เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6]
  พิมพ์  
อ่าน: 28722 เราควรจะสอนประวัติศาสตร์ไทยเสียใหม่อย่างไรดี
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 29 ก.ค. 20, 16:48

พนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องคดี 'ส.ศิวรักษ์' ข้อหา ม.112  ปมกล่าวพาดพิงถึงสมเด็จพระนเรศวรและกรณียุทธหัตถี ส่งพนักงานอัยการศาลทหารพิจารณาคดีต่อ พร้อมนัดให้มาฟังคำสั่งวันที่ 7 ธ.ค.นี้

คดีนี้อัยการศาลทหารยกฟ้อง

คุณนริศมีความคิดเห็นอย่างไรที่ ส. ศิวรักษ์ ถูกฟ้องในคดีนี้  ขยิบตา
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 30 ก.ค. 20, 11:14

ความเห็นผม ผมมองว่า ประวิติศาสตร์ก็เหมือนศาสตร์อื่นๆทั่วไปครับ คือมีทั้งส่วนที่เป็นศาสตร์แท้ๆ และส่วนที่ว่าด้วยการนำไปประยุกต์ใช้
ปัญหาของประวัติศาสตร์ก็คือ ส่วนที่เป็นศาสตร์แท้ๆนั้น มีความไม่แน่นอน เนื่องจากเป็นเรื่องที่ล่วงพ้นไปแล้ว ไม่สามารถกลับไปสืบค้นอะไรได้อีก การรับรู้สิ่งที่ล่วงพ้นมาแล้วจึงทำได้เพียงอาศัยพยานหลักฐาน ซึ่งวันหนึ่งพยานหลักฐานอาจชี้ไปทางหนึ่ง อีกวันหนึ่งก็อาจชี้ไปอีกทางหนึ่งก็ได้ ไม่แปลกอะไรครับ

แต่ส่วนที่เป็นปัญหา คือเรื่องของการประยุกต์ใช้ บางครั้งเรานำประวัติศาสตร์มาใช้เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ใช้ในการสร้างความภาคภูมิใจร่วมกัน หรือการสร้างศัตรูร่วมกัน เพื่อรวบคนให้เป็นปึกแผ่น ซึ่งอาจจะเรียกว่าประวัติศาสตร์ในมิติของความมั่นคงก็พอได้กระมังครับ ของอย่างนี้ ไม่ได้มีแต่ประเทศเราที่ทำ ที่ไหนๆ เขาก็ทำ มากหรือน้อยต่างกันเท่านั้นเอง (ก็อย่างที่พี่จีนเขาอ้างว่า ทะเลจีนใต้เป็นของเขา เพราะมีประวัติศาสตร์นั่นโน่นนี้ หรือเวลาที่เราอ้างว่า ต้าหลี่เป็นอาณาจักรคนไทย เขาก็เถียงสุดชีวิตว่า No!! ต้าหลี่เป็นของชนชาติจ้วง เกาหลีนี่ถึงขนาดอ้างว่า อะไรๆก็มีรากมาจากอารยธรรมเกาหลี ใกล้กว่านี้ก็บ้านข้างๆเรา ที่เริ่มจะเคลมว่า อารยธรรมไทยทุกอย่างขโมยมาจากวัฒนธรรมดั้งเดิมของตน)

ประเด็นของเรื่องนี้ก็คือ การลดความน่าเชื่อถือของประวัติศาสตร์เชิงความมั่นคงของประเทศเราลง จะมีผลดีอย่างไร ถ้ารุ่นลูกผมจดจำว่า พระนเรศวรไม่ได้ชนะในการดวลเกียรติยศ เป็นแต่เพียงคนที่ดักยิงแม่ทัพฝ่ายตรงข้ามตาย แล้วผลดีคืออะไร

อีกประเด็นนี่ผมคิดใจมานานแล้วครับ คือ เรื่องพระมหาอุปราชากับพระนเรศวรนี้ ฝ่ายไทยกับฝ่ายพม่าบันทึกไว้ต่างกัน
ฝ่ายไทยบอก พระนเรศวร ชนะในการดวล ซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้ พระเกียรติยศจะสูงกว่า
ฝ่ายพม่าบอก พระมหาอุปราชาถูกยิง ซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้ พระเกียรติยศจะไม่มากเท่าไหร่
หลายคนเลือกเชื่อหลักฐานทางพม่า

แต่พอเรื่องสงครามคราวเสียกรุงฝ่ายไทยกับฝ่ายพม่าก็บันทึกไม่เหมือนกันเช่นกัน
ฝ่ายไทยบอก พระเจ้าเอกทัศน์ทรงแย่มาก
ในขณะที่ฝ่ายพม่าบอกว่า ทรงป้องกันเมืองเข้มแข็ง รักษาพระนครได้นานเป็นปีทั้งที่เสียเปรียบทุกด้าน ซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้ พระเกียรติยศของพระเจ้าเอกทัศน์ก็จะสูงกว่าที่เป็นอยู่
เมื่อเป็นเช่นนี้ ทำไมไม่เชื่อหลักฐานทางพม่าบ้างเล่าครับ ก็ของเขาเขียนดีกว่า ชัดกว่าไม่ใช่หรือ หลักฐานทางไทยเราเชื่อไม่ได้ไม่ใช่หรือ ทำไม นักวิชาการจำนวนหนึ่ง ถึงเลือกที่จะเชื่อหลักฐานด้านที่ทำให้พระเกียรติยศลดต่ำลงเสียทุกทีไป ถ้าหลักการยังแกว่งไปแกว่งมาอย่างนี้ แม้แต่ส่วนที่เป็นศาสตร์แท้ก็ยังไม่น่าเชื่อถือเลยครับ ถ้าเรื่องพระนเรศวรเปลี่ยนได้ เรื่องพระเจ้าเอกทัศน์ก็ต้องเปลี่ยนได้เหมือนกันสิครับ ถ้าจะให้เลิกสอนเด็กว่า พระนเรศวรไม่ได้ชนะการดวล ก็ต้องสอนว่าพระเจ้าเอกทัศน์ไม่ได้แย่ด้วย ด้วยหลักการเดียวกัน ฉันใด ฉันนั้น ครับ

ดังนั้น เมื่อศาสตร์แท้เชื่อไม่ได้ ผมขอเลือกประวัติศาสตร์เชิงความมั่นคงครับ

อ่ะ อาจารย์ถามผมว่า คิดอย่างไรกับการถูกฟ้อง ผมขอเรียนว่า ถูกฟ้องเพราะความมั่นคง อัยการสั่งไม่ฟ้องก็เพราะความมั่นคงเช่นกันครับ (สุดท้ายปัญหาเรื่องนี้จบด้วยกระบวนการอย่างอื่นนี่ครับ) 
 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 30 ก.ค. 20, 11:27

อ่ะ อาจารย์ถามผมว่า คิดอย่างไรกับการถูกฟ้อง ผมขอเรียนว่า ถูกฟ้องเพราะความมั่นคง อัยการสั่งไม่ฟ้องก็เพราะความมั่นคงเช่นกันครับ (สุดท้ายปัญหาเรื่องนี้จบด้วยกระบวนการอย่างอื่นนี่ครับ)

ขอถามในประเด็นตัวกฎหมาย คุณนริศคิดว่าสามารถฟ้อง ส. ศิวรักษ์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ ด้วยความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอดีตพระมหากษัตริย์ คือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้หรือไม่  
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 30 ก.ค. 20, 17:40

การที่ ส. ศิวรักษ์ ถูกดำเนินคดีหมิ่นสมเด็จพระนเรศวรมหาราช นอกจากสะท้อนปัญหาในการมีและการใช้ ม.๑๑๒ แล้ว ยังมีปัญหาในเรื่องที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่ง คือการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ในเมืองไทย

อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้

นับตั้งแต่เริ่มมีการศึกษาประวัติศาสตร์แบบตะวันตกในเมืองไทย ก็ดูเหมือนนักประวัติศาสตร์จะให้ความสำคัญแก่การสงครามมาแต่ต้น สงครามมีความสำคัญในประวัติศาสตร์ของทุกประเทศจริง เพราะสงครามสะท้อนอะไรอื่นอีกหลายอย่างเช่น ระดับเทคโนโลยี, สังคม, เศรษฐกิจ หรือแม้แต่การเมือง ฯลฯ แต่นักประวัติศาสตร์ไทยสนใจสงครามอยู่เรื่องเดียวคือ การรบ และใครแผ่อำนาจไปถึงไหนได้บ้าง

เนื้อหาสำคัญของประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่โบราณมาจนถึงรัชกาลที่ ๔ จึงเป็นสงครามตลอด น่าเบื่อเข้าไส้แก่ทุกคน เพราะมองไม่เห็นว่าสงครามโบราณเหล่านั้นจะช่วยให้เข้าใจชีวิตจริงในอดีตหรือปัจจุบันได้อย่างไร ซ้ำร้ายยังช่วยส่งเสริมบทบาทครอบงำทางการเมืองของกองทัพเสียอีก คนไทยจำนวนมากยอมรับทันทีเมื่อกองทัพบอกว่าตนคือแนวหน้าในการปกป้องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เพราะเขาถูกประวัติศาสตร์สอนมาว่า ชาติคือการรบ และเมื่อจะรบกันแล้ว ใครจะไปสำคัญกว่ากองทัพเล่า

ประวัติศาสตร์สงคราม (อันเป็นวิชาบังคับของโรงเรียนทหารทั่วโลก) ที่สอนในโรงเรียนทหารไทยนั้น กลายเป็นประวัติศาสตร์สงครามที่ตื้นเขิน เพราะประกอบด้วยศาสตร์ของการรบต่าง ๆ เช่นเทคโนโลยี, กำลังคน, ผู้นำทัพ, ยุทธวิธี มากกว่ายุทธศาสตร์ด้วยซ้ำ เพราะเป้าหมายของสงครามนั้นย่อมกว้างใหญ่ไพศาลกว่าการรบ เช่นชิงเมืองท่าของข้าศึกเพื่อกีดกันการค้ามิให้มาแข่งขันได้ เช่นที่อยุธยาเคยทำแก่จตุรพักตร์หรือพนมเปญ และหงสาวดีทำแก่เมืองท่าฝั่งตะวันตกของอยุธยา และส่วนนี้แหละที่ประวัติศาสตร์สงครามแบบไทยไม่ได้สอน

สงครามก็เหมือนกิจกรรมทางสังคมอื่น ๆ ของมนุษย์ เช่นการปกครอง, การปฏิบัติศาสนา, การค้าขาย, การขนส่ง ไปจนถึงการเลือกคู่ และการทำมาหากิน กล่าวคือไม่ใช่อากัปกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่งที่อยู่โดด ๆ แต่เป็นการกระทำที่เชื่อมโยงไปถึงด้านอื่น ๆ เกือบทุกด้านของสังคม ถ้าเราย่นย่อประวัติศาสตร์สงครามให้เหลือเพียงมิติเดียวคือการรบ เรากำลังสอนเทวปกรณัมที่เทวดาองค์ต่าง ๆ ทำสงครามกันเท่านั้น ไม่สามารถสร้างนายทหารที่รบเป็นขึ้นมาได้ ไม่พักต้องพูดถึงแม่ทัพใหญ่ที่สามารถนำชัยชนะมาสู่กองทัพได้

ไม่ว่าพระนเรศวรจะได้ทรงทำยุทธหัตถีหรือไม่ หรือทรงทำในลักษณาการใด พระนเรศวรก็เป็นกษัตริย์ที่สำคัญพระองค์หนึ่งของอยุธยาอย่างปฏิเสธไม่ได้ เพราะทรงมีพระชนมชีพในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของราชอาณาจักรอยุธยา ในช่วงเวลาที่อยุธยาอาจพัฒนาไปเป็นราชอาณาจักรขนาดใหญ่ หรือถอยกลับไปเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย (principalities) เหมือนรัฐไทยอื่น ๆ เช่นล้านช้าง, ล้านนา, รัฐชานในพม่า, รัฐไทในสิบสองจุไท, ฯลฯ

และเป็นเพราะสมเด็จพระนเรศวรนี่แหละที่ทำให้อยุธยาไม่มีวันถอยกลับไปเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อยได้อีก

แม้ว่ากษัตริย์ก่อนหน้าสมเด็จพระนเรศวรพยายามสร้างราชอาณาจักรขนาดใหญ่ โดยการปราบปรามหรือผนวกแคว้นเล็กแคว้นน้อยมาไว้ในอำนาจ แต่แว่นแคว้นที่ขึ้นอยุธยาไม่เคยประสานกันได้สนิท การเสียกรุงแก่พระเจ้าบุเรงนองเป็นพยานให้เห็นว่าหัวเมืองเหนือหรือแคว้นสุโขทัยเดิม พร้อมจะแยกตัวกลับไปเป็นรัฐอิสระ (ที่อาจเปลี่ยนนายได้ตามจังหวะ)

ในช่วงที่อยุธยาตกเป็นประเทศราชของหงสาวดีภายใต้รัชกาลพระมหาธรรมราชา ไม่เฉพาะละแวกเท่านั้นที่ยกกำลังมาโจมตีกวาดต้อนผู้คนถึงอยุธยา แต่หัวเมืองในเขตที่เคยขึ้นต่ออยุธยาเองก็ทำอย่างเดียวกัน เช่นเพชรบุรี, ญาณพิเชียรได้กำลังคนจากลพบุรีก่อกบฏ และเจ้าเมืองพิชัยและสวรรคโลกเลือกจะขึ้นหงสาวดีแทนอยุธยา (นี่ว่าเฉพาะเท่าที่มีหลักฐานบอกให้รู้ได้) นี่คืออาการล่มสลายของราชอาณาจักรใหญ่ของพวกไทย-ลาวซึ่งเคยเกิดขึ้นมาหลายครั้งหลายหนแล้ว แต่สมเด็จพระนเรศวรสามารถหยุดยั้งกระบวนการนี้ได้ ซ้ำเสริมสร้างให้แข็งแกร่งขึ้นกว่าเดิม

มหายุทธนาการที่เกิดขึ้นระหว่างรัฐต่าง ๆ ในช่วงนี้ เป็นไปได้ก็เพราะความเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดขึ้นในภูมิภาคนี้มาเป็นเวลากว่า ๑๐๐ ปีแล้ว ซึ่งมีผลต่อเทคโนโลยีทางทหาร สรุปได้สามอย่างคือ หนึ่งปืนไฟ (ทั้งปืนใหญ่และปืนประจำกายทหาร) ซึ่งฝรั่งพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วจากเทคโนโลยีจีน สองทหารจ้าง ซึ่งกลายเป็นกำลังหลัก (elite force) ของกองทัพ ทหารจ้างเหล่านี้มีความเชี่ยวชาญการรบยิ่งกว่าทหารเกณฑ์ในกองทัพชาวพื้นเมือง เพราะวิถีชีวิตในวัฒนธรรมหรืออาชีพก็ตาม และสามคือความสามารถที่จะเกณฑ์ช้างและม้าและผู้คนจำนวนมากอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนเพื่อใช้ในการสงครามได้

สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้ประโยชน์จากเงื่อนไขที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอย่างเต็มที่ ทรงเสริมสร้างให้กำลังทหารและกำลังการบริหารของอยุธยาแข็งแกร่งเหนือหัวเมืองทั้งหมดอย่างเทียบกันไม่ได้ ปราศจากพลังกดดันอย่างใหญ่จากอำนาจภายนอก ก็ยากที่ราชอาณาจักรอยุธยาจะแตกสลายลงได้

ทรงกวาดต้อนผู้คนในแคว้นสุโขทัยเดิมลงมาไว้ในภาคกลางภายใต้อยุธยา เพื่อรวบรวมกำลังในการป้องกันตนเองจากทัพหงสาวดี ทำให้รอยแยกระหว่างสุโขทัยและอยุธยาสลายไปหมดในทางปฏิบัติ การเมืองเรื่องแย่งอำนาจระหว่างราชวงศ์ที่ครองอยุธยากับราชวงศ์ท้องถิ่น ต้องย้ายมาอยู่ในราชสำนักอยุธยาเพียงจุดเดียว

การเอาคนที่ยังวางใจสนิทไม่ได้จำนวนมากมาไว้ใกล้ตัว ด้านหนึ่งก็ทำให้ควบคุมได้ง่าย แต่อีกด้านหนึ่งก็อาจก่ออันตรายให้แก่ตนเองได้ง่ายด้วย กวาดต้อนจึงไม่ใช่แค่เรื่องใช้กำลังทหาร แต่ต้องใช้วิธีอื่น ๆ อีกมากที่จะทำให้ภัยใกล้ตัวไม่เกิดขึ้น สงครามจึงไม่ใช่เรื่องการรบอย่างเดียวดังที่สอนกันในโรงเรียนทหาร มีเงื่อนไขอื่น ๆ ที่ทหารไม่ชำนาญอีกมาก ที่จะทำให้กองทัพประสบชัยชนะได้

การที่ทรงยกทัพไปปราบหัวเมืองใกล้เคียงและทำสงครามกับหงสาวดีเกือบตลอดรัชกาล ทำให้กองทัพจากส่วนกลางเหยียบย่ำไปทั่วพระราชอาณาจักร สะกดหัวเมืองให้สยบยอมต่ออยุธยาสืบต่อมาอีก ๒๐๐ ปี ก็เป็นผลให้อยุธยาเข้มแข็งขึ้นและใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบทางยุทธศาสตร์เหนือหัวเมืองทั้งหมดได้อย่างมั่นคง จริงอยู่ กษัตริย์นักรบที่ทำสงครามตลอดรัชกาลย่อมนำบ้านเมืองสู่หายนะ (อย่างเช่นกษัตริย์ราชวงศ์ตองอูระยะแรก ราชอาณาจักรอันไพศาลล่มสลายลงในพริบตาเมื่อสิ้นพระเจ้าบุเรงนอง) แต่ก็บังเกิดผลในระยะยาว หากผู้นำต่อ ๆ มารู้จักใช้ประโยชน์จากอำนาจครอบงำที่เกิดขึ้นได้อย่างสร้างสรรค์ เช่นสร้างระบบปกครองที่รวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางยิ่งขึ้น

แต่ความสำคัญของสมเด็จพระนเรศวรที่เรียนและสอนกันในประวัติศาสตร์ไทย เหลืออยู่แค่เรื่องชนช้าง จนทหารบางคนเดือดร้อนที่มีคนพูดว่าท่านไม่ได้ชนช้าง ต้องไปฟ้องร้องให้เป็นคดีความว่าหมิ่นพระนเรศวร ซึ่งไม่รู้ว่าผิดกฏหมายข้อไหน (กลับไปอ่าน ม.๑๑๒ให้ดี ไม่ว่าจะยืดความหมายอย่างไร ก็คลุมไม่ถึงพระนเรศวรอยู่นั่นเอง)

เก็บความจาก นิธิ เอียวศรีวงศ์ : คุณค่าอื่นนอกจากรบไม่ขลาด (๑)
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 26 ส.ค. 20, 13:42

ต้องกราบขออภัยท่านอาจารย์ด้วยครับ ช่วงนี้เป็นฤดูการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี หน่วยงานผมเป็นผู้รับผิดชอบเต็มๆ ข้าราชการครึ่งกรม ถูกส่งไปสนับสนุนภารกิจนี้ ส่วนที่เหลือ เลยมีภารกิจมากขึ้น กว่าที่ผมจะได้แวะกลับมาเห็นการบ้านนี้ ก็ผ่านไปเกือบหนึ่งเดือนแล้ว

จะว่าไป ระหว่างนี้ เกิดเรื่องอะไรๆ ขึ้นเยอะแยะเลยนะครับ อย่าไปกล่าวถึงเรื่องเหล่านั้นเลยพาลอารมณ์เสียกันเสียเปล่าๆ (ซึ่งเรียนตามตรงว่า ผมอารมณ์เสียสุดๆ ไปเลยครับ)

เรื่องการมีอยู่ของหลักกฎหมายอาญา (ขอนำเสนอในภาพกว้างละกันนะครับ อย่าเพึ่งไประบุว่ามาตราอะไร และเขียนว่าอย่างไร) โดยทฤษฎีสมัยใหม่ กฎหมายอาญาได้รับการจำแนกว่า เป็นสภาพบังคับของกฎหมายกฎหมายเอกชน สมัยก่อน กฎหมายอาญาได้รับการจำแนกว่า เป็นกฎหมายมหาชน คือเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน แต่ทุกวันนี้แนวคิดสมัยใหม่บอก ไม่ใช่ กฎหมายอาญา พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกชนสองคน (หรือสองฝ่าย) นั่นแหละ ที่เขาจะต้องมีนิติสัมพันธ์ระหว่างกัน อันว่า นิติสัมพันธ์ระหว่างกัน ก็จะต้องประกอบด้วย สิ่งที่เรียกว่า สิทธิ คืออำนาจที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้ ขีดเส้นใต้คำว่า "คุ้มครองให้" และหน้าที่ ก็คือ ข้อปฏิบัติ หรือข้อห้าม ที่อาจกระทำได้ภายใต้สิทธิของตน และการที่ตนรับรู้ว่า จะต้องไม่ "รุกล้ำ" หรือก้าวล่วงเข้าไปในสิทธิของผู้อื่น

ผู้ที่รุกล้ำ หรือก้างล่วงเข้าไปในสิทธิของผู้อื่น ย่อมมีโทษ คือผลร้ายที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง สมัยโบราณ การสร้างผลร้ายให้เกิดกับอีกฝ่ายเพื่อปกป้องสิทธิของตน เป็นสิทธิพื้นฐานที่ทุกคนมี เรียกว่า การแก้แค้น แต่ปัจจุบัน เราห้ามปัจเจกชน มิให้บังคับสิทธิกันเอง และสร้างระบบการลงโทษโดยรัฐขึ้นแทน นั่นก็คือ โทษทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา

ดังนั้น จิ๊กซอว์ตัวแรก คือ กฎหมายอาญาไม่ใช่การกดขี่โดยรัฐ แต่มันคือการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนทุกคน และป้องกันมิให้ปัจเจกชนหยิบหลักการแก้แค้นทดแทนขึ้นฟาดฟันกันเอง       
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 26 ส.ค. 20, 14:04

(ต่อ)
ทีนี้ สิทธิ ที่ควรได้รับการคุ้มครอง มันมีอะไรบ้างหละ แต่ละที่ก็คงมีขอบเขตในการให้ความคุ้มครองที่แตกต่างกัน แต่ถ้าจะวัดมาตรฐานขั้นต่ำสุด ก็คือ Human Dignity หรือ สิทธิพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ ก็ว่ากันง่ายๆ ว่า มนุษย์จะปฏิบัติต่อมนุษย์ด้วยกัน อย่างที่มิใช่มนุษย์ไม่ได้ อันนี้ ถ้าเอาหลักการโบราณจริงๆ ก็หมายถึง สิทธิในเนื้อตัวร่างกาย สิทธิในการมีชีวิตอยู่ สิทธิในการถือครองทรัพย์สิน ฯลฯ รวมถึง สิทธิในชื่อเสียงของตนด้วย

ด้วยเหตุนี้ กฎหมายอาญาจึงมีมาตราที่กล่าวถึงการเอาโทษ การดูหมิ่น เหยียดหยาม ใส่ความ หรือการทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงอยู่ด้วย ซึ่งมาตรานี้ มุ่งคุ้มครอง ปัจเจนชน ทุกคน มนุษย์ทุกผู้ทุกนาม เหมือนๆกัน ซึ่ง ถ้าจะพูดกันโดยทฤษฎี ก็หมายความรวมถึง King ด้วย เพราะ King ก็เป็นมนุษย์ผู้หนึ่งเช่นเดียวกัน (King As Human)

ปัญหาคือ King ไม่ได้เป็นแค่ Human เท่านั้น แต่ King ยังเป็น Foundation ด้วย (ยังจำประโยค The King is Dead, Long Life The King ได้ใช่ไหมครับ)

กลับมาที่มาตรา 112 คำถามแรก คือ หากไม่มีมาตรานี้ King as Human ก็ยังได้รับการคุ้มครอง ตามหลักกฎหมายว่าด้วยการหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดาอยู่เหมือนเดิม ใช่หรือไม่ คำตอบ ก็คงจะตอบว่า "ใช่" ถูกไหมครับ

แต่ปัญหาคือ แล้ว King As Foundation หละ ใช้อะไรคุ้มครอง? หรือไม่ต้อง คุ้มครอง?
เมื่อมาถึงจุดนี้ ก็เป็นประเด็นละเอียดอ่อนแล้วครับ จุดที่กำลังเห็นต่างกันอยู่ ก็คือจุดนี้ เมื่อพิจารณาจากชะตากรรมของผู้ที่แสดงความเห็นไปในทางหนึ่งทางใดแล้ว ฝ่ายประชาธิปไตยเขาแรงเหลือเกิน ผมไม่กล้าที่จะแสดงความเห็นต่อไปหละครับ   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 26 ส.ค. 20, 17:04

 รูดซิบปาก


บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 27 ส.ค. 20, 16:21

 ...
บันทึกการเข้า
pratab
อสุรผัด
*
ตอบ: 29


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 27 ส.ค. 20, 19:53

(ต่อ)
ทีนี้ สิทธิ ที่ควรได้รับการคุ้มครอง มันมีอะไรบ้างหละ แต่ละที่ก็คงมีขอบเขตในการให้ความคุ้มครองที่แตกต่างกัน แต่ถ้าจะวัดมาตรฐานขั้นต่ำสุด ก็คือ Human Dignity หรือ สิทธิพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ ก็ว่ากันง่ายๆ ว่า มนุษย์จะปฏิบัติต่อมนุษย์ด้วยกัน อย่างที่มิใช่มนุษย์ไม่ได้ อันนี้ ถ้าเอาหลักการโบราณจริงๆ ก็หมายถึง สิทธิในเนื้อตัวร่างกาย สิทธิในการมีชีวิตอยู่ สิทธิในการถือครองทรัพย์สิน ฯลฯ รวมถึง สิทธิในชื่อเสียงของตนด้วย

ด้วยเหตุนี้ กฎหมายอาญาจึงมีมาตราที่กล่าวถึงการเอาโทษ การดูหมิ่น เหยียดหยาม ใส่ความ หรือการทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงอยู่ด้วย ซึ่งมาตรานี้ มุ่งคุ้มครอง ปัจเจนชน ทุกคน มนุษย์ทุกผู้ทุกนาม เหมือนๆกัน ซึ่ง ถ้าจะพูดกันโดยทฤษฎี ก็หมายความรวมถึง King ด้วย เพราะ King ก็เป็นมนุษย์ผู้หนึ่งเช่นเดียวกัน (King As Human)

ปัญหาคือ King ไม่ได้เป็นแค่ Human เท่านั้น แต่ King ยังเป็น Foundation ด้วย (ยังจำประโยค The King is Dead, Long Life The King ได้ใช่ไหมครับ)

กลับมาที่มาตรา 112 คำถามแรก คือ หากไม่มีมาตรานี้ King as Human ก็ยังได้รับการคุ้มครอง ตามหลักกฎหมายว่าด้วยการหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดาอยู่เหมือนเดิม ใช่หรือไม่ คำตอบ ก็คงจะตอบว่า "ใช่" ถูกไหมครับ

แต่ปัญหาคือ แล้ว King As Foundation หละ ใช้อะไรคุ้มครอง? หรือไม่ต้อง คุ้มครอง?
เมื่อมาถึงจุดนี้ ก็เป็นประเด็นละเอียดอ่อนแล้วครับ จุดที่กำลังเห็นต่างกันอยู่ ก็คือจุดนี้ เมื่อพิจารณาจากชะตากรรมของผู้ที่แสดงความเห็นไปในทางหนึ่งทางใดแล้ว ฝ่ายประชาธิปไตยเขาแรงเหลือเกิน ผมไม่กล้าที่จะแสดงความเห็นต่อไปหละครับ   
   อยากให้คุณ Naris ช่วยตอบด้วยว่าหากมีใครมากล่าวหาคุณปู่ทวดของผมซึ่งมีบันทึกทางประวัติศาสตร์ได้ทำความดีความชอบไว้มากมาย ว่าเป็นคนช่อโกงจนร่ำรวย โกงแผ่นดิน แบบนี้ผมซึ่งเป็นผู้สืบเชื้อสายโดยตรงสามารถฟ้องหมิ่นประมาทได้หรือไม่ คือฟ้องแทนคนที่ตายไปแล้วได้ไหมครับ ที่ถามมานี้ไม่เกี่ยวกับการเมืองใดใดทั้งสิ้น
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 29 ส.ค. 20, 14:19

ฝากถามคุณนริศเพิ่มอีก ๑ คำถาม

มีผู้แอบอ้างภาพบรรพบุรุษของคุณนวรัตนว่าเป็นภาพของอีกบุคคลหนึ่ง อย่างนี้จะเป็นคดีฟ้องร้องในศาลได้หรือไม่


ผมเป็นผู้สืบสายโลหิตขององค์ต้นราชสกุลนวรัตน ผมจึงมีสิทธิตามกฏหมายที่จะตั้งคำถามให้นายยอดตอบ ถ้าไม่ตอบในนี้ก็คงต้องไปตอบในศาล ว่า ทำไมจึงเอาพระรูปของพระองค์เจ้าเนาวรัตน์ กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ ไปแอบอ้างว่าเป็นรูปถ่ายของหลวงวิจิตร นฤมล (เขียนแยกกันตามวิธีการของนายยอด)






บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 28 ต.ค. 20, 16:13

ฝากถามคุณนริศเพิ่มอีก ๑ คำถาม

มีผู้แอบอ้างภาพบรรพบุรุษของคุณนวรัตนว่าเป็นภาพของอีกบุคคลหนึ่ง อย่างนี้จะเป็นคดีฟ้องร้องในศาลได้หรือไม่


ผมเป็นผู้สืบสายโลหิตขององค์ต้นราชสกุลนวรัตน ผมจึงมีสิทธิตามกฏหมายที่จะตั้งคำถามให้นายยอดตอบ ถ้าไม่ตอบในนี้ก็คงต้องไปตอบในศาล ว่า ทำไมจึงเอาพระรูปของพระองค์เจ้าเนาวรัตน์ กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ ไปแอบอ้างว่าเป็นรูปถ่ายของหลวงวิจิตร นฤมล (เขียนแยกกันตามวิธีการของนายยอด)








ล่าสุดกองปราบปรามจับกุมเจ้าของสถานที่แล้วครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 28 ต.ค. 20, 16:28

กองบังคับการปราบปรามแถลงการจับกุม

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 19 คำสั่ง