยมาก   โดยอ้างว่าในนิราศหนองคายซึ่งอยู่ในยุคใกล้ๆการเขียนพระราชพงศาวดารยังไม่เอ่ยถึงเลย    ดิฉันก็เลยถามว่าแล้วเรื่องใหญ่กว่าแน่นอนอย่างศึกเจ้าอนุวงศ์ ถูกเอ่ยถึงบ้างหรือเปล่า
คำตอบคือเปล่า ไม่มีเหมือนกัน
เมื่อไม่มี    เราก็ต้องดูบริบทของนิราศ เพื่อจะได้เข้าใจว่าทำไมไม่มี   ก็จะเห็นจากเนื้อหาว่า  เรื่องนี้เน้นไปที่เหตุการณ์ในการยกทัพ   ไม่ได้เน้นประวัติเมืองและสถานที่ต่างๆที่ผ่านไป  
ทั้งเรื่องมีพูดถึงอดีตอยู่แห่งเดียวสั้นๆ คือเมื่อผ่านอยุธยา พูดถึงพระเจ้าปราสาททองเมื่อครั้งเป็นออกญากลาโหม แต่ไม่ลงรายละเอียด   แต่พอพ้นจากนั้น ผ่านดงพญาเย็น ไปโคราช ไปสู่เส้นทางรบ  ไม่มีการเอ่ยย้อนถึงอดีตรัตนโกสินทร์เลยไม่ว่าเรื่องไหน   แม้แต่ศึกเจ้าอนุวงศ์ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ ผ่านมาแค่ 2 รัชกาลก็ไม่มี
แล้วจะมามีอะไรกับทุ่งสัมฤทธิ์ ซึ่งเป็นส่วนเสี้ยวหนึ่งของศึกเจ้าอนุวงศ์

แต่มิได้หมายความว่า แน่ะ นี่ละพิสูจน์ว่าเรื่องวีรกรรมของท้าวสุรนารีไม่เป็นที่รู้จัก    คำตอบด้านอื่นก็มีให้คิดได้เหมือนกันนะคะ  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 19:50

อ่านค.ห. 113 ถึงการวิจารณ์ของดร.พรรณีแล้วมึนยิ่งกว่า "วาทกรรม"   ใคร่ขอเชิญคุณเพ็ญชมพูมาขุดผิวดินให้ลึกลงไป ว่าในที่สุดแล้ว  เจออะไรบ้างเกี่ยวกับวีรกรรมของท้าวสุรนารีบ้างคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 20:10

ถ้าว่าตามสำนวนคุณนวรัตน ก็ต้องว่า

ขุดลงไปเจอแต่ "ฝอย" ยังหา "มูล" ไม่พบ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 06 ก.ย. 12, 20:24

เอาฝอยก็ได้ค่ะ  เผื่อจะมาต่อจิ๊กซอได้เป็นรูป


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 19 คำสั่ง